ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คราบสนิมบนพื้นซีเมนต์เป็นปัญหาทั่วไปที่เจ้าของบ้านทุกรายต้องเจอ โดยเฉพาะใครที่ใช้บ่อน้ำ เพราะเป็นเรื่องธรรมดาที่บ่อน้ำมักจะมีปริมาณของธาตุเหล็กอยู่สูง คราบเหล่านี้ป้องกันให้เกิดได้ยาก และถ้าไม่ขจัดออกให้ถูกต้องก็จะดูรบกวนสายตาอย่างยิ่ง ถึงแม้คุณอาจจะไม่สามารถขจัดคราบเหล่านี้ที่ฝังแน่นมาเป็นเวลานานออกได้ชนิดเกลี้ยงเกลา คุณก็ยังสามารถขจัดมันออกได้เป็นจำนวนมาก

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ขจัดคราบเล็กน้อย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ล้างและทำความสะอาดคอนกรีตด้วยสบู่และน้ำก่อนเริ่ม. ฝุ่นและเศษสกปรกจะเข้าไปอยู่ระหว่างน้ำยาทำความสะอาดกับคราบ ทำให้ประสิทธิภาพการทำความสะอาดของมันด้อยลง พอคุณทำความสะอาดผิวหน้าของคอนกรีตเสร็จแล้ว ควรทิ้งไว้ให้แห้งก่อนทำต่อ [1]
  2. น้ำยาขจัดสนิมเกือบทั้งหมดใช้กรดในการยกคราบขึ้นและขจัดออกไป ทำให้ความเข้มข้นของกรดซิตริกที่มีอยู่สูงในน้ำมะนาวแท้ๆ ส่งผลให้ตัวมันเป็นทางเลือกในการทำความสะอาดที่คุ้มค่า ราดน้ำมะนาวแล้วทิ้งไว้สัก 10 นาทีก่อนใช้แปรงถูออก
  3. ราดหรือฉีดน้ำส้มสายชูกลั่นไปบนผิวที่เป็นสนิมแทนที่น้ำมะนาวในกรณีที่คราบหนักกว่า. ทิ้งให้น้ำส้มสายชูซึมเข้าพื้นผิวหลายนาทีก่อนใช้แปรงถูออก ใช้น้ำเย็นล้างคราบสนิมออกและทำซ้ำหากยังมีคราบติดหลงเหลือ [2]
  4. ทิ้งน้ำมะนาวหรือน้ำส้มสายชูไว้สัก 5-10 นาที แล้วใช้แปรงที่เป็นขนไนลอนแข็งมาถูหากพื้นเป็นคอนกรีตเรียบหรือทาสี ให้ถูเป็นวงกลมเพื่อขจัดคราบสนิมออกให้ได้มากที่สุด
    • อย่าใช้แปรงที่ขนเป็นโลหะ เพราะมันสามารถขัดพื้นผิวชั้นบนสุดของซีเมนต์ออกมา แล้วเผยให้เห็นเนื้อในใต้ผิวหน้าชั้นนี้ได้
  5. หลังล้างก็ทิ้งให้คอนกรีตแห้ง คุณอาจต้องการขจัดคราบซ้ำเมื่อทำเสร็จ เพราะการล้างหลายๆ ครั้งถึงจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการขจัดคราบสนิม
  6. ใช้ฟองน้ำกับน้ำส้มสายชูเจือจางสำหรับถูพื้นผิวที่บอบบางหรือทาสี. หากคุณไม่สามารถใช้แปรงขัดโดยไม่ทำให้พื้นผิวเสียหายได้ ให้ใช้ฟองน้ำกับน้ำอุ่น อย่างไรก็ตาม ให้แน่ใจว่าคุณได้ทดสอบน้ำยาทำความสะอาดนั้นตรงมุมเล็กๆ ของผิวคอนกรีตก่อน กรดหลายชนิดสามารถกัดสีออกได้ ให้เจือจางน้ำส้มสายชู 1 ถ้วยด้วยน้ำ 1/2 ถ้วยแล้วเริ่มถูวนเป็นวงกลม มันอาจต้องล้างกัน 3-4 ยก แต่ยิ่งทำก็จะยิ่งได้ผลดีขึ้น
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

สู้กับคราบสนิมหนักฝังแน่น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หันไปใช้น้ำยาทำความสะอาดสำเร็จรูปแทนถ้าน้ำมะนาวกับน้ำส้มสายชูใช้ไม่ได้ผล. สำหรับคราบใหญ่ฝังแน่น คุณจำต้องหันไปพึ่งพาน้ำยาทำความสะอาดสูตรเข้มข้น ให้ล้างคอนกรีตและทิ้งให้แห้งก่อนใช้สารเคมีต่อไปนี้ และให้แน่ใจว่าได้ปฏิบัติตามคำเตือนเรื่องความปลอดภัย:
    • ให้ทำในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเท
    • สวมถุงมือและแว่นตานิรภัย
    • ใส่เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวเพื่อป้องกันผิวคุณเอง
  2. ใช้น้ำยาทำความสะอาดที่มีส่วนผสมของกรดโอซาลิก (oxalic acid) เช่น Singerman's หรือ F9 BARC. สเปรย์เหล่านี้มักใช้ในการถูอ่างล้างจานโดยไม่ทำให้เกิดรอยขีดข่วน และพวกมันจะยกคราบสนิมขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว [3]
    • พวกมันมักมาในรูปน้ำยาหรือไม่ก็แป้ง
    • ฉีดหรือโรยตัวทำความสะอาดนี้ลงบนพื้นผิวที่เป็นสนิม หากมันเป็นแป้ง ให้ใช้น้ำทำให้มันเปียก
    • ทิ้งไว้หลายๆ นาทีก่อนดำเนินการต่อ. [4]
  3. ใช้ไตรโซเดียม ฟอสเฟต (Trisodium Phosphate - TSP) ในการขจัดคราบสนิมฝังแน่นบนซีเมนต์. ผสม TSP 1/2 ถ้วย (118.29 มล.) กับน้ำร้อน 1/2 แกลลอน (1.89 ล.) หาซื้อ TSP ได้ตามร้านขายอุปกรณ์ทำความสะอาดบ้าน และจำต้องผสมเองที่บ้าน [5]
    • สวมถุงมือก่อนใช้ TSP
    • เทส่วนผสมลงไปบนคราบสนิม
    • ทิ้งให้มันซึมซับราว 15 ถึง 20 นาที
  4. หลังจากนั้นถูพื้นผิวด้วยแปรงไนลอนแข็งแล้วล้างออก. เช่นเดียวกับคราบเล็กน้อย คือห้ามใช้แปรงขนลวดโลหะเพราะมันจะขัดผิวชั้นนอกบนซีเมนต์ออกไปด้วย ให้ใช้แปรงขนไนลอนแข็งแทนและถูเป็นวงกลมเพื่อยกคราบขึ้นมา ล้างน้ำยาออกให้หมดเมื่อทำเสร็จแล้ว หากมีเหลือทิ้งไว้บนคอนกรีตนานเกินไปอาจทำให้สีซีดได้ [6]
  5. ระมัดระวังหากจะใช้กรดไฮโดรคลอริกมาขจัดคราบ. ในการทดสอบบางครั้งนั้นปรากฏว่ากรดไฮโดรคลอริกเป็นวิธีขจัดคราบสนิมอย่างได้ผลที่สุด อย่างไรก็ดี หากปล่อยมันทิ้งไว้นานเกินไป กรดตัวนี้จะทำให้คอนกรีตออกเป็นสีฟ้า คุณจึงต้องทำอย่างรวดเร็ว นำกรดมาเจือจางเล็กน้อยด้วยน้ำ 1 ถ้วยต่อกรด 2 ถ้วย เพื่อให้คุณมีเวลามากขึ้นและไม่ทำให้พื้นผิวเปลี่ยนสี [7] ให้ผสมกรดกับน้ำเสมอเพื่อเลี่ยงปฏิกิริยาอันรุนแรง
    • ปล่อยให้กรดซึมเข้าสู่คราบราว 5-10 นาที
    • ถูคราบสนิมออกโดยเร็ว
    • ใช้น้ำล้างออกให้หมดจด
    • ทำซ้ำหากจำเป็น [8]
  6. ใช้หัวฉีดแรงดันน้ำสำหรับคราบบริเวณที่ยากจะเข้าถึง. หากคุณมีปัญหาเข้าถึงจุดที่เกิดคราบ หรือไม่สามารถออกแรงถูได้ ให้ทิ้งกรดไว้สัก 10 นาทีแล้วเปิดหัวฉีดแรงดันน้ำ หัวฉีดกำลังแรงไม่เพียงแต่จะชะล้างกรดทั้งหมดออกไป แต่มันยังช่วยดันให้คราบหลุดจากพื้นผิวอีกด้วย
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ป้องกันคราบสนิม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เคลือบคอนกรีตเพื่อการป้องกันคราบสนิมที่ดีที่สุด. น้ำยาเคลือบคอนกรีตนั้นเหมือนน้ำยาเคลือบผิวไม้ มันจะไหลลงไปตามรูพื้นผิวของคอนกรีตและป้องกันคราบได้ หาซื้อมันได้ตามร้านขายอุปกรณ์ดูแลบ้าน เพื่อผลที่ดีที่สุดให้เคลือบซ้ำทุกๆ 2-3 ปี:
    • เลือกวันสุดสัปดาห์ที่ฝนไม่น่าจะตก
    • ล้างคอนกรีตและขจัดคราบใดๆ ที่มีอยู่
    • เริ่มจากตรงมุม กลิ้งน้ำยาเคลือบไปบนคอนกรีต
    • ทิ้งไว้ 48 ชั่วโมงก่อนจะวางเฟอร์นิเจอร์ลงไปบนพื้นผิวนั้น [9]
  2. หลีกเลี่ยงการวางเฟอร์นิเจอร์ที่มีก้นเป็นโลหะลงบนคอนกรีตโดยตรง. หากจำเป็น ลองและเคลื่อนย้ายมันออกตอนที่ฝนตก สาเหตุอันดับหนึ่งของการเกิดคราบสนิมนั้นมาจากเฟอร์นิเจอร์กลางแจ้งที่ทำจากโลหะแล้วเจอน้ำเจอฝน แต่มันสามารถป้องกันไว้ได้หากมีการคิดเตรียมรับมือไว้ก่อน [10]
    • คุณสามารถหาเสื่อน้ำมัน พรมปูกลางแจ้ง หรือเสื่อมาคลุมคอนกรีตไว้เช่นกัน
    • หรืออาจจะลองทาน้ำยาเคลือบเฟอร์นิเจอร์โลหะเหล่านั้นเพื่อกันสนิม คุณสามารถลงน้ำยาปิดทับเฟอร์นิเจอร์ที่เป็นสนิมอยู่ไม่ให้สนิมมันลามไปถึงคอนกรีตก็ได้
    • แม้แต่คอนกรีตภายในบ้านก็อาจเป็นคราบสนิมได้หากห้องนั้นชื้น ฉะนั้นต้องตระหนักในปฏิกิริยาระหว่างโลหะกับคอนกรีตด้วย
  3. ให้แน่ใจว่าคุณใช้เหล็กเส้นชนิดไม่กัดกร่อนตอนเทคอนกรีต. คราบบางทีก็มาจากภายใน เมื่อน้ำซึมเข้าไปจนทำให้เกิดคราบสนิมจากภายใน วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือการลงมือเชิงรุก ให้แน่ใจว่าได้ใช้เหล็กเส้นชนิดไม่กัดกร่อนตั้งแต่แรก [11]
  4. ความชื้นก่อให้เกิดสนิม ดังนั้นถ้าภายในบ้านมีคราบสนิม คุณก็ควรตรวจดูรอยรั่ว ยิ่งปิดรอยรั่วได้เร็วก็ยิ่งดี เพราะความชื้นจะยิ่งสร้างความเสียหายกว่าการขจัดคราบง่ายๆ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หากสนิมนั้นเกิดจากเหล็กเส้นที่โผล่ออกมาจากซีเมนต์ ให้ปิดซีเมนต์ตรงนั้นด้วยน้ำยาเคลือบซีเมนต์หลังจากที่คุณขัดคราบสนิมออกแล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้มันเกิดเป็นสนิมอีกในอนาคต หาซื้อมันได้ตามร้านขายอุปกรณ์ดูแลบ้าน ให้ทำตามคำแนะนำบนฉลากบรรจุภัณฑ์
  • เพื่อลดคราบสนิมให้น้อยลง หลีกเลี่ยงการฉีดน้ำลงบนพื้นคอนกรีตระหว่างรดพื้นสนาม
  • สำหรับผลที่ดีที่สุด ให้ใช้หัวฉีดแรงดันสูงเวลาล้างออก
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 10,616 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา