ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การเลี้ยงสัตว์อย่างเช่นพวกแมว ได้แสดงให้เห็นว่าช่วยลดความเครียดและลดระดับความดันโลหิต [1] การนำแมวตัวใหม่เข้าบ้านถือเป็นช่วงน่าตื่นเต้น แต่สำคัญตรงที่ต้องทำการเลือกสรรอย่างระมัดระวัง การเลือกแมวที่เหมาะกับตัวคุณ วิถีชีวิตของคุณ ครอบครัว และสภาพความเป็นอยู่ของคุณนั้นจะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจทั้งกับตัวคุณและตัวแมวว่าจะมีชีวิตที่ดีมีความสุข

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

พิจารณาความต้องการกับวิถีชีวิตของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แมวสามารถมีอายุยืนถึง 20 ปี ถ้าคุณเพาะหรือซื้อแมวมา มันจะอยู่ร่วมบ้านกับคุณไปอีกนานพอๆ กับ (หรืออาจนานกว่า!) ลูกของคุณเลยทีเดียว ให้แน่ใจว่าคุณสามารถให้ “แหล่งอาศัยตราบชั่วชีวิต” ให้กับเพื่อนมีขนของคุณ [2]
  2. ให้แน่ใจว่าคุณได้รับอนุญาตให้เลี้ยงแมวในบ้านได้. แมวเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่มีพื้นที่อาศัยจำกัด เช่น อยู่ในอพาร์ทเมนต์ กระนั้น คุณควรตรวจสอบกับทางผู้ให้เช่า นิติบุคคลของอาคาร เป็นต้น เพื่อความแน่ใจว่าสามารถเลี้ยงแมวได้
    • แมวควรจะไม่ได้เป็นพวกแมว “กลางแจ้ง” แมวที่อยู่ติดบ้านโดยทั่วไปจะอายุยืนกว่า สุขภาพก็ดีกว่าแมวที่ชอบออกนอกบ้าน แถมยังมีความเสี่ยงต่ำที่จะไปติดโรคหรือบาดเจ็บมา แมวติดบ้านยังชอบอยู่กับมนุษย์อีกด้วย [3]
  3. แมวไม่ได้ต้องการความเป็นเพื่อนคู่หูเท่าสุนัข แต่ถึงกระนั้น ก็ยังจำเป็นต้องใคร่ครวญดูว่าคุณจะมีเวลาให้มันแค่ไหน ถ้าไม่มีเวลามาเล่นด้วย ไม่มีเวลามาใส่ใจให้อาหารและสร้างความผูกพันกับมัน ก็คงไม่ใช่เวลาเหมาะสมที่จะเลี้ยงแมว [4]
    • คุณควรสามารถให้เวลากับแมวอย่างน้อยวันละหนึ่งชั่วโมง นี่จะช่วยผูกความสัมพันธ์และทำให้แมวมีความสุขและมีสุขภาพดี [5] การดูแลตัดแต่งขนซึ่งต้องใช้เวลาถึง 20-30 นาที ก็อาจจำเป็นหากคุณคิดเลี้ยงแมวพันธุ์ขนยาว
    • ปรึกษาสัตวแพทย์หรือองค์กรดูแลสัตว์ในเรื่องการอุทิศเวลา พวกเขาอาจแนะนำให้คุณเลี้ยงแมวเป็นคู่ โดยเฉพาะถ้าหากเป็นแมวครอกเดียวกัน การมีแมวเกินหนึ่งตัวแสดงว่าพวกมันจะมีเพื่อนในตอนที่คุณออกไปทำงานหรือไปเที่ยวต่างจังหวัด
    • ลูกแมวมักต้องการเวลาดูแลเอาใจใส่เพราะมันต้องได้รับการฝึกให้ใช้กระบะทรายสำหรับอึ หรือฝึกไม่ให้ใช้เล็บข่วนเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น [6]
  4. การให้อาหารและเลี้ยงดูแมวไม่ใช่ของฟรี ค่าใช้จ่ายอาจเป็นไปได้ตั้งแต่ 5,000-30,000 บาทต่อปี [7] ค่าใช้จ่ายจะแตกต่างหลากหลายขึ้นอยู่กับว่าคุณมีลูกแมวหรือแมวตัวเต็มวัย เช่นเดียวกับชนิดพันธุ์ที่คุณจะเลี้ยง การดูแลด้านสุขภาพและการตัดแต่งความสวยงามนั้นสามารถทบทวีขึ้นได้ในแต่ละปี
    • ลูกแมวมักต้องใช้เงินสูงในตอนแรกเริ่ม เพราะไหนจะต้องฉีดวัคซีน ไหนจะต้องถ่ายพยาธิ ทำหมันหรือล้างทำความสะอาด พวกมันจะโตขึ้นเป็นแมวเต็มวัยในที่สุดอยู่ดี ฉะนั้นจะรออะไรล่ะ ไม่ลองรับเลี้ยงแมวแก่ดูบ้างหรือ พวกมันนิ่งสงบกว่าด้วย
    • ถึงแม้แมวจะทำความสะอาดตัวเองโดยธรรมชาติอยู่แล้ว แต่พันธุ์ขนยาวอาจจำเป็นต้องทำให้เพิ่มเติม แมวพันธุ์หน้าสั้น (brachycephaly อย่างเช่นพันธุ์เปอร์เซียหรือหิมาลัย) มักต้องการให้ทำความสะอาดรอบดวงตาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ [8]
    • ดูราคาของอาหารแมวชนิดที่มีคุณภาพและค่ารักษาพยาบาลในถิ่นที่คุณอยู่ มันจะช่วยให้คุณมองภาพออกว่าต้องใช้ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่
  5. คุณจำต้องพิจารณาว่าสภาพแวดล้อมภายในบ้านเป็นอย่างไรก่อนจะเลี้ยงแมวสักตัว นี่คือคำถามที่คุณควรถามตัวเอง:
    • คุณมีสัตว์เลี้ยงอยู่แล้วหรือเปล่า แมวตัวใหม่จะเข้ากับพวกนั้นได้ยังไง
    • คุณมีเด็กเล็กไหม เด็กเล็กอาจเล่นกับลูกแมวหนักเกินไปจนอาจทำอันตรายต่อมันโดยไม่ตั้งใจก็ได้ [9]
    • ระดับกิจกรรมภายในบ้านของคุณเป็นแบบไหน ตัวคุณเป็นพวกอยู่ไม่นิ่งต้องทำโน่นทำนี่ตลอด หรือคุณชอบนั่งเอื่อยอยู่บนโซฟา ลูกแมวมักจะซุกซนและจำต้องคอยดูไม่วางตา แมวเต็มวัยจะนิ่งกว่าและไม่ต้องจับตามองมาก ถึงแม้ว่านี่จะแตกต่างขึ้นกับสายพันธุ์หรือกระทั่งเป็นนิสัยของแมวแต่ละตัว
  6. หากคุณหรือมีใครในบ้านเป็นภูมิแพ้หรือมีปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆจงพิจารณาดูก่อนว่าแมวจะส่งผลกระทบใดๆ หรือไม่ [10] มีคนนับล้านที่แพ้สิ่งต่างๆ อย่าง เศษขนแมว น้ำลาย ผิวที่หลุดลอก และฉี่แมว [11] การนำเรื่องความยาวของขนแมวมาพิจารณาจะช่วยป้องกันปัญหาเรื่องภูมิแพ้ได้
    • แมวพันธุ์ขนสั้น (ผิวเรียบเนียนลื่น) เหมาะที่สุดกับคนส่วนใหญ่ แมวสายพันธุ์เหล่านี้ไม่จำเป็นต้องตกแต่งดูแลความสะอาดเพิ่มเติม เวลาถึงช่วงสลัดขน คุณสามารถทำความสะอาดขนที่ร่วงได้ง่ายเพียงใช้เครื่องดูดฝุ่นกับแปรง
    • แมวพันธุ์ขนขนาดกลาง (ผิวมีขนปุยเล็กน้อย) และแมวพันธุ์ขนยาว (ผิวมีขนยาวสลวย) จำเป็นต้องมีการดูแลความสะอาด คุณจำต้องหมั่นคอยแปรงขนเป็นประจำ ถ้าแมวพันธุ์ขนยาวนั้นถึงขนาดต้องดูแลทุกวันเลย
    • บางสายพันธุ์จะไม่มีขนเลย (และจะเกิดการแพ้น้อยกว่าปกติ) แต่ทว่าแมวเหล่านี้มักจะหนาวง่ายและจำเป็นต้องหาของอย่างเสื้อสเว็ตเตอร์มาใส่ให้มันอุ่น มันไม่มีขนในเวลาที่คุณลูบมัน ซึ่งบางคนอาจไม่ชอบใจ
  7. ชนิดกับอายุของแมวที่จะเลี้ยงมีผลต่อชนิดของความสัมพันธ์ที่คุณจะมีร่วมกัน คุณอยากได้แมวที่นั่งนิ่งบนตักเอื่อยไปกับคุณ หรืออยากได้แมวซุกซนที่คุณจะสนุกและเล่นกับมันได้ [12] การพิจารณาสิ่งที่มุ่งหวังจากแมวจะช่วยคุณตัดสินใจได้ว่าแมวชนิดไหนเหมาะกับตนเอง
    • นิสัยของลูกแมวยังไม่ได้พัฒนาอย่างสมบูรณ์ ดังนั้นจึงยากจะรู้ว่าพวกมันจะมีทัศนคติและความสัมพันธ์กับคุณแบบไหนจนกว่ามันจะโตขึ้น
    • หาคำแนะนำจากสารานุกรมสายพันธุ์แมว อย่างนามานุกรมสายพันธุ์แมวของ Animal Planet [13] จะช่วยคุณเรียนรู้เกี่ยวกับบุคลิกทั่วไปของแมวแต่ละสายพันธุ์ อย่างเช่น เสียงร้องเรียก การทำตัวอิสระ และความฉลาดเฉลียว แต่อย่าลืมว่าแมวแต่ละตัวก็ยังแตกต่างกันอยู่ดี
  8. แมวพันธุ์แท้มีทั้งข้อดีข้อเสีย แมวมีสายพันธุ์จะมีบุคลิกโดดเด่นเป็นเฉพาะซึ่งถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นมาหลายรุ่นแล้ว อย่างแมวไทยมักชอบร้องเสียงเหมียวๆ ตลอดเวลา หรือแมวไซบีเรียที่เต็มใจให้อุ้ม ถ้ามันเป็นเรื่องสำคัญที่แมวของคุณต้องมีบุคลิกนิสัยโดยเฉพาะ ก็ควรเลือกแมวพันธุ์แท้ แต่จำไว้ว่ามันไม่ได้เป็นการการันตีว่าลักษณะเช่นว่าจะปรากฎในแมวทุกตัว [14]
    • แมวพันธุ์แท้มักจะมีปัญหาด้านสุขภาพ เช่น แมวเปอร์เซียกับหิมาลัยมักมีปัญหาโรคหัวใจกับไต ในขณะที่แมวเมนคูนจะเจอปัญหาสะโพกกับโรคหัวใจ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

มองหาแมว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ศูนย์พักพิงสัตว์เลี้ยง องค์กรส่งเสริมมนุษยธรรม และเครือข่ายพิทักษ์สัตว์ล้วนมีแมวจำนวนมากที่ต้องการบ้านอันแสนอบอุ่น ในสหรัฐอเมริกามีสัตว์เลี้ยงที่อยู่ในศูนย์พักพิงสูงถึง 6-8 ล้านตัวในแต่ละปี และมีเพียงครึ่งเดียวที่ได้รับการนำไปเลี้ยงดู [15] ไปตามศูนย์พักพิงหรือองค์กรด้านมนุษยธรรมเหล่านี้หรือจะหาตามอินเทอร์เน็ตดูว่ามีแมวต้องการบ้านในละแวกบ้านคุณหรือไม่
    • สัตว์เลี้ยงที่นำมาจากศูนย์พักพิงมักมีราคาถูกกว่าไปซื้อแมวจากผู้เพาะพันธุ์หรือตามร้านขายสัตว์เลี้ยง แมวจากร้านพวกนั้นอาจมีราคาสูงหลักพัน หรือถึงระดับหลายหมื่นบาท แต่ยากที่จะมีศูนย์พักพิงไหนคิดค่านำไปเลี้ยง
    • คุณไม่จำเป็นต้องซื้อแมวจากผู้เพาะพันธุ์เพื่อจะเลี้ยงแมวพันธุ์แท้เลย มีองค์กรช่วยเหลือสัตว์มากมายที่ได้ช่วยเหลือแมวพันธุ์แท้ที่ถูกทอดทิ้งหรือถูกทารุณ [16] จากข้อเท็จจริงมีสัตว์เลี้ยงสูงถึง 25% ในศูนย์พักพิงที่เป็นพันธุ์แท้ [17]
    • สอบถามกับเจ้าหน้าที่หรืออาสาสมัครที่ศูนย์ พวกเขามักเล่าประวัติของแมว รวมไปถึงนิสัยและสุขภาพของแมวตัวนั้นๆ [18]
  2. สำรวจชื่อเสียงของนักเพาะพันธุ์แมวก่อนจะซื้อ ถ้าเป็นไปได้ ก็ให้ไปเยี่ยมชมและตรวจสภาพของแมวที่จะขายให้คุณ สิ่งสุดท้ายที่คุณจะอยากทำตือการสนับสนุนผู้เพาะพันธุ์ที่ปฏิบัติต่อสัตว์ไม่ดีนี่แหละ ถ้าเห็นแมวถูกเลี้ยงแบบไม่ดีหรือรู้สึกว่าผู้เพาะมีอะไรปิดบังคุณอยู่ จงอย่าซื้อแมวจากเขา [19]
    • ดูสัญญาณที่บ่งชี้ว่าแมวถูกทำร้าย เช่น มีขนแมวร่วงไปทุกที่ มีกลิ่นแรง มีสัตว์ที่บาดเจ็บ และเล็บที่ยาวเกินไป แมวควรจะสุขภาพดีและดูมีความสุข
    • ถามถึงแมวที่คุณกำลังคิดจะซื้อ ถามผู้เพาะพันธุ์ว่ามันจะมีปัญหาสุขภาพ พฤติกรรม หรือต้องการการดูแลพิเศษใดๆ หรือไม่ ผู้เพาะพันธุ์ควรจะฟังดูมีความรู้และซื่อตรงในการตอบประเด็นเหล่านี้
    • ให้แน่ใจว่าแมวดูเข้ากับสัตว์ตัวอื่นหรือคนได้อย่างไม่มีปัญหา
    • ให้สงสัยในราคาที่ถูกเกินจริงไว้ก่อน แมวพันธุ์ที่ได้รับการออกแบบผสมที่ควรมีราคาหลายหมื่นบาทถูกมาขายในราคาหลักพันนั้นแสดงว่าผู้เพาะพันธุ์ทำอะไรแบบชุ่ยๆ ขอไปทีหรือไม่ก็กำลังเล่นไม่ซื่อ ในอีกทางหนึ่ง ราคาที่สูงลิบลิ่วก็ไม่ได้การันตีว่าเป็นพันธุ์คุณภาพดี
  3. คุณอาจพบโฆษณาออนไลน์หรือในหนังสือพิมพ์ที่ขายแมวหรือ “แมวฟรีสำหรับบ้านที่อบอุ่น” มันเป็นไปได้ที่จะรับเลี้ยงแมวจากละแวกนั้นหรือกระทั่งคนแปลกหน้าจากในเน็ต แต่ก็ควรตระหนักว่ามีความเสี่ยงอยู่เหมือนกัน
    • คนที่เสนอให้แมวอาจไม่รู้รายละเอียดในเรื่องนิสัย ประวัติ หรือสายพันธุ์ของมัน ให้แน่ใจว่าคุณได้ประวัติการรักษาและฉีดยากับเอกสารอื่นๆ จากคนที่เสนอให้แมว
    • หากมันเป็นแมวที่เสนอขาย คุณอาจขอเงินคืนลำบากหน่อยถ้าหากได้แมวมาแตกต่างจากที่ตกลงกันไว้
  4. ร้านขายสัตว์เลี้ยงอาจขายแมวที่ซื้อมาจากผู้เพาะพันธุ์ หรืออาจจะมี “ศูนย์รับเลี้ยง” ซึ่งจะเลี้ยงแมวที่ถูกช่วยเหลือมา ตระหนักไว้ก่อนว่าพนักงานประจำร้านขายสัตว์เลี้ยงอาจเป็นคนที่รักสัตว์ก็จริง แต่ยากที่พวกเขาจะมีความรู้เรื่องแมวมากเท่ากับคนที่ทำงานในศูนย์พักพิงสัตว์หรือกลุ่มช่วยเหลือสัตว์จะมี [20]
    • สอบถามทางร้านเสมอว่าพวกเขาได้แมวหรือลูกแมวมาขายจากที่ไหน ร้านบางแห่งอาจนำแมวมาจากโรงงานผลิตแมวที่เพาะแมวแบบไม่สนใจในจริยธรรมหรือความปลอดภัย ค้นหาข้อมูลของผู้เพาะแมวตัวนั้น พวกเขาควรมีความรู้ในสายพันธุ์ พฤติกรรมหรือปัญหาสุขภาพ และประวัติส่วนตัวของแมวตัวนั้น (อย่างครอบครัว เป็นต้น) แมวสายพันธุ์แท้ควรจะมีใบรับรองจากสัตวแพทย์และเอกสารอย่างใบลงทะเบียนหรือประกาศนียบัตรด้านสุขภาพ [21]
    • ถ้าร้านขายสัตว์เลี้ยงมีแมวจากศูนย์พักพิงหรือศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ ให้เลือกแมวเหล่านี้ การเลี้ยงแมวกำพร้าเหล่านี้แทนที่จะซื้อแมวจะทำให้คุณมั่นใจได้ว่าไม่ได้ส่งกำไรไปให้โรงงานผลิตแมว
  5. บางครั้ง อาจมีแมวโผล่มาตรงหน้าประตูบ้านและร้องหาความรัก นี่เป็นหนทางหนึ่งแน่ๆ ที่คุณจะมีแมวเข้ามาในชีวิต กระนั้นยังมีบางสิ่งต้องพึงพิจารณาก่อน: [22]
    • ให้แน่ใจว่าแมวตัวนั้นไม่ได้มีใครเป็นเจ้าของอยู่ก่อนแล้ว บางครั้ง เจ้าแมว “จรจัด” ที่ว่าแค่หลบหนีเจ้านายของมันมา ซึ่งเขาก็อยากได้ตัวมันกลับมากๆ ให้ลงโฆษณาหรือใบปิดหรือโพสต์ลงในเน็ตอธิบายรูปพรรณของแมวที่เจอ โทรสอบถามศูนย์สัตว์เลี้ยงในละแวกบ้านว่ามีรายงานสัตว์สูญหายบ้างไหม
    • จำไว้ว่าแมวจรจัดอาจมีปัญหาในด้านพฤติกรรม ชีวิตเร่รอนตามท้องถนนนั้นยากยิ่ง และแมวจรจัดอาจมีปัญหากับการปรับตัวเข้ากับชีวิตใหม่ในบ้าน โดยเฉพาะถ้าคุณมีสัตว์เลี้ยงในบ้านอยู่ก่อนแล้ว
    • พาแมวไปให้สัตวแพทย์ตรวจก่อนพาเข้าบ้าน แมวเป็นพาหะนำโรคและเชื้อโรคได้ ก่อนจะเอาแมวจรจัดมาเลี้ยง ให้สัตวแพทย์ตรวจเพื่อความมั่นใจว่ามันมีสุขภาพดีเสียก่อน
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

เลือกแมว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ก็เหมือนมนุษย์นั่นแหละ แมวไม่ควรถูกตัดสินจากความงามภายนอกเพียงอย่างเดียว มันไม่ใช่เรื่องผิดหรอกที่จะถูกดึงดูดให้นึกชอบแมวหน้าตาน่าเอ็นดู แต่ให้แน่ใจว่าคุณได้พิจารณามากกว่าแค่รูปพรรณในตอนตัดสินใจ [23]
  2. ศูนย์พักพิงสัตว์หลายแห่งมีการให้คำปรึกษาเรื่องเลี้ยงดูฟรี ซึ่งพวกเขาจะสอบถามคุณในเรื่องความต้องการ วิถีชีวิต และบุคลิก พร้อมจะให้คำแนะนำจากจุดนั้นได้ นี่เป็นวิธีที่ดีในการได้พบแมวที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณ [24]
  3. มันจะช่วยให้เห็นภาพว่าแมวจะมีปฏิสัมพันธ์กับทุกคนในบ้านอย่างไร โดยเฉพาะกับเด็กๆ ถ้าเป็นไปได้ ให้พาทุกคนไปหาแมวดูว่าเข้ากันได้ดีไหม
  4. สอบถามพนักงานหรืออาสาสมัครให้ช่วยแสดงวิธีอุ้มแมวให้ดู แมวแต่ละตัวมีความชอบถูกอุ้มต่างกันและคนที่นั่นอาจคุ้นเคยมากกว่า นี่จะช่วยป้องกันการขบกัดหรือใช้เล็บข่วน ถ้าแมวต่อต้าน ก็อย่าบังคับมัน แมวบางตัวน่ารักใคร่ก็จริง แต่ไม่ชอบถูกอุ้ม บางตัวก็อาจไม่คุ้นกับสภาพแวดล้อมแปลกใหม่และต้องการเวลาในการสร้างความคุ้นเคย [25]
    • ทำมือเป็นกำปั้นแล้วยื่นออกไปหาแมว นี่เป็นวิธีที่มนุษย์เลียนแบบการทักทายกันของแมว [26] หากแมวเอาหัวโหม่งมือคุณ นี่เป็นการทักทายด้วยไมตรี แต่ถ้ามันเมินหน้าหนีหรือถอยกรูด แสดงว่ามันไม่อยากพบใครหน้าใหม่ๆ
    • หากแมวพยายามจะข่วนหรือขบคุณ นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณไม่ควรเลี้ยงดูมัน แมวหลายตัวที่จะข่วนและขบกัดเวลาที่มันกลัวหรือกังวลใจ อย่างไรก็ดี แมวที่กัดและข่วนก็ไม่ใช่ตัวเลือกที่เหมาะนักสำหรับบ้านที่มีเด็กเล็ก
  5. ให้แน่ใจว่าแมวแข็งแรงดี ถ้าคุณเห็นจุดที่มีปัญหา มันไม่จำเป็นต้องถือเป็นสัญญาณว่าห้ามเอาแมวตัวนั้นไปเลี้ยง บางทีแมวในศูนย์พักพิงก็มีปัญหาสุขภาพที่ต้องการเพียงความรักและความเอาใจใส่สักนิดก็ทำให้หายแล้ว นี่คือสิ่งที่คุณควรต้องมองหา: [27]
    • ดวงตา ควรจะสุกใสและไร้ขี้ตาเกรอะกรัง
    • จมูก ไม่ควรมีขี้มูก และแมวไม่ควรมีอาการจามบ่อยเกิน
    • หู ควรจะไร้ขี้หูสีเข้มและไม่ควรมีกลิ่นเหม็น แมวไม่ควรจะส่ายหัวหรือเอาอุ้งเท้าเกาใบหูบ่อยๆ
    • หน้าอก เสียงหายใจของแมวควรกระจ่างชัด ปราศจากเสียงฟืดฟาดหรือการไอ
    • ขน ควรจะสะอาดและปราศจากปรสิต อย่างเช่นเห็บเหา มองหาเห็บตามซอกแขนและท้อง
    • ผิว ควรจะสะอาดและไร้ร่องรอยบาดเจ็บ หากแมวมีรอยแผลเก่า มันควรสะอาดและดูหายดี
    • ก้น มันควรสะอาดและไม่มีร่องรอยของท้องเสียหรือเป็นพยาธิ (ตรวจดูกระบะทรายว่ามีสัญญาณท้องเสียหรือพยาธิด้วย)
  6. จำเป็นมากที่ต้องหาข้อมูลแมวให้มากที่สุดก่อนทำการตัดสินใจ คำถามที่ควรถามก็เช่น: [28]
    • แมวอยู่ที่นี่มานานแค่ไหน
    • ทำไมมันถึงมาอยู่ที่นี่ได้
    • แมวตัวนี้เข้ากับแมวตัวอื่น พนักงาน หรือสัตว์ชนิดอื่นได้ดีแค่ไหน
    • แมวมีนิสัยยังไง
    • พนักงาน/อาสาสมัคร/ผู้เพาะพันธุ์ห่วงมันจุดไหนบ้าง
    • แมวมีปัญหาสุขภาพด้านไหนหรือเปล่า
  7. โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกลูกแมวพันธุ์แท้ เป็นเรื่องสำคัญมากที่พวกมันจะต้องฝึกเข้าสังคมได้กับคนหลากหลายรูปแบบ ทั้งภาพ เสียง กลิ่น และประสบการณ์อื่นๆ ภายในช่วง 12 สัปดาห์แรกนับแต่เกิด หากไม่มีการฝึกที่ถูกต้อง ลูกแมวจะโตมาเป็นแมวที่ไม่ชอบคน หรือกระทั่งมีนิสัยก้าวร้าว จากการศึกษาพบว่าลูกแมวที่ได้สัมผัสกับมนุษย์มาเยอะๆ ในช่วง 7 สัปดาห์แรกจะเติบโตมาเป็นแมวที่สุขภาพจิตดีและเป็นมิตรมากกว่า [29]
    • การฝึกเข้าสังคมที่ดีจะรวมไปถึงการอุ้มและลูบหัวแมวสองสามนาทีเป็นอย่างต่ำทุกวันไม่นานหลังจากที่มันเกิด อย่างไรก็ตาม ลูกแมวเกิดใหม่ไม่ควรจะถูกจับแยกออกมาจากแม่แมวเกินกว่าสองสามนาทีในแต่ละครั้ง การทำเช่นนั้นจะทำให้แม่แมวกังวลใจหรืออาจทำให้เธอปฏิเสธลูกแมวตัวนั้นไปเลยก็ได้
    • การฝึกเข้าสังคมที่ดีจะรวมไปถึงการอุ้มและลูบหัวแมวสองสามนาทีเป็นอย่างต่ำทุกวันไม่นานหลังจากที่มันเกิด อย่างไรก็ตาม ลูกแมวเกิดใหม่ไม่ควรจะถูกจับแยกออกมาจากแม่แมวเกินกว่าสองสามนาทีในแต่ละครั้ง การทำเช่นนั้นจะทำให้แม่แมวกังวลใจหรืออาจทำให้เธอปฏิเสธลูกแมวตัวนั้นไปเลยก็ได้
    • ให้แน่ใจว่าลูกแมวไม่ได้รับการฝึกเข้าสังคมแบบที่มองนิ้วมือนิ้วเท้าเป็นของเล่น ลูกแมวมักเผลอข่วนหรือขบขณะเล่น แต่ไม่ควรเสริมส่งพฤติกรรมเช่นนี้ ลูกแมวควรถูกจับไปให้เล่นของที่เหมาะสมถ้ามันเริ่มข่วนหรือขบ
    • ลูกแมวควรได้พบคนหลากหลายจนมันไม่อายคนแปลกหน้า
  8. การที่มีลูกแมวตัวน้อยให้เลือกมากมาย มันจึงยั่วใจให้มองหาความน่ารักน่าชังจนลืมแมวที่โตกว่า ทว่าแมวโตกว่าก็มีข้อดีอยู่บ้างเช่น: [30]
    • บุคลิกและนิสัยของมันมักจะอยู่ตัวแล้ว คุณจึงรู้ว่ามันจะทำตัวยังไงหรือมีนิสัยยังไงได้ดีกว่า
    • แมวที่โตกว่ามักได้รับการฝึกให้ใช้กระบะทรายมาแล้วและไม่จำเป็นต้องมาฝึกดูแลตรงจุดนี้
    • แมวที่โตกว่ามักนิ่งสงบกว่าและเข้ากับเด็กเล็กดีกว่า
    • ถ้าแมวโตกว่าของคุณไม่ได้รับการฝึกเข้าสังคมตอนยังเป็นลูกแมว คุณยังสามารถสอนมันได้ อาจจะใช้เวลานานขึ้น แต่ถ้าอดทนฝึกให้ แม้แต่แมวโตเต็มวัยก็ยังพยศน้อยลง [31]
  9. หาทางรู้ว่าแมวที่คุณสนใจรับเลี้ยงไม่ได้ผูกพันเป็นคู่กับแมวตัวอื่น. แมวบางครั้งมายังศูนย์พักพิงโดยผูกพันกับแมวอีกตัวแล้วหรือมาผูกมิตรกันที่ศูนย์ เมื่อจับมันแยกกัน มันจึงมีอาการทุกข์ใจและยากจะผูกมิตรกับสัตว์เลี้ยงตัวอื่นๆ อีก [32]
    • ถ้าคุณกำลังคิดจะเลี้ยงแมวสองตัว แมวที่สนิทสนมกันแล้วเป็นตัวเลือกที่ดี เพราะมันจะคอยคลายความเครียดให้แก่กันในระหว่างการเปลี่ยนที่อยู่
  10. ถ้ามีให้ดูการทดสอบและการฉีดวัคซีนที่แมวได้รับมา นี่จะช่วยในการพิจารณาสุขภาพโดยรวมของแมวและค่าใช้จ่ายในการฉีดวัคซีนในอนาคต
    • ปกติจะต้องตรวจโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องในแมว (Feline Immunodeficiency Virus - FIV) กับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวในแมว (Feline Leukemia -FeLV) ก่อนจะนำกลับบ้านที่มีแมวตัวอื่นอยู่แล้ว โรคเหล่านี้สามารถแพร่สู่สัตว์ตัวอื่น จึงเป็นความคิดที่ดีถ้าจะตรวจสอบก่อนเลี้ยง ไม่ว่าคุณจะเลี้ยงแมวอยู่แล้วที่บ้านหรือไม่
  11. สอบถามว่ามีการให้สัตวแพทย์มาตรวจรวมอยู่ในการซื้อหรือรับเลี้ยงแมวหรือไม่. ในหลายๆ กรณีนั้นมันจะถูกรวมหรือบังคับรวมอยู่แล้ว ปกตืคุณจะได้รับอนุญาตให้จัดตารางเวลานัดพบเผื่อได้สังเกตเห็นในสิ่งที่มองข้ามไป แถมยังช่วยได้มากที่ได้พูดคุยกับสัตวแพทย์ว่าแมวตัวใหม่นี้ต้องการอะไรบ้าง
    • ถ้าคุณมีแมวหรือสัตว์เลี้ยงตัวอื่นอยู่ในบ้าน ทางที่ดีพาแมวตัวใหม่ไปพบสัตวแพทย์ก่อนพาเข้าบ้าน [33]
  12. ศูนย์พักพิงหลายแห่งยินยอมให้คุณพาแมวกลับบ้านไป “ทดลองอยู่” ในช่วงระยะสั้นๆ (มักจะสองสามคืนถึงหนึ่งสัปดาห์) ถ้าคุณสามารถทำได้ มันจะช่วยเพิ่มความมั่นใจว่าแมวตัวนี้สามารถปรับตัวเข้ากับครอบครัวและสัตว์ตัวอื่นในบ้านได้
    • จำไว้ว่าแมวอาจจะวิตกกังวลในบ้านคุณตอนแรก ให้อดทนในระหว่างที่มันปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ศูนย์พักพิงหลายแห่งมีช่วงเวลาเปิดให้เยี่ยมชม วิธีดีที่สุดในการเห็นนิสัยแท้จริงของแมวคือไปแต่หัววัน ในตอนเย็นนั้นแมวหลายตัวถูกอุ้มและจับกันแบบไม่ปราณีมาทั้งวัน และพวกมันอาจง่วงนอนหรือพร้อมจะข่วนใส่คุณถ้าโดนจู้จี้มากเกินไป
  • ซื้ออุปกรณ์เสริม (กระบะทราย ทรายแมว อาหารแมว ชามอาหาร ของเล่น เป็นต้น) ก่อนจะได้แมวมาที่บ้าน หาสัตวแพทย์มาตรวจก่อนเลี้ยง ถ้าวางแผนดีๆ คุณสามารถนัดสัตวแพทย์ตรวจในวันที่ไปรับแมวมาแล้วแวะตรวจระหว่างทางกลับบ้านเลยก็ได้
  • เป็นเจ้าของแมวที่มีความรับผิดชอบและมีความรู้: หาซื้อและอ่านคู่มือการดูแลแมวก่อนไปเลือกแมว แมวแต่ละสายพันธุ์มีอารมณ์ความรู้สึก มีสิ่งที่ต้องใส่ใจดูแล และมีปัญหาสุขภาพต่างกันที่คุณต้องรู้ก่อน และหาข้อมูลเพิ่มเติมว่าคุณต้องจ่ายค่าฉีดวัคซีนต่อปีเท่าไหร่ และโรคหรือปัญหาด้านสุขภาพใดบ้างที่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีก
  • หลังจากที่แมวถูกทำหมัน ปกติจะไม่มีความแตกต่างของพฤติกรรมหรือความเป็นมิตรระหว่างตัวผู้กับตัวเมีย เว้นแต่ตัวผู้จะยังทำเครื่องหมายบอกอาณาเขตของมันมากกว่าตัวเมียทั้งที่พวกมันถูกทำหมันมาก็ตาม
  • ทันทีที่นำแมวมาที่บ้าน เป็นเรื่องปกติที่ตอนแรกมันจะมีท่าทางเขินอาย แมวต้องการเวลาในการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ที่เป็นมิตรและปลอดภัย
  • กรุณาตระหนักไว้ก่อนว่าบุคลิกนิสัยของลูกแมวมีสิทธิเปลี่ยนไปเมื่ออยู่ไปนานเข้า ขึ้นอยู่กับว่าคุณดูแลอุ้มมันมากน้อยแค่ไหน ปฏิกิริยาต่อการถูกอุ้มหรือลูบหัวของลูกแมวนั้นฝึกได้ง่ายกว่าปฏิกิริยาของแมวตัวเต็มวัย
โฆษณา

คำเตือน

  • ให้ระวังร้านขายสัตว์เลี้ยงที่พยายามคะยั้นคะยอให้คุณซื้อแมวโดยที่ไม่สนใจบอกขั้นตอนข้างต้นกับคุณ เห็นได้ชัดว่าพวกเขาสนใจเงินมากกว่าความสนใจของคุณหรือของแมว ร้านที่ดีจะยินดีให้คุณได้อุ้มแมวตามต้องการ ร้านที่ดีที่สุดจะมีห้องหับเป็นที่เป็นทางแบบมีเก้าอี้กับผ้าเช็ดตัวแมวพร้อมให้คุณได้พบแมวโดยไม่ต้องอุ้มมันเลย
  • ระมัดระวังเวลาจะนำแมวจรจัดเข้าบ้าน แม้กระทั่งแมวที่ดูแข็งแรงยังอาจเป็นพาหะของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวในแมว, โรคไข้กาฬหลังแอ่นและโรคอื่นๆ ซึ่งจะทำให้แมวที่มีอยู่แล้วในบ้านตายลงได้ นำแมวจรจัดไปให้สัตวแพทย์ตรวจก่อนนำเข้าบ้านเสมอ


โฆษณา
  1. https://www.petfinder.com/pet-adoption/cat-adoption/cat-adoption-checklist/
  2. http://www.aaaai.org/conditions-and-treatments/allergies/pet-allergy.aspx
  3. http://www.peteducation.com/article.cfm?c=1+2230&aid=2924
  4. http://www.animalplanet.com/breedselector/catselectorindex.do
  5. http://www.meowfoundation.com/adopt/selecting-a-cat/
  6. http://www.humanesociety.org/issues/adopt/tips/adopting_from_shelter_rescue.html?credit=web_id157868056
  7. http://www.petmd.com/cat/pet_lover/MM_top5_things_to_think_about_before_getting_a_cat
  8. http://www.humanesociety.org/issues/adopt/tips/adopting_from_shelter_rescue.html?credit=web_id157868056
  9. http://www.humanesociety.org/animals/cats/tips/getting_a_cat.html?referrer=https://www.google.com/
  10. http://www.petsadviser.com/animal-welfare/kitten-mills/
  11. http://www.humanesociety.org/animals/cats/tips/getting_a_cat.html?referrer=https://www.google.com/
  12. http://www.petsadviser.com/animal-welfare/kitten-mills/
  13. http://www.humanesociety.org/animals/cats/tips/getting_a_cat.html?referrer=https://www.google.com/
  14. http://www.vetstreet.com/dr-marty-becker/find-the-perfect-cat-at-the-shelter
  15. http://www.vetstreet.com/dr-marty-becker/find-the-perfect-cat-at-the-shelter
  16. http://www.humanesociety.org/animals/cats/tips/choosing_cat.html
  17. http://www.cathealth.com/how-and-why/greeting-a-cat
  18. http://www.petsathome.com/shop/en/pets/advice/cat-care-advice/cat-health-centre/cat-healthy-signs
  19. ttp://princetonvet.net/10-tips-to-choose-the-right-shelter-cat/
  20. https://www.aspca.org/pet-care/virtual-pet-behaviorist/cat-behavior/socializing-your-kitten
  21. http://www.humanesociety.org/animals/cats/tips/getting_a_cat.html?referrer=https://www.google.com/
  22. https://www.aspca.org/pet-care/virtual-pet-behaviorist/cat-behavior/socializing-your-kitten
  23. http://www.icatcare.org/advice/cat-care/thinking-getting-cat
  24. http://www.catcare.com/faq.htm

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 14,307 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา