ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

แมวก็เหมือนคน มีไข้ได้ ไม่ได้แปลว่าอาการหนัก เป็นการตอบสนองของภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ เพื่อให้ร่างกายต้านความเจ็บป่วยต่างๆ โดยกำจัดแบคทีเรียที่ไวต่อความร้อน นอกจากนี้อุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้นจากการเป็นไข้ ยังช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ไปซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บเสียหายอีกด้วย แต่ก็มีบางกรณีเหมือนกัน ที่แมวไข้ขึ้นแล้วอันตราย ถ้าแมวป่วย เป็นไข้ ต้องลดไข้เพื่อให้แมวฟื้นตัวเร็วยิ่งขึ้น มียาหลายตัวที่ให้แมวกินเพื่อลดไข้ได้ ที่สำคัญคือต้องดูแลให้แมวผ่อนคลายสบายตัวที่สุด เท่านี้ก็หายไข้กลับมาเป็นปกติโดยเร็ว

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

ลดไข้เองที่บ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปกติเวลาวัดไข้ทางรูก้นของแมว จะได้อุณหภูมิประมาณ 38°C - 39°C (100 - 102°F) [1] ถ้าน้องเหมียวค่อนข้างดื้อ วัดไข้เองได้ยาก ให้ลองสังเกตอาการภายนอกต่อไปนี้ดู เพราะแปลว่าอาจมีไข้ [2]
    • ไม่ค่อยอยากอาหาร
    • เซื่องซึม
    • นิ่งขึ้น ไม่ร่าเริง
    • อ่อนเพลีย
    • ขนร่วงเยอะเป็นพิเศษ
    • เก็บตัว ไม่สุงสิงกับแมวตัวอื่น
    • หายใจหอบถี่ หายใจตื้น
    • ตัวสั่น
    • ไม่ค่อยเลียแต่งขนตัวเองอย่างเคย
    • ส่วนใหญ่ที่แมวมีไข้ เป็นเพราะเจ็บป่วยด้วยโรคอื่น ให้สังเกตว่าแมวมีอาการอื่นๆ เช่น อาเจียน ท้องเสีย ไอ จาม หรือผิวบวมพอง ร่วมด้วยหรือเปล่า เพราะแปลว่าแมวไม่ได้มีไข้อย่างเดียว
    • บางทีแมวก็เป็นไข้โดยที่ไม่แสดงอาการอะไร ถ้ามีอะไรผิดสงสัย ให้พาไปตรวจร่างกายกับคุณหมอจะดีกว่า
  2. อาการภายนอกพอบอกได้ว่าแมวมีไข้ก็จริง แต่จะชี้ชัดลงไปได้ ต้องใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้แมวจริงๆ ซะก่อน คุณ วัดไข้น้องเหมียว ได้ทั้งทางก้นและทางหูเลย [3]
    • รวบรวมอุปกรณ์ ที่ต้องใช้คือเทอร์โมมิเตอร์ เจลหล่อลื่น (เช่น ปิโตรเลียมเจลลี่ หรือ K-Y) แอลกอฮอล์ และทิชชู่ อย่าลืมขนมแมวไว้ปลอบใจด้วย
    • ถ้าใช้ปรอทวัดไข้แท่งแก้ว ให้เขย่าจนปรอทลงมาต่ำกว่าเส้น 35°C (96°F) แต่จริงๆ ถ้าเป็นเทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอลได้จะดีที่สุด หรือจะเลือกใช้ที่วัดไข้ทางหู สำหรับน้องหมาน้องแมวโดยเฉพาะก็ได้
    • ถ้าจะวัดไข้ทางก้น ให้หล่อลื่นเทอร์โมมิเตอร์ก่อน
    • ใช้แขนข้างหนึ่งอุ้มประคองน้องแมว หรือจะหาคนมาช่วยอุ้มก็ได้ จากนั้นยกหางเปิดขึ้น
    • เสียบที่วัดไข้เข้าไปในรูก้นของน้องแมว ให้ลึกประมาณ 1 นิ้ว ถ้าเป็นปรอทวัดไข้ ให้เสียบคาไว้ 2 นาที แต่ถ้าเป็นแบบดิจิตอล ได้ยินเสียงติ๊ดเมื่อไหร่ ก็เอาออกได้เลย
    • ทำความสะอาดที่วัดไข้ด้วยแอลกอฮอล์ล้างแผลและทิชชู่
    • อย่าลืมให้ขนมน้องแมวเป็นการปลอบใจด้วย
    • ถ้าแมวมีไข้สูงเกิน 39°C (102°F) ให้รีบพาไปหาสัตวแพทย์โดยด่วน เพราะไข้สูงมากๆ จะเป็นอันตรายต่ออวัยวะภายในได้ [4]
    • ถ้าวัดไข้แมวเองไม่ได้ พาไปหาหมอจะดีที่สุด
  3. ลองใช้นิ้วกดเบาๆ ตามจุดต่างๆ ของร่างกายแมวดู [5] ว่ามีอาการบาดเจ็บต่างๆ หรือไม่ เช่น กระดูกแตกหรือหัก ต่อมน้ำเหลืองโต มีฝี แผลติดเชื้อ หรือเนื้องอก เพราะทั้งหมดจะมีไข้ร่วมด้วย [6]
    • บางทีก็คลำหากระดูกหักไม่เจอ เพราะเวลาแมวกระดูกแตกหรือหัก จะเกิดอาการบวมช้ำจนปิดมิดได้ ถ้ากระดูกแตกหรือหักจริง เวลากดโดน แมวจะแสดงอาการเจ็บปวดออกมา ขอให้กดหรือคลำหาอาการบาดเจ็บตามตัวแมวอย่างเบามือ [7]
    • ถ้าต่อมน้ำเหลืองบวม จะคลำเจอแถวๆ ใต้ขากรรไกร และแถวๆ ไหล่ของแมว บางทีที่ด้านหลังของขา หรือแถวขาหนีบ ก็บวมขึ้นมาได้ [8]
    • ถ้ามีอาการไหนก็ตามที่ว่ามา ให้รีบพาแมวไปหาหมอ เพราะเป็นอาการที่ต้องได้รับการรักษาโดยด่วน
    • ถ้าไม่มีอาการตามที่ว่า เป็นไปได้ว่าแมวไข้ขึ้นเพราะการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ ถ้าเป็นไปได้ให้พาแมวไปตรวจร่างกายกับสัตวแพทย์ จะได้รู้ว่ามีการติดเชื้อที่ไหนหรือเปล่า ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ เว้นแต่แมวจะมีไข้ติดต่อกันเกิน 24 ชั่วโมง
    • ถ้าแมวมีไข้นานเกิน 24 ชั่วโมง ให้รีบพาไปตรวจรักษากับสัตวแพทย์ด่วน
  4. ร่างกายแมวระบายความร้อนทางต่อมเหงื่อที่อยู่ตามอุ้งตีน และด้วยการอ้าปากหายใจ คุณช่วยลดไข้ให้น้องแมวได้ ถ้าทำให้อุณหภูมิร่างกายของแมวเย็นลง หาห้องมืดๆ เย็นๆ ถ้าพื้นปูกระเบื้องหรือเป็นพื้นหินได้จะดีมาก แบบนี้แมวจะได้ยืดเส้นยืดสาย ถ่ายเทความร้อนในตัวไปที่กระเบื้องเย็นๆ แทน วิธีอื่นๆ ที่ช่วยลดไข้แมวได้ก็เช่น [9]
    • ตั้งพัดลมที่พื้น ให้ลมเย็นๆ พัดไปทางแมว
    • ถ้าแมวไม่ค่อยดุ ไม่ค่อยดื้อ อาจจะลองเช็ดตัวเบาๆ โดยใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาด หรือใช้ขวดสเปรย์พ่นน้ำพอให้ขนชื้นๆ พอน้ำระเหยไป จะช่วยลดไข้ให้แมวได้
  5. แมวเป็นไข้ได้ทั้งเพราะขาดน้ำ และเป็นไข้แล้ว ทำให้ ขาดน้ำ เพราะงั้นต้องเตรียมน้ำสะอาดสดใหม่ไว้ให้แมวพร้อมดื่มเสมอ ถ้าแมวมีปัญหาไม่ยอมดื่มน้ำ หรือดื่มน้ำเองไม่ได้ ต้องให้น้ำแมวโดยใช้กระบอกฉีด (เหมือนเข็มฉีดยาที่ ไม่มีเข็ม ) [10] ถ้าแมวได้ดื่มน้ำเพียงพอ จะช่วยลดไข้ได้ (สังเกตว่าเวลาพาแมวไปหาหมอแล้ว มักจะมีการให้น้ำเกลือทางสาย) [11]
    • ส่วนใหญ่แมวที่มีไข้ จะไม่ค่อยอยากลุกเดินหรือขยับตัว เราเลยต้องเตรียมน้ำดื่มไว้ใกล้ตัวแมว หรือใช้ฟองน้ำชุบน้ำอุ่นนิดๆ มาบีบใส่ปากใส่เหงือกแมวให้พอได้ดื่มน้ำ
    • นอกจากน้ำเปล่าแล้ว คุณสามารถให้แมวที่มีไข้ ดื่ม Gatorade หรือเครื่องดื่มเกลือแร่สำหรับเด็กได้ด้วย น่าจะช่วยปรับสมดุลเกลือแร่ในร่างกายแมว โดยเฉพาะกรณีที่แมวอาเจียนหรือท้องเสียมาก่อน [12] [13] จะดูด Gatorade ใส่กระบอกฉีด แล้วเอาไปป้อนให้แมวก็ได้
    • ถ้าแมวไม่ยอมให้คุณป้อนน้ำด้วยกระบอกฉีด ลองทำน้ำเปล่าหรือ Gatorade ให้เป็นน้ำแข็งดู แมวบางตัวก็ชอบเลียน้ำแข็งเย็นๆ แทนการดื่มน้ำ (ความเย็นจะช่วยลดไข้ให้แมวได้)
    • ห้าม ให้แมวดื่มนมเด็ดขาด! เพราะแมวแพ้แลคโตสรุนแรง ถ้าไปดื่มนม แมวจะป่วย เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียได้ อันตรายมาก [14]
  6. เวลาเป็นไข้ ร่างกายจะใช้พลังงานมหาศาล เลยทำให้แมวอ่อนแอลงได้ ระหว่างนี้แมวมักจะไม่อยากอาหารปกติ ต้องเสริมด้วยอาหารอ่อนหรืออะไรนิ่มๆ แทน เช่น ไข่คน [15] หรือเอาทูน่ากระป๋องไปปั่นในเครื่องผสมอาหาร [16] can be good options.
    • ถ้าแมวไม่ยอมกินทั้งอาหารปกติและอาหารอ่อน ให้ป้อนอาหารแทนนม (milk replacer) ด้วยกระบอกฉีด (มีขายตามร้านอาหารและของใช้สัตว์เลี้ยง) เป็นอาหารสำหรับแมวป่วยหรือลูกแมวที่ยังต้องให้นมแต่ไม่มีแม่โดยเฉพาะ เลือกกระบอกฉีด (กระบอกฉีดยาแบบไม่มีเข็ม) ที่จุได้ 5 cc - 10 cc
    • เวลาป้อนให้สอดปลายกระบอกฉีดเข้าไปที่มุมปากของแมว ตรงส่วนที่ติดกับแก้ม ปฏิกิริยาตามธรรมชาติของหมาและแมว จะกลืนอะไรที่ผ่านเข้าไปในปากตรงส่วนนี้โดยอัตโนมัติ
    • ถ้าแมวกินอาหารตามปกติไม่ได้ คุณหมอมักจะแนะนำให้กินอาหารเสริมเหลวแบบแคลอรี่สูงไปสักพัก จนกว่าจะอาการดีขึ้น และเริ่มกลับมากินอาหารตามปกติได้ [17]
  7. ให้แมวกินวิตามินบีและอาหารเสริมเพิ่มพลังงาน. แมวจะได้รับสารอาหารที่จำเป็น ก็ต่อเมื่อมีความอยากอาหาร แนะนำให้เสริมวิตามินบีรวม และอาหารเสริมเพิ่มพลังงาน ลงในอาหารมื้อหลัก จะช่วยได้มาก [18]
    • วิตามินเอ และอาหารเสริมเพิ่มพลังงาน อย่าง Nutri-Plus Gel (วันละ 5 มล. นาน 5 วัน) จะช่วยแก้อ่อนเพลีย ช่วยเพิ่มสารอาหารที่จำเป็น
    • ตัวอย่างวิตามินบีรวมที่ดีมาก ก็คือ Coforta เพราะมี cyanocoblamin (3) เข้มข้นในปริมาณมาก ซึ่งจำเป็นต่อการเผาผลาญพลังงาน ให้ฉีดให้แมววันละ 0.5 - 2.5 มล. ติดต่อกัน 5 วัน จะฉีดใต้ผิวหนัง (Subcutaneously (SQ)) หรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (Intramuscularly (IM)) ก็ได้
      • ถ้าเป็นแมวตัวเล็ก หนัก 1 กก. หรือน้อยกว่า (ประมาณ 2 ปอนด์) ให้ฉีด 0.5 มล.
      • ถ้าแมวหนัก 2 - 6 กก. (4 - 13 ปอนด์) ให้ฉีด 1 มล.
      • ถ้าเป็นแมวตัวใหญ่ หนัก 7 - 9 กก. (15 - 20 ปอนด์) ให้ฉีด 2.5 มล.
      • สำหรับแมวน้ำหนักตัวอื่น ให้กะปริมาณวิตามินให้ใกล้เคียง หรือปรึกษาสัตวแพทย์เรื่องปริมาณวิตามินที่เหมาะสม เลือกปริมาณน้อยหน่อย จะปลอดภัยกว่า
    • อาหารเสริมที่มีส่วนประกอบต่อไปนี้ เป็นอันตรายต่อแมว ห้ามให้เด็ดขาด [19]
      • กระเทียม หรือหัวหอม
      • แคลเซียม
      • วิตามินดี
      • วิตามินซี
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ให้แมวกินยาและหาหมอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าแมวดูปกติดี แต่มีไข้ ผ่านไป 24 ชั่วโมงแล้วยังไม่ลด ให้พาไปหาหมอ แต่ถ้าแมวตัวซีดแถมมีไข้ ให้รีบพาไปหาหมอทันที การที่แมวมีไข้สูงนานๆ เป็นสัญญาณบอกว่ามีโรคอื่นที่ร้ายแรงกว่า พาไปหาหมอแล้วคุณหมอจะได้ตรวจร่างกาย หาสาเหตุที่ทำให้แมวไข้ขึ้น [20]
    • แจ้งประวัติน้องแมวโดยละเอียดด้วย ข้อมูลที่มีผลต่อการรักษาก็เช่น ไปที่ไหนมา สัมผัสกับสัตว์อื่นหรือเปล่า ฉีดวัคซีนหรือเจ็บป่วยแล้วมีการรักษาล่าสุดเมื่อไหร่ แมวแพ้อะไรไหม และอื่นๆ ที่คุณคาดเดาว่าน่าจะทำให้แมวไข้ขึ้น [21]
    • แมวไข้ขึ้นได้ด้วยหลายสาเหตุ เช่น [22]
      • ติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อรา
      • ร่างกายบาดเจ็บ กระทบกระเทือน
      • แพ้ภูมิตัวเอง
      • เนื้อเยื่อตายบางส่วน (Necrotic tissue)
      • เนื้องอก หรือมะเร็ง
    • จะเลือกวิธีรักษาได้ก็ต่อเมื่อรู้สาเหตุของอาการไข้ คุณหมอต้องตรวจเช็คหลายอย่าง จนรู้ว่าแมวไข้ขึ้นเพราะอะไร ส่วนใหญ่จะเป็นการตรวจเลือดและตรวจฉี่ [23]
  2. ถ้าแมวเป็นไข้เพราะติดเชื้อแบคทีเรีย ก็ต้องรักษาอาการติดเชื้อนั้นก่อน ปกติแค่ให้ยาปฏิชีวนะ ไข้ก็น่าจะลดแล้ว แต่ถึงยาปฏิชีวนะจะใช้ลดไข้แมวได้ แต่ก็ห้ามให้ยาแมวเองเด็ดขาด ให้พาแมวไปหาหมอ แล้วคุณหมอจะตรวจวินิจฉัย จ่ายยาปฏิชีวนะมาให้แมว ปกติยาปฏิชีวนะของแบคทีเรียแต่ละสายพันธุ์จะแตกต่างกันออกไป ถ้าไม่ตรงกัน จะรักษาไม่หาย ต้องให้คุณหมอเป็นผู้ตรวจวินิฉัยและจ่ายยาที่ถูกต้อง [24] ยาปฏิชีวนะที่ปลอดภัยต่อแมว และคุณหมอมักจ่ายให้ก็คือ [25]
    • Ampicillin และ Amoxicillin (20 มก. ต่อน้ำหนักตัวแมว 1 กก.) ยา 2 ตัวนี้จะเป็นยาน้ำแขวนตะกอน หาซื้อได้ตามร้านขายยา "ของคน"
    • Marbofloxacin (2 มก. ต่อน้ำหนักตัวแมว 1 กก.) เป็นยาเม็ด แต่ปรับปริมาณยายาก เพราะเม็ดยาเล็กมาก
    • Doxycycline (5 mg/kg) ถ้ายาสำหรับแมว จะเป็นยาเหลวข้น ปกติคุณหมอจะเป็นคนจ่ายยาตัวนี้ให้ในรูปของยาก้างปลา (Vibravet) มาในกระบอกฉีดพลาสติกตามปริมาณยาที่ต้องใช้
    • เวลาให้แมวกินยาปฏิชีวนะ ต้องให้ติดต่อกันจนครบ 1 อาทิตย์ (7 วัน) ย้ำว่าต้องให้กินจนครบ ถึงแมวจะอาการดีขึ้นแล้วก็ห้ามหยุดยาเอง เพราะจะทำให้กลับมาติดเชื้อ หรือเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะได้ [26]
  3. อีกชื่อคือ Metacam เป็นยาแก้ไขที่ปลอดภัยสำหรับแมว และถูกกฎหมายในหลายๆ ประเทศ แต่ต้องให้คุณหมอเป็นผู้แนะนำหรือจ่ายยาตัวนี้ให้เท่านั้น ปริมาณยาน้ำแขวนตะกอน meloxicam สำหรับแมว ที่แนะนำต่อวัน คือ 0.05 มก. ต่อน้ำหนักตัวแมว 1 กก. ให้กินยาพร้อมหรือหลังอาหาร ถ้าเป็นแมวหนัก 5 กก. (11 ปอนด์) จะต้องกินยา Metacam สำหรับแมว 0.25 มล. ด้วยกัน [27]
    • ปกติยา meloxicam จะมี 2 สูตร คือสำหรับน้องหมา (1.5 มก./มล.) และสำหรับน้องแมว (0.5 มก./มล.) สำคัญมากว่าคุณต้องให้ยาแมวถูกขนาน เพื่อไม่ให้แมวได้รับยาเกินขนาด
    • แมวที่จะกินยา Meloxicam ได้ ต้องเป็นแมวที่กินน้ำเยอะตามปกติ เพราะถ้าแมวขาดน้ำแล้วไปกินยาตัวนี้ จะมีผลต่อการทำงานของไต ยิ่งถ้าเลือดไปเลี้ยงไตน้อยลง อาจถึงขั้นไตวายได้เลย
  4. ให้แมวกินยาแอสไพริน เฉพาะ กรณีที่คุณหมอสั่งเท่านั้น. ยาแอสไพรินไม่เหมาะจะใช้ลดไข้แมวเท่าไหร่ เพราะทำให้เกิดอาการขาดน้ำ อาเจียน และอาการร้ายแรงอื่นๆ ได้ ต้อง ระวังมาก เวลาให้แมวกินยาแอสไพริน ต้องให้ในปริมาณที่คุณหมอสั่งเท่านั้น ห้ามให้ยาเกินขนาดเด็ดขาด [28]
    • ปริมาณที่แนะนำสำหรับแมว ก็คือ 2.5 มก. ต่อน้ำหนักตัวแมว 1 กก. (5 มก. ต่อน้ำหนักตัวแมว 1 ปอนด์) โดยให้ยาทุก 48 - 72 ชั่วโมง ให้ใช้ยาแอสไพรินสำหรับเด็ก ที่ปกติเม็ดละ 50 มก. หรือ 75 มก. เพราะปริมาณน้อยกว่าแบบผู้ใหญ่
    • ให้แมวกินยาแอสไพรินพร้อมอาหารและน้ำ ถ้าแมวกินยาแอสไพรินตอนท้องว่าง จะทำให้คลื่นไส้ได้
    • ปกติพอดูดซึมผ่านผนังกระเพาะอาหารเข้าไปแล้ว แอสไพรินจะแตกตัวเป็นกรดซาลิไซลิก (salicylic acid) แต่แมวจะขาดเอนไซม์ที่จำเป็นต่อการย่อยกรดซาลิไซลิก กรดซาลิไซลิกปริมาณมากเลยค้างอยู่ในร่างกายแมวเป็นเวลานาน ถ้าให้ยาเกินขนาดและ/หรือให้ยาเพิ่ม จะเป็นพิษต่อแมวได้ เพราะฉะนั้น สำคัญมากๆ ว่าต้องระวังปริมาณยาที่ป้อนแมวให้ดี
  5. สรีระของแมวเป็นเหตุให้ลดไข้ได้ยากกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆ หนึ่งในปัญหาก็คือแมวขาดเอนไซม์ในตับชื่อ glucuronyl transferase แปลว่าแมวจะย่อยยาหลายตัวที่ปกติคนกินแล้วปลอดภัยไม่ได้ หลายกรณี กระทั่งยาที่หมากินได้ ก็ยังไม่ปลอดภัยสำหรับแมว [29] ย้ำกันอีกทีว่าห้ามเอายาของคนให้แมวกินเองโดยเด็ดขาด ต้องเป็นไปตามคำแนะนำและการดูแลของคุณหมอ โดยเฉพาะต้องให้ในปริมาณที่ถูกต้องเหมาะสม ไม่อย่างนั้นแมวจะอาการหนักขึ้นหรือถึงแก่ชีวิตได้เลย [30] [31]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าแมวไม่ยอมดื่มน้ำกินอาหาร ให้รีบพาไปหาหมอ เพราะเป็นสัญญาณว่าน้องแมวกำลังป่วยหนัก ต้องรีบเข้ารับการรักษา
  • ห้ามให้แมวกินยาแอสไพรินเองเด็ดขาด เว้นแต่คุณหมอแนะนำ และบอกปริมาณที่เหมาะสมมา เพราะร่างกายของแมวไวต่อยาแอสไพรินมาก ถ้าคุณให้ยาเองในปริมาณที่ผิด แมวจะอาการทรุดหนักหรือถึงแก่ชีวิตได้เลย [32]
โฆษณา

คำเตือน

  • เรื่องเกี่ยวกับยา ต้องระวังไว้ดีกว่าแก้ โดยเฉพาะการเอายาคนให้แมวกิน เพราะส่วนใหญ่ยาของคนจะเป็นอันตรายต่อแมวมาก ถ้ากินยาที่คุณหมอให้ ตามปริมาณที่แนะนำ จะปลอดภัยที่สุด
  • ถ้าแมวไข้ขึ้นสูงเกิน 39ºC (102ºF) หรือไข้ขึ้นนานเกิน 24 ชั่วโมงไม่ยอมลด ต้องรีบไปหาหมอ
  • ถ้าไม่แน่ใจว่ายาตัวไหนให้แมวกินเพื่อลดไข้ได้บ้าง ก็อย่าเพิ่งให้กิน! โทรปรึกษาหรือพาไปหาหมอ ให้คุณหมอจ่ายยาให้ จะปลอดภัยที่สุด
  • ถ้าแมวไข้ขึ้นสูงเป็นพิเศษ ให้รีบพาไปหาหมอ
โฆษณา
  1. http://www.vcahospitals.com/main/pet-health-information/article/animal-health/managing-the-sick-cat/303
  2. http://pets.webmd.com/cats/guide/dehydration-cats
  3. http://pets.webmd.com/cats/guide/dehydration-cats
  4. http://www.vetinfo.com/cat-dehydration-treatment-with-pedialyte.html#b
  5. http://pets.webmd.com/cats/guide/cats-and-dairy-get-the-facts
  6. http://www.animalplanet.com/pets/2-eggs/
  7. http://www.animalplanet.com/pets/1-meat/
  8. http://www.petmd.com/cat/conditions/immune/c_ct_fever?page=2
  9. http://pets.webmd.com/cats/guide/cat-vitamins-and-supplements-do-they-work
  10. http://pets.webmd.com/cats/guide/cat-vitamins-and-supplements-do-they-work?page=3
  11. http://www.vcahospitals.com/main/pet-health-information/article/animal-health/fever-of-unknown-origin-for-cats/110
  12. http://www.petmd.com/cat/conditions/immune/c_ct_fever
  13. http://pets.webmd.com/cats/fevers-in-cats
  14. http://www.vcahospitals.com/main/pet-health-information/article/animal-health/fever-of-unknown-origin-for-cats/110
  15. http://pets.webmd.com/cats/antibiotics-for-cats
  16. http://www.petcarerx.com/article/antibiotics-for-cats/741
  17. http://pets.webmd.com/cats/antibiotics-for-cats
  18. http://www.catvets.com/public/PDFs/PracticeGuidelines/NSAIDsGLS.pdf
  19. http://pets.webmd.com/cats/guide/safe-cat-pain-medications
  20. http://pets.webmd.com/cats/guide/safe-cat-pain-medications
  21. https://www.avma.org/public/PetCare/Pages/Poison-pills-for-pets.aspx
  22. http://pets.webmd.com/cats/guide/safe-cat-pain-medications
  23. http://pets.webmd.com/cats/guide/safe-cat-pain-medications

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 280,636 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา