ดาวน์โหลดบทความ
ดาวน์โหลดบทความ
คอมส่วนใหญ่จะใช้ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows แต่เดี๋ยวนี้ก็มีหลายเว็บและคอมหลายเครื่องที่ทำงานด้วย Linux เวอร์ชั่นต่างๆ อันเป็น kernel หนึ่งของ Unix ใครไม่เคยใช้ Linux มาก่อน ก็อาจจะแอบกลัวนิดหน่อย เพราะค่อนข้างต่างจาก Windows ที่คนส่วนใหญ่ใช้และคุ้นเคยกัน แต่บอกเลยว่า Linux หลายเวอร์ชั่นใช้ง่าย เพราะออกแบบมาให้หน้าตาคล้ายๆ ความรู้สึกเหมือนใช้ Windows อยู่ ใครที่อยากจะเปลี่ยนไปใช้ Linux ก็ลองดูเลย รับรองจะเป็นประสบการณ์ที่คุ้มค่า เพราะ Linux ปรับแต่งได้ง่าย ที่สำคัญคือเร็วกว่า Microsoft Windows เยอะเลย
ขั้นตอน
-
ทำความรู้จักกับระบบ. ลองดาวน์โหลดและติดตั้งลงคอมก่อน ยังไม่ต้องเปลี่ยนไปใช้ถาวรก็ได้ เพราะคุณสามารถแบ่งพาร์ทิชั่นฮาร์ดไดรฟ์แล้วลงทั้งระบบเก่าและ Linux ได้ในคอมเครื่องเดียวกัน (ยิ่งถ้าระบบหนึ่งเป็น virtual machine หรือระบบเสมือน ก็สามารถใช้ 2 ระบบพร้อมกันได้เลย)
-
คุณทดลองใช้ Linux หลายเวอร์ชั่นได้ด้วย "Live CD". เหมาะกับคนที่ยังไม่อยากติดตั้งระบบปฏิบัติการที่ 2 ลงในคอม โดย live CD จะใช้บูทเข้า Linux ได้เลย ไม่ต้องติดตั้งในคอม อย่าง Ubuntu ก็เป็นหนึ่งในเวอร์ชั่นของ Linux ที่บูทเครื่องจากแผ่น CD หรือ DVD เข้า Live mode ได้ ถ้าทดลองใช้แล้วชอบใจ ก็ติดตั้งได้เลยจากแผ่นเดียวกัน
-
ลองใช้ฟังก์ชั่นที่ปกติใช้ในระบบเก่า. อย่างถ้าปกติใช้โปรแกรม word processor หรือไรท์แผ่น CD แล้วทำไม่ได้ ก็ลองหาวิธีดู จดไว้เลยก็ได้ ว่าจะใช้คอมทำอะไรบ้าง แล้วดูว่า Linux ทำตามนั้นได้ไหม ถ้าทำได้ก็ค่อยตัดสินใจติดตั้งจริง
-
รู้จักเวอร์ชั่นหรือ distributions ต่างๆ ของ Linux. เวลาพูดถึง "Linux" ส่วนใหญ่เราจะหมายถึง "GNU/Linux Distribution" ซึ่ง distribution ก็คือเวอร์ชั่นหรือคอลเลคชั่นของโปรแกรมที่ทำงานบนโปรแกรมเล็กจิ๋วชื่อ Linux kernel อีกที
-
ลองใช้คอมแบบ dual boot. จะได้เข้าใจเรื่องการแบ่งพาร์ทิชั่น แถมใช้ระบบ Windows ต่อไปได้ แต่อย่าลืม backup ข้อมูลส่วนตัวและ settings ทั้งหมดก่อนทดลองใช้คอมแบบ dual boot
-
ติดตั้งระบบ. ทำความเข้าใจเรื่องการติดตั้งและถอนการติดตั้งระบบก่อนเพื่อนเลย ตามด้วยเรื่อง package management และ repositories พวกนี้เป็นความรู้พื้นฐานที่สำคัญต่อการใช้ Linux
-
หัดป้อนคำสั่งแบบ command-line (ทำใจให้ชอบซะเพราะจำเป็น). Linux จะเรียกว่า 'Terminal', 'หน้าต่าง terminal' หรือ 'shell' เหตุผลหลักที่หลายคนเปลี่ยนมาใช้ Linux ก็เพราะมี terminal นี่แหละ เพราะงั้นอย่าไปชิงกลัวซะก่อน บอกเลยว่าเป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพมาก เพราะไม่มีข้อจำกัดบางอย่างเหมือน command prompt ของ Windows จริงๆ จะใช้ Linux แบบไม่ใช้ terminal เลยก็ได้ เหมือน Mac OSX แต่ถ้าใช้คำสั่ง "apropos" ก็จะหาคำสั่ง (command) ใช้ทำนู่นทำนี่ได้ หรือ "apropos user" ก็ใช้แสดงรายชื่อคำสั่งที่มีคำว่า "user" ในคำอธิบายได้
-
ทำความคุ้นเคยกับระบบไฟล์ของ Linux. ข้อแรกที่เห็นได้ชัด คือไม่มี "C:\" เหมือนใน Windows ทุกอย่างจะเริ่มจาก root ของ file system (คือ "/") เวลาจะเข้าฮาร์ดไดรฟ์ต่างๆ ก็ต้องเข้าทาง /dev หรือก็คือ home directory เหมือน C:\Documents and Settings ของ Windows XP และ 2000 โดยเป็น /home/(username ของคุณ)/ แทน
-
ติดตั้งและใช้ Linux ยังไงได้บ้าง. มีทั้งพาร์ทิชั่นแบบเข้ารหัส (encrypted partitions) file system แบบใหม่ที่เร็วทันใจ (เช่น btrfs) ใช้วิธีแบบ RAID คือควบรวม 2 ฮาร์ดดิสก์ให้เหมือนเป็นตัวเดียวที่ประสิทธิภาพสูงขึ้น ทำให้ใช้งานเสถียรและเร็วขึ้นอีกเยอะ สุดท้ายคือลองติดตั้งและบูท Linux จากแท่ง USB แล้วจะรู้ว่าคุณทำอะไรได้อีกเยอะเลย!โฆษณา
เคล็ดลับ
- สร้างระบบ Linux แรกของคุณโดยคำนึงถึงฟังก์ชั่นการใช้งานที่ต้องการ และทำตามคู่มืออย่างเคร่งครัด เช่น ขั้นตอนการติดตั้ง file server จะค่อนข้างง่าย มีหลายเว็บที่แนะนำละเอียดทุกขั้นตอน จะได้รู้ว่าอะไรอยู่ตรงไหน ใช้ทำอะไร และจะปรับแต่งยังไง
- โฟลเดอร์ของ Linux เรียกว่า "directories" ไม่ใช่ "folders" จริงๆ ก็คืออย่างเดียวกัน เพียงแต่ "โฟลเดอร์" เป็นคำที่ใช้กับ Windows
- ใจเย็น ค่อยๆ ศึกษาไป ถ้าอยากจะใช้ GNU ให้เป็น อย่าพยายามเปลี่ยนเวอร์ชั่นไปเรื่อยๆ เพราะใช้ไม่เป็น การแก้ปัญหาการใช้งานและเรียนรู้เวอร์ชั่นที่มีไปเรื่อยๆ นี่แหละ ที่จะทำให้คุณใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพที่สุดในภายหลัง
- มีแต่ DOS ที่ใช้ "\" หรือ slash กลับด้าน แบ่ง directories เพราะ Linux จะใช้ "/" หรือ slash ปกติแทน ถ้าเป็น slash กลับด้าน Linux จะใช้ในรหัสคำสั่งพิเศษ (escaping characters) เช่น \n เวลาขึ้นบรรทัดใหม่ หรือ \t คือ tab
- ถ้าอยากปรึกษาปัญหาการใช้งานในแทบทุกโปรแกรมหรือเวอร์ชั่น ให้ค้นหาใน IRC server ที่ irc.freenode.net (เช่น #debian, #ubuntu, #python, #FireFox และอื่น) หรือถามในเว็บบอร์ดแทน
- มีหลายเว็บและ mailing lists ในเน็ต ที่ให้ความรู้เรื่อง Linux ยังไงลองค้นหาปัญหาหรือเรื่องที่ต้องการคำตอบดู
- หนังสือสอนใช้ Linux ดี (ภาษาอังกฤษ) ก็คือของสำนักพิมพ์ John Wiley & Sons, O'Reilly และ No Starch Press นอกจากนี้ยังมีหนังสือชื่อ "In the Beginning ... was the Command Line" โดย Neal Stephenson กับ "LINUX: Rute User's Tutorial and Exposition"
โฆษณา
คำเตือน
- ในทุก *nix systems (เช่น Linux, UNIX, *BSD และอื่นๆ) บัญชีแอดมินหรือ superuser จะเป็น 'root' แต่ถึงคุณจะเป็นแอดมินของเครื่อง ก็อย่าใช้ 'root' เวลาทำงาน ถ้าติดตั้งแล้วมีแต่ root user ก็ต้องสร้างบัญชีธรรมดาเป็น 'useradd <ชื่อคุณ>' แยกไว้แล้วใช้งานทั่วไป เพราะ *nix systems จะเหมารวมว่า root รู้ทุกการใช้งานและทุกอย่างปลอดภัยดี เลยไม่ขึ้นคำเตือน เวลาพิมพ์บางคำสั่ง ระบบก็จะแอบลบทุกไฟล์ในคอมไปเงียบๆ แบบไม่เตือนให้คุณยืนยัน เพราะคิดว่า root สั่งมา
- อย่าใช้คำสั่ง rm -rf / หรือ sudo rm -rf / เว้นแต่จะลบข้อมูลทั้งหมดจริงๆ ถ้าอยากรู้รายละเอียด ให้ลองใช้คำสั่ง 'man rm'
- บางทีคำสั่งที่เจอในเน็ตก็ อันตราย ลองเช็คให้ชัวร์ก่อนว่าเป็นคำสั่งใช้ทำอะไร
- อย่าสร้างไฟล์ชื่อ '-rf' เพราะถ้าใช้คำสั่งลบไฟล์ทั้งหมดใน directory นั้น พอเจอไฟล์ '-rf' ก็จะถือเป็น command line argument เลยลบไฟล์ทั้งหมดใน directories ย่อยไปด้วย
- หลายคนได้เรียนรู้ "curses" ใหม่ๆ ในเว็บ เลยอยากเอามาลองพิมพ์ใช้จริง แต่ส่วนใหญ่จะเหลว เพราะเวอร์ชั่น Linux ที่คุณใช้นั้นใหม่กว่า คอมก็อาจจะต่างกัน ให้ลองใช้ "curse" พร้อมตัวเลือก --help หรือช่วยเหลือก่อน จะได้รู้ว่าใช้ทำอะไรกันแน่ จะทำให้แก้ปัญหายิบย่อยได้ง่ายขึ้น ( /dev/sda -> /dev/sdb และอื่นๆ) ใช้คำสั่งแล้วได้ผลอย่างที่ควรจะเป็น
- ต้อง backup ไฟล์ก่อนเสมอ แล้วค่อยลองแบ่งพาร์ทิชั่นของไดรฟ์ตอนติดตั้ง Linux ให้ backup ไฟล์ลงสื่อพกพาต่างๆ เช่น แผ่น CD แผ่น DVD แท่ง USB หรือฮาร์ดไดรฟ์อื่น (ที่ไม่ใช่พาร์ทิชั่นอื่น)
โฆษณา
สิ่งของที่ใช้
- คอมพิวเตอร์ (ที่เหมาะกับจุดประสงค์การใช้งาน)
- ระบบปฏิบัติการ Linux (ดาวน์โหลดได้ฟรีจากในเน็ต)
เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้
มีการเข้าถึงหน้านี้ 13,241 ครั้ง
โฆษณา