ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อารมณ์มีบทบาทสำคัญต่อชีวิตของคนเรา ดังนั้นการเข้าใจอารมณ์ของตัวเองจึงเป็นสิ่งสำคัญที่นำไปสู่การเชื่อมโยงกับตัวเองในระดับที่ลึกขึ้นและการตระหนักรู้มากขึ้นในภาพรวม แต่เมื่อใดก็ตามที่อารมณ์อยู่เหนือคุณ มันก็จะส่งผลอย่างมากต่อความสามารถในการทำสิ่งต่างๆ รวมไปถึงการคิดให้กระจ่างในสถานการณ์หน้าสิ่วหน้าขวานด้วย ถึงคุณจะไม่สามารถกำจัดอารมณ์ต่างๆ ออกไปได้ทั้งหมด แต่คุณสามารถควบคุมไม่ให้อารมณ์มาบงการชีวิตคุณได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 14:

หายใจลึกๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อรู้สึกได้ว่าอารมณ์กำลังรุนแรง ให้หยุดสักครู่. หายใจเข้าลึกๆ ทางจมูก จากนั้นก็หายใจออกทางปาก ทำอย่างนี้ 5-10 ครั้งจนกว่าคุณจะรู้สึกได้ว่าหัวใจเต้นช้าลงและสามารถควบคุมการหายใจได้ [1]
    • วิธีนี้ยังช่วยควบคุมความวิตกกังวลได้อีกด้วย
    • การหายใจลึกๆ ยังเป็นวิธีควบคุมอารมณ์ที่แนบเนียนอีกด้วย เช่น สมมุติว่าคุณบังเอิญไปเจอแฟนเก่า คุณคงไม่มีเวลาถอยหลังกลับมาควบคุมอารมณ์ด้วยตัวเอง แต่คุณสามารถแอบหายใจลึกๆ ได้แม้จะกำลังคุยกับอีกฝ่ายอยู่
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 14:

จดจ่ออยู่กับร่างกาย ไม่ใช่จิตใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตอนนี้ร่างกายของคุณรู้สึกอย่างไร จดจ่ออยู่กับความรู้สึกของผิวหนังที่สัมผัสกับเสื้อผ้า และพยายามอย่าไปสนใจความคิดที่ผุดขึ้นมา วิธีนี้ช่วยให้คุณได้ตั้งสติและควบคุมอารมณ์ที่ปะทุออกมาในช่วงเวลานั้นได้ [2]
    • การออกไปเดินท่ามกลางธรรมชาติก็เป็นวิธีที่ช่วยให้คุณตั้งสติได้เช่นกัน
    • นอกจากนี้คุณก็อาจจะนวดไหล่ตัวเองแล้วจดจ่อไปกับความรู้สึกของการสัมผัส
    • หรือถ้ามีเวลา ลองฝึกโยคะสัก 2-3 ท่าเพื่อเชื่อมโยงกับร่างกายของตัวเอง
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 14:

ส่องกระจก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. วิธีนี้ช่วยให้คุณได้กลับมาเชื่อมโยงกับร่างกายและจิตใจอีกครั้ง. ถ้าคุณรู้สึกได้ว่าตัวเองกำลังจะเสียใจหรือโกรธ เข้าห้องน้ำแล้วส่องกระจกสักครู่ ระหว่างนี้ให้จดจ่อไปที่การหายใจลึกๆ และปลอบโยนตัวเองให้มากขึ้น [3]
    • ผ่านไป 2-3 นาทีคุณอาจจะรู้สึกว่าหัวใจเต้นช้าลงและลมหายใจก็สม่ำเสมอมากขึ้นเล็กน้อย
    • การเข้าห้องน้ำยังช่วยให้คุณได้หยุดพักแล้วมาควบคุมอารมณ์ด้วยตัวเอง วิธีนี้เหมาะใช้กับที่ทำงานหรือในที่สาธารณะเมื่อสิ่งต่างๆ เริ่มเกินจะรับไหว
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 14:

พูดประโยคซ้ำๆ กับตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อคุณรู้สึกได้ว่าอารมณ์กำลังพลุ่งพล่าน หายใจลึกๆ และพูดประโยคซ้ำๆ ในหัว คุณจะเลือกประโยคไหนก็ได้ตามชอบ แต่ที่คนใช้กันบ่อยๆ ก็เช่น: [4]
    • “เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับฉัน”
    • “ไม่ต้องไปสนใจ”
    • “เดี๋ยวมันก็ผ่านไป”
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 14:

เบี่ยงเบนความสนใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หาอะไรทำยุ่งๆ เพื่อไม่ให้จิตใจจมอยู่กับอารมณ์. พยายามเลือกกิจกรรมที่ต้องใช้สมองเยอะๆ เช่น ต่อจิ๊กซอว์ อ่านหนังสือเล่มใหม่ เล่นเกมหาคำในตาราง หรือทำงานศิลปะ ยิ่งคุณไม่เอาใจไปจับกับสิ่งต่างๆ มากเท่าไหร่ ใจคุณก็ไม่จมจ่อมกับอารมณ์มากเท่านั้น [5]
    • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ไม่ต้องจดจ่อ เช่น ดูทีวีหรือไถโซเชียลมีเดียไปเรื่อยๆ กิจกรรมเหล่านี้ไม่ได้ช่วยให้คุณจดจ่อมากนัก จึงไม่สามารถเบี่ยงเบนความสนใจของคุณได้
    โฆษณา
วิธีการ 6
วิธีการ 6 ของ 14:

หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นอารมณ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บางอย่างทำให้เราโมโหได้เสมอไม่ว่าเราจะทำอะไร. ถ้าคุณรู้ว่าตัวเองจะเครียดหรือโมโหเวลาที่ไปสาย ให้วางแผนออกจากบ้านเร็วขึ้น 10 นาที ถ้ามีคนรู้จักที่คุณรำคาญเขามากเป็นพิเศษ ก็อย่าไปตรงจุดที่เขามักจะป้วนเปี้ยนอยู่แถวนั้น [6]
    • แม้ว่าคุณจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นอารมณ์ได้ตลอดเวลา แต่คุณสามารถกำจัดสิ่งกระตุ้นเหล่านี้ในชีวิตประจำวันได้
วิธีการ 7
วิธีการ 7 ของ 14:

ท้าทายความคิดเชิงลบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ความคิดเชิงลบสามารถเปลี่ยนการรับรู้ของคุณได้แบบกะทันหัน. คุณอาจจะถามตัวเองว่า “มันจริงหรือเปล่า” หรือ “ฉันมีหลักฐานอะไรมาสนับสนุนความคิดนี้” เพื่อคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลแทนที่จะใช้อารมณ์ ผ่านไปสักระยะคุณอาจจะหยุดความคิดเชิงลบได้ชะงัด [7]
    • เช่น ถ้าคุณจับได้ว่าตัวเองกำลังคิดว่า “ฉันไม่มีเพื่อนเลย” ให้ถามตัวเองว่า “จริงเหรอ เสาร์อาทิตย์ที่แล้วฉันยังขลุกอยู่กับเพื่อนอยู่เลยไม่ใช่เหรอ”
    • หรือถ้าคุณจับได้ว่าตัวเองกำลังคิดว่า “ฉันต้องทำโปรเจกต์นี้พังแน่” ให้ถามตัวเองว่า “ฉันมีหลักฐานอะไรมาสนับสนุนความคิดนี้ ฉันไม่เห็นอนาคตสักหน่อย”
    โฆษณา
วิธีการ 8
วิธีการ 8 ของ 14:

เปลี่ยนมุมมองที่มีต่ออารมณ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ลองพยายามเปลี่ยนไปมองว่าอารมณ์คือเครื่องมือที่มีประโยชน์แทน ถ้าคุณกังวลมากๆ ก่อนเข้าไปสัมภาษณ์งานและรู้สึกได้ว่าตัวสั่นหรือเหงื่อแตก ลองปรับเปลี่ยนอารมณ์ด้วยการพูดว่า “โอ้โห สัมภาษณ์ครั้งนี้ฉันมีพลังเหลือเฟือเลย!” ตอนนี้อารมณ์ก็จะกลายเป็นสิ่งดีๆ แทนที่จะเป็นอุปสรรค [8]
    • ถ้าคุณโกรธหรือหงุดหงิดเพื่อนร่วมงาน เตือนตัวเองว่าคุณแค่รักงานที่ทำและอยากให้งานออกมาดี
    • ถ้าคุณรู้สึกว่าตัวเองกำลังเศร้าเพราะว่าต้องไปเจอแฟนเก่า บอกตัวเองว่าการที่คุณเศร้าแปลว่าคุณจะต้องมีความรักมากมายมหาศาลไว้ให้คนรักคนถัดไปแน่นอน
วิธีการ 9
วิธีการ 9 ของ 14:

กังวลแต่ปัญหาของตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การแบกปัญหาของคนอื่นไว้อาจทำให้คุณเหนื่อยล้า. ถ้าคุณเป็นคนเข้าอกเข้าใจคนอื่น การรับฟังเพื่อนๆ หรือคนในครอบครัวระบายปัญหาของพวกเขาให้ฟังอาจส่งผลที่ไม่ดีกับตัวคุณเอง การเอาใจใส่คนอื่นนั้นเป็นเรื่องดี แต่คุณก็สามารถกำหนดขอบเขตขึ้นมาได้หากคุณต้องการเวลาสำหรับตัวเองบ้าง [9]
    • เช่น ถ้าเพื่อนอยากโทรมาเล่าเรื่องแฟนห่วยๆ ของเธอให้ฟัง คุณก็อาจจะบอกว่า “ฉันก็อยากคุยกับเธอนะ แต่ตอนนี้ฉันยังไม่อยู่ในโหมดให้คำแนะนำกับใคร ไว้เราคุยกันอาทิตย์หน้าแทนได้มั้ย”
    • หรือคุณอาจจะบอกว่า “ต่อไปถ้าเธอจะโทรมาระบาย เธอช่วยบอกฉันก่อนได้มั้ย ฉันอยากคุยกับเธอนะ แต่บางครั้งฉันอาจจะอารมณ์ไม่ดีและให้คำแนะนำดีๆ กับเธอไม่ได้”
    โฆษณา
วิธีการ 10
วิธีการ 10 ของ 14:

เจริญสติ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การเจริญสติสามารถช่วยควบคุมอารมณ์ที่ปะทุขึ้นมาได้. แทนที่จะไปมัวคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต ให้จดจ่ออยู่กับช่วงเวลานี้ว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นบ้าง การจดจ่อกับประสาทสัมผัสก็ช่วยได้ เช่น พูดชื่อสิ่งที่คุณเห็น ได้กลิ่น รับรส สัมผัส และได้ยินในตอนนี้ [10]
    • นอกจากนี้โดยทั่วไปการเจริญสติยังดีต่อสุขภาพจิตอีกด้วย โดยเฉพาะหากคุณมีปัญหากับความวิตกกังวล
วิธีการ 11
วิธีการ 11 ของ 14:

คิดถึงตัวเองก่อน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เปลี่ยนมาสนใจตัวเองและเป้าหมายในอนาคตของตัวเองแทน ในช่วงแรกๆ มันอาจจะยาก แต่การให้ความสำคัญกับตัวเองมากกว่าคนอื่นๆ จะช่วยให้คุณมีความสุขขึ้นและดีต่อตนเองมากขึ้นในระยะยาว [11]
    • วิธีที่ว่านี้อาจจะเป็นเรื่องง่ายๆ เช่น การปฏิเสธเวลาคนอื่นขอร้องให้ช่วยเพราะว่าคุณยุ่งเหลือเกิน ให้ความสำคัญกับระดับความเครียดของตัวเองเพื่อเอาตัวเองให้รอดก่อน
    โฆษณา
วิธีการ 12
วิธีการ 12 ของ 14:

เขียนบันทึก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หาเวลาสัก 5-10 นาทีทุกคืนเขียนบันทึกว่าวันนั้นตัวเองทำอะไรและรู้สึกอย่างไร ถ้าคุณประสบอารมณ์ที่รุนแรง ให้เขียนว่าเกิดอะไรขึ้นและคุณรับมือกับมันอย่างไร การปลดปล่อยอารมณ์ออกมาจะช่วยให้คุณไม่เก็บกดมันไว้และมันก็จะไม่ระเบิด [12]
    • เก็บสมุดบันทึกไว้ในที่ส่วนตัวเพื่อไม่ให้ใครเอาไปอ่าน
วิธีการ 13
วิธีการ 13 ของ 14:

นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. งานวิจัยกล่าวว่า การอดนอนอาจทำให้อารมณ์ปะทุขึ้นมา. คุณต้องนอนอย่างน้อย 8 ชั่วโมงทุกคืน ตื่นเช้ามาคุณจะได้รู้สึกว่าตัวเองพักผ่อนเต็มที่และพร้อมที่จะเผชิญกับวันใหม่ การนอนสำคัญต่อสุขภาพจิตเป็นอย่างมาก และการนอนหลับให้เพียงพอก็ส่งผลดีต่อชีวิตในทุกมิติ [13]
    • เวลาที่คุณพักผ่อนอย่างเพียงพอ คุณจะสามารถตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผลและมีสติมากขึ้น แทนที่จะใช้อารมณ์เป็นส่วนใหญ่
    โฆษณา
วิธีการ 14
วิธีการ 14 ของ 14:

อย่าใช้ยาเสพติดหรือแอลกอฮอล์กลบเกลื่อนอารมณ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การใช้ยาเสพติดหรือแอลกอฮอล์กลบเกลื่อนสิ่งที่คุณรู้สึกไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ดีในระยะยาว และอารมณ์ของคุณก็จะสะสมไปเรื่อยๆ จนกว่าคุณจะจัดการกับมัน การใช้ยาเสพติดไม่เคยเป็นทางออกที่ดี และอาจทำให้คุณยิ่งตกอยู่ในสถานการณ์ที่ย่ำแย่กว่าในตอนต้น [14]
    • อาหารเองก็เป็นวิธีที่เราใช้กลบเกลื่อนอารมณ์ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานมากเกินไปหรือน้อยเกินไปก็ตาม พยายามรับประทานอาหารตามปกติระหว่างที่จัดการกับอารมณ์ของตัวเอง

เคล็ดลับ

  • ถ้าคุณมีปัญหากับอารมณ์ที่ระเบิดออกมาบ่อยๆ การพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตก็อาจช่วยได้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 127,940 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา