ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เวลาเขียนรายงานหรือเรียงความ แล้วจะอ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์แต่ละที ออกจะยุ่งยากเสียเวลาหน่อย แต่ถ้าพอรู้เทคนิค ก็สามารถหา publication date หรือ "วันที่เผยแพร่ข้อมูล" ได้ง่ายๆ ถ้าอยากเช็คว่าบทความหรือหน้าเว็บนั้นเผยแพร่เมื่อไหร่ ลองเช็คในเว็บและ URL ดู หรือค้นหาใน Google โดยเอาเว็บไปค้นใน URL operator ที่ช่วยระบุวันที่เผยแพร่ได้ ถ้าอยากรู้ว่าตัวเว็บเองสร้างขึ้นเมื่อไหร่ ก็ลองค้นหาใน source code ของเว็บซะเลย ปกติคุณจะหาวันที่เผยแพร่ได้แทบทุกเว็บไซต์ แต่บางเว็บก็อาจจะไม่มี แบบนี้เวลาอ้างอิงข้อมูลเว็บไซต์ ให้ใส่ว่า “no date” หรือละส่วนวันที่เผยแพร่ไป

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

หาในหน้าเว็บและ URL

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เว็บข่าวและบล็อกส่วนใหญ่จะมีวันที่ใต้ชื่อเรื่องหรือชื่อบทความ พร้อมชื่อผู้เขียน ให้ลองมองหาวันที่เผยแพร่ใต้ชื่อเรื่อง หรือด้านบนของบทความดู (ก่อนเนื้อหา) [1]
    • บางทีก็มีหัวข้อย่อย 1 บรรทัด หรือมีรูปคั่นระหว่างชื่อเรื่องกับวันที่ ให้เลื่อนลงไปเรื่อยๆ จนเจอวันที่เผยแพร่ ล่างหัวข้อย่อยหรือรูป
    • บางบทความก็มีการอัพเดทอีก หลังเผยแพร่ไปตามวันที่แล้ว แบบนี้น่าจะมีขึ้นที่ต้นบทความหรือท้ายบทความ ว่ามีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลเมื่อไหร่ ด้วยเหตุผลใด

    ทางเลือก: ถ้าหาวันที่เผยแพร่บทความไม่เจอ ลองกลับไปที่หน้า home ของเว็บ หรือเข้า search engine แล้วค้นหาดู อาจจะมีวันที่เผยแพร่ข้างลิงค์หรือ thumbnail ของบทความ

  2. เลื่อนลงไปล่างสุดของหน้า แล้วสำรวจหาข้อมูลแถวนั้น อาจจะมีข้อมูลลิขสิทธิ์หรือเงื่อนไขการเผยแพร่ (publication note) ให้อ่านข้อมูลดูว่ามีวันที่เผยแพร่แรกสุดไหม แต่บางทีวันที่ที่ขึ้น ก็เป็นวันที่อัพเดทเว็บไซต์ล่าสุด ไม่ใช่วันที่เผยแพร่เนื้อหาครั้งแรกสุด [2]
    • วันที่อัพเดทล่าสุด คือวันที่ล่าสุดที่มีการเพิ่มเติมหรือแก้ไขข้อมูลในเว็บไซต์ เป็นไปได้มากว่าเนื้อหาที่เห็น มีการเผยแพร่มาก่อนหน้านั้น ข้อดีของการมีวันที่ลิขสิทธิ์และวันที่อัพเดทเร็วๆ นี้ คือแสดงว่าเว็บมีการใช้งานและอัพเดทอยู่เสมอ ข้อมูลก็เชื่อถือได้ตามไปด้วย
    • มองหาในส่วนของบทความ ที่มี short bio หรือประวัติย่อของผู้เขียน เพราะบางทีวันที่ก็อยู่ด้านบนหรือด้านล่าง

    เคล็ดลับ: วันที่เริ่มลิขสิทธิ์ ปกติจะมีแค่ปี ไม่ระบุเดือนและวันชัดเจน

  3. คลิกแถบ address แล้วเลื่อนไปตาม URL บางบล็อกและเว็บจะ autofill ใส่ address ของเว็บไปพร้อมวันที่เผยแพร่โพสต์นั้นโดยอัตโนมัติ บางทีก็เป็นวันเดือนปีเต็มๆ บางทีก็มีแค่เดือนและปี [3]
    • ต้องเปิดเว็บไปที่หน้าของโพสต์ที่ต้องการจะหาวันที่ ไม่ใช่คลังบทความ (archive) หรือหน้าสารบัญ (index) จะคลิกชื่อโพสต์อีกทีก็ได้ เพื่อให้แน่ใจว่าอยู่หน้าบทความนั้นจริงๆ
    • หลายบล็อกแก้ URL ให้สั้นลง ค้นหาง่าย เพราะงั้นก็จะไม่เจอวันที่เผยแพร่
  4. สังเกต timestamp ในแต่ละคอมเม้นท์ ก็จะรู้เวลาคร่าวๆ. วิธีนี้ใช้บอกวันที่เผยแพร่แบบเป๊ะๆ ไม่ได้ เช็คได้แค่บทความนี้โพสต์เมื่อไหร่โดยประมาณ เช็คข้าง username ในคอมเม้นท์ ว่าโพสต์คอมเม้นท์นั้นเมื่อไหร่ ให้เลื่อนไปจนเจอคอมเม้นท์เก่าที่สุด ถ้าผู้ใช้แสดงความคิดทันทีหลังบทความเผยแพร่ ก็จะใกล้เคียงกับวันที่เผยแพร่ที่สุด [4]
    • แต่ใช้วันที่ในคอมเม้นท์เวลาอ้างอิงเว็บไซต์ไม่ได้ แค่พอให้รู้คร่าวๆ ว่าเนื้อหาในเว็บเผยแพร่เมื่อไหร่ ข้อมูลเก่าประมาณไหน ถ้าเพิ่งไม่นานมานี้ ก็น่าจะอ้างอิงเว็บไซต์ได้ โดยเขียนว่า “no date” หรือไม่ปรากฏวันที่เผยแพร่
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

ใช้ Google Operator

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คลิกเคอร์เซอร์เพื่อเลือก URL คลิกขวา แล้วเลือก copy จากนั้นไปที่ homepage ของ Google แล้ว paste URL ในช่องค้นหา อย่าเพิ่งกด search เพราะเดี๋ยวต้องใส่ URL [5]
    • ต้อง copy และ paste ทั้ง address เต็มๆ
  2. หน้า URL ของหน้าเว็บ แล้วกด search . นี่คือ operator ช่วยค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับลิงค์ URL ของเว็บนั้น ขั้นแรกให้คลิกเคอร์เซอร์ที่หน้า URL ของเว็บ แล้วพิมพ์ “inurl:” หน้าเว็บ ไม่ต้องเว้นวรรค พอใส่ operator แล้วก็กด search ได้เลย [6]
    • ไม่ต้องใส่เครื่องหมายคำพูดไปด้วย
    • อ่านแล้วอาจจะดูยากเล็กน้อย แต่บอกเลยว่าไม่ต้องทำอะไรมากไปกว่านี้ เวลาใช้ operator แค่พิมพ์ลงไปตามขั้นตอน แล้ว Google จะจัดการต่อเอง
  3. คลิกเคอร์เซอร์ในแถบ address ของเบราว์เซอร์ ต่อท้าย URL ที่เพิ่งค้นหาไป แล้วพิมพ์ “&as_qdr=y15” ไม่ต้องใส่เครื่องหมายคำถาม กด search อีกรอบ แล้วจะเห็นผลการค้นหาจริงๆ [7]
    • นี่คือส่วนที่ 2 หลังใส่ “inurl:” operator ไปแล้ว
    • จะ copy โค้ดไป paste เลยก็ได้ ถ้าคิดว่าสะดวกกว่า

    ทางเลือก: คุณกด Ctrl+L ใน Firefox หรือ Chrome ได้ด้วย หรือกด Alt+D ถ้าใช้ Internet Explorer เพื่อให้เคอร์เซอร์ไปโผล่ในช่องค้นหาได้ถูกจุด

  4. เช็คผลการค้นหา ว่ามีวันที่เผยแพร่ในคำอธิบายเว็บไหม. เลื่อนไปตามผลการค้นหา จะเห็นลิงค์ไปยังหน้าเว็บที่จะอ้างอิง ที่ด้านบน ให้สังเกตทางซ้ายของคำอธิบายหน้าเว็บ ว่ามีวันที่ไหม ส่วนใหญ่ก็จะมี [8]
    • ถ้าไม่เจอวันที่ตรงนั้น แสดงว่าไม่มีวันที่เผยแพร่ แบบนี้ให้ลองค้นหาวันที่เว็บเผยแพร่ โดยเช็ค source code ของเว็บแทน จะได้รู้ว่าควรอ้างอิงเว็บไซต์ไหม โดยใส่ว่า “no date” หรือไม่ระบุวันที่เผยแพร่
  5. อยู่ใต้แถบค้นหาของ Google ทางขวาบนของหน้า แถบค้นหาควรจะยังมีแท็ก "inurl:" ที่มี URL ตามหลัง
    • ในอุปกรณ์เคลื่อนที่ เมนู Tools น่าจะเปิดอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นข้ามขั้นตอนนี้ได้เลย
  6. ซึ่งจะอยู่ทางด้านซ้ายของเมนูดรอปดาวน์ All results
    • คุณอาจจะเห็นตัวเลือก Any time , Past (ระยะเวลา), years หรือตัวเลือกอื่น ขึ้นอยู่กับการค้นหาของคุณ
    • ในอุปกรณ์เคลื่อนที่จะอยู่ใต้แถบค้นหา
  7. นี่จะให้คุณเลือกช่วงระยะเวลาในการค้นหาบทความและตรวจสอบว่าเว็บไซต์นั้นทำการเผยแพร่ภายในช่วงเวลาดังกล่าวหรือไม่
    • อีกทางเลือกคือคุณสามารถคลิก Past year เพื่อทำการตรวจดูอย่างคร่าวๆ ว่าเว็บไซต์นั้นได้เผยแพร่ภายในปีกลายหรือเปล่า นี่เป็นวิธีที่ดีในการดูว่าบทความมีความทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบันหรือไม่
  8. ใส่วันที่เริ่มต้นถัดจาก "From:" และวันที่สุดท้ายถัดจาก "To:" คุณสามารถใช้ปฏิทินทางด้านขวาเพื่อเลือกวันที่หรือจะใส่วันที่เองก็ได้ จะใส่แบบวันที่สมบูรณ์ (dd/mm/yyyy), หรือแค่เดือนกับปี (mm/yyyy), หรือแค่ปีก็ได้
  9. นี่จะทำการค้นหา URL ภายในช่วงระยะเวลานั้น หากเว็บไซต์เผยแพร่บทความภายในช่วงระยะนั้น มันจะลิสต์วันที่ออกมาใต้ URL หากคุณได้รับข้อความผิดพลาดที่บอกว่าการค้นหาของคุณไม่ตรงกับเอกสารใด แสดงว่าหน้านั้นถูกเผยแพร่นอกช่วงระยะเวลา ให้คลิก Clear ใต้แถบค้นหาแล้วลองค้นหาใหม่โดยขยายระยะเวลาออกไปให้กว้างกว่าเดิม
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

ค้นใน Source Code

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พอคลิกตัวเลือกเมนูแล้ว หน้าต่างหรือ tab ใหม่ที่มีโค้ดของเว็บจะโผล่มา อย่าเพิ่งตกใจว่าอะไรเต็มไปหมด เพราะถึงเขียนโค้ดอ่านโค้ดไม่เป็น ก็ค้นหาวันที่เผยแพร่ได้ [9]
    • อันนี้แล้วแต่เบราว์เซอร์ที่ใช้ บางทีตัวเลือกเมนูก็เขียนว่า “View Page Source”

    ทางเลือก: คีย์ลัดใช้เปิด source code โดยตรง คือ Control+U ถ้าใช้ Windows และ Command+U ถ้าใช้ Mac [10]

  2. เปิดฟังก์ชั่น “Find” ในเบราว์เซอร์ โดยกด Control+F หรือ Command+F. ฟังก์ชั่น “Find” ใช้ค้นหาวันที่เผยแพร่ใน source code ได้สะดวกรวดเร็ว ถ้าใช้ Windows ให้กด Control+F เพื่อเปิดฟังก์ชั่นนี้ ถ้าใช้ MAC ให้กด Command+F เพื่อค้นในโค้ด [11]

    ทางเลือก: หรือเข้าฟังก์ชั่น “Find” โดยคลิก Edit ในแถบเมนูด้านบนแทน แล้วคลิก “Find…” ในเมนูที่ขยายลงมา

  3. พิมพ์คำค้นหาหนึ่งในที่ว่ามา แล้วกด enter ฟังก์ชั่น “Find” ใช้ค้นหาคำที่ต้องการ ในโค้ดทั้งหมดของหน้าเว็บนั้น เจอแล้วโค้ดจะเลื่อนไปหยุดตรงผลการค้นหาอัตโนมัติ [12]
    • ถ้าค้นหาด้วยคำที่ว่าแล้วไม่เจอ ให้ลองพิมพ์ “publish” ในฟังก์ชั่น “Find” น่าจะเจอข้อมูลเกี่ยวกับการเผยแพร่
    • ถ้าอยากรู้ว่าหน้าเว็บนั้นเปลี่ยนแปลงหรืออัพเดทล่าสุดเมื่อไหร่ ให้ค้นใน source code ด้วยคำว่า “modified”
  4. อ่านโค้ดส่วนของโค้ดที่ฟังก์ชั่น “Find” หาเจอ จะมีวันที่ต่อท้ายคำค้นหานั้น โดยเอาปีขึ้นก่อน ตามด้วยเดือน และวัน (อาจจะต่างกันออกไปตามเว็บ) [13]
    • ก็เอาวันที่นี้ไปอ้างอิงเว็บไซต์ได้ หรือใช้เช็คว่าข้อมูลของเว็บนี้เก่าใหม่แค่ไหน
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

อ้างอิงเว็บไซต์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พิมพ์ชื่อผู้เขียน ชื่อเรื่อง เว็บไซต์ วันที่ และ URL ในฟอร์แมต MLA. เริ่มจากพิมพ์ชื่อผู้เขียน ให้ขึ้นต้นด้วยนามสกุล ตามด้วยชื่อ คั่นด้วยลูกน้ำ (comma) ใส่จุด (period) แล้วพิมพ์ชื่อเรื่องด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ในเครื่องหมายคำพูด ตามด้วยจุด ต่อมาพิมพ์ชื่อเว็บเป็นตัวเอียง ตามด้วยลูกน้ำ และวันที่แบบวันเดือนปี พิมพ์ลูกน้ำ แล้วใส่ URL สุดท้ายใส่จุด [14]
    • ตัวอย่างก็เช่น Aranda, Arianna. “Understanding Expressive Poems.” Poetry Scholar , 7 Nov. 2016, www.poetryscholar.com/understanding-expressive-poems.

    ทางเลือก: ถ้าไม่เจอวันที่จริงๆ ก็ไม่เป็นไร ให้ใช้วันที่คุณเข้าเว็บก็ได้ โดยลงวันที่หลัง URL เช่น Aranda, Arianna. “Understanding Expressive Poems.” Poetry Scholar, www.www.poetryscholar.com/understanding-expressive-poems. Accessed 9 April 2019.

  2. พิมพ์ชื่อผู้เขียน ปี ชื่อเรื่อง และ URL ถ้าจะอ้างอิงแบบ APA. เริ่มจากเขียนนามสกุลผู้เขียน ใส่ลูกน้ำ ตามด้วยชื่อ และจุด ต่อไปใส่ปีที่เผยแพร่เว็บไซต์ในวงเล็บ ตามด้วยจุด จากนั้นใส่ชื่อเรื่องแบบประโยค ตามด้วยจุด สุดท้ายเขียน “Retrieved from” แล้วใส่ URL ของเว็บ ไม่ต้องปิดท้ายด้วยจุด [15]
    • ตัวอย่างก็เช่น American Robotics Club. (2018). Building Complex Robots. Retrieved from www.americanroboticsclub.com/building-complex-robots

    ทางเลือก: ถ้าไม่เจอวันที่จริงๆ ให้ใช้ “n.d.” แทนปี เช่น พิมพ์ว่า American Robotics Club. (n.d.). Building Complex Robots. Retrieved from www.americanroboticsclub.com/building-complex-robots

  3. พิมพ์ชื่อผู้เขียน ชื่อหน้าเว็บ ชื่อเว็บ วันที่ และ URL ถ้าจะเขียนแบบ Chicago Style. เริ่มจากใส่ชื่อผู้เขียน โดยขึ้นต้นด้วยนามสกุล ลูกน้ำ ตามด้วยชื่อ แล้วจุด จากนั้นใส่ชื่อหน้าเว็บแบบตัวพิมพ์ใหญ่ในเครื่องหมายคำพูด ตามด้วยจุด ต่อมาใส่ชื่อเว็บเป็นตัวเอียง ใส่จุด แล้วพิมพ์ “Last modified” ตามด้วยวันที่เผยแพร่เว็บไซต์ แบบเดือน วัน ปี ตามด้วยจุด สุดท้ายพิมพ์ URL แล้วจุด [16]
    • ตัวอย่างก็เช่น Li, Quan. “Examining Art.” Insights into Culture . Last Modified February 12, 2015. www.insightsintoculture.com/examining-art.

    ทางเลือก: ถ้าไม่เจอวันที่จริงๆ ให้ใช้วันที่ที่เข้าเว็บนั้น โดยใช้แบบฟอร์มเดียวกัน แต่พิมพ์ว่า “Accessed” แทน “Last modified” นำหน้าวันที่ เช่น Li, Quan. “Examining Art.” Insights into Culture. Accessed April, 9, 2019. www.insightsintoculture.com/examining-art.

    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • บางเว็บก็มีหลายวันที่ที่เกี่ยวข้อง เช่น วันที่สร้างเว็บ และวันที่แต่ละหน้าเว็บเผยแพร่ ยังไงให้เลือกวันที่ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่จะอ้างถึงมากที่สุด ปกติให้ใช้วันที่เผยแพร่หรือเกี่ยวข้องกับหน้าเว็บนั้น [17]
  • เช็ควันที่ในเว็บแล้ว ช่วยให้พิจารณาได้ว่าข้อมูลในเว็บล้าสมัยหรือยังทันเหตุการณ์
  • บางเว็บจะไม่แสดงวันที่เผยแพร่ เพื่อให้ข้อมูลในเว็บดูใหม่อยู่เสมอ ทั้งที่จริงๆ อาจจะผ่านมาหลายปีแล้ว [18]
โฆษณา

คำเตือน

  • ห้ามเดาสุ่มวันที่เอาเองเวลาอ้างอิงเว็บไซต์ ถ้าแน่ใจว่าข้อมูลทันสมัยใช้ได้ แต่หาวันที่เผยแพร่ไม่เจอ ก็แค่พิมพ์ว่า “no date” ตามแบบฟอร์มชนิดที่เลือกใช้
โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

ดาวน์โหลดวิดีโอจากทุกเว็บไซต์ได้แบบฟรีๆ
เช็คตำแหน่งปัจจุบันใน Google Maps
แก้ปัญหาเข้าบางเว็บไม่ได้
ดูว่าใครแชร์โพสต์ของคุณบนเฟซบุ๊ก
หาละติจูดกับลองจิจูดใน Google Maps
กู้คืนบัญชี Yahoo
แก้ปัญหาเซิร์ฟเวอร์ DNS ไม่ตอบสนอง
ตั้งชื่ออีเมลให้โดนใจ
เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในคอมพิวเตอร์ Windows
อิโมจิซ่อนความสยิวที่คนใช้แชตกันมากที่สุด
รู้ความหมายของอีโมจิรูปหัวใจสีดำ
รู้ความหมายของอีโมจิหน้ากลับหัว
เช็คว่าเพื่อน Facebook คนไหนออนไลน์อยู่
เปิดใช้งานคุกกี้ในเว็บเบราว์เซอร์อินเตอร์เน็ตของคุณ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 107,256 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา