ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณติดตั้งระบบปฏิบัติการในแฟลชไดรฟ์ แล้วเอาไปใช้บูทเครื่องได้ตามปกติ เหมือนมีคอมพกพา ทั้งหมดนี้ทำได้โดยใช้ Rufus ของ Windows และ Disk Utility ของ Mac แต่ละวิธีการในบทความวิกิฮาวนี้ ที่ต้องทำคือหาไฟล์อิมเมจหรือไฟล์ติดตั้งระบบปฏิบัติการ ฟอร์แมตแฟลชไดรฟ์ USB แล้วติดตั้งระบบปฏิบัติการลงแฟลชไดรฟ์ USB อย่าลืม activate ให้บูทเครื่องจาก USB ได้ใน BIOS ของ Windows หรือเปลี่ยน startup disk ของ Mac ซะก่อน!

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

สร้างแฟลชไดรฟ์สำหรับบูท Windows หรือ Linux ด้วย Rufus

ดาวน์โหลดบทความ
  1. BIOS (Basic Input/Output System) ใช้จัดการ hardware ในคอม ระหว่างขั้นตอน startup ให้กดปุ่มที่กำหนด เพื่อเข้า BIOS (ปกติจะเป็น F2 หรือ Del ) แล้วกดปุ่มลูกศร เลื่อนไปที่ tab “Boot” ขยับ USB ขึ้นมาบนสุดของรายการโดยกด Enter เลือก “Save and Exit” เท่านี้ก็รีสตาร์ทคอมด้วย settings ใหม่
    • คอมแต่ละยี่ห้อ ก็ใช้ BIOS ในคอมต่างกันไป ให้เช็คสเปคของยี่ห้อที่ใช้ จะได้รู้ว่าต้องกดปุ่มไหน ถึงจะเข้าไปปรับแต่งค่าของ BIOS ได้
  2. ต้องใช้แฟลชไดรฟ์ที่จุได้ 16 GB ขึ้นไป จะใช้ USB 2.0 ก็ได้ แต่ถ้าใช้ USB 3.0 ที่เร็วกว่าได้ยิ่งดี
    • แนะนำให้เลือกแฟลชไดรฟ์ที่จุ 32 GB ขึ้นไป ถ้าจะใส่อย่างอื่นนอกจากระบบปฏิบัติการด้วย เดี๋ยวนี้แฟลชไดรฟ์จุได้เยอะๆ ก็ไม่ค่อยแพงแล้ว (อย่าง 16 GB กับ 32 GB ก็ราคาต่างกันแค่ 100 - 200 บาทเอง!)
  3. ดาวน์โหลด "disk image" ของระบบปฏิบัติการที่จะติดตั้ง. เว็บ Rufus ได้รวบรวมลิงค์ต่างๆ สำหรับดาวน์โหลด disk image ของระบบปฏิบัติการไว้ด้านล่างของหน้า ในหัวข้อ “Non-exhaustive list of ISOs Rufus is known to work with” โดยไฟล์ที่คุณต้องดาวน์โหลดมานั้น เรียกว่า ISO
  4. ดาวน์โหลดแล้วเปิด Rufus . Rufus เป็นโปรแกรมที่ทำงานได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องติดตั้งที่ไหน แค่ดาวน์โหลดก็เปิดใช้งานได้เลย
  5. จะโผล่มาในรายชื่อไดรฟ์ต่างๆ ใน “This PC”
  6. คลิก “Device” ให้ขยายลงมา แล้วเลือกแฟลชไดรฟ์ USB ของคุณจากในรายชื่อ.
  7. MBR (Master Boot Record) เป็นโครงสร้างไดรฟ์ที่เก่าแต่คนยังนิยมใช้กับคอมพิวเตอร์ Windows
    • จะเลือก GPT (GUID Partition Table) ที่เป็นเทคโนโลยีใหม่กว่าก็ได้ แต่อาจจะมีปัญหาเรื่อง compatibility หรือความเข้ากัน ตอนติดตั้งบางระบบปฏิบัติการ [1]
  8. คลิกเมนู “Filesystem” ให้ขยายลงมา แล้วเลือก filesystem ให้เหมาะสม. ให้ใช้ “NTFS” ถ้าจะติดตั้ง Windows ในไดรฟ์ USB สำหรับบูทเครื่อง และเลือก “exFat” ถ้าจะติดตั้ง Linux แทน
  9. ช่องติ๊กนี้จะอยู่ในหัวข้อ “Format Options” เลือกแล้วจะใช้ไฟล์ ISO สร้างแฟลชไดรฟ์ USB สำหรับบูทเครื่องได้ โดยไฟล์ ISO (disk image) เป็นไฟล์ดิจิตอลที่มีเนื้อหาเหมือนในไดรฟ์ หรือในที่นี้คือระบบปฏิบัติการที่จะติดตั้ง
  10. ไอคอนไดรฟ์จะอยู่ทางขวาของเมนูที่ขยายลงมา ตรงที่เลือกไฟล์ ISO image
  11. จะมีแถบบอกความคืบหน้า เมื่อขั้นตอนเสร็จสิ้นจะมีแจ้งเตือน
    • หมายเหตุ: ขั้นตอนนี้ใช้ฟอร์แมตแฟลชไดรฟ์ พอฟอร์แมตไดรฟ์ USB แล้ว "ทุกอย่าง" ในนั้นจะถูกลบหายไป ถ้าจะเก็บข้อมูลไหนในแฟลชไดรฟ์ USB ไว้ ต้อง copy ลงคอมเก็บไว้ก่อน
  12. เปิดใช้การบูทผ่าน USB แล้ว คอมก็น่าจะรีสตาร์ท แล้วบูทเครื่องจาก USB โดยใช้ disc image
    • บาง BIOS จะมีเมนูเฉพาะสำหรับเลือก startup disk แยกไปเลย เมนูนี้จะมีปุ่มให้กดแยกไปเลยใน startup ไม่เหมือนเมนู BIOS ทั่วไป ให้ลองเช็คสเปคดู ว่าคอมที่ใช้เป็นแบบนี้ไหม ในกรณีที่บูทเครื่องจากแฟลชไดรฟ์ไม่ได้
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ติดตั้ง macOS/OSX ในแฟลชไดรฟ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าจะติดตั้งระบบปฏิบัติการ macOS/OSX ใหม่ๆ ต้องใช้แฟลชไดรฟ์ที่จุได้อย่างน้อย 16 GB จะใช้ USB 2.0 ก็ได้ แต่ถ้าใช้ USB 3.0 ที่เร็วกว่าได้ยิ่งดี
    • แนะนำให้เลือกแฟลชไดรฟ์ที่จุ 32 GB ขึ้นไป ถ้าจะใส่อย่างอื่นนอกจากระบบปฏิบัติการด้วย เดี๋ยวนี้แฟลชไดรฟ์จุได้เยอะๆ ก็ไม่ค่อยแพงแล้ว (อย่าง 16 GB กับ 32 GB ก็ราคาต่างกันแค่ 100 - 200 บาทเอง!)
  2. ค้นหา macOS/OSX เวอร์ชั่นที่จะติดตั้ง แล้วกด “Download” ไฟล์ติดตั้งจะโผล่มาในโฟลเดอร์ Applications หลังดาวน์โหลดเสร็จ
  3. ไดรฟ์จะ mount อัตโนมัติ แล้วโผล่มาใน desktop
  4. Disk Utility ใช้จัดการและปรับแต่งไดรฟ์ต่างๆ โดยแฟลชไดรฟ์จะไปโผล่ในรายชื่อไดรฟ์ทางซ้าย
  5. การแบ่งพาร์ทิชั่น ก็คือการแบ่งพื้นที่เก็บข้อมูลในไดรฟ์ออกเป็นส่วนๆ ปุ่มนี้จะอยู่ใน tab ต่างๆ ล่างแถบเมนู tab นี้จะมีตัวเลือกใช้ฟอร์แมตไดรฟ์ USB และสร้างเป็นไดรฟ์แบบบูทเครื่องได้
  6. พาร์ทิชั่นเดียวเท่ากับระบบปฏิบัติการในไดรฟ์ได้ใช้พื้นที่เต็มที่
  7. เป็นฟอร์แมตที่จำเป็นต่อการทำงานของระบบปฏิบัติการ
    • หมายเหตุ: ฟอร์แมตไดรฟ์ USB แล้ว ข้อมูล "ทั้งหมด" จะถูกลบหายไป เพราะงั้นถ้ามีข้อมูลไหนในแฟลชไดรฟ์ USB ที่อยากเก็บไว้ ต้อง copy ลงคอมแยกไว้ก่อน
  8. . ที่เป็นปุ่มล่างตารางพาร์ทิชั่น แล้วเปิดเมนูตัวเลือกของพาร์ทิชั่นที่เลือกไว้
  9. ต้องเลือกประเภทพาร์ทิชั่นนี้ ถึงจะบูทเครื่องได้
    • ตัวเลือกอื่นๆ นั้นเอาไว้สร้างไดรฟ์บูทเครื่อง PowerPC หรือ Windows ถ้าเป็น macOS/OSX รุ่นใหม่ๆ จะใช้งานในเครื่องที่ไม่ใช่ Mac ไม่ได้
  10. จะมีแถบโผล่มาบอกความคืบหน้าการฟอร์แมตและแบ่งพาร์ทิชั่น ขั้นตอนนี้ปกติไม่กี่นาทีก็เสร็จ พอเรียบร้อยแล้ว แถบความคืบหน้าจะหายไป
  11. ปกติไฟล์ติดตั้งจะอยู่ในโฟลเดอร์ Applications
  12. คลิกปุ่มนี้เพื่อยอมรับข้อตกลงการใช้งาน ที่ขึ้นในหน้าต่างติดตั้ง
  13. เพื่อเลือกไดรฟ์ที่จะติดตั้งระบบปฏิบัติการ
  14. เลือกแฟลชไดรฟ์จากในรายชื่อไดรฟ์ แล้วกด “Install”. เพื่อเริ่มขั้นตอนการติดตั้ง ปกติใช้เวลาประมาณ 30 นาทีขึ้นไป พอติดตั้งเสร็จ จะมีให้ตั้งค่าระบบปฏิบัติการใหม่
    • อาจจะมีให้กรอกข้อมูลล็อกอินที่ใช้ในคอมด้วย หลังกดติดตั้ง เพื่อยืนยันคำสั่ง
  15. จะมีให้กรอกข้อมูลอย่าง username/รหัสผ่าน สถานที่ และข้อมูล Wi-Fi เพื่อปรับแต่งระบบปฏิบัติการที่ติดตั้งไป เสร็จแล้วคอมจะบูทเข้าไดรฟ์
  16. ต้องเช็คก่อนว่าสลับไดรฟ์ที่ใช้บูทเครื่อง กลับไปที่ฮาร์ดไดรฟ์ของคอมแล้ว ไม่งั้นจะมีปัญหาหลังถอดแฟลชไดรฟ์
  17. เพื่อบูทกลับเข้าฮาร์ดไดรฟ์ของคอม เท่านี้ก็ eject แฟลชไดรฟ์ได้เลย
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าใช้แฟลชไดรฟ์ที่มี macOS/OSX กับเครื่อง Windows หรือกลับกัน มักจะมีปัญหาใหญ่เรื่อง incompatibility คือไฟล์ต่างๆ ใช้งานข้ามระบบกันไม่ได้ แต่ถ้าเป็น Linux จะใช้ได้กับแทบทุกเครื่อง
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,354 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา