ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

สิ่งสำคัญในการทบทวนหนังสือให้ได้ผลดีนั้นต้องเริ่มจากการรู้จักใช้วิธีที่ชาญฉลาดในการทบทวนหนังสือก่อนเป็นอันดับแรก [1] และการเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบก็ไม่ควรจะเป็นอะไรที่ตัวคุณต้องอดนอนในคืนก่อนวันสอบทั้งคืน เพราะการอ่านหนังสือทบทวนที่จะได้ผลดีนั้นต้องอาศัยการเตรียมตัวไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งเคล็ดลับที่จะทำให้คุณทบทวนหนังสือได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นก็คือ การรู้จักใช้เทคนิคบางอย่างในการทบทวนหนังสือรวมไปถึงเทคนิคที่ตัวเองชอบหรือถนัดด้วย และจำไว้ว่า การเรียนรู้นั้นขึ้นอยู่กับความมุ่งมั่นของตัวคุณเอง และสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบตัวคุณด้วย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

ดูแลตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. น้ำนั้นเปรียบเสมือนกับยาอายุวัฒนะของร่างกายเราเอง การเตรียมน้ำเอาไว้ดื่มเวลาอ่านหนังสือ จะช่วยทำให้คุณมีสมาธิอ่านทบทวนมากขึ้น นอกจากนี้การที่ร่างกายมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลายังช่วยเพิ่มการทำงานของความจำอีกด้วย
  2. การดูแลรักษาสุขภาพร่างกายของตัวเองให้ดีนั้น ก็เหมือนคุณเดินไปถึงครึ่งทางของการสร้างทัศนคติที่ถูกต้องให้ตัวเองแล้ว ซึ่งอาหารบางประเภทสามารถช่วยทำให้คุณมีสมาธิจดจ่อมากขึ้น และยังมีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่โดยรวมของคุณด้วย มีงานวิจัยพบว่าการทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง มีเส้นใยอาหารมาก และดูดซึมได้ช้าอย่าง โอ๊ตมีล (oatmeal) ก็ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีมากๆ สำหรับมื้อเช้าของวันสอบ นอกจากนี้ อาหารที่คุณทานเข้าไป 2 สัปดาห์ก่อนสอบนั้นมีก็ส่วนสำคัญและมีผลต่อการเรียนรู้ของคุณด้วยเช่นกัน ฉะนั้น ให้คุณทานอาหารให้ครบทุกหมู่ รวมไปถึงผักและผลไม้หลากหลายชนิดด้วย [2]
    • ให้เพิ่มอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงเข้าไปในอาหารการกินของคุณด้วย เช่น บลูเบอร์รี่ และถั่วอัลมอนด์
  3. ระบบไหลเวียนนั้นจะช่วยควบคุมระบบทางเดินเลือดและระบบหัวใจของคุณ ซึ่งส่วนสำคัญที่จะทำให้คุณทบทวนหนังสือได้อย่างมีประสิทธิภาพก็คือ การที่คุณมีระบบไหลเวียนของเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงยังสมองที่ดีนั่นเอง จากการศึกษาพบว่า การกระตุ้นระบบไหลเวียนแค่ 20 นาที ก็สามารถช่วยพัฒนาความจำของเราได้แล้ว แต่คุณก็ไม่ต้องไปรู้สึกว่าตัวเองจะต้องวิ่งเพราะว่าจำเป็นต้องทำ หากในใจคุณไม่อยากทำ และให้คุณลองเปลี่ยนห้องนั่งเล่นให้กลายเป็นฟลอร์เต้นรำที่คุณโปรดปราน แล้วปล่อยให้ช่วงเวลาพักเบรกจากการอ่านหนังสือนี้ เป็นช่วงเวลาแห่งการผ่อนคลายและบรรเทาความตึงเครียดของคุณซะ [3]
    • จริงๆ ประเด็นหลักของการทำสิ่งนี้ก็คือการทำให้อัตราการเต้นของหัวใจตัวเองเพิ่มขึ้นนั่นเอง และเมื่อมีอัตราที่เร็วขึ้นแล้ว ให้คุณออกกำลังกายต่อไปอย่างน้อยอีกสัก 20 นาที
  4. การหลับพักผ่อนให้เพียงพอ (อย่างน้อย 7-8 ชั่วโมง) จะช่วยกระตุ้นให้คุณเรียนรู้ได้มากขึ้น ซึ่งถ้าหากคุณนอนไม่พอ การอ่านหนังสือก็จะกลายเป็นงานที่น่าเบื่อหน่ายไปในทันที และจำไว้ว่าเวลาที่คุณง่วง คุณไม่มีทางที่จะซึมซับข้อมูลได้เยอะ เท่ากับเวลาที่คุณอ่านหนังสือหลังจากที่ได้นอนหลับมาอย่างเต็มอิ่มหรอก
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

ทบทวนหนังสือด้วยวิธีที่ชาญฉลาด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หลังจากที่คุณแพลนไว้แล้วว่าช่วงเวลาไหนที่เหมาะกับการทบทวนหนังสือมากที่สุด ให้คุณทำตามแผนนั้น โดยให้จัดเวลาไว้ช่วงหนึ่งของทุกๆ วันให้ตัวเองได้ทบทวนบทเรียน ถึงแม้ว่าการสอบหรือการนำเสนองานหน้าชั้นจะอยู่ห่างออกไปอีก 2 สัปดาห์ก็ตาม จำไว้ว่า การฝึกสะสมไปทีละเล็กละน้อยอยู่ทุกๆ วันนั้นให้ผลในระยะยาวได้เสมอ
  2. ทำความเข้าใจว่าตัวเองกำลังเรียนรู้เรื่องอะไรอยู่. ปกติแล้วเวลาที่จะต้องสอบ นักเรียนส่วนใหญ่ก็จะใช้วิธีจำเพื่อเอาไปสอบ แต่จริงๆ แล้วนั่นไม่ใช่วิธีที่มีประสิทธิภาพเท่าไร การทำความเข้าใจกับสิ่งที่ตัวเองกำลังทบทวนอยู่ต่างหาก ที่จะช่วยทำให้คุณเก็บรักษาความรู้เหล่านั้นให้คงอยู่ต่อไปได้นานๆ จริงอยู่ว่าคุณอาจจะไม่ได้แคร์ว่าตัวเองจะต้องจำสูตรตรีโกณมิติต่อไปเมื่อผ่านการสอบไฟนอลไปแล้ว แต่เชื่อเถอะว่าถ้าเป็นในระยะยาว คุณจะต้องอยากให้เป็นแบบนั้นอยู่ดี [4]
    • ให้คุณหาความเชื่อมโยงในสิ่งที่คุณกำลังทบทวนอยู่ แต่จำไว้ว่า การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่คุณกำลังเรียนรู้กับสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันของคุณนั้น ไม่ได้เป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายเสมอไป เพราะทักษะนี้จะต้องใช้เวลาพัฒนาไปเรื่อยๆ ฉะนั้น ให้คุณใช้ช่วงเวลาสักช่วงหนึ่ง เพื่อฝึกใช้จินตนาการในการสร้างความเชื่อมโยงจากสิ่งที่คุณกำลังเรียนรู้อยู่ ให้เข้ากับแง่มุมต่างๆ ในชีวิตของคุณดู [5]
  3. นี่คือหนึ่งในเทคนิคที่ดีที่สุดที่คุณสามารถใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ และยังเป็นเทคนิคที่สามารถนำไปใช้ได้กับแทบจะทุกวิชาด้วย ซึ่งการที่คุณเขียนข้อมูลต่างๆ ลงไปบนการ์ดจะทำให้สมองของคุณจดจ่อไปที่ข้อมูลเหล่านั้นได้ และเมื่อคุณเขียนข้อมูลต่างๆ ลงไปเสร็จแล้ว คุณก็อาจจะทดสอบตัวเองไปช่วงหนึ่งก่อน หลังจากนั้นคุณอาจจะให้คนอื่นเป็นคนทดสอบคุณแทนก็ได้
    • หากคุณอ่านการ์ดด้านที่เป็นคำอธิบายคำศัพท์ เพราะกำลังทดสอบตัวเองเรื่องศัพท์ต่างๆ อยู่ ให้คุณเปลี่ยนด้าน และบังคับตัวเองให้อธิบายคำนิยามหรือหลักเกณฑ์ของคำหรือแนวคิดพวกนั้นให้ได้
  4. บางคนอาจจะรู้สึกว่าการทำสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ดูทรมานเสียเหลือเกิน เพราะว่าตัวเองก็ได้ใช้เวลามากมายไปกับการจดโน้ตในห้องเรียนแล้ว แต่เราอยากให้คุณจดโน้ตอีกครั้งและเสริมข้อมูลเข้าไปอีก อย่าเพียงแค่ถอดความจากอันเดิมมาใส่อันใหม่เฉยๆ และให้คุณใช้แหล่งข้อมูลภายนอกด้วย อย่างเช่น ตำราเรียน หรืองานที่อาจารย์มอบหมายให้ทำ [6]
    • นี่เป็นวิธีที่ดีในการทบทวนหนังสือ เพราะคุณจะต้องอาศัยการไล่อ่านข้อมูลต่างๆ ตามที่คุณจดโน้ตเอาไว้ รวมไปถึงสิ่งที่อยู่ในหนังสือแบบเรียนด้วย จำไว้ว่า การอ่าน การคิด และการเขียน คือส่วนประกอบทั้งหมดที่จะทำให้การทบทวนบทเรียนของคุณมีประสิทธิภาพ
  5. หลังจากที่คุณได้ใช้เวลาไปกับการทบทวนบทเรียนสักพักใหญ่แล้ว ในช่วงเวลาระหว่าง 15 นาทีก่อนที่จะครบ 1 ชั่วโมง ให้คุณพักเบรกสั้นๆ สัก 10-15 นาที เพราะว่านี่คือวิธีการที่มีการทดสอบมาแล้วว่าได้ผลจริง โดยหลังจากที่หมดช่วงพักเบรกไปแล้ว ให้คุณกลับไปทบทวนสิ่งที่คุณได้พยายามทำความเข้าใจมาก่อนหน้านี้ต่อ เพราะการกลับไปทบทวนข้อมูลต่างๆ หลังจากที่ตัวเองได้เว้นช่วงห่างจากข้อมูลเหล่านั้น จะช่วยส่งเสริมให้สมองของคุณซึมซับเนื้อหาเหล่านั้นเข้าไปได้ดีขึ้น [7]
    • อย่าดูทีวีหรือเล่นเกมในช่วงพักเบรกเด็ดขาด เพราะนั่นอาจจะทำให้คุณเลิกดูหรือเลิกเล่นไม่ได้ และจะทำให้คุณไม่มีสมาธิที่จะกลับไปอ่านหนังสือต่อด้วย ฉะนั้นวิธีที่ดีที่สุดก็คือ ให้คุณลองพาน้องหมาไปเดินเล่น หรือไม่ก็ออกไปวิ่งสักพักหนึ่งก็ได้
  6. หลังจากที่คุณได้อ่านหนังสือไปพักใหญ่แล้ว ให้คุณลองทดสอบตัวเองในระหว่างช่วง 20 หรือ 30 นาทีสุดท้ายดู วิธีนี้เป็นวิธีดีๆ ที่จะช่วยให้คุณได้ทบทวนทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณเพิ่งจะอ่านไป และยังทำให้แนวคิดต่างๆ ที่คุณเพิ่งจะเรียนรู้ไป สามารถซึมซับเข้าไปในส่วนลึกของสมองคุณได้ ซึ่งหนังสือแบบเรียนส่วนใหญ่ก็มักจะมีแบบฝึกหัดท้ายบทให้ทำด้วย ฉะนั้น ให้คุณพยายามทำแบบฝึกหัดนั้นให้สุดความสามารถของตัวเอง แม้ว่าจะไม่ได้เป็นงานที่อาจารย์สั่งให้ทำก็ตาม [8]
    • คุณไม่จำเป็นต้องทำแบบฝึกหัดเพื่อทดสอบตัวเองเสมอไป เพราะมีอีกวิธีหนึ่งคือ ใช้มือของคุณขึ้นมาปิดที่คำนิยามหรือเนื้อหาบางส่วนที่อยู่ในสิ่งที่คุณจดเอาไว้ จากนั้นก็พูดถึงคำนิยามหรือแนวคิดต่างๆ ที่อยู่ข้างใต้มือที่คุณปิดเอาไว้ออกมาดังๆ
    • หากคุณตอบผิด ให้คุณกลับไปเช็คคำตอบที่ถูกต้องด้วย
  7. การจับยัดข้อมูลหรือเร่งอ่านในคืนก่อนสอบนั้นไม่ให้ผลดีเลย จำไว้ว่า ส่วนใหญ่แล้วคนเราจะต้องใช้เวลาสักสองสามวันในการทบทวนโน้ตที่ตัวเองจดเอาไว้ เพื่อทำให้ข้อมูลเหล่านั้นซึมซับเข้าไปในสมองของตัวเองจริงๆ [9] ซึ่งถ้าใช้วิธีเร่งอ่านในช่วงเวลาสั้นๆ ข้อมูลต่างๆ ที่คุณกำลังพยายามจดจำจะไม่อยู่ในความจำของคุณได้นานเท่าไร ฉะนั้น เวลาที่ใครมาบอกคุณว่า พวกเขาเร่งอ่านกับทุกวิชาเลย ให้คุณมองข้ามพวกเขาไปซะ เพราะบางครั้ง คนบางคนนั้นทำข้อสอบและเรียนได้ดีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และอย่าเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับพวกเขาล่ะ! จำไว้เสมอว่าคนทุกคนนั้นแตกต่างกัน และคุณจะต้องทำในสิ่งที่เหมาะสมกับความจำเป็นของตัวเองมากที่สุด
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

เตรียมความพร้อมสำหรับการทบทวนททเรียน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เวลาอยู่ในคลาสเรียน การคอยจดงานที่ได้รับมอบหมายให้ทำนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญเหมือนกัน [10] อย่างเช่น เวลาที่อาจารย์บอกว่าจะมีการสอบในวันศุกร์หน้า ก็ให้คุณจดสิ่งนั้นลงไปด้วย และคอยจดบันทึกเกี่ยวกับการสอบครั้งนี้เอาไว้ในแต่ละวันจนกว่าจะถึงวันสอบ จำไว้ว่า การคอยจดงานที่อาจารย์มอบหมายให้ทำนั้นจะช่วยส่งเสริมให้คุณสามารถจดจำการบ้านหรืองานต่างๆ ที่ตัวเองต้องทำเอาไว้ในใจได้
    • การมีตารางกำหนดเวลาของงานต่างๆ ที่ชัดเจนเอาไว้จะช่วยป้องกันไม่ให้คุณเกิดอาการมึนงงจากงานหลายๆ อย่างได้
    • และเพื่อที่จะให้วิธีนี้ได้ผล คุณจะต้องใช้ตารางนี้ทุกวัน และเช็คดูทุกครั้งที่คุณนั่งลงทำการบ้าน
  2. แต่ละคนย่อมมีช่วงเวลาที่ตัวเองอยากจะทำงานหรืออ่านหนังสือแตกต่างกัน ฉะนั้น ให้คุณลองอ่านหนังสือในช่วงเวลาที่แตกต่างกันดู เพื่อที่จะได้รู้ว่าช่วงเวลาไหนที่ตัวเองใช้สมองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งโดยปกติแล้วนักเรียนส่วนใหญ่จะใช้ช่วงเวลาสั้นๆ หลังเลิกเรียนเพื่อพักสมอง และจากนั้นก็เริ่มอ่านหนังสือ ฉะนั้น ให้คุณใช้เวลาช่วงสั้นๆ ช่วงหนึ่งเพื่อทานของว่าง จากนั้นก็ค่อยเริ่มทบทวนบทเรียน และถ้าหากคุณทำงานเสร็จตั้งแต่ช่วงบ่ายหรือเย็น คุณอาจจะใช้เวลาผ่อนคลายในช่วงหัวค่ำก็ได้ [11]
    • บางคนอาจจะรู้สึกว่ามันจะดีกว่าถ้าได้ทำการบ้านและอ่านหนังสือในตอนกลางคืน หรือในตอนเช้าตรู่ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลก็ขึ้นอยู่กับตารางเวลาและความเคยชินของคุณด้วย
    • หากคุณเป็นคนที่ต้องเล่นกีฬาหรือต้องทำกิจกรรมหลังเลิกเรียนทุกวัน คุณจะต้องจัดเวลาอ่านหนังสือให้ตัวเองอย่างรอบคอบ เพราะหลังจากที่ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมมาเหนื่อยๆ มันง่ายมากที่คุณจะรู้สึกเพลียจนไม่อยากอ่านหนังสือ ฉะนั้น ให้ระวังเรื่องนี้ไว้ด้วย
  3. คุณจะต้องมีโต๊ะเขียนหนังสือที่มีพื้นที่ให้คุณอย่างเพียงพอ และบริเวณนั้นก็ต้องจะต้องมีแสงสว่างที่เพียงพอด้วย และถึงแม้ว่านักเรียนหลายคนจะชอบพูดว่าการฟังเพลง และการเปิดทีวีเอาไว้ หรือเอามือถือออกมานั้นช่วยได้ แต่จริงๆ แล้วสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นตัวทำลายสมาธิทั้งนั้น หากคุณไม่สามารถทำงานในทีเงียบๆ ได้จริงๆ ก็ให้คุณเปิดดนตรีแอมเบียนต์ (ambient) คลอๆ ไว้ และอย่าเปิดเพลงที่มีเนื้อหาเร้าอารมณ์ฟัง
    • หลีกเลี่ยงการอ่านหนังสือเรียนบนเตียง เพราะมันง่ายมากที่คุณจะเคลิ้มหลับไป
    • การออกไปอ่านหนังสือนอกบ้านช่วยทำให้คุณมีสมาธิจดจ่อได้มากขึ้น และการเปลี่ยนที่อ่านหนังสือนั้นจะช่วยปรับปรุงความจำของคุณให้ดีขึ้นได้ [12] ฉะนั้น ให้คุณลองเปลี่ยนไปอ่านหนังสือที่ร้านกาแฟใกล้บ้าน หรือจะเป็นห้องสมุดที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงก็ได้ แล้วแต่ว่าคุณชอบแบบไหน
  4. หลายคนได้ประโยชน์มากมายจากการติวหนังสือกันเป็นกลุ่ม และวิธีนี้ก็ทำได้แบบไม่ต้องมีพิธีรีตองใดๆ และยังเป็นวิธีที่มักจะได้ผลดีอีกด้วย จำไว้เสมอว่า คุณไม่จำเป็นต้องทำอะไรด้วยตัวคนเดียวถ้าเป็นในเรื่องทางวิชาการ และอีกอย่าง มนุษย์ก็คือสัตว์สังคม ถึงแม้คุณจะรู้สึกว่าตัวเองรู้ไม่เท่าเด็กนักเรียนคนอื่นๆ แต่คุณก็ควรลองวิธีนี้ดู เพราะเดี๋ยวคุณก็จะรู้เองว่าตัวเองมีอะไรที่จะสามารถเอามาเสนอกับคนในกลุ่มได้บ้าง
    • จากการศึกษาพบว่า คนที่ติวหนังสือสอบกันเป็นกลุ่มนั้นมีอัตราการสอบผ่านที่สูงกว่า
  5. เราสามารถแบ่งสไตล์ผู้เรียนออกเป็น 3 แบบด้วยกัน คือ ผู้ที่เรียนรู้ทางสายตา (visual learner) ผู้ที่เรียนรู้จากการฟังหรือได้ยิน (auditory learner) และผู้ที่เรียนรู้ทางร่างกายและความรู้สึก (kinesthetic learner) หากคุณเป็นประเภทที่เรียนรู้ด้วยสายตา คุณจะอาจจะต้องไฮไลต์สิ่งที่คุณจดเอาไว้ หากคุณเป็นคนที่เรียนรู้จากการฟังหรือได้ยิน คุณอาจจะต้องนำสิ่งที่คุณจดโน้ตมาสร้างเป็นเพลงให้ตัวเองจำ แต่ถ้าคุณเป็นคนที่เรียนรู้ผ่านทางร่างกายและความรู้สึก คุณอาจจะต้องนำสิ่งที่อยู่ในสมุดโน้ตออกมาปฏิบัติจริง
    • สไตล์การเรียนรู้ของคุณนั้นเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การเรียนรู้ของคุณประสบความสำเร็จได้ หากคุณไม่ทบทวนบทเรียนในวิธีที่เข้ากับสไตล์การเรียนรู้ของตัวเอง คุณก็จะจดจำเนื้อหาต่างๆ ได้ไม่ดีเท่าที่ควร
    • คุณจะต้องทบทวนบทเรียนให้ได้อย่างน้อย 2 ชั่วโมงครึ่งต่อวัน โดยคุณจะต้องใช้เวลากับแต่ละวิชาประมาณวิชาละ 30 นาที
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

สร้างทัศนคติที่ถูกต้อง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เวลาอยู่ในห้องเรียน คุณควรทำตัวเองให้พร้อมที่จะเรียนรู้ และไม่มองว่านั่นเป็นเวลาที่จะแสดงความทึ่มของตัวเองออกมา ฉะนั้น ให้คุณเลือกนั่งแถวหน้า หากวิชานั้นไม่ได้ระบุว่าคุณจะต้องนั่งตรงไหน และให้หลีกเลี่ยงเพื่อนร่วมชั้นที่ชอบเล่นแหย่กับคนอื่นๆ ที่อยู่ในห้องตลอดเวลา ทัศนคติแบบนี้จะเข้ามามีผลต่อช่วงเวลาเรียนรู้ของคุณได้ [13]
  2. การจดจ่ออยู่กับวิชาใดวิชาหนึ่งตลอดช่วงเวลาของการอ่านหนังสือ อาจจะกลายเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับคำว่ามีประสิทธิภาพก็ได้ แต่ถ้าหากคุณสามารถทำแบบนั้นได้โดยไม่มีปัญหา เราก็ยินดีด้วย แต่ถ้าคุณมีปัญหา ให้คุณลองเปลี่ยนวิชาที่อ่านไปเป็นวิชาอื่นๆ บ้าง วิธีนี้จะช่วยสร้างสมาธิของคุณขึ้นมาใหม่ได้ เพราะคุณได้เปลี่ยนไปโฟกัสกับวิชาใหม่นั่นเอง [14]
  3. นี่อาจจะเป็นสิ่งที่ทำได้ยากที่สุดในโลกปัจจุบันที่เต็มไปด้วยสิ่งกวนใจมากมายแบบนี้ แต่ถ้าหากคุณรู้สึกว่าตัวเองเริ่มทำอะไรไม่ค่อยเป็นชิ้นเป็นอัน ให้คุณพูดกับตัวเองว่า “จงอยู่กับปัจจุบัน” จากนั้นก็กลับมาโฟกัสกับสิ่งที่คุณกำลังทบทวนอยู่ จริงอยู่ที่สิ่งนี้อาจจะดูเหมือนเป็นลูกเล่นอะไรบางอย่าง แต่การคอยเตือนตัวเองด้วยวิธีแบบนี้ก็น่าจะช่วยคุณได้ แต่จำไว้ด้วยว่า วิธีนี้ใช้ไม่ได้ผลกับทุกคน [15]
    • ให้พูดเตือนตัวเองแบบนี้พร้อมกับหายใจลึกๆ ในขณะที่หลับตาเพื่อทำให้ตัวเองรู้สึกสงบจากข้างใน
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • คอยระวังอย่าให้ตัวเองถูกรบกวนหรือวอกแวกเพราะสิ่งอื่นๆ
  • ให้ขีดเส้นใต้/ไฮไลต์จุดที่สำคัญในเนื้อหาที่คุณอ่านเอาไว้ เพื่อที่ตัวเองจะได้ไม่เสียเวลาเครียดไปกับสิ่งที่มีความสำคัญน้อยกว่า แต่ระวังอย่าเผลอไปเน้นทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในเนื้อหาล่ะ
  • หาคำอธิบายเพิ่มเติมและตัวอย่างจากหนังสืออ้างอิง
  • ว่ากันว่าถ้าเราตั้งใจฟังครูสอนให้ดีๆ ก็เหมือนกับเราได้เรียนรู้ไป 60% ของสิ่งที่เราจำเป็นต้องรู้แล้ว การตั้งใจฟังในห้องเรียนจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ
  • อย่าดูทีวี ฟังเพลง กินขนมเวลาเรียนหรืออ่านหนังสือ เพราะนี่จะทำให้คุณมีสมาธิน้อยลง และทำให้เรียนรู้ได้ยากขึ้น
  • ฟังดนตรีเบาๆ และผ่อนคลายแบบที่ไม่มีเนื้อร้อง
  • ขอความช่วยเหลือจากคนอื่นก่อนที่จะเริ่มอ่านหนังสือ หากคุณยังไม่เข้าใจในเนื้อหา
  • การเขียนแผนผังความคิดนั้นเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมาก เทียบเท่ากับวิธีใช้แฟลชการ์ดเลย และด้วยวิธีนี้ คุณจะสามารถรับข้อมูลเข้ามาได้มากมายภายในช่วงเวลาสั้นๆ
  • ในช่วงที่คุณพักเบรกจากการอ่านหนังสือ การทำอะไรที่น่าตื่นเต้นนั้นจะช่วยเพิ่มพลังงานให้กับตัวคุณได้ คุณอาจจะออกไปเดินเล่นในสวน เล่นกีฬา ออกไปวิ่ง หรือส่งข้อความ/โทรหาเพื่อนของคุณสักคนก็ได้
  • ปิดมือถือ


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 21,030 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา