ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าคุณไม่เคยใช้อีเมลละก็ บอกเลยว่าตกข่าวมาก เพราะจะไม่รู้ว่าเพื่อนฝูง ครอบครัว กระทั่งที่ทำงานเขาคุยอะไรกัน มาเลือกเว็บที่ใช่ แล้วสมัครใช้อีเมลกันเถอะ จะได้เริ่มส่งข่าวคราวหาใครต่อใครกันซะที

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

เลือกใช้อีเมล์ที่ใช่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Gmail นี่แหละใช้ง่ายแบบสุดๆ แถมมาพร้อมกับพื้นที่เก็บข้อมูลฟรี 15 GB ไว้ใช้ใน Google Drive, Gmail แล้วก็ Google+ account พูดง่ายๆ คือแทบไม่ต้องลบอีเมลทิ้งกันเลยทีเดียว หรือจะเลือก archive เก็บไว้ถาวรเลยก็ได้ เผื่อไว้เกิดต้องใช้ข้อความเก่าๆ ทีหลัง
    • ที่เจ๋งสุดของ Google account คือคุณสามารถใช้ทุกบริการของ Google จากเครื่องไหนก็ได้ รวมถึง Google Drive ที่เอาไว้จัดการกับทั้งเอกสาร รูป คลิป และอื่นๆ อีกมากมาย แถมยังแชร์ให้คนใน contacts ได้ทันที
    • Gmail ให้คุณแบ่งอีเมลขาเข้าออกเป็นหลายโฟลเดอร์ได้ตามต้องการ เพื่อการจัดระเบียบอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
    • Gmail เก่งสุดๆ เรื่องบล็อค junk mail แถมยังไม่มี banner โฆษณามาเกะกะกวนใจเวลาเราใช้อีเมล
    • Gmail ให้คุณแนบไฟล์ในแต่ละอีเมลได้ถึง 25 MB
    • อีกหลายฟังก์ชั่นที่น่าสนใจของ Gmail ก็เช่น RSS feed, เซฟ draft ของอีเมลอัตโนมัติ, ค้น Google ได้เลยจากในอีเมล และพ่วง email account อื่นเข้ากับ Gmail account ของคุณเป็นต้น
    • นอกจากนี้ Gmail ยังให้คุณติดต่อสื่อสารกับคนใน contacts ได้แบบ real time โดยผ่านโปรแกรมแชทใน inbox หรือจะ video chat กับคนอื่นๆ พร้อมกันถึง 9 คน แถมโทรออกด้วย Gmail ได้อีกต่างหาก
  2. Mail account เลย ถ้าอยากส่งเมลทันใจแบบไม่ยุ่งยาก . Yahoo! Mail นั้นอัพเดทเป็นเวอร์ชั่นใหม่เมื่อปี 2015 ให้คุณใช้งานได้รวดเร็วทันใจกว่าเวอร์ชั่นเก่าหลายเท่าตัว
    • คุณใช้ Yahoo Mail ร่วมกับ Flickr และ Picasa แปลงลิงค์ของรูปต่างๆ ในเน็ต ไปเป็น thumbnail กับ slideshow แบบ embedded ได้ [1]
    • Yahoo! Mail มาพร้อมพื้นที่จัดเก็บข้อมูลไม่จำกัด จึงเหมาะมากสำหรับส่งรูปและคลิปที่มีขนาดใหญ่
    • แต่ที่ไม่เหมือน Gmail คือ Yahoo! จะมี banner โฆษณาหราอยู่ในหน้าอีเมลด้วยนี่สิ ออกจะรกหูรกตา น่ารำคาญอยู่สักหน่อยตอนคุณใช้อีเมล
    • อีเมลของ Yahoo! จะมีลิงค์ "Trending Now" ติดไว้ที่มุมขวาบนของหน้าจอ กดแล้วจะเจอหัวข้อข่าวใหม่ๆ ที่กำลังฮอตฮิตอยู่ในตอนนั้น แต่ไม่ได้เกี่ยวอะไรเลยกับอีเมลของคุณ
  3. สมัคร Microsoft Outlook account เลยถ้าอยากติดตามสถานะการจัดส่ง กับดูคลิปไปส่งอีเมลไปด้วย. Microsoft Outlook หรือเดิมคือ Hotmail ถ้าคุณสมัคร account ใหม่ คุณจะได้อีเมลที่ลงท้ายประมาณว่า youremailaddress@outlook.com ส่วนใครที่ใช้ Hotmail อยู่แล้ว ก็ใช้ @hotmail.com ต่อไปได้ แต่ถ้าอยากเปลี่ยนเป็น Outlook ก็ได้ไม่ว่ากัน
    • Outlook นั้นให้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลมาแบบจำกัด แต่การใช้งานนอกนั้นก็คล้ายๆ กันกับของเจ้าอื่น
    • Outlook เหมือนกับ Yahoo! Mail ตรงที่แปลงลิงค์รูปใน Flickr หรือ SmugMug ไปเป็น slideshow โดยอัตโนมัติ แต่ใช้งานกับ Picasa ไม่ได้นะ
    • Outlook ให้คุณดูคลิปจากลิงค์ของ Hulu หรือ YouTube ที่แนบมาในอีเมลได้เลยโดยไม่ต้องออกจากอีเมลก่อน แถมยังติดตามพัสดุ USPS ได้โดยไม่ต้องเปิดเว็บ [2]
    • Outlook ยังเหมาะมากสำหรับส่งอีเมลหากันในออฟฟิศ เพราะมีทั้งสมุดที่อยู่ ปฏิทิน รายการ task และ virtual sticky note เวลาจะนัดใครหรือจดโน้ตอะไรก็ทำได้ง่ายนิดเดียว แถมแจ้งเตือนมอบหมายงานกันในทีมได้สะดวกอีกต่างหาก
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณจะใช้ Gmail ให้ไปที่ www.gmail.com ส่วน Yahoo! Mail ให้ไปที่ mail.yahoo.com และ Outlook ไปที่ www.outlook.com
  2. ให้หาลิงค์ในเว็บอีเมลที่เขียนว่า "Sign Up" หรือ "Create New Account". คลิกที่ลิงค์นั้น แล้วทำตามขั้นตอนที่ขึ้นในหน้าต่อๆ ไป คุณต้องกรอกพวกข้อมูลส่วนตัวพื้นฐาน กับคิดชื่ออีเมลด้วย
    • คิดก่อน ว่าจะเอาอีเมลนี้ไปใช้ทำอะไร ถ้าเน้นเรื่องงานเป็นหลัก ให้ตั้งชื่ออีเมลแบบเรียบๆ ไม่หวือหวา เอาให้มีชื่อหรือนามสกุลจริงของคุณอยู่ด้วย
    • อย่าเลือกใช้ชื่ออีเมลที่จำยาก หรือมีตัวเลขเยอะๆ มันจะทำให้คนที่คุณติดต่อด้วยเขาจำอีเมลของคุณไม่ได้
    • ตั้ง password ที่จำง่าย แต่ไม่ง่ายเกินไปจนเดาได้ ผสมตัวพิมพ์เล็กตัวพิมพ์ใหญ่เข้าไป หมายเลขด้วย เอาให้คนใกล้ตัวก็ยังเดาไม่ออก แต่อย่าใช้ชุดตัวเลขที่รู้ๆ กันอยู่ แบบวันเกิดของคุณเป็นต้น เพราะนั่นน่ะตัวเลือกแรกๆ ที่คนจะเดาเลย
  3. กรอกให้ครบทุกช่องที่จำเป็น มีอะไรขึ้นมาให้ตั้งค่าให้ใส่ ก็ทำไปให้ครบ. เช่น ถ้ายังไม่อยากตั้งค่า Google+ account ก็ให้หาปุ่มในหน้านั้นสำหรับกดข้ามไปก่อนแล้วค่อยกลับมาตั้งค่าใหม่
  4. พอสมัคร account เสร็จแล้ว ก็มารับ-ส่งอีเมลหาครอบครัว เพื่อนฝูง หรือเพื่อนร่วมงานได้เลย!
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ส่งอีเมลได้เลย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พิมพ์ URL เพื่อเข้าไปที่เว็บอีเมล แล้วล็อกอินด้วย username กับ password. ถ้าลืมตัวใดตัวหนึ่งไป จะมีลิงค์ใต้ช่องล็อกอินเขียนอยู่ว่า "Forgot Your Username/Password?" หรืออะไรทำนองนี้ ให้คลิกที่ลิงค์นั้น แล้วทำไปตามขั้นตอนเพื่อกู้คืนข้อมูลที่ลืม อาจต้องตอบคำถามยืนยันตัวตนซะก่อนถึงจะรีเซ็ต password ได้
  2. หาเวลามาลองคลิกไปมาในหน้าอีเมลดูสักหน่อย จะได้ชินกับฟังก์ชั่นและคุณสมบัติต่างๆ ที่มี
  3. ส่วนใหญ่จะอยู่แถวมุมซ้ายบนของ inbox เขียนว่า "Compose" "Compose New Message" หรือตรงๆ เลยคือ "New Message" แล้วหน้าจอใหม่ก็จะโผล่ขึ้นมาพร้อม template ว่างๆ ให้คุณใช้เขียนอีเมลส่งหาใครได้เลย
    • ใน Gmail เวลาจะเขียนอีเมลใหม่ ให้คลิกที่ปุ่ม "Compose" สีแดง ใต้ลิงค์ "Gmail" ที่ขยายลงมา ตรงมุมซ้ายบนของ inbox
  4. ก็คือช่องแรกในแบบฟอร์มเขียนอีเมลใหม่นั่นแหละ
    • จะเพิ่มอีเมลของคนอื่น เพื่อส่งให้ทีเดียวหลายคนก็ได้ แค่คั่นแต่ละอีเมลในช่อง "To" ด้วยเครื่องหมายลูกน้ำ
    • หรือจะเลือกเพิ่มอีเมลลงในช่อง Cc หรือ Bcc ตามความเหมาะสมก็ได้ ถ้าคลิกแถบ "Cc" หรือ "Bcc" ใน Gmail จะเป็นการเรียกแถบอีเมลใหม่ขึ้นมา Cc นั้นหมายถึง carbon copy คือจะส่งอีเมลฉบับนั้นไปให้อีเมลของผู้รับหลักและผู้รับในช่องนี้ด้วย เวลาคุณใช้ Cc ผู้รับทุกคนจะเห็นอีเมลของกันและกัน แต่ถ้าใช้ Bcc (blind carbon copy) เฉพาะคนในช่อง "To" เท่านั้นที่จะเห็นอีเมลกัน
  5. เอาให้สั้นกระชับเข้าไว้ ให้เหมือนเป็นสรุปเนื้อหาของอีเมลที่คุณจะส่งนั่นแหละ
    • ระวังอย่าตั้งชื่อ Subject ด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด หรือเน้นตัวเลข หรือใส่สัญลักษณ์มากเกินไป เพราะมันจะทำให้อีเมลคุณดูเหมือน spam คนรับเขาจะพาลไม่เปิดดูเอาได้
    • แต่จะไม่ใส่ subject เลยก็ยังส่งอีเมลได้นะ เว้นว่างไว้แบบนั้นแหละ
  6. ช่องนี้อาจจะไม่มีชื่อเขียนไว้ชัดเจน แต่พูดง่ายๆ ว่าคือช่องว่างๆ ใหญ่สุดในแบบฟอร์มเขียนอีเมลนั่นแหละ
  7. พิมพ์ข้อความที่คุณอยากจะส่งให้ผู้รับลงไปเลย. เริ่มจากคำขึ้นต้น อย่าง "สวัสดีค่ะ คุณสมใจ" แล้วกดปุ่ม "return" หรือ "enter" สองครั้งเพื่อเว้นบรรทัดระหว่างคำขึ้นต้นกับตัวเนื้อหา พอเขียนเนื้อหาเสร็จแล้ว ก็ให้กด "return" อีกสองครั้ง แล้วลงท้ายตามความเหมาะสม เช่น "ด้วยความเคารพ [ชื่อของคุณ]" อย่าลืมกดเว้นบรรทัดอีกครั้ง ก่อนลงชื่อปิดท้าย
    • ข้างล่างคำลงท้าย จะเพิ่มข้อมูลสำหรับติดต่อลงไปด้วยก็ได้ ผู้รับจะได้ตอบกลับได้สะดวก ไม่ใช่แค่ด้วยอีเมล ในคำลงท้ายที่ว่า จะรวมตำแหน่ง บริษัท ที่ทำงาน ที่อยู่บ้าน เบอร์โทร และอีเมลไปอีกทีก็ได้
  8. หลายเว็บจะมี toolbar อยู่ระหว่างช่อง subject กับตัวเนื้อหาอีเมล ไว้ให้คุณเปลี่ยนฟอร์แมตง่ายๆ อย่างการเลือก font รวมถึงสีและขนาด ไปจนถึงการแบ่งหัวข้อย่อยด้วย bullet point
    • Template ล่าสุดของ Gmail ให้คุณเลือกได้ว่าจะทำตัวใหญ่ ตัวเอียง หรือขีดเส้นใต้ โดยเป็นปุ่มรูปตัว "A" ทางขวาของปุ่ม "Send" ตรงด้านล่างซ้ายของหน้าเขียนอีเมล พอคลิกที่ตัว "A" นั้น toolbar ก็จะขยายออกมา ให้คุณได้เลือกฟอร์แมตอื่นเพิ่มเติม
  9. ส่วนใหญ่จะเป็นรูปคลิปหนีบกระดาษ ไว้ให้กด browse หาไฟล์ที่จะแนบไปกับอีเมล หรือมีปุ่มที่เขียนว่า "Attach Files" ที่มักจะอยู่ล่างๆ ของเนื้อหาอีเมล ไม่ก็แถวๆ toolbar ที่อยู่ระหว่างช่อง subject กับเนื้อหาอีเมล หาปุ่มให้เจอแล้วคลิกเพื่อแนบไฟล์ หน้าต่าง pop-up จะโผล่ขึ้นมาให้คุณ browse หาไฟล์จากในคอม เลือกไฟล์ที่จะอัพโหลด แล้วคลิก "Attach" "Open" หรืออะไรในเมนูที่แปลว่าตกลง
    • เว็บอีเมลส่วนใหญ่มีข้อจำกัดเรื่องขนาดไฟล์แนบในอีเมล อย่าง Gmail ก็อนุญาตแค่ 25 MB ต่ออีเมลเท่านั้น ถ้าไฟล์ทั้งหมดใหญ่เกินกว่าจะส่งในอีเมลเดียว คงต้องแยกส่งเป็นหลายอีเมลแทน
  10. พอเขียนอีเมลเสร็จ และแนบไฟล์พร้อมตั้งค่าฟอร์แมตต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ก็คลิกปุ่ม "Send" ได้เลย. ปุ่ม "Send" มักจะอยู่ด้านล่างของหน้าอีเมลนั่นแหละ ไม่ซ้ายก็ขวา รอดูจนแน่ใจว่าอีเมลถูกส่งออกไปแล้วค่อยเปลี่ยนไปหน้าอื่น
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ได้รับอีเมลจากใครเมื่อไหร่ควรตอบกลับทันที เพราะเดี๋ยวนี้คนเขาก็ใช้เน็ตกันตลอดเวลาผ่านอุปกรณ์ต่างๆ แน่นอนว่าทุกคนต่างก็คาดหวังว่าส่งเมลไปแล้วจะได้คำตอบภายใน 24 - 48 ชั่วโมงทั้งนั้นแหละ
  • สมัคร 2 อีเมลเลย ถ้าคุณอยากแย่งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวออกจากกัน หรือจะสมัครอีเมลใหม่ไว้ใช้กับ mailing list โดยเฉพาะ inbox ส่วนตัวของคุณจะได้ไม่ถูก spam อย่างโฆษณาหรือจดหมายข่าวต่างๆ มารบกวน
  • หมั่นเซฟ draft ของอีเมลไว้ระหว่างพิมพ์ ถ้าเป็น Gmail จะเซฟ draft ให้คุณอัตโนมัติ แต่อีเมลอื่นๆ ก็ต้องเซฟกันเอาเอง
  • ล็อกอินอีเมลทิ้งไว้ในมือถือหรือแท็บเล็ตเลย จะได้รับ-ส่งอีเมลได้ตลอดไม่ขาดตอน
  • ห้ามเอาศัพท์วัยรุ่นแบบที่ฮิตๆ กันในเน็ตมาใช้ในอีเมลเด็ดขาด อย่าง "เด๋ว" แทน "เดี๋ยว" หรือ "คร่า" แทน "ค่ะ"
โฆษณา

คำเตือน

  • อะไรที่เป็นความลับหรือไม่เหมาะสม อย่าไปเขียนใส่อีเมล อย่าลืมว่าอีเมลนั้นเป็นสื่อแทนตัวคุณ หรือยิ่งกว่านั้นคือแสดงถึงภาพลักษณ์ของสินค้าหรือบริษัทของคุณ
  • ถ้าไม่เคยเห็นอีเมลผู้ส่งนี้มาก่อน หรือไม่คุ้นหัวข้ออีเมลนี้เลย ก็ห้ามเปิดดูเด็ดขาด เพราะอาจเป็นไวรัสที่มาเจาะคอมพิวเตอร์ของคุณได้ ไม่ก็ยึดอีเมลคุณไปเลย ถ้าอีเมลไหนน่าสงสัย ไม่แน่ใจ ก็ลบไปได้เลย
  • อีเมลฟรีแถมดีมีให้ใช้กันถมไป เรื่องอะไรต้องเสียเงินใช้ให้เปลือง
  • อย่าสมัคร mailing list มากเกินไป เดี๋ยวรู้ตัวอีกที inbox จะเต็มไปด้วยอีเมลขยะทั้งหลายจนหาอีเมลที่สำคัญจริงๆ ไม่เจอ
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • สัญญาณอินเทอร์เน็ต
  • เว็บที่ให้บริการอีเมล
  • บัญชีอีเมลที่คุณเพิ่งสมัคร
  • ที่อยู่อีเมลของผู้รับ
  • ข้อความที่จะส่ง

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

ดาวน์โหลดวิดีโอจากทุกเว็บไซต์ได้แบบฟรีๆ
แก้ปัญหาเข้าบางเว็บไม่ได้
หาวันที่เผยแพร่ข้อมูลของเว็บไซต์
ดูว่าใครแชร์โพสต์ของคุณบนเฟซบุ๊ก
แก้ปัญหาเซิร์ฟเวอร์ DNS ไม่ตอบสนอง
เช็คตำแหน่งปัจจุบันใน Google Maps
รู้ความหมายของอีโมจิรูปหัวใจสีดำ
ตั้งชื่ออีเมลให้โดนใจ
เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในคอมพิวเตอร์ Windows
เปิดใช้งานคุกกี้ในเว็บเบราว์เซอร์อินเตอร์เน็ตของคุณ
หาละติจูดกับลองจิจูดใน Google Maps
เว้นวรรคห่างๆ ใน HTML
อิโมจิซ่อนความสยิวที่คนใช้แชตกันมากที่สุด
หา URL ของเว็บไซต์
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 9,434 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา