ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

กีตาร์นั้นไม่เหมือนกับเปียโน ที่จะมีแพทเทิร์นซ้ำๆ ของตัวโน้ตที่ชัดเจน ดังนั้น หากคุณอยากเรียนรู้เกี่ยวกับคอร์ด ริฟ และเพลงต่างๆ คุณก็ต้องรู้จักชื่อของตัวโน้ตต่างๆ ที่อยู่บนเฟรตบอร์ดกีตาร์ให้ได้ก่อน เพียงแค่มีความอดทนสักนิด และความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับกีตาร์และทฤษฎีดนตรีสักหน่อย ใครๆ ก็สามารถที่จะเข้าใจและจดจำตัวโน้ตต่างๆ ที่อยู่บนกีตาร์ได้ ชนิดที่ว่าเราอาจจะรู้สึกเหมือนกับว่าสิ่งนี้เป็นเรื่องธรรมชาติของตัวเองเลยล่ะ

หมายเหตุ: บทความนี้จะอิงอยู่กับการตั้งสายแบบ "Standard Tuning" ซึ่งเป็นการตั้งสายแบบมาตรฐานของกีตาร์ที่คนส่วนใหญ่ใช้กัน โดยในการตั้งสายแบบมาตรฐานนี้จะเรียงตัวโน้ตของสายเปิดไล่จากสายบนสุดถึงสายล่างสุดเป็นโน้ต E A D G B E

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

เรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่จำเป็น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับสายเปิด หรือโน้ตต่างๆ ที่ใช้แทนเสียงของแต่ละสายหากคุณไม่ได้กดสายลงไปบนเฟรต. กีตาร์เป็นเครื่องดนตรีที่มี 6 สาย โดยที่สายบนสุดจะหนาและมีน้ำหนักมากที่สุด และสายล่างสุดจะมีขนาดเล็กมากที่สุด ซึ่งตามหลักแล้วเราจะนับสายกีตาร์จากล่างขึ้นบน และนั่นก็หมายความว่าสายเล็กสุดคือสาย 1 และสายใหญ่สุดคือสาย 6 ฉะนั้น เวลาที่ไล่โน้ตจากสายล่างขึ้นมาสายบนเราก็จะได้โน้ต E B G D A E ซึ่งการจำสายกีตาร์เหล่านี้ก็มีวิธีการจำหลากหลายรูปแบบ แต่วิธีที่จำที่ง่ายที่สุดก็คงจะเป็นแบบในตัวอย่างคำภาษาอังกฤษที่อยู่ด้านล่างนี้
    • E very
    • B oy
    • G ets
    • D essert
    • A t
    • E aster [1]
  2. ทำความเข้าใจว่าโน้ตต่างๆ นั้นนับแทนด้วยตัวอักษร A ถึง G. ในดนตรีตะวันตก โน้ตตัวต่างๆ จะถูกเขียนแทนขึ้นด้วยตัวอักษร A-G และหลังจาก G แล้วก็จะวนกลับไปที่ A อีกครั้ง แต่ว่าจะกลายเป็น A ในเวอร์ชั่นที่มีระดับเสียงที่สูงกว่าเดิม และเวลาที่คุณเลื่อนมือลงไปตามเฟรตบอร์ด (เข้าไปทางลำตัวของกีตาร์) นั่นจะหมายถึงว่าคุณกำลังวนลำดับของโน้ตต่างๆ อยู่ โดยที่โน้ต E จะอยู่สูงขึ้นไปตามเฟรตบอร์ดมากกว่า F และ G และโน้ตตัวถัดไปก็จะเป็น A
    • ตัวโน้ตที่นำหน้ามาก่อนนั้นหมายถึง โน้ตที่มีเสียง ต่ำกว่า ดังนั้น B จะมีเสียงต่ำกว่า C ที่จะมาเป็นตัวถัดไป
    • โน้ตที่ตามมาทีหลังนั้นหมายถึง โน้ตที่มีเสียง สูงกว่า ดังนั้น E ก็จะมีเสียงที่สูงกว่า D ที่อยู่ก่อนหน้านี้
  3. ทำความเข้าใจกับเสียงของโน้ตระหว่างตัวอักษรต่างๆ ที่ติดชาร์ปและติดแฟรต. ในระหว่างโน้ตตัวต่างๆ นั้นจะมีการติด ชาร์ป (แสดงเครื่องหมายเป็น a #) และติด แฟรต (แสดงเครื่องหมายเป็น a ♭) โดยชาร์ปจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากตัวอักษรที่ใช้แทนโน้ตธรรมดาตัวหนึ่ง ตัวอย่างเช่น A→ A#, ส่วนแฟรตจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนโน้ตตัวหนึ่ง เช่น D♭→ E ซึ่งชาร์ปและแฟรตนั้นสามารถใช้แทนกันได้ ขึ้นอยู่กับว่าเพลงที่คุณเล่นนั้นต้องแทนด้วยเครื่องหมายชาร์ปหรือว่าแฟรต ตัวอย่างเช่น โน้ตที่อยู่ระหว่าง C และ D จะถูกเขียนได้ทั้ง C# หรือ D♭ ซึ่งถ้าหากจะดูแบบครบทุกโน้ตก็จะได้ดังนี้
    • A, A#, B, C, C#, D, D#, E, F, F#, G, G#
    • จะสังเกตเห็นว่าไม่มีโน้ตอย่าง E# หรือ B# เพราะโน้ต E และ B นั้นไม่มีทางติดชาร์ปได้ และจะกระโดดข้ามจาก E→F เลยง่ายๆ และก็เช่นเดียวกับ C♭ หรือ F♭ โน้ตสองตัวนี้ก็จะติดแฟรตไม่ได้เช่นกัน ดังนั้น หากคุณจำกฎข้อยกเว้นเล็กๆ นี้เอาไว้ การจำโน้ตบนกีตาร์ก็จะกลายเป็นเรื่องง่ายดายได้ในทันที
  4. เลื่อนนิ้วลงมา 1 เฟรตเพื่อเพิ่มเสียงของโน้ตให้สูงขึ้นครึ่งเสียง. เฟรตบนกีตาร์นั้นจะถูกเรียงเป็นลำดับเลข โดย 0 หมายถึงสายเปิด 1 หมายถึงเฟรตที่อยู่ใกล้กับหัวกีตาร์มากที่สุด และก็จะเรียงลำดับแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งการเลื่อนโน้ตขึ้นครึ่งเสียงก็หมายถึง การเลื่อนจากโน้ตตัวหนึ่งไปยังโน้ตตัวถัดไป (A→ A#) ซึ่งรวมไปถึงชาร์ปและแฟรตด้วย ในขณะที่การเลื่อนโน้ตแบบเต็ม 1 เสียงนั้นหมายถึง การกระโดดข้ามไป 2 โน้ต (A→ B, B→ C#) ดังนั้น แต่ละเฟรตของกีตาร์ก็จะแทนเสียงครึ่งเสียงที่อยู่ถัดจากเฟรตที่อยู่ก่อนหน้านั้น ดังนั้น:
    • โน้ตตัวแรกของสายบนสุด (สายเปิด) คือ E.
    • โน้ตบนเฟรต 1 ของสายบนสุดคือ F (จำไว้เสมอว่า ในระบบตัวโน้ตนั้นไม่มี E#).
    • โน้ตบนเฟรต 2 ของสายบนสุดคือ F#.
    • โน้ตบนเฟรต 3 ของสายบนสุดคือ G.
    • โน้ตเหล่านี้จะไล่ลำดับลงไปตามเฟรตบอร์ดเรื่อยๆ ฉะนั้น ให้ลองบอกชื่อของโน้ตแต่ตัวบนสายที่คุณเล่นอยู่ให้ได้ หากคุณบอกชื่อโน้ตได้ถูกต้องหมดทุกตัว คุณก็จะพบว่าเมื่อเลื่อนลงมาถึงเฟรต 12 คุณได้พาตัวเองกลับมาที่ E อีกครั้ง
  5. หาโน้ตที่เป็นเนเชอรัล (natural) บนสายแรกให้ได้ทุกตัว. โน้ตเนเชอรัล หมายถึงโน้ตที่ไม่ติดชาร์ปหรือติดแฟรต (A,B,C,D,E,F,G) ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการเริ่มต้นหาโน้ตเหล่านี้ควรจะเริ่มจากสายบนสุด (หรือสาย 6) ที่มี E เป็นเสียงแทนสายเปิด เพราะบนสายนี้จะมีโน้ตที่สำคัญๆ อยู่ ซึ่งโน้ตเหล่านี้จะถูกทำเครื่องหมายเอาไว้ด้วยจุดกลมๆ ที่อยู่บนเฟรตบอร์ดกีตาร์ [2]
    • E คือ สายเปิด
    • F อยู่บนเฟรต 1
    • G อยู่บนเฟรต 3
    • A อยู่บนเฟรต 5
    • B อยู่บนเฟรต 7
    • C อยู่บนเฟรต 8
    • D อยู่บนเฟรต 10
    • E อยู่บนเฟรต 12 และเป็นจุดที่ซ้ำแพทเทิร์นเดิม
  6. เฟรต หมายถึง แท่งโลหะเล็กๆ ที่อยู่ติดกับคอกีตาร์ และเมื่อคุณกดสายลงไปบนเฟรต คุณก็จะได้ยินเสียงของโน้ตต่างๆ และจะแตกต่างกันไปเมื่อเลื่อนนิ้วลงไปตามคอกีตาร์เรื่อยๆ ซึ่งเมื่อถึงเฟรต 12 (บนเฟรตบอร์ดของกีตาร์ส่วนใหญ่จะทำเป็นจุดกลมๆ 2 จุดเอาไว้) ก็จะเปรียบเสมือนว่าเฟรตกีตาร์ทั้งหมดถูกรีเซ็ตนับหนึ่งใหม่อีกครั้งตรงเฟรตนั้น ดังนั้น เมื่อถึงเฟรต 12 ของสายต่างๆ โน้ตที่ได้ก็จะเป็นตัวเดียวกับโน้ตที่ใช้แทนสายเปิดของสายนั้นๆ ซึ่งก็แสดงว่าเฟรตนี้คือเฟรตที่ทุกอย่างกลับมาซ้ำแพทเทิร์นใหม่อีกรอบ และนั่นหมายความว่าคุณควรจำโน้ตต่างๆ แค่จากเฟรต 0-12 ก็พอ และจำไว้ว่าเมื่อเลยเฟรต 12 ไป แพทเทิร์นลำดับโน้ตก็จะกลับมาซ้ำเหมือนเดิมอีกครั้ง [3]
    • อย่างเช่น ถ้าดูบนเฟรต 12 โน้ตที่คุณได้จากสายล่างสุดไปจนถึงสายบนสุดก็จะเป็น E B G D A E
    • นั่นเป็นเพราะว่าในดนตรีตะวันตกนั้นมีโน้ตแค่ 12 ตัวเท่านั้น ซึ่งก็คือ A, A#, B, C, C#, D, D#, E, F, F#, G, G# ซึ่งเมื่อเลยเฟรต 12 ไป นั่นหมายความว่าคุณได้กลับมาที่จุดเริ่มต้นอีกครั้ง
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

การหาโน้ตที่ถูกต้องได้ทุกเมื่อที่วางนิ้วบนเฟรตบอร์ด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เรียนรู้โน้ตไปทีละตัว ไม่ต้องพยายามจำโน้ตทุกตัวบนกีตาร์ให้ได้ภายในครั้งเดียว. ให้คุณจำสายแรกให้ได้ก่อน จากนั้นให้โฟกัสแค่ตัวอักษรตัวเดียวที่ใช้แทนเสียงเสียงหนึ่งพอ โดยให้คุณเริ่มต้นจากการหาโน้ตที่แทนด้วยตัวอักษร E ที่อยู่ในช่วงระหว่างหัวกีตาร์ไปจนถึงเฟรต 12 ให้ครบทุกตำแหน่ง จากนั้นก็ทำวิธีเดิมกับอักษรตัวต่อๆ ไป และจำไว้เสมอว่า การที่คุณพยายามจำโน้ตทุกตัวให้ครบภายในครั้งเดียวนั้นจะยิ่งทำให้คุณสับสนจนจำอะไรไม่ได้แทน ฉะนั้น ให้แยกจำไปทีละโน้ตจะดีกว่า ซึ่งจริงๆ ก็มีทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียงลำดับการจำโน้ตอยู่มากมายให้เลือก แต่ว่าการเรียงลำดับโน้ตที่เราอยากแนะนำให้คุณลองใช้คือให้เรียงเป็น E - G - B - F - D - A - C
    • ให้ฝึกเล่นแค่โน้ตตัวเดียวเท่านั้นก่อน โดยในแต่ละครั้งที่เปลี่ยนตำแหน่งให้คุณใช้นิ้วเดิมกดสาย แล้วเพิ่มความเร็วขึ้นทีละนิด จนกว่าคุณจะสามารถกดโน้ตทุกตัวได้แบบถูกต้องทุกตำแหน่งโดยที่ไม่ต้องมอง
    • คุณอาจจะใช้สายบนสุดของกีตาร์เพื่อดูว่าโน้ตทุกโน้ตนั้นอยู่ตรงไหนบ้าง และเมื่อคุณรู้แล้วว่าบนสาย E ต่ำนั้นมีโน้ตอะไรอยู่บ้าง คุณก็สามารถใช้เทคนิคในข้อต่อๆ ไปเพื่อหาโน้ตแต่ละตัวได้ในทุกเมื่อที่คุณเล่น
  2. Watermark wikiHow to เรียนรู้โน้ตทุกตัวบนคอกีตาร์
    ใช้อ็อกเทฟ (octave) เพื่อหาโน้ตเดียวกันบนสายที่เป็นเสียงต่ำ. อ็อกเทฟนั้นหมายถึงโน้ตตัวเดิม แต่ว่าจะอยู่ในระดับเสียงที่แตกต่างกัน ถ้าเกิดว่าคุณอยากเข้าใจว่าอะไรคืออ็อกเทฟ ให้คุณลองนึกภาพนักร้องที่กำลังร้องประสานเสียงกันอยู่ คนหนึ่งร้องเสียงสูง ส่วนอีกคนร้องเสียงทุ้มต่ำ แต่ว่าทั้งคู่ร้องโน้ตเดียวกัน ถ้าคุณนึกภาพออกคุณก็จะเข้าใจคำว่าอ็อกเทฟ และสำหรับกีตาร์นั้น อ๊อกเทฟจะเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้เราสามารถหาโน้ตได้ง่ายขึ้น เพียงแค่เลื่อนนิ้วลงมา 2 สาย และเลื่อนไปทางขวาอีก 2 เฟรต นั่นก็จะทำให้คุณเจอตำแหน่งที่เป็นอ็อกเทฟได้ ตัวอย่างเช่น ให้คุณวางนิ้วไปที่สาย 6 เฟรต 3 ซึ่งโน้ตตรงเฟรตนี้คือ G และถ้าคุณเลื่อนนิ้วลงไปที่สาย 4 เฟรต 5 โน้ตตรงเฟรตนั้นก็คือ G เช่นเดียวกัน
    • สำหรับวิธีนี้จะมีข้อยกเว้นอยู่หนึ่งอย่าง เพราะว่าสาย 2 (สายเปิด B) นั้นมีเสียงต่ำกว่าสายที่เหลือเพิ่มไปอีกครึ่งเสียง และนั่นหมายความว่าเวลาที่คุณจะหาอ็อกเทฟที่สาย 2 คุณจะต้องเลื่อนนิ้วลงไปที่สาย 2 และเลื่อนไปทางขวาอีก 3 เฟรต
  3. Watermark wikiHow to เรียนรู้โน้ตทุกตัวบนคอกีตาร์
    ทำความเข้าใจไว้ว่าโน้ตเสียงเดียวกันอยู่ห่างกันเพียง 1 สายและ 5 เฟรต. หากคุณเลื่อนนิ้วลงไป 1 สาย และเลื่อนไปทางซ้ายอีก 5 เฟรต คุณก็จะเจอกับโน้ตเสียงเดียวกับโน้ตตัวแรกที่คุณกด ตัวอย่างเช่น หากคุณเริ่มกดที่สาย 4 เฟรต 10 คุณก็จะสามารถหาโน้ตที่มีเสียงเดียวกันได้ตรงสาย 3 เฟรต 5 (ซึ่งทั้งสองตำแหน่งคือ C)
    • คุณสามารถทำวิธีนี้ในแบบย้อนกลับได้ วิธีการคือ ให้คุณเลื่อนนิ้วสูงขึ้นไป 1 สาย และเลื่อนไปทางขวาอีก 5 เฟรต แล้วคุณก็จะเจอกับโน้ตเสียงเดียวกันกับโน้ตตัวแรกที่คุณกด
    • วิธีนี้จะเหมือนกับวิธีการใช้อ็อกเทฟ เพราะสาย 2 ในวิธีนี้ก็เป็นข้อยกเว้นเช่นเดียวกัน ฉะนั้น หากคุณจะหาโน้ตที่สาย 2 คุณก็ต้องเลื่อนนิ้วไปทางซ้าย 4 เฟรต ไม่ใช่ 5 เฟรต และนั่นหมายความว่า โน้ตที่อยู่ตรงสาย 3 เฟรต 4 ก็จะกลายเป็นโน้ตเดียวกับสายเปิด B หรือจะเรียกว่าสาย 2 เฟรต 0 ก็ได้ [4]
  4. มีเทคนิคและแพทเทิร์นหลากหลายรูปแบบที่สามารถช่วยให้คุณหาโน้ตต่างๆ ได้ทุกเวลาโดยที่ไม่ต้องคิดนาน หากคุณใช้อ็อกเทฟและโน้ตเสียงเดียวกัน คุณก็จะสามารถใช้เทคนิคเพิ่มเติมด้านล่างนี้ เพื่อช่วยในการหาโน้ตต่างๆ เวลาที่คุณฝึกซ้อมได้
    • สายบนสุดและสายล่างสุด คือสายที่มีโน้ตเสียงเดียวกัน ซึ่งก็คือ E
    • สาย 4 หรือสาย D เปรียบเสมือนกับสาย E ที่ขยับเฟรตลงมาอีก 2 เฟรต
    • สาย 3 หรือสาย G เปรียบเสมือนกับสาย A ที่ขยับเฟรตลงมาอีก 2 เฟรต
    • สาย 2 หรือสาย B เปรียบเสมือนกับสาย A ที่ขยับเฟรตขึ้นไป 2 เฟรต [5]
  5. ทุกครั้งที่คุณซ้อม ให้ใช้เวลาสัก 5-10 นาทีเพื่อฝึกหาโน้ตแต่ละตัว. ตัวอย่างเช่น ในอาทิตย์แรก คุณอาจจะใช้เวลา 5 นาทีเพื่อฝึกหาโน้ต E ทุกตำแหน่งที่อยู่บนเฟรตบอร์ดกีตาร์ โดยในอาทิตย์นั้นทั้งอาทิตย์ ให้คุณจำและเล่นแค่โน้ต E ทุกตำแหน่งที่อยู่บนเฟรตบอร์ด และฝึกไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงจุดที่คุณไม่ต้องนับช่องหรือนั่งหาโน้ตตัวนี้อีกแล้ว จากนั้นในอาทิตย์ถัดไป ให้คุณใช้วิธีเดิมกับการหาโน้ต F ทุกตำแหน่งที่อยู่บนเฟรตบอร์ด วิธีนี้จะทำให้คุณสามารถจดจำโน้ตต่างๆ บนเฟรตบอร์ดได้อย่างสบายๆ ภายในไม่กี่อาทิตย์
    • กำหนดกรอบเล็กๆ บนเฟรตบอร์ดกีตาร์ขึ้นมาสักจุดหนึ่ง และเลื่อนมือขึ้น-ลงบนสายทั้ง 6 สายเท่านั้น โดยให้คุณกดเฉพาะเฟรตต่างๆ ที่เป็นโน้ต E ที่อยู่ภายในกรอบเล็กๆ ที่คุณกำหนดเอาไว้ไปจนถึงตำแหน่งที่คุณเริ่มต้น จากนั้นค่อยๆ เพิ่มความเร็วขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าคุณจะสามารถจำโน้ต E ในกรอบเล็กๆ บนเฟรตบอร์ดที่คุณกำหนดไว้ได้หมดทุกตำแหน่ง
    • อย่ากังวลกับเรื่องชาร์ปหรือแฟรตมากเกินไป เพราะถ้าคุณรู้แล้วว่าโน้ตเนเชอรัลนั้นอยู่ตรงตำแหน่งไหนบ้าง การจะหาโน้ตชาร์ปหรือแฟรตก็จะยิ่งกลายเป็นเรื่องง่ายเข้าไปอีก [6]
  6. เรียนรู้วิธีอ่านโน้ตดนตรีเพื่อทดสอบความรู้ของตัวเอง. โน้ตดนตรีนั้นถูกเขียนออกมาเป็นตัวโน้ตต่างๆ ฉะนั้น ถ้าคุณสามารถอ่านโน้ตดนตรีและหาโน้ตตัวนั้นๆ บนเฟรตกีตาร์ได้อย่างรวดเร็ว นั่นก็จะเป็นวิธีการที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้โน้ตต่างๆ และถ้าเกิดว่าคุณสามารถไปถึงจุดพื้นฐานที่คุณสามารถอ่านโน้ตแบบ "sight reading" (การเล่นโน้ตที่คุณอ่านจากกระดาษโน้ตได้ในทันที) ได้ นั่นก็แสดงว่าคุณจดจำโน้ตทุกตัวได้อย่างสมบูรณ์แบบแล้ว
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • การเรียนรู้โน้ตทุกตัวบนกีตาร์ล้วนต้องพึ่งพาการฝึกฝนและความอดทน เพราะทางลัดสำหรับเรื่องนี้นั้นมีให้ไม่มากหรอก แต่อยากให้คุณจำไว้เสมอว่า โน้ตที่คุณจะต้องหาและจำบนคอกีตาร์นั้นจริงๆ แล้วก็มีแค่ 12 ตัวเท่านั้นเอง


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 28,113 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา