ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณอาจจะเพิ่งทะเลาะกับเพื่อนสนิท หงุดหงิดจากที่ทำงานหรือที่โรงเรียน หรือแค่รู้สึกไม่สบาย ทุกคนล้วนมีช่วงเวลาที่รู้สึกไม่ค่อยมีความสุขกับอะไรที่ต้องทำกันทั้งนั้น และสิ่งแรกที่คุณควรจำไว้คือคุณไม่ได้อยู่คนเดียว ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไร คุณสามารถใช้วิธีการทั้งแบบรวดเร็วและแบบระยะยาวที่จะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นและก้าวต่อไปได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

ทำให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้นในช่วงเวลานั้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. วิธีที่เรียบง่ายอย่างการสูดหายใจลึกๆ ให้เต็มปอดสามารถช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้ การหายใจลึกๆ จะเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้ร่างกาย ซึ่งจะช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายและลดความดันโลหิตเวลาที่คุณอารมณ์ไม่ดีหรือเครียด [1] นอกจากนี้มันยังช่วยกระตุ้นระบบประสาทพาราซิมพาเทติกที่ช่วยทำให้เกิดภาวะสงบด้วย [2] การมุ่งความสนใจไปยังการหายใจมากกว่าเรื่องที่ทำให้เครียดนั้นสามารถทำให้รู้สึกดีขึ้นได้
  2. การได้เขียนความรู้สึกลงกระดาษถือเป็นการระบายอย่างหนึ่ง และเป็นช่องทางให้ได้ประมวลผลเกี่ยวกับสิ่งที่ทำให้คุณเกิดความรู้สึกต่างๆ วิธีนี้ยังช่วยเพิ่มความชัดเจนเพื่อรักษาความเจ็บปวดทางจิตใจด้วย [4] ผลวิจัยพบว่าการเขียนมีประโยชน์ในการทำให้รู้สึกดี คือเป็นการบรรเทาความเครียดทางอารมณ์ [5] นอกจากนี้ยังพบว่าการเขียนบันทึกส่งผลดีต่อระบบภูมิคุ้มกันอีกด้วย [6]
    • ถ้าคุณมีความเจ็บปวดทางจิตใจที่ไม่อยากบอกเล่าให้ใครฟัง การเขียนบันทึกเกี่ยวกับประสบการณ์เหล่านั้นจะเป็นทางระบายความรู้สึกที่ไม่ทำให้เครียดมากขึ้นจากการถูกมองว่าเป็นคนอ่อนแอโดยเพื่อนหรือครอบครัวที่ไม่เข้าใจคุณ [7]
  3. น้ำตาที่เกิดจากอารมณ์จะส่งสัญญาณให้ร่างกายหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน หรือ “ฮอร์โมนแห่งความสุข” ออกมาเพื่อช่วยให้รู้สึกสงบและรู้สึกดีขึ้น [8] การร้องไห้ไม่เพียงแต่จะช่วยให้ร่างกายได้หลั่งฮอร์โมนความเครียด แต่เมื่อร้องไห้เสร็จแล้ว ร่างกายจะเข้าสู่ภาวะสงบมากขึ้น อัตราการเต้นของหัวใจและอัตราการหายใจช้าลง [9] การร้องไห้ที่มีประโยชน์คือการร้องไห้ที่ทำให้คุณได้ปลดปล่อยความเครียดและความรู้สึกที่ถูกกักเก็บอยู่ออกมา และไม่ไปรบกวนบทบาทหน้าที่ประจำวันของคุณ
    • ถ้าคุณเหมือนจะไม่สามารถควบคุมเวลาหรือความถี่ในการร้องไห้ได้ หรือการร้องไห้ของคุณไปรบกวนการทำงานหรือชีวิตที่บ้าน นี่อาจเป็นตัวบ่งชี้ถึงปัญหาที่ใหญ่ขึ้นอย่างโรคซึมเศร้าหรือโรคเกี่ยวกับความเครียดอื่นๆ ควรพบผู้ให้คำปรึกษาหรือนักบำบัดที่สามารถสอนวิธีการควบคุมการร้องไห้ไม่ให้กระทบต่อชีวิตประจำวันของคุณได้
  4. การแสดงออกในทางสร้างสรรค์มีประวัติศาสตร์และความเกี่ยวข้องกับอารมณ์มาอย่างยาวนาน ดนตรี การเต้น และเรื่องเล่า ถูกใช้เพื่อเป็นการแสดงออกทางอารมณ์ที่ช่วยในการรักษาในหลายวัฒนธรรม [10] ไม่ว่าจะในฐานะผู้ชื่นชมหรือผู้สร้าง ลองหันไปหางานอดิเรกที่คุณชอบเพื่อสื่อสารอารมณ์ในทางลบหรือความเจ็บปวดออกมาเป็นสิ่งที่สร้างสรรค์แทน
  5. หลายผลวิจัยแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ในการมีกลุ่มผู้สนับสนุนที่สนิทใจ ทั้งครอบครัวและเพื่อนที่คุณสามารถหันไปพึ่งได้ [15] แรงสนับสนุนทางสังคมจะทำให้เกิดความรู้สึกเหมือนได้มีส่วนร่วมและรู้สึกปลอดภัยกว่าความโดดเดี่ยวเมื่อต้องเผชิญความเจ็บปวด และยังทำให้รู้สึกว่าตัวเองมีค่ามากขึ้นได้ด้วย [16] ลองโทร.คุยกับเพื่อนที่ไว้ใจหรือนั่งคุยกับครอบครัวเพื่อระบายความทุกข์และความรู้สึกแย่ๆ
  6. ช่วงเวลาที่เกิดความวุ่นวายทางอารมณ์เป็นช่วงที่ดีที่จะหาสิ่งพิเศษให้กับตัวเอง มันสามารถเป็นอะไรก็ได้ที่คุณทำแล้วมีความสุข คุณอาจจะไปนวด ไปเที่ยวสวนสนุก ซื้อรองเท้าคู่ใหม่ ทำของหวานจานโปรด ไปดูหนัง หรือทำอะไรอย่างอื่นที่คุณชอบ ให้เวลาตัวเองและตามใจตัวเองบ้าง
    • อย่าลืมทำอย่างรับผิดชอบด้วย คุณคงไม่อยากใช้จ่ายฟุ่มเฟือยไปกับการให้รางวัลตัวเองแล้วต้องมาเครียดหนักทีหลังเพราะไม่มีเงินหรอกนะ
  7. การหัวเราะจะช่วยทุกอย่างตั้งแต่ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ไปจนถึงบรรเทาการตอบสนองต่อความเครียดของร่างกาย [17] นอกจากนี้ยังมีการพิสูจน์ว่าการหัวเราะช่วยยกระดับอารมณ์ให้ดีขึ้นในตอนที่กำลังกังวลหรือเศร้า [18] หาเวลาหัวเราะบ้างโดยนึกถึงเรื่องตลกๆ หรือคุยกับเพื่อนที่มีอารมณ์ขัน หรือแค่หาหนังตลกดูผ่านอินเทอร์เน็ตก็ได้ ใช้ประโยชน์จากอะไรก็ตามที่หาได้ในขณะนั้นเพื่อให้ได้พักและหัวเราะ
  8. การเดินเล่นสักห้านาที หรือการลุกขึ้นมายืดเหยียดร่างกายจะช่วยให้คุณปลดปล่อยพลังงานด้านลบได้ แม้ว่าคุณจะไม่ใช่ผู้เล่นโยคะมืออาชีพก็ตาม แค่การยืดเหยียดง่ายๆ ก็ช่วยเพิ่มอารมณ์ด้านบวกได้ การฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อได้พิสูจน์แล้วว่าช่วยปลดปล่อยพลังด้านลบที่สัมพันธ์กับความเครียด ความวิตกกังวล โรคซึมเศร้า และอื่นๆ ออกไป [19]
  9. แม้ว่ายาเสพติดและแอลกอฮอล์จะช่วยให้คุณสงบลงได้ชั่วคราวเมื่อรู้สึกเครียดหรือเจ็บปวด แต่ผู้เชี่ยวชาญเห็นพ้องกันว่าการปลดปล่อยในระยะสั้นๆ นี้ไม่คุ้มเลยกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น การประสบปัญหาความเครียดและความบอบช้ำทางจิตใจเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงหลักๆ ที่นำไปสู่ปัญหาการใช้สารเสพติดให้โทษ [20] ในขณะที่ขั้นตอนต่างๆ ในบทความวิกิฮาวนี้สรรหาเครื่องมือที่จะช่วยให้คุณเอาชนะอารมณ์ด้านลบได้ แต่ยาเสพติดและแอลกอฮอล์ก็แค่สร้างวงจรปัญหาที่ทำให้คุณต้องพึ่งพาสิ่งเหล่านั้นเพื่อให้รู้สึกดีขึ้น ซึ่งมันจะกลายเป็นการติดได้อย่างรวดเร็ว [21]
    • คุยกับผู้ให้คำปรึกษาเรื่องการใช้สารเสพติดให้โทษ ถ้าคุณพบว่าตัวเองต้องพึ่งยาเสพติดและ/หรือแอลกอฮอล์บ่อยๆ ในการปลดปล่อยตัวเองจากความรู้สึกแย่ๆ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

สร้างความพยายามในระยะยาวเพื่อให้รู้สึกดีขึ้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เบี่ยงเบนความคิดตัวเองถ้าคิดถึงเรื่องไม่ดีขึ้นมา. การใคร่ครวญเป็นกระบวนการของการฉายเหตุการณ์ที่ทำให้เจ็บปวดหรือผิดหวังซ้ำไปซ้ำมาในหัว ซึ่งทำให้มันยากที่จะต้านทานได้ การคิดถึงเรื่องไม่ดีซ้ำๆ ไม่ทำให้เกิดประโยชน์ และจะมีแต่ผลเสียเพราะมันไม่ได้ช่วยให้คุณแก้ปัญหาหรือก้าวต่อไปได้เลย [22] การใคร่ครวญจะดึงความสนใจของคุณไปจากการแก้ปัญหา การเบี่ยงเบนความคิดตัวเองออกจากเรื่องนั้นอย่างมีสติเป็นวิธีหนึ่งที่จะใช้หลีกเลี่ยงมันได้
  2. ประสบการณ์ที่ไม่ดีมักจะกลายเป็นสิ่งที่สะท้อนความรู้สึกผิดซ้ำๆ การเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับประสบการณ์คือการมองมันจากอีกมุมหนึ่ง [25] การทำเช่นนั้นจะสามารถเพิ่มทักษะการแก้ปัญหาและความมั่นใจของคุณได้ [26]
    • ตัวอย่างเช่น การจะปรับมุมมองใหม่หลังจากพบเจอสถานการณ์ที่เจ็บปวด คุณอาจจะคิดถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับตัวเองและความสัมพันธ์ของคุณก็ได้
    • หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง ถ้าคุณกำลังไม่สบายใจเกี่ยวกับเรื่องที่น่าอาย คุณสามารถลองหาความตลกในสถานการณ์นั้น และเรียนรู้ที่จะหัวเราะให้กับตัวเองเพื่อให้รู้สึกดีขึ้นและก้าวต่อไปได้
  3. ถ้าคุณเริ่มจดบันทึกหรือพูดคุยกับเพื่อนหรือคนที่ไว้ใจเกี่ยวกับสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อคุณแล้ว ลองสังเกตรูปแบบของมันดู คุณมักจะเขียนหรือพูดเกี่ยวกับเรื่องเดิมๆ หรือเปล่า ถ้าใช่ คุณสามารถทำอะไรเพื่อเปลี่ยนแปลงสาเหตุของปัญหาได้บ้าง นอกจากแค่ระบายอารมณ์เพราะเรื่องนั้นเป็นประจำ [27]
    • วิธีนี้หมายรวมถึงการสังเกตความสัมพันธ์อย่างจริงจังเพื่อหาว่ามีความสัมพันธ์ใดที่มักจะทำให้คุณรู้สึกแย่หรือไม่ ความสัมพันธ์ที่ไม่ดีระหว่างบุคคลอาจเป็นแหล่งความเครียด โรคซึมเศร้า และความรู้สึกด้านลบอื่นๆ อย่างรุนแรง [28]
    • ถ้าสาเหตุเดิมๆ นั้นเกี่ยวกับงานของคุณ คุณสามารถเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมการทำงานได้อย่างไรบ้าง ถ้าคุณไม่สามารถเปลี่ยนให้มันดีกับสุขภาพจิตของคุณได้ บางทีคุณอาจจะต้องคิดถึงเรื่องเปลี่ยนงาน
  4. การทำตามขั้นตอนเพื่อพัฒนาและรักษาสุขภาพร่างกายของคุณอย่างสม่ำเสมอจะนำไปสู่สภาพจิตใจที่ดีขึ้น การออกกำลังกายไม่เพียงแต่จะช่วยให้ร่างกายหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินที่ทำให้อารมณ์ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังทำให้คุณมีเป้าหมายที่จะทำให้สุขภาพดีขึ้นด้วย การเข้ายิมหรือเข้าร่วมกลุ่มออกกำลังกายที่จัดโดยองค์กรต่างๆ เช่น ที่โบสถ์ หรือที่ทำงาน ยังช่วยให้กลุ่มสนับสนุนของคุณกว้างขึ้นด้วย [29]
  5. ความรู้สึกดีจากการที่ได้ช่วยเหลือคนอื่นจะช่วยให้คุณรู้สึกมีค่าและเคารพตนเองมากขึ้น ลองทำกิจกรรมอาสาตามสถานสงเคราะห์ แจกจ่ายอาหาร หรืออย่างอื่นที่คุณอยากจะสละเวลาของตัวเองไปทำ [30]
  6. สิ่งที่ยากและสำคัญกว่าในการรักษาความรู้สึกให้ดี คือการจำไว้ว่าสถานการณ์ที่ยากลำบากที่ทำให้เกิดความวุ่นวายทางอารมณ์นั้นเป็นเรื่องปกติในชีวิตที่ต้องเจอ ซึ่งเราจะเรียนรู้ เติบโต ก้าวผ่านประสบการณ์เหล่านั้นไป และการฟันฝ่าอุปสรรคได้ถือเป็นความภูมิใจอย่างหนึ่ง จำไว้ว่าคุณสามารถเอาชนะต้นเหตุที่ทำให้คุณเป็นทุกข์ได้ และสิ่งสำคัญคือการที่คุณจัดการกับอารมณ์เหล่านั้นและก้าวต่อไปได้โดยที่ไม่ปล่อยให้มันมารบกวนชีวิตคุณอีก [31]
  7. ถ้าคุณพยายามอย่างที่สุดแล้วที่จะรู้สึกดีขึ้นกับเหตุการณ์ที่ผ่านมา แต่คุณยังรู้สึกเครียด กังวล ท้อแท้ หรือซึมเศร้า ลองนัดพบผู้ให้คำปรึกษาหรือนักบำบัดดู ผู้เชี่ยวชาญสามารถช่วยคุณหาเครื่องมือที่จะใช้จัดการกับสถานการณ์ที่กระทบต่อคุณได้ และยังสามารถแนะนำยา กลุ่มช่วยเหลือ หรือวิธีการอื่นๆ ที่จะทำให้คุณได้ประโยชน์อีกด้วย
    โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าคุณเคยมีความคิดที่จะทำร้ายตัวเอง ควรปรึกษาแพทย์โดยด่วน
  • ถ้าคุณพบว่าตัวเองต้องพึ่งยาเสพติดและ/หรือแอลกอฮอล์บ่อยๆ เพื่อให้รู้สึกดีขึ้น ควรนัดพบผู้ให้คำปรึกษาเรื่องการใช้สารเสพติดให้โทษเพื่อเลิกเสียก่อนที่มันจะกลายเป็นปัญหาใหญ่
โฆษณา
  1. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2804629/
  2. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2804629/
  3. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2804629/
  4. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2804629/
  5. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2804629/
  6. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/social-support/art-20044445
  7. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/social-support/art-20044445
  8. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/stress-relief/art-20044456
  9. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/stress-relief/art-20044456
  10. https://nccih.nih.gov/health/yoga/introduction.htm#hed5
  11. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2732004/
  12. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2732004/
  13. http://www.apa.org/monitor/nov05/cycle.aspx
  14. http://www.apa.org/monitor/nov05/cycle.aspx
  15. http://www.apa.org/monitor/nov05/cycle.aspx
  16. https://www.psychologytoday.com/blog/in-the-face-adversity/201209/positive-reframing-optimistic-thinking
  17. http://www.apa.org/monitor/nov05/cycle.aspx
  18. “How Is Emotional Awareness Related to Emotion Regulation Strategies and Self-Reported Negative Affect in the General Population?” Subic-Wrana, Claudia; Beutel, Manfred E.; Brähler, Elmar; Stöbel-Richter, Yve; Knebel, Achim; Lane, Richard D.; Wiltink, Jörg. PLoS ONE. Mar2014, Vol. 9 Issue 3, p1-10. 10p
  19. https://www.psychologytoday.com/blog/high-octane-women/201108/the-hidden-health-hazards-toxic-relationships
  20. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/social-support/art-20044445?pg=2
  21. http://www.nationalservice.gov/pdf/07_0506_hbr.pdf
  22. Roads of Freedom -- An Existential-Phenomenological Approach to a Psychotherapy Journey. By: Gabriel, Guiomar. Existential Analysis: Journal of the Society for Existential Analysis. Jan2013, Vol. 24 Issue 1, p95-105. 11p

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,602 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา