PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าคุณทำอุปกรณ์ Android ของคุณหาย ก็ตามกลับมาได้ โดยใช้ Android Device Manager รวมถึงตั้ง lock password ใหม่ ทำให้โทรศัพท์ดัง หรือล้างข้อมูลไปทั้งเครื่องซะเลย ถ้าเป็นอุปกรณ์ Android ใหม่ๆ ส่วนใหญ่จะเปิดใช้งานอยู่แล้วตามค่า default แต่ถ้าเป็นรุ่นเก่าๆ ก็ต้องตั้งค่าเองซะก่อน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

เปิดใช้งาน

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าเป็นอุปกรณ์ Android เวอร์ชั่น 2.2 (Froyo) ขึ้นไป ก็ใช้ Android Device Manager ได้แน่นอน ให้ติดตั้ง Google Play Services ซะก่อน ปกติจะติดตั้งอัตโนมัติถ้าเคยเข้า Google Play Store
    • หมายเหตุ: อุปกรณ์ Android รุ่นใหม่ๆ ส่วนใหญ่จะเปิดทุกอย่างในหัวข้อนี้ไว้ตามค่า default อยู่แล้ว
  2. ปกติใครใช้ Android ก็จะล็อกอินไว้อยู่แล้ว แต่ถ้ายัง ให้เพิ่มบัญชี Google จากในเมนู Settings
    • เปิดแอพ Settings แล้วเลื่อนลงไปที่หัวข้อ "Accounts"
    • แตะ "Add account" แล้วเลือก "Google"
    • พิมพ์ username และรหัสผ่านของบัญชี Google เพื่อล็อกอิน
  3. อุปกรณ์ของคุณจะไปโผล่ในแผนที่ของ Android Device Manager ได้ ต้องเปิด location services ไว้ซะก่อน
    • เปิดแอพ Settings แล้วแตะ "Location"
    • เช็คว่าเลื่อนสวิตช์ไปที่ on แล้ว
    • เลือกโหมด "High accuracy" เพื่อให้ระบุตำแหน่งละเอียดที่สุด
  4. อุปกรณ์ Android ทุกเครื่องที่ใช้เวอร์ชั่น 2.2 ขึ้นไป และมี Google Play Services ก็จะมีแอพนี้ติดตั้งอยู่แล้ว ใช้ปรับแต่ง settings ของ Android Device Manager ในอุปกรณ์นั้นได้ [1]
    • แตะ "Security" ในหัวข้อ "Services"
    • เช็คว่าติ๊ก "Remotely locate this device" แล้ว. เพื่อให้ Android Device Manager ระบุตำแหน่งของอุปกรณ์ได้ แล้วแสดงในแผนที่
    • เช็คว่าติ๊ก "Allow remote lock and erase" แล้ว. เป็นฟีเจอร์รักษาความปลอดภัยที่สำคัญ จะช่วยคุณปกป้องข้อมูล เผื่อทำเครื่องหายหรือถูกขโมย
  5. สิ่งสุดท้ายที่ต้องติ๊กเพื่อเปิดใช้ Android Device Manager คือ administrator permissions หรืออนุญาตสิทธิ์แอดมิน ให้สามารถล็อคเครื่องและลบข้อมูลจากระยะไกลได้ [2]
    • เลือก "Security" ในเมนู Settings
    • เลื่อนลงไปแตะ "Device administrators"
    • เช็คว่าติ๊ก "Android Device Manager" แล้ว
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ติดตามและจัดการอุปกรณ์ของคุณ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. เปิด Android Device Manager เพื่อติดตามและจัดการอุปกรณ์ของคุณ. คุณเปิด Android Device Manager ได้ 2 วิธีด้วยกัน
    • เว็บ Android Device Manager - เข้าเว็บ google.com/android/devicemanager แล้วล็อกอินด้วยบัญชี Google เดียวกับที่ล็อกอินไว้ในอุปกรณ์ Android ที่หายไป
    • แอพ Android Device Manager - ดาวน์โหลดแอพ Android Device Manager ใน Google Play Store ด้วยอุปกรณ์ Android เครื่องอื่น ถ้าใช้แอพในอุปกรณ์ Android ของคนอื่น ก็ล็อกอินเป็น Guest ได้ ให้ล็อกอินด้วยบัญชี Google เดียวกับที่ล็อกอินไว้ในอุปกรณ์ Android ที่หายไป แอพ Android Device Manager จะใช้ใน iOS ไม่ได้ แบบนั้นให้เข้าเว็บแทน
  2. ถ้าพ่วงหลายอุปกรณ์ Android ไว้กับบัญชีผู้ใช้เดียว จะมีให้เลือก ว่าจะติดตามและจัดการอุปกรณ์ไหน โดยคลิกชื่อของอุปกรณ์ที่ active อยู่ แล้วเลือกอุปกรณ์ที่ต้องการในเมนู
  3. ถ้าเปิดใช้ location services ในอุปกรณ์ไว้แล้ว ก็สามารถติดตามอุปกรณ์ในแผนที่ได้เลย ถ้าอุปกรณ์นั้นมีสัญญาณ GPS แผนที่จะค่อนข้างละเอียดแม่นยำมาก แต่ถ้าเปิดไว้เฉพาะ wireless location ก็อาจจะผิดพลาดได้หรือไม่โผล่มาในแผนที่เลย
    • ถ้า Android Device Manager หาตำแหน่งเป๊ะๆ ไม่เจอ จะขึ้นเป็นวงกลม บอกให้รู้ว่าอุปกรณ์อยู่ที่ไหนสักแห่งในระยะ อย่างน้อยคุณก็ไปตามต่อได้จนเจอพิกัดที่ถูกต้อง
  4. ถ้าอุปกรณ์อยู่ใกล้บริเวณที่คุณอยู่ ลองตั้งให้เสียงดังขึ้นมาได้ โดยคลิกปุ่ม "Ring" อุปกรณ์ของคุณจะเปิดเสียงดังสุดเป็นเวลา 5 นาที หรือจนกว่าอุปกรณ์จะถูกปลดล็อค
  5. ถ้ากลัวว่าอุปกรณ์ของตัวเองจะตกไปอยู่ในมือคนร้าย ก็ให้ล็อคเครื่องด้วยรหัสผ่านใหม่ โดยคลิกปุ่ม "Lock" ซึ่งต้องใส่รหัสผ่านนี้เวลาจะปลดล็อคอุปกรณ์ รวมถึงส่งข้อความไปโผล่ที่หน้าจอของอุปกรณ์ได้ด้วย
  6. ถ้ากลัวว่าอุปกรณ์จะถูกคนร้ายขโมยไป หรือทำใจว่าคงหายไปแน่แล้ว ก็ล้างข้อมูลและ settings ทั้งหมดในเครื่องได้ โดยคลิกปุ่ม "Erase" เพื่อรีเซ็ตเครื่องคืนค่าโรงงาน (factory reset) ถ้าอุปกรณ์นั้นไม่ได้ต่อเน็ตอยู่ ก็จะรีเซ็ตตัวเองทันทีที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • คุณเปลี่ยนชื่อของแต่ละอุปกรณ์ได้ โดยคลิกปุ่มรูปดินสอ (Pencil) จะได้หาอุปกรณ์นั้นเจอง่ายๆ โดยเฉพาะคนที่มี Android หลายอุปกรณ์
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าสันนิษฐานว่าเครื่องถูกขโมย ก็อย่าตามรอยเครื่องจากแผนที่เพราะหวังจะจับโจรด้วยตัวเอง แนะนำให้แจ้งตำรวจจะปลอดภัยกว่า
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 8,094 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา