ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เมื่อไหร่คือ “เวลาที่เหมาะสม” ในการเปิดเผยรสนิยมทางเพศของตัวเอง ในบทความนี้เราจะให้ข้อมูลช่วงอายุเฉลี่ยที่คนตัดสินใจบอกคนอื่นว่าตัวเองเป็นผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ แต่ในความเป็นจริงการเปิดเผยรสนิยมทางเพศนั้นเป็นทางเลือกส่วนตัว และลำดับเวลาของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน ดังนั้นคุณจึงต้องตัดสินใจว่าคุณจะบอกใคร บอกเมื่อไหร่ และบอกอย่างไร [1] เรารู้ว่าการเปิดเผยว่าคุณเป็นเพศอะไรนั้นเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น ทำให้คุณใจตุ้มๆ ต่อมๆ หรือแม้กระทั่งน่าหวาดหวั่น แต่คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เราอยู่ตรงนี้เพื่อช่วยคุณค้นหาเส้นทางสู่การเปิดเผยตัวตน เราจะอธิบายเหตุผลว่าทำไมบางคนจึงเลือกเปิดเผยรสนิยมทางเพศของตัวเอง ทำไมบางคนจึงเลือกที่จะรอไปก่อน และสิ่งที่อาจจะตามมาหลังจากที่คุณเปิดเผยรสนิยมทางเพศ ไม่ว่าเรื่องราวการเปิดเผยตัวตนของคุณจะเป็นอย่างไร ขอให้จำไว้ว่าคุณมีคนที่รักคุณ คุณมีคุณค่า และคุณมีสิทธิ์ที่จะเป็นตัวเอง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

เราควรเปิดเผยว่าตัวเองเป็น LGBTQ+ ตอนอายุเท่าไหร่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หลายคนเปิดเผยตัวตนช่วงมัธยมต้นหรือมัธยมปลาย. คุณอาจจะเริ่มสงสัยหากคุณรู้ตัวว่าตัวเองเป็น LGBTQ+ ตั้งแต่อยู่ชั้นประถม และคนส่วนใหญ่จะเริ่มเปิดเผยรสนิยมทางเพศของตัวเองตอนอายุประมาณ 11-14 ปี [2] แต่ถึงอย่างนั้นในสมัยก่อนคนส่วนใหญ่มักจะไม่เปิดเผยรสนิยมทางเพศของตัวเองจนกระทั่งเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นตอนกลางหรืออายุประมาณ 20 ปี [3]
    • หลายคนเริ่มจากการบอกเพื่อนสนิทแทนที่จะเป็นพ่อ/แม่ ผู้ใหญ่ที่เป็นเลสเบี้ยน เกย์ และไบเซ็กชวล 86% เปิดเผยรสนิยมทางเพศกับเพื่อนสนิทอย่างน้อย 1 คน [4]
    • บางคนเลือกที่จะไม่เปิดเผยรสนิยมทางเพศกับคนบางคน ผู้ใหญ่ที่เป็นเลสเบี้ยน เกย์ และไบเซ็กชวลประมาณ 1 ใน 3 ยังไม่เคยเปิดเผยรสนิยมทางเพศให้พ่อแม่รับรู้
    • งานวิจัยมักกล่าวว่า อายุเฉลี่ยที่คนเปิดเผยรสนิยมทางเพศคือช่วงอายุประมาณ 20 ปี แต่ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มคนยุคมิลเลเนียลและคนรุ่นเก่า [5] วัยรุ่นเจน Z เปิดเผยรสนิยมทางเพศเมื่ออายุน้อยกว่านี้เนื่องจากสังคมเริ่มยอมรับมากขึ้น [6]
  2. การเปิดเผยรสนิยมทางเพศอาจเป็นกระบวนการที่ดำเนินต่อเนื่องตลอดชีวิต แต่คุณสามารถกำหนดลำดับเวลาที่จะเปิดเผยตัวตนได้เอง. คุณอาจเลือกบอกใครบางคนในบางช่วงของชีวิต แล้วค่อยบอกคนอื่นหลังจากผ่านไป 2-3 สัปดาห์ 2-3 เดือน หรือ 2-3 ปีต่อจากนั้น แต่ไม่ว่าอย่างไรคุณไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตนเมื่อคุณอายุ 12 หรือ 20 ปีหรือตอนอายุเท่าไหร่ก็ตามหากคุณไม่พร้อม และคุณอาจจะได้เปิดเผยตัวตนของคุณครั้งแล้วครั้งเล่าเมื่อพบปะผู้คนใหม่ๆ ที่ไม่รู้รสนิยมทางเพศของคุณไปตลอดชีวิตเช่นกัน [7]
    • การเปิดเผยรสนิยมทางเพศครั้งแรกนั้นไม่มีช่วงอายุที่ตายตัว บางคนอาจจะบอกคนอื่นครั้งแรกตอนอายุ 14 ในขณะที่บางคนไม่เคยพูดเลยจนกระทั่งอายุ 64
    • เช่น คุณอาจจะบอกเพื่อนตอนอยู่มัธยม แต่ยังไม่บอกครอบครัวหากรู้สึกว่ายังไม่ถึงเวลาที่เหมาะสม
    • หรือคุณอาจเลือกบอกครอบครัว แต่ยังไม่เปิดเผยรสนิยมทางเพศกับวงสังคมนอกเหนือจากนั้นหากคุณยังไม่สบายใจที่จะบอก
    • สุดท้ายแล้วคนที่กำหนดเรื่องราวและเส้นทางชีวิตคือตัวคุณเอง ต่อจากนี้เราจะพูดเรื่องสำคัญที่คุณต้องพิจารณาเมื่อคุณเริ่มคิดที่จะเปิดเผยตัวตนตามเงื่อนไขของตัวเอง
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

เหตุผลที่อาจทำให้คุณอยากเปิดเผยว่าตัวเองเป็น LGBTQ+

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณอยากให้คนรอบข้างรู้จักตัวตนที่แท้จริงของคุณ. การใช้ชีวิตสองหน้าอาจทำให้คุณเครียด และการเปิดเผยว่าตัวเองเป็น LGBTQ+ ทำให้คุณได้สร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและแท้จริงมากขึ้น นอกจากนี้การเปิดเผยรสนิยมทางเพศยังช่วยให้คุณเห็นคุณค่าในตัวเองและรู้สึกถึงความภาคภูมิใจในสิ่งที่ตัวเองเป็นด้วย และลองคิดดูสิว่าคุณอาจเป็นแบบอย่างให้ชาว LGBTQ+ ในชุมชนของคุณที่อายุน้อยกว่าคุณด้วย [8]
  2. เมื่อคุณเปิดเผยรสนิยมทางเพศของตัวเองแล้ว คุณจะพบว่ามีกลุ่มคนเจ๋งๆ รออ้าแขนต้อนรับคุณอย่างอบอุ่น เมื่อคุณเปิดเผยว่าตัวเองเป็น LGBTQ+ คุณอาจจะสบายใจกับการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มคนเหล่านั้นผ่านองค์กรและคลับสำหรับชาว LGBTQ+ ในละแวกบ้านมากขึ้น แถมคุณยังมีโอกาสได้เจอและสังสรรค์กับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ พบเพื่อนใหม่ และได้สร้างความสัมพันธ์กับคนกลุ่มนี้ง่ายขึ้นด้วย [11]
    • แรงสนับสนุนจากคนอื่น (ไม่ว่าเขาจะเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน LGBTQ+ หรือไม่ก็ตาม) อาจมีบทบาทสำคัญต่อการเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของคุณ [12]
    • ถ้าคุณไม่มีระบบสนับสนุนที่แข็งแกร่งหรือรู้สึกถึงการเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ให้ลองเข้าไปที่แหล่งเรียนรู้ท้ายบทความนี้
  3. คุณพร้อมที่จะออกเดตหรือไม่อยากปิดบังความสัมพันธ์. การคบกันแบบหลบๆ ซ่อนๆ สร้างความลำบากใจให้ทั้งคุณและคนรัก [13] การเก็บความสัมพันธ์ไว้เป็นความลับอาจทำให้รู้สึกอุ่นใจหรือปลอดภัยกว่าในช่วงแรก แต่การปิดบังชีวิตการออกเดตของคุณอาจทำให้คุณรู้สึกเบื่อหน่ายและทำให้คุณเห็นคุณค่าของตัวเองน้อยลง มนุษย์เป็นสัตว์สังคม เพราะฉะนั้นมันเป็นเรื่องยากหากเราไม่สามารถผนวกรวมความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดที่สุดของเราเข้ากับส่วนอื่นๆ ในชีวิตที่ใหญ่กว่า เช่น ครอบครัว โรงเรียน และงานได้ [14]
    • ถ้าคุณเลือกที่จะเปิดเผยรสนิยมทางเพศของตัวเอง คุณต้องแน่ใจว่าการตัดสินใจของคุณจะไม่ส่งผลเสียต่อคนรักหากเขายังไม่ได้บอกใคร [15]
  4. ไม่ว่าคนอื่นจะพูดอะไร การเปิดเผยรสนิยมทางเพศเป็นการตัดสินใจของคุณเอง และคุณคือคนที่กำหนดว่าจะบอกเมื่อไหร่ ที่ไหน และอย่างไร แต่ถึงอย่างนั้นบางคนก็ตัดสินใจที่จะเปิดเผยว่าตัวเองเป็น LGBTQ+ เพราะอยากยืนยันหรือเรียกสิทธิ์ในอัตลักษณ์ของตัวเองกลับคืนมา ถ้าคนรอบข้างคุณมักจะคาดเดาอัตลักษณ์ของคุณ การเปิดเผยรสนิยมทางเพศและควบคุมข่าวลือต่างๆ ด้วยตัวเองอาจทำให้คุณรู้สึกถึงพลังของตัวเองมากขึ้น [16]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

เหตุผลที่อาจทำให้คุณอยากรอไปก่อน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ระหว่างที่คุณกำลังหาเวลาที่เหมาะสมในการเปิดเผยรสนิยมทางเพศ ให้รอไปก่อนหากคุณกังวลว่าอาจต้องเผชิญกับความรุนแรงหรือการเลือกปฏิบัติ เชื่อสัญชาตญาณของตัวเอง และจำไว้ว่าอย่ารีบร้อน [17] การที่คุณยังไม่เปิดเผยว่าตัวเองเป็น LGBTQ+ ในตอนนี้ไม่ได้หมายความว่าคุณต้องปิดบังตัวตนไปตลอด แต่มันคือการที่คุณให้ความสำคัญกับสวัสดิภาพของตัวเองก่อนจนกว่าคุณจะได้เข้าไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เปิดกว้างกว่านี้ [18] รายการคำถามต่อไปนี้คือสิ่งที่คุณต้องถามตัวเองก่อนเปิดเผยรสนิยมทางเพศ : [19]
    • ถ้าคุณกังวลว่าจะถูกไล่ออกจากบ้าน มีศูนย์พักพิงหรือโครงการที่เป็นมิตรกับชาว LGBTQ+ อยู่ใกล้ๆ หรือไม่
    • โรงเรียนของคุณมีครูแนะแนวที่คอยให้ความช่วยเหลือและ/หรือองค์กรหรือชมรม LGBTQ+ หรือไม่
    • หากคุณเปิดเผยรสนิยมทางเพศ ที่ทำงานจะสนับสนุนคุณหรือไม่
  2. พูดตามหลักความจริง คุณอาจจะรู้สึกกลัวที่ต้องบอกคนอื่นว่า “นี่แหละตัวฉัน!” โดยที่ไม่แน่ใจว่าคนอื่นจะพูดหรือตอบกลับมาอย่างไร [20] คุณอาจจะโยนหินถามทางเพื่อดูว่าพวกเขาสนับสนุนคุณไหมด้วยการถามความคิดเห็นของพวกเขาที่มีต่อสิทธิ์ของชาว LGBTQ+ หรือพูดถึงคนดังที่เป็นผู้มีความหลากหลายทางเพศ [21] คำถามและเรื่องที่คุณอาจจะลองเกริ่นดูได้แก่ :
    • “นี่ นายได้ยินเรื่องนักฟุตบอลทีมชาติที่เพิ่งประกาศว่าเขาเป็นเกย์มั้ย”
    • “ฉันได้ยินมานะว่าในบางพื้นที่ร้านดอกไม้ไม่รับจัดดอกไม้ในงานแต่งงานของคู่เกย์ นายว่าเขาทำถูกมั้ย”
    • “นายคิดยังไงกับการที่บริษัทต่างๆ เริ่มเข้ามามีส่วนร่วมในเดือน Pride”
    • “คนในโรงเรียนของเราบางคนเปิดเผยว่าเขาเป็นนอนไบนารี และตอนนี้คนเริ่มพูดเรื่องการสร้างห้องน้ำที่ไม่จำกัดเพศด้วย นายคิดว่าพวกเขาควรทำยังไง”
  3. คุณยังไม่แน่ใจเพศวิถีและ/หรืออัตลักษณ์ทางเพศของตัวเอง. ถ้ายังตอบคำถามได้ไม่ครบทุกข้อก็ไม่เป็นไร และหากจะเปลี่ยนใจเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของตัวเองในภายหลังก็ไม่เป็นไรเช่นกัน [22] คุณไม่จำเป็นต้องมีชุดประสบการณ์ความรักหรือประสบการณ์ทางเพศถึงจะรู้ว่าตัวเองเป็นผู้มีความหลากหลายทางเพศหรือเปิดเผยรสนิยมของตัวเองได้ [23] แม้ว่าคุณไม่ควรกดดันให้ตัวเองเปิดเผยตัวตนทั้งที่ยังไม่พร้อม แต่การที่คุณเข้าใจสิ่งที่ตัวเองเป็นจะช่วยให้คุณยืนยันความรู้สึกของตัวเองและเชื่อมโยงกับกลุ่มคนที่อาจรู้สึกเหมือนกันได้ [24]
    • โดยเฉลี่ย ชาว LGBTQ+ รายงานว่าพวกเขา “รู้” อัตลักษณ์ของตัวเองตั้งแต่อายุ 17 ปี แต่ว่าแต่ละคนจะเพิ่งมารู้ในช่วงเวลาที่ต่างกัน [25]
    • ชาว LGBTQ+ 8% รายงานว่า พวกเขาไม่รู้รสนิยมทางเพศหรืออัตลักษณ์ทางเพศของตัวเองจนกระทั่งถึงวัย 30 หรือมากกว่า และ 6% บอกว่าถึงตอนนี้ก็ยังไม่มั่นใจ!
    • อคติและความรู้สึกเชิงลบในสังคมอาจส่งผลต่อความรู้สึกที่คุณมีต่ออัตลักษณ์ทางเพศ LGBTQ+ และทำให้บางคนยอมรับตัวเองไม่ได้ [26]
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

ประสบการณ์การเปิดเผยรสนิยมทางเพศที่เกิดขึ้นบ่อย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณอาจรู้สึกมีความสุขและเป็นอิสระหลังจากเปิดเผยตัวตน. การเปิดเผยรสนิยมทางเพศเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดอารมณ์ต่างๆ ได้ทั้งหมด ถ้าคุณรู้สึกกังวล นั่นเป็นเรื่องธรรมดา ถ้าคุณรู้สึกมีความสุขที่สุดและเหมือนยกภูเขาออกจากอก นั่นก็เป็นเรื่องธรรมดาเช่นกัน [27]
    • ชีวิตหลังจากที่คุณเปิดเผยรสนิยมทางเพศอาจยังมีทั้งขึ้นและลงและช่วงเวลาที่สับสน แต่อนาคตที่สดใสรอคุณอยู่ และการเปิดเผยว่าตัวเองเป็น LGBTQ+ นั้นทำให้คุณได้มีโอกาสใช้ชีวิตในเวอร์ชันที่ซื่อสัตย์ต่อตนเองมากที่สุด
  2. ความสัมพันธ์ของคุณอาจแน่นแฟ้นขึ้นหรือพวกเขาอาจไม่เปลี่ยนไปเลยก็ได้. การเปิดเผยรสนิยมทางเพศนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่หลายคนที่เคยอยู่ในจุดเดียวกับคุณต่างบอกว่า การเปิดเผยว่าตัวเองเป็น LGBTQ+ นั้นคุ้มค่า ผู้ใหญ่ที่เป็นเลสเบี้ยน เกย์ และไบเซ็กชวลประมาณ 30-40% รายงานว่า ความสัมพันธ์ของพวกเขากับครอบครัวนั้นจริงๆ แล้วยิ่งแน่นแฟ้นหลังจากที่เขาเปิดเผยตัวตน [28]
    • นอกจากนี้ผู้ใหญ่ชาวเควียร์ประมาณ 30-40% ยังรายงานด้วยว่า ความสัมพันธ์ของพวกเขาไม่เปลี่ยนไปเลย
    • ผู้ใหญ่ชาวเควียร์จำนวนน้อยรายงานว่า ความสัมพันธ์ของพวกเขากับครอบครัวย่ำแย่หลังจากเปิดเผยตัวตน
  3. ความจริงคือไม่ใช่ทุกคนที่ยอมรับได้เมื่อรู้ว่าคุณเป็น LGBTQ+ และคุณไม่ควรเปิดเผยรสนิยมทางเพศหากคุณคิดว่ามันอันตรายกับตัวคุณ [29] อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไป พ่อแม่และคนที่พวกเขารักส่วนใหญ่จะเปลี่ยนใจกลับมายอมรับพวกเขา [30]
    • ลองนึกดูว่าคุณต้องใช้เวลานานแค่ไหนกว่าจะรู้ว่าตัวเองเป็นใคร และคุณอาจจะวางแผนเปิดเผยรสนิยมทางเพศให้คนอื่นรู้มาหลายปี แต่ในขณะเดียวกันการที่คนอื่นรู้จักตัวตนที่แท้จริงของคุณอาจเป็นเรื่องที่ใหม่มากสำหรับเขา และข้อมูลนี้อาจขัดกับความเชื่อที่เขามีมานาน [31]
    • ในสหรัฐฯ พ่อแม่ 6 ใน 10 คนบอกไม่เสียใจหากรู้ว่าลูกเป็นเกย์/เลสเบี้ยน [32]
    • ถ้าเขาเสียใจที่รู้ว่าคุณเป็น LGBTQ+ ให้บอกเขาว่า “ฉันรู้ว่าเธอไม่สบายใจ แต่ฉันยังรักเธอเหมือนเดิมและเป็นคนเดิมเหมือนที่เธอเคยรู้จักมาตลอด” [33]
    • นอกจากนี้คุณก็อาจกำหนดขอบเขตและยุติบทสนทนาด้วยการพูดว่า “ฉันขอพูดแค่นี้ก่อน แต่เดี๋ยวเราค่อยกลับมาคุยเรื่องนี้กันใหม่”
  4. คนอื่นอาจตั้งคำถามหรือบอกคุณว่า อัตลักษณ์ของคุณเป็นแค่ช่วงหนึ่งในชีวิตเท่านั้น. รู้ไว้ว่าบางคนจะยอมรับในสิ่งที่คุณเป็น และบางคนก็ไม่เห็นด้วยเล็กน้อยและไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ แค่จำไว้ว่าคุณคือผู้กุมบังเหียนชีวิตของตัวเอง และคุณมีสิทธิ์ที่จะรู้สึกอย่างไรก็ได้ [34] เพื่อให้คนอื่นเข้าใจตรงกันกับคุณ พยายามนึกถึงคำถามต่างๆ ที่พวกเขาอาจจะถาม คุณจะได้อธิบายความเข้าใจที่ผิดเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของคุณและความหมายของตัวตนที่คุณเป็น [35]
    • คนอื่นอาจจะถามคุณประมาณว่า “รู้ตัวมานานแค่ไหน” หรือ “ทำไมไม่เคยบอกเลย” หรือ “รู้ได้ยังไง แน่ใจเหรอ”
    • คุณอาจเตรียมคำพูดทำนองว่า “มีแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้ปกครองเยอะแยะเลยค่ะที่อธิบายพ่อแม่ได้ดีกว่าหนู เดี๋ยวหนูเอาให้ดูนะคะ” จากนั้นคุณก็เปิดแหล่งเรียนรู้ท้ายบทความนี้ให้พวกเขาดู [36]
    • ถ้าพวกเขาถามคำถามที่คุณตอบไม่ได้ ให้ตอบว่า “ฉันตอบไม่ได้ทั้งหมดหรอก” [37]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เข้าไปอ่านบทความที่เว็บไซต์ https://themomentum.co/momentum-feature-comingout2016/ เพื่อเรียนรู้ประสบการณ์จริงจากคนที่เคยอยู่จุดเดียวกับคุณมาก่อน
  • ไปที่เว็บไซต์ http://www.rsat.info/ เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่และเข้าถึงแหล่งเรียนรู้
  • ส่งลิงก์รายการพอดแคสต์ Balanced Mama ในหัวข้อ “พ่อแม่ควรทำความเข้าใจอย่างไร ในวันที่ลูกมาบอกว่าเป็น LGBTQ” https://www.youtube.com/watch?v=RM6fO-GahyE หากคุณต้องตัวช่วยในการพูดคุยกับพ่อแม่เรื่องการเปิดเผยรสนิยมทางเพศ
  • เข้าเว็บไซต์ https://www.amnesty.or.th/our-work/lgbt/ เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาและสิทธิของผู้มีความหลากหลายทางเพศ
  • โทรหามูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชนได้ที่เบอร์ 0865974636
  • โทรหาบริการสายด่วนสุขภาพจิตได้ที่เบอร์ 1323 หากคุณอยู่ในภาวะวิกฤตหรือต้องการความช่วยเหลือด้านสุขภาพจิต
โฆษณา
  1. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17338603/
  2. https://www.apa.org/topics/lgbtq/orientation
  3. https://www.thetrevorproject.org/wp-content/uploads/2017/09/ComingOutAsYou.pdf
  4. https://kidshealth.org/en/teens/coming-out.html
  5. https://www.psychologytoday.com/us/blog/why-bad-looks-good/201903/the-truth-about-secret-relationships
  6. https://www.loveisrespect.org/resources/dating-in-the-closet/
  7. https://kidshealth.org/en/teens/coming-out.html
  8. https://www.thetrevorproject.org/wp-content/uploads/2019/10/Coming-Out-Handbook.pdf
  9. https://lgbtqia.ucdavis.edu/support/coming-out
  10. https://www.thetrevorproject.org/wp-content/uploads/2017/09/ComingOutAsYou.pdf
  11. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5145776/
  12. https://www.thetrevorproject.org/wp-content/uploads/2019/10/Coming-Out-Handbook.pdf
  13. https://www.strongfamilyalliance.org/how-to-come-out-to-parents/
  14. https://www.apa.org/topics/lgbtq/orientation
  15. https://lgbtqia.ucdavis.edu/support/coming-out
  16. https://www.pewresearch.org/social-trends/2013/06/13/chapter-3-the-coming-out-experience/
  17. https://www.apa.org/topics/lgbtq/orientation
  18. https://www.hrc.org/resources/coming-out-living-authentically-as-lesbian-gay-and-bisexual
  19. https://www.pewresearch.org/social-trends/2013/06/13/chapter-3-the-coming-out-experience/
  20. https://kidshealth.org/en/teens/coming-out.html
  21. https://www.strongfamilyalliance.org/how-to-come-out-to-parents/
  22. https://www.thetrevorproject.org/wp-content/uploads/2017/09/ComingOutAsYou.pdf
  23. https://www.pewresearch.org/fact-tank/2015/06/29/most-americans-now-say-learning-their-child-is-gay-wouldnt-upset-them/
  24. https://www.strongfamilyalliance.org/how-to-come-out-to-parents/
  25. https://hrc-prod-requests.s3-us-west-2.amazonaws.com/ComingOut-LGB-Resource-2020.pdf
  26. https://www.plannedparenthood.org/learn/sexual-orientation/sexual-orientation/whats-coming-out
  27. https://www.strongfamilyalliance.org/how-to-come-out-to-parents/
  28. https://www.strongfamilyalliance.org/how-to-come-out-to-parents/

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 565 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา