ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

Linux เป็นเหมือนรากฐานของระบบปฏิบัติการแบบ open source อีกหลายพันแบบ ที่ออกแบบมาเพื่อทดแทน Windows และ Mac OS คุณดาวน์โหลดและติดตั้ง Linux ได้ฟรีในคอมเครื่องไหนก็ได้ พอเป็นโปรแกรม open source แล้ว เลยทำให้แตกแยกย่อยออกเป็นสารพัดเวอร์ชั่น (distributions) จากสารพัดผู้พัฒนา บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการติดตั้ง Linux เวอร์ชั่นทั่วไป และแบบเจาะจงเฉพาะบางเวอร์ชั่นที่คนนิยมใช้ให้คุณเอง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

ติดตั้ง Linux ทุกเวอร์ชั่น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าเพิ่งเคยใช้ Linux แนะนำให้เลือกเวอร์ชั่นที่ไม่หนักเครื่อง และใช้ง่ายหน่อย เช่น Ubuntu หรือ Linux Mint เวอร์ชั่นของ Linux เรียกว่า distributions (หรือ "distros") ปกติดาวน์โหลดได้ฟรี ในรูปของไฟล์ ISO คุณหาไฟล์ ISO ของ distribution ที่ต้องการได้ในเว็บ distribution ไฟล์ที่ได้มาก็ต้องไรท์ลงแผ่น CD หรือแฟลชไดรฟ์ USB ก่อน ถึงจะเอาไปติดตั้งได้ แบบนี้เรียกว่า Live CD หรือ Live USB
    • Live CD หรือ Live USB เป็นไดรฟ์ที่ใช้บูทเครื่องได้เลย และมักจะมีเวอร์ชั่น preview ของระบบปฏิบัติการให้ทดลองใช้จากในแผ่น CD หรือแฟลชไดรฟ์ USB ได้เลย
    • ติดตั้งโปรแกรมไรท์ไฟล์อิมเมจ หรือใช้ burning tool ที่มีในระบบ Windows 7, 8 หรือ Mac OS X โดย tool ที่คนนิยมใช้ไรท์ไฟล์ ISO ลงแฟลชไดร์ USB กันก็คือ Pen Drive Linux กับ UNetBootin นั่นเอง
  2. คอมส่วนใหญ่จะตั้งค่ามาให้บูทเข้าฮาร์ดไดรฟ์ก่อน แปลว่าต้องเปลี่ยนบาง settings ถึงจะบูทจากแผ่น CD หรือ USB ที่เพิ่งไรท์ไป ให้เริ่มจากรีสตาร์ทคอม
    • พอรีสตาร์ทเสร็จ ให้กดปุ่มสำหรับเข้าเมนู boot ปุ่มที่ต้องกดจะขึ้นอยู่ในหน้าจอเดียวกับที่มีโลโก้ยี่ห้อคอม ปุ่มยอดนิยมคือ F12, F2 และ Del
      • ถ้าใช้ Windows ให้กดปุ่ม Shift ค้างไว้แล้วคลิกรีสตาร์ท เพื่อโหลดเข้า Advanced Startup Options แล้วบูทเครื่องจากแผ่น CD
      • ถ้าใช้ Windows 10 ให้ไปที่ advanced boot ใน settings แล้วคลิก "Restart Now"
      • ถ้าคอมที่ใช้ เข้าเมนู boot โดยตรงจากหน้าจอที่มีโลโก้ยี่ห้อไม่ได้ แสดงว่าซ่อนอยู่ในเมนู BIOS ให้เข้าเมนู BIOS ก่อนแบบเดียวกับที่เข้าเมนู boot พอเจอหน้าที่มีโลโก้ยี่ห้อคอม ก็จะเห็นปุ่มที่ต้องกด ตรงมุมใดมุมหนึ่งล่างหน้าจอ
    • พอเข้าเมนู boot แล้ว ให้เลือก live CD หรือ USB พอเปลี่ยน settings แล้วให้เซฟ จากนั้นออกจากเมนู BIOS setup หรือเมนู boot คอมจะทำขั้นตอนการบูทเครื่องต่อไป
  3. คุณเปิด "live environment" ใน Live CD และ USB ได้ เพื่อทดลองใช้ก่อนติดตั้งจริง แต่จะสร้างไฟล์ไม่ได้ ทำได้แค่เลือกนู่นนี่ในหน้าเมนู ว่าเวอร์ชั่นนี้ตรงใจคุณหรือเปล่า
  4. ถ้าอยากลองใช้ดูก่อน ให้เปิดไฟล์ติดตั้งจากในแอพที่หน้า desktop แต่ถ้าตัดสินใจจะติดตั้งเลย ให้เปิดไฟล์ติดตั้งจากในเมนู boot
    • จะมีให้ตั้งค่าตัวเลือกพื้นฐานบางอย่าง เช่น ภาษา รูปแบบคีย์บอร์ด และโซนเวลา
  5. ต้องกำหนดข้อมูลล็อกอินก่อนถึงจะติดตั้ง Linux ได้ ซึ่งก็ต้องมีรหัสผ่าน ถึงจะล็อกอินเข้าบัญชีผู้ใช้ และทำ task ต่างๆ ในฐานะแอดมินเจ้าของเครื่องได้
  6. คุณต้องติดตั้ง Linux ในอีกพาร์ทิชั่นที่แยกจากระบบปฏิบัติการต่างๆ ในคอม ถ้าอยากใช้ Linux ควบคู่ไปกับระบบปฏิบัติการอื่น พาร์ทิชั่นก็คือส่วนหนึ่งของฮาร์ดไดรฟ์ ที่ฟอร์แมตมาเพื่อระบบปฏิบัติการโดยเฉพาะ แต่คุณข้ามขั้นตอนนี้ได้ ถ้าอยากใช้แค่ระบบปฏิบัติการเดียว
    • บางเวอร์ชั่นของ Linux อย่าง Ubuntu ค่าตั้งต้นจะแนะนำให้แบ่งพาร์ทิชั่น ก็ไปปรับเปลี่ยนได้เอง การติดตั้ง Linux ส่วนใหญ่จะใช้พื้นที่ 20 GB ขึ้นไป เพราะงั้นก็ต้องแบ่งพื้นที่ไว้ให้พอสำหรับทั้งระบบปฏิบัติการ Linux โปรแกรมอื่นๆ ที่จะติดตั้ง และไฟล์ที่จะสร้าง
    • ถ้าขั้นตอนการติดตั้งไม่ได้แนะนำให้แบ่งพาร์ทิชั่น ก็ต้องเช็คว่าพาร์ทิชั่นที่คุณแบ่งนั้นฟอร์แมตเป็น Ext4 ถ้าจะติดตั้ง Linux เป็นระบบปฏิบัติการเดียวในคอม ก็ต้องกำหนดขนาดพาร์ทิชั่นเอง
  7. พอติดตั้งเสร็จแล้ว คอมจะรีสตาร์ท จะมีหน้าจอใหม่โผล่มาหลังคอมบูทเสร็จ เรียกว่า “GNU GRUB” เป็น boot loader ที่ใช้จัดการการติดตั้ง Linux ให้เลือก Linux เวอร์ชั่นใหม่จากในรายชื่อ แต่หน้าจอนี้อาจไม่โผล่มาถ้ามีแค่ระบบปฏิบัติการเดียวในคอม ถ้าหน้าจอนี้ไม่โผล่มาอัตโนมัติ ก็เปิดได้โดยกด shift ทันทีหลังโลโก้ยี่ห้อคอมโผล่มา
    • ถ้าติดตั้งหลายระบบในคอมเครื่องเดียว ก็จะขึ้นอยู่ในหน้านี้ทั้งหมด
  8. ปกติอุปกรณ์ทั่วไปจะใช้ได้กับ Linux แต่บางทีก็ต้องดาวน์โหลดบางไดรฟ์เวอร์เพิ่มเติม ถึงจะใช้งานได้
    • บางอุปกรณ์ต้องมีไดรฟ์เวอร์เฉพาะ ถึงจะใช้งานกับ Linux ได้ ซึ่งการ์ดจอส่วนใหญ่เป็นแบบนี้ ปกติจะมีไดรฟ์เวอร์แบบ open source ให้ใช้ แต่ถ้าอยากใช้การ์ดจอให้เต็มประสิทธิภาพที่สุด ก็ต้องไปดาวน์โหลดไดรฟ์เวอร์เฉพาะมาจากเว็บของผู้ผลิต
    • ถ้าใช้ Ubuntu ให้ดาวน์โหลดไดรฟ์เวอร์เฉพาะจากในเมนู System Settings เลือก Additional Drivers แล้วเลือกการ์ดจอจากในรายชื่อ ถ้าเป็นเวอร์ชั่นอื่น ก็จะมีขั้นตอนเฉพาะเวลาดาวน์โหลดไดรฟ์เวอร์
    • คุณหาไดรฟ์เวอร์อื่นๆ ในรายชื่อนี้ได้ด้วย เช่น ไดรฟ์เวอร์ Wi-Fi
  9. พอติดตั้งเสร็จ และเช็คแล้วว่าอุปกรณ์ทำงานได้ตามปกติ ก็เริ่มใช้งาน Linux ได้เลย แทบทุกเวอร์ชั่นจะมีโปรแกรมยอดนิยมติดมาด้วยแล้ว แต่จะดาวน์โหลดเพิ่มเติมจาก file repositories ที่เกี่ยวข้องก็ได้
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ติดตั้ง Linux แบบเจาะจงเวอร์ชั่น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ติดตั้ง Ubuntu . Ubuntu เป็นหนึ่งใน Linux เวอร์ชั่นที่คนนิยมใช้กันมากที่สุด ณ ปัจจุบันนี้ Ubuntu จะมี 2 แบบด้วยกัน คือเวอร์ชั่นปกติ (short term support) ที่มีฟีเจอร์ใหม่ๆ กับ LTS (long term support) ถ้าเป็น LTS จะรองรับโปรแกรมต่างๆ มากกว่า
  2. Fedora ก็เป็นอีกเวอร์ชั่นที่คนนิยมใช้กัน โดย Fedora จะพบมากในระบบสำหรับองค์กรหรือภาคธุรกิจ
  3. Debian คืออีกหนึ่งเวอร์ชั่นยอดนิยมของคอ Linux เรียกได้ว่าเป็นเวอร์ชั่นที่แทบจะปลอด bug เวอร์ชั่นหนึ่งเลยทีเดียว [1] นอกจากนี้ Debian ยังมี software packages มากมายให้ได้เลือกใช้กัน
  4. ติดตั้ง Linux Mint . Linux Mint เป็นหนึ่งในเวอร์ชั่นใหม่ล่าสุดของ Linux ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นเวอร์ชั่นที่ต่อยอดมาจาก Ubuntu แต่มี tweaks ต่างๆ มากมายที่เกิดจากคำแนะนำติชมของผู้ใช้จริงๆ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • แนะนำให้ต่อเน็ตโดยเสียบสายที่คอม ระหว่างติดตั้ง Linux
  • ใจเย็นๆ เพราะบางเวอร์ชั่นต้องใช้เวลา
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าไม่แบ่งพาร์ทิชั่นฮาร์ดไดรฟ์แล้วใช้งานควบคู่กันไป 2 ระบบปฏิบัติการ ระวังข้อมูลทั้งหมดจะ ถูกลบ หายไป
  • เวลาลงระบบปฏิบัติการใหม่ ก็แน่นอนว่าระบบปฏิบัติการเก่าจะหายไป! ข้อมูลในคอมก็ถูกลบหายไปแน่นอน! เพราะงั้นต้องระวัง
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 27,396 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา