ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ลมพิษ คือ ประเภทของผื่นผิวหนังซึ่งเป็นผลมาจากปฏิกิริยาแพ้สารที่เรียกว่าสารก่อภูมิแพ้ในสิ่งแวดล้อม แม้ว่าจะไม่สามารถหาสาเหตุของลมพิษได้เสมอไป แต่มันมักจะตอบสนองต่อฮีสตามีน (Histamine) ที่ร่างกายปล่อยออกมา ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อคุณมีอาการแพ้อาหาร ยา หรือสารก่อภูมิแพ้อื่นๆ บางครั้งฮีสตามีนยังเป็นการตอบสนองของร่างกายที่มีต่อการติดเชื้อ ความเครียด แสงแดด และการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ลมพิษมักจะเห็นเป็นบริเวณเล็กๆ บวม คัน และเป็นสีแดงบนผิวที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่ม หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รักษา ปกติแล้วลมพิษจะจางหายไปภายในสองสามชั่วโมง แต่อาจจะปรากฏขึ้นใหม่อีกครั้งในที่เดิม [1] ถ้าคุณอยากลองรักษาลมพิษของคุณที่บ้านแล้วล่ะก็ มีวิธีรักษาตามธรรมชาติต่างๆ หลากหลายวิธีเพื่อรักษาลมพิษของคุณ

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 5:

การหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใครๆ ก็เป็นลมพิษได้ ประชากรประมาณ 20% ต้องเคยประสบกับปัญหาลมพิษบ้างในชีวิตของพวกเขา [2] ในระหว่างที่การเกิดอาการแพ้ เซลล์ผิวหนังบางอย่าง เช่น มาสต์เซลล์ที่มีฮีสตามีนและสารสื่อเคมี (Chemical Messengers) อื่นๆ อย่างไซโตไคน์ (Cytokine) จะถูกกระตุ้นให้ปล่อยฮีสตามีนและไซโตไคน์อื่นๆ ออกมา ซึ่งนี่จะเพิ่มปริมาณของการรั่วไหลจากหลอดเลือดเล็กๆ ในผิวหนังและก่อให้เกิดอาการบวมและคันซึ่งก็คือลักษณะของลมพิษ [3]
  2. ขั้นตอนแรกในการรักษาลมพิษก็คือการแน่ใจว่าคุณอยู่ห่างจากแหล่งที่ทำให้เกิดอาการแพ้ ถ้าคุณรู้ว่าอะไรที่ทำให้เกิดลมพิษส่วนใหญ่ ให้เอาสารที่จะก่อให้เกิดอาการแพ้ออกไปจากผิวหนังหรือสิ่งแวดล้อมของคุณ สารก่อภูมิแพ้ที่พบบ่อยที่ตรวจสอบง่าย ได้แก่ ต้นพอยซั่นไอวี (Poison Ivy) พอยซั่นโอ๊ก (Poison Oak) แมลงกัดต่อย เสื้อผ้าขนสัตว์ แมว หรือสุนัข ให้หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้เหล่านี้หรือสารก่อภูมิแพ้อื่นๆ ที่รู้จักให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
    • ในกรณีของลมพิษเรื้อรังบางกรณีนั้น คุณอาจจะต้องสืบหาเพื่อตรวจสอบว่าตัวกระตุ้นเฉพาะที่ทำให้เกิดลมพิษของคุณคืออะไร [4]
    • สาเหตุที่พบบ่อยอื่นๆ ได้แก่ อาหาร ยา สารเคมีอย่างเช่น อะซิโตน (Acetone) โพลีเมอร์อย่างเช่น น้ำยาง การติดเชื้อไวรัส เชื้อรา หรือเชื้อแบคทีเรีย ขนหรือสะเก็ดผิวหนังของสัตว์เลี้ยง พืช และสิ่งกระตุ้นทางกายภาพอย่างเช่น ความดัน อุณหภูมิ และการสัมผัสกับแสงแดด [5]
  3. มีบางกรณีที่สาเหตุสิ่งแวดล้อมสามารถก่อให้เกิดลมพิษได้ ถ้าคุณมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อละอองเกสรดอกไม้ ให้หลีกเลี่ยงการออกไปข้างนอกตอนเช้าและตอนเย็นเมื่อมีระดับปริมาณละอองเกสรดอกไม้สูงที่สุด ให้ปิดหน้าต่างในช่วงเวลาเหล่านี้ด้วย และหลีกเลี่ยงการตากเสื้อผ้าข้างนอก เปลี่ยนมาใส่ "เสื้อผ้าที่ใส่ในร่ม" ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และซัก "เสื้อผ้าที่ใส่กลางแจ้ง" ของคุณทันที
    • การใช้เครื่องทำความชื้นในบ้านก็อาจจะมีประโยชน์เช่นกัน
    • คุณยังอาจจะต้องหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นในอากาศทั่วไปอื่นๆ ด้วย เช่น ผลิตภัณฑ์ไล่แมลง ควันบุหรี่ ควันฟืน และกลิ่นถนนลาดยางหรือสีที่ทาใหม่ๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ [6]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 5:

การใช้การรักษาเฉพาะที่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เนื่องจากการระคายเคืองผิวหนังนั้นเป็นอาการหลักของลมพิษ คุณควรจะรักษาผิวหนังเพื่อช่วยบรรเทาอาการลมพิษ ให้ใช้ผ้าขนหนูสะอาดและชุบในน้ำเย็น บีบให้หมาดและวางเหนือบริเวณที่มีอาการ ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที แล้วชุบผ้าขนหนูในน้ำเย็นอีกครั้งเพื่อให้ผ้ายังเย็นอยู่ ซึ่งจะรักษาให้ผิวของคุณเย็นด้วย
  2. โอ๊ตมีลเป็นหนึ่งในวิธีตามธรรมชาติที่ดีที่สุดในการรักษาผิวหนังที่คันและระคายเคืองที่เกี่ยวข้องกับลมพิษ เตรียมข้าวโอ๊ตชนิดเกล็ด (Rolled Oats) จากธรรมชาติ 1 ถ้วยและใส่ในเครื่องเตรียมอาหารหรือเครื่องบดกาแฟ ปั่นจนกว่าข้าวโอ๊ตจะกลายเป็นผง เมื่อบดจนเป็นสารละเอียดแล้ว ให้ใส่ข้าวโอ๊ตหนึ่งหรือสองถ้วยลงในอ่างอาบน้ำอุ่นหรือน้ำเย็นซึ่งจะทำให้น้ำเป็นสีขาวสีและเหนียวข้น ลงไปในอ่างอาบน้ำและแช่ได้นานเท่าที่คุณต้องการ ทำซ้ำได้บ่อยเท่าที่จำเป็น
    • อย่าใช้น้ำร้อนหรือน้ำเย็นจัดเพราะมักจะทำให้ลมพิษเกิดความระคายเคือง
    • คุณสามารถเติมนมได้ถึงสี่ถ้วยเพื่อช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองได้มากขึ้น [8]
  3. บรอมีเลน (Bromelain) เป็นเอนไซม์ที่พบในสับปะรดและสามารถช่วยลดอาการบวมของลมพิษได้ บดสับปะรดโดยสามารถใช้ได้ทั้งสับปะรดกระป๋องหรือสด และใส่ไว้บนผ้าขนหนูบางๆ รวบมุมทั้งสี่ด้านของผ้าเข้าด้วยกันและรัดด้วยหนังยาง วางผ้าขนหนูห่อสับปะรดชื้นๆ นั้นลงบนลมพิษ
    • ตอนที่ไม่ได้ใช้ลูกประคบสับปะรด ก็ให้ใส่ไว้ในภาชนะปิดและเก็บไว้ในตู้เย็น ใช้ได้บ่อยเท่าที่ต้องการ แต่ให้เปลี่ยนสับปะรดทุก 24 ชั่วโมง
    • คุณยังสามารถวางชิ้นสับปะรดได้โดยตรงลงบนลมพิษของคุณเช่นกัน
    • ยังมีบรอมีเลนในรูปแบบของอาหารเสริมด้วย ซึ่งคุณสามารถกินเพื่อช่วยลดลมพิษได้เช่นกัน [9]
  4. ผงฟูสามารถนำมาใช้เพื่อช่วยบรรเทาอาการคันจากลมพิษได้ ผสมผงฟู 1 ช้อนโต๊ะกับน้ำพอที่จะทำให้เป็นแป้งข้นๆ ลองหยดน้ำสักสองสามหยดก่อนและคนให้เข้ากัน แล้วค่อยเติมมากขึ้นตามที่จำเป็น ใช้นิ้วมือหรือไม้พายทายาพอกนั้นให้ทั่วบริเวณลมพิษ ใช้ได้บ่อยเท่าที่จำเป็นและล้างออกด้วยน้ำเย็น
    • คุณยังอาจจะใช้ครีมออฟทาร์ทาร์ (Cream of Tartar) ได้ด้วยถ้าคุณมี ให้ทำเป็นยาพอกในลักษณะเดียวกันและใช้เท่าที่จำเป็น [10]
  5. มีสารอาหารในการรักษาจำนวนมากอยู่ในน้ำส้มสายชู เลือกน้ำส้มสายชูชนิดใดก็ได้ เทน้ำส้มสายชู 1 ช้อนชาลงในน้ำ 1 ช้อนโต๊ะและคน โดยใช้สำลีก้อนหรือผ้าเช็ดปากทาส่วนผสมลงบนลมพิษของคุณ ซึ่งนี่จะช่วยบรรเทาอาการคันได้ [11]
  6. ตำแยได้ถูกนำมาใช้ในการรักษาลมพิษมาแต่ดั้งเดิมเพราะมันเป็นสารต้านฮีสตามีนตามธรรมชาติ คุณสามารถทำตำแยให้เป็นชา กิน หรือใช้เป็นอาหารเสริมก็ได้ ในการชงชาตำแยหนึ่งถ้วย จะใช้สมุนไพรแห้ง 1 ช้อนชาและเติมลงไปในน้ำร้อนหนึ่งถ้วย แช่ทิ้งไว้และปล่อยให้เย็น ชุบผ้าขนหนูในชาตำแย บีบให้หมาดและวางผ้าขนหนูหมาดๆ บนลมพิษ ใช้ได้บ่อยเท่าที่ต้องการ
    • สำหรับอาหารเสริมตำแย ให้กินแบบเม็ดขนาด 400 มิลลิกรัมได้ถึง 6 เม็ดต่อวัน ส่วนการกินต้นตำแยนั้น ให้นึ่งก่อนแล้วค่อยกิน [12]
    • เก็บชาตำแยที่ไม่ได้ใช้ในตู้เย็นโดยใส่ไว้ในภาชนะปิด ชงชาใหม่ทุก 24 ชั่วโมง
  7. โลชั่นคาลาไมน์เป็นส่วนผสมของซิงค์ ออกไซด์ (Zinc Oxide) และซิงค์ คาร์บอเนต (Zinc Carbonate) สามารถนำไปใช้ทาลมพิษเพื่อบรรเทาอาการคันได้บ่อยตามที่ต้องการ เมื่ออาการคันทุเลาลงหรือคุณต้องการทาใหม่ ให้ล้างโลชั่นคาลาไมน์ออกด้วยน้ำเย็น [13]
    • นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้ยาน้ำแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ เช่นยี่ห้อ มิลค์ออฟแมกนีเซีย (Milk of Magnesia) หรือยาเพ็พโท-บิสมอล (Pepto-Bismol) บนลมพิษได้เช่นกัน ทั้งสองมีฤทธิ์เป็นด่างซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการคัน [14]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 5:

การกินผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มีสมุนไพรและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมากมายที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบตามธรรมชาติ รูติน เป็นไบโอฟลาโวนอยด์ (Bioflavonoid) ตามธรรมชาติที่พบได้ในผลไม้ตระกูลส้มและบักวีต (Buckwheat) ซึ่งสามารถทำงานเพื่อลดการอักเสบและอาการบวมโดยการจำกัดการรั่วไหลจากหลอดเลือด [15] [16]
    • ปริมาณที่แนะนำสำหรับรูตินคือ 250 มิลลิกรัมทุก 12 ชั่วโมง [17]
  2. เควอซิทินมีประสิทธิภาพในการลดการอักเสบและอาการบวมได้อีกด้วย มันเป็นฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ที่ผลิตในร่างกายโดยรูติน [18] [19] กินผักผลไม้มากขึ้น เช่น แอปเปิล ผลไม้ตระกูลส้ม หอมหัวใหญ่ เสจ ผักชีฝรั่ง เชอร์รี่ดำ องุ่น บลูเบอร์รี่ แบล็คเบอร์รี่ และบิลเบอร์รี่ เพื่อให้ได้รับเควอซิทินในอาหารของคุณมากขึ้น คุณยังสามารถดื่มชาและไวน์แดงมากขึ้น หรือบริโภคน้ำมันมะกอกเพิ่มขึ้น คุณอาจจะกินเควอซิทินเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้อีกด้วย [20]
    • เควอซิทินมีประสิทธิภาพในการป้องกันการปล่อยฮีสตามีนมากกว่ายาโครโมลินตามใบสั่งแพทย์ ซึ่งจะช่วยเรื่องลมพิษของคุณอีกด้วย [21]
    • ถ้าคุณกินอาหารเสริม ให้ถามแพทย์ของคุณว่าปริมาณเท่าไรที่จะเหมาะสมสำหรับลมพิษของคุณเป็นกรณีเฉพาะ ซึ่งฐานหลักของแต่กรณีจะแตกต่างกันไป [22]
  3. ต้นฤๅษีผสม เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ถูกนำมาใช้ในการแพทย์อายุรเวท มีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่ามันช่วยลดการปล่อยฮีสตามีนและลิวโคทรีนออกมาจากมาสต์เซลล์ตอนคุณเป็นลมพิษได้ [23]
    • ปกติแนะนำให้คุณกินฤๅษีผสมระหว่าง 100-250 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ก็ไม่ได้มีแนวทางที่เคร่งครัดอะไร ให้ถามแพทย์ว่าปริมาณเท่าไรที่เหมาะสมสำหรับคุณ
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 5:

การลดความเครียด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แม้ว่าจะไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าความเครียดและลมพิษเกี่ยวข้องกันอย่างไร แต่ความเครียดดูเหมือนจะทำให้คนมีความเสี่ยงที่จะเป็นลมพิษสูงขึ้น ลดระดับความเครียดของคุณโดยพยายามผ่อนคลาย ใช้เวลานอกตารางงานในแต่ละวันเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมซึ่งช่วยให้ผ่อนคลาย เช่น การเดินเล่น การอ่านหนังสือ การทำสวน หรือการดูหนัง
    • กิจกรรมซึ่งช่วยให้ผ่อนคลายอาจจะแล้วแต่ความชอบของแต่ละคนก็ได้ ให้ค้นหาอะไรก็ตามที่ทำให้คุณมีความสุขและผ่อนคลายแล้วก็ทำทุกวัน [24]
  2. เทคนิคการหายใจลึกๆ นั้นแสดงให้เห็นว่าช่วยลดความเครียดได้ เริ่มต้นด้วยการนอนหงายราบ ใช้หมอนรองใต้หัวเข่าและคอของคุณไว้เพื่อให้คุณรู้สึกสบาย วางมือของคุณคว่ำลงบนท้องด้านล่างซี่โครง วางนิ้วมือชิดกันเพื่อให้คุณสามารถรู้สึกว่าพวกมันแยกจากกันและรู้ว่าคุณกำลังออกกำลังกายอย่างถูกต้อง หายใจยาว ลึก และช้าๆ โดยหน้าท้องของคุณจะขยายออก เป็นการหายใจเหมือนการหายใจของเด็กซึ่งหมายถึงหายใจจากกะบังลมนั่นเอง ดังนั้นนิ้วมือของคุณควรแยกจากกันขณะที่พวกมันอยู่บนหน้าท้องของคุณ
    • ให้แน่ใจว่าคุณกำลังหายใจด้วยกะบังลมมากกว่าซี่โครงของคุณ กะบังลมจะดูดอากาศเข้าไปในปอดของคุณได้มากกว่าการขยายซี่โครง [25]
  3. การพูดบวกให้กำลังใจตัวเองเป็นวลีที่คุณพูดกับตัวเองเพื่อช่วยลดความเครียดของคุณและทำให้อารมณ์ของคุณสดใสขึ้น เมื่อพูดวลีเหล่านี้ ให้พูดเกี่ยวกับปัจจุบันและพูดซ้ำบ่อยๆ เท่าที่คุณจะทำได้ ตัวอย่างการพูดบวกให้กำลังใจตัวเอง ได้แก่:
    • ได้สิ ฉันทำได้
    • ฉันประสบความสำเร็จ
    • ฉันเริ่มสุขภาพดีแล้วล่ะ
    • ฉันรู้สึกดีขึ้นทุกวันเลย
    • บางคนเขียนคำพูดให้กำลังใจตัวเองของพวกเขาในกระดาษโน้ตแถบกาวและแปะโน้ตเหล่านี้ไว้ทุกที่ที่พวกเขาทำได้เพื่อช่วยให้พวกเขาผ่อนคลายทุกวัน [26]
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 5:

การเข้าใจลมพิษ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาการและการปรากฏตัวของลมพิษอาจจะอยู่เพียงสั้นๆ อยู่แค่เพียงไม่กี่นาที จนถึงระยะยาวมาก อาการและการปรากฏตัวของลมพิษสามารถอยู่ได้เป็นเดือนๆ และปีๆ ลมพิษยังสามารถเกิดขึ้นบริเวณใดของร่างกายก็ได้ แต่ที่พบมากที่สุดคือจะปรากฏเป็นตุ่มคันอยู่ในบริเวณเดียวกับที่ได้สัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้
  2. การวินิจฉัยลมพิษนั้นโดยทั่วไปแล้วไม่ซับซ้อนและต้องการแค่การตรวจสอบด้วยวิธีตรวจพินิจ ถ้าคุณไม่สามารถหาสารก่อภูมิแพ้ที่ทำให้เกิดลมพิษของคุณได้เอง แพทย์ของคุณสามารถดำเนินการทดสอบตอนคุณได้รับการวินิจฉัยเพื่อตรวจหาสิ่งที่ทำให้เกิดลมพิษของคุณได้ เขาหรือเธอจะทำโดยการดำเนินการทดสอบอาการภูมิแพ้ซึ่งทดสอบปฏิกิริยาของผิวหนังต่อสารหลากหลายชนิด
  3. สำหรับกรณีของลมพิษที่ไม่รุนแรงจนถึงปานกลางนั้น มักจะใช้สารต้านฮิสตามีน ซึ่งนี่อาจจะเป็นยาที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปหรือเป็นสารต้านฮิสตามีนตามใบสั่งแพทย์ ยาเหล่านี้ได้แก่:
    • สารต้านฮิสตามีนที่ทำให้ง่วงซึม (Sedating Antihistamine) อย่างเช่น ยาบรอมเฟนิรามีน (Brompheniramine) หรือชื่อทางการค้าว่า ไดมีเทน (Dimetane) ยาคลอเฟนิรามีน (Chlorpheniramine) หรือชื่อทางการค้าว่า คลอร์-ไทรเมทอน (Chlor-Trimeton) และยาไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) หรือชื่อทางการค้าว่า เบนาดริล (Benadryl)
    • สารต้านฮิสตามีนที่ไม่ทำให้ง่วงนอน (Non-sedating Antihistamine) อย่างเช่น ยาเซทิไรซีน (Cetirizine) หรือชื่อทางการค้าว่า เซอร์เทค (Zyrtec) เซอร์เทค-ดี (Zyrtec-D) ยาคลีมาสทีน (Clemastine) หรือชื่อทางการค้าว่า ทาวิสต์ (Tavist) ยาเฟกโซเฟนาดีน (Fexofenadine) หรือชื่อทางการค้าว่า อัลเลกรา (Allegra) อัลเลกรา ดี (Allegra D) และยาลอราทาดีน (Loratadine) หรือชื่อทางการค้าว่า คลาริทิน (Claritin) คลาริทิน ดี (Claritin D) อะลาเวอร์ต (Alavert)
    • ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) ในยาพ่นจมูกที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป เช่นยี่ห้อนาซาคอร์ท (Nasacort) และยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ที่ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์ ได้แก่ เพรดนิโซน (Prednisone) เพรดนิโซโลน (Prednisolone) คอร์ติซอล (Cortisol) และเมทิลเพรดนิโซโลน (Methylprednisolone)
    • ยาชนิดควบคุมมาสท์เซลล์ให้คงที่ (Mast-cell Stabilizer) อย่างเช่น โครโมลินโซเดียม (Cromolyn Sodium) หรือชื่อทางการค้าว่า เนซอลโครม (Nasalcrom)
    • ยาชนิดยับยั้งลิวโคทรีน (Leukotriene Inhibitors) อย่างเช่น ยามอนเทลูคาสท์ (Montelukast) หรือชื่อทางการค้าว่า ซินกูเลียร์ (Singulair)
    • สารกดภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ (Topical Immune-Modulating Substance) หรือชื่อทางการค้าว่า โพรทอปิค (Protopic) และยาไพเมโครลิมัส (Pimecrolimus) หรือชื่อทางการค้าว่า เอลิเดล (Elidel) [29]
  4. ในกรณีที่พบได้ยาก ลมพิษอาจจะทำให้เกิดอาการบวมในลำคอและสามารถก่อให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินที่ต้องการอีพิเนฟริน (Epinephrine) อีพิเนฟรินนั้นยังสามารถนำมาใช้ในรูปแบบของอีพิเพน (EpiPen) ในผู้ที่แพ้สารที่เฉพาะอย่างรุนแรงและต้องการอีพิเนฟรินเพื่อป้องกันไม่เกิดแอนาฟิแล็กซิส (Anaphylaxis) ซึ่งเป็นอาการแพ้อย่างรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นโดยมีหรือไม่มีลมพิษปรากฏก็ได้ อาการของการเกิดปฏิกิริยาแพ้อย่างเฉียบพลัน ได้แก่:
    • ผื่นผิวหนังซึ่งอาจจะรวมถึงลมพิษ อาการคัน และผิวหนังแดงหรือซีด
    • ความรู้สึกอุ่นๆ
    • การรู้สึกสัมผัสหรือความรู้สึกถึงก้อนในลำคอ
    • การหายใจเสียงดังฮืดฮาดหรือความยากลำบากอื่นๆ ในการหายใจ
    • ลิ้นหรือคอบวม
    • ชีพจรและหัวใจเต้นเร็ว
    • อาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสีย
    • อาการเวียนหัวหรือเป็นลม [30]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เพื่อป้องกันไว้ก่อน ให้ทายาเฉพาะที่ตรงบริเวณเล็กๆ ก่อนเพื่อให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้มีปฏิกิริยาใดๆ กับมัน ถ้าหลังจาก 5-10 นาทีแล้วไม่มีปฏิกิริยา ให้ทาบนลมพิษตามที่จำเป็น
  • อย่าใช้ยาเหล่านี้กับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี เว้นแต่จะอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
  • ถ้าลมพิษกลายเป็นปัญหาเรื้อรังหรือระยะยาว คุณควรจะขอให้แพทย์ของคุณส่งตัวไปยังผู้เชี่ยวชาญ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้สามารถทดสอบคุณเพื่อตรวจสอบหาสาเหตุของอาการแพ้ของคุณถ้าเป็นไปได้ การทดสอบภูมิแพ้เหล่านี้จะครอบคลุมไปถึงอาหาร พืช สารเคมี แมลง และแมลงกัดต่อย
โฆษณา
  1. http://www.besthealthmag.ca/best-you/home-remedies/natural-home-remedies-hives#tByMGV2jUcpxSjIR.97
  2. http://www.besthealthmag.ca/best-you/home-remedies/natural-home-remedies-hives#tByMGV2jUcpxSjIR.97
  3. http://www.besthealthmag.ca/best-you/home-remedies/natural-home-remedies-hives#tByMGV2jUcpxSjIR.97
  4. http://www.drugs.com/cdi/calamine-lotion.html
  5. http://www.besthealthmag.ca/best-you/home-remedies/natural-home-remedies-hives#tByMGV2jUcpxSjIR.97
  6. Rehn D, Nocker W, Diebschlag W, et al. Time course of the anti-oedematous effect of different dose regimens of O-(beta-hydroxyethyl) rutosides in healthy volunteers. Arzneimittelforschung 1993;43(3):335-338
  7. Boyle, S. P., Dobson, V. L., Duthie, S. J., Hinselwood, D. C., Kyle, J. A., and Collins, A. R. Bioavailability and efficiency of rutin as an antioxidant: a human supplementation study. Eur.J Clin.Nutr. 2000;54(10):774-782
  8. http://www.drugs.com/dosage/bioflavonoids.html
  9. Rehn D, Nocker W, Diebschlag W, et al. Time course of the anti-oedematous effect of different dose regimens of O-(beta-hydroxyethyl) rutosides in healthy volunteers. Arzneimittelforschung 1993;43(3):335-338
  10. Boyle, S. P., Dobson, V. L., Duthie, S. J., Hinselwood, D. C., Kyle, J. A., and Collins, A. R. Bioavailability and efficiency of rutin as an antioxidant: a human supplementation study. Eur.J Clin.Nutr. 2000;54(10):774-782
  11. http://umm.edu/health/medical/altmed/supplement/quercetin
  12. Weng Z, Zhang B, Asadi S, Sismanopoulos N, Butcher A, Fu X, et al. (2012) Quercetin Is More Effective than Cromolyn in Blocking Human Mast Cell Cytokine Release and Inhibits Contact Dermatitis and Photosensitivity in Humans. PLoS ONE 7(3): e33805
  13. http://umm.edu/health/medical/altmed/supplement/quercetin#ixzz3iesBNOsW
  14. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/2432900
  15. http://dermatologytimes.modernmedicine.com/dermatology-times/news/modernmedicine/modern-medicine-feature-articles/clinicians-examine-mind-body-?page=full
  16. http://cas.umkc.edu/casww/brethexr.htm
  17. http://www.successconsciousness.com/index_00000a.htm
  18. https://www.aad.org/dermatology-a-to-z/diseases-and-treatments/e---h/hives
  19. https://www.aad.org/dermatology-a-to-z/diseases-and-treatments/e---h/hives/diagnosis-treatment
  20. http://www.rxlist.com/allergy_medications/drugs-condition.htm
  21. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/anaphylaxis/basics/symptoms/con-20014324

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 21,539 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา