ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าลูกของคุณมักจะทำอะไรนอกบรรทัดฐานทางเพศอยู่เสมอ คุณก็อาจจะสงสัยว่าลูกเป็นคนข้ามเพศหรือเปล่า คุณอาจจะฟังดูว่าลูกแสดงอัตลักษณ์เพศอย่างไรและลองสังเกตแนวโน้มที่จะไม่ประพฤติตนให้สอดคล้องกับเพศสภาพ แต่ก็ระวังอย่าตีความมากเกินไป เพราะบรรทัดฐานทางเพศหลายอย่างจริงๆ แล้วก็เกิดจากการเหมารวม เช่น เด็กผู้ชายที่ชอบเล่นตุ๊กตาก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นคนข้ามเพศเสมอไป ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ คุณต้องช่วยลูกสำรวจความรู้สึกและอัตลักษณ์ทางเพศของเขา ถ้าเขาเป็นคนข้ามเพศ คุณก็ต้องให้ความรัก การสนับสนุน และทรัพยากรต่างๆ แก่เขาเหมือนเดิม

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

สังเกตพฤติกรรมของลูก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สังเกตว่าลูกมีแนวโน้มที่จะไม่ประพฤติตนให้สอดคล้องกับเพศสภาพหรือเปล่า. คุณอาจจะสังเกตว่าลูกสาวชอบเล่นของเล่นที่โดยทั่วไปแล้วถือว่าเป็นของเล่น “ของเด็กผู้ชาย" แต่ก็ต้องจำไว้ว่าแค่เพราะลูกสาวชอบเล่นรถบรรทุกก็ไม่ได้หมายความว่าเธอเป็นคนข้ามเพศ แต่ถ้าลูกของคุณแสดงออกถึงความชอบอย่างแรงกล้าต่อสิ่งที่ไม่เป็นไปตามความคาดหวังทางเพศอยู่เสมอ คุณก็อาจจะต้องคอยสังเกตอยู่เรื่อยๆ [1] [2]
    • เด็กที่ประพฤติตัวไม่สอดคล้องกับเพศสภาพในบางเรื่องอาจจะแค่ไม่อยากทำอย่างนั้น แต่เด็กที่ประพฤติตัวไม่ตรงกับเพศสภาพในหลายๆ เรื่อง และมักจะแสดงความไม่พอใจอย่างมากที่ถูกบังคับให้ประพฤติตัวตามเพศกำเนิดนั้นเป็นไปได้ว่าเขาอาจจะเป็นคนข้ามเพศ
    • จำไว้ว่าความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องเพศส่วนใหญ่เกิดจากการเหมารวม เช่น เด็กผู้ชายไม่ได้ถูกพันธุกรรมกำหนดว่าต้องชอบสีฟ้า
  2. เด็กที่เป็นคนข้ามเพศมักจะแสดงสัญญาณที่บ่งบอกถึงเพศที่แท้จริงของเขา การเล่นในจินตนาการ ชุดที่เขาอยากใส่ และวิธีการดูแลเสื้อผ้าหน้าผมของเขามักจะบอกถึงเพศที่แท้จริง ลูกของคุณอาจเป็นคนข้ามเพศหากเขาแสดงสัญญาณหลายอย่างต่อไปนี้ [3]
    • ยืนกรานที่จะไปซื้อของในแผนกของเด็กผู้หญิง/เด็กผู้ชาย
    • ตั้งชื่อผู้ชาย/ผู้หญิงให้ตัวเอง
    • ชอบเล่นกับเพื่อนที่เป็นเพศตรงข้าม (ที่เป็นเพศเดียวกับที่ลูกอยากเป็น)
    • บ่นเรื่องทรงผม
    • ชอบเล่นเป็นตัวละครในหนังสือหรือภาพยนตร์ที่เป็นเพศเดียวกับที่เขาอยากเป็น
    • เกลียดอวัยวะเพศของตัวเอง
    • ชื่นชมเด็กผู้ชาย/เด็กผู้หญิงที่แก่กว่าและอยากเป็นเหมือนเขา
    • ขอให้ซื้อหนังสือหรือของเล่นที่บอกว่า "สำหรับเด็กผู้ชาย" หรือ "สำหรับเด็กผู้หญิง"
    • อยากเกิดใหม่ตามเพศที่แท้จริงของเขา
    • ร้องไห้ที่เกิดมาเป็นเพศตามกำเนิด [4]
    • มีความสุขมากเวลาที่คุณให้เขาทำในสิ่งที่เกี่ยวกับเพศที่เขาอยากเป็น
  3. สังเกตสัญญาณของความทุกข์เมื่อถูกบังคับให้สวมบทบาททางเพศที่ไม่เหมาะสม. เช่น ถ้า "ลูกชาย" ของคุณกรีดร้องโวยวายเรื่องทรงผมเพราะเธอทนไว้ผมสั้นไม่ได้ หรือถ้า "น้องสาว" ของคุณร้องไห้เมื่อเขาไม่ได้เสื้อผ้าจากแผนกเสื้อผ้าเด็กผู้ชาย ก็เป็นสัญญาณว่าลูกของคุณเป็นคนข้ามเพศ เพศเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นลูกของคุณจึงรู้สึก (และแสดงออก) เหมือนว่าโลกกำลังจะแตกถ้าเขาต้องแกล้งเป็นคนที่เขาไม่ได้เป็น
    • สังเกตอาการหัวฟัดหัวเหวี่ยงเรื่องทรงผม การซื้อเสื้อผ้า การใส่/ไม่ใส่สีชมพู และการดูแลเสื้อผ้าหน้าผมอื่นๆ มันอาจจะรู้สึกเหมือนคุณต้องสู้กับลูกเวลาที่คุณให้เขาปฏิบัติตามบทบาททางเพศ
    • สังเกตเวลาเขาเถียง เช่น ถ้าคุณพูดว่า "เด็กผู้ชายใส่กระโปรงไม่ได้นะ" แล้วลูกตอบกลับมาว่า "แต่ผมไม่ได้เป็นเด็กผู้ชายที่ใส่กระโปรงนะครับ ผมเป็นเด็กผู้หญิงต่างหาก!" ก็เป็นไปได้ว่าเขาอาจจะเป็นคนข้ามเพศ [5]
    • สังเกตปัญหาด้านพฤติกรรม อาการซึมเศร้า และสุขภาพจิตที่ไม่ดี เด็กที่ถูกบังคับให้สวมบทบาททางเพศที่ไม่เหมาะสมอาจไม่พอใจและแสดงความไม่พอใจออกมาอย่างรุนแรง และอาจจะสร้างความรู้สึกที่ไม่ดีไว้ในใจด้วย ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาทางอารมณ์ได้ในอีกหลายปีข้างหน้า แต่ก็โชคดีที่การเปลี่ยนเพศมักจะแก้ปัญหานี้ได้เกือบหมด
  4. ลูกของคุณอาจใช้คำพูดในการแสดงตัวตน ถ้าลูกคุณมั่นใจในอัตลักษณ์ทางเพศของตัวเองมากๆ เขาก็อาจจะพูดว่า “หนูรู้ว่าหนูเป็นผู้ชาย!” แม้ว่าเพศโดยกำเนิดของเขาจะเป็นเพศหญิงก็ตาม [6]
    • เขาอาจจะพูดว่า “ไม่นะ ผมเป็นผู้หญิงจริงๆ!” แม้ว่าเขาจะเป็นผู้ชายโดยกำเนิดก็ตาม
  5. โดยทั่วไปพัฒนาการทางเพศจะเริ่มเมื่อตอนอายุประมาณ 3 ขวบ แต่ในเด็กบางคนก็อาจจะเริ่มตั้งแต่ 2 ขวบหรือ 18 เดือน [7] [8]
  6. ถ้าลูกยืนกรานให้คุณเรียกเขาว่า “เจมส์” ในวันหยุดสุดสัปดาห์ นั่นก็อาจจะไม่ได้หมายความว่าเขาเป็นคนข้ามเพศ เพราะมันเป็นเรื่องปกติที่เด็กเล็กจะก้าวผ่านช่วงของการสมมุติว่าตัวเองเป็นอีกเพศหนึ่ง แต่ถ้าลูกของคุณยืนยันอยู่เสมอว่าเขาเป็นอีกเพศหนึ่งจริงๆ ก็อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าเขาเป็นบุคคลข้ามเพศ [9]
    • เด็กที่ยืนยันเพศที่แท้จริงของตัวเองอยู่เสมอมีแนวโน้มว่าจะเป็นคนข้ามเพศสูงมาก กระบวนการข้ามเพศจะมีประโยชน์ต่อพัฒนาการด้านสังคม การจดจ่อขณะเรียนหนังสือ และความเป็นอยู่ที่ดีด้านอารมณ์ของเด็ก และช่วยลดปัญหาด้านพฤติกรรมได้อย่างมาก [10]
    • เด็กบางคนจะก้าวเข้าสู่ช่วงที่เขานิยามตัวเองว่าเป็นอีกเพศหนึ่งเป็นเวลานานในช่วงที่เขายังเด็ก ซึ่งช่วงนั้นมักจะสิ้นสุดตอนอายุประมาณ 9 หรือ 10 ขวบ [ ต้องการเอกสารอ้างอิง ]
  7. รู้ว่าเด็กบางคนอาจจะไม่เข้าใจเพศของตัวเองจนกระทั่งถึงวัยเจริญพันธุ์หรือช้ากว่านั้น. ลูกของคุณอาจจะไม่ได้ตั้งคำถามเรื่องอัตลักษณ์ทางเพศจนกว่าเขาจะโตอีกหน่อย วัยเจริญพันธุ์เป็นช่วงเวลาปกติที่วัยรุ่นจะเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับอัตลักษณ์ทางเพศของตัวเอง การเปลี่ยนแปลงในร่างกายและฮอร์โมนอาจทำให้ลูกตระหนักถึงร่างกายตัวเองและรู้ว่ามันทำให้เขารู้สึกอย่างไรมากขึ้น [11]
    • วัยเจริญพันธุ์และหลายปีต่อจากนั้นเป็นช่วงเวลาปกติที่เด็กจะเริ่มสำรวจเพศของตัวเอง รับฟังเมื่อเขาบอกว่า จริงๆ แล้วเขารู้สึกว่าตัวเองเป็นอีกเพศหนึ่ง
  8. การปล่อยให้เขาได้มีอิสระในการสำรวจอัตลักษณ์ทางเพศของตัวเองมีประโยชน์กับเขาอย่างมาก ถ้าลูกคิดว่าเขาเป็นคนข้ามเพศ ให้กำหนดช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์หรือสัก 2-3 วันที่เขาจะได้ “เป็น” เพศตรงข้ามสักพัก ซึ่งอาจจะรวมถึงการที่คุณเรียกเขาว่า “เจน” และสนับสนุนให้เขาใส่ชุดเดรสด้วย เป็นต้น [12]
    • ปล่อยให้ลูกเป็นผู้นำในช่วงทดลองนี้ อย่ากดดันให้เขาทำในสิ่งที่เขาไม่อยากลอง เช่น การเรียกเขาด้วยชื่ออื่น
    • สังเกตลูกในช่วงทดลอง เขาดูมีความสุขหรือมั่นใจขึ้นไหม เขาสนุกสนานมากขึ้นหรือเปล่า วิธีนี้จะช่วยให้คุณบอกได้ว่า สิ่งนี้ทำให้ลูกของคุณมีความสุขหรือเปล่า
  9. ให้ลูกได้สำรวจอัตลักษณ์ทางเพศกับนักบำบัดหรือที่ปรึกษา. ลูกอาจจะไม่สบายใจที่จะคุยเรื่องนี้กับคุณมากนัก หรือคุณอาจจะคิดว่าตัวเองไม่สามารถสนับสนุนลูกได้อย่างเต็มที่ตามที่เขาต้องการ ก็ให้ลองหาที่ปรึกษาหรือนักบำบัดมาช่วยคุณในส่วนนี้ [13]
    • ลองหาผู้เชี่ยวชาญที่มีใบอนุญาตที่มีประสบการณ์การทำงานร่วมกับเด็กข้ามเพศ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

เข้าใจว่าคนข้ามเพศคืออะไร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. กลุ่มผู้เชี่ยวชาญก็ยังคงถกเถียงกันเรื่องความหมาย และคำนี้เองก็เปลี่ยนความหมายไปมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ฉันทามติทั่วไปก็คือ คนข้ามเพศหมายถึงคนที่มีอัตลักษณ์ทางเพศหรือพฤติกรรมทางเพศที่ไม่สอดคล้องกับบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมของเพศโดยกำเนิด [14]
  2. การเป็นคนข้ามเพศไม่ได้เป็นสิ่งที่เขาเลือกเป็น และไม่เกี่ยวกับการเลี้ยงดูของคุณด้วย มันเป็นเรื่องปกติที่พ่อแม่จะพูดว่า “ฉันทำอะไรเขาถึงได้เป็นแบบนี้” ซึ่งคำตอบก็คือคุณ “ไม่ได้ทำอะไรเลย” เด็กข้ามเพศเกิดมาเป็นแบบนั้นเอง [15]
    • รู้ว่าการเป็นคนข้ามเพศไม่ใช่เรื่อง “ผิดปกติ” มันเป็นเรื่องปกติมากๆ ที่เด็กจะเกิดมาเป็นคนข้ามเพศ และถ้าลูกคุณเป็นคนข้ามเพศ คุณก็ควรสนับสนุนลูกอย่างเต็มที่แทนที่จะมัวไปกังวลว่าอะไรคือความ "ปกติ"
  3. รู้ว่าบางคนอาจใช้เวลาในการตระหนักและแสดงเพศที่แท้จริงนานกว่าคนอื่น. แม้ว่าเด็กบางคนอาจจะประกาศเพศที่แท้จริงออกมาดังๆ ตั้งแต่ 3 ขวบ แต่บางคนก็ใช้เวลานานกว่าจะรู้ว่าตัวเองกำลังพยายามมีชีวิตที่ไม่ตรงตามเพศที่แท้จริงอยู่ สิ่งที่อาจชะลอกระบวนการค้นพบเพศที่แท้จริงก็เช่น [16]
    • ความไม่รู้
    • การกลัวถูกปฏิเสธ
    • เคยเห็นการตราหน้า
    • เคยแสดงตัวตนออกมาแล้วถูกล้อหรือถูกดุ
  4. อย่าฟังมายาคติหรือข่าวลือ ค่อยๆ ศึกษาว่าคนข้ามเพศคืออะไร ลองเข้าไปดูในเว็บไซต์ของสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทยก็ได้ [17]
    • คุณอาจจะไปที่ห้องสมุดสาธารณะแล้วสอบถามบรรณารักษ์ว่ามีหนังสือดีๆ เกี่ยวกับคนข้ามเพศไหม
    • อ่านเรื่องราวที่เขียนโดยคนข้ามเพศ เรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรงจะช่วยให้คุณเข้าใจว่าการเป็นคนข้ามเพศนั้นเป็นอย่างไร
  5. รู้ความแตกต่างระหว่างระยะสำรวจอัตลักษณ์ทางเพศที่แท้จริงกับการเป็นคนข้ามเพศ. ถ้าลูกของคุณยืนกรานว่าเขาเป็นอีกเพศหนึ่งมาโดยตลอด ก็เป็นไปได้มากๆ ว่ามันไม่ใช่แค่ระยะสำรวจอัตลักษณ์ทางเพศ [18] [19]
    • ถ้าลูกคิดว่านี่อาจจะเป็นแค่ระยะสำรวจอัตลักษณ์ทางเพศ ก็ให้พูดคุยเรื่องนี้กับลูกก่อนลงมือเปลี่ยนแปลงอะไร เด็กที่บอกว่ามันก็ "แค่ช่วงเวลาค้นหาเพศของตัวเอง" อาจจะโกหกเพราะคนอื่นปฏิบัติกับเขาไม่ดี หรือเขาคิดว่าคุณจะรักเขาน้อยลงถ้าเขาเป็นคนข้ามเพศ คุณต้องทำให้เขารู้ว่าคุณรักเขาไม่ว่าเขาจะเป็นเพศไหน และเขาเองก็จริงจังกับเรื่องนี้จริงๆ เหมือนกัน
  6. ถ้าคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับคนข้ามเพศในเชิงวิทยาศาสตร์ ก็ให้ปรึกษาแพทย์ประจำตัวของลูก ถ้าคุณสงสัยเกี่ยวกับผลกระทบทางจิตใจ ก็ให้ปรึกษานักบำบัด จำไว้ว่าช่วงเวลานี้ก็เป็นช่วงเวลาที่สับสนสำหรับคนเป็นพ่อเป็นแม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นคุณอาจจะต้องการความช่วยเหลือภายนอกด้วยการไปพบที่ปรึกษาเพื่อช่วยให้คุณทำความเข้าใจกับการสำรวจอัตลักษณ์ทางเพศของลูกได้ [20]
    • ผู้เชี่ยวชาญมักจะรอบคอบมากๆ และไม่เร่งรัดให้ลูกทำในสิ่งที่เขายังไม่พร้อม [21] จำไว้ว่าแค่เพราะว่าคุณไม่พร้อมก็ไม่ได้หมายความว่าลูกของคุณจะไม่พร้อมไปด้วย หรือว่าเขาจะไม่เจ็บปวดที่ต้องรอให้คุณพร้อมเท่าเขา
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ช่วยให้ลูกรู้สึกสบายใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้ลูกเป็นคนนำ ถ้าคุณตั้งใจฟังลูก ลูกจะบอกว่าเขาต้องการอะไร. สิ่งนี้จะช่วยแยกความแตกต่างระหว่างเด็กที่บอกว่า "ผมเป็นเด็กผู้หญิง" กับเด็กผู้ชายที่แค่ชอบใส่เดรสเฉยๆ
    • การเลือกที่จะเข้าสู่กระบวนการข้ามเพศ (หรือไม่) นั้นควรขึ้นอยู่กับความต้องการและความสุขของลูก ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับสิ่งที่คุณคิดว่าลูกควรเป็น อย่าห้ามไม่ให้ลูกเป็นตัวของตัวเองเพราะว่าคุณไม่สบายใจ และอย่าเร่งเร้าให้เด็กที่ไม่ประพฤติตัวตามบรรทัดฐานทางเพศให้เข้าสู่กระบวนการข้ามเพศถ้าเขาไม่ได้อยากทำ [22]
  2. รู้ว่าการสนับสนุนของคุณสร้างความแตกต่างให้กับอนาคตของลูกได้มากแค่ไหน. คนข้ามเพศที่ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวมีแนวโน้มที่จะพยายามฆ่าตัวตาย กลายเป็นคนไร้บ้าน หรือประสบกับปัญหาสุขภาพจิตร้ายแรงน้อยมากๆ [23] นอกจากนี้การสนับสนุนจากครอบครัวยังช่วยให้เด็กสามารถรับมือกับปัญหาอย่างการถูกกลั่นแกล้งและการกีดกันทางเพศได้ ซึ่งจะช่วยลดความร้ายแรงที่จะเกิดขึ้นกับสุขภาพจิตของเด็กด้วย [24] การยอมรับและการสนับสนุนเพศที่แท้จริงของลูกช่วยปกป้องลูกจากหลายๆ ปัญหาที่มักเกิดขึ้นกับกลุ่มคนข้ามเพศได้
    • งานวิจัยกล่าวว่าเด็กข้ามเพศที่เข้าสู่กระบวนการข้ามเพศมีอัตราเป็นโรคซึมเศร้าเท่ากับคนที่มีเพศตรงตามสภาพ และมีอัตราความวิตกกังวลมากกว่าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น [25]
    • แต่ในทางตรงกันข้าม คนข้ามเพศที่ไม่ได้เข้าสู่กระบวนการข้ามเพศมีอัตราการเกิดปัญหาสุขภาพจิตสูงมากๆ [26]
  3. ถ้าลูกแสดงความเปลี่ยนแปลงด้านอัตลักษณ์ทางเพศออกมา พยายามอย่าแสดงออกในทางลบ อย่าวิจารณ์หรือบอกเขาว่าคุณไม่อยากฟังเรื่องนี้อีก แต่ปล่อยให้เขาได้สำรวจอัตลักษณ์ของตัวเองด้วยการลองทำกิจกรรมใหม่ๆ หรือแต่งตัวในแบบที่ต่างออกไป ถ้าคุณกังวล ให้ปรึกษาคู่สมรสหรือแพทย์ประจำตัวลูก แต่อย่าเล่าความกังวลของคุณให้ลูกฟัง [27]
    • รักลูกอย่างที่เขาเป็น เพราะเขาอาจจะกำลังผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากอยู่ คุณต้องทำให้เขารู้ว่าคุณรักเขาอย่างไม่มีเงื่อนไข
    • คุณอาจจะบอกเขาว่า “แม่รู้ว่าลูกกำลังเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงบางอย่าง แต่แม่อยากให้ลูกรู้ไว้ว่าแม่รักลูกเสมอ” [28]
  4. ถ้าลูกของคุณประพฤติตัวนอกกรอบบรรทัดฐานทางเพศ เขาก็อาจจะถูกล้อหรือโดนแกล้ง เช่น เด็กคนอื่นอาจจะหัวเราะเยาะที่ลูกสาวของคุณแต่งตัวเหมือนเด็กผู้ชาย ช่วยลูกแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ บอกให้เขารู้ว่าคุณจะเป็นตัวแทนไปคุยกับครูหรือพ่อแม่ของเด็กพวกนั้นเอง [29]
    • ถ้าคุณได้ยินใครวิจารณ์คนข้ามเพศในเชิงลบ ให้บอกเขาไปว่า “วิจารณ์แบบนี้ไม่ดีเลยนะคะ ขอร้องว่าอย่าพูดอีกเลยค่ะ”
  5. ให้ความช่วยเหลือในกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม. การเปลี่ยนแปลงทางสังคมก็คือการที่ลูกอาจจะเลือกใช้ชีวิตเป็นอีกเพศหนึ่ง พยายามเคารพการตัดสินใจของลูก ถ้าลูกอย่างจะแต่งตัวอีกแบบ ก็ปล่อยเขา ถ้าเขาอยากให้คุณเรียกเขาอีกชื่อหนึ่ง ก็ให้เป็นการตัดสินใจของเขา [30]
    • รู้ว่าการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเป็นสิ่งที่ย้อนกลับได้ถ้าลูกเปลี่ยนใจในภายหลัง ถ้าสุดท้ายมันเป็นแค่ช่วงสำรวจอัตลักษณ์ทางเพศ ลูกของคุณก็สามารถกลับมาไว้ผมและแต่งตัวแบบเดิมได้ และเขาก็จะจำได้ว่าคุณสนับสนุนเขาในระหว่างที่เขากำลังหาคำตอบ ซึ่งมันมีความหมายกับเขามาก
    • อย่าตื่นตระหนกเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางสังคม แม้ว่าพ่อแม่บางคนอาจจะทำใจกับแนวคิดนี้ได้ยากในช่วงแรกๆ แต่จำไว้ว่าเรื่องนี้สำคัญกับลูก และมันก็สามารถย้อนกลับไปได้ถ้าสุดท้ายแล้วลูกไม่มีความสุขที่จะเป็นแบบนี้ [31]
  6. เด็กข้ามเพศอาจจะรู้สึกถึงความกดดันมหาศาล และอาจจะต้องอดทนต่อการถูกกลั่นแกล้ง การกีดกันทางเพศ และการไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมหรือแม้กระทั่งคนในบ้าน ซึ่งทั้งหมดนี้อาจส่งผลต่อตัวเด็กได้ เด็กที่ประพฤติตนไม่สอดคล้องกับเพศสภาพทุกคนมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจิตสูงกว่า ถ้าคุณสังเกตเห็นสัญญาณของปัญหา ให้พาลูกไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต คุณควรสังเกตสัญญาณต่อไปนี้ให้ดี [32]
    • นอนมากเกินไป
    • น้ำหนักลงหรือขึ้นฉับพลัน
    • ไม่กระตือรือร้นที่จะทำกิจกรรมที่เขาเคยชอบมาก่อน
    • อารมณ์แกว่งไปแกว่งมาอย่างเห็นได้ชัด
  7. สำรวจตัวเลือกทางการแพทย์ถ้าลูกเป็นคนข้ามเพศ. ลูกของคุณอาจจะอยากสบายใจกับร่างกายของตัวเองมากกว่านี้ ตัวเลือกทางการแพทย์เองก็มีไว้เพื่อสนับสนุนเขา ไม่ใช่ "รักษา" การเป็นคนข้ามเพศ ปรึกษาแพทย์ประจำตัวลูกว่าทางเลือกเหล่านี้เหมาะกับเขาไหม [33]
    • สำหรับวัยรุ่น ยาระงับการเจริญพันธุ์ช่วยหยุดความบอบช้ำทางจิตใจที่เกิดจากการเข้าสู่การเจริญพันธุ์ที่ไม่ถูกต้องได้ ซึ่งตัวยาแค่ทำหน้าที่ชะลอการเจริญพันธุ์เท่านั้น และลูกสามารถกลับเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ได้เหมือนเดิมแน่นอน [34] วิธีนี้เป็น "ทางเลือกที่เป็นกลาง" ที่ดีที่สุดและช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดปัญหาสุขภาพจิตได้ [35]
    • สำหรับวัยรุ่นตอนปลายหรือผู้ใหญ่ ลูกอาจจะเริ่มรับประทานฮอร์โมนเพื่อช่วยให้เขาเข้าสู่การเจริญพันธุ์ที่ถูกต้องตามเพศที่แท้จริงได้
    • สำหรับผู้ใหญ่ เขาก็อาจจะเลือกการผ่าตัดยืนยันเพศ ซึ่งบางคนก็อยากทำ แต่บางคนไม่ทำก็ไม่เป็นไร
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • รู้ว่าเด็กหลายคนต้องเผชิญสิ่งนี้
  • สนับสนุนลูกอยู่เสมอ ถ้าคุณต้องการความช่วยเหลือในเรื่องนี้ ให้พบนักบำบัด
  • เมื่อลูกบอกคุณว่าเขาเป็นอีกเพศหนึ่ง อย่าบอกเขาว่ามันเป็นแค่ช่วงสำรวจอัตลักษณ์ทางเพศหรือปฏิเสธไม่ให้เขานิยามตัวเองว่าเป็นอีกเพศหนึ่ง
  • ทำหน้าที่ของพ่อแม่และสนับสนุนลูก การเป็นคนข้ามเพศไม่ควรสร้างความแตกต่างในเรื่องการให้ความรักและการสนับสนุนที่คุณควรมอบให้ลูกอยู่แล้ว
  • คุณต้องศึกษาและพูดคุยเรื่องอัตลักษณ์ทางเพศอื่นๆ ถ้าลูกไม่เป็นเพศไหนเลยในสองเพศ ลูกก็อาจจะเป็นผู้ที่มีพฤติกรรมที่ไม่สอดคล้องกับเพศสภาพ เพราะฉะนั้นคุณต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเพศที่เขาเรียกกันว่า ‘เพศที่สาม’ ด้วย ถ้าลูกของคุณเข้าๆ ออกๆ ช่วงสำรวจอัตลักษณ์ทางเพศอยู่เสมอ ก็เป็นไปได้มากๆ ว่าเขาจะเป็นคนที่พฤติกรรมไม่สอดคล้องกับเพศสภาพหรือจัดอยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งของคนประเภทนั้นอีกที และรู้สึกไม่ปลอดภัยที่จะมีใครมาแปะป้ายเขาเป็นเพศอะไร คุณต้องเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่าง เผื่อว่าคุณต้องสนับสนุนและให้คำแนะนำลูกเวลาที่เขาสับสน
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าให้ลูกเข้ารับการบำบัด "แก้เพศวิถี" ที่เป็นอันตรายและมีจุดมุ่งหมายคือเพื่อเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ทางเพศของลูก เพราะอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพจิตของลูก และอาจทำให้เขาฆ่าตัวตายได้ [36]
โฆษณา
  1. https://www.reuters.com/article/us-usa-lgbt-parenting/u-s-parents-accept-childrens-transgender-identity-by-age-three-idUSKBN14B1C8
  2. https://www.healthychildren.org/English/ages-stages/gradeschool/Pages/Gender-Non-Conforming-Transgender-Children.aspx
  3. https://www.hrc.org/resources/transgender-children-youth-ask-the-expert-is-my-child-transgender
  4. https://www.healthychildren.org/English/ages-stages/gradeschool/Pages/Gender-Non-Conforming-Transgender-Children.aspx
  5. https://www.hrc.org/resources/transgender-children-youth-ask-the-expert-is-my-child-transgender
  6. http://www.pflagsf.org/wp-content/uploads/2012/12/Early_Childhood_Development__Your_Options__How_Do_I_Know_If_My_Child_Is_Transgender.pdf
  7. https://www.hrc.org/resources/transgender-children-and-youth-understanding-the-basics
  8. http://www.pflagsf.org/wp-content/uploads/2012/12/Early_Childhood_Development__Your_Options__How_Do_I_Know_If_My_Child_Is_Transgender.pdf
  9. https://www.hrc.org/resources/transgender-children-and-youth-understanding-the-basics
  10. http://www.parents.com/parenting/my-transgender-child-this-is-how-i-know/
  11. https://www.healthychildren.org/English/ages-stages/gradeschool/Pages/Gender-Non-Conforming-Transgender-Children.aspx
  12. https://www.thedailybeast.com/its-absurd-to-claim-that-trans-kids-are-being-rushed-into-transitioning
  13. https://www.hrc.org/resources/transgender-children-youth-ask-the-expert-is-my-child-transgender
  14. https://www.reuters.com/article/us-usa-lgbt-parenting/u-s-parents-accept-childrens-transgender-identity-by-age-three-idUSKBN14B1C8
  15. https://www.hrc.org/resources/transgender-children-and-youth-understanding-the-basics
  16. https://www.reuters.com/article/us-usa-lgbt-parenting/u-s-parents-accept-childrens-transgender-identity-by-age-three-idUSKBN14B1C8
  17. https://www.thedailybeast.com/its-absurd-to-claim-that-trans-kids-are-being-rushed-into-transitioning
  18. http://www.pflagsf.org/wp-content/uploads/2012/12/Early_Childhood_Development__Your_Options__How_Do_I_Know_If_My_Child_Is_Transgender.pdf
  19. https://www.healthychildren.org/English/ages-stages/gradeschool/Pages/Gender-Non-Conforming-Transgender-Children.aspx
  20. https://www.healthychildren.org/English/ages-stages/gradeschool/Pages/Gender-Non-Conforming-Transgender-Children.aspx
  21. https://www.healthychildren.org/English/ages-stages/gradeschool/Pages/Gender-Non-Conforming-Transgender-Children.aspx
  22. https://www.hrc.org/resources/transgender-children-youth-ask-the-expert-is-my-child-transgender
  23. https://www.healthychildren.org/English/ages-stages/gradeschool/Pages/Gender-Non-Conforming-Transgender-Children.aspx
  24. https://www.healthychildren.org/English/ages-stages/gradeschool/Pages/Gender-Non-Conforming-Transgender-Children.aspx
  25. http://kuow.org/post/when-do-kids-know-they-re-transgender-younger-youd-think
  26. https://www.thedailybeast.com/its-absurd-to-claim-that-trans-kids-are-being-rushed-into-transitioning
  27. https://www.hrc.org/resources/transgender-children-and-youth-understanding-the-basics

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,607 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา