ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณอาจจะเพิ่งเรียนจบจากมหาวิทยาลัยและกำลังมองหางานแรก หรืองานที่คุณทำอยู่ตอนนี้อาจจะไม่เวิร์ก แต่ไม่ว่าเหตุผลของคุณจะเป็นอะไร ตอนนี้คือคุณอยากได้งานด่วนๆ การหางานอาจดูเป็นเรื่องน่าเบื่อหน่าย แต่การจัดการสิ่งต่างๆ ให้เป็นระเบียบและจดจ่ออยู่กับการหางานสามารถช่วยคุณได้ คุณสามารถเพิ่มโอกาสที่จะได้งานด้วยการมองหาโอกาสในการทำงาน เตรียมเอกสารให้พร้อม และทำตัวให้โดดเด่นในระหว่างการสมัครงาน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

สมัครงาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อ่านหน้าที่และความรับผิดชอบของงานให้ละเอียด. ขั้นแรกของการสมัครงานคือต้องดูว่า งานที่ต้องรับผิดชอบนั้นมีอะไรบ้าง อ่านหน้าที่และความรับผิดชอบของงานให้ละเอียด เน้นว่างานต้องการคุณสมบัติอะไรบ้างและหน้าที่ของงานนั้นคืออะไร [1]
    • อย่าสมัครงานที่คุณไม่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการเลย เช่น ถ้าคุณพูดภาษาสเปนไม่ได้ ก็อย่าสมัครงานที่ระบุไว้ในประกาศว่า “สามารถพูดภาษาสเปนได้”
  2. สังเกตว่าหน้าที่และความรับผิดชอบของงานเน้นที่อะไร เช่น ถ้าเป็นงานสายการตลาด คุณอาจจะเห็นคำว่า “Digital Marketing” “SEO” และ “Google Analytics” คุณต้องไม่ลืมใส่คำเหล่านั้นลงไปทั้งในเรซูเม่และจดหมายนำ [2]
  3. เว็บไซต์หางานและเว็บไซต์ของบริษัทต่างๆ อาจขอให้คุณส่งเอกสารผ่านออนไลน์ ก่อนจะคลิก “ส่ง” ค่อยๆ ตรวจทานทุกอย่างที่เขียนลงไป ซึ่งได้แก่เรซูเม่และจดหมายนำ นอกจากนี้คุณก็ควรอ่านช่องที่ถามข้อมูลส่วนตัวของคุณอย่างละเอียดด้วย และดูให้ดีว่าคุณกรอกข้อมูลต่างๆ ถูกต้อง [3]
  4. หวังว่าความพยายามทั้งหมดจะทำให้คุณได้รับการเรียกตัวเข้าสัมภาษณ์ ถ้าคุณได้รับสิทธิ์ในการสัมภาษณ์ ให้ใช้เวลาเตรียมตัว เตรียมตัวอย่างความสำเร็จในอดีตไว้ให้พร้อมและบอกว่าคุณจะช่วยเหลือบริษัทได้อย่างไร เช่น คุณอาจจะบอกว่า “ดิฉันทราบว่าคุณกำลังมองหาไอเดียใหม่ๆ ว่าจะเพิ่มยอดขายอย่างไรดี ดิฉันเลยอยากเสนอไอเดียเกี่ยวกับแคมเปญการตลาดทางตรงค่ะ” [4]
    • แต่งตัวให้ดูเป็นมืออาชีพ
    • สบตาและพูดอย่างมั่นใจ
    • ไปถึงตรงเวลา
  5. ถ้าคุณได้รับการสัมภาษณ์ การเขียนข้อความขอบคุณสั้นๆ ถือเป็นมารยาททางธุรกิจที่ดี ซึ่งปกติแล้วก็จะส่งทางอีเมล คุณอาจจะเขียนว่า “ขอบคุณที่สละเวลามาพบดิฉันในวันนี้นะคะ ดิฉันดีใจที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับองค์กรของคุณเพิ่มเติม และตื่นเต้นที่อาจจะได้เป็นส่วนหนึ่งของทีม” [5]
    • นอกจากนี้คุณยังสามารถติดตามผลหลังจากส่งใบสมัครไปแล้วได้ด้วย คุณอาจจะเขียนว่า “ดิฉันเขียนมาเพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้รับเอกสารสมัครงานของดิฉันแล้ว ดิฉันยินดีที่จะส่งตัวอย่างเอกสารที่แสดงถึงคุณสมบัติอื่นๆ หากคุณต้องการค่ะ”
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

เตรียมเอกสารให้พร้อม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จับคู่เรซูเม่ของคุณ กับหน้าที่รับผิดชอบ. เรซูเม่ของคุณคือวิธีการเขียนรายการทักษะและคุณสมบัติของคุณ และที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือเรซูเม่เป็นสิ่งที่แสดงให้ว่าที่นายจ้างของคุณเห็นว่า ทักษะของคุณตรงกับความต้องการของเขา ค่อยๆ ปรับเรซูเม่ของคุณให้เข้ากับงานแต่ละงานที่คุณสมัคร มองหาคีย์เวิร์ดและรูปแบบการทำงานตามที่ระบุไว้ในหน้าที่รับผิดชอบ และเรซูเม่ของคุณต้องเน้นให้เห็นคำเหล่านั้น [6]
    • เช่น งานอาจจะบอกว่าต้องการ “ทักษะการสื่อสารได้อย่างโดดเด่น” ถ้าเป็นอย่างนี้คุณต้องเขียนรายการตัวอย่างเฉพาะที่แสดงให้เห็นว่า ในอดีตคุณเคยใช้ทักษะการสื่อสารอย่างไร
    • คุณไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเรซูเม่ใหม่ทั้งหมดทุกครั้งที่คุณโพสต์สมัครงาน แต่ต้องเน้นทักษะที่สำคัญที่สุดสำหรับงานนั้นๆ
  2. เริ่มเขียนเรซูเม่ด้วยการแนะนำตัวเองให้นายจ้างรู้จักเล็กน้อย เขียนย่อหน้าสั้นๆ เพื่อบอกให้นายจ้างรู้ว่าคุณมีทักษะอะไร และให้พวกเขารู้ว่าคุณสมบัติเฉพาะแบบไหนที่คุณสามารถนำมาใช้ในการทำงานได้ เขียนให้กระชับและเป็นมืออาชีพ [7]
    • เขียนบรรยายทักษะที่สำคัญที่สุดของคุณสัก 2 – 3 ประโยค
    • อย่าเขียนทักษะที่ฟังแล้วคลุมเครืออย่าง “มีระเบียบ” ใช้คำที่เห็นภาพชัดเจนอย่าง “นักเจรจา” “การตัดสินใจ” และ “การจัดการเวลา” [8]
  3. หลายงานต้องการแค่เรซูเม่ แต่ก็อาจจะมีบางงานที่ขอให้คุณเขียนจดหมายนำด้วย เขียนร่างจดหมายนำติดไว้เพื่อให้พร้อมการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับงานแต่ละงานโดยเฉพาะ จดหมายนำที่ดีควรอธิบายประสบการณ์และคุณสมบัติของคุณ คุณควรเขียนตัวอย่างที่เจาะจงเพื่ออธิบายว่า ทำไมคุณถึงเหมาะกับงานที่คุณสมัคร [9]
    • หน้าที่รับผิดชอบของงานอาจจะต้องการคนที่ทำงานเป็นทีมได้ คุณก็อาจจะเขียนว่า ตอนฝึกงานคุณรับผิดชอบในเรื่องการจัดการโปรเจ็กต์ที่มีเด็กฝึกงานหลายคนทำงานร่วมกันอย่างไร
    • พยายามเขียนจดหมายนำความยาวประมาณ 1 หน้ากระดาษ
  4. อ่านทวนเรซูเม่และจดหมายนำให้ละเอียด จากนั้นอ่านทวนใหม่อีกครั้ง คุณต้องแก้คำที่สะกดผิดและการใช้ภาษาต่างๆ ให้ถูกต้องทั้งหมด ให้เพื่อนหรือคนในครอบครัวอ่านเรซูเม่กับจดหมายนำให้คุณ เพราะคนที่เพิ่งเคยอ่านเป็นครั้งแรกอาจจะเจอข้อผิดพลาดที่คุณไม่เห็น [10]
  5. การหางานสมัยใหม่นี้มักจะอยู่ในรูปแบบออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้นคุณก็ต้องสร้างความประทับใจในโลกออนไลน์ด้วย พยายามหารูปที่ดูเป็นบวกและเป็นมืออาชีพใส่ลงไปในโปรไฟล์โซเชียลมีเดียต่างๆ เพราะคุณไม่รู้ว่าว่าที่นายจ้างของคุณอาจจะมาดูข้อมูลของคุณหรือเปล่า [11]
    • เช่น พยายามใช้รูปที่ดูดีตั้งเป็นภาพโปรไฟล์ใน LinkedIn บรรทัดนำของคุณควรสั้นกระชับ เช่น “นักวิเคราะห์วิจัย”
    • ใส่คุณสมบัติและประสบการณ์ลงในช่องที่กำหนด
    • อย่าลืมแก้ไขรูปโปรไฟล์
    • ใส่ข้อมูลการติดต่อและลิงค์เรซูเม่ของคุณ
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

หาโอกาสเข้าทำงาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บริษัทหลายแห่งหรือพูดได้ว่าบริษัทและองค์กรส่วนใหญ่จะประกาศตำแหน่งงานที่เปิดรับสมัครในเว็บไซต์หางานและเว็บไซต์ของบริษัท ถ้าคุณรู้ว่าคุณอยากทำงานกับบริษัทไหน ให้เริ่มจากการเข้าไปดูเว็บไซต์ของบริษัทก่อน คุณน่าจะเจอแท็บที่เขียนว่า “ตำแหน่งที่รับสมัคร” หรือ “ร่วมงานกับเรา” คลิกแท็บเพื่อเข้าไปดูว่ามีข้อมูลอะไรบ้าง [12]
    • นอกจากนี้คุณยังสามารถเข้าเว็บไซต์หางานในอินเทอร์เน็ตเพื่อให้คุณได้ข้อมูลมากขึ้นได้ด้วย ใส่คีย์เวิร์ดและสถานที่ทำงานในเว็บไซต์หางานดังๆ อย่าง Joptopgun ThaiJob JobsDB JOBBKK JobThai และ LinkedIn [13]
    • เช่น ถ้าคุณกำลังหางานตำแหน่งพนักงานขายอุปกรณ์การแพทย์ในจังหวัดชลบุรี คำที่คุณค้นอาจจะเป็นคำว่า “’งานขาย” และ “การแพทย์” และสถานที่ทำงานอาจจะเป็น “ภาคตะวันออก ชลบุรี”
  2. เว็บไซต์โซเชียลเน็ตเวิร์กไม่ได้มีไว้เล่นขำๆ กับติดต่อเพื่อนเก่าเท่านั้น แต่ยังสามารถช่วยคุณหางานและสมัครงานได้ด้วย ถ้าคุณเลือกที่จะใช้โซเชียลมีเดียในการหางาน ให้ตั้งค่าโปรไฟล์โซเชียลมีเดียเป็นค่า “ส่วนตัว” และสร้างโปรไฟล์ขึ้นมาใหม่ที่ดูเป็นมืออาชีพที่คุณจะใช้ในการติดต่อกับนายจ้างในอนาคต เว็บไซต์ต่อไปนี้เป็นเครื่องมือหางานที่ยอดเยี่ยมมากๆ : [14]
    • LinkedIn: คุณสามารถใช้เว็บไซต์นี้ในการสร้างโปรไฟล์มืออาชีพแบบออนไลน์ขึ้นมาได้ คุณสามารถโพสต์ประวัติส่วนตัวที่ให้นายจ้างในอนาคตได้รู้จักคุณ และคุณยังสามารถโพสต์เรซูเม่ปัจจุบันของคุณให้คนอื่นดูได้ด้วย
    • Twitter: คนค่อยๆ ใช้เครื่องมือนี้ในการหางานเพิ่มมากขึ้น คุณสามารถฟอลโล่บริษัทที่คุณสนใจและดูโพสต์ที่ประกาศรับสมัครงานได้ นอกจากนี้คุณยังสามารถหาเว็บไซต์ด้วยการใส่แฮชแทคฮิตๆ อย่าง #jobs และ #jobhunt ได้ด้วย
  3. สมัครเข้าร่วมกลุ่มสมาคมศิษย์เก่าจากสถาบันที่คุณจบมาใน Facebook เพราะในเพจศิษย์เก่ามักมีสมาชิกประกาศรับสมัครคนทำงานอยู่บ่อยๆ และมักจะต้องการคนที่จบมาจากสถาบันเดียวกัน มีทั้งงานประจำและงานชั่วคราว ยิ่งถ้าสมาชิกที่มาประกาศเป็นคนสัมภาษณ์งานหรือนายจ้างเองด้วยแล้ว คุณยิ่งมีโอกาสได้งานสูงมากๆ [15]
  4. การสร้างเครือข่ายเป็นโอกาสในการสร้างคอนเน็กชั่นที่แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้นกับคนที่อยู่ในสาขาอาชีพเดียวกันกับคุณ และยังเป็นเวลาที่ได้ออกไปพบปะผู้คนใหม่ๆ ด้วย พาตัวเองเข้าไปอยู่ตรงนั้นและเริ่มพูดคุยกับคนที่อาจเป็นประโยชน์กับคุณในเรื่องของการหางาน คุณอาจจะพูดประมาณว่า “ฉันเพิ่งเข้ามาในวงการการตลาดน่ะค่ะ ฉันก็เลยอยากถามคุณว่า คุณพอจะแนะนำโอกาสการทำงานที่เหมาะกับฉันได้ไหมคะ” ลองเข้าหาคนดังต่อไปนี้ : [16]
    • อาจารย์ที่เคยสอน
    • นายจ้างเก่า
    • คนที่ทำงานในบริษัทที่คุณอยากทำ
    • คนรู้จักที่ประกอบอาชีพเดียวกับที่คุณอยากทำ
  5. เพื่อนๆ และครอบครัวเป็นแหล่งทรัพยากรที่ยอดเยี่ยมในการหางาน พวกเขาอาจจะรู้ว่ามีที่ไหนเปิดรับสมัครงานที่คุณไม่รู้ก็ได้ พวกเขาอาจจะมีเพื่อนของเพื่อนที่กำลังหาคนมาทำงานอยู่ คุณต้องให้ทุกคนที่อยู่ในวงสังคมรู้ว่าคุณกำลังหางานอยู่
    • คุณอาจจะบอกว่า "ฉันกำลังมองหางานใหม่ในวงการสิ่งพิมพ์อยู่ ถ้าได้ยินข่าวในวงการนี้รับสมัครงานช่วยบอกหน่อยนะคะ"
  6. งานจ๊อบแฟร์หรืองานค้นหาอาชีพเป็นโอกาสดีที่คุณจะได้พบปะผู้คนใหม่ๆ และเรียนรู้เกี่ยวกับนายจ้างในอนาคต ทั้งในจังหวัดและมหาวิทยาลัยมีงานจ๊อบแฟร์ทั้งนั้น บางทีองค์กรเอกชนก็เป็นคนจัดงานจ๊อบแฟร์เองด้วย [17]
    • เข้าเว็บไซต์ของจังหวัดหรือมหาวิทยาลัยเพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับงานจ๊อบแฟร์ที่กำลังจะมาถึง
    • ที่งานจ๊อบแฟร์คุณอาจจะเก็บโบรชัวร์และข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับบริษัทที่กำลังหาคนมาทำงาน นอกจากนี้คุณอาจจะยังได้คุยกับคนสรรหาพนักงานเองเลยก็ได้
  7. การมีแผนที่ชัดเจนจะกลายเป็นหนึ่งในแหล่งทรัพยากรที่ดีที่สุดของคุณ เขียนแผนการหางานลงไป หาเวลาเขียนแผนว่าคุณจะหางานอย่างไร เขียนปฏิทินกิจกรรมประจำสัปดาห์หรือประจำวันที่เกี่ยวกับการหางานขึ้นมา สิ่งที่คุณจะเขียนลงบนปฏิทินก็เช่น : [18]
    • หาประกาศรับสมัครงานออนไลน์
    • เข้าหาเครือข่ายของคุณ
    • เขียนเรซูเม่และจดหมายนำ
    • แต่ละสัปดาห์จะต้องส่งใบสมัครไปกี่ที่
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • สมัครหลายๆ งาน
  • อัปเดตเรซูเม่ของคุณเสมอ
  • มองหาโอกาสใหม่ๆ ในสาขาของคุณเสมอ
  • เปิดใจให้กับคำติเพื่อก่อ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 11,475 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา