ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการถนอมหูฟังให้เสียงและสภาพดีไปนานๆ หลายปี โดยเก็บรักษาอย่างถูกวิธี และไม่เปิดเสียงดังเกินไป

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

ป้องกันความเสียหายภายนอก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เวลาจะดึงปลั๊กหูฟังออกจากเครื่อง ให้จับที่ขั้วให้มั่นแล้วดึงออก ถ้าไปดึงหรือกระตุกสาย เท่ากับขั้วยิ่งตึง นานๆ ไปจะขาด เสียหายได้
  2. ถ้าแจ็คของหูฟังแน่น ให้จับหัวปลั๊กแล้วดึงออกอย่างมั่นคงทีเดียว อย่ากระตุกหรือกระชาก ขั้วกับสายจะเสียได้
  3. เหมือนจะเป็นอะไรที่ใครๆ ก็รู้อยู่ แต่ถ้าวางหูฟังทิ้งไว้ตามพื้น คุณจะเผลอทำพังได้ง่ายมาก เพราะงั้นต้องวางบนโต๊ะเสมอ หรือเก็บให้ดีๆ ตอนยังไม่ใช้
  4. ถ้ายังไม่ใช้หูฟัง ก็อย่าเสียบทิ้งไว้ เพราะถ้าเผลอลุก จะไปกระชากสายโดยบังเอิญจนขาดหรือเสียหายได้
  5. สำคัญมาก โดยเฉพาะหูฟังที่ไม่ได้หุ้มสายหนาๆ เพราะถ้าปล่อยให้สายพันกันยุ่งเหยิง สายจะหักงอ ลอก หรือขาดได้ ห้ามคิดว่ายัดๆ ใส่กระเป๋าไปลวกๆ ก็ได้เด็ดขาด
    • ให้ใช้คลิปดำ หรือบากบัตรพลาสติกเก่าๆ แล้วใช้จัดระเบียบสายหูฟัง ก็ประหยัดดี
    • ห้ามผูกสายเป็นปมหรือดึงให้ตึง
  6. เพราะแรงดึงดูดจะไปถ่วงหูฟังจนตึงโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะที่ขั้วเสียบหูฟัง เพราะงั้นก็พันเก็บให้เรียบร้อย อย่าปล่อยห้อยออกมานอกกระเป๋าหรือโต๊ะ
  7. ก็เหมือนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป คือห้ามให้หูฟังโดนน้ำเด็ดขาด ยิ่งถ้าเผลอทำตกน้ำ ยิ่งต้องรีบเก็บขึ้นมาโดยด่วน จากนั้นเทแอลกอฮอล์ล้างแผลใส่ แล้วผึ่งลมไว้ 2 - 3 ชั่วโมง [1] ถ้าน้ำเข้าไม่มากนัก วิธีนี้ช่วยฟื้นสภาพหูฟังได้แน่นอน
  8. นอกจากอันตรายต่อหูแล้ว ถ้าหลับแล้วเผลอพลิกตัวไปนอนทับ ยังทำให้หูฟังงอหรือหักได้เลย
  9. ถ้าต้องพกพาหูฟังไปข้างนอกบ่อยๆ ควรจะมีเคสหรือถุง/กระเป๋านุ่มๆ เอาไว้ใส่ หูฟังบางยี่ห้อก็มีเคสมาให้แต่แรกหรือมีเคสเฉพาะที่หาซื้อมาใช้กันได้ แต่จะเลือกเคสสำหรับใส่หูฟังทั่วไปก็ได้เหมือนกัน
  10. หูฟังถูกๆ จะลดคุณภาพของชิ้นส่วนต่างๆ ทั้งภายนอกและภายใน ถ้ารู้ตัวว่าเป็นคนใช้งานหูฟังแบบสมบุกสมบัน ก็ควรเลือกซื้อหูฟังที่คุณภาพดีแต่แรก (ถึงจะแพงหน่อย) เพราะทนทานกว่าเยอะเลย
    • ถ้าสายหูฟังมีผ้าหุ้ม ก็จะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องสายพันกันเป็นปม อายุการใช้งานก็จะยืดยาวขึ้น
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ป้องกันความเสียหายภายใน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าเสียบหูฟังตอนเปิดเสียงไว้ดังๆ ระวังหูฟังจะเสีย ให้ลด volume ในคอมหรืออุปกรณ์ต่างๆ ก่อน แล้วค่อยเสียบหูฟัง และอย่าเพิ่งเอาหูฟังเสียบไว้ในหู จนกว่าจะเสียบกับอุปกรณ์แล้ว [2]
    • พอเสียบหูฟังแล้ว ก็ค่อยๆ เพิ่มเสียงจนอยู่ในระดับที่ฟังสบาย ไม่เบาหรือดังเกินไป
  2. เสียงดังๆ นอกจากอันตรายต่อหูแล้วยังทำลำโพงของหูฟังแตกได้ หลังจากนั้นเสียงจะออกมาซ่าหรืออู้อี้ไปเลย ถ้ารู้สึกว่าเสียงที่ได้ยินเริ่มแตก แสดงว่าคุณเปิด volume ดังไปแล้ว [3]
    • อย่าเปิด audio volume ดังๆ หรือดังจนสุด เพราะเสี่ยงทำลำโพงของหูฟังแตกได้ง่ายมาก ถ้าจำเป็นต้องเพิ่ม volume ของหูฟังจริงๆ แต่เพิ่ม source volume หรือเสียงในเครื่องไม่ได้แล้ว ให้เช็ค amplifier ของหูฟัง [4]
  3. หูฟังส่วนใหญ่จะไดรฟ์เวอร์เบสไม่แรง ถ้าเน้นเสียงเบสหนักๆ หูฟังจะพังเร็ว เพราะเบสเป็นเสียงคลื่นความถี่ต่ำ จะไปเพิ่มภาระให้หูฟังที่ไม่ได้รองรับเสียงหลายระดับเท่าไหร่ เพราะงั้นให้ปรับ level mixer ในเครื่องให้ bass levels ต่ำๆ และปิดตัวเลือก "Bass Boost" ให้หมด
  4. ถ้าใครเน้นเสียบหูฟังกับมือถือหรือคอมก็ไม่มีปัญหาเลย แต่ถ้าเสียบกับเครื่องเสียงหรือ stereo แบบ high-end ก็ต้องเช็คดีๆ ว่าหูฟังรับ power output ของเครื่องได้ ส่วนใหญ่หูฟังถูกๆ จะแรงไม่พอ รับไม่ไหว พังได้ง่ายๆ เลย
    • ลองอ่านคู่มือหูฟังดู ถ้าอยากรู้ว่าหูฟังนั้นรองรับโอห์มเท่าไหร่ รวมถึงเช็ค ohm output ของอุปกรณ์ที่ใช้เปิดเสียงด้วย
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าจะเก็บหูฟังโดยพันสายรอบเครื่องที่ใช้ฟังเพลง ก็อย่าเสียบหูฟังค้างไว้ เพราะเดี๋ยวสายไฟข้างในจะหักหรือขาด
  • เวลาเลือกซื้อหูฟัง ให้เลือกที่มี strain relief (ตรงขั้วปลั๊กจะมีพลาสติกหนาหน่อย บากเป็นร่องๆ สลับกันไป) เพราะช่วยป้องกันและเพิ่มความแข็งแรงให้กับสายหูฟัง
  • ถ้า stereo หรือเครื่องเล่น MP3 มี volume limiting system คือจำกัด volume สูงสุด ก็ให้ใช้ซะ จะได้ป้องกันอันตรายจากเสียง และช่วยยืดอายุหูฟังด้วย
  • อย่าลืมเอาหูฟังออกจากกระเป๋าก่อนซักเสื้อผ้า
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าฟังเพลงเสียงดังติดต่อกันนานๆ จะทำกระทบต่อการได้ยินในระยะยาวได้เลย
  • ถ้าคนอื่นได้ยินเสียงลอดออกมาจากหูฟังของคุณ แสดงว่าเป็นหูฟังแบบเปิด (open headphone) ปกติหูฟังแบบปิด (enclosed headphone) จะกันเสียงได้ดี ซึ่งถ้าคุณใช้อย่างหลังแล้วยังมีคนได้ยินเสียง แสดงว่าเปิดดังไปแล้ว!
โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 8,902 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา