ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คนที่มีอาการหลอกตัวเอง (Pathological liar) คือคนที่ชอบเล่าเรื่องโกหกหรือสร้างเรื่องราวขึ้นมาเอง โดยคนกลุ่มนี้อาจจะไม่ได้ใช้ชีวิตโดยยึดหลักความเป็นจริง และเชื่อว่าเรื่องโกหกที่พวกเขาพูดเป็นเรื่องจริง อาการหลอกตัวเองส่วนใหญ่จะแสดงออกมาเพื่อแก้ปัญหาความเชื่อมั่นในตัวเองต่ำ ในการสังเกตว่าใครที่กำลังหลอกตัวเองอยู่นั้น ให้ตั้งใจดูพฤติกรรมและภาษากายของพวกเขาให้ดี เช่น มีการสบตาระหว่างสนทนามากเกินไป หรือลองฟังเรื่องที่เขาแต่งขึ้นมา คนที่มีอาการหลอกตัวเองอาจจะเป็นผลมาจากสารเสพติด หรือเคยมีความสัมพันธ์ที่สั่นคลอนในอดีต

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

สังเกตพฤติกรรม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณอาจจะกำลังสงสัยว่าเพื่อน คนในครอบครัว หรือเพื่อนร่วมงานกำลังโกหกอยู่ ลองสังเกตคนๆ นั้นอย่างใกล้ชิดและพิจารณาดูว่าคนกลุ่มนี้มีอะไรที่คล้ายกันบ้าง คนที่เป็นโรคหลอกตัวเองจะโกหกเพื่อเรียกร้องความเห็นใจ แก้เบื่อ หรือปกป้องตัวเอง เหตุผลอีกอย่างหนึ่งก็คือ พวกเขารู้สึกว่าตัวเองถูกบังคับให้โกหกเพราะว่าพวกเขารู้สึกราวกับว่าตัวเองนั้นโดดเด่น คนกลุ่มพวกนี้จะรู้สึกว่าพวกเขาเป็นศูนย์กลางของจักรวาลและจะทำในสิ่งที่พวกเขาทำได้ นอกเหนือจากการเป็นที่โดดเด่นแล้ว การหลอกตัวเองยังกลายเป็นวิธีเรียกกำลังใจให้ตัวเอง ยิ่งพวกเขาได้รับความสนใจมากเท่าไหร่ คำโกหกก็จะรุนแรงมากยิ่งขึ้น [1]
    • คนที่มีอาการหลอกตัวเองบางคนอาจจะพยายามเรียกร้องความเห็นใจในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง คนกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะสร้างหรือกล่าวถึงความเจ็บปวดหรืออาการเจ็บป่วยเกินจริง นอกจากนี้ยังอาจจะทำให้เรื่องเล็กๆ ในชีวิตเป็นเรื่องใหญ่เพื่อสร้างความเห็นใจให้กับใครก็ตามที่ได้ยิน
    • คนที่หลอกตัวเองอาจจะมีความเชื่อมั่นในตัวเองต่ำ พวกเขาอาจจะโกหกเพื่อทำให้ตัวเองดูมีความสำคัญมากกว่าที่เป็นอยู่ โดยจะพยายามทำให้ความสำเร็จในเรื่องส่วนตัวหรือในวงการทำงานดูยิ่งใหญ่มากขึ้นเพื่อให้ชีวิตดูน่าประทับใจและมีคุณค่า ในกรณีนี้ พวกเขาจะโกหกเพื่อโน้มน้าวมากกว่าทำให้เข้าใจผิด
    • คนที่หลอกตัวเองบางคนก็โกหกเพื่อแก้เบื่อ พวกเขาจะสร้างสถานการณ์ขึ้นมาและโกหกเพื่อทำร้ายจิตใจผู้อื่น ซึ่งจะเป็นการสร้างละครแก้เบื่อในชีวิตของกลุ่มคนเหล่านี้
    • คนที่หลอกตัวเองบางคนอาจจะสนุกกับการได้รับความสนใจจากคนอื่นด้วยการพร่ำเล่าเรื่องตัวเอง พวกเขาจะโกหกให้ยิ่งใหญ่มากขึ้นและซับซ้อนมากยิ่งขึ้นเพื่อให้ตัวเองมีตัวตน
  2. คนที่หลอกตัวเองอาจจะถูกจับได้ว่าโกหก บ่อยครั้งที่คุณมักจะได้ยินคนเรื่องราวของคนอื่นที่เล่าซ้ำจากคนที่หลอกตัวเองราวกับว่าเรื่องนั้นเกิดขึ้นกับตัวเอง ถ้าเรื่องราวที่คุณได้ยินดูคุ้นๆ ลองหยุดฟังแล้วคิดดูว่าคุณได้ยินเรื่องนี้มาก่อนหรือยัง [2]
    • คุณอาจจะได้ฟังคนที่หลอกตัวเองเล่าเรื่องราวของเพื่อนและคนในครอบครัว พวกเขาอาจจะยังเล่าเรื่องในภาพยนตร์หรือรายการโทรทัศน์ โดยเรื่องราวนั้นอาจจะถูดดัดแปลงให้เหมือนกับว่าเรื่องราวนั้นเกิดขึ้นกับพวกเขาเอง
    • ตัวอย่างเช่น เพื่อนร่วมงานของคุณเล่าเรื่องที่คุณรู้สึกคุ้นมากๆ แต่คุณไม่แน่ใจว่าคุณเคยได้ยินที่ไหนมาก่อน หลังจากนั้น คุณเห็นเรื่องคล้ายๆ กันนี้ในข่าว ถ้าเพื่อนร่วมงานของคุณเป็นพวกหลอกตัวเอง พวกเขาอาจจะหยิบเรื่องนี้ขึ้นมาแล้วเล่าเหมือนเป็นเรื่องของตัวเอง
  3. สังเกตว่าคนๆ นั้นพยายามหลีกเลี่ยงคำถามหรือไม่. เมื่อเจอหน้ากัน คนที่หลอกตัวเองอาจจะพยายามหาทางเลี่ยงที่จะตอบคำถาม เพราะธรรมชาติของพวกเขาคือชอบให้คนอื่นเชื่อฟัง ดังนั้น คุณอาจจะคิดว่าพวกเขาตอบอะไรบางอย่างกับคุณแล้วเมื่อพวกเขาไม่สามารถตอบได้ [3]
    • ยกตัวอย่างเช่น เพื่อนของคุณบอกว่าเธอเพิ่งเลิกคบกับเพื่อนรักของเธอ แต่คุณมีปัญหาที่จะคบกับเพื่อนคนนี้ และสงสัยเพื่อนคนนี้มีปัญหาความสัมพันธ์ในรูปแบบนี้อยู่เสมอ คุณอาจจะลองถามเธอดูว่า “ทำไมเธอกับอิไลซ่าถึงไม่คุยกันล่ะ”
    • เพื่อนอาจจะตอบคุณว่า “เราไม่ได้คุยกันมาเป็นปีแล้ว” ซึ่งเธอไม่ได้ตอบตรงคำถาม เธออาจจะหลีกเลี่ยงคำถามที่ถามตรงเกินไป ยกตัวอย่างเช่น คุณถามเธอว่า “เธอเคยตะคอกใส่อิไลซ่าเหมือนที่เคยตะคอกใส่ฉันบ่อยๆ หรือเปล่า” เธออาจจะตอบประมาณว่า “เธอคิดว่าฉันเป็นคนแบบนั้นหรือ’
  4. คนที่หลอกตัวเองนั้นมีความเชี่ยวชาญในด้านการทำให้คนอื่นเชื่อฟังตัวเอง พวกเขาอาจจะศึกษาคนอื่นๆ แล้วหาวิธีที่จะดึงความสนใจจากการเล่าเรื่องโกหก ให้ตั้งใจศึกษาวิธีที่คนหลอกตัวเองสื่อสารกับคุณให้ดี เพราะคุณอาจจะถูกทำให้เชื่อได้ [4]
    • คนที่หลอกตัวเองมักจะใช้ความตึงเครียดทางเพศเพื่อเป็นการครอบงำทางอารมณ์ ถ้าคุณถูกคนกลุ่มนี้ดึงความสนใจ พวกเขาอาจจะจีบคุณเมื่อคุณได้ฟังเรื่องโกหกของพวกเขา
    • นอกจากนี้ คนกลุ่มนี้ยังศึกษาตัวคุณอย่างละเอียดและรู้ว่าขอบเขตส่วนตัวของคุณอยู่ตรงไหน พวกเขามีสัมผัสที่ดีมากและรับรู้ได้ว่าใครเชื่อเรื่องโกหกเรื่องไหน พวกเขาอาจจะตระหนักได้ว่าคุณไม่เชื่อเรื่องโกหกเกี่ยวกับการป่วย แต่เชื่อเรื่องโกหกเกี่ยวกับปัญหาทางอารมณ์ ถ้าคุณได้ยินคนกลุ่มนี้พูดกับคนอื่น พวกเขาอาจจะสร้างเรื่องเพื่อยืนยันความเจ็บปวดกับคนอื่น แต่จะไม่พูดถึงอาการป่วยกับคุณ
  5. ลองดูว่าคนๆ นั้นตอบสนองอย่างไรเมื่อถูกจับได้. คนหลอกตัวเองอาจจะไม่ได้มีพฤติกรรมที่เหมือนกันเสมอ อย่างไรก็ตาม คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มักจะตอบสนองอย่างรุนแรงเมื่อถูกจับได้ว่าโกหก ถ้าคนที่คุณสงสัยตอบสนองต่อข้อสงสัยด้วยความโกรธ ก็แสดงว่าคุณอาจจะกำลังรับมือกับคนที่หลอกตัวเองอยู่ [5]
    • คนที่หลอกตัวเองอาจจะกลายเป็นคนที่หาข้ออ้างเพื่อปกป้องตัวเอง พวกเขาอาจจะต่อว่าคนอื่นเรื่องที่พวกเขาโกหก ยกอย่างเช่น “ที่ฉันทำไปก็เพราะว่าเจ้านายของฉันดุมากไงล่ะ”
    • พวกเขาอาจจะโกหกเรื่องอื่นอีกเพื่อปกปิดเรื่องโกหกเรื่องแรก เช่น “ไม่ ฉันใช้เงินก้อนนั้นเพื่อซ่อมรถ แต่ฉันใช้ไปแล้วครึ่งหนึ่งจากการซื้อของ ฉันลืมบอกคุณว่าฉันแวะร้านขายของด้วย”
    • พวกเขาอาจจะโกรธมากเมื่อถูกจับได้ และอาจจะตะคอกใส่หรือร้องไห้เพื่อเรียกร้องความเห็นใจ
  6. 6
    พิจารณาปัญหาทางจิตในอดีต. การโกหกอาจจะเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพทางจิต เช่น ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง (Borderline personality disorder) โรคซึมเศร้า (Depression) โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorder) หรือโรคหลงตัวเอง (Narcissistic Personality Disorder) ถ้าคุณอยู่กับคนกลุ่มนี้อย่างใกล้ชิด คุณอาจจะรับรู้ถึงอดีตของพวกเขาที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางจิตและช่วยให้พวกเขาได้รับความช่วยเหลืออย่างถูกต้องได้
    • คุณอาจจะใช้ประวัตินี้ในการค้นหารูปแบบการโกหกของพวกเขาได้ พวกเขาโกหกเพียงแค่บางเหตุการณ์หรือไม่ พวกเขาพยายามสร้างตัวเองใหม่หรือสร้างความประทับใจด้วยเรื่องโกหกหรือไม่ พวกเขาโกหกเพื่อหลีกเลี่ยงการพูดถึงเหตุการณ์บางอย่างหรือไม่
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

สังเกตภาษากาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คนส่วนใหญ่จะใช้วิธีการสบตาในการจับผิดคนที่หลงตัวเอง อย่างไรก็ตาม แม้คนโกหกส่วนใหญ่ชอบหลบตา แต่ในกรณีของคนที่หลอกตัวเองนั้นไม่ใช่ พวกเขาจะสบตาคุณมากเกินกว่าปกติ ซึ่งเป็นการพยายามทำให้ตัวเองดูมีความน่าเชื่อถือ [6]
    • คนที่หลอกตัวเองจะไม่ละสายตาในขณะที่คุยกับคุณ ในขณะที่คนเราส่วนใหญ่บางครั้งก็จะละตายตาไปมองที่อื่นระหว่างการสนทนา แต่คนกลุ่มนี้จะจ้องตาคุณตลอดเวลาที่พูดคุยกัน
    • คุณอาจจะสังเกตเห็นสัญญาณของการโกหก รูม่านตาของคนหลอกตัวเองจะขยายในระดับหนึ่ง และอาจจะกระพริบตาช้ากว่าปกติ
  2. คนส่วนใหญ่ที่โกหกมักจะไม่อยู่นิ่งและแสดงให้เห็นถึงความประหม่า ในทางกลับกัน คนที่หลอกตัวเองจะไม่ค่อยรู้สึกผิดกับการโกหก ดังนั้น พวกเขาจะโกหกได้อย่างสบายๆ นอกจากนี้ คนกลุ่มนี้มักจะชอบเข้าสังคมและรู้สึกผ่อนคลายในการสนทนา แม้ว่าคุณจะรู้ว่ามีคนโกหก พวกเขาก็จะไม่แสดงอาการตื่นตระหนกหรือประหม่าให้เราเห็น [7]
    • ตัวอย่างเช่น คุณได้ยินเพื่อนร่วมงานเล่าเรื่องตอนทานอาหารกลางวัน จากนั้นในตอนเย็น คนที่คุณสงสัยว่าจะเป็นพวกหลอกตัวเองก็นำเรื่องนั้นมาเล่าเหมือนกับเกิดขึ้นกับตัวเอง
    • ในขณะที่คุณรู้แล้วว่าคนๆ นี้กำลังโกหก พวกเขาก็ไม่ได้รู้สึกอะไร พวกเขาจะเล่าเรื่องโดยที่ไม่มีอาหารตื่นตระหนกหรือกระสับกระส่าย แต่กลับพูดอย่างสบายๆ เสียด้วยซ้ำ ถ้าคุณไม่รู้จักเขาดี คุณก็อาจจะเชื่อสิ่งที่เขาพูดโดยไม่สงสัยอะไร
  3. น้ำเสียงที่เปลี่ยนไปเล็กน้อยอาจจะบอกถึงการโกหกได้ แม้ว่าคนหลอกตัวเองทุกคนจะไม่เปลี่ยนน้ำเสียงของตัวเองเสมอไป แต่บางคนก็ทำ การเปลี่ยนน้ำเสียง พร้อมกับอาการอื่นๆ ที่แสดงออกมาอาจจะช่วยบอกได้ว่าคนๆ นี้เป็นคนหลอกตัวเอง [8]
    • คุณอาจจะสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของระดับเสียง เสียงของคนที่หลอกตัวเองอาจจะสูงหรือต่ำกว่าปกติในตอนที่กำลังโกหก
    • คนที่หลอกตัวเองยังมักจะเลียริมฝีปากหรือดื่มน้ำในขณะที่พูดคุย เพราะความเครียดจากการเล่าเรื่องโกหกไปกระตุ้นฮอร์โมนอะดรีนาลิน (Adrenaline) หรือทำให้คอแห้ง ทำให้ต้องการดื่มน้ำมากขึ้น
  4. แม้ว่าคนที่หลอกตัวเองอาจจะไม่ได้แสดงภาษากายใดๆ ในขณะที่โกหก แต่บางคนอาจจะแสร้งยิ้ม การยิ้มเป็นสิ่งที่แสร้งทำให้เนียนได้ค่อนข้างยาก ดังนั้น สังเกตรูปปากของคนเหล่านี้ไว้ให้ดี [9] รอยยิ้มของจริงจะต้องสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงทั้งใบหน้า ขอบตาจะเป็นรอย แต่รอยยิ้มของปลอมจะมีการเปลี่ยนแปลงที่มุมปากเท่านั้น [10]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

เข้าถึงปัจจัยความเสี่ยงของคนๆ นั้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคนที่คุณสงสัยมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้สารเสพติด การพนัน การกิน และมีพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง ก็อาจจะเป็นไปได้ว่าพวกเขาจะเป็นพวกหลอกตัวเอง [11]
    • ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจจะสังเกตเห็นว่าเพื่อนรวมงานของคุณดื่มจัดในงานสังสรรค์ คุณอาจจะเห็นพวกเขาเติมเครื่องดื่มเพิ่มเมื่อคนอื่นๆ ไม่อยู่ หรือเห็นพวกเขาถือขวดเหล้าอยู่
    • คุณอาจจะสังเกตเห็นว่ามีคนไม่มาทานข้าวกลางวัน แต่บางครั้งก็เห็นร่องรอยอาหารอยู่ที่โต๊ะทำงานของพวกเขา พวกเขาอาจจะมีความลับเกี่ยวกับพฤติกรรมการกินหรือมักปฏิเสธคำชวนไปทานอาหารกับเพื่อนร่วมงาน
  2. ลองดูว่าคนเหล่านั้นอยู่กับความเป็นจริงหรือไม่. คนหลอกตัวเองส่วนใหญ่จะตัดขาดจากโลกแห่งความเป็นจริง บ่อยครั้งที่พวกเขาเชื่อว่าสิ่งที่ตัวเองโกหกเป็นจริง และอาจจะหลอกตัวเองหรือหลอกว่าตัวเองมีความสามารถ [12]
    • คนที่หลอกตัวเองมักจะมีแนวโน้มที่จะสร้างความสำคัญให้ตัวเองเกินจริง พวกเขามองบางสิ่งว่าไม่น่ากลัว ซึ่งเป็นเหมือนกับสัญญาณแสดงความยิ่งใหญ่ของตนเอง เช่น คำชมจากหัวหน้า เมื่อเล่าเรื่องได้รับคำชมเมื่อไหร่ พวกเขาก็อาจจะพูดถึงความสำคัญของมันอีก
    • คนที่หลงตัวเองอาจจะขาดทักษะการใช้ชีวิต แต่ไม่ได้มองว่าสิ่งนี้คือปัญหา
    • ถ้าคนที่คุณสงสัยมองความจริงแปลกไปจากปกติ พวกเขาอาจจะเชื่อในสิ่งที่ตัวเองพูดจริงๆ แม้ว่าคนหลอกตัวเองจะไม่ได้เป็นแบบนี้ทุกคน แต่ให้พิจารณาว่าเป็นพฤติกรรมที่เป็นไปได้ที่พวกเขาจะโกหกโดยไม่มีเจตนาร้าย
  3. คิดถึงความสัมพันธ์ของคนที่คุณสงสัยที่มีต่อคนอื่น. คนหลอกตัวเองมีแนวโน้วที่จะมีความสัมพันธ์ที่ไม่มั่นคง ลองดูว่าคุณรู้เรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในอดีตของพวกเขาหรือไม่ ลองมองดูสัญญาณของความไม่มั่นคงดู [13]
    • คนๆ นี้มีเพื่อนหรือมีความสัมพันธ์แบบโรแมนติกที่มั่นคงหรือไม่ การไม่มีเพื่อนที่คบกันยาวๆ และเลิกรากับแฟนบ่อยครั้งอาจจะบอกได้ว่าคนๆ นี้เป็นพวกหลอกตัวเอง
    • คนที่หลอกตัวเองอาจจะแยกตัวออกห่างจากครอบครัว
  4. คนหลอกตัวเองส่วนใหญ่จะโอ้อวดตัวเองในเรื่องงาน คนเหล่านี้จะมีรายชื่ออาชีพมากมายบนเรซูเม่ อย่างไรก็ตาม งานส่วนใหญ่ล้วนเป็นงานระยะสั้น และพวกเขาจะหลีกเลี่ยงคำถามว่าทำไมถึงไม่ทำงานระยะยาว [14]
    • ยกตัวอย่างเช่น คนที่หลอกตัวเองอาจจะมีเรซูเม่ที่ยาว งานส่วนใหญ่ที่ทำก็จะเป็นงานระยะสั้น ถ้าคุณถามคนเหล่านี้เกี่ยวกับอาชีพของเขา พวกเขาจะเลี่ยงที่จะตอบ
    • ในบางกรณี คนที่หลอกตัวเองอาจจะเปลี่ยนงานบ่อยมากและเปลี่ยนงานโดยกระทันหัน เพราะพวกเขามักจะมีปัญหากับนายจ้าง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เข้าใจไว้ก่อนว่าคุณจะไม่มีทางได้ฟังเรื่องราวที่คงเส้นคงวาจากกลุ่มคนเหล่านี้
  • จำไว้ว่าคนกลุ่มนี้มักจะทำให้ทุกอย่างเป็นเรื่องใหญ่เกินจริง แล้วบอกกับคุณด้วยการใส่สีตีไข่ค่อนข้างมาก
  • บางคนที่ชอบโกหกคุณอยู่เสมอก็อาจจะเป็นการแสดงความไม่เคารพคุณก็ได้ ซึ่งคุณไม่ควรไว้ใจหรือพิจารณาว่าเป็นเพื่อนแท้
  • ถ้าคุณเป็นห่วงคนแบบนี้ ให้เตือนพวกเขาบ่อยๆ ว่าคุณไม่จำเป็นต้องแสร้งทำตัวเองให้สมบูรณ์แบบ แค่มองหาข้อดีและข้อผิดพลาดในชีวิตจะดีกว่า
  • บางครั้งคนเราก็โกหกเพราะพวกเขาอายหรือรู้สึกแย่ หรืออาจจะรู้สึกว่าถูกเข้าใจผิด แม้แต่โกหกตัวเอง ซึ่งอาจจะอธิบายปัญหาความสัมพันธ์ที่สั้นหรือหน้าที่การงานได้ โดยคนเหล่านี้มักจะปิดกั้นตัวเองและไม่อยากจะปรึกษากับใครโดยตรง
โฆษณา

คำเตือน

  • คุณสามารถให้แนะนำให้คนกลุ่มนี้แก้ไขปัญหาการโกหกได้ แต่คุณไม่สามารถทำให้เขาเลิกโกหกได้ จริงๆ แล้วคุณอาจจะต้องลำบากมากๆ เพื่อจะทำให้คนกลุ่มนี้ยอมรับว่าการโกหกของเขานั้นเป็นปัญหา ยิ่งพูดเรื่องการรักษายิ่งไม่ต้องพูดถึง
  • ถ้าคุณสงสัยว่าคนๆ นี้กำลังโกหกเพื่อปกปิดการกระทำที่ผิดกฎหมาย ให้พิจารณาติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 14,168 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา