ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ท้องเสียนั้นเป็นหนึ่งในอาการเจ็บป่วยพื้นฐานที่สุดของทุกช่วงวัย ซึ่งส่วนใหญ่ทุกคนเคยเป็นมาแล้ว โดยอาจเป็นเพราะการเคลื่อนตัวของลำไส้ที่หลวมหรือเป็นน้ำ และอาจเป็นไข้ ตะคริว เวียนศีรษะ หรืออาเจียนร่วมด้วย [1] รวมทั้งในหลายๆ กรณีจะไม่ร้ายแรง และสามารถหายได้ในไม่กี่วัน โดยการรักษาทั้งผู้ใหญ่และเด็ก ด้วยการไม่ขาดน้ำและการรักษาแบบพื้นบ้าน
ห้ามรักษาด้วยวิธีนี้ในเด็กทารกและเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ให้ไปหากุมารแพทย์และทำตามคำแนะนำดีกว่า แต่อย่าให้ยาแก้ท้องเสียกับเด็กเล็กโดยไม่ปรึกษาแพทย์ก่อน [2]

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

ตรวจดูอาการ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โดยส่วนใหญ่เกิดจากแบคทีเรีย ไวรัสและพยาธิ และอาจถูกกระตุ้นจากปฏิกิริยาของยา รวมถึงยาสมุนไพร และอาการไวต่ออาหาร เช่น การไวต่อซอร์บิทอลและแมนนิทอล นอกจากนี้อาการไม่ย่อยแลคโตสก็ทำให้เกิดท้องเสียด้วย เมื่อกินผลิตภัณฑ์จากนมเข้าไป [3]
    • รวมไปถึงความผิดปกติของลำไส้ เช่น อาการลำไส้อักเสบและโรคโครห์น ก็ทำให้เกิดอาการท้องเสีย ซึ่งต้องการการรักษาทางการแพทย์ และมักต้องจ่ายยาสำหรับการรักษา [4]
    • ท้องเสียก็ยังเป็นผลข้างเคียงของการรักษาด้วยเคมีบำบัด และการรักษาด้วยรังสีด้วย [5]
  2. ซึ่งอาการท้องเสียส่วนใหญ่นั้น “ไม่ได้ซับซ้อน” และมักจะหายเองได้ในไม่กี่วัน โดยอาการที่ไม่ซับซ้อนก็มี : [6]
    • ท้องอืดหรือเป็นตะคริว
    • ท้องผูกหรือท้องเสีย
    • อุจจาระเหลว
    • รู้สึกถึงลำไส้ที่เคลื่อนบ่อยหรือเร็ว
    • คลื่นไส้
    • อาเจียน
    • ไข้อ่อนๆ
  3. โดยอาการผิดปกติของลำไส้อักเสบ เช่น โรคโครห์น ลำไส้อักเสบเรื้อรัง และการติดเชื้อเรื้อรัง ทำให้มีเลือดและ หรือน้ำหนองปรากฏอยู่ในของเสียที่ขับออกมาได้ [7] ดังนั้นควรหาการช่วยเหลือทางการแพทย์ให้เร็วที่สุด ถ้าเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น
    • โดยการกินยาปฏิชีวนะอาจจะทำให้มีเลือดหรือน้ำหนองอยู่ในอุจจาระ ซึ่งยาอาจจะทำลายแบคทีเรียที่ดีในลำไส้หมดและมันอาจทำให้แบคทีเรียที่เป็นอันตราย จนเป็นสาเหตุของการติดเชื้อได้ [8]
  4. เพราะอาการไข้มักจะเกิดร่วมกับท้องเสียด้วย ซึ่งมันอาจจะเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงขึ้น โดยหากมีไข้ 38.9 องศาเซลเซียส หรือมากว่านั้น หรือเป็นเกิน 24 ชั่วโมง ให้พบแพทย์โดยด่วน [9]
  5. เพราะมันอาจเป็นสัญญาณของอาการปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงขึ้น เช่น ตับอ่อนอักเสบหรือแม้กระทั่งมะเร็งลำไส้ [10] โดยหากมีอาการนี้ให้หาหมอทันที [11]
  6. ถ้ามีอาการท้องเสีย ก็อาจจะขาดน้ำด้วย โดยสัญญาณในเด็กจะมี : [12]
    • ปัสสาวะน้อยลงหรือผ้าอ้อมแห้ง
    • ไม่มีน้ำตา
    • ปากแห้ง
    • มีอาการง่วงหรือเซื่องซึม
    • ตาโหล
    • หงุดหงิดไม่สบายตัว
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

ดื่มน้ำที่เหมาะสม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เพราะการท้องเสียจะเอาน้ำออกจากร่างกาย ดังนั้นต้องดื่มน้ำเยอะๆ เพราะน้ำนั้นสำคัญ แต่ควรหาเครื่องดื่มที่มีอิเล็กโทรไลต์ เช่น โซเดียม คลอไรด์ และโพแทสเซียม ด้วย ซึ่งน้ำเปล่าอย่างเดียวนั้นมีอิเล็กโทรไลต์ไม่เพียงพอที่จะเติมเต็มร่างกายที่ขาดน้ำได้ [13]
    • ผู้ชายควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 13 ถ้วย หรือ 3 ลิตร ส่วนผู้หญิงอย่างน้อย 9 ถ้วย หรือ 2.2 ลิตร เพื่อสุขภาพ แต่อาจจะต้องดื่มมาขึ้น เพื่อสู้กับภาวะขาดน้ำ เมื่อมีอาการท้องเสีย [14]
    • น้ำ น้ำผัก (โดยเฉพาะคื่นฉ่าย และแครอท) เครื่องดื่มสปอร์ต ยาเติมอิเล็กโทรไลต์ ชาสมุนไพร (ไม่มีคาเฟอีน) น้ำขิงแดงไม่มีฟอง และน้ำสต็อกรสเค็มอย่าง ซุปมิโซะ นั้นเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ใหญ่ [15]
    • น้ำข้าวจากบาร์เลย์ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดีในการเติมความชุ่มชื้น โดยใช้บาร์เลย์ดิบ 1 ถ้วย ลงในน้ำต้มเดือด 1 ลิตร แล้วปล่อยซัก 20 นาที จากนั้นเทน้ำออกและดื่มตลอดวัน [16]
    • เด็กควรดื่มสารที่ช่วยเติมความชุ่มชื้น เช่น Pedialyte และ Infalyte ซึ่งมันทำให้ความต้องการสารอาหารของพวกเขาสมดุล และมีขายในร้านค้าและร้านขายยาทั่วไป [17] นอกจากนี้น้ำองุ่นขาวก็อาจจะดีกับเด็กที่ขาดน้ำจากอาการท้องเสียด้วย [18]
  2. เพราะเครื่องดื่มพวกนี้มันรบกวนลำไส้ และทำให้อาการท้องเสียแย่ลงไปอีก [19] โดยหากอยากดื่มเครื่องดื่ม เช่น น้ำขิงแดง ให้คนและปล่อยมันค้างคืนไว้ เพื่อที่จะให้ฟองหายไป
    • หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์เมื่อท้องเสีย เพราะมันทำให้ร่างกายขาดน้ำและอาการจะแย่ลงด้วย [20]
  3. เปปเปอร์มินท์ คาโมมายล์ และชาเขียวจะหยุดอาการวิงเวียน ที่มักจะเกิดร่วมกับท้องเสียอย่างได้ผลเลยทีเดียว โดยสามารถใช้ถุงชาสำเร็จรูปหรือเตรียมเองก็ได้ [21]
    • ชาคาโมมายล์นั้นปลอดภัยสำหรับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ยกเว้นหากแพ้หญ้า ragweed [22] ดังนั้นไม่ควรเอาสมุนไพรมาใช้กับเด็ก โดยไม่ปรึกษากุมารแพทย์ก่อน [23]
    • ทำชาลูกซัด fenugreek ก็ได้ โดยการเติมเมล็ดลูกซัด 1 ช้อนชาต่อน้ำร้อน 1 แก้ว และแม้จะไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เพียงพอในการยืนยันว่ามันได้ผลขนาดไหน แต่มันก็อาจทำให้อาการท้องไส้ปั่นป่วนสงบลงและต้านอาการวิงเวียนได้ [24]
    • ปรึกษาหมอก่อนลองชาสมุนไพรอื่นๆ โดยชาที่ทำจากใบแบล็คเบอร์รีหรือราสเบอร์รี บิลเบอร์รีหรือแครอบจะช่วยทำให้กระเพาะสงบลงและรวมถึงอาการลำไส้อักเสบด้วย แต่มันอาจไปรบกวนการทำงานของยาตัวอื่น และทำให้เกิดความซับซ้อนกับโรคประจำตัวอื่นๆ ดังนั้นต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้สมุนไพรเหล่านี้ [25]
  4. โดยขิงจะช่วยต้านอาการวิงเวียนและอักเสบ [26] รวมทั้งสามารถดื่มน้ำขิงแดงแบบไม่มีฟอง (ไร้คาร์บอน) หรือชาขิงเพื่อระงับอาการท้องไส้ปั่นป่วน และทำให้อาการลำไส้อักเสบดีขึ้น ซึ่งถ้าดื่มน้ำขิงแดงให้หายี่ห้อที่ใช้ขิงจริง เพราะน้ำขิงแดงบางที่ก็ใช้ขิงแท้ไม่พอ ทำให้ไม่ได้ผล
    • ทำชาขิงได้โดยต้มขิงสด 12 ชิ้น กับน้ำ 3 ถ้วย เคี่ยวจนเดือดและปล่อยให้ชาจางลง ประมาณ 20 นาที [27] แล้วคนในน้ำผึ้งเล็กน้อยก่อนดื่มชา เพราะน้ำผึ้งก็อาจช่วยอาการท้องเสียได้ [28]
    • ชาขิงนั้นปลอดภัยสำหรับหญิงมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร [29] แต่หญิงตั้งครรภ์ก็ไม่ควรกินขิงเกินวันละ 1 กรัม [30]
    • ห้ามให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบกินขิง แต่เด็กอายุมากกว่า 2 ขวบอาจจะได้ประโยชน์จากน้ำขิงแดงหรือชาขิงปริมาณน้อยๆ ในการรักษาอาการวิงเวียน กระเพาะปั่นป่วน และท้องเสียได้ดี [31]
    • ขิงอาจจะไปรบกวนยาจางเลือด เช่น แอสไพรินหรือยาวาร์ฟาริน (คูมาดิน) ดังนั้นห้ามใช้ขิง หากมีอาการโลหิตจาง
  5. ถ้าอาการท้องเสียมีสาเหตุจาก “เชื้อโรคในกระเพาะอาหาร” หรือมีอาการอาเจียน ดื่มน้ำมากๆ ในคราวเดียว จะทำให้อาการแย่ลงไปอีก [32] ดังนั้นให้ลองจิบน้ำน้อยๆ บ่อยๆ ตลอดวัน เพื่อให้กระเพาะอยู่ตัว
    • สามารถใช้น้ำแข็งก้อน หรือไอศกรีมแท่งแช่แข็งเพื่อรักษาน้ำไว้ได้ [33] และมันยังเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับเด็กที่อยากดื่มน้ำครั้งละมากๆ เมื่อขาดน้ำด้วย
  6. ถ้าเด็กที่ให้นมท้องเสีย ก็ให้นมต่อ เพราะมันจะเป็นการช่วยให้เด็กรู้สึกสบายและทำให้เขาไม่ขาดน้ำ [34]
    • ห้ามให้นมวัวกับเด็กทารกที่ท้องเสีย เพราะมันอาจจะก่อให้เกิดแก๊สและอาการท้องอืดได้
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

กินอาหารให้เหมาะสม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เพราะมันจะช่วยดูดซับน้ำและทำให้อุจจาระแข็งตัว ซึ่งมันจะทำให้อาการท้องเสียลดลง โดยสำนักสารอาหารและโภชนวิทยาแนะนำให้ผู้หญิงได้รับใยอาหารอย่างน้อย 25 กรัม และผู้ชาย 38 กรัม [35] แล้วลองเพิ่มใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำ หรืออาหารหยาบเมื่อท้องเสีย
    • ข้าวกล้อง บาร์เลย์ หรือธัญพืชเต็มเมล็ดอื่นๆ เป็นแหล่งใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำที่ดี [36] โดยทำให้มันสุกก่อนในไก่ไขมันต่ำ หรือซุปมิโซะเพื่อทดแทนจากการขาดเกลือ
    • อาหารที่มีโพแทสเซียมและใยอาหาร เช่น มันฝรั่งบดหรือต้ม และกล้วย [37]
    • แครอทสุกเป็นแหล่งที่ดีของใยอาหาร โดยสามารถบดได้ถ้าต้องการ [38]
  2. เพราะมันเป็นอาหารอ่อน และช่วยบรรเทาอาการท้องไส้ปั่นป่วน [39] โดยแครกเกอร์บางชนิดก็มีใยอาหารที่ช่วยทำให้อุจจาระแข็งตัวด้วย
    • ถ้าแพ้กลูเตนให้ลองแครกเกอร์จากข้าวแทนที่ทำจากข้าวสาลี
  3. ส่วนประกอบของการกินแบบนี้มี กล้วย ข้าว ซอสแอปเปิล และขนมปังปิ้ง ซึ่งช่วยเพิ่มการขับถ่ายและมีสารอาหารที่อ่อนโยนที่จะไม่ทำให้ท้องไส้ปั่นป่วน [40] .
    • เลือกข้าวกล้องและขนมปังปิ้งแบบธัญพืชเต็มเมล็ด ซึ่งมีใยอาหารและสารอาหาร เช่น วิตามิน และเกลือแร่มากกว่า
    • ซอสแอปเปิลมีสารเพกติน ซึ่งช่วยทำให้อุจจาระแข็งตัว โดยน้ำแอปเปิลจะมีผลช่วยระบาย ซึ่งทำให้อาการท้องเสียแย่ลงได้ [41]
    • หลีกเลี่ยงอาหารแข็ง หากยังอาเจียนอยู่ แต่ให้ดื่มน้ำซุปหรือน้ำอื่นๆ และไปหาหมอ
  4. ซึ่งมันทำให้ท้องเสียจากอาการแพ้แลคโตสได้ [42] หรือแม้แต่การท้องเสียอย่างเดียว แบบที่ไม่แพ้แลคโตสก็ย่อยผลิตภัณฑ์จากนมยากอยู่แล้ว [43]
  5. ซึ่งมันจะทำให้กระเพาะปั่นป่วนและอาการท้องเสียแย่ลง [44] แต่ให้กินอาหารที่รสจืด อ่อนๆ ที่ทำให้รู้สึกดีขึ้นแทน
    • ถ้าต้องการโปรตีน ให้ลองต้มและอบไก่ที่ลอกหนังออกแล้ว [45] และไข่คนก็ดีเหมือนกัน [46]
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

ใช้ยาหน้าเคาน์เตอร์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ซึ่งมียี่ห้อ Pepto-Bismol และ Kaopectate โดยจะช่วยลดอาการอักเสบและช่วยจัดการของเหลวในร่างกายให้ดีขึ้น [47]
    • มันอาจมีผลที่ต้านแบคทีเรียอ่อนๆ ด้วย ซึ่งดีต่ออาการท้องเสียที่เกิดจาก “เชื้อโรคในกระเพาะอาหาร” หรือการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น “อาการท้องเสียของนักท่องเที่ยว” [48]
    • ห้ามใช้ Pepto-Bismol ถ้าแพ้แอสไพริน และห้ามกินร่วมกับยาที่มีแอสไพรินเป็นส่วนประกอบ [49]
    • ห้ามให้ยาแก้ท้องเสียกับเด็กเล็ก โดยไม่ปรึกษากุมารแพทย์ก่อน [50]
  2. ซึ่งเป็นแหล่งใยอาหารที่ละลายที่ดี และช่วยซึมซับน้ำในลำไส้และทำให้อุจจาระแข็งตัวด้วย [51]
    • ผู้ใหญ่ควรกินในปริมาณเล็กน้อย (1/2 ถึง 2 ช้อนชา หรือ 2.5 ถึง 10 กรัม) ผสมกับน้ำ ถ้าไม่ชินให้เริ่มที่ปริมาณน้อยๆ ก่อน และค่อยๆ เพิ่มให้มากขึ้น
    • ห้ามให้เด็กเล็กกิน โดยไม่ปรึกษากุมารแพทย์ก่อน [52] และเด็กที่อายุ 6 ปีขึ้นไปสามารถกินได้ในปริมาณน้อยๆ (1/4 ช้อนชา หรือ 1.25 กรัม) ผสมกับน้ำ
  3. ถ้าท้องเสียเกิน 5 วัน (สำหรับผู้ใหญ่) ให้นัดพบหมอได้เลย [53] แต่ถ้าท้องเสียเกิน 1 วัน (สำหรับเด็ก) ให้พบหมอให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ [54]
    • หาหมอทันทีที่มีเลือดหรือน้ำหนองปนอยู่ในอุจจาระ หรือถ้ามีไข้สูง 38.9 องศาเซลเซียสขึ้นไป
    • ถ้ามีความเจ็บปวดที่รุนแรงที่บริเวณหน้าท้อง หรือทวารหนัก ให้พบแพทย์โดยด่วน [55]
    • ถ้ากำลังมีปัญหาในการทำตัวให้ไม่ขาดน้ำ อาจจะมีอาการ เช่น มึนงง ปวดหัวเบาๆ อ่อนแรงสุดๆ หรือปากแห้ง ถ้ายังมีอาการเหล่านี้อยู่ให้ไปหาหมอ เพราะอาการขาดน้ำขั้นสูงสุดจะทำให้เกิดอาการป่วย และถึงขั้นเสียชีวิตได้ [56]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • กินอาหารอ่อนๆ เพราะของที่รสเผ็ดหรือร้อนเกินไปจะทำให้การท้องเสียแย่ลงได้
  • อ่านและทำตามป้ายแนะนำบนขวดหรือกล่องยาที่ซื้อมาเอง รวมทั้งต้องก่อนในปริมาณที่แนะนำเท่านั้น
  • หลีกเลี่ยงผลไม้ คาเฟอีน และแอลกอฮอล์ใน 48 ชั่วโมงหลังจากมีอาการ
  • การปล่อยให้ “หายเอง” จะดีที่สุดสำหรับอาการท้องเสียในหลายคน และหากมันเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือพยาธิ ร่างกายจะใช้การท้องเสียเป็นตัวขับมันออก โดยลองกินโภชนบำบัดก่อนที่จะกินยาต้านอาการท้องร่วง
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้ามีเลือด เมือก หรือน้ำหนองในอุจจาระ ให้พบแพทย์โดยด่วน
  • ห้ามใช้การรักษาแบบพื้นบ้านกับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี โดยติดต่อขอคำแนะนำจากกุมารแพทย์
  • ถ้าเด็กหรือคนอื่นมีไข้สูง (38.9 องศาเซลเซียสหรือสูงกว่า) ร่วมกับท้องเสีย ให้ติดต่อแพทย์ทันที
  • ถ้าเด็กไม่ดื่มหรือปัสสาวะ ให้พาไปหากุมารแพทย์โดยด่วน [57]
  • ยาต้านอาการท้องร่วง เช่น Imodium อาจจะทำให้อาการแย่ลง ถ้าการท้องเสียนั้นมาจากการติดเชื้อ [58]
โฆษณา
  1. http://www.webmd.com/digestive-disorders/diarrhea-10/symptoms-serious
  2. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003130.htm
  3. http://www.healthychildren.org/English/health-issues/conditions/abdominal/Pages/Diarrhea.aspx
  4. http://www.niddk.nih.gov/health-information/health-topics/digestive-diseases/diarrhea/Pages/ez.aspx#eating
  5. http://www.mayoclinic.org/healthy-living/nutrition-and-healthy-eating/in-depth/water/art-20044256?pg=2
  6. http://www.niddk.nih.gov/health-information/health-topics/digestive-diseases/diarrhea/Pages/ez.aspx#eating
  7. http://umm.edu/system-hospital-sites/shore-health/health/medical/altmed/condition/diarrhea
  8. http://www.niddk.nih.gov/health-information/health-topics/digestive-diseases/diarrhea/Pages/ez.aspx#eating
  9. http://www.nydailynews.com/life-style/health/no-stomach-flu-facts-myths-treat-article-1.365819
  10. http://www.webmd.com/ibs/guide/ibs-triggers-prevention-strategies
  11. http://www.iffgd.org/site/gi-disorders/functional-gi-disorders/diarrhea/common-causes/
  12. http://www.healthguidance.org/entry/14527/1/How-to-Calm-an-Upset-Stomach.html
  13. http://www.webmd.com/balance/features/herbs-for-kids-feature
  14. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/diarrhea
  15. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-733-fenugreek.aspx?activeingredientid=733&activeingredientname=fenugreek
  16. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/diarrhea
  17. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-961-ginger.aspx?activeingredientid=961&activeingredientname=ginger
  18. http://www.vegetariantimes.com/recipe/ginger-tea/
  19. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-738-honey.aspx?activeingredientid=738&activeingredientname=honey
  20. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15802416
  21. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/ginger
  22. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/ginger
  23. http://www.webmd.com/digestive-disorders/diarrhea-stomach-flu?page=2
  24. http://www.uhs.umich.edu/diarrheavomiting
  25. http://www.healthychildren.org/English/health-issues/conditions/abdominal/Pages/Diarrhea.aspx
  26. http://www.webmd.com/digestive-disorders/features/diarrhea-diet-facts-about-fiber
  27. http://www.webmd.com/digestive-disorders/features/diarrhea-diet-facts-about-fiber?page=2
  28. http://www.iffgd.org/site/gi-disorders/functional-gi-disorders/diarrhea/nutrition
  29. http://www.niddk.nih.gov/health-information/health-topics/digestive-diseases/diarrhea/Pages/ez.aspx#eating
  30. http://www.healthguidance.org/entry/14527/1/How-to-Calm-an-Upset-Stomach.html
  31. http://familydoctor.org/familydoctor/en/prevention-wellness/food-nutrition/weight-loss/brat-diet-recovering-from-an-upset-stomach.html
  32. http://www.mayoclinic.org/healthy-living/infant-and-toddler-health/expert-answers/infant-constipation/faq-20058519
  33. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diarrhea/basics/causes/con-20014025
  34. http://www.healthguidance.org/entry/14527/1/How-to-Calm-an-Upset-Stomach.html
  35. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000121.htm
  36. http://www.healthguidance.org/entry/14527/1/How-to-Calm-an-Upset-Stomach.html
  37. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000121.htm
  38. http://familydoctor.org/familydoctor/en/drugs-procedures-devices/over-the-counter/antidiarrheal-medicines-otc-relief-for-diarrhea.html
  39. http://www.medicinenet.com/diarrhea/page9.htm#what_home_remedies_help_the_symptoms_of_diarrhea
  40. http://www.medicinenet.com/diarrhea/page9.htm#what_home_remedies_help_the_symptoms_of_diarrhea
  41. http://www.healthychildren.org/English/health-issues/conditions/abdominal/Pages/Diarrhea.aspx
  42. http://umm.edu/health/medical/altmed/supplement/psyllium
  43. http://umm.edu/health/medical/altmed/supplement/psyllium
  44. http://www.webmd.com/digestive-disorders/digestive-diseases-diarrhea?page=2
  45. http://www.niddk.nih.gov/health-information/health-topics/digestive-diseases/diarrhea/Pages/ez.aspx#eating
  46. http://www.mayoclinic.org/symptoms/diarrhea/basics/when-to-see-doctor/sym-20050926
  47. http://www.webmd.com/a-to-z-guides/dehydration-adults
  48. http://www.niddk.nih.gov/health-information/health-topics/digestive-diseases/diarrhea/Pages/ez.aspx#eating
  49. http://familydoctor.org/familydoctor/en/drugs-procedures-devices/over-the-counter/antidiarrheal-medicines-otc-relief-for-diarrhea.html

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,507 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา