ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คอแข็งมักไม่ใช่ตัวบ่งชี้ถึงปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงแต่อย่างใด แต่มันก็อาจรบกวนกิจวัตรประจำวันของคุณได้และอาจทำให้นอนหลับได้ยาก สาเหตุของคอแข็งนั้นมีได้จากหลายปัญหา เช่น ท่าทางที่ไม่ถูกต้องระหว่างทำงาน การนอนหลับผิดท่า กล้ามเนื้อตึงจากการออกกำลังกาย เกิดความกระวนกระวายใจ หรือปัญหาด้านสุขภาพ ลองทำขั้นตอนต่อไปนี้เพื่อให้คอรู้สึกผ่อนคลาย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 8:

ใช้การประคบร้อนและเย็น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ความร้อนช่วยให้กล้ามเนื้อที่ตึงอยู่ให้ผ่อนคลายลง [1] และไอร้อนชื้นจะดีกว่าไอร้อนแห้งเพราะมันจะซึมเข้าสู่คอได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า [2] ให้ใช้ความร้อนประคบตรงหลังหรือลำคออย่างน้อยคราวละ 20 นาที ทำวันละสามครั้งทุกวัน
    • แผ่นประคบร้อนแบบชื้น (มีขายตามร้านขายยาทั่วไป) เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในการประคบความร้อนกับลำคอ เพราะสามารถควบคุมอุณหภูมิได้และใช้ได้เป็นเวลานาน ทางเลือกอื่นก็อาจใช้ขวดน้ำร้อนหรืออาบน้ำอุ่นแช่น้ำร้อนก็ได้
  2. ใส่ผ้าเช็ดมือลงในชามที่ใส่น้ำร้อนไว้เต็ม หรือเทน้ำร้อนลงบนผ้าก็ได้ อีกทางก็ให้ใส่ผ้าขนหนูลงในเครื่องปั่นผ้าแห้งเป็นเวลา 5-7 นาที บิดผ้าพอให้ไม่มีน้ำหยด แต่ยังคงความอุ่น พับผ้าเป็นทบมาวางเหนือจุดที่ปวด หลังทำแล้วให้รอราว 20 นาทีก่อนทำอีกครั้ง ทำเช่นนี้สามครั้งด้วยกัน
  3. ความเย็นทำให้อาการปวดลดลงและจำกัดการเกิดของกรดแลกติก ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดคอ [3] ใช้ถุงน้ำแข็งวางตรงบริเวณที่รู้สึกคอแข็ง (มักจะเป็นด้านหลังลำคอบริเวณแนวผม) ประคบไว้นาน 10-15 นาทีทุก 2 ชั่วโมง [4]
    • คุณอาจลองใช้ท่าที่สบายตัวกว่าในการประคบถุงน้ำแข็ง ให้นั่งบนเก้าอี้ที่นั่งสบายแล้วพาดศีรษะไปข้างหลัง วางถุงระหว่างไหล่กับท้ายทอย เอนศีรษะลงเพื่อให้ลำคอได้รับประโยชน์จากความเย็นเต็มที่
    • ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่าน้ำแข็งจะยิ่งทำให้คอแข็งหนักกว่าเก่าเพราะความเย็นทำให้กล้ามเนื้อหดตัว [5] ลองดูว่าแบบไหนทำให้คุณรู้สึกดีกว่ากัน
    • ใช้การประคบเย็นสำหรับการปวดแบบเฉียบพลันใน 48-72 ชั่วโมงแรก แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นประคบร้อน [6]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 8:

ใช้การยืดเหยียดเพื่อบรรเทาอาการคอแข็ง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ส่วนใหญ่แล้ว อาการคอแข็งสามารถบรรเทาได้ทันทีโดยการออกกำลังบริหารลดความตึงที่เกิดจากกล้ามเนื้อต้นคอเกร็งหรือตึงเกินไป ทำการยืดเหยียดกล้ามเนื้อด้านหน้าและด้านหลังลำคอโดยการก้มคางเข้าหาทรวงอก แล้วเงยคางขึ้นฟ้า ทำซ้ำหลายนาที
    • ถ้าทำแล้วรู้สึกปวด อย่าก้มหรือเงยมากเกินไป แค่ลองขยับพอให้มันรู้สึกเหยียดออกเล็กน้อยก็พอ
  2. ยืดเหยียดกล้ามเนื้อทางด้านข้างของลำคอโดยการเอียงศีรษะไปทางไหล่ข้างหนึ่งแล้วเอียงไปอีกข้าง ทำไปเรื่อยๆ จนอาการปวดลดลงบ้างและกล้ามเนื้อไม่ตึงเหมือนทีแรก
  3. นี่เป็นท่าการขยับที่อาจเกิดปวดขึ้นได้มากที่สุดหากคุณเกิดคอแข็ง ฉะนั้นให้ทำช้าๆ เอี้ยวศีรษะจากซ้ายไปขวาหลายๆ นาที
  4. ในสองสามวันแรกเมื่อคุณเริ่มเกิดคอแข็ง ทางที่ดีควรลดกิจกรรมทางร่างกายลง [7] มันจะช่วยลดอาการและบรรเทาอาการอักเสบที่อาจเกิดขึ้นได้ หลีกเลี่ยงกีฬาหรือการออกกำลังกายต่อไปนี้ใน 2 ถึง 3 สัปดาห์แรกหลังจากเกิดคอแข็ง:
    • ฟุตบอล รักบี้ ฮ็อกกี้ หรือกีฬาที่มีการปะทะกันสูง
    • กอล์ฟ
    • วิ่งหรือจ๊อกกิ้ง
    • ยกเวท
    • บัลเล่ต์
    • ซิตอัพหรือเลกลิฟต์
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 8:

รู้ว่าเมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บางครั้งอาการคอแข็งอาจเป็นอาการของปัญหาที่อยู่ลึกกว่านั้น อย่างเช่นกระดูกไขข้อเคลื่อนหรือปลายประสาทฉีกขาด อาการบาดเจ็บแบบนี้จะไม่หายไปได้เอง ถ้าคุณเกิดคอแข็งนานเกินสองสามวัน ให้ปรึกษาแพทย์ [8]
    • แพทย์อาจทำการฉีดยาแก้อักเสบ การฉีดคอร์ติโซน (Cortisone) สามารถฉีดเข้าตรงบริเวณที่เกิดคอแข็งและจะลดการอักเสบของคอได้ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของคอแข็ง [9]
  2. คอแข็งอาจเกิดจากความที่ร่างกายรู้สึกเครียดมาก มากจะเป็นผลมาจากความกังวลสะสม ถ้าคุณคิดว่าความกังวลเป็นต้นเหตุให้คอแข็ง อาจต้องไปพบแพทย์หรือปรึกษาจิตแพทย์เพื่อรักษาอาการกังวล [10]
  3. การที่คอแข็งนั้นเป็นอาการเบื้องต้นของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (meningitis) อันเป็นโรคจากการติดเชื้อแบคทีเรียร้ายแรงที่ทำให้เกิดการบวมบริเวณรอบๆ สมอง [11] คอแข็งอาจบ่งชี้ว่าคุณอาจเป็นโรคหัวใจ [12] ให้ไปพบแพทย์ทันทีถ้าคุณมีอาการดังต่อไปนี้:
    • มีไข้
    • อาเจียนคลื่นไส้
    • เอาคางมาแตะทรวงอกได้ยาก
    • มีอาการเจ็บหน้าอกหรือเจ็บในแขนซ้าย
    • วิงเวียน
    • ถ้าคุณมีปัญหาเวลาลุกขึ้นยืน ยืนหรือเดิน ให้พบแพทย์ทันที
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 8:

ลองใช้ยาแก้ปวด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การบรรเทาอาการในทันทีอาจทำได้โดยใช้บาล์มที่มีส่วนผสมของเมนทอลหรือส่วนผสมอื่นที่ช่วยปลอบประโลมผิวและกล้ามเนื้อ บาล์มที่ได้รับความนิยมก็เช่น ไอซี่ฮ็อต, เบนเกย์ และแอสเปอร์ครีม
    • คุณสามารถทำยาแก้ปวดเอง ละลายน้ำมันมะพร้าว 2 ช้อนโต๊ะกับขี้ผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะในหม้อเล็กๆ บนเตาที่ใช้ความร้อนปานกลาง เติมน้ำมันเปปเปอร์มินต์ 5 หยดกับน้ำมันยูคาลิปตัส 5 หยด เทส่วนผสมลงในขวดที่มีฝาปิด อย่างขวดโหลเล็กๆ พอมันเย็นตัวลงก็ใช้ทาบริเวณลำคอและรอบๆ ได้
  2. ยาในกลุ่ม NSAID หรือยาแก้การอักเสบชนิดไม่ผสมสเตียรอยด์ อย่างเช่น ไอบูโปรเฟนกับแอสไพรินนั้นลดอาการปวดได้ดีและมีขายตามร้านขายยาทั่วไป ให้แน่ใจว่าไม่ทานมากกว่าปริมาณที่แนะนำ
  3. ยาคลายกล้ามเนื้อมีประโยชน์ในการทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายและบรรเทาอาการคอแข็งหรือปวดต้นคอได้ มันควรใช้เฉพาะเป็นยารักษาในระยะสั้น และจะดีที่สุดถ้าใช้เฉพาะเวลาก่อนนอน [13] ใช้ยาคลายกล้ามเนื้อเฉพาะเมื่อวิธีการอื่นอย่างการยืดเหยียดหรือการประคบร้อนประคบเย็นไม่ได้ผลเท่านั้น
    • ยาคลายกล้ามเนื้ออาจมีส่วนผสมของตัวยาชนิดอื่น ให่อ่านข้อแนะนำในการใช้ให้ดี
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 8:

ปรับเปลี่ยนรูปแบบการนอน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณตื่นมาทุกเช้าพร้อมอาการคอแข็ง หมอนอาจเป็นสาเหตุ เลือกหมอนที่จะลดอาการคอแข็งให้เหลือน้อยที่สุดโดยดูจากวิธีนอนของคุณ [14] หมอนที่ทำจากเมมโมรี่โฟมเป็นตัวเลือกที่ดี เพราะมันให้การรองรับน้ำหนักต่อเนื่องเพื่อที่ต้นคอสามารถผ่อนคลายอย่างเต็มที่ในขณะหลับ
    • คนที่ชอบนอนตะแคงควรมองหาหมอนที่รักษาศีรษะให้อยู่ในแนวขนาน มากกว่าจะยุบลงไปที่ฟูก
    • คนที่ชอบนอนหงายควรใช้หมอนที่รักษาศีรษะให้อยู่ในแนวขนานและไม่ยกคางขึ้นมาหาหน้าอก
  2. หมอนที่ยัดขนเป็ดสามารถรองรับน้ำหนักต้นคอได้ดี แต่มันจะสูญเสียความฟูนุ่มไปหลังจากใช้ราวหนึ่งปี ถ้าคุณใช้หมอนมานานประมาณนี้และเริ่มมีอาการคอแข็ง ลองหาหมอนใบใหม่ [15]
  3. แพทย์หลายท่านแนะนำให้นอนโดยไม่ใช้หมอนสักสองสามคืนหลังจากเกิดปวดคอ [16] นี่อาจช่วยบรรเทาอาการและป้องกันการเกิดคอแข็งจากการนอนหลับผิดท่าได้
  4. ฟูกต้องสามารถรองรับน้ำหนักของกระดูกสันหลังและลำคอของคุณได้ ถ้าใช้มันมานานหลายปีดีดัก บางทีอาจถึงเวลาต้องเปลี่ยนใหม่
    • คุณยังควรลองสลับด้านฟูก ซึ่งควรทำนานๆ ครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าฟูกไม่ได้เสียรูป ทำตามคำแนะนำวิธีการดูแลรักษาของผู้ผลิตเพราะฟูกบางชนิด (เช่นฟูกที่มีหมอนมาในตัว) อาจจะพลิกด้านไม่ได้
  5. การนอนคว่ำส่งผลเสียต่อกระดูกสันหลังและลำคอ เพราะคุณต้องเอียงคอไปข้างหนึ่งตลอดทั้งคืน พยายามนอนตะแคงหรือนอนหงาย ถึงแม้ว่าคุณอาจกลับมานอนคว่ำในขณะหลับ อย่างน้อยก็ทำให้มีเวลานอนคว่ำน้อยลงกว่าเริ่มนอนด้วยท่านี้ [17]
  6. การนอนเพียงพอจะช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูตนเองเต็มที่ การถูกขัดจังหวะระหว่างนอน เช่น ตื่นมาเข้าห้องน้ำกลางดึกหรือนอนไม่หลับนั้นสามารถเร่งให้เกิดอาการปวดคอได้ เพราะร่างกายไม่ได้พักผ่อนจนฟื้นฟูตัวเองเพียงพอ พยายามหลับให้เต็มอิ่มทุกคืน [18]
    โฆษณา
วิธีการ 6
วิธีการ 6 ของ 8:

ใช้การนวดและวิธีรักษาทางเลือกเพื่อบรรเทาอาการ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การนวดเป็นวิธีหนึ่งที่บรรเทาอาการคอแข็งได้ดี ถ้าคุณจะนวดต้นคอด้วยตัวเอง ลองเทคนิคต่อไปนี้:
    • อุ่นต้นคอโดยการใช้มือถูขึ้นลง
    • ใช้ปลายนิ้วนวดโดยออกแรงกดเบาๆ วนเป็นวงกลมที่ต้นคอ เน้นตรงจุดที่เกิดแข็งที่สุด แต่ให้นวดทั่วต้นคอเพื่อบรรเทาอาการ [19]
    • ทำซ้ำแบบนี้ขึ้นและลงตามต้นคอหลายๆ นาที
  2. นักบำบัดหรือหมอนวดจับเส้นจะหาว่าจุดไหนในร่างกายที่เกิดความตึง ถึงจะเกิดอาการคอแข็ง แต่จริงๆ แล้วคุณอาจมีความเครียดตรงส่วนอื่นของหลังหรือไหล่ที่มาสะสมตรงต้นคอ
    • ตรวจดูแผนประกันสุขภาพของคุณว่าได้รวมการนวดบำบัดไว้ด้วยหรือไม่
  3. การฝังเข็มเป็นวิธีรักษาอาการปวดของจีนโดยการใช้เข็มเล็กๆ แทงลงไปตรงจุดสำคัญของร่างกาย ถึงแม้บางคนจะกังขาในประสิทธิภาพของการฝังเข็ม แต่คนที่ปวดต้นคอเรื้อรังหลายคนก็ดีขึ้นจากการรักษาแบบนี้ [20]
    • ไปพบและขอคำปรึกษาจากหมอฝังเข็มและสอบถามการรักษาอาการคอแข็งหรือปวดต้นคอโดยเฉพาะ
    โฆษณา
วิธีการ 7
วิธีการ 7 ของ 8:

ลองวิธีรักษาเองแบบอื่นๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถึงแม้จะไม่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ว่าช่วยเรื่องอาการคอแข็ง แต่เชื่อกันว่าแมกนีเซียมเป็นตัวคลายความปวดตึงของกล้ามเนื้อที่ได้ผล ลองใช้แมกนีเซียมเป็นอาหารเสริมดู
    • ปริมาณแมกนีเซียมที่แนะนำต่อวันคือตั้งแต่ 310 มิลลิกรัม ถึง 420 มิลลิกรัมขึ้นกับอายุและเพศ [21] อย่าใช้มากเกินปริมาณที่แนะนำ
  2. ดีเกลือฝรั่ง หรือแมกนีเซียมซัลเฟตนั้นใช้เติมอ่างน้ำร้อนส่วนใหญ่อยู่แล้ว ถึงแม้ทางวิทยาศาสตร์จะบอกว่าดีเกลือฝรั่งไม่ได้มีผลต่อการทำให้กล้ามเนื้อที่อักเสบนั้นดีขึ้นก็ตาม [22]
  3. เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากในจีนและเวียดนาม การขูดผิวนั้นจะใช้ช้อนทื่อๆ ขูดแผ่นหลังจนช้ำ โดยเชื่อว่าทำเช่นนี้จะช่วยให้เลือดลมเดินสะดวก อีกทั้งยังขจัดพิษหรือของเสียออกจากบริเวณนั้น กวาชาเริ่มจะได้รับการทดสอบในวงกว้างขึ้นโดยได้ผลในเชิงบวกด้วย [23]
    • ใช่ว่าจะไม่มีข้อโต้แย้งในกวาชาเลยเสียทีเดียว เพราะมันทำให้เกิดรอยช้ำจึงไม่ค่อยดึงดูดนัก และคนไข้บางคนอาจจะไม่ได้ผลดีหรือไม่โดนใจก็ได้
    • การรักษาด้วยวิธีกวาชานี้ควรทำด้วยความระมัดระวัง สื่อสารบอกกับแพทย์ผู้ทำด้วยถ้าเกิดรู้สึกว่าขูดไปแล้วไม่รู้สึกดีหรือว่าหนักมือเกินไป คุณไม่ควรทำแล้วรู้สึกไม่สบายตัวหรือเกิดอาการระคายเคืองผิว
    โฆษณา
วิธีการ 8
วิธีการ 8 ของ 8:

ป้องกันการเกิดซ้ำ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มีคนมากมายที่เกิดอาการคอแข็งเนื่องจากโต๊ะทำงานไม่ได้ปรับให้เข้ากับสรีระของมนุษย์ ควรปรับเก้าอี้ให้ตอนที่คุณนั่งนั้นเท้าสามารถวางบนพื้นได้และแขนสามารถวางบนโต๊ะ
    • ถ้าคุณต้องใช้จอคอมพิวเตอร์ด้วย ให้แน่ใจว่ามันอยู่ในระดับสายตา
  2. ถ้าคุณนั่งโต๊ะตลอดทั้งวันหรือใช้เวลาขับรถนานๆ ต้องหาโอกาสพักสั้นๆ บ้าง การขยับตัวไปมาทำให้กล้ามเนื้อมีโอกาสได้ยืดเหยียดแทนที่จะต้องเกร็งตัวนับชั่วโมง
  3. การก้มคอลงอยู่บ่อยๆ จะเป็นอันตรายต่อต้นคอช้าๆ ให้เปลี่ยนมาถือโทรศัพท์หรือแท็บเล็ตในระดับสายตาแทน
  4. การสะพายน้ำหนักที่มากด้วยไหล่ข้างเดียวจะทำให้ร่างกายด้านหนึ่งต้องแบกรับน้ำหนักไม่สมดุลกับอีกข้าง ต้นคอและหลังจะต้องคอยชดเชยน้ำหนักนั้นอันส่งผลให้เกิดคอแข็งได้ ให้เลือกเป็นเป้สะพายหลังหรือกระเป๋าที่มีล้อเลื่อนแทน
  5. การยกเวทไม่ถูกท่าเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดคอแข็ง คุณสามารถทำให้กล้ามเนื้อยึดหรือเส้นประสาทฉีกขาดถ้าใช้วิธีที่ไม่ปลอดภัย ให้ออกกำลังกับครูผู้สอนเพื่อให้แน่ใจว่าคุณยกถูกท่า
    • อย่าพยายามยกน้ำหนักที่มากกว่าที่คุณยกไหว การยกไม่ควรยกเบาๆ ก็จริง แต่มิใช่ว่าต้องหนักจนรู้สึกจะคะมำไปข้างหน้า หาน้ำหนักที่เหมาะสมสำหรับรูปร่างและระดับความแข็งแรงของตัวคุณ
    • อย่ายกหลายครั้งเกินไปในหนึ่งสัปดาห์ กล้ามเนื้อต้องการเวลาซ่อมแซมตัวเอง คุณจะใช้กล้ามเนื้อมากเกินไปถ้าไปออกกำลังกายบ่อยเกิน
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ลองวิธีรักษาทางเลือกเช่น การครอบแก้ว การรมยา หรือชี่กง
โฆษณา

คำเตือน

  • การใช้งานกล้ามเนื้อที่มีอาการปวดอยู่หนักเกินไปจะทำให้ยิ่งปวดขึ้นไปอีก พยายามอย่าใช้งานกล้ามเนื้อนั้นจะดีกว่า
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 15,814 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา