ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

กีฬากระโดดสูงในกรีฑานั้นต้องใช้ทั้งทักษะ ความคล่องแคล่วปราดเปรียว และความเร็ว หลังจากเร่งฝีเท้าเพื่อให้ได้แรงเหวี่ยงแล้ว นักกระโดดสูงจะต้องกระโดดข้ามไม้พาดลงไปบนเบาะรองรับตรงอีกด้านหนึ่ง สำหรับเพื่อความปลอดภัยของคุณเองแล้วนั้น การฝึกซ้อมหารูปแบบการกระโดดที่ดีเวลาวิ่งเข้าหาไม้พาด ตอนกระโดดข้าม หรือแม้กระทั่งตอนลง ถือเป็นเรื่องสำคัญทั้งสิ้น หากคุณฝึกฝนเป็นประจำด้วยความปลอดภัย คุณสามารถเรียนรู้ที่จะกระโดดสูงได้!

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ฝึกท่วงท่าการวิ่งให้สมบูรณ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เวลาที่นักกระโดดสูงวิ่งเข้าหาไม้พาดนั้น พวกเขาต้องสร้างแรงเหวี่ยงมากพอที่จะใช้กระโดดข้ามไม้พาดไป [1] ดังนั้น คุณจำเป็นต้องฝึกวิ่งให้ดีเสียก่อนที่จะพยายามกระโดดข้ามอะไร ฝึกโดยการวิ่งไปหาเบาะยิมนาสติกและทำเหมือนกับว่าข้างหน้านั้นมีไม้พาด นี่เป็นเบาะแบบเดียวกับที่ใช้วางหลังไม้พาดในตอนกระโดดสูง
  2. นักกระโดดสูงส่วนใหญ่จะใช้การก้าวเท้าเพียง 10 ก้าวก่อนกระโดดข้ามไม้พาด ดังนั้นให้แน่ใจว่าคุณอยู่ห่างจากเบาะอย่างน้อยสิบช่วงก้าวเพื่อที่จะฝึกเลียนแบบ [2] หากคุณเป็นมือใหม่ ให้ถอยหลังออกไปอีกราว 5 ถึง 6 ก้าวเพื่อจะได้มีพื้นที่มากพอในการเพิ่มแรงเหวี่ยง
    • อย่ายืนตรงหน้าเบาะ คุณจะต้องวิ่งเป็นรูปตัว “J” โดยการเอี้ยวตัวหันไปทางไม้พาดราวสิบก้าวในตอนวิ่ง ดังนั้น คุณจำเป็นต้องอยู่เยื้องไปทางด้านซ้ายหรือด้านขวาของเบาะรองรับอย่างน้อยเก้าฟุตก่อนที่จะออกวิ่ง หากคุณถนัดเท้าขวาก็ควรอยู่ทางด้านขวามือของเบาะ แต่ถ้าถนัดเท้าซ้ายก็อยู่ทางซ้ายของเบาะ
    • ผู้หญิงมักจะต้องสาวเท้าราว 9 ถึง 13 ฟุตทางด้านซ้ายหรือขวาของเบาะ และเริ่มวิ่งเมื่อห่างออกไปเป็นระยะทาง 35 ถึง 55 ฟุต [3] ในขณะที่ผู้ชายมักสาวเท้าราว 12 ถึง 16 ฟุตทางด้านซ้ายหรือขวาของเบาะและเริ่มต้นห่างออกไปเป็นระยะ 50 ถึง 70 ฟุต [4]
  3. ใช้เท้าข้างที่ไม่ถนัดในการดันตัวเองออกไป นักกีฬาบางคนเริ่มออกตัวโดยย่อตัวเลียดกับพื้น ก่อนจะไปยืดตัวตรงราวก้าวที่สาม [5] ทำแบบที่คุณรู้สึกถนัด แต่ในระหว่างฝึกซ้อมนั้น ถ้าเริ่มด้วยการยืนอาจจะง่ายกว่า
    • ให้แน่ใจว่าได้วิ่งเป็นรูปตัว “J” เส้นทางที่คุณใช้ในการวิ่งจะดูเหมือนตัว "J" เพราะคุณวิ่งไปตรงๆ แล้วโค้งเข้าหาไม้พาดในตอนท้าย วิ่งตรงไปยังมุมของเบาะราว 5 ก้าวเพื่อสร้างแรงเหวี่ยง [6] แล้วเริ่มวิ่งโค้งเพื่อที่ตัวคุณจะขนานกับไม้พาดเมื่อเหลืออีกประมาณ 3 ช่วงก้าว
    • อย่าเร่งหรือลดความเร็ว รักษาความเร็วให้คงที่เพื่อจะไม่สูญเสียแรงเหวี่ยง [7]
  4. ช่วงนี้จะเรียกว่าช่วง “กระโดดลอยตัว” กระโดดลอยตัวขึ้นไปบนอากาศด้วยเท้าข้างที่ไม่ถนัด ขาข้างที่ไม่ถนัดจะยืดออกโดยอัตโนมัติในระหว่างกระโดด และคุณจะยกเข้าข้างตรงข้ามขึ้น [8]
    • อย่าลงที่เบาะ ให้ลงด้วยเท้าทั้งสอง ตรงจุดนี้คุณแค่ฝึกรูปแบบการวิ่ง อย่างไรก็ตาม เบาะมีไว้ช่วยรับคุณหากคุณเกิดอุบัติเหตุล้ม
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ข้ามไม้พาดโดยใช้ท่า Fosbury Flop

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ท่านี้เริ่มใช้ครั้งแรกในกีฬาโอลิมปิกที่เม็กซิโกซิตี้ในปี 1968 โดยดิค ฟอสบิวรี่และคว้าเหรียญทองไปครอง [9] เทคนิคของเขาซึ่งภายหลังถูกขนานนามเป็นเกียรติว่าท่า Fosbury Flop นั้นต้องใช้การพุ่งศีรษะไปก่อนโดยหันหลังให้ไม้พาด ปัจจุบันมันกลายเป็นเทคนิคที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในหมู่นักกีฬากระโดดสูงอาชีพ
  2. เวลาที่คุณวิ่งเป็นรูปตัว “J” ได้แล้วและอยู่ถัดจากเบาะรอง หมุนตัวหันหลังเข้าหาไม้พาดเตรียมทำท่า Fosbury Flop [10] เมื่อคุณยกหัวเข่าขึ้นและดันตัวเองจากขาข้างที่ไม่ถนัด หมุนตัวให้เข้าหาท้องฟ้า มันอาจทำให้รู้สึกฝืนธรรมชาติในการกระโดดสองสามครั้งแรก ฝึกต่อไปจนมันกลายเป็นความคุ้นเคย
  3. เอนศีรษะและหลังส่วนบนเข้าหาเบาะรองรับ แหงนศีรษะกลับไปและอย่าเก็บคางในระหว่างข้ามไม้พาดเพื่อเลี่ยงอาการบาดเจ็บ งอแผ่นหลังขึ้น ในขณะทำเช่นนั้นให้ยกสะโพกขึ้นเหนือไม้พาด ศีรษะของคุณจะตกลงมา [11] หลังจากที่สะโพกข้ามผ่านไม้พาดมาได้ คุณจะพับศีรษะเข้าหาทรวงอกตามธรรมชาติเพื่อช่วยยกเท้าขึ้นให้พ้น
    • ยกเท้าขึ้นและผ่านไม้พาด. จังหวะเวลาถือเป็นจุดสำคัญตรงนี้เพราะอาจเหลือพื้นที่เพียงเล็กน้อยให้คุณยกเท้าข้ามผ่านไม้พาด เมื่อสะโพกคุณข้ามไม้พาดมาได้และกำลังหล่นลงมานั้น ให้ถีบขาขึ้นเร็วๆ เพื่อข้ามไม้พาดให้ได้ [12]
    • พยายามเก็บแขนแนบกับลำตัวเพื่อให้จุดศูนย์ถ่วงมั่นคงยิ่งขึ้น
  4. ใช้หลังส่วนบนลงสัมผัสกับเบาะก่อน หลังจากข้ามไม้พาดได้ คุณต้องใช้หลังส่วนบนกับหัวไหล่ลงเพื่อหลีกเลี่ยงอาการบาดเจ็บ [13] ร่างกายที่เหลือจะตามมาและจะปล่อยท่วงท่ากลายเป็นการม้วนตัวกลับหลังเลยก็ได้ ถ้าจะทำเช่นนั้น ให้ผ่อนร่างกายและพยายามม้วนตัวต่อเนื่องไปเลย
    • ถ้าจะม้วนตัว ให้ดันการม้วนตัวเอี้ยวไปทางด้านซ้ายหรือขวาของหลังส่วนบน แล้วทิ้งน้ำหนักตัวลงบนไหล่ข้างนั้นๆ (แทนที่จะลงบนศีรษะตรงๆ) เพื่อที่จะปัดแรงดันออกจากส่วนลำคอ [14]
    • ปิดปากให้สนิท เพราะถ้าอ้าปาก อาจเผลอกัดลิ้นตนเองก็ได้
  5. กางแขนเปิดร่างกายออกเพื่อที่คุณจะไม่เอาหัวเข่าทิ่มไปที่ใบหน้า อย่าผ่อนตัวเมื่อแผ่นหลังสัมผัสกับเบาะ และกางขาออกจากกันแบบสบายๆ เพื่อที่หัวเข่าจะงอไปข้างหน้า ถึงแม้คุณจะไม่ม้วนตัวกลับหลังก็ตาม [15]
    • หากคุณกระแทกโดนไม้พาดระหว่างกระโดด มันอาจหลุดจากคอนและลอยในอากาศ ถ้าเป็นเช่นนั้นก็มีสิทธิตกลงมาโดนตัวคุณ ลงบนเบาะ หรือลงมาในมุมที่อาจเป็นอันตรายต่อคุณได้ ถ้าคุณโดนไม้พาด ให้ใช้แขนปิดใบหน้าในระหว่างลงสู่เบาะเพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากไม้พาด
  6. พัฒนารูปแบบและความสูงของการกระโดดให้ดีขึ้น. ฝึกกระโดดและเอาตัวลงจนกระทั่งคุณทำได้คล่องแคล่ว ไม่มีใครเรียนรู้การกระโดดสูงได้ในชั่วข้ามคืน ฉะนั้นอย่าเพิ่งดูถูกดูแคลนตนเองถ้าตอนแรกๆ คุณพบว่ามันยาก ฝึกให้บ่อยที่สุดและขอคำปรึกษาจากโค้ชและเคล็ดลับจากนักกีฬาคนอื่นๆ หากคุณมีเพื่อนช่วยดู เขาอาจชี้ให้ดูได้ว่ารูปแบบการกระโดดเป็นอย่างไรและช่วยให้คุณตกลงเบาะอย่างถูกวิธีได้
    • เพื่อพัฒนาตนเอง เลื่อนไม้พาดขึ้นสูงกว่าเดิมคราวละ 3 เซนติเมตร [16] สามเซนติเมตรอาจดูเหมือนเล็กนิดเดียว แต่คุณจะรู้สึกถึงความแตกต่างเมื่อได้ลองกระโดดจริง
    • บางคนอาจเห็นประโยชน์ของการเก็บสถิติความก้าวหน้าในสมุดบันทึก ถ้าจะทำก็ให้จดความสูงของไม้พาดที่คุณกระโดดผ่านได้ในระหว่างฝึกซ้อม หากคุณสามารถยกระดับความสูงของไม้พาดขึ้นไปได้ในแต่ละสัปดาห์ คุณสามารถติดตามพัฒนาการของตนได้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

กระโดดข้ามไม้พาดโดยใช้ท่ากระโดดกรรไกร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากการกระโดดกลับหลังเอาศีรษะพุ่งไปก่อนดูท้าทายเกินไปในตอนนี้ คุณอาจเลือกกระโดดข้ามไม้พาดด้วยวิธีอื่น การกระโดดที่ง่ายและซับซ้อนน้อยกว่าเรียกว่า “ท่ากระโดดแบบกรรไกร” ซึ่งทำได้โดยใช้เส้นทางวิ่งแบบเดียวกัน แต่แทนที่จะหมุนตัวกลับหลังข้ามไม้พาด คุณจะกระโดดข้ามไม้พาดในท่านั่งโดยที่หลังตั้งตรงและขายื่นออกไปข้างหน้า [17]
    • ให้แน่ใจว่าไม้พาดนั้นวางใกล้กับเบาะรอง โดยเฉพาะหากคุณเป็นมือใหม่ ท่านี้ควรฝึกให้ชำนาญก่อนจะลองไปกระโดดข้ามไม้พาดของจริง
  2. วิ่งเข้าหาไม้พาดด้วยความเร็วคงที่เพื่อสร้างแรงเหวี่ยง. หากคุณฝึกวิ่งรูปตัว “J” เพียงพอแล้ว คุณจะสามารถวิ่งเข้าหาไม้พาดในท่วงท่าถูกต้องได้อย่างมั่นใจ อย่าวิ่งตัดมุมตัว "J" เพื่อประหยัดเวลา การวิ่งเต็มระยะทางนั้นจำเป็นมากเพื่อที่คุณจะสะสมแรงเหวี่ยงเพื่อกระโดดได้มากขึ้น [18]
  3. เวลาฝึกวิ่ง คุณกระโดดโดยการใช้ขาข้างที่ไม่ถนัดและงอเข่าด้านที่ถนัดยันตัวเองขึ้นจากพื้น คราวนี้ ให้ดันตัวเองขึ้นด้วยขาข้างที่ไม่ถนัดแต่สลับยกขาข้างถนัดขึ้นไปบนอากาศโดยเหยียดขาตรง คุณควรจะงอตรงช่วงเอวเหมือนเวลานั่งอยู่บนพื้น และเท้าก็ไม่ควรอยู่สูงกว่าสะโพกของตนเอง
    • เวลากระโดด ร่างกายควรขนานไปกับไม้พาด คุณจะกระโดดในท่วงท่า “หันข้าง” ที่จะพาคุณข้ามไม้พาด
  4. แกว่งขาข้างที่ไม่ถนัดขึ้นเข้าหาขาที่เหยียดตรง โดยให้ขาทั้งสองข้างเหยียดตรง มันจะทำให้เกิดท่วงท่าที่เหมือนตอนหุบกรรไกร ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า “การกระโดดแบบกรรไกร” รักษาแผ่นหลังให้ตรงและยืดขาไปข้างหน้าคุณ แรงเหวี่ยงจะพาคุณข้ามไม้พาดลงไปที่เบาะ
  5. ฝึกกระโดดแบบกรรไกรจนทำได้คล่อง พอเริ่มชำนาญขึ้น ก็เพิ่มระดับความสูงของไม้พาดช้าๆ เมื่อกระโดดได้ระดับสูงที่สุดแล้ว ก็ถึงเวลาเปลี่ยนไปใช้วิธีการกระโดดที่ก้าวหน้ากว่านั้น
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • มองหาสัญญาณว่าคุณพร้อมจะกระโดดไม้พาดที่สูงขึ้นแล้ว หากคุณกำลังเข้าแข่งขันหรือมีโค้ช ก็คงพร้อมที่จะท้าทายตนเองกระโดดให้สูงขึ้น ถ้าไม่ ก็ลองยกไม้พาดสูงขึ้นสัปดาห์ละหนึ่งเซนติเมตร
  • ควรอบอุ่นกล้ามเนื้อก่อนคิดกระโดดสูง ควรจะลองฝึกวิ่งฝึกกระโดดก่อนจะลงมือจริง
  • รู้ว่าเมื่อไหร่ควรเลื่อนไม้พาดต่ำลงมา หากคุณกระโดดโดนไม้พาดบ่อยมาก ลดมันลงมาสักหนึ่งหรือสองเซนติเมตรแล้วมองเทคนิคการกระโดดของคุณให้ละเอียดขึ้น คุณต้องไม่เครียดหรือกดดันว่าจะโดนไม้พาด ฉะนั้นรู้ข้อจำกัดของตนเองและไม่กลัวที่จะลดไม้พาดลงมา
  • หากคุณไม่ได้มีอุปกรณ์ใช้กระโดดสูง ก็ต้องหายืมมาใช้ โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยเป็นสถานที่เหมาะแก่การติดต่อเพื่อขอใช้อุปกรณ์กระโดดสูงที่อาจจ่ายค่าเช่าราคาถูก ร้านขายอุปกรณ์กีฬาบางแห่งก็มีการปล่อยเช่ายืมอุปกรณ์
  • หากคุณไม่มีแรงพอจะกระโดดข้ามไม้พาด ก็ปล่อยไปเพราะเป็นไปได้ว่าไม้พาดจะโดนตัวคุณและมันเจ็บไม่ใช่เล่นเลยล่ะ
  • เวลากระโดดอย่าลืมยกเท้าขึ้นและไม่กลัวที่จะเอาแผ่นหลังลง
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าฝึกกระโดดสูงโดยเอาฟูกมาปูแทนเบาะรอง มันอาจฟังดูเป็นความคิดที่เข้าท่าแต่หากคุณลงมาแรงๆ อาจกระดอนออกไปตกที่พื้นได้
  • หลีกเลี่ยงการฝึกซ้อมคนเดียว หากได้รับบาดเจ็บขึ้นมา จะไม่มีใครคอยช่วยเหลือคุณนะ!
  • อย่ากระโดดสูงโดยไม่มีเบาะรองรับเพื่อความปลอดภัยเพราะอาจเจ็บหนักได้
  • บทความนี้ตั้งใจให้ข้อมูลกับคนที่เริ่มหัดเล่น สำหรับคนที่ต้องการเทคนิคเหนือกว่านั้นอาจต้องปรึกษาโค้ชกระโดดสูงที่สามารถชี้จุดที่คุณจำเป็นต้องปรับเพื่อกระโดดได้สูงขึ้น
  • วางเบาะเล็กๆ รอบเบาะรองใหญ่หากคุณต้องการอุปกรณ์ป้องกันที่แน่นหนาขึ้น
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • เทปวัด (เพื่อวัดความสูงตอนคุณยกไม้พาดสูงขึ้น)
  • อุปกรณ์กระโดดสูงครบชุด (เบาะรองรับ เสาไม้ และไม้พาด)
  • พื้นที่วิ่ง
  • เพื่อนหรือโค้ช
  • น้ำและอาหารว่าง (ขึ้นอยู่กับว่าจะซ้อมนานแค่ไหน)

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 76,746 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา