ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ในระบบเมตริกนั้น หน่วยกรัมจะมีไว้วัดสิ่งที่มีน้ำหนักเบา และกิโลกรัมมีไว้วัดสิ่งที่มีน้ำหนักมาก โดยที่ใน 1 กิโลกรัม จะมีอยู่ 1,000 กรัม ซึ่งนั่นหมายความว่า การแปลงกรัมเป็นกิโลกรัมก็จะเป็นเรื่องง่ายๆ เพียงแค่เรา หารจำนวนกรัมด้วย 1,000 เท่านั้น

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

แปลงด้วยวิธีคำนวณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้เขียนกำกับหน่วยเป็น “กรัม” หรือ “ก.” หรือถ้าคุณจะใช้เครื่องคิดเลข ก็แค่กดจำนวนตัวเลขนั้นลงไป
    • ในส่วนนี้ เราจะขอยกตัวอย่างโจทย์ปัญหามา 1 ตัวอย่าง เพื่อที่จะได้เห็นภาพได้ง่ายขึ้น อย่างเช่น หากต้องการจะแปลง 20,000 กรัม ให้เป็นกิโลกรัม ในขั้นแรกเราก็ต้องเขียน " 20,000 กรัม " ลงบนกระดาษก่อน
  2. 1 กิโลกรัมนั้นเท่ากับ 1,000 กรัม และนั่นหมายความว่า การที่เราจะหาจำนวนกิโลกรัมจากจำนวนกรัมได้นั้น เราก็จะต้องเอาจำนวนกรัมที่มีมาหารด้วย 1,000 นั่นเอง
    • และสำหรับโจทย์ปัญหาที่ได้ยกตัวอย่างมา เราจะต้องหาจำนวนกิโลกรัมด้วยการหาร 20,000 กรัมด้วย 1,000
      20,000/1,000 = 20
  3. อย่าลืมขั้นตอนนี้เชียวล่ะ! เพราะว่าการเขียนกับกับหน่วยวัดที่ถูกต้องเอาไว้นั้นเป็นเรื่องสำคัญ หากคุณแปลงหน่วยวัดแบบนี้ในงานที่ครูสั่ง แล้วลืมเขียนหน่วยที่ถูกต้องกำกับไว้ คุณอาจจะโดนหักคะแนนได้ และถึงแม้ว่าคุณอาจจะเอาไปใช้เพื่อการอื่น คนอื่นก็อาจจะเข้าใจหน่วยวัดผิดไปก็ได้
    • และตามโจทย์ที่ยกมา เราก็ต้องเขียนคำว่า “กิโลกรัม” กำกับที่คำตอบไว้ในแบบด้านล่างนี้:
      20 กิโลกรัม
  4. อย่างที่บอกไว้ก่อนหน้านี้ว่า 1 กิโลกรัมเท่ากับ 1,000 กรัม นั่นหมายความว่า ถ้าคุณอยากจะแปลงกิโลกรัมกลับไปเป็นกรัม สิ่งที่คุณต้องทำก็คือ คูณจำนวนกิโลกรัมด้วย 1,000 ซึ่งนั้นได้ผลก็เพราะว่าการคูณ เป็นสิ่งที่ “ตรงข้าม” กับการหารอยู่แล้ว ซึ่งนั้นก็จะเป็นการ “ลบล้าง” ผลจากการหาร และทำให้คุณได้คำตอบอยู่ในหน่วยกรัมเช่นเดิม
    • เพื่อที่จะทำ 20 กิโลกรัมให้กลับไปเป็นกรัม เราก็จะต้องคูณด้วย 1,000 (อย่าลืมเขียนหน่วยวัดกำกับไว้ที่คำตอบด้วย):
    • 20 กิโลกรัม × 1,000 = 20,000 กรัม
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

แปลงด้วยวิธีเลื่อนจุดทศนิยม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เริ่มต้นด้วยการนำจำนวนกรัมที่ต้องการจะแปลงมาก่อน. เชื่อหรือไม่ว่า คุณสามารถแปลงหน่วยระหว่างกรัมและกิโลกรัม โดยที่ไม่ต้องใช้การคำนวณก็ได้ และที่เราทำแบบนั้นได้นั้นก็เพราะว่าระบบเมตริกใช้การวัดแบบระบบฐานสิบ พูดอีกอย่างก็คือ หน่วยวัดต่างๆ ในระบบเมตริกจะอยู่ห่างจากกันทีละ 10 เท่า อย่างเช่น 10 มิลลิเมตรเท่ากับ 1 เซนติเมตร และ 100 เซนติเมตร ก็เท่ากับ 1 เมตร และ 1,000 เมตรก็เท่ากับ 1 กิโลเมตร เป็นต้น
    • ในส่วนนี้ เราจะขอยกตัวอย่างว่าให้แปลง 37 กรัมให้เป็นกิโลกรัมก็แล้วกัน ซึ่งก่อนอื่นเราจะเริ่มต้นด้วยวิธีเดียวกับข้อด้านบน ก็คือ เขียนคำว่า “ 37 กรัม ” ลงบนกระดาษก่อน
  2. ให้คุณใส่จุดทศนิยมที่จำนวนกรัมไว้ก่อน ถ้าหากคุณจะแปลงเลขจำนวนเต็ม ที่ปกติแล้วจะไม่มีการเขียนจุดทศนิยม ก็ให้คุณใส่จุดทศนิยมไว้ที่ทางขวาของตัวเลขหลักหน่วยก่อน จากนั้นก็เลื่อนจุดทศนิยมนั้นไปทางซ้าย 3 หลัก ในแต่ละครั้งที่คุณเลื่อนจุดผ่านตัวเลขก็จะถือว่านั่นเป็นการเลื่อนผ่านไปทีละ 1 หลัก หากถึงตำแหน่งที่ไม่เหลือตัวเลขให้เลื่อนจุดผ่านไป ก็ให้คุณเลื่อนจุดทศนิยมต่อไป แล้วเว้นช่องว่างเอาไว้
    • ในตัวอย่างที่ยกมา จุศนิยมใน 37 กรัม จะต้องอยู่ที่ทางขวาของเลข 7 (เช่น 37 กรัมก็จะเป็น 37.0 กรัม) ฉะนั้น หากเราเลื่อนจุดไปทีละหลัก ไปทางซ้าย 3 ครั้ง ก็จะได้ออกมาดังนี้:
    • 37 .
    • 3 . 7
    • . 37
    • . _37 (จำไว้เสมอว่าจะต้องเว้นช่องว่างให้ตรงที่ไม่มีตัวเลขด้วย)
  3. คุณไม่สามารถตอบโดยที่เว้นช่องว่างในจำนวนเลขได้ ฉะนั้น ให้คุณเติมที่ว่างนั้นด้วยเลข 0 นอกจากนี้ คุณอาจจะเติมเลข 0 ที่ทางซ้ายของทศนิยมก็ได้เหมือนกัน หากตรงนั้นไม่มีเลขอื่นเหลืออยู่อีกแล้ว ซึ่งก็แล้วแต่คุณเลย เพราะมันขึ้นอยู่กับว่า คุณชอบเขียนคำตอบออกมาในรูปแบบไหนก็เท่านั้นเอง
    • ในตัวอย่างที่ยกมา เรามีช่องว่าง 1 ช่อง ระหว่างจุดทศนิยมและเลข 3 ฉะนั้น เราก็จะเติม 0 ลงไปแบบนี้:
      .037
    • จากนั้นใส่หน่วยวัดที่ถูกต้องกำกับไว้ (จะใส่ 0 เพิ่มลงไปที่ทางซ้ายของจุดทศนิยมด้วยก็ได้หากจะเอาไปให้คนอื่นดู) และคำตอบสุดท้ายที่เราได้ก็คือ:
    • 0.037 กิโลกรัม
  4. หากจะแปลงกลับเป็นหน่วยกรัม ก็แค่เลื่อนทศนิยมย้อนกลับไป. หากคุณมีจำนวนกิโลกรัมอยู่ การเลื่อนทศนิยมไปทางขวา 3 ครั้ง ก็จะให้คำตอบออกมาเป็นจำนวนกรัมเหมือนเดิม และถ้ามีช่องว่างก็ให้ใส่เลข 0 ลงไปตามปกติ
    • ในตัวอย่างที่ยกมา เราก็จะเลื่อนทศนิยมไปทางขวา 3 ครั้ง ซึ่งก็จะออกมาได้ดังนี้:
      0 . 037
      00 . 37
      003 . 7
      0037 . (เลข 0 ที่อยู่ทางด้ายซ้ายจะไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นอีกต่อไป ฉะนั้น คุณสามารถเอามาเขียนใหม่เป็น 37 กรัม ได้เลย)
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • กิโลกรัม เป็นหน่วยวัดมวลที่อยู่ในระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ หรือที่เรียกว่าระบบเอสไอ (SI) [1] และหน่วยกรัมจะเป็นหน่วยวัดมวลที่เล็กลงไปอีกที่อยู่ในระบบเมตริก และระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ ซึ่งเดิมทีแล้ว หน่วยกรัมนั้นถูกกำหนดให้เป็นมวลของ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร (cm³) ของน้ำ 4°C [2]
  • ในระบบเมตริก คำนำหน้าของหน่วยจะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงค่าพลังของมัน เช่น “กิโล” ก็หมายถึงว่า ในหน่วยวัดนั้นมีหน่วยวัดอื่นที่ไม่มีคำนำหน้าแบบนั้นอยู่หนึ่งพัน (1,000) จำนวน ตัวอย่างเช่น หากคุณมี 1 กิโลวัตต์ คุณก็จะมี 1,000 วัตต์ หากคุณมี 1 กิโลกรัม คุณก็จะมี 1,000 กรัม และหากคุณมี 100 กิโลเมตร คุณก็จะมี 100,000 กิโลเมตร (และอื่นๆ )
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 39,243 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา