ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

หนึ่งในเหตุผลที่คนชอบเลี้ยงแมวก็คือท่าทางผ่อนคลายสบายใจซะเหลือเกินนี่แหละ แมวนั้นเกิดมาเพื่อทำอะไรตามใจ ชีวิตชิลล์ซะจนคนยังอิจฉา วันๆ เอาแต่กิน นอน แล้วก็เล่น แต่รู้ไหมนิสัยที่ว่าอาจเป็นดาบสองคมเอาตอนแมวป่วยนี่แหละ เพราะแมวจะหนีหายหลบหน้าไปเลยตามสัญชาตญาณ ไม่ก็ทำกิจวัตรประจำวันที่ว่า (อย่างการนอน) เยอะเกินจนน่าเป็นห่วง จะรู้ได้ว่าแมวคุณป่วยขึ้นมาจริงๆ หรือเปล่า คุณต้องหัดสังเกตอาการและพฤติกรรมต่างๆ ที่เปลี่ยนไป

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

สังเกตลักษณะท่าทางและพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าแมวป่วยจะนอนเยอะเป็นพิเศษ ถ้าแมวไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆ อย่างอ้วก ท้องเสีย ไม่กินอาหาร หรือตัวบวม ให้คุณคอยสังเกตการณ์ต่อไป ถ้ามีอาการที่ว่าเมื่อไหร่ ให้พาไปหาหมอทันที
    • ถ้าแมวไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย ให้จับตาดู 24 ชั่วโมง (หรือจะพาไปหาหมอก่อนก็ได้ถ้าคุณเป็นห่วงมาก) ถ้าวันที่ 2 แล้วแมวยังนอนเยอะดูเพลีย ให้รีบพาไปหาหมอเลย [1]
  2. ให้ใช้เทอร์โมมิเตอร์แบบวัดไข้ในรูก้น แต่ถ้าแมวไม่ยอมหรือกลัวทำแมวเครียดกว่าเดิมก็ค่อยให้คุณหมอวัดไข้ก็ได้ อุณหภูมิ 37 - 39 องศาถือว่าปกติดี แต่ถ้าเกิน 39 ขึ้นไปแสดงว่าเริ่มตัวร้อนแล้ว ยิ่งเกิน 39 นิดๆ ขึ้นไปนี่ก็ไข้แล้วล่ะ รีบพาไปหาหมอเลย [2]
    • แมวเป็นไข้มักนอนเยอะผิดปกติ ไม่ยอมกินอาหาร และขนด้านชี้โด่ชี้เด่ จมูกกับหูก็อาจแห้งและอุ่นได้เวลาเอานิ้วแตะตอนอุณหภูมิตัวปกติ ถึงปกติการจับหูแมวเพื่อวัดไข้นั้นเป็นวิธีที่ไม่ค่อยได้ผล แต่ถ้าจับแล้วหูแมวเย็นก็แสดงว่าไม่น่าเป็นไข้หรอก
  3. พฤติกรรมการขับถ่ายของแมวเปลี่ยนไปหรือเปล่า. ลองสังเกตดูว่าแมวอึฉี่บ่อยแค่ไหน อึฉี่ลำบากไหม มีเลือดหรือมูกอะไรปนมาในฉี่หรือเปล่า และอึเป็นก้อนแข็งผิดปกติไหม [3] ถ้าตอนแรกแมวท้องเสียแล้วต่อมากลับไม่ยอมอึหรือท้องผูก (อึเป็นก้อนแข็ง) ให้รีบพาไปหาหมอด่วน รวมถึงถ้าแมวไม่อึไม่ฉี่หรืออึฉี่แต่มีเลือดปนด้วย [4]
    • แมวตัวผู้มักมีปัญหาเรื่องทางเดินปัสสาวะบ่อยกว่า โดยเฉพาะเรื่องฉี่ไม่ออก สัญญาณบอกเหตุคือแมวจะแวะเวียนไปที่กระบะทรายบ่อยขึ้น หรือกระทั่งมานั่งยองๆ นอกกระบะ แมวอาจนั่งเบ่งอยู่อย่างนั้นนานเป็นหลายนาทีหรือลุกเดินไปนั่งยองๆ ที่จุดอื่นเรื่อยๆ ถ้าแมวมีอาการแบบนี้ให้สังเกตว่าแมวฉี่ออกหรือเปล่า (พื้นแห้งหรือเปียก?) ถ้าแมวฉี่ ก็ดูด้วยว่ามีเลือดปนไหม [5]
  4. ถ้าคุณสังเกตเห็นว่าแมวไม่ค่อยกินหรือกลับกันคือกินเยอะกว่าปกติ ก็คือผิดปกติทั้งคู่ ถ้าแมวไม่กินอาหารทั้งวัน เป็นไปได้หลายอย่าง เช่น แอบไปกินอาหารบ้านข้างๆ มา รู้สึกคลื่นไส้ หรืออาจมีปัญหาเรื่องไต แต่ถ้าอยู่ๆ แมวเกิดตะกละกินเยอะเป็นพิเศษ อาจแปลว่ามีปัญหาสุขภาพบางอย่าง
    • ถ้าแมวไม่ยอมกินอาหารนานเกิน 24 ชั่วโมง ให้พาไปตรวจร่างกายกับคุณหมอ จะได้รักษาให้ตรงจุดก่อนเกิดภาวะหรือโรคแทรกซ้อน [6] [7]
  5. เรื่องกินน้ำก็สำคัญ ปกติแมวจะกินน้ำมากแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับว่ากินอาหารเปียก (ทำให้ไม่ค่อยกินน้ำ) หรืออาหารเม็ด (จะกินน้ำบ่อยกว่า) ส่วนปัจจัยอื่นที่ทำให้แมวกินน้ำเยอะขึ้นก็เช่น การติดเชื้อบางอย่าง โรคไต ไฮเปอร์ไทรอยด์ แล้วก็เบาหวาน ถ้าแมวกินน้ำเยอะเป็นพิเศษก็รีบพาไปหาหมอเถอะ [8]
    • หรือคุณจะลองจับตามตัวดูก็ได้ ค่อยๆ คีบหนังตรงกลางระหว่างสะบักสองข้าง แล้วดึงออกจากตัว (เบาๆ เช่นกัน) จากนั้นปล่อย ถ้าหนังไม่ดีดกลับเข้าตัวทันที แสดงว่าแมวขาดน้ำ ให้พาไปหาหมอ
  6. น้ำหนักเปลี่ยนกะทันหันไม่ว่าเพิ่มหรือลดควรพาไปหาหมอ โดยเฉพาะน้ำหนักลดไม่ว่าจะช้าหรือเร็ว เป็นสัญญาณบอกว่าแมวป่วย สังเกตได้ด้วยชั่งน้ำหนักแมวอาทิตย์ละครั้ง ถ้าแมวน้ำหนักลดลงไปเรื่อยๆ ให้รีบพาไปหาหมอทันที [9]
    • ระยะเริ่มต้นของบางโรคอย่างเบาหวานหรือไฮเปอร์ไทรอยด์ แมวอาจดูปกติดีแค่น้ำหนักลดลง ถึงได้ย้ำว่าควรพาไปหาหมอถ้าแมวยังน้ำหนักลดลงเรื่อยๆ
    • ถ้าบางโรคอย่างมะเร็งในกระเพาะหรือโรคหัวใจ แมวจะน้ำหนักเท่าเดิม แต่ผอมลง หรือก็คือพอเอามือลูบแล้วเจอซี่โครงกับสันหลังได้ง่ายขึ้น เพราะไขมันที่ปกคลุมนั้นน้อยลง แต่หน้าท้องจะกลมเต่งแทน ถ้าคุณไม่แน่ใจก็เอาไปหาหมอจะดีที่สุด [10]
  7. แมวป่วยไม่ค่อยมีแรงเลยเลิกดูแลขน ทำให้ขนที่เคยเงางามกลับด้าน พันกันยุ่งเหยิง จริงอยู่ว่าเวลาแมวเครียดก็ทำเอาขนร่วงหรือแมวไม่ค่อยดูแลขนได้ แต่บางทีก็เป็นสัญญาณบอกว่าแมวป่วย ปรึกษาคุณหมอจะดีที่สุด [11] [12]
    • ที่แมวเลิกดูแลขนอาจเพราะป่วยเป็นโรคข้ออักเสบ (arthritis) พอกระดูกกระเดี้ยวมันยึดแข็งปวดตัวไปหมด ก็ทำให้เลียขนลำบากจนเลิกดูแลไปเลย เพราะฉะนั้นถ้าแมวขนด้านเมื่อไหร่ลองพาไปตรวจร่างกายเผื่อไว้ก่อนดีกว่า
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

สังเกตอาการผิดปกติ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าแมวอ้วกหรืออ้วกเยอะวันละหลายครั้ง แถมดูเหนื่อยๆ ป่วยๆ แปลว่าน่าจะมีอะไรผิดปกติ ถ้าแมวไม่ยอมกินน้ำหรืออ้วกหลังกินน้ำ ควรพาไปหาหมอแล้วล่ะ [13]
    • แต่ปกติแมวก็ชอบอ้วกอยู่แล้วโดยที่ไม่ได้ป่วยอะไร (อาทิตย์ละ 1-2 ครั้ง) ประมาณว่าดีทอกซ์ตัวเอง ถ้าเป็นกรณีนี้แล้วแมวดูแข็งแรงดี มีรีแอคชั่น กินอิ่มนอนหลับตามปกติ ก็สบายใจได้เลย [14]
  2. ปกติอึแมวควรหน้าตาเหมือนไส้กรอก ไม่นิ่มเละแต่ก็ไม่แข็งโป้ก ถ้าท้องเสียอึจะเหลวไม่เป็นก้อน แสดงว่าผิดปกติ ถ้าแมวท้องเสียแต่อย่างอื่นดูปกติดี ให้รอดูอาการใน 24 ชั่วโมง บางทีแมวอาจกินอะไรผิดสำแดงเลยท้องเสีย แต่ถ้ากินอะไรเข้าไปแล้วอ้วกออก ดูเซื่องซึมไม่ร่าเริง หรืออึแล้วมีมูก (เหนียวๆ) หรือมีเลือดปน ก็รีบพาไปหาหมอเถอะ [15]
  3. ถ้าดูเซื่องซึม ไม่ค่อยมีแรง แสดงว่าอาจมีไข้ หายใจลำบาก หรือเจ็บปวดตรงไหน จะต่างกับอีกอาการที่แมวนอนเยอะเกิน ตรงที่แบบนี้แมวตื่นแต่ไม่ค่อยมีแรงหรือดูไม่อยากทำอะไรที่เคยทำในแต่ละวัน ถ้าแมวดูซึมแถมหายใจหอบถี่ ก็พาไปหาหมอดีกว่า [16]
    • นิสัยแมวเปลี่ยนไปไหม ถ้าแมวดูอ่อนแรงเป็นพิเศษ ไม่วิ่งเล่นไปมา หรือทำอะไรอย่างที่เคย แปลว่าแมวน่าจะป่วยหรือขาดสารอาหาร
  4. ถ้าแมวหายใจสั้นๆ ถี่ๆ หรืออ้าปากหอบหายใจแบบหยุดไม่ได้ แสดงว่าต้องพาไปหาหมอแล้ว ให้คุณลองสังเกตดูว่าแมวหายใจลำบากมากไหม ถ้าถึงขั้นเกร็งท้องเค้นหายใจ รีบไปหาหมอด่วนเลย [17]
    • บางทีแมวหายใจลำบากก็คล้ายกับเสียงครางเวลามีความสุข (เพราะหายใจเร็วเหมือนกัน) เพราะงั้นต้องลองนับจำนวนครั้งการหายใจดู ตอนที่แมวไม่ได้ครางหรือหลับอยู่ ปกติแมวจะหายใจประมาณ 20 - 30 ครั้งต่อนาที ถ้าผ่อนคลายก็ยิ่งต้องน้อยกว่านั้น
  5. เหล่านี้เป็นอาการของโรคเกี่ยวกับระบบประสาท ไม่ก็อาการติดเชื้อในหู ถ้าแมวแสดงอาการพวกนี้ให้รีบพาไปหาหมอ ปกติแมวมักปราดเปรียว ลุกยืนคล่องแคล่วว่องไว ถ้าอยู่ๆ แมวเกิดซุ่มซ่ามหรือคอเอียงแปลกๆ แสดงว่ามีอะไรผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณบอกโรคหลอดเลือดในสมอง ความดันสูง หรือกระทั่งเนื้องอกในสมอง ทางที่ดีให้เอาไปตรวจร่างกายกันไว้ก่อน [18]
  6. หมั่นดูแลขนน้องเหมียว จะได้ถือโอกาสลูบตามตัวหาก้อนแปลกปลอม. ส่วนใหญ่พวกตุ่ม ก้อน ฝี หรืออะไรมักไม่อันตราย แต่ถ้ามีหนองไหลหรือมีอาการแข็งกดเจ็บ ควรจะรีบพาไปตรวจ นอกจากนี้ให้คุณคอยสังเกตว่ามีรอยเกาตรงไหนติดเชื้อจนมีกลิ่นตุๆ หรือเปล่า ถ้ามีก็ต้องพาไปหาหมอเช่นกัน เพราะถ้าปล่อยไว้ อาการติดเชื้อจะลามจนเลือดเป็นพิษได้ [19]
  7. สำรวจตาแมว (จมูกด้วย) ว่ามีขี้ตาเยิ้มผิดปกติหรือเปล่า ถ้าน้ำตาแมวไหลอยู่ตลอด แปลว่าอาจแพ้อะไรบางอย่าง หรือมีปัญหาเรื่องไซนัส ถ้าขี้ตาเยิ้มแถมแมวกินน้ำเยอะและฉี่บ่อยกว่าปกติ เซื่องซึม และขนด้าน ต้องพาไปหาหมอเพราะแมวอาจไตวายได้
    • สังเกตการหดขยายของรูม่านตาด้วย บางโรคทำให้ตาแมวขยายดำปี๋แล้วค้างอยู่แบบนั้น เพราะงั้นถ้าเห็นแมวตาโตดำแบบนั้นอยู่ตลอด ให้พาไปเช็คกับคุณหมอดูสักหน่อย
  8. โดยเฉพาะสีเหงือกที่เปลี่ยนไป ถ้าแมวคุณเหงือกสีเข้มไปจนถึงดำแล้วอยู่ๆ เหงือกก็ซีดขาวซะเฉยๆ แสดงว่าป่วยเข้าแล้ว กลิ่นปากก็สำคัญ ถ้าแมวปากเหม็นโดยที่ไม่ได้เป็นเพราะอาหาร ก็แปลว่ามีอะไรผิดปกติเหมือนกัน [20]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

สังเกตอาการเฉพาะโรค

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าเกาซะอุ้งเท้าเป็นระวิง แปลว่าน่าจะมี ถ้าคุณเห็นแมวเกาแกรกๆ ประจำ ก็ให้อุ้มมาสำรวจขนกันแบบละเอียดหน่อย หาหวีเสนียดหรือหวีซี่ถี่มา แล้วใช้สางขนแมวหาหมัด ถ้ามีจะหน้าตาเหมือนจุดสีน้ำตาลเล็กๆ วิ่งเร็วๆ โดยเฉพาะแถวคอกับหาง [21]
    • ยิ่งถ้าคุณหวีหรือแปรงขนโดยให้แมวยืนบนกระดาษสีขาวโล่งๆ ละก็ จะเห็นหมัดติดอยู่ตามซี่หวีหรือขี้หมัดที่ตกลงมาบนกระดาษชัดเลย ขี้หมัด (Flea dirt) จะสีดำ หน้าตาเหมือน comma หรือลูกน้ำ ถ้าตกลงไปบนสำลีเปียกๆ ละก็ จะละลายออกมาเป็นเลือดเส้นๆ เลย
    • มีผลิตภัณฑ์กำจัดหมัดขายหลายยี่ห้อเลย แต่ละยี่ห้อก็ทำเอาหมัดหายไปจากทั้งแมวและบ้านของคุณได้ทั้งนั้น แต่ถ้าอยากให้แน่ใจเรื่องความปลอดภัยก็ปรึกษาคุณหมอก่อนก็ได้
  2. ถ้าแมวไอแห้งและอ้วก อาจเป็นเพราะก้อนขนอุดตัน. Hairballs หรือก้อนขน (สะสมจากที่แมวเลียตัว) ทำให้แมวปากเหม็นหรือไม่กินอาหารได้ ยิ่งถ้าก้อนขนในกระเพาะเยอะๆ เข้าอาจกลายเป็น Trichobezoars (ก้อนขนจับตัวแข็งกับอาหารที่ไม่ย่อยส่งกลิ่นเหม็น) ซึ่งถือว่าร้ายแรงมากจนต้องผ่าตัดลูกเดียว เพราะงั้นคุณต้องหมั่นดูแลขนน้องแมวบ่อยๆ จะได้ลดก้อนขน [22]
    • อีกวิธีที่ทำได้เองง่ายๆ ก็คือให้แมวกินอาหารเสริม อย่าง Slippery Elm Bark (เปลือกต้น Slippery Elm) จะได้หล่อลื่นให้ก้อนขนไม่อุดตัน หรือให้แมวกินเนื้อฟักทอง (กระป๋อง) จะได้เพิ่มไฟเบอร์ให้อึเป็นก้อนสวย แถมขับก้อนขนด้วย และนานๆ ทีให้แมวกินปลาหรือไก่/ตับสุกบ้าง ช่วยได้เหมือนกัน
    • แต่ทางที่ดีก็ไปตรวจกับหมอเถอะ จะได้รู้ว่าแมวเป็นโรคอื่นที่ร้ายแรงกว่าหรือเปล่า
  3. ระวังไฮเปอร์ไทรอยด์หรือการที่ไทรอยด์ทำงานมากไป. อาการคือแมวอาจกินอาหารเยอะขึ้นหรือกินน้ำบ่อย แต่น้ำหนักลดแบบหาสาเหตุไม่เจอ (โดยเฉพาะเสียมวลกล้ามเนื้อ) เครียดหรือขี้ตื่น อ้วกบ่อย เซื่องซึม แล้วก็อ่อนแรง รวมถึงท้องเสียหรือขนยุ่งเหยิง ถ้าแมวมี 2 อาการขึ้นไป ให้รีบพาไปหาหมอเลย [23] Hyperthyroidism หรือโรคไฮเปอร์ไทรอยด์นั้นมักเกิดในแมวชราหรือวัยหนุ่ม ไม่ค่อยพบในแมวอายุน้อย
    • แมวกินเยอะเกินก็น่าเป็นห่วง น่าจะพาไปหาหมอเหมือนกัน ฮอร์โมนไทรอยด์ที่ไปกระตุ้นให้แมวกินเยอะจะไปเร่งอัตราการเผาผลาญด้วย ทำให้อวัยวะต่างๆ ทำงานหนัก [24]
  4. สัญญาณบอกโรคเบาหวานก็เช่น อ้วก ขาดน้ำ อ่อนแรง และไม่กินอาหาร แต่จะกินน้ำและฉี่บ่อย น้ำหนักลด หายใจผิดปกติ และไม่ดูแลขนตัวเอง เบาหวานในแมวเป็นได้ทุกช่วงอายุ แต่พบมากในแมวแก่ และแมวอ้วนทั้งตัวผู้ตัวเมีย ถ้าแมวมีอาการแบบที่ว่ามาหรือเป็นทีเดียวหลายอาการ ให้พาไปหาหมอเพื่อตรวจเลือดกับวัดระดับน้ำตาลในฉี่ [25]
  5. สังเกตอาการโรคทางเดินปัสสาวะส่วนล่างในแมว (feline lower urinary tract disease หรือ FLUTD). สัญญาณบอกโรค FLUTD ก็เช่น ฉี่ยาก ฉี่น้อย หรือฉี่บ่อย ไม่กินอาหาร เฉื่อยชา ฉี่มีเลือดปน หรือก้มเลียตรงนั้นของตัวเองบ่อยๆ โรคนี้เป็นอาการทางเดินปัสสาวะส่วนล่างอักเสบที่ทำให้เจ็บปวดรุนแรง และลุกลามได้ง่าย
    • FLUTD เป็นได้เพราะหลายสาเหตุด้วยกัน ตั้งแต่การกินน้ำน้อย ไม่ค่อยฉี่ ไปจนถึงไวรัส แบคทีเรีย หรืออาหาร อาหารเม็ดบางชนิดทำให้มีผลึกสะสมในฉี่ ทำให้ไปครูดผนังกระเพาะปัสสาวะเกิดการระคายเคืองได้ ถ้าปล่อยไว้ไม่รักษาจะกลายเป็นนิ่วอุดตันจนเจ็บปวด
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าบุคลิกลักษณะของแมวเปลี่ยนไป เช่น ขี้หงุดหงิด ปลีกตัว ดูเบื่อๆ แสดงว่าแมวอาจป่วย
  • บางทีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปก็เป็นเรื่องธรรมดา โดยเฉพาะถ้าคุณเพิ่งเปลี่ยนยี่ห้ออาหารหรือทรายแมวน่ะ
  • ระวังสังเกตอาการผิดปกติทางร่างกาย (เช่น อ้วกหรือท้องเสีย) แล้วจดไว้ด้วยว่าเป็นบ่อยแค่ไหน ถ้าถ่ายรูปอ้วกหรืออึแบบท้องเสียของน้องแมวไว้ด้วยก็จะยิ่งเป็นประโยชน์กับการตรวจรักษา อาจจะฟังดูพิลึก แต่รับรองว่าจะเป็นหลักฐานชั้นดีให้คุณหมอแน่นอน
  • สงสัยอะไรให้ถามคุณหมอทันที เพราะบางโรคก็รอไม่ได้ เดี๋ยวลุกลามจะสายเกินแก้
  • ถ้าปกติแมวชอบนอนแผ่กลางบ้านแล้วอยู่ๆ หลบหน้าไปซ่อนตัว แสดงว่าน่าจะเจ็บป่วยตรงไหน
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าแมวไม่กินอาหารและน้ำนานถึง 2 วัน ให้พาไปหาหมอทันทีเพื่อตรวจร่างกาย
  • ถ้าแมวขาดน้ำและอ้วก ก็ต้องรีบพาไปหาหมอเช่นกัน เพราะเสี่ยงไตวายได้ ซึ่งเป็นอะไรที่ร้ายแรงถึงชีวิต
  • ลูกแมวเสี่ยงโลหิตจางถ้ามีหมัดเยอะๆ
  • ถ้าแมวนอนนิ่งหรือควบคุมอวัยวะต่างๆ ไม่ได้ ต้องพาไปหาหมอให้เร็วที่สุด ไม่งั้นอาจไตวาย ทำให้แมวถึงตายได้
  • คนเองก็ถูกหมัดกัดจนเจ็บๆ คันๆ ได้ โดยเฉพาะแถวๆ ข้อเท้า
  • หมัดที่พบบ่อยสุดคือ หมัดแมว (cat flea หรือ Ctenocephalides Felis) ที่อาจเป็นพาหะของตัวอ่อนพยาธิตืดสุนัข (Dipylidium Caninum tapeworm) ถ้าแมวเลียขนตัวเองแล้วเผลอกินหมัดเข้าไป ก็จะพลอยติดพยาธิตัวนี้ไปด้วย นอกจากนี้หมัดก็ยังเป็นพาหะของโรคอื่นๆ ด้วย
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. BSAVA Manual of Textbook of Veterinary Nursing. Cooper & Moulineaux. BSAVA publications.
  2. BSAVA Manual of Textbook of Veterinary Nursing. Cooper & Moulineaux. BSAVA publications.
  3. http://www.petfinder.com/cats/cat-health/subtle-signs-of-a-sick-cat/
  4. Small Animal Internal Medicine. Nelson & Couto. Publisher: Mosby. 5th edition
  5. Small Animal Internal Medicine. Nelson & Couto. Publisher: Mosby. 5th edition
  6. http://www.petfinder.com/cats/cat-health/subtle-signs-of-a-sick-cat/
  7. Consultations in Feline Internal Medicine. August. Publisher. Saunders.
  8. Small Animal Internal Medicine. Nelson & Couto. Publisher: Mosby. 5th edition
  9. Small Animal Internal Medicine. Nelson & Couto. Publisher: Mosby. 5th edition
  1. Small Animal Internal Medicine. Nelson & Couto. Publisher: Mosby. 5th edition
  2. http://www.readersdigest.ca/pets/care/6-ways-tell-if-your-cat-is-sick
  3. BSAVA Manual of Textbook of Veterinary Nursing. Cooper & Moulineaux. BSAVA publications.
  4. Small Animal Internal Medicine. Nelson & Couto. Publisher: Mosby. 5th edition
  5. Small Animal Internal Medicine. Nelson & Couto. Publisher: Mosby. 5th edition
  6. Small Animal Internal Medicine. Nelson & Couto. Publisher: Mosby. 5th edition
  7. Small Animal Internal Medicine. Nelson & Couto. Publisher: Mosby. 5th edition
  8. Small Animal Internal Medicine. Nelson & Couto. Publisher: Mosby. 5th edition
  9. Consultations in Feline Internal Medicine. August. Publisher. Saunders.
  10. BSAVA Manual of Textbook of Veterinary Nursing. Cooper & Moulineaux. BSAVA publications.
  11. http://www.readersdigest.ca/pets/care/6-ways-tell-if-your-cat-is-sick
  12. http://www.aspca.org/pet-care/cat-care/fleas
  13. http://pets.webmd.com/cats/guide/what-to-do-about-hairballs-in-cats
  14. http://www.aspca.org/pet-care/cat-care/hyperthyroidism
  15. Consultations in Feline Internal Medicine. August. Publisher. Saunders.
  16. http://www.vcahospitals.com/main/canine-feline-diabetes-awareness/feline-diabetes-awareness

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 369,187 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา