ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการอัพเดท "ไดรฟ์เวอร์" ที่เป็นโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ที่เชื่อมต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์ของคุณ ซึ่งจำเป็นเวลาต้องการแก้ไขปัญหาอุปกรณ์นั้นๆ

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 6:

อัพเดทด้วย Windows Update (Windows 10)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปกติอยู่ที่มุมซ้ายล่างของหน้า desktop ไอคอนจะเป็นโลโก้ Windows
    • Windows 10 จะอัพเดทแทบทุกไดรฟ์เวอร์ผ่าน Windows update ปกติจะอัพเดทอัตโนมัติ แต่คุณเช็คอัพเดทใหม่ๆ เองได้
  2. ที่ด้านซ้ายของเมนู Start ไอคอนจะเป็นรูปฟันเฟือง
  3. ถ้าไม่เจอ ให้คลิก Home ที่มุมซ้ายบน
  4. ในแถบเมนูทางซ้ายของหน้าต่าง
  5. Windows จะสแกนหาอัพเดทใหม่ที่มี รวมถึงไดรฟ์เวอร์ที่อัพเดทแล้ว
  6. เพื่อเริ่มดาวน์โหลดอัพเดทนั้นๆ แล้วรอสักพัก พอติดตั้งอัพเดทใหม่เสร็จจะมีขึ้นเตือนให้คุณรีสตาร์ท [1]
  7. ถ้าไดรฟ์เวอร์ของอุปกรณ์นั้นๆ ยังไม่ถูกอัพเดท ให้เลื่อนลงไปอ่านวิธีการ "ติดตั้งไดรฟ์เวอร์เอง (Windows ทุกเวอร์ชั่น)" เพื่อดาวน์โหลดไดรฟ์เวอร์โดยตรงจากเว็บผู้ผลิต แต่ส่วนใหญ่ไดรฟ์เวอร์จะติดตั้งผ่าน Windows Update นั่นแหละ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 6:

อัพเดทด้วย Windows Update (Windows 8)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โดยเลื่อนเคอร์เซอร์ไปที่มุมขวาบนของหน้าจอ แล้วปัดหน้าจอเข้ามาจากทางขวา หรือกด Win + C
  2. เพื่อดูอัพเดททั้งหมดที่จะติดตั้ง เช็คให้ชัวร์ว่าทุกอัพเดทถูกเลือกไว้ เพราะบางทีก็ขึ้นว่า "Optional" ไม่ได้ถูกเลือกตามค่า default
  3. รวมถึงไดรฟ์เวอร์ใหม่ๆ ของอุปกรณ์ต่างๆ เวลาที่ใช้ขึ้นอยู่กับว่ามีอัพเดทที่ต้องติดตั้งเยอะแค่ไหน
  4. Windows Update ของ Windows 8 จะไม่หาและติดตั้งไดรฟ์เวอร์ของทุกอุปกรณ์อัตโนมัติ เพราะงั้นเป็นไปได้ว่าบางตัวคุณต้องอัพเดทผ่าน Device Manager เลื่อนลงไปอ่านวิธีการ "อัพเดทด้วย Device Manager (Windows ทุกเวอร์ชั่น)" ข้างล่างได้เลย
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 6:

อัพเดทด้วย Windows Update (Windows 7)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าเห็นไอคอนต่างๆ เรียงกันแทนที่จะเป็นหมวดหมู่ ให้เลือก Windows Update จากในเมนูเลย
  2. ปกติจะอยู่ด้านบนของหน้าต่าง น่าจะเห็นอัพเดทของไดรฟ์เวอร์ในลิงค์ Optional updates
  3. ถ้าเห็นอัพเดทใหม่ของอุปกรณ์ต่างๆ ก็อย่าลืมติ๊กทั้งหมด
  4. เพื่อกลับไปหน้าจอ Windows Update
  5. เวลาที่ใช้ก็แล้วแต่จำนวนอัพเดท เสร็จแล้วจะมีขึ้นเตือนให้รีสตาร์ท [2]
  6. Windows Update จะไม่หาไดรฟ์เวอร์ของทุกอุปกรณ์ บางทีก็ต้องเช็คเพิ่มใน Device Manager เลื่อนลงไปอ่านวิธีการ "อัพเดทด้วย Device Manager (Windows ทุกเวอร์ชั่น)" ข้างล่างได้เลย
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 6:

อัพเดทด้วย Device Manager (Windows ทุกเวอร์ชั่น)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โปรแกรม Device Manager จะแสดงทุกอุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้ คุณสแกนหาอัพเดทใหม่ของไดรฟ์เวอร์ได้เลย
  2. ขยายหมวดหมู่เพื่อหาอุปกรณ์ที่จะใช้ไดรฟ์เวอร์นั้น. จะมีรายชื่ออุปกรณ์ตามหมวดหมู่ ให้ขยายแต่ละหมวดหมู่ออกมาเพื่อดูทุกอุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้ในคอม
    • ถ้าอุปกรณ์นั้นไม่ได้ถูกติดตั้งตามวิธีการทั่วไป จะไปขึ้นใน Other devices ในฐานะ Unknown device แบบนี้ Windows จะหาไดรฟ์เวอร์ให้คุณไม่ได้ ต้องดาวน์โหลดไดรฟ์เวอร์เองจากเว็บของผู้ผลิต รายละเอียดให้เลื่อนลงไปอ่านวิธีการ "ติดตั้งไดรฟ์เวอร์เอง (Windows ทุกเวอร์ชั่น)"
  3. Windows จะสแกนหาไดรฟ์เวอร์ที่ดาวน์โหลดได้
  4. ถ้า Windows สแกนเจออัพเดทใหม่ของไดรฟ์เวอร์ ให้คลิก Install แล้วติดตั้งไปตามขั้นตอน [3]
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 6:

ติดตั้งไดรฟ์เวอร์เอง (Windows ทุกเวอร์ชั่น)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เวลาติดตั้งไดรฟ์เวอร์เอง ต้องดาวน์โหลดไฟล์ไดรฟ์เวอร์จากเว็บผู้ผลิตโดยตรง เพราะงั้นที่ต้องรู้ก่อนคือยี่ห้อกับรุ่นของอุปกรณ์นั้นๆ
    • ถ้าใช้แล็ปท็อป ปกติจะหาไดรฟ์เวอร์ได้ที่เว็บของยี่ห้อแล็ปท็อปที่ใช้
    • คุณเช็ครุ่นที่ใช้ได้จากในคู่มือของอุปกรณ์ หรือเช็คใน Device Manager ถ้า Windows สแกนเจอแล้วรู้จัก
  2. ถ้าอุปกรณ์ที่คุณจะอัพเดทขึ้นว่า Unknown device ใน Device Manager ให้ลองเอาไป search ต่อในเน็ต
    • คลิกขวาที่อุปกรณ์นั้นแล้วเลือก Properties
    • คลิก tab Details แล้วเลือก Hardware Ids จากในเมนูที่ขยายลงมา
    • คลิกขวาตัวเลือกบนสุด แล้วเลือก Copy จากนั้น paste ใส่ search engine ที่ใช้ประจำ ผลการค้นหาแรกๆ มักแสดงรายละเอียดยี่ห้อและรุ่นอุปกรณ์ของคุณ [4]
    • ถ้าไม่ได้ผล ให้เช็คในเอกสารประกอบหรือคู่มือของคอม ไม่ก็เปิดเคสคอมเช็ครายละเอียดที่ติดอยู่ที่อุปกรณ์จริงๆ ซะเลย
  3. พอรู้แล้วว่าต้องอัพเดทอุปกรณ์ยี่ห้อและรุ่นอะไร ให้เข้าเว็บ support (เว็บช่วยเหลือ) ของอุปกรณ์นั้นๆ ต่อไปนี้คือยี่ห้อที่คนนิยมใช้กัน ถ้าของคุณไม่รวมอยู่ ให้ลองเอาไป search เพิ่มเติมดู
    • เมนบอร์ด:
      • Gigabyte - gigabyte.com/support-downloads/download-center.aspx?ck=2
      • Intel - downloadcenter.intel.com
      • MSi - msi.com/service/download/
      • ASRock - asrock.com/support/download.asp
      • Asus - support.asus.com/download/options.aspx?SLanguage=en&type=1
    • การ์ดจอ:
      • NVIDIA - nvidia.com/Download/index.aspx?lang=en-us
      • AMD/ATI - support.amd.com/en-us/download
    • แล็ปท็อป:
      • Dell - dell.com/support/home/us/en/19/Products/laptop?app=drivers
      • Gateway - gateway.com/worldwide/support/
      • HP - www8.hp.com/us/en/support-drivers.html
      • Lenovo - support.lenovo.com/us/en/products?tabName=Downloads
      • Toshiba - support.toshiba.com
    • Network Card (การ์ดแลน):
      • Linksys - linksys.com/us/support/
      • Netgear - downloadcenter.netgear.com/
      • Realtek - realtek.com.tw/downloads/
      • Trendnet - trendnet.com/downloads/
    • Optical Drive (ไดรฟ์อ่าน-เขียนแผ่น):
      • Samsung - samsung.com/us/support/
      • Sony - sony.storagesupport.com/models/21
      • LG - lg.com/us/support
      • LiteOn - us.liteonit.com/us/service-support/download
    • อุปกรณ์อื่นๆ:
      • Creative - support.creative.com/welcome.aspx
      • Logitech - support.logitech.com/
      • Plantronics - plantronics.com/us/category/software/
      • Turtle Beach - support.turtlebeach.com/files/
  4. ขั้นตอนจะต่างกันไปตามแต่ละเว็บ แต่ส่วนใหญ่ให้ search หารุ่นที่ใช้ได้เลย แล้วเข้าหน้า support ของอุปกรณ์ที่จะอัพเดท
  5. ไดรฟ์เวอร์ส่วนใหญ่จะเป็นไฟล์ติดตั้ง (.exe) หรือรวมมากับโปรแกรมที่ใช้กับอุปกรณ์นั้นโดยเฉพาะ ส่วนอุปกรณ์ที่เก่ากว่านั้นหรือคนไม่ค่อยนิยมใช้กัน ไดรฟ์เวอร์อาจจะเป็นไฟล์ .zip แทน บางทีโปรแกรมสำหรับอุปกรณ์นั้นก็อยู่แยกกับไดรฟ์เวอร์ [5]
    • ถ้าไม่มีไดรฟ์เวอร์ที่ใช้กับ Windows เวอร์ชั่นของคุณได้ ให้ลองใช้เวอร์ชั่นเก่ากว่านั้นหน่อยๆ เช่น ถ้าหาไดรฟ์เวอร์ของ Windows 10 อยู่แต่ไม่เจอ ให้ย้อนไปใช้ไดรฟ์เวอร์ของ Windows 8 แทน เราไม่รับประกันว่าจะใช้ได้ แต่บางทีก็ไม่มีวิธีอื่น
  6. ถ้าคุณดาวน์โหลดไฟล์ .exe มา ก็เปิดไฟล์แล้วติดตั้งไปตามขั้นตอนได้เลย แต่ถ้าเป็นไฟล์ .zip ให้ดับเบิลคลิกเพื่อแตกไฟล์ก่อน จากนั้น copy ไฟล์ข้างในไปใส่ในโฟลเดอร์อื่นที่ใช้สะดวกแล้วติดตั้งต่อไป
    • ถ้าใช้ไฟล์ติดตั้ง เสร็จแล้วจะมีให้รีสตาร์ท ไม่ต้องลงโปรแกรมอื่นๆ ที่พ่วงมาแต่อย่างใด เว้นแต่ต้องใช้จริงๆ
  7. ถ้าไดรฟ์เวอร์มาในรูปของไฟล์ .zip ก็ต้องติดตั้งเองผ่าน Device Manager [6]
    • เปิด Device Manager คลิกขวาที่อุปกรณ์ แล้วเลือก Update Driver Software
    • เลือก Browse my computer for driver software
    • เข้าโฟลเดอร์ที่ copy ไฟล์ไดรฟ์เวอร์ไปใส่ไว้ แล้วเลือกไฟล์ .inf ในโฟลเดอร์นั้น
    โฆษณา
วิธีการ 6
วิธีการ 6 ของ 6:

อัพเดทไดรฟ์เวอร์ของ Mac

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Apple จะอัพเดทไดรฟ์เวอร์ใหม่ของอุปกรณ์ Mac อัตโนมัติ
  2. เพื่อเปิด tab Updates ใน App Store จะเห็นอัพเดทใหม่ที่ติดตั้งได้ รวมถึงไดรฟ์เวอร์ที่อัพเดทแล้วของอุปกรณ์
  3. เพื่อดาวน์โหลดอัพเดทใหม่ทั้งหมด หรือเลือกอัพเดทเฉพาะบางไดรฟ์เวอร์
  4. Mac อาจจะขึ้นเตือนให้คุณรีสตาร์ทหลังติดตั้งเสร็จ [7]
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,424 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา