ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เมื่อมองจากภายนอก คนที่ชอบเก็บตัวอาจดูเหมือนเป็นคนเงียบขรึมหรือขี้อาย แต่ที่จริงแล้วการที่เขาเป็นแบบนี้แสดงว่าเขารู้สึกสบายใจและผ่อนคลายมากกว่า คนที่ชอบเก็บตัวมักจะชอบคิดไตร่ตรอง จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และเชี่ยวชาญการเป็นผู้ฟัง ถ้าเราต้องเข้าไปสนทนากับคนที่ชอบเก็บตัว บทความนี้ก็พร้อมแนะนำเคล็ดลับดีๆ ให้ผู้อ่านลองนำไปใช้กัน

1

มีปฏิสัมพันธ์แบบตัวต่อตัว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปฏิสัมพันธ์กับคนที่ชอบเก็บตัวแบบตัวต่อตัวแทนการปฏิสัมพันธ์กับเขาพร้อมกับเพื่อนกลุ่มใหญ่. ถ้าต้องการสนทนาเรื่องสำคัญจริงๆ กับคนที่ชอบเก็บตัว เลือกสถานที่ซึ่งเงียบสงบและเป็นส่วนตัวแทนสถานที่ซึ่งมีคนเยอะและหลีกเลี่ยงการสนทนากับเขาพร้อมกับเพื่อนกลุ่มใหญ่ เขาจะได้รู้สึกผ่อนคลายและพูดคุยกับเราง่ายขึ้น [1]
    • ตัวอย่างเช่น หากเรากำลังออกเดทกับคนที่ชอบเก็บตัว เราอาจเลือกร้านอาหารที่มีบรรยากาศเงียบสงบและมีการแสดงดนตรีเล็กๆ แทนการเลือกไปดูคอนเสิร์ตที่มีเสียงดังและคนเยอะ
    โฆษณา
2

พยายามกระตุ้นให้เขาอยากพูดคุย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ชวนคนที่ชอบเก็บตัวเปิดอกพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น. คนที่ชอบเก็บตัวโดยปกติจะไม่ใช่คนแรกที่พูดตอบในการสนทนาและในความสัมพันธ์เขาอาจดูเหมือนเป็นฝ่ายเงียบ ถามเขาว่าตอนนี้เขาเป็นอย่างไรหรือรู้สึกอย่างไรเพื่อจะได้รู้ความเป็นไปในชีวิต ใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้เขามีโอกาสได้พูดบ้าง [2]
    • ตัวอย่างเช่น แทนที่จะถามว่า "สบายดีไหม" ให้ถามว่า "เป็นยังไงบ้าง" หรือ "ช่วงนี้ทำอะไรบ้าง" แทน
3

ให้เวลาเขาพูดตอบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้เวลาหลังจากถามหรือแสดงความคิดเห็นเพื่อให้เขาพร้อมที่จะพูดตอบ. คนที่ชอบเก็บตัวโดยส่วนใหญ่จะไม่รีบพูดตอบหรือเข้าสู่การสนทนาโดยเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีเรื่องต้องพูดคุยมากมาย คนที่ชอบเก็บตัวจะเป็นแบบนี้เสมอไม่ว่าเขาจะเป็นเพื่อนร่วมงาน ลูก หรือคู่สมรส ฉะนั้นควรให้เวลาเขาในการสนทนาเพื่อให้เขาสามารถไตร่ตรองและตอบโดยไม่รู้สึกกดดัน [3]
    • ตัวอย่างเช่น แทนที่จะถามและขอให้เขาตอบทันที ค่อยๆ นับถึง 3 ในใจเพื่อให้เวลาเขาตอบ
    โฆษณา
4

อย่ากังวลหากเกิดความเงียบระหว่างการสนทนาบ้าง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คนที่ชอบเก็บตัวไม่สนใจความเงียบหรือการสนทนาเชิงลึก. คนที่เปิดเผยอาจรู้สึกว่าตนเองต้องหาเรื่องสัพเพเหระพูดคุยไปเรื่อยๆ เพื่อไม่ให้เกิดความเงียบระหว่างการสนทนา แต่สำหรับคนที่ชอบเก็บตัวแล้วการพูดคุยเล็กน้อยอาจทำให้รู้สึกวิตกกังวลได้มาก แทนที่จะหาเรื่องสัพเพเหระพูดคุยไปเรื่อยๆ จะนั่งเงียบกันบ้างก็ได้หรือเข้าสู่การสนทนาเรื่องที่สำคัญเลยก็ได้ [4]
    • ถ้ามีการจัดงานเลี้ยงสังสรรค์และเราอยากให้คนที่ชอบเก็บตัวรู้สึกผ่อนคลาย อาจขอให้คนที่เขารู้จักไปพูดคุยกับเขาแทนการชักชวนเขาเข้าร่วมการสนทนากับคนกลุ่มใหญ่ที่มีคนแปลกหน้าอยู่ด้วย
5

ตั้งใจฟังสิ่งที่เขาพูด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตั้งใจฟังเพื่อให้เขาอยากจะเปิดอกพูดคุยกับเรามากขึ้น. ถ้าเราเป็นคนเปิดเผย เราอาจรู้สึกดีใจมากทีเดียวที่ได้พูดคุย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเพื่อนที่เป็นคนชอบเก็บตัว ไม่พูดมาก อย่างไรก็ตามหากเราเน้นตั้งใจฟังอีกฝ่ายพูดจริงๆ เขาอาจอยากจะเปิดอกพูดคุยกับเรามากขึ้นก็ได้ [5]
    • วิธีหนึ่งที่จะแสดงให้เห็นว่าเราฟังเขาอยู่คือสะท้อนสิ่งที่เขาพูดกับเรากลับไป ตัวอย่างเช่น หลังจากที่เราได้ถามอีกฝ่ายว่าเขาเป็นอย่างไรบ้าง สมมติเขาตอบกลับมาว่าโดนเจ้านายต่อว่าเรื่องงาน เราอาจสะท้อนคำพูดของเขากลับไปว่า "ดูเหมือนเธอจะเจอเรื่องแย่มานะวันนี้ มีเรื่องอะไรก็ระบายให้ฉันฟังได้นะ"
    โฆษณา
6

สื่อสารกันด้วยข้อความและอีเมลมากขึ้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ส่งข้อความหาคนที่ชอบเก็บตัวแทนการโทรศัพท์ไปหาหรือพูดคุยกันแบบตัวต่อตัว. คนที่ชอบเก็บตัวจะรู้สึกวิตกกังวล เมื่อต้องโทรศัพท์หาผู้อื่นหรือนัดพบใครสักคน ฉะนั้นส่งข้อความหรืออีเมลแทนเพื่อทำให้เขาสบายใจมากขึ้น เราอาจพบว่าการส่งข้อความเป็นวิธีการสื่อสารระหว่างกันที่ดีกว่าวิธีอื่น [6]
    • ถ้าเราทำงานกับคนที่ชอบเก็บตัว พยายามลดปริมาณของการปฏิสัมพันธ์ลงเพื่อลดความเครียดของเขา ตัวอย่างเช่น แทนที่จะแวะมาถามเขาทุกครั้งที่นึกคำถามออก ให้รวบรวมสิ่งที่เราต้องการถามและส่งอีเมลให้เขาทีเดียว
7

ชื่นชมจุดแข็งและยกย่องความสำเร็จของเขา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ยกย่องเพื่อทำให้คนที่ชอบเก็บตัวรู้สึกว่ามีคนชื่นชมและเห็นคุณค่า. ถึงแม้คนที่ชอบเก็บตัวไม่ชอบเป็นจุดสนใจมากนัก แต่ก็รู้สึกดีใจที่ได้รับการชื่นชมโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากเพื่อนสนิท ชมเชยหรือขอบคุณที่เขาได้ทำสิ่งดีๆ ให้เรา [7]
    • ตัวอย่างเช่น เพื่อนร่วมงานของเราประสบความสำเร็จในการทำงานโครงการหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ ให้เข้าไปชมเชยเขาเป็นการส่วนตัวว่าเขานั้นยอดเยี่ยมแค่ไหน คู่สมรสของเราคอยรับฟังปัญหาและให้คำแนะนำดีๆ หลายอย่าง รวมทั้งช่วยเหลือเรามาโดยตลอด บอกให้เขารู้ว่าเรานั้นเห็นคุณค่าในสิ่งที่เขาทำให้เสมอและขอบคุณเขา
    โฆษณา
8

ให้เวลาและอิสระแก่คนที่ชอบเก็บตัวบ้างเพื่อให้เขารู้สึกสบายใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้พื้นที่หรือเวลาส่วนตัวเพื่อให้เขาได้ผ่อนคลายบ้าง. หากคนที่ชอบเก็บตัวเป็นคนในครอบครัว เราอาจเลือกพื้นที่หรือห้องซึ่งมีความเงียบสงบให้เป็นพื้นที่ส่วนตัวของเขา ให้เขาได้มีเวลาอิสระเป็นของตนเองบ้าง การมีพื้นที่และเวลาสำหรับไตร่ตรองอะไรเงียบๆ ช่วยคลายความเครียดของคนที่ชอบเก็บตัวได้ [8]
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าคู่สมรสของเราเป็นคนชอบเก็บตัวและได้ใช้เวลาอยู่ร่วมกับเราทั้งวันแล้ว เขาอาจต้องการเวลาส่วนตัวบ้าง ฉะนั้นเราก็ให้เวลาช่วงเย็นเป็นเวลาส่วนตัวของเขาเพื่อเขาจะได้ใช้เวลานั้นเติมพลังให้แก่ตนเอง
9

ให้ความช่วยเหลือเขา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้รู้ว่าเราจะคอยช่วยเหลือ หากเขาเครียดหรือวิตกกังวล. คนที่ชอบเก็นตัวอาจเก็บอะไรต่างๆ ไว้ในใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความคิด ความรู้สึก และความกลัว คอยดูแลเอาใจใส่เพื่อให้เขารู้ว่าเราเป็นเพื่อนที่พร้อมให้ความช่วยเหลือเขา การให้ความช่วยเหลือจะช่วยให้เขารู้สึกสบายใจและเปิดใจกับเรามากขึ้น [9]
    • ตัวอย่างเช่น สมมติช่วงนี้เราเห็นเพื่อนชอบนั่งคิดอะไรเงียบๆ คนเดียว เราอาจถามเขาว่า "ช่วงนี้ฉันเห็นเธอนั่งคิดอะไรเงียบๆ อยู่บ่อยๆ ถ้ามีอะไรในใจและอยากพูดให้ใครสักคนฟัง บอกฉันได้นะ"
    โฆษณา
10

อย่าพยายามเปลี่ยนแปลงเขา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เคารพคนที่ชอบเก็บตัวด้วยการไม่พยายามเปลี่ยนแปลงเขาให้กลายเป็นคนที่เปิดเผยมากขึ้น. คนที่ชอบเก็บตัวมีจุดแข็งตั้งหลายอย่าง เช่น เป็นผู้ฟังที่ดีมาก เป็นคนช่างสังเกต จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ดีเยี่ยม เป็นต้น การยอมรับว่าคนที่ชอบเก็บตัวก็มีข้อดีตั้งหลายอย่างดีกว่าการพยายามเปลี่ยนแปลงเขาให้เป็นคนที่เข้าสังคมง่าย [10]
    • อย่าลืมว่าการเป็นคนเก็บตัวไม่ใช่เรื่องผิด! ฉะนั้นถ้าเราประสบปัญหาในการสื่อสารกับคนที่ชอบเก็บตัว ให้เรานึกถึงข้อดีของเขาเอาไว้

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,140 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา