ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณเคยทำอาหารที่เตาและดันไหม้มือและแขนตัวเองบ้างไหม? คุณไม่แน่ใจว่าควรทำอะไรหรือรู้ว่าแผลไหม้นั้นแย่ระดับไหนหรือไม่? มีขั้นตอนอยู่หลายอย่างที่คุณสามารถทำได้เพื่อให้มั่นใจว่าปลอดภัยและช่วยรักษาแผลไหม้ของคุณ

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

ประเมินสถานการณ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อแผลไหม้เกิดขึ้น ให้หยุดในสิ่งที่คุณกำลังทำในทันที ทำให้ทุกสถานการณ์ปลอดภัยด้วยการดับเปลวไฟหรือเตาใดๆ เพื่อที่จะได้ไม่มีใครบาดเจ็บ หากมันมีไฟที่ไม่สามารถควบคุมได้ ให้ออกมาจากบริเวณนั้นให้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้และโทรแจ้งเหตุฉุกเฉิน
  2. หากไฟนั้นไม่สามารถควบคุมได้ ให้โทรหา 911 (เบอร์ฉุกเฉินทั่วประเทศ) เพื่อแจ้งหน่วยดับเพลิงให้มายังพื้นที่ของคุณ โทรศัพท์หาศูนย์พิษวิทยา หากคุณไม่แน่ใจว่าสารเคมีนั้นจะทำให้เกิดผลข้างเคียงอื่นๆ หรือไม่ สำหรับแผลไหม้ที่เกิดจากไฟฟ้า ให้โทรหา 911 หากสายไฟยังมีกระแสไฟฟ้าอยู่ หรือหากแผลไหม้เกิดจากสายไฟฟ้าแรงสูงหรือฟ้าผ่า [3]
    • หากคุณไม่แน่ใจว่าสายไฟนั้นมีกระแสไฟฟ้าอยู่ อย่าสัมผัสมันโดยตรง ให้สัมผัสเมื่อมันเป็นวัสดุที่ไม่นำกระแสไฟฟ้า เช่น แผ่นไม้แห้งๆ หรือพลาสติก [4]
    • ผู้ที่มีแผลไหม้จากกระแสไฟนั้นควรไปขอความช่วยเหลือจากแพทย์เสมอ เพราะกระแสไฟอาจจะมีผลกับการเปลี่ยนพลังงานทางกายภาพของแสงไปเป็นพลังไฟฟ้า (electrical impulses) ตามธรรมชาติของร่างกายและทำให้เกิดอาการข้างเคียงรุนแรงได้ [5]
  3. ดูที่บริเวณที่ไหม้ของมือเพื่อประเมินความบาดเจ็บ จดตำแหน่งของแผลไหม้ที่อยู่บนมือ ดูที่ลักษณะของแผลไหม้และจดลักษณะที่เจาะจง นี่จะช่วยคุณตัดสินใจได้ว่าคุณมีแผลไหม้อยู่ในระดับไหน แผลไหม้นั้นแบ่งเป็นแผลไหม้ระดับแรก ระดับที่ 2 และระดับที่ 3 ขึ้นอยู่กับว่าแผลไหม้นั้นลึกแค่ไหน สำหรับแผลไหม้ระดับแรกนั้นเป็นประเภทที่เบาที่สุด ส่วนแผลไหม้ระดับสามนั้นเป็นประเภทที่ร้ายแรงที่สุด ระดับของแผลไหม้ที่ต่างกันก็ใช้วิธีรักษาที่ต่างกัน [6]
    • หากแผลไหม้นั้นอยู่ที่ฝ่ามือ คุณควรไปขอความช่วยเหลือจากแพทย์ทันที แผลไหม้ที่ฝ่ามือนั้นจะทำให้พิการในระยะยาวได้ [7] [8]
    • หากคุณมีแผลไหม้ที่อยู่รอบนิ้วใดนิ้วหนึ่งหรือหลายๆ นิ้ว (circumferential burn) ให้ไปพบแพทย์ทันที แผลไหม้ประเภทนี้จะจำกัดการไหลเวียนของเลือดและในกรณีที่รุนแรงก็จะต้องตัดนิ้วออกหากไม่ได้รับการรักษา [9]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

รักษาแผลไหม้ระดับแรก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แผลไหม้ระดับแรกนั้นจะส่งผลกระทบแค่ชั้นบนสุดของผิวหนัง แผลไหม้ระดับแรกนั้นจะบวมเล็กน้อยและแดง มันจะเจ็บด้วย เมื่อคุณกดไปที่ผิวหนัง มันจะกลายเป็นสีขาวสักพักหลังจากที่คุณคลายที่กดออก หากแผลไหม้ไม่ได้พุพองหรือเป็นแผลเปิด แต่แค่ทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นแดง นั้นก็แปลว่าแผลของคุณเป็นแผลไหม้ระดับแรก [10]
    • หากแผลไหม้ระดับแรกนั้นครอบคลุมทั้งมือและหน้าหรือทางเดินหายใจ บริเวณส่วนใหญ่ของมือ ขา ขาหนีบ และสะโพก หรือเหนือข้อต่อส่วนใหญ่ การไปพบแพทย์เป็นสิ่งที่แนะนำ
    • แผลไหม้แดดนั้นเป็นแผลไหม้ระดับแรกที่พบกันทั่วไปหากไม่มีอาการพุพองร่วมด้วย [11]
  2. หากคุณะบุว่าแผลของคุณเป็นแผลไหม้ระดับแรกยึดจากความรู้สึกและลักษณะของมัน ให้ใจเย็นๆ และไปที่อ่างล่างหน้าอย่างรวดเร็ว ให้มือหรือแขนอยู่ใต้ก๊อกน้ำและเปิดน้ำเย็นไหลผ่านเป็นเวลา 15-20 นาที นี่จะช่วยนำความร้อนออกจากผิวหนังและจะช่วยลดการอักเสบ [12]
    • คุณอาจจะใช้ชามใส่น้ำเย็นและจุ่มบริเวณที่ไหม้ลงไปในชามเป็นเวลา 2-3 นาที นี่จะช่วยขจัดความร้อนออกไปจากผิวหนัง ลดการอักเสบ และป้องกันแผลเป็นได้เท่าที่เป็นไปได้
    • อย่าใช้น้ำแข็งเพราะว่าความเย็นจะกัดผิวที่บริเวณผิวหนังที่ไหม้หากทิ้งน้ำแข็งไว้ที่ผิวหนังนานเกินไป นอกจากนี้หากผิวหนังรอบแผลไหม้มีน้ำแข็งอยู่ มันอาจจะเสียหายได้ [13] [14]
    • คุณไม่ควรทาเนยหรือเป่าลมไปที่แผลไหม้ วิธีเหล่านี้ไม่ช่วยและจะเพิ่มโอกาสที่จะติดเชื้อ [15]
  3. แผลไหม้นั้นจะทำให้เกิดอาการบวมซึ่งจะทำให้เครื่องประดับที่อยู่ตรงมือที่มีแผลไหม้นั้นคับหรือจะยับยั้งการไหลเวียนของเลือดที่เหมาะสมหรือจะจมไปในผิวหนัง ดังนั้น จึงควรถอดเครื่อประดับใดๆ ก็ตามออกที่อยู่บนมือที่ไหม้ เช่น แหวน หรือกำไล [16]
  4. หากคุณมีว่านหางจระเข้ ให้ดึงใบด้านล่างออก 1 ใบใกล้ๆ กับตรงกลางของลำต้น หั่นที่ลำต้น บิออกตามแนวกว้างของใบ และใช้เจลว่านหางจระเข้ทาโดยตรงที่แผลไหม้ มันจะช่วยทำให้รู้สึกเย็นบรรเทาอย่างทันที ซึ่งก็เป็นการบรรเทาที่ดีสำหรับแผลไหม้ระดับแรก [17]
    • หากคุณไม่มีว่านหางจระเข้ คุณสามารถใช้เจลว่านหางจระเข้ 100% ที่ซื้อมาจากร้านค้า
    • อย่าทาว่านหางจระเข้บนแผลเปิด
  5. ยาแก้ปวดที่สามารถซื้อได้ตามร้านขายยาเช่น อะเซตามิโนเฟน (Tylenol) นาพร็อกเซน (Aleve) หรือไอบูโพรเฟน (Advil, Motrin) นั้นถือว่าผลอดภัยหากใช้ในระยะสั้นๆ [18]
  6. แผลไหม้นั้นอาจจะแย่ลงในเวลา 2-3 ชั่วโมง หลังจากที่ล้างและรักษาแผลไหม้แล้ว ก็ควรตรวจดูที่แผลไหม้เพื่อให้แน่ใจว่ามันจะไม่กลายเป็นแผลไหม้ระดับ 2 หากมันได้เพิ่มความรุนแรงขึ้น ควรไปให้แพทย์รักษา [19]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

รักษาแผลไหม้ระดับที่ 2

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แผลไหม้ระดับ 2 นั้นจะรุนแรงกว่าแผลไหม้ระดับแรกเพราะว่ามันลึกผ่านผิวหนังชั้นกำพร้าและลงไปในผิวหนังชั้นที่อยู่ชั้นล่าง (หนังแท้) [20] นี่ไม่ได้หมายความว่าจำเป็นต้องให้แพทย์รักษา แผลไหม้นั้นจะมีสีแดงเข้มและจะทำให้มีการพุพองบนผิวหนัง มันจะบวมกว่าและดูเป็นรอยด่างกว่าแผลไหม้ระดับแรก และจะมีผิวหนังที่แดงมากกว่านั้น มันอาจจะดูเปียกและเงา บริเวณที่ไหม้นั้นอาจจะมีสีขาวหรือไม่มีสี [21]
  2. แผลไหม้นั้นจะทำให้เกิดอาการบวมซึ่งจะทำให้เครื่องประดับที่อยู่ตรงมือที่มีแผลไหม้นั้นคับหรือจะยับยั้งการไหลเวียนของเลือดที่เหมาะสมหรือจะจมไปในผิวหนัง ดังนั้น จึงควรถอดเครื่องประดับใดๆ ก็ตามออกที่อยู่บนมือที่ไหม้ เช่น แหวน หรือกำไล [24]
  3. การรักษาแผลไหม้ระดับที่ 2 นั้นแทบจะเหมือนกับการรักษาแผลไหม้ระดับแรก เมื่อมีแผลไหม้เกิดขึ้น ให้ไปที่อ่างน้ำอย่างรวดเร็วแต่ใจเย็น และวางให้มือหรือแขนอยู่ใต้น้ำเย็นเป็นเวลา 15-20 นาที นี่จะช่วยขจัดความร้อนออกไปจากผิวหนังและลดการอักเสบ หากมีอาการพุพอง อย่าไปทำให้มันแตก มันจะช่วยให้แผลสมาน การบีบเจาะมันจะทำให้ติดเชื้อและทำให้การสมานช้าลง [25] [26]
    • อย่าทาเนยหรือใช้น้ำแข็งที่แผล นอกจากนี้ อย่าเป่าที่แผลไหม้เพราะมันจะเพิ่มโอกาสที่จะติดเชื้อ [27]
  4. เพราะว่าแผลไหม้ประเภทที่ 2 นั้นได้ไหม้ลึกลงไปในผิวหนังชั้นที่ลึกกว่า ตวามเป็นไปได้สำหรับการติดเชื้อนั้นก็มีมากกว่า [28] ให้ทาครีมฆ่าเชื้อไปที่บริเวณที่ไหม้ก่อนที่จะใช้ผ้าพันแผล
    • Silver sulfadiazine (Silvadene) นั้นเป็นครีมฆ่าเชื้อที่ได้รับความนิยม และมันก็สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาโดยไม่ต้องใช้ใบจ่ายยา [29] ใช้ครีมเยอะๆ เพื่อที่มันจะได้ทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นชุ่มชื้นเป็นเวลานานๆ [30]
  5. หากแผลพุพองแตกออกเองหรือโดยบังเอิญ อย่าตื่นตระหนกไป ให้ทำความสะอาดด้วยสบู่อ่อนๆ และน้ำสะอาด ทาครีมฆ่าเชื้อและปิดแผลไหม้ด้วยผ้าพันแผลอันใหม่
  6. ผ้าพันแผลสำหรับแผลไหม้นั้นควรเปลี่ยนทุกวันเพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อ ให้นำผ้าพันแผลอันเก่าออกและทิ้งไป ล้างแผลด้วยน้ำเย็น หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ อย่าถูที่ผิวหนัง ปล่อยให้ทำไหลผ่านเป็นเวลา 2-3 นาที ซับให้แห้งด้วยผ้าขนหนูสะอาด ทาครีมสำหรับแผลไหม้ ยาฆ่าเชื้อ หรือว่านหางจระเข้ที่แผลไหม้เพื่อช่วยให้สมาน ปิดแผลด้วยผ้าพันแผลฆ่าเชื้ออันใหม่ [31]
    • เมื่อแผลหายหรือส่วนใหญ่หายแล้ว คุณก็ไม่จำเป็นต้องพันผ้าพันแผลต่อ
  7. การใช้น้ำผึ้งเพื่อรักษาแผลไหม้นั้นได้รับการสนับสนุนจากงานวิจัยหลายชิ้น แม้ว่าแพทย์จะถือว่ามันเป็นการรักษาทางเลือก ให้ใช้น้ำผึ้ง 1 ช้อนชาทาให้ทั่วแผล ให้นำน้ำผึ้งมาป้ายที่แผล น้ำผึ้งนั้นเป็นยาฆ่าเชื้อธรรมชาติและจะขจัดแบคทีเรียออกจากแผล แต่จะไม่ทำให้เกิดอันตรายกับผิวหนังอื่นๆ ที่ดีอยู่ น้ำผึ้งนั้นมีค่า PH ต่ำและมีความเข้มข้น (osmolarity) สูงซึ่งจะช่วยในการสมาน น้ำผึ้งสำหรับใช้ในการแพทย์นั้นเป็นสิ่งที่แนะนำแทนการใช้น้ำผึ้งที่คุณนำไปอบขนม [32]
  8. แผลไหม้นั้นอาจจะมีอาการแย่ลงเมื่อผ่านไป 2-3 ชั่วโมง หลังจากที่ล้างและรักษาแล้ว ให้ตรวจดูที่แผลไหม้เพื่อให้แน่ใจว่ามันจะไม่กลายเป็นแผลไหม้ระดับ 3 หากมันมีอาการรุนแรงขึ้น ควรไปให้แพทย์รักษาทันที [36]
    • ขณะที่แผลสมาน ให้ระวังสัญญาณหรืออาการของการติดเชื้อ เช่น มีของเหลวเหมือนหนองไหลซึมออกมาจากแผลไหม้ มีไข้ บวม หรือมีอาการแดงเพิ่มขึ้นที่ผิวหนัง หากมีอาการเหล่านี้ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา [37]
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

จัดการกับแผลไหม้ระดับที่ 3 และแผลไหม้ที่รุนแรง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แผลไหม้ใดๆ ก็ตามนั้นสามารถเป็นแผลไหม้ที่รุนแรงได้หากมันอยู่เหนือข้อต่อหรือครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของร่างกาย มันยังเป็นแผลไหม้ที่รุนแรงหากผู้ที่มีแผลไหม้นั้นมีอาการแทรกซ้อนเกี่ยวกับสัญญาณชีพหรือความลำบากในการทำกิจกรรมปกติเพราะว่าแผลไหม้ แผลไหม้ประเภทนี้ควรได้รับการรักษาเหมือนกับแผลไหม้ระดับที่ 3 ด้วยการไปพบแพทย์ทันที [38]
  2. หากแผลไหม้ของคุณมีเลือดออกหรือดูมีสีดำเล็กน้อย คุณก็อาจจะมีแผลไหม้ระดับที่ 3 แผลไหม้ระดับที่ 3 นั้นจะไหม้ลึกในผิวหนังทุกชั้นตั้งแต่ ผิวหนังชั้นกำพร้า หนังแท้ และไขมันที่อยู่ข้างใต้ แผลไหม้ประเภทนี้อาจจะมีสีขาว น้ำตาล เหลือง หรือสีดำ ผิวหนังนั้นจะดูแห้งหรือดูเหมือนหนังสัตว์ มันจะไม่เจ็บเท้าแผลไหม้ระดับแรกและระดับที่ 2 เพราะว่าต่อมประสาทนั้นเสียหายหรือถูกทำลายไปแล้ว [39] แผลไหม้ประเภทนี้ต้องให้แพทย์รักษา อย่างทันที ให้โทรหาหน่วยฉุกเฉินหรือไปที่ห้องฉุกเฉิน
  3. หากคุณหรือบางคนนั้นได้รับแผลไหม้ระดับที่ 3 ให้โทรศัพท์ไปที่เบอร์ 911 ทันที ขณะที่รอความช่วยเหลือจากหน่วยฉุกเฉิน ให้ตรวจดูว่าบุคคลนั้นที่มีแผลไหม้นั้นสามารถตอบสนองได้หรือไม่ การตอบสนองนั้นได้แก่การเขย่าผู้บาดเจ็บเบาๆ หากไม่มีการตอบสนอง ให้มองสัญญาณว่ามีการเคลื่อนไหวหรือการหายใจ หากเขาไม่หายใจ ให้เริ่มการทำ CPR หากคุณเคยได้รับการฝึก [41]
    • หากคุณไม่รู้วิธีการทำ CPR คุณอาจจะขอให้ผู้จ่ายงานปฏิบัติการฉุกเฉินสอนให้ [42] อย่าพยายามจะเปิดทางเดินหายใจหรือหายใจให้คนอื่นหากคุณไม่รู้วิธีการ CPR ให้พุ่งความสนใจไปที่การกดหน้าอกเท่านั้น [43]
    • ให้ผู้บาดเจ็บนอนราบ ให้คุกเข่าข้างๆ บริเวณหัวไหล่ของผู้บาดเจ็บ วางแขนของคุณไปที่ตรงกลางหน้าอกและขยับที่หัวไหล่ของคุณให้มันมาอยู่ตรงที่เหนือมือของคุณ โดยให้แขนและข้อศอกตรง กดลงที่หน้าอกประมาณ 100 ครั้งต่อนาที [44]
  4. ขณะที่คุณรอคนจากหน่วยฉุกเฉินมาถึง ให้ถอดเสื้อผ้าที่แน่นรัดและเครื่องประดับออก อย่าทำเช่นนี้หากเสื้อผ้าหรือเครื่องประดับนั้นติดแน่นอยู่ที่แผลไหม้ หากเป็นเช่นนี้ ให้ปล่อยมันไว้อย่างนั้นและรอความช่วยเหลือมาถึง การดึงมันออกจะทำให้ดึงผิวหนังออกมาและทำให้บาดเจ็บกว่าเดิม คุณควรทำให้ตัวเอง (หรือผู้ที่บาดเจ็บ) อบอุ่นเพราะแผลไหม้ที่รุนแรงนั้นสามารถทำให้คุณช็อคได้ [45]
    • อย่านำแผลไหม้ไปแช่น้ำเหมือนที่คุณทำกับแผลไหม้ที่ไม่รุนแรง นี่จะทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ หากเป็นไปได้ ให้ยกแผลไหม้เหนือระดับของหัวใจเพื่อช่วยลดอาการบวม [46]
    • อย่าให้ผู้ที่บาดเจ็บทานยาแก้ปวด คุณไม่ควรให้อะไรที่อาจจะเกี่ยวข้องกับการรักษาฉุกเฉิน [47]
    • อย่าทำให้บริเวณที่พุพองแตกออก ขูดผิวหนังที่ตายแล้วออก หรือทาว่านหางจระเข้หรือ salve. [48]
  5. หากเป็นไปได้ คุณควรลองพันแผลเพื่อที่มันจะได้ไม่ติดเชื้อ คุณจำเป็นต้องใช้บางอย่างที่จะไม่ติดกับแผล เช่น ผ้าก๊อซน้ำหนักเบา หรือผ้าพันแผลแบบชื้น หากผ้าพันแผลติดกับแผลเพราะความรุนแรงของแผลไหม้ ให้รอความช่วยเหลือจากหน่วยฉุกเฉิน [49]
    • คุณอาจจะใช้แรปพลาสติกก็ได้ หากใช้ชั่วคราวเป็นเวลาสั้นๆ แรปพลาสติกนั้นสามารถใช้งานได้ดีพอกับผ้าพันแผล มันจะช่วยป้องกันแผลและในขณะเดียวกันก็จะช่วยควบคุมการส่งผ่านถ่ายเทของสิ่งมีชีวิตภายนอกไปสู่ที่แผลไหม้ให้อยู่ในระดับต่ำ [50]
  6. เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล.เมื่อคุณไปถึงที่โรงพยาบาล เจ้าหน้าที่จะเข้ามาดูแลอย่างรวดเร็วเพื่อให้แน่ใจว่าแผลไหม้จะได้รับการรักษาได้ดีที่สุด พวกเขาจะเริ่มฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำเพื่อทดแทนการสูญเสียแร่อิเล็กทรอไลต์ในร่างกาย พวกเขาจะทำความสะอาดแผลซึ่งมันจะเจ็บมากๆ และเจ้าหน้าที่ก็อาจจะให้คุณใช้ยาแก้ปวด พวกเขาจะทาครีมหรือขี้ผึ้งที่แผลไหม้ และปิดมันอีกทีด้วยผ้าพันแผลที่ฆ่าเชื้อแล้ว หากจำเป็น พวกเขาจะทำให้บรรยากาศรอบตัวคุณนั้นอบอุ่นและชื้นเพื่อช่วยให้แผลไหม้หาย [51]
    • พวกเขาอาจจะมีนักโภชนาการที่แนะนำเกี่ยวกับอาหารที่มีโปรตีนสูงเพื่อช่วยในการสมานของแผล
    • หากจำเป็น แพทย์อาจจะพูดคุยเกี่ยวกับการการปลูกถ่ายผิวหนัง การปลูกถ่ายผิวหนังก็คือการที่คุณนำชิ้นของผิวหนังจากส่วนอื่นๆ ของร่างกายไปปิดที่บริเวณของแผลไหม้
    • ให้เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลสอนวิธีการเปลี่ยนผ้าพันแผลเองที่บ้าน หลังจากที่มีของเหลวไหลซึมออกมา ก็ควรเปลี่ยนผ้าพันแผล แพทย์จะติดตามผลเรื่อยๆ เพื่อให้แน่ใจว่ามันสมานกันดี [52]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หากคุณรู้สึกกังวลหรือมีคำถามใดๆ เกี่ยวกับแผลไหม้ ให้ติดต่อหาแพทย์ของคุณเพื่อข้อมูลอื่นๆ
  • แผลนั้นมีแนวโน้มที่จะเป็นแผลเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามันค่อนข้างรุนแรง
โฆษณา
  1. https://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P01744
  2. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-burns/basics/art-20056649
  3. http://www.cyh.com/HealthTopics/HealthTopicDetails.aspx?p=240&np=297&id=2529
  4. http://www.sharecare.com/health/skin-burn-treatment/why-shouldnt-treat-burn-ice
  5. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-burns/basics/art-20056649
  6. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000030.htm
  7. http://www.medicinenet.com/burns/page4.htm
  8. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/aloe
  9. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-burns/basics/art-20056649
  10. http://www.medicinenet.com/burns/article.htm
  11. https://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P01757
  12. https://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P01757
  13. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-burns/basics/art-20056649
  14. https://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P01757
  15. http://www.medicinenet.com/burns/page4.htm
  16. http://www.askdrsears.com/topics/health-concerns/skin-care/burns
  17. http://www.cyh.com/HealthTopics/HealthTopicDetails.aspx?p=240&np=297&id=2529
  18. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000030.htm
  19. https://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P01757
  20. http://www.medicinenet.com/burns/page4.htm
  21. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-burns/basics/art-20056649
  22. http://familydoctor.org/familydoctor/en/prevention-wellness/staying-healthy/first-aid/first-aid-burns.html
  23. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4158441/
  24. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3263128/
  25. http://www.nursingtimes.net/using-honey-dressings-the-practical-considerations/205144.article
  26. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3263128/
  27. http://www.medicinenet.com/burns/article.htm
  28. http://familydoctor.org/familydoctor/en/prevention-wellness/staying-healthy/first-aid/first-aid-burns.html
  29. https://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P01760
  30. https://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P01760
  31. http://familydoctor.org/familydoctor/en/prevention-wellness/staying-healthy/first-aid/first-aid-burns.html
  32. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-burns/basics/art-20056649
  33. https://depts.washington.edu/learncpr/askdoctor.html#What%20should%20I%20do
  34. http://www.heart.org/HEARTORG/CPRAndECC/HandsOnlyCPR/Hands-Only-CPR_UCM_440559_SubHomePage.jsp
  35. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-cpr/basics/art-20056600
  36. https://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P01760
  37. http://familydoctor.org/familydoctor/en/prevention-wellness/staying-healthy/first-aid/first-aid-burns.html
  38. http://familydoctor.org/familydoctor/en/prevention-wellness/staying-healthy/first-aid/first-aid-burns.html
  39. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000030.htm
  40. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-burns/basics/art-20056649
  41. https://acep.org/Clinical---Practice-Management/Think-Plastic-Wrap-as-Wound-Dressing-for-Thermal-Burns/
  42. https://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P01760
  43. http://www.chw.org/medical-care/burn-program/burn-treatments/classification-and-treatment-of-burns/third-degree-burns/

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,854 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา