PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

คำขอโทษคือการแสดงความรู้สึกเสียใจกับสิ่งที่คุณได้ทำผิดไปและเป็นวิธีสมานความสัมพันธ์หลังความผิดพลาด การให้อภัยเกิดขึ้นเมื่อบุคคลที่ถูกทำให้เจ็บช้ำน้ำใจยินยอมที่จะสมานความสัมพันธ์กับผู้ที่กระทำตน [1] คำขอโทษที่ดีจะสื่อสารสามสิ่ง ได้แก่ การรู้สึกผิด ความรับผิดชอบและการแก้ไข [2] การขอโทษกับความผิดพลาดอาจจะดูยากแต่มันจะช่วยให้คุณสมานและปรับปรุงความสัมพันธ์กับผู้อื่น

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

การเตรียมคำขอโทษ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. การถกเถียงเรื่องรายละเอียดของประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลมากกว่าหนึ่งคนมักจะน่าโมโหเพราะประสบการณ์นั้นเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล วิธีที่เราประสบและตีความสถานการณ์นั้นไม่เหมือนใครและคนสองคนมักจะมีความเห็นที่ไม่ตรงกัน คำขอโทษจะต้องรับรู้ถึงความรู้สึกของอีกฝ่ายหนึ่งจริงๆ ไม่ว่าคุณจะคิดว่าเขาถูกหรือไม่ก็ตาม [3]
    • เช่น ลองนึกว่าคุณไปดูหนังคนเดียวและไม่ได้ไปกับแฟน แฟนของคุณรู้สึกโดนทิ้งและเสียใจ คุณควรรับรู้ว่าอีกฝ่ายรู้สึกเสียใจในคำขอโทษ แทนที่จะเถียงว่าแฟนของคุณผิดหรือถูกที่รู้สึกแบบนี้หรือคุณเป็นฝ่ายผิดหรือถูกที่ออกไปดูหนัง
  2. การผิดพลาดที่พบบ่อยที่สุดเกี่ยวกับคำขอโทษคือการใช้ประโยคที่เกี่ยวกับ “เธอ” แทน “ฉัน” เมื่อคุณขอโทษคุณต้องรับผิดชอบในสิ่งที่คุณทำ อย่าโยนความผิดไปให้อีกฝ่ายหนึ่ง มุ่งความสนใจไปที่สิ่งที่คุณทำและหลีกเลี่ยงการโทษคนอื่น [4]
    • เช่น คำขอโทษที่พบบ่อยแต่ไม่มีประสิทธิภาพคือ “ฉันขอโทษที่ความรู้สึกของเธอเจ็บปวด” หรือ “ฉันขอโทษที่เธอเสียใจ” คำขอโทษไม่จำเป็นต้องข้องเกี่ยวกับความรู้สึกของอีกฝ่ายแต่เป็นความรับผิดชอบของคุณเอง คำขอโทษเหล่านี้ไม่ได้แสดงถึงความรับผิดชอบของคุณแต่มันโยนความรับผิดชอบกลับมาที่บุคคลที่ถูกทำให้เสียใจ [5] [6]
    • มุ่งความสนใจมาที่ตัวคุณ ประโยคที่ว่า “ฉันขอโทษที่ทำให้เธอรู้สึกเสียใจ” หรือ “ฉันขอโทษที่ทำไม่ดีกับเธอ” แสดงความรับผิดชอบต่อความเจ็บปวดที่คุณก่อขึ้นและไม่โยนความผิดให้คนอื่น
  3. มันเป็นเรื่องธรรมดาที่คุณอยากจะอธิบายการกระทำให้อีกฝ่ายหนึ่งได้ฟัง อย่างไรก็ตามการพยายามอธิบายการกระทำของตัวเองจะตีความหมายของคำขอโทษไปในทางลบเพราะอีกฝ่ายอาจจะมองคำขอโทษว่าไม่จริงใจ [7]
    • คำอธิบายอาจจะรวมถึงคำอ้างว่าคนที่คุณทำให้เสียใจนั้นเข้าใจคุณผิด เช่น “เธอเข้าใจฉันผิด” อีกทั้งมันอาจจะรวมถึงคำปฏิเสธ เช่น “มันไม่ได้แย่ขนาดนั้น” หรือ “ฉันก็โดนทำร้ายเลยช่วยไม่ได้จริงๆ”
  4. คำขอโทษอาจจะแสดงว่าคุณไม่ได้ตั้งใจจะทำร้ายบุคคลนั้นซึ่งอาจจะมีประโยชน์ในการทำให้คนๆ นั้นมั่นใจว่าคุณใส่ใจและไม่ได้ตั้งใจทำร้ายเขา อย่างไรก็ตามคุณต้องระวังว่าเหตุผลของการกระทำไม่เข้าข่ายการแก้ตัวกับสิ่งไม่ดีที่คุณได้ทำ [8]
    • เช่น ข้ออ้างที่ปฏิเสธความตั้งใจ ได้แก่ “ฉันไม่ได้ตั้งใจทำร้ายเธอ” หรือ “มันเป็นอุบัติเหตุ” ข้ออ้างที่ปฏิเสธเจตนา ได้แก่ “ฉันเมาและไม่รู้ตัวว่าพูดอะไร” ใช้ประโยคเหล่านี้อย่างระมัดระวังและรู้ซึ้งถึงความเจ็บปวดที่คุณได้ก่อแล้วจึงตามด้วยเหตุผลของการกระทำต่างๆ [9]
    • คนที่ถูกทำให้เจ็บปวดมักจะให้อภัยคุณหากคุณเสนอข้อแก้ตัวมากกว่าคำอธิบาย ข้อแก้ตัวที่ผสมระหว่างการรับผิดชอบ การรู้ซึ้งถึงความเจ็บปวดที่คุณได้ก่อ การรับรู้พฤติกรรมที่เหมาะสมและการทำให้มั่นใจถึงพฤติกรรมที่เหมาะสมในอนาคต [10]
  5. คำขอโทษที่มีคำว่า “แต่” จะไม่มีวันถูกมองว่าเป็นคำขอโทษ [11] สิ่งนี้เป็นเพราะคำว่า “แต่” เป็นที่รู้จักว่าเป็น “ยางลบคำพูด” มันเบี่ยงเบนความสนใจจากสิ่งที่ควรจะเป็นจุดประสงค์ของคำขอโทษ (การรู้ซึ้งถึงความรับผิดชอบและการแสดงออกถึงความรู้สึกผิด) ไปสู่การอธิบายตัวเอง เมื่อคนเราได้ยินคำว่า “แต่” พวกเขามักจะหยุดฟัง สิ่งที่พวกเขาจะได้ยินต่อจากนั้นก็คือ “แต่มันคือความผิดของเธอ” [12]
    • เช่น อย่าพูดคำว่า “ขอโทษแต่ฉันแค่เหนื่อยมาก” สิ่งนี้จะเน้นย้ำข้ออ้างของการทำผิดมากกว่าการมุ่งความสนใจไปที่ความรู้สึกผิดกับการทำร้ายคนอื่น
    • ให้พูดคำว่า “ฉันขอโทษที่ฉันเหวี่ยงใส่เธอ ฉันรู้ว่าฉันทำร้ายความรู้สึกของเธอ ฉันแค่เหนื่อยมากและฉันรู้สึกผิดที่พูดสิ่งนั้น”
  6. งานวิจัยชี้ให้เห็นว่า “การวิเคราะห์ตนเอง” มีผลต่อการที่ผู้อื่นยอมรับคำขอโทษของคุณ หมายความว่าวิธีที่ผู้นั้นมองเห็นตัวเองว่าเป็นเช่นไรต่อตัวเองและผู้อื่นมีผลว่าคำขอโทษแบบใดจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด [13]
    • เช่น คนบางคนเป็นตัวของตัวเองสูงและให้คุณค่ากับการมีสิทธิ์ต่างๆ คนเหล่านี้มักจะตอบรับกับคำขอโทษที่เสนอการแก้ไขแบบเฉพาะเจาะจงต่อความเจ็บปวด
    • สำหรับคนที่ให้คุณค่ากับความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับผู้อื่นเป็นอย่างสูง พวกเขามักจะตอบรับกับคำขอโทษที่แสดงออกถึงความเห็นใจและความรู้สึกผิด
    • คนบางคนให้คุณค่ากับกฎเกณฑ์ทางสังคมและขนบธรรมเนียมและมองตัวเองว่าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มทางสังคมที่ใหญ่กว่า คนเหล่านี้มักจะตอบรับกับคำขอโทษที่รู้ซึ้งว่าคุณค่าหรือกฎเกณฑ์ได้ถูกฝ่าฝืน
    • หากคุณรู้จักคนๆ นั้นไม่ดีพอก็ลองผสมคำขอโทษจากหลายๆ แบบ คำขอโทษเหล่านี้มักจะหยั่งรู้ได้ว่าอะไรคือสิ่งที่สำคัญที่สุดของบุคคลที่คุณกำลังจะขอโทษ
  7. หากคุณรวบรวมคำพูดสำหรับคำขอโทษได้อย่างลำบากก็ลองเขียนความรู้สึกลงไป วิธีนี้จะช่วยให้คุณแสดงคำพูดและความรู้สึกได้อย่างถูกต้อง ไม่ต้องรีบร้อนและคิดให้ออกว่าทำไมคุณถึงต้องขอโทษและคุณจะทำอะไรเพื่อให้อีกฝ่ายมั่นใจว่าคุณจะไม่ทำผิดอีก
    • หากคุณกังวลว่าคุณจะมีอารมณ์อ่อนไหวคุณก็สามารถติดโน้ตไปด้วยได้ อีกฝ่ายอาจจะชื่นชมในความตั้งใจของคุณในการเตรียมคำขอโทษอีกด้วย
    • หากคุณกังวลว่าคุณจะทำคำขอโทษพังก็ลองฝึกกับเพื่อนสนิทก่อน คุณคงไม่อยากฝึกมากเกินไปจนคำขอโทษฟังดูฝืนๆ หรือเตรียมการเอาไว้มากเกินไป อย่างไรก็ตามมันอาจจะเป็นประโยชน์หากคุณฝึกพูดคำขอโทษกับคนที่สามารถให้ความเห็นกับคุณได้ [14]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

การขอโทษในเวลาและสถานการณ์ที่ถูกต้อง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถึงแม้คุณจะรู้สึกผิดขึ้นมาทันทีแต่คำขอโทษก็อาจจะไม่มีผลหากมันออกมาท่ามกลางสถานการณ์ที่อ่อนไหว เช่น หากคุณกำลังทะเลาะกันอยู่คำขอโทษก็อาจจะไม่มีผล ที่เป็นเช่นนี้เพราะมันยากที่คำขอโทษจะฟังดูมีความหมายต่อผู้อื่นท่ามกลางอารมณ์ที่เป็นลบ [15] รอจนกว่าคุณทั้งคู่ใจเย็นลงก่อนที่จะเอ่ยคำขอโทษ
    • นอกจากนั้น หากคุณขอโทษในขณะที่อารมณ์ยังพลุ่งพล่านคุณก็อาจจะสื่อความจริงใจได้ไม่เต็มที่ การรอจนกว่าคุณจะรวบรวมสติกลับมาจะช่วยให้คุณพูดในสิ่งที่คุณตั้งใจจะพูดและทำให้คำขอโทษนั้นมีความหมายและสมบูรณ์ เพียงแต่อย่ารอนานเกินไปเพราะการรอหลายๆ วันหรือหลายๆ สัปดาห์อาจจะส่งผลเสียได้เช่นกัน [16]
    • ในที่ทำงาน คุณควรขอโทษทันทีที่ทำผิดพลาดเพื่อจะช่วยหลีกเลี่ยงไม่ให้งานสะดุด
  2. การขอโทษต่อหน้าบุคคลทำให้การสื่อความจริงใจนั้นง่ายขึ้นเพราะการสื่อสารส่วนใหญ่ของเราเป็นแบบอวัจนภาษาผ่านทางภาษากาย สีหน้าและแววตา. [17] คุณควรขอโทษต่อหน้าบุคคลเมื่อเป็นไปได้
    • หากคุณไม่สามารถขอโทษต่อหน้าบุคคลได้ก็ควรทำทางโทรศัพท์ น้ำเสียงของคุณจะช่วยสื่อสารว่าคุณจริงใจ
  3. เลือกสถานที่เงียบๆ และเป็นส่วนตัวเพื่อทำการขอโทษ. การขอโทษเป็นการกระทำที่ส่วนตัว การหาสถานที่เงียบๆ และเป็นส่วนตัวเพื่อทำการขอโทษจะช่วยให้คุณมุ่งความสนใจไปที่อีกฝ่ายและหลีกเลี่ยงสิ่งรบกวน
    • เลือกสถานที่ๆ รู้สึกผ่อนคลายและเผื่อเวลาเอาไว้เพื่อจะได้ไม่ต้องรีบ
  4. คำขอโทษที่รีบเร่งนั้นไม่มีประสิทธิภาพ [18] สิ่งนี้เป็นเพราะคำขอโทษต้องทำหลายๆ สิ่ง คุณต้องรับรู้ถึงสิ่งที่คุณทำผิด อธิบายว่าเกิดอะไรขึ้น แสดงความรู้สึกผิดและแสดงว่าคุณจะทำสิ่งที่ต่างออกไปในอนาคต [19]
    • อีกทั้งคุณยังควรเลือกเวลาที่ไม่เร่งรีบหรือกดดัน หากคุณยังคงนึกถึงสิ่งอื่นๆ ที่ต้องทำ คุณก็จะไม่จดจ่ออยู่กับคำขอโทษและอีกฝ่ายจะสัมผัสได้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

การขอโทษ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. การสื่อสารแบบนี้เรียกว่า “การสื่อสารแบบบูรณาการ” และใช้การถกเถียงประเด็นอย่างเปิดเผยในแบบที่ไม่ข่มขู่เพื่อบรรลุถึงความเข้าใจร่วมกันทั้งสองฝ่ายหรือ “การบูรณาการ” [20] เทคนิคแบบบูรณาการนั้นจัดได้ว่ามีผลเชิงบวกระยะยาวต่อความสัมพันธ์ [21]
    • เช่น หากคนที่ถูกคุณทำร้ายจิตใจพยายามพูดถึงรูปแบบของพฤติกรรมในอดีตที่เขาเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับความผิดพลาดของคุณก็ปล่อยให้เขาพูดให้จบ หยุดสักพักก่อนที่คุณจะตอบ พิจารณาถึงสิ่งที่เขาพูดและพยายามมองสถานการณ์จากมุมของอีกฝ่ายแม้คุณจะไม่เห็นด้วยก็ตาม อย่าเหวี่ยง ตะโกนหรือด่าทออีกฝ่าย
  2. การสื่อสารแบบอวัจนภาษาที่คุณใช้ในการขอโทษนั้นสำคัญพอๆ กับสิ่งที่คุณพูด หลีกเลี่ยงการโก่งหรืองอตัวเพราะมันสามารถบ่งชี้ว่ได้ว่าคุณปิดกั้นบทสนทนา [22]
    • สบตาในขณะที่พูดหรือฟัง สบตาอย่างน้อย 50% ของเวลาที่คุณพูดและอย่างน้อย 70% ของเวลาที่คุณฟัง
    • หลีกเลี่ยงการกอดอกเพราะมันคือสัญญาณว่าคุณป้องกันและปิดตัวเองจากผู้อื่น
    • พยายามผ่อนคลายใบหน้า คุณไม่ต้องฝืนยิ้มแต่หากคุณรู้สึกว่าหน้าบูดบึ้งก็ลองใช้เวลาผ่อนคลายกล้ามเนื้อเหล่านั้น
    • แบมือแทนการการกำมือหากคุณต้องออกท่าทาง
    • หากอีกฝ่ายอยู่ใกล้และมันเป็นการเหมาะสมก็ให้ใช้การสัมผัสเพื่อสื่อสารอารมณ์ของคุณ การกอดหรือการสัมผัสเบาๆ บนแขนหรือมือสามารถสื่อสารได้ว่าอีกฝ่ายมีความหมายกับคุณแค่ไหน [23]
  3. แสดงความเห็นใจต่ออีกฝ่ายและรู้ซึ้งถึงความเจ็บปวดที่คุณได้ก่อ รับรู้ถึงความรู้สึกของอีกฝ่ายว่าเป็นสิ่งที่แท้จริงและมีค่า [24]
    • งานวิจัยชี้ว่าคำขอโทษที่ถูกกลั่นออกมาจากความรู้สึกผิดหรืออับอายจะเป็นที่ยอมรับมากขึ้นโดยผู้ที่ถูกทำร้าย ในทางตรงกันข้าม คำขอโทษที่ถูกกลั่นออกมาจากความรู้สึกสงสารจะไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับเพราะมันดูไม่ค่อยจริงใจ [25]
    • เช่น คุณสามารถเริ่มคำขอโทษโดยพูดว่า “ฉันรู้สึกผิดเป็นอย่างมากที่ทำร้ายความรู้สึกของเธอเมื่อวานนี้ ฉันรู้สึกแย่ที่ทำให้เธอเจ็บปวด”
  4. ระบุเจาะจงให้มากที่สุดเมื่อต้องรับผิดชอบ คำขอโทษที่เฉพาะเจาะจงมักจะมีความหมายกับอีกฝ่ายเพราะมันแสดงว่าคุณได้ใส่ใจกับสถานการณ์ที่ทำร้ายอีกฝ่าย [26] [27]
    • พยายามหลีกเลี่ยงการพูดเกินจริง เช่น การพูดว่า “ฉันเป็นคนไม่ดี” นั้นไม่เป็นความจริงและมันไม่เหมาะกับพฤติกรรมเฉพาะหรือสถานการณ์ที่ทำให้อีกฝ่ายเจ็บปวด การพูดเกินจริงทำให้การระบุถึงปัญหาเป็นเรื่องยาก คุณไม่สามารถแก้ไขการเป็น “คนไม่ดี” ได้ง่ายเท่ากับแก้ไข “การไม่เอาใจใส่ความต้องการของคนอื่น”
    • เช่น กล่าวคำขอโทษต่อไปโดยระบุว่าแท้จริงแล้วอะไรที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด “ฉันรู้สึกผิดเป็นอย่างมากที่ทำร้ายความรู้สึกของเธอเมื่อวานนี้ ฉันรู้สึกแย่ที่ทำให้เธอเจ็บปวด ฉันไม่น่าเหวี่ยงเธอเพราะเธอมารับฉันสายเลย”
  5. คำขอโทษมักจะประสบความสำเร็จหากคุณเสนอว่าคุณจะทำอะไรต่างออกไปในอนาคตหรือสมานความเจ็บปวดในทางใดทางหนึ่ง [28]
    • หาปัญหาที่ซ่อนอยู่ อธิบายมันให้อีกฝ่ายโดยไม่โทษใครและบอกเขาว่าคุณตั้งใจจะทำอะไรเพื่อแก้ไขปัญหาเพื่อที่คุณจะได้หลีกเลี่ยงความผิดพลาดในอนาคต [29]
    • เช่น “ฉันรู้สึกผิดเป็นอย่างมากที่ทำร้ายความรู้สึกของเธอเมื่อวานนี้ ฉันรู้สึกแย่ที่ทำให้เธอเจ็บปวด ฉันไม่น่าเหวี่ยงเธอเพราะเธอมารับฉันสายเลย คราวหน้าฉันจะหยุดคิดก่อนที่จะพูดอะไรออกไป”
  6. อีกฝ่ายอาจจะอยากอธิบายความรู้สึกให้คุณได้ฟัง เขาอาจจะยังโกรธหรืออาจจะยังมีคำถามสำหรับคุณ พยายามทำตัวสงบและเปิดใจ [30]
    • หากอีกฝ่ายยังโกรธคุณอยู่ เขาอาจจะทำตัวไม่น่ารัก เขาอาจจะขึ้นเสียงหรือด่าทอคุณ ความรู้สึกเชิงลบเหล่านี้อาจจะขัดขวางการให้อภัยได้ [31] ลองขอเวลาหรือเปลี่ยนทิศทางของบทสนทนาไปเป็นหัวข้อที่ได้ผลมากกว่า
    • เพื่อขอเวลา คุณต้องแสดงถึงความเห็นอกเห็นใจที่มีต่ออีกฝ่ายและเสนอทางเลือกให้กับเขา พยายามหลีกเลี่ยงการทำเหมือนว่าคุณกำลังโทษอีกฝ่าย เช่น “แน่นอนว่าฉันทำให้เธอเจ็บปวดและดูเหมือนว่าเธอกำลังโกรธอยู่ จะดีกว่าไหมถ้าเรารออีกสักพักดีไหม? ฉันอยากเข้าใจว่าเธอโกรธอะไรแต่ฉันอยากให้เธอรู้สึกสบายๆ”
    • เพื่อเปลี่ยนทิศทางของบทสนทนาจากเชิงลบ คุณต้องพยายามเรียนรู้พฤติกรรมเฉพาะเจาะจงที่อีกฝ่ายหวังว่าคุณน่าจะได้ทำแทนที่จะทำสิ่งที่เกิดขึ้น เช่น หากอีกฝ่ายพูดว่า “เธอไม่เคยเคารพฉันเลย!” คุณสามารถถามกลับว่า “เธออยากให้ฉันทำอะไรในอนาคตเพื่อเธอจะได้รู้สึกว่าฉันเคารพเธอ?” หรือ “เธออยากให้ฉันทำอะไรต่างออกไปในอนาคต?”
  7. แสดงความชื่นชมในบทบาทที่พวกเขามีในชีวิตของคุณโดยเน้นย้ำว่าคุณไม่อยากเสียหรือทำลายความสัมพันธ์นี้ นี่คือเวลาที่จะมองย้อนกลับไปว่าอะไรที่ได้สร้างและรักษาความสัมพันธ์ของคุณทั้งสองไว้ในช่วงเวลาที่ผ่านมาและบอกคุณที่คุณรักว่าคุณรักพวกเขาจริงๆ อธิบายว่าชีวิตจะขาดอะไรไปหากไม่มีความไว้ใจและความเป็นเพื่อนของพวกเขา [32]
  8. ใจเย็นๆ . หากเขาไม่รับคำขอโทษก็จงขอบคุณเขาที่ยอมฟังคุณและให้โอกาสหากเขาต้องการคุยเรื่องนี้ในภายหลัง เช่น “ฉันเข้าใจว่าเธอยังโกรธอยู่แต่ขอบคุณที่ให้โอกาสฉันได้ขอโทษ หากเธอเปลี่ยนใจก็โทรหาฉันได้” บางครั้งคนเราอยากให้อภัยคุณแต่เขายังต้องการเวลาในการทำใจสักพัก [33]
    • จำไว้ว่าเพียงเพราะบางคนยอมรับคำขอโทษของคุณแต่ก็ไม่ได้แปลว่าเขาให้อภัยคุณหมดใจ มันต้องใช้เวลาที่อาจจะนานมากก่อนที่อีกฝ่ายจะหายโกรธและกลับมาไว้ใจคุณได้เต็มที่อีกครั้ง คุณทำอะไรไม่ได้มากในการเร่งกระบวนการนี้แต่มีวิธีทำให้มันยืดออกไปได้หลายวิธี หากคนๆ นี้สำคัญกบคุณจริงๆ มันก็คุ้มค่าที่จะให้เวลาและพื้นที่ให้เขาได้รักษาแผล อย่าคาดหวังว่าพวกเขาจะสามารถกลับไปเป็นปกติได้ทันที
  9. คำขอโทษที่แท้จริงนั้นรวมไปถึงทางแก้ไขหรือคำอธิบายว่าคุณพร้อมที่จะแก้ไขปัญหา คุณสัญญาที่จะพยายามแก้ไขปัญหาและคุณทำตามสัญญาเพื่อให้คำขอโทษนั้นจริงใจและสมบูรณ์ ไม่เช่นนั้นคำขอโทษของคุณจะไม่มีความหมายและความเชื่อใจจะหายไปแบบไม่มีวันกลับ
    • ไถ่ถามอีกฝ่ายบ้างเป็นครั้งคราว เช่น หลังจากสองสามสัปดาห์คุณสามารถถามว่า “ฉันได้ยินมาว่าพฤติกรรมของฉันเมื่อสองสามสัปดาห์ก่อนได้ทำร้ายเธอและฉันกำลังพยายามปรับปรุง เธอว่าฉันเป็นอย่างไรบ้าง?” [34]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • บางครั้งคำขอโทษที่พูดไปก็กลับกลายเป็นอีกรูปแบบของการถกเถียงที่คุณต้องการแก้ไข ระวังอย่าเถียงกันเรื่องเดิมหรือขุดแผลเก่า จำไว้ว่าการขอโทษไม่ได้แปลว่าสิ่งที่คุณพูดนั้นไม่ถูกต้องหรือผิดแต่มันแปลว่าคุณเสียใจกับคำพูดของคุณทำให้บางคนรู้สึกและคุณอยากสมานความสัมพันธ์กับคนๆ นั้น
  • ถึงแม้คุณจะรู้สึกว่าการขัดแย้งเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารที่ผิดพลาดของอีกฝ่ายก็พยายามอย่าโทษคนอื่นในระหว่างการขอโทษ หากคุณเชื่อว่าการสื่อสารที่ดีขึ้นจะช่วยปรับปรุงสิ่งต่างๆ ระหว่างคุณทั้งสองคุณก็สามารถยกสิ่งนั้นขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของวิธีที่คุณจะทำเพื่อไม่ให้การขัดแย้งนั้นเกิดขึ้นอีก
  • หากทำได้ก็ลองดึงตัวคนๆ นั้นออกมาเพื่อที่คุณจะได้อยู่ลำพังกับเขาเวลาที่ขอโทษ วิธีนี้ไม่เพียงแต่จะลดโอกาสที่คนอื่นจะเข้ามามีส่วนในการตัดสินใจของอีกฝ่ายแล้วแต่ยังจะช่วยให้คุณประหม่าน้อยลง อย่างไรก็ตาม หากคุณได้ด่าทออีกฝ่ายในที่สาธารณะและทำให้เขาเสียหน้าคุณก็ควรขอโทษเขาในที่สาธารณะเพื่อให้คำขอโทษได้ผลมากขึ้น
  • หลังจากที่ขอโทษแล้วก็ลองให้เวลากับตัวเองและคิดถึงวิธีที่ดีกว่าในการรับมือกับสถานการณ์ จำไว้ว่าส่วนหนึ่งของคำขอโทษคือการมีพันธะสัญญาว่าคุณจะทำตัวดีขึ้น เมื่อทำเช่นนั้น ครั้งต่อมาที่มีสถานการณ์แบบนี้อีกคุณก็จะพร้อมรับมือกับมันในแบบที่ไม่ทำร้ายความรู้สึกของใคร
  • หากอีกฝ่ายต้องการจะคุยกับคุณเรื่องกลับมาคืนดีกันก็ให้มองว่ามันเป็นโอกาส หากคุณลืมวันเกิดของแฟนหรือวันครบรอบแต่งงานก็ควรเลี้ยงฉลองในอีกคืนหนึ่งและทำให้มันวิเศษและโรแมนติกสุดๆ มันไม่ได้หมายความว่าคุณสามารถลืมได้อีกรอบแต่มันแสดงว่าคุณยินดีที่จะทุ่มเทเพื่อให้สิ่งต่างๆ ดีขึ้น
  • คำขอโทษหนึ่งคำจะนำไปสู้อีกคำ ไม่ว่าจะเป็นจากคุณสำหรับสิ่งอื่นๆ ที่คุณนึกได้ว่าเคยทำให้อีกฝ่ายเสียใจหรือจากอีกฝ่ายหนึ่งเพราะเขานึกได้ว่าการขัดแย้งมาจากทั้งสองฝ่าย เตรียมพร้อมสำหรับการให้อภัย
  • ปล่อยให้อีกฝ่ายใจเย็นลงก่อน เมื่อคนชาในถ้วยแล้วก็ต้องทิ้งให้มันเย็นลงสักพัก อีกทั้งเขาอาจจะยังคงโกรธและไม่พร้อมที่จะให้อภัย
โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

รู้ว่าแฟนสาวของคุณแอบไปนอนกับคนอื่นหรือเปล่า
หาเสี่ยเลี้ยง
เริ่มความสัมพันธ์แบบ Friends with Benefits
มีความสัมพันธ์ที่ยืนยาวและมีความสุข
ฟื้นฟูความสัมพันธ์ให้กลับมาดีเหมือนเดิม
ดูว่าผู้ชายกำลังหลอกใช้คุณเพื่อเซ็กส์หรือไม่
ทำให้ใครบางคนรู้สึกผิด
พิชิตหัวใจแฟนเก่ากลับมา หลังจากการเลิกรา
รู้ว่าเมื่อไหร่ที่อีกฝ่ายไม่อยากคุยกับคุณแล้ว
รับมือกับปัญหา
ทำชีวิตคู่ให้มีความสุขยั่งยืน
จบความสัมพันธ์
ทำให้แฟนเก่าคิดถึงคุณ
ดูว่าเพื่อนอิจฉาคุณหรือไม่
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Bachman, G. F., & Guerrero, L. K. (2006). Forgiveness, apology, and communicative responses to hurtful events. Communication Reports, 19(1), 45-56.
  2. http://www.umass.edu/fambiz/articles/resolving_conflict/meaningful_apology.html
  3. http://www.wsj.com/articles/the-best-way-to-make-up-after-any-argument-1405379667
  4. http://www.umass.edu/fambiz/articles/resolving_conflict/meaningful_apology.html
  5. http://www.wsj.com/articles/the-best-way-to-make-up-after-any-argument-1405379667
  6. http://psychcentral.com/blog/archives/2011/12/12/how-to-make-an-adept-sincere-apology/
  7. Greene, J. O., & Burleson, B. R. (Eds.). (2003). Handbook of communication and social interaction skills. Psychology Press.
  8. http://greatergood.berkeley.edu/article/item/what_an_apology_must_do
  9. Greene, J. O., & Burleson, B. R. (Eds.). (2003). Handbook of communication and social interaction skills. Psychology Press.
  1. Greene, J. O., & Burleson, B. R. (Eds.). (2003). Handbook of communication and social interaction skills. Psychology Press.
  2. http://www.wsj.com/articles/the-best-way-to-make-up-after-any-argument-1405379667
  3. http://strategicdiscipline.positioningsystems.com/blog-0/bid/82716/Verbal-Eraser-Destroys-Positive-Reinforcement
  4. http://greatergood.berkeley.edu/article/item/how_to_make_an_apology_work
  5. http://www.mindtools.com/pages/article/how-to-apologize.htm
  6. Bachman, G. F., & Guerrero, L. K. (2006). Forgiveness, apology, and communicative responses to hurtful events. Communication Reports, 19(1), 45-56.
  7. http://www.wsj.com/articles/the-best-way-to-make-up-after-any-argument-1405379667
  8. http://www.helpguide.org/articles/relationships/nonverbal-communication.htm
  9. http://www.wsj.com/articles/the-best-way-to-make-up-after-any-argument-1405379667
  10. http://greatergood.berkeley.edu/article/item/what_an_apology_must_do
  11. Bachman, G. F., & Guerrero, L. K. (2006). Forgiveness, apology, and communicative responses to hurtful events. Communication Reports, 19(1), 45-56.
  12. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21942502
  13. http://accuratebodylanguage.com/tag/apology/
  14. http://www.wsj.com/articles/the-best-way-to-make-up-after-any-argument-1405379667
  15. http://www.umass.edu/fambiz/articles/resolving_conflict/meaningful_apology.html
  16. Hareli, S., & Eisikovits, Z. (2006). The role of communicating social emotions accompanying apologies in forgiveness. Motivation and Emotion, 30(3), 189-197.
  17. http://psychcentral.com/blog/archives/2011/12/12/how-to-make-an-adept-sincere-apology/
  18. http://www.umass.edu/fambiz/articles/resolving_conflict/meaningful_apology.html
  19. http://www.wsj.com/articles/the-best-way-to-make-up-after-any-argument-1405379667
  20. http://www.forbes.com/sites/sungardas/2014/03/13/how-to-apologize-the-right-way-an-apology-actually-has-three-parts/
  21. http://www.wsj.com/articles/the-best-way-to-make-up-after-any-argument-1405379667
  22. Bachman, G. F., & Guerrero, L. K. (2006). Forgiveness, apology, and communicative responses to hurtful events. Communication Reports, 19(1), 45-56.
  23. http://www.umass.edu/fambiz/articles/resolving_conflict/meaningful_apology.html
  24. http://psychcentral.com/blog/archives/2011/12/12/how-to-make-an-adept-sincere-apology/
  25. http://www.wsj.com/articles/the-best-way-to-make-up-after-any-argument-1405379667

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 18,535 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา