ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ตาปลาหรือ helomas คือการหนาตัวของผิวที่มักจะเกิดขึ้นบนเท้า การหนาตัวนั้นเป็นกลไกธรรมชาติของผิวในการปกป้องตัวเอง โดยมักจะมีลักษณะเป็นตุ่มสากรูปกรวยที่นูนขึ้นมาจากส่วนของเท้าที่มีการเสียดสีมากเกินไป ความผิดปกติของเท้า กระดูกโหนก รองเท้าที่ไม่ได้ขนาด และการเดินผิดปกติสามารถนำไปสู่การเกิดตาปลาที่เจ็บปวดได้ [1] อย่างไรก็ตาม ข่าวดีคือการใช้พลาสเตอร์รักษาตาปลาอย่างถูกต้องนั้นจะสามารถกำจัดตาปลาได้อย่างง่ายดาย ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

ติดพลาสเตอร์รักษาตาปลาอย่างถูกต้อง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทำความสะอาดและเช็ดตาปลาให้แห้งเพื่อให้สามารถติดพลาสเตอร์ได้อย่างสนิท. การติดไม่สนิทอาจส่งผลให้พลาสเตอร์ตาปลาหลุดออกจากที่และสูญเสียประสิทธิภาพ หรือทำให้สัมผัสกับผิวหนังที่ปกติดี
  2. เช่นเดียวกับพลาสเตอร์ปิดแผล ส่วนที่เป็นกาวจะยึดติดไว้กับแผ่นรองพื้นยางเพื่อไม่ให้มีอะไรเกาะติดก่อนการใช้ ทิ้งแผ่นรองหลังจากที่ได้ถอดพลาสเตอร์ตาปลาแล้ว [2]
  3. วางส่วนวงกลมไว้บนตาปลาแล้วกดให้แน่นโดยให้ฝั่งที่เป็นกาวติดกับผิวหนัง. [3] ส่วนของพลาสเตอร์ที่เป็นวงกลมนั้นจะมียาที่มักผสมกรดซาลิไซลิกที่จะลอกผิวหนังของตาปลา [4] เจลของพลาสเตอร์ตาปลานั้นต้องสัมผัสกับตาปลาโดยตรงและขอบของตาปลาถ้าเป็นไปได้ เพราะอาจมีส่วนของตาปลาที่งอกเป็นวงกว้าง
    • ติดแผ่นกาวเพิ่มเติมไว้ตามขอบของพลาสเตอร์รักษาตาปลาเพื่อรักษาตำแหน่งไว้
    • หากใช้พลาสเตอร์รักษาตาปลากับนิ้วเท้า ให้พันส่วนกาวไว้รอบนิ้ว [5]
    • ส่วนวงกลมที่มีความนุ่มนั้นสามารถลดความเจ็บปวดโดยป้องกันตาปลาจากการสัมผัสหรือเสียดสีโดยตรงกับรองเท้าหรือสิ่งอื่น [6]
  4. สามารถติดพลาสเตอร์รักษาตาปลาแผ่นใหม่ตามที่ต้องการ. โดยส่วนมาก ควรติดพลาสเตอร์รักษาตาปลาแผ่นใหม่ทุกสองวัน [7] อย่างไรก็ตาม สามารถติดพลาสเตอร์รักษาตาปลาแผ่นใหม่ได้ทุกวันจนกว่าตาปลาจะหลุดหรือเป็นเวลาสูงสุดสองสัปดาห์ ขึ้นอยู่กับว่ากรณีใดจะเกิดขึ้นก่อนกัน [8]
  5. ซึ่งอาจได้แก่สีผิวแดง อาการคัน ผื่น หรืออาการอื่นๆ อาการปวดหรือความรู้สึกไม่สบายนั้นย่อมเกิดขึ้นได้เป็นปกติ [10] การระคายเคืองที่เรื้อรังหรือร้ายแรงอาจเกิดจากกรดซาลิไซลิกเป็นพิษ [11]
  6. ปรึกษาแพทย์หากพลาสเตอร์รักษาตาปลาไม่มีประสิทธิภาพ. ควรพบกับแพทย์อายุรกรรมทั่วไป แพทย์โรคเท้า หรือแพทย์ผิวหนังหากตาปลาของคุณมีอาการเจ็บปวดเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และไม่ตอบสนองต่อพลาสเตอร์รักษาตาปลา โดยแพทย์อาจให้เอกซ์เรย์เท้าเพื่อหาความผิดปกติของกระดูกหรือส่งต่อให้กับศัลยแพทย์กระดูกหากจำเป็น [13]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

เก็บรักษาพลาสเตอร์รักษาตาปลา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. [14] ผลิตภัณฑ์นี้ไม่มีอันตรายหากใช้อย่างถูกต้อง อย่างไรก็ตามกรดซาลิไซลิกอาจเป็นอันตรายเมื่ออยู่ในมือของเด็ก การนำไปใช้กับผิวหน้าอาจทำให้เกิดการไหม้ทางเคมีและการกลืนกินอาจก่อให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และปัญหาเกี่ยวกับหู [15]
  2. การเก็บที่อุณหภูมิสูงกว่านี้มักจะทำให้ผลิตภัณฑ์เสื่อมประสิทธิภาพ โดยแผ่นวงกลมอาจหลุด ทำให้กรดซาลิไซลิกรวมตัวบนตาปลาไม่หมด [16]
    • นอกจากนี้ เก็บผลิตภัณฑ์ไว้ให้ห่างจากแสงแดดโดยตรงหรือสภาพความชื้นสูง [17]
  3. การเสื่อมจากอายุนั้นจะก่อให้เกิดการเสื่อมประสิทธิภาพเช่นเดียวกับการเสื่อมจากความร้อน นอกจากการเสื่อมประสิทธิภาพของแผ่นกาวแล้ว วงกลมโฟมอาจสูญเสียลักษณะความนุ่มที่ช่วยป้องกันการเสียดสีและลดความเจ็บปวดจากตาปลา [18] [19]
    โฆษณา

คำเตือน

  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบไหลเวียนควรปรึกษาแพทย์
  • ใช้ภายนอกเท่านั้น
  • หลีกเลี่ยงการใช้กับผิวหนังแตก
  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานไม่ควรใช้พลาสเตอร์รักษาตาปลา
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 14,402 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา