ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการแปลงไฟล์วิดีโอ HD (High-Definition) ให้อัพโหลดเข้า YouTube แล้วเปิดดูเป็นวิดีโอ full HD ได้ ปกติ YouTube จะมีวิดีโอ HD ให้เลือกดูตั้งแต่ 720p ไปจนถึง 2160p (4K) เวลาอัพโหลดวิดีโอ HD ตอนแรกจะขึ้นเป็น resolution ต่ำก่อน ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ จะเป็นแบบนี้ก็เพราะวิดีโอ HD ต้องใช้เวลาในการประมวลผล [1] YouTube แนะนำให้ทำเครื่องหมายวิดีโอเป็น "Unlisted" จะได้ไม่มีใครเห็นเวอร์ชั่นความคมชัดน้อย พอวิดีโอโหลดเสร็จสิ้น ก็ค่อยเปลี่ยนกลับเป็น Public หรือสาธารณะ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

สร้างวิดีโอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ก่อนจะอัพโหลดวิดีโอ HD เข้า YouTube ต้องแน่ใจก่อนว่าอัดวิดีโอแบบ HD แล้ว [2] YouTube แนะนำให้อัดคลิปเป็น HD resolutions แบบใดต่อไปนี้ก็ได้ เพื่อให้พอดีกับ aspect ratio ค่า default อย่าง 16:9
    • 720p: 1280 x 720 (HD)
    • 1080p: 1920 x 1080 (Full HD)
    • 1440p: 2560 x 1440 (Full HD)
    • 2160p: 3840 x 2160 (4K)
    • ถ้ามือถืออัดคลิปแบบ HD ได้ (เช่น iPhone และ Android) settings จะอยู่ในเมนู Settings ของกล้อง เช่น แตะไอคอนฟันเฟืองในหน้าจอ Samsung Galaxy s10e เท่ากับเปิด camera settings แล้วจะมีให้เลือก resolution
  2. เวลา encode และอัพโหลด ให้ใช้ frame rate เดียวกับที่ใช้ตอนอัดวิดีโอ โดย frame rate ที่นิยมใช้กันคือ 24, 25, 30, 48, 50 และ 60 เฟรมต่อวินาที (frames per second (fps)) [3]
  3. bitrate ของวิดีโอ คืออัตราที่ video codec นั้น encode หรือแปลงวิดีโอให้เล่นได้ โดยวิดีโอจะผ่านการ optimized ตาม resolution, framerate และแล้วแต่ว่าวิดีโอของคุณมี high dynamic range (HDR) หรือเปล่า YouTube แนะนำให้ใช้ bitrate ต่อไปนี้ สำหรับ standard framerate (24 - 30 fps) และ high framerate (48 - 60 fps)
    • 2160p: Standard framerate: 35-45 Mbps, High framerate: 53 -68 Mpbs.
    • 2160p (HDR): Standard framerate: 44 - 56 Mbps, High framerate: 66 - 85 Mbps.
    • 1440p: Standard framerate:: 16 Mbps, High framerate: 24 Mbps.
    • 1440p (HDR): Standard framerate: 20 Mbps, High framerate: 30 Mbps.
    • 1080p: Standard frame rate: 8 Mbps, High frame rate: 12 Mbps.
    • 1080p (HDR): Standard framerate: 10 Mbps, High framerate: 15 Mbps.
    • 720p: Standard frame rate: 5 Mbps, High framerate: 7.5 Mbps.
    • 720p (HDR): Standard framerate: 6.5 Mbps, High framerate:: 9.5 Mbps.
  4. เป็นฟอร์แมต audio ที่แนะนำสำหรับคลิปใน YouTube นอกจากนี้ YouTube ยังรองรับ mono, stereo และ 5.1 surround sound channels ด้วย
  5. H.264 เป็นไฟล์บีบอัดวิดีโอ HD ที่นิยมใช้กันมากที่สุด [4]
  6. YouTube แนะนำให้อัพโหลดวิดีโอเป็นไฟล์ MP4 แต่จริงๆ YouTube ก็รองรับแทบทุกไฟล์ที่นิยมใช้กัน เช่น MP4, MPEG4, AVI, MOV, WMV และ FLV [5]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

อัพโหลดวิดีโอในมือถือหรือแท็บเล็ต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มองหาไอคอนสี่เหลี่ยมสีแดง ที่มีสามเหลี่ยมตะแคงสีขาวข้างใน ปกติจะอยู่ในหน้า home สักหน้า ใน app list หรือต้องค้นหาเอง
    • ถ้ายังไม่ได้ยืนยันบัญชี YouTube จะอัพโหลดวิดีโอได้ไม่เกิน 15 นาที และขนาดไม่เกิน 20 GB แต่ถ้าเป็นบัญชีที่ยืนยันตัวตนแล้ว จะอัพโหลดวิดีโอได้ยาวถึง 12 ชั่วโมง และขนาดไฟล์ใหญ่ได้ถึง 128 GB
  2. ตรงกลางด้านล่าง เพื่อขยายเมนู
    • ถึงตอนนี้ ถ้าเพิ่งเคยอัพโหลดวิดีโอเข้า YouTube ผ่านแอพเป็นครั้งแรก จะมีให้อนุญาตให้แอพเข้าถึงมือถือ กล้อง และไมโครโฟนซะก่อน ก็ทำไปตามขั้นตอนที่ปรากฏ หลังจากนั้นให้แตะ + อีกรอบ แล้วเลือก Upload a video
  3. หรือก็คือวิดีโอจากในรายการ ปกติคุณจะเลือกวิดีโอที่อัดไว้ ได้จากรายชื่อไฟล์ media ล่าง recording options แล้วจะมีตัวอย่างวิดีโอโผล่มา
  4. 2 tab ด้านล่าง ที่เป็นไอคอนกรรไกรกับไม้กายสิทธิ์ จะมีตัวเลือก trimming (ตัดบางส่วนของวิดีโอ) กับฟิลเตอร์ตามลำดับ
    • ถ้าจะ trim หรือตัดบางส่วนออกจากคลิป ให้ลากแถบเลื่อนต้นคลิปหรือท้ายคลิปก็ได้ เพื่อกำหนดจุดเริ่มต้นและจบคลิปใหม่
    • ถ้าจะใส่ effects หรือลูกเล่น ให้แตะไอคอนไม้กายสิทธิ์ แล้วเลือกฟิลเตอร์ได้เลย
  5. ทางด้านมุมขวาบน
  6. แตะ Create a title เพื่อตั้งชื่อวิดีโอ หรือก็คือชื่อคลิปของคุณใน YouTube แล้วใส่คำอธิบายโดยแตะ Add description จากนั้นพิมพ์ข้อมูลเกี่ยวกับคลิปนั้น ในช่องชื่อคลิป จะพิมพ์ได้ไม่เกิน 100 ตัวอักษร ส่วนช่องคำอธิบาย พิมพ์ได้ไม่เกิน 5,000 ตัวอักษร
    • ใช้ภาษาและคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับชื่อและคำอธิบายคลิป คนจะได้ค้นหาแล้วเจอคลิปของคุณง่ายขึ้น
  7. ระดับความเป็นส่วนตัว (privacy level) ปกติจะเป็น Public หรือสาธารณะ แต่แรก ให้แตะ Public ข้างไอคอนลูกโลก ถ้าจะสลับเป็น Unlisted (จะดูต้องมีลิงค์) หรือ Private (ดูได้เฉพาะเจ้าของคลิป)
    • ถึงจะอัพโหลดคลิป HD เข้าไป แต่ตอนแรกจะเป็น resolution ต่ำๆ ก่อน จะเปลี่ยนเป็น HD ต่อเมื่ออัพโหลดเสร็จเรียบร้อย ถ้าไม่อยากให้ใครเห็นเวอร์ชั่นคมชัดน้อย ระหว่างนี้ให้ตั้งเป็น Unlisted ก่อน อัพโหลดเสร็จค่อยเปลี่ยนเป็น Public อีกตัวเลือกคือแตะ Scheduled ในรายการ privacy options แล้วตั้งเวลาล่วงหน้าอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ให้ครบแล้วเปลี่ยนวิดีโอเป็น Public อัตโนมัติ
  8. ตอนนี้ YouTube บังคับให้กำหนดกลุ่มผู้ชมของคลิปด้วย โดยปกติจะตั้งไว้เป็น No, it's not made for kids (ไม่ใช่คลิปสำหรับเด็ก) ถ้าเป็นวิดีโอสำหรับเด็กโดยเฉพาะ ก็ให้แตะตัวเลือก แล้วเลือก Yes, it's made for kids เลือกแล้วจะแตะ Age restriction เพื่อกำหนดกลุ่มอายุที่ดูคลิปด้วยก็ได้
  9. ที่มุมขวาบนของหน้าจอ
    • พออัพโหลดคลิปแล้ว จะเปิดแอพ YT Studio (ถ้าไม่มี ดาวน์โหลดได้ที่ App Store หรือ Play Store) แล้วเปลี่ยน privacy เป็น Public ก็ได้ ถ้าตอนแรกตั้งเป็น Unlisted ไว้ แค่เปิดแอพ แตะคลิป แตะไอคอนดินสอ เปลี่ยน privacy แล้วแตะ SAVE
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

อัพโหลดวิดีโอในคอม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เข้าเว็บ https://www.youtube.com ในเบราว์เซอร์. หรือก็คือเว็บ YouTube
    • ถ้าไม่ได้ล็อกอินอัตโนมัติ ให้คลิก Sign In มุมขวาบน
    • ถ้ายังไม่ได้ยืนยันบัญชี YouTube จะอัพโหลดวิดีโอได้ไม่เกิน 15 นาที และขนาดไม่เกิน 20 GB แต่ถ้าเป็นบัญชีที่ยืนยันตัวตนแล้ว จะอัพโหลดวิดีโอได้ยาวถึง 12 ชั่วโมง และขนาดไฟล์ใหญ่ได้ถึง 128 GB
  2. แถวๆ มุมขวาบนของหน้า เพื่อขยายเมนู
  3. ที่เป็นตัวเลือกแรกในเมนูที่ขยายลงมา
  4. ที่เป็นปุ่มสีฟ้ากลางหน้าจอ เพื่อเปิด file browser ในคอม
    • จะลากไฟล์วิดีโอไปหย่อนกลางหน้าต่างก็ได้
  5. เพื่อเริ่มอัพโหลดคลิปเข้า YouTube
  6. ปกติชื่อไฟล์จะกลายเป็นชื่อคลิป ถ้าจะเปลี่ยนชื่อ ให้พิมพ์ล่างช่อง "Title"
  7. ให้พิมพ์คำอธิบายคลิปสั้นๆ ในช่อง "Description"
  8. พออัพโหลดวิดีโอเสร็จ จะทำขั้นตอนนี้ได้ โดยเลือกภาพนิ่งจากวิดีโอ สำหรับเป็น thumbnail ของคลิปที่จะขึ้นตอนคนค้นหา
    • หรือคลิกช่อง Upload thumbnail แล้วเลือกอัพโหลด custom thumbnail
  9. ตอนนี้ YouTube บังคับให้กำหนดกลุ่มผู้ชมของคลิปด้วย ถ้าเป็นวิดีโอสำหรับเด็กโดยเฉพาะ ให้ติ๊ก "Yes, it's made for kids." ถ้าไม่ใช่ ให้ติ๊ก No, it's not made for kids (ไม่ใช่คลิปสำหรับเด็ก)
    • เพื่อให้เป็นไปตาม Children's Online Privacy Protection Act (COPPA) หรือกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กและเยาวชน ของสหรัฐอเมริกา YouTube เลยบังคับให้กำหนดกลุ่มผู้ชมของแต่ละคลิปที่อัพโหลด ถ้าคลิปนั้นทำเครื่องหมายเป็น "Made for kids" คือคลิปสำหรับเด็ก ก็จะไม่มีฟีเจอร์อย่างโฆษณาที่คัดเลือกมาเฉพาะผู้ใช้ (personalized ads) คอมเม้นท์ในคลิปไม่ได้ และไม่มี info cards รวมถึง end screens ถ้า YouTube พิจารณาแล้ว audience settings ของคลิปนั้นไม่ตรงตามความเป็นจริง ก็จะเปลี่ยนเอง ซึ่งถ้าคุณจงใจตั้งค่าผู้ชมของคลิปไม่ตรงตามความจริง อาจถูก YouTube แบนหรืออื่นๆ ได้ [6]
    • ถ้าเนื้อหาในคลิปไม่เหมาะกับเด็ก ให้คลิก Age Restriction (Advanced) แล้วติ๊ก Yes, restrict my video to viewers over 18 only
  10. ปุ่ม More Options ทางด้านล่างของหน้า จะแสดง settings ของวิดีโอเพิ่มเติม ต่อไปนี้เป็นตัวเลือกในหัวข้อ "More Options:"
    • Paid Promotions: ถ้าคลิปนั้นมีสปอนเซอร์ ให้ติ๊ก "This video contains paid promotion like a product placement or endorsement." แล้วจะติ๊กตัวเลือกใส่ข้อความแจ้งผู้ชมได้ว่าคลิปนี้มีสปอนเซอร์
    • Tags: แท็กคือคีย์เวิร์ดที่ผู้ใช้พิมพ์ในแถบค้นหา แล้วจะเจอคลิปของคุณ
    • Language, subtitles, closed captions (CC): พอเลือกภาษาแล้ว ก็เลือกคำบรรยาย (caption certification) กระทั่งอัพโหลดไฟล์สคริปต์ซับไตเติลได้ด้วย ถ้ามี
    • Recording date and location: ถ้าอยากให้ข้อมูลนี้เป็นสาธารณะ ก็ทำได้เลย
    • License and Distribution: เลือกได้ว่าจะใช้ Standard YouTube License หรือ Creative Commons License รวมถึงเลือกได้ว่าจะอนุญาตให้ embed และเผยแพร่คลิปใน subscriptions feed หรือเปล่า
    • Category: เลือกหมวดหมู่ของคลิป และกรอกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคลิปได้
    • Comments and Ratings: เลือกว่าจะอนุญาตแสดงคอมเม้นท์ทั้งหมด ซ่อนคอมเม้นท์ที่ไม่เหมาะสมรอรีวิว ซ่อนคอมเม้นท์ทั้งหมดรอรีวิว หรือปิดการคอมเม้นท์ นอกจากนี้ยังปรับแต่งลำดับคอมเม้นท์ได้ด้วย
  11. ที่เป็นปุ่มสีฟ้า มุมขวาล่าง
  12. คุณใช้ end screens และ cards โปรโมทคลิปที่เกี่ยวข้องได้ ทั้งระหว่างเล่นวิดีโอและหลังจบวิดีโอ ถ้าจะใส่ end screen หรือ card ให้คลิก Add ทางขวาของ "Add and end screen" หรือ "Add Cards" เพื่อเปิด video card editor
    • ถ้าจะกลับไป YouTube Studio จากใน video card editor ให้คลิก Return to YouTube Studio มุมขวาบน
  13. หรือก็คือใครจะดูคลิปคุณได้บ้าง และจะค้นหาคลิปคุณเจอได้ง่ายแค่ไหน คุณเปลี่ยน visibility นี้ได้ตลอดเวลาหลังอัพโหลด
    • Public: ทุกคนจะค้นหาและดูคลิปคุณได้
    • Unlisted: เฉพาะคนที่มีลิงค์ถึงดูคลิปคุณได้
      • ตอนแรกอาจจะอัพโหลดวิดีโอเป็น unlisted ก่อน เพราะคลิป HD อาจใช้เวลาอัพโหลดนาน 2 - 3 ชั่วโมง พออัพโหลดเสร็จ ค่อยเปลี่ยนเป็น public การอัพโหลดคลิปเป็น unlisted ก่อน แล้วค่อยเผยแพร่ภายหลัง จะทำให้ผู้ชมเห็นแต่คลิปที่ resolution เป็น HD
    • Private: เฉพาะคนที่คุณเลือกเท่านั้น ถึงจะเห็นคลิป
  14. คุณตั้งเวลาได้ว่าอยากลงคลิปนั้นเมื่อไหร่ คุณตั้งเวลาเผยแพร่คลิปได้โดยคลิก Schedule แล้วเลือกวันที่และเวลาที่ขยายลงมา ว่าจะเผยแพร่คลิปนั้นเมื่อไหร่ สุดท้ายคลิก Schedule มุมขวาล่าง
  15. ที่เป็นปุ่มสีฟ้า มุมขวาล่าง เพื่อเซฟ settings ของคลิป โดยคลิปจะถูกเผยแพร่ทันที หรือตามที่ตั้งเวลาไว้ หลังจากนี้จะเห็นหน้าต่างที่มีตัวเลือกให้แชร์คลิปลงโซเชียลมีเดียได้
    โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

ดาวน์โหลดวิดีโอจากทุกเว็บไซต์ได้แบบฟรีๆ
แก้ปัญหาเข้าบางเว็บไม่ได้
หาวันที่เผยแพร่ข้อมูลของเว็บไซต์
ดูว่าใครแชร์โพสต์ของคุณบนเฟซบุ๊ก
แก้ปัญหาเซิร์ฟเวอร์ DNS ไม่ตอบสนอง
เช็คตำแหน่งปัจจุบันใน Google Maps
รู้ความหมายของอีโมจิรูปหัวใจสีดำ
ตั้งชื่ออีเมลให้โดนใจ
เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในคอมพิวเตอร์ Windows
เว้นวรรคห่างๆ ใน HTML
หาละติจูดกับลองจิจูดใน Google Maps
เปิดใช้งานคุกกี้ในเว็บเบราว์เซอร์อินเตอร์เน็ตของคุณ
อิโมจิซ่อนความสยิวที่คนใช้แชตกันมากที่สุด
หา URL ของเว็บไซต์
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 17,606 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา