ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

แมวอาจจะเป็นฝีได้หลังจากที่มันถูกแมวหรือสัตว์ตัวอื่นกัด แบคทีเรียที่เข้าไปในแผลที่เกิดจากรอยกัดนี่เองคือสิ่งที่ทำให้เกิดฝี [1] ถ้าคุณคิดว่าแมวของคุณอาจจะเป็นฝี ให้พาแมวของคุณไปหาสัตวแพทย์เพื่อให้ดูแลแผลและให้ยาปฏิชีวนะ สัตวแพทย์ที่รักษาแมวของคุณจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการดูแลแผลและการให้ยา ในระหว่างที่แมวของคุณกำลังฟื้นตัว คุณจะต้องขังมันไว้และเฝ้าดูบาดแผลอย่างใกล้ชิด

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

การพาแมวไปให้สัตวแพทย์ดูแล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ร่างกายจะตอบสนองต่อรอยกัดโดยการส่งเซลล์เม็ดเลือดขาวมาเพื่อต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรีย จากนั้นเนื้อเยื่อรอบแผลจะบวมและเริ่มตาย ซึ่งนี่จะก่อให้เกิดโพรงที่เต็มไปด้วยหนองที่ประกอบด้วยเชื้อแบคทีเรีย เซลล์เม็ดเลือดขาว และเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว [2] วงจรนี้ยังคงดำเนินต่อไปและบริเวณนั้นจะบวมต่อไปอีก รอยบวมนั้นอาจจะแข็งหรือนิ่มก็ได้ อาการอื่นๆ ของฝีนั้นรวมไปถึง: [3]
    • อาการเจ็บหรือสัญญาณของความเจ็บปวด เช่น การเดินเขยก
    • สะเก็ดแผลเล็กๆ ที่มีอาการแดงหรือความอุ่นที่ผิวรอบๆ
    • มีหนองหรือของเหลวไหลซึมออกจากบริเวณนั้น
    • อาการขนร่วงเหนือบริเวณนั้น
    • การเลีย การดูแล หรือการแทะกัดที่บริเวณนั้น
    • อาการเบื่ออาหารหรือหมดแรง
    • รูเปิดที่มีหนองไหล
  2. คุณสามารถรักษาฝีที่มีหนองไหลเล็กน้อยได้ที่บ้าน แต่ฝีส่วนใหญ่นั้นต้องได้รับการรักษาจากสัตวแพทย์ [4] เมื่อคุณพาแมวไปที่คลินิกสัตวแพทย์ แมวจะได้รับการตรวจร่างกายอย่างเต็มรูปแบบ ส่วนใหญ่แมวจะมีไข้พร้อมกับฝีด้วยเนื่องจากร่างกายของมันกำลังต่อสู้กับการติดเชื้อ
    • ถ้าฝีเปิดและหนองไหล ก็อาจจะรักษาแมวได้โดยไม่ต้องใช้ยาระงับประสาท
    • ถ้าฝีไม่เปิด อาจจะต้องใช้ยาระงับประสาทแมวเพื่อที่จะผ่าฝี
  3. สัตวแพทย์อาจจะส่งหนองบางส่วนไปเพาะเชื้อสำหรับยาปฏิชีวนะ [5] การเพาะเชื้อนี้จะช่วยให้สัตวแพทย์หายาปฏิชีวนะที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดเพื่อนำมาใช้ได้ หลังจากเก็บตัวอย่างแล้วแผลฝีจะถูกผ่า (ถ้าไม่มีหนองและของเหลวไหลออกมา) เล็มแผล (ทำความสะอาดหนองและเศษเนื้อตาย) และรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ [6]
    • ให้แมวกินยาปฏิชีวนะตามที่กำหนดและกินยาให้หมด โทรหาสัตวแพทย์ถ้าคุณมีปัญหาในการให้ยากับแมวของคุณ [7]
  4. บางครั้งอาจจำเป็นต้องใส่ท่อระบายหนองซึ่งเป็นท่อที่ใช้เพื่อเปิดแผล ท่อเหล่านี้จะช่วยให้หนองไหลออกจากแผลอย่างต่อเนื่อง มิฉะนั้นหนองอาจจะก่อตัวต่อไปและทำให้เกิดปัญหากับแมวของคุณมากกว่าเดิม
    • ทำตามคำแนะนำของสัตวแพทย์เพื่อดูแลท่อระบายหนอง รวมทั้งดูว่าภาวะแทรกซ้อนใดที่อาจเกิดขึ้นจากท่อระบายหนอง และเมื่อไรที่จะต้องโทรไปหาสัตวแพทย์
    • สัตวแพทย์ที่รักษาแมวของคุณจะเอาท่อระบายหนองออกหลังจากใส่ท่อไปแล้ว 3-5 วัน [8]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

การดูแลฝีของแมวที่บ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การขังแมวของคุณให้อยู่ในห้องข้างในบ้านเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการทำให้มันปลอดภัยจากการบาดเจ็บมากขึ้นในขณะที่แผลสมานตัว [9] แผลจะมีหนองไหลอออกมาสักระยะหนึ่ง ดังนั้นอาจจะทำให้มีหนองจากแผลของแมวหยดลงบนพื้นและเฟอร์นิเจอร์ได้ จึงควรขังแมวไว้ในห้องจนกว่าฝีจะหายเพื่อป้องกันไม่ให้หนองหยดลงบนพรมและเฟอร์นิเจอร์
    • ขังแมวไว้ในห้องที่มีพื้นผิวที่ทำความสะอาดได้ง่าย อย่างเช่น ห้องน้ำ ห้องซักผ้า หรือบริเวณเก็บรองเท้า
    • ให้แน่ใจว่าห้องนั้นมีความอบอุ่นเพียงพอสำหรับแมวของคุณและคุณได้จัดเตรียมสิ่งจำเป็นไว้แล้ว เช่น อาหาร น้ำ กระบะขับถ่าย และผ้าห่มหรือผ้าเช็ดตัวนุ่มๆ ให้แมวนอน
    • ตรวจดูแมวของคุณบ่อยๆ ระหว่างที่ขังไว้เพื่อแสดงความรักและเพื่อให้แน่ใจว่ามันกินอาหาร ดื่มน้ำ และขับถ่ายตามที่มันควรจะเป็น
  2. แผลของแมวจะมีหนองที่ประกอบด้วยเลือด แบคทีเรีย และของเหลวทางชีวภาพอื่นๆ ไหลออกมา อย่าดูแลบาดแผลของแมวด้วยมือเปล่า ให้แน่ใจว่าคุณใส่ถุงมือไวนิลหรือถุงมือยางทุกครั้งที่คุณทำความสะอาดหรือตรวจสอบแผล
  3. คุณสามารถทำความสะอาดแผลของแมวด้วยน้ำอุ่น [10] หาเศษผ้าหรือผ้าขนหนูสะอาดๆ และชุบน้ำอุ่น จากนั้นใช้ผ้าเช็ดหนองจากแผลของแมว ล้างผ้าและทำซ้ำจนกว่าหนองที่มองเห็นจะหมดไป
    • ทำความสะอาดรอบบริเวณหนองไหลด้วยเศษผ้าหรือผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่น
  4. เอาสะเก็ดน้ำเหลืองและสะเก็ดแผลออกด้วยความระมัดระวัง. ถ้ามีสะเก็ดน้ำเหลืองหรือสะเก็ดแผลอยู่เหนือรูฝีที่ยังมีหนองอยู่ข้างใน คุณสามารถค่อยๆ เอาสะเก็ดน้ำเหลืองหรือสะเก็ดแผลออกได้โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเช็ดบริเวณนั้นให้เปียก คุณไม่จำเป็นต้องกังวลเกี่ยวกับสะเก็ดแผลถ้าไม่มีหนองหรืออาการบวม ถ้าคุณไม่แน่ใจให้โทรหาสัตวแพทย์ที่รักษาแมวของคุณก่อนเสมอ
    • เพื่อขจัดสะเก็ดน้ำเหลืองหรือสะเก็ดแผลที่เกิดขึ้นเหนือแผลของแมว ให้ชุบผ้าขนหนูในน้ำอุ่น จากนั้นให้บิดน้ำออกและวางผ้าไว้เหนือบาดแผล วางค้างไว้สองสามนาทีเพื่อช่วยให้สะเก็ดน้ำเหลืองหรือสะเก็ดแผลอ่อนตัว จากนั้นค่อยๆ ใช้ผ้าเช็ดแผล ทำขั้นตอนนี้ 2-3 ครั้งจนกว่าสะเก็ดน้ำเหลืองหรือสะเก็ดแผลจะอ่อนตัวและหลุดออกจากแผล
    • ฝีจะใช้เวลาก่อตัวประมาณ 10-14 วัน ดังนั้นให้เช็คบริเวณที่ตกสะเก็ดเพื่อดูว่ามันเริ่มบวมหรือไม่ ถ้าคุณสังเกตเห็นอาการบวมหรือหนอง ก็ให้พาแมวไปหาสัตวแพทย์ [11]
  5. สอบถามสัตวแพทย์ก่อนใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์. การใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่เนื่องจากมีการศึกษาที่แสดงว่าการใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ในบาดแผลนั้นไม่เพียงแต่จะทำให้เจ็บปวด แต่ยังสามารถทำลายเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อทำให้แผลหายช้าได้ [12] น้ำเปล่าหรือสารละลายฆ่าเชื้อพิเศษที่ทำจากน้ำและโพวิโดน-ไอโอดีนนั้นดีที่สุด [13]
    • เพื่อความปลอดภัยให้เช็คกับสัตวแพทย์เพื่อตรวจสอบว่าไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับแผลของแมวของคุณหรือไม่
    • ถ้าคุณใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ให้แน่ใจว่าคุณเจือจางกับน้ำด้วยอัตรา 1 ต่อ 1 จากนั้นให้ชุบสำลีก้อนหรือผ้าก๊อซในสารละลาย ใช้สำลีก้อนเช็ดเศษเนื้อตายและหนองออกจากขอบแผลเบาๆ อย่าใช้สารละลายนี้บนแผลโดยตรง คุณสามารถทำแบบนี้ได้วันละ 2-3 ครั้ง
  6. เฝ้าสังเกตบาดแผลของแมววันละ 2-3 ครั้ง ตอนที่คุณตรวจดูบาดแผล ให้แน่ใจว่ามันไม่บวม อาการบวมบ่งบอกว่าแผลติดเชื้อ ถ้าแผลบวมแล้วล่ะก็ ให้โทรหาสัตวแพทย์
    • เมื่อคุณเช็คบาดแผลของแมวในแต่ละวัน ให้ใส่ใจกับปริมาณของหนองที่ไหลออกมา แผลของแมวควรจะมีหนองไหลออกมาน้อยลงเมื่อเวลาผ่านไปแต่ละวัน ถ้าดูเหมือนว่าหนองจะไหลออกมามากขึ้นหรือมีหนองเท่าเดิม ให้โทรหาสัตวแพทย์
  7. สิ่งสำคัญคือให้แน่ใจว่าแมวของคุณจะไม่เลียหรือแทะกัดหนองที่ไหลออกมาหรือที่แผลเพราะว่าแบคทีเรียในปากแมวสามารถทำให้แผลแย่ลงหรือทำให้เกิดการติดเชื้อได้ [14] ถ้าดูเหมือนว่าแมวของคุณจะเลียหรือแทะกัดที่บาดแผลหรือหนองที่ไหลออกมา ให้โทรหาสัตวแพทย์ที่รักษาแมวของคุณ
    • แมวของคุณอาจต้องใส่ปลอกคอกันเลีย (Elizabethan Collar) ในขณะที่แผลกำลังสมานตัว เพื่อป้องกันไม่ให้แมวของคุณเลียและกัดแผล
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หลังแมวกัดกันให้ตรวจดูแมวของคุณว่ามีบาดแผลใดๆ หรือไม่ และเฝ้าดูสัญญาณการเกิดฝี
  • ถ้าคุณเห็นสัญญาณของฝี ให้พาแมวของคุณไปให้สัตวแพทย์ตรวจและให้ยาปฏิชีวนะทันที ซึ่งนี่จะช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อที่รุนแรงกว่า
โฆษณา

คำเตือน

  • แมวที่กัดกันไม่เพียงแค่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดฝีเท่านั้น แต่ยังเป็นการแพร่กระจายโรคที่เป็นอันตรายอีกด้วย เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวแมวและโรคพิษสุนัขบ้า พาแมวของคุณไปฉีดวัคซีนแมวอยู่เสมอเพื่อช่วยให้มันปลอดภัยและมีสุขภาพดี
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 107,390 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา