ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ไม่ว่าใครก็เคยมีอาการกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างตึงตัวกันทั้งนั้น แต่ถ้าดูแลสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจโดยรวม จะช่วยบรรเทาอาการได้เยอะเลย ขอแค่ปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง หมั่นดูแลสุขภาพร่างกายตัวเอง เท่านี้ก็หายจากอาการหลังส่วนล่างตึงตัวได้ไม่ยาก

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ยืดเหยียดหลังส่วนล่างเพื่อบรรเทาอาการเฉพาะหน้า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. นอนหงาย ชันเข่า เท้าราบไปกับพื้น กางแขนทั้ง 2 ออกกว้างๆ ให้แขนกับตัวเป็นรูปตัว T ไหล่แนบชิดติดพื้น ค่อยๆ บิดเข่าไปทางซ้าย ให้ใกล้พื้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ และ 2 ขาแนบชิดติดกัน [1]
    • ทำท่านี้ค้างไว้ 2 นาที
    • พยายามกดไหล่ไว้กับพื้นระหว่างยืดเหยียด
    • ยืดเหยียดซ้ำที่อีกข้าง โดยยกเข่าทั้ง 2 ขึ้นตรงกลาง แล้วบิดไปทางขวา พยายามกดไหล่แนบไว้กับพื้น แล้วทำท่านี้ค้างไว้ 2 นาที
  2. นอนหงาย ชันเข่า เท้าราบไปกับพื้น เหยียดขาซ้าย แล้วยกขึ้นตรงๆ พยายามยืดส้นเท้าขึ้นไปด้านบน สุดท้ายงอเข่า แล้วกลับมาวางเท้าราบไปกับพื้น [2]
    • ยืดเหยียดขาซ้ายซ้ำ 6 - 8 ครั้ง ครั้งสุดท้ายให้เหยียดขาตรง ส้นเท้าชี้เพดานค้างไว้ 30 วินาที
    • ยืดเหยียดซ้ำตามเดิมกับขาขวา
  3. คุกเข่า มือยันพื้น จากนั้นยกเข่าซ้ายขึ้นมาหาหน้าอก แล้วแนบกลับลงไปที่พื้น ชี้เท้าไปทางขวา ส่วนขาขวาแนบพื้น เหยียดตรงไปด้านหลัง [3]
    • ให้ขาซ้ายทำมุม 90 องศาอยู่ข้างใต้ลำตัวด้านหน้าของคุณ
    • ค่อยๆ โน้มตัวไปข้างหน้า แล้วจะรู้สึกตึงๆ แถวก้นและสะโพก พยายามโน้มตัวไปหาพื้นให้ได้มากที่สุด หรือจนหน้าผากแนบพื้น ถ้าเป็นไปได้
    • ทำท่านี้ค้างไว้ หายใจเข้า-ออกลึกๆ 5 ครั้ง แล้วสลับขา ทำซ้ำตามเดิม
  4. นอนหงาย ยกขาและเข่า 90 องศาไว้ด้านหน้า โดยไขว่ข้อเท้าซ้ายพาดบนเข่าขวา เกร็งเท้าซ้ายไว้ ให้สอดมือมาประสานยึดด้านหลังของต้นขาขวาไว้ แล้วดึงเข้าหาตัวให้ได้มากที่สุด [4]
    • ยืดเหยียดท่านี้ค้างไว้ 30 วินาที แล้วสลับข้าง จากนั้นทำซ้ำตามเดิมกับขาขวา
    • ถ้าอยากยืดเหยียดให้ได้มากกว่าเดิม ให้ม้วนผ้าขนหนูเป็นปล้องแล้วรองใต้สะโพกตอนยืดเหยียด
  5. ยืดเหยียดท่าหมากระดิกหาง เพื่อเหยียดกล้ามเนื้อหลังตามความยาว. เริ่มจากคุกเข่า มือยันพื้น วางมือใต้ไหล่และวางเข่าใต้สะโพกพอดี จากนั้นยกเท้าซ้ายขึ้นกลางอากาศ โดยที่ยังคุกเข่าทั้ง 2 ข้าง แล้วเหวี่ยงออกไปทางซ้าย ขณะเดียวกับที่เหลียวหลังไปทางซ้าย หันไปมองเท้าตัวเอง [5]
    • ค้างไว้ แล้วเหวี่ยงเท้าข้างเดิมไปทางขวา พร้อมๆ กับเหลียวหลังไปทางขวา มองเท้าตัวเอง
    • ยืดเหยียดซ้ำตามเดิมกับเท้าขวา ค้างไว้ทุกครั้งที่เหวี่ยงเท้าออกไปด้านนอก และเหลียวหลังไปมองเท้าตัวเอง
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

นวดและรักษาด้วยวิธีธรรมชาติ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ค่อยๆ นอนหงาย ให้ลูกเทนนิสรองหลังส่วนล่างไว้ ชันเข่า เท้าราบไปกับพื้น ขยับตัวไปมา ให้รู้สึกว่าลูกเทนนิสกลิ้งไปมาตามแผ่นหลัง โดยเฉพาะจุดที่ตึงเกร็ง จะช่วยคลายกล้ามเนื้อบริเวณนั้นได้ [6]
    • ห้ามให้สันหลังกดทับลูกเทนนิส แต่นวดเฉพาะกล้ามเนื้อส่วนที่ตึงเกร็ง 2 ข้างของกระดูกสันหลัง
    • หาซื้อ foam roller ในเน็ต หรือแผนกอุปกรณ์กีฬาตามห้าง แล้ววาง roller ในแนวขวางบนพื้น จากนั้นนอนลงด้านบน ชันเข่า เท้าราบไปกับพื้นเช่นเดิม
    • ไถตัวเองขึ้น-ลงไปตาม foam roller เพื่อบรรเทาอาการตึงเกร็งของกลุ่มกล้ามเนื้อต่างๆ
  2. จริงๆ แล้วท่านอนที่ดีต่อสุขภาพที่สุด ก็คือนอนหงาย ให้นอนหงาย หน้ามองเห็นเพดาน และมีหมอนรองคอและไหล่ คอจะได้ไม่พับไปข้างใดข้างหนึ่ง [7]
    • หนุนหมอนใบเล็กๆ ไว้ใต้เข่าด้วย เพื่อลดแรงกดทับที่หลังส่วนล่างได้ดียิ่งขึ้น
    • เพิ่ม-ลดหมอนตามสะดวก ง่ายๆ คือต้องลดช่องว่างระหว่างร่างกายกับที่นอนให้ได้มากที่สุด
    • ถ้าเป็นคนนอนตะแคง ให้สอดหมอนรองไว้ใต้เข่าเพื่อลดแรงกดทับที่สะโพกตอนนอน
  3. ความร้อนจะไปกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ให้ไปเลี้ยงบริเวณที่ปวดหรือตึงเกร็งมากขึ้น ทำให้สมองไม่ได้รับสัญญาณความเจ็บปวด กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย ให้คุณใช้แผ่นประคบร้อนหรือขวดใส่น้ำร้อน ประคบหลังส่วนที่ตึงตัว [8]
    • อาจจะแช่อ่างน้ำร้อนก็ได้ โดยเล็งให้หัวเจ็ตพุ่งมานวดบริเวณหลังส่วนล่างที่กล้ามเนื้อตึงตัว
    • อีกไอเดียดีๆ คืออาบน้ำร้อนจากฝักบัว โดยให้กระแสน้ำกระทบแล้วนวดกล้ามเนื้อส่วนที่ตึงตัว
    • ระวังอย่าเผลอหลับไปตอนกำลังประคบร้อน เพราะผิวจะไหม้ได้
  4. ถ้าปวดตึงที่หลังส่วนล่างนานๆ ไม่หายซะที ให้ลองไปนวดหรือพบนักจัดกระดูก (chiropractor) หมอนวดที่ผ่านการอบรมและมีใบอนุญาตจะช่วยนวดกล้ามเนื้อหลังให้คลายตัวได้ ส่วนนักจัดกระดูกก็จะนวดและแก้ไขส่วนของสันหลังที่อาจเรียงตัวไม่ถูกต้อง [9]
    • ถ้าไม่แน่ใจว่าควรไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านไหนดี ให้ปรึกษาคุณหมอประจำตัว เผื่อจะแนะนำและโอนเคสไปให้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ออกกำลังกายเพื่อรักษาระยะยาว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอวันละ 30 นาที อาทิตย์ละ 5 วัน. Cardiovascular exercise หรือการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ จะช่วยให้สุขภาพโดยรวมแข็งแรง คลายเครียดและความตึงเกร็งที่แผ่นหลังส่วนหลัง อันนี้แล้วแต่ระดับกิจกรรมที่คุณทำอยู่ในปัจจุบัน แต่พยายามเดินหรือว่ายน้ำให้ได้วันละอย่างน้อย 30 นาที อาทิตย์ละ 5 วัน [10]
    • ถ้าตอนนี้ไม่ได้ออกกำลังกายแบบคาร์ดิโออยู่ ให้เริ่มจากเดินวันละ 10 นาที อาทิตย์ละ 3 วันก่อน แล้วขยับขยายไปเป็นวันละ 30 นาที อาทิตย์ละ 5 วัน ถ้าร่างกายเลยเคยชิน ไม่ค่อยเหนื่อย ก็ต้องยกระดับกิจกรรม เช่น วิ่งจ็อกกิ้ง เต้น หรือปั่นจักรยานด้วย อาทิตย์ละ 1 - 2 วัน
  2. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้องและหลังนั้นสำคัญมาก เกี่ยวข้องกับอาการกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างตึงตัว [11]
    • ให้ลองบริหารเชิงกรานดู โดยนอนหงายราบไปกับพื้นและชันเข่า จากนั้นเกร็งกล้ามเนื้อท้องน้อย เพื่อให้หลังส่วนล่างติดพื้นโดยไม่ต้องขยับกล้ามเนื้อก้นหรือขา ให้ทำท่านี้ค้างไว้ 5 วินาที จากนั้นทำซ้ำ 5 - 10 ครั้ง
    • ใช้ท่างอตัว (trunk curls) โดยนอนหงายราบไปกับพื้น ไขว้แขนกอดอกไว้ เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องส่วนบน เพื่อยกลำตัวขึ้นจากพื้นให้ได้ประมาณ 15 องศา แล้วค้างไว้ 5 วินาที ทำซ้ำวันละ 5 - 10 ครั้ง
    • ท่าออกกำลังกายอื่นๆ ที่แนะนำก็เช่น ท่าพิลาทิส (pilates) ที่เน้นบริหารกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว จะทำตาม DVD, คลิปใน Youtube หรือเข้าคลาสที่ฟิตเนสก็ได้
  3. โยคะเป็นการออกกำลังกายที่รวมการยืดเหยียด เสริมสร้างความแข็งแรง และฝึกลมหายใจเข้าไว้ด้วยกัน ช่วยให้สุขภาพร่างกายโดยรวมแข็งแรงขึ้น แถมคลายเครียด หลายๆ ท่าของโยคะ เช่น downward facing dog, cat-cow และ extended triangle จะเน้นบริหารกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างเป็นพิเศษ
    • ถ้าปกติเล่นโยคะทุกอาทิตย์อยู่แล้ว ให้เพิ่มเป็น 2 - 3 ครั้งต่ออาทิตย์ หรือเล่นโยคะสั้นๆ ทุกวันแทน
    • เข้าคลาสโยคะเบื้องต้นก็ได้ ถ้าไม่เคยเล่นโยคะมาก่อน แค่ไม่กี่คลาสก็น่าจะพอจับทางและไปต่อยอดเองที่บ้านได้ [12]
    โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้ามีโรคประจำตัวหรือโรคร้ายแรงที่น่าจะเป็นสาเหตุให้หลังส่วนล่างตึงตัว แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอก่อนลองทำวิธีไหนในบทความนี้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,076 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา