ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อาการเมารถเป็นปัญหาทั่วไปที่หลายๆ คนมักจะเจออยู่บ่อยๆ อาการเมารถนั้นเกิดจากการที่ดวงตากับหูชั้นในทำงานไม่ประสานกัน หูชั้นในบอกกับสมองว่าร่างกายกำลังเคลื่อนไหว แต่ดวงตาบอกว่าร่างกายไม่เคลื่อนไหว ความขัดแย้งนี้ส่งผลให้เกิดอาการเมารถขึ้นมา แม้ว่าจะไม่มีวิธีรักษาอาการนี้ แต่ก็มีวิธีที่ทำให้อาการไม่แย่ลงได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

รับมือกับอาการเมาการเดินทางหรือเมารถ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บางคนจะออกไปสูดอากาศเพื่อบรรเทาอาการเมารถ แค่เพียงเดินไปเปิดหน้าต่างหรือหาทางระบายอากาศก็สามารถช่วยบรรเทาอาการเมานี้ได้ [1] หากอาการไม่ดีขึ้น ให้จอดรถถ้าเป็นไปได้ แล้วลงรถไปสูดอากาศบริสุทธิ์ อากาศจะช่วยบรรเทาอาการได้ นอกจากนี้ การจอดรถก็ช่วยได้เช่นกัน ในสภาพอากาศที่อุ่นนั้น บางคนจะเปิดเครื่องปรับอากาศ ในขณะที่คนอื่นๆ ต้องปิดเครื่องปรับอากาศและออกไปหาอากาศบริสุทธิ์ข้างนอก
  2. บ่อยครั้งที่อาการเมารถนั้นเกิดจากการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นนอกตัวรถ การจำกัดทัศนียภาพจะช่วยให้อาการดีขึ้นได้หากคุณเมารถด้วยสาเหตุนี้ แว่นบังตาเป็นทางเลือกที่ดีที่จะช่วยจำกัดทัศนียภาพระหว่างขับรถได้
    • การปิดตาก็ช่วยได้ และจะดีมากหากคุณสามารถหลับได้
    • ลองใช้แว่นกันแดดหรือแผ่นปิดตาเพื่อจำกัดทัศนียภาพให้พอดีเพื่อจัดการกับอาการเมาการเดินทางหรือเมารถได้
    • อาการตาแห้งหรือตาล้าก็สามารถเป็นสาเหตุให้เกิดอาการเมารถได้ การใช้ยาหยอดตาหรือล้างหน้าด้วยน้ำจะช่วยบรรเทาอาการเมารถได้ การถอดคอนแทคเลนส์และใช้แว่นแทนก็จะเป็นประโยชน์ต่อการบรรเทาอาการเมารถได้อย่างมาก
  3. บางคนใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากขิงเพื่อบรรเทาอาการเมารถ คุณอาจจะลองใช้หมากฝรั่งรสขิง เบียร์รสขิง คุกกี้รสขิง และผลิตภัณฑ์จากขิงอีกมากมาย พกผลิตภัณฑ์พวกนี้ไว้ติดตัวเผื่อไว้ใช้เวลาที่คุณรู้สึกว่ากำลังจะเมารถ [2]
  4. ข้อมูลจากบางแหล่งแสดงให้เห็นว่าการทานอาการแห้ง เช่น ขนมปังกรอบ จะช่วยบรรเทาอาการเมารถได้ เพราะอาหารแห้งจะช่วยดูดซับกรดส่วนเกินในกระเพาะอาหารได้
  5. การกดจุดเฉพาะบนร่างกายจะช่วยบรรเทาอาการเมารถได้ โดยเฉพาะจุดเน่ยกวน พี6 (Nei Guan/P6) ที่อยู่บริเวณใต้ข้อมือ การกดจุดตรงนี้จะช่วยบรรเทาอาการมวนท้องได้ [3]
    • กำหนดจุดโดยการหาบริเวณที่คุณใส่นาฬิกาข้อมือ มองหาบริเวณกลางข้อมือจะสัมผัสถึงช่องเล็กๆ ซึ่งคุณจะสัมผัสถึงเส้นเอ็นได้ กดบริเวณนั้นด้วยปลายนิ้วประมาณ 10 วินาทีจะรู้สึกดีขึ้น
    • ถ้าคุณมีนาฬิกาข้อมือหรือสายรัดข้อมือ คุณอาจจะทำสายกดข้อมือเพื่อบรรเทาอาการเมารถได้ สร้างก้อนเล็กๆ โดยใช้กระดาษ หรือของที่เหมือนกระดาษ (เช่น กระดาษห่อหมากฝรั่ง) ขนาดประมาณเมล็ดถั่ว ติดก้อนนี้บนสายรัดข้อมือให้พอดีกับจุดที่กล่าวถึงไปข้างต้น
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ป้องกันอาการเมารถหรือเมาการเดินทาง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ป้องกันอาการเมาการเดินทางหรืออาการคลื่นไส้. อย่าออกเดินทางในตอนที่ท้องว่างหรืออิ่มเต็มที่ อาการเมาการเดินทางมักจะเกิดขึ้นตอนท้องอิ่ม ดังนั้น หลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนักก่อนออกเดินทาง และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่คุณไม่ถูกหรือแสลงปาก นอกจากนี้ก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้คุณอิ่มเกินไป อาหารเผ็ดหรืออาหารที่มีไขมันสูง [4]
    • บางคนอาจจะมีปัญหาเวลาออกเดินทางตอนท้องว่าง
    • หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีกลิ่นแรงบนรถจะช่วยป้องกันอาการคลื่นไส้ได้
  2. เนื่องจากอาการเมารถนั้นเป็นผลมาจากการทำงานไม่ประสานกันระหว่างการเคลื่อนไหวที่คุณรับรู้กับการเคลื่อนไหวที่คุณมองเห็น การเลือกนั่งในที่ที่คุณไม่รู้สึกเคลื่อนไหวมากนัก (หรือไม่รู้สึกเลย) สามารถช่วยบรรเทาอาการเมารถได้ ที่นั่งด้านหน้ามักจะเป็นที่ที่ดีที่สุด [5]
    • อย่านั่งสวนทางกับทิศทางที่เดินทาง การนั่งแบบนี้จะทำให้เกิดอาการเมารถอย่างรุนแรง
  3. หลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นทางสายตาเพื่อบรรเทาอาการเมารถ. สิ่งที่ทำให้คุณเกิดอาการเมารถก็คือทัศนียภาพทางธรรมชาติ ยกตัวอย่างเช่น คุณไม่ควรอ่านหนังสือในตอนที่อยู่บนรถ การเคลื่อนไหวจะทำให้จดจ่ออยู่กับตัวอักษรได้ยาก การอ่านหนังสือขณะอยู่บนรถนั้นเป็นอันตรายสำหรับคนที่เมารถหรือเมาการเดินทาง [6]
    • การจดจ่ออยู่กับจุดๆ เดียวขณะเดินทางจะช่วยลดผลกระทบจากอาการเมารถได้
    • ถ้าคุณกำลังขับรถไปกับคนอื่นที่มีอาการเมารถ หรือพบว่าพวกเขานั้นเมารถ หรือพูดถึงอาการเมารถสิ่งเหล่านี้สามารถกระตุ้นร่างกายให้เกิดอาการเมารถได้
  4. ตัวยาบางชนิดที่สามารถซื้อโดยไม่ต้องมีใบสั่งยา โดยจะมีกลุ่มยาโรคหอบหืด (Anticholinergics) เช่นยาสโคโปลามีน (Scopolamine) กลุ่มยาคลายกล้ามเนื้อ (Antispasmodics) เช่น ยาโปรเมทาซีน (Promethazine) และกลุ่มยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง (Sympathomimetic) เช่น ยาเอฟีดรีน (Ephedrine) ยากลุ่มเหล่านี้สามารถช่วยป้องกันอาการเมาการเดินทางได้ เพราะส่วนใหญ่จะมีส่วนผมของตัวยาที่เรียกว่ามีไคลซีน (Meclizine) ซึ่งสามารถต่อต้านอาการคลื่นไส้ได้ดีเหมือนกับยาแก้แพ้ (Antihistamines) และยาแก้ปวดท้อง (Antispasmodic) ตัวยาพวกนี้จะไประบุจุดเฉพาะบนสมองที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวเพื่อช่วยป้องกันอาการเมาการเดินทางเวลาอยู่บนรถ (หรือยานพาหนะอื่นๆ ) [7]
    • ถ้าอาการเมาการเดินทางนั้นแย่มาก แพทย์อาจจะสั่งยาสโคโปลามีน (Scopolamine) ซึ่งสามารถใช้รับประทาน ฉีดเข้าเส้นเลือด หรือทาบนผิวหนังได้
    • ปรึกษาปฏิกิริยาและผลข้างเคียงจากยากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนจะใช้ยาที่แพทย์สั่ง
  5. ขิงสามารถใช้เป็นทางเลือกในการรักษาได้ โดยขิงจะมีสรรพคุณที่ช่วยบรรเทาอาการเมารถสำหรับบางคน ในการใช้เพื่อป้องกันอาการเมารถนั้น คุณอาจจะผสมผงขิงครึ่งช้อนชากับน้ำหนึ่งแก้วแล้วดื่ม หรือทานขิง 2 แคปซูลประมาณ 20 นาทีก่อนออกเดินทาง [8]
    • พกผลิตภัณฑ์ที่ทำจากขิงติดตัวเพื่อรักษาและป้องกันอาการเมารถ พกลูกอมรสขิงหรือคุกกี้รถขิงไว้ในกระเป๋าเงินหรือกระเป๋าไว้เผื่อได้ใช้ประโยชน์
  6. การสูบบุหรี่อาจจะก่อให้เกิดอาการเมารถได้ ดังนั้น หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด [9] มีงานวิจัยบางงานบอกว่าการขาดนิโคตินในชั่วข้ามคืนจะช่วยหลีกเลี่ยงความไว้ต่ออาการเมาการเดินทางได้ [10] ถ้าคุณเป็นสุบบุหรี่จัด ก็มีหลายวิธีที่คุณจะสามารถเลิกสุบบุหรี่ได้ หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://th.wikihow.com/เลิกบุหรี่
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • การมองสิ่งที่ผ่านไปอย่างรวดเร็วก็สามารถทำให้คุณเมาการเดินทางได้ในบางครั้ง
  • บอกให้คนขับรถรู้เสมอเมื่อคุณรู้สึกเมาการเดินทาง
  • หายใจเข้าลึกๆ เพื่อสงบตัวเอง ทำให้กล้ามเนื้อเคลื่อนไหวในเวลาอันรวดเร็วเพื่อบรรเทาอาการเมาการเดินทาง
  • อย่าปิดปากเมื่อคุณจะอาเจียน เพราะอาจจะออกทางจมูกแทนได้
  • นอนหลับ หากคุณไม่สามารถนอนได้ ให้ทานยาที่ช่วยในการนอนหลับ เช่น เมลาโทนิน
  • ถ้าคุณเคยมีประวัติเมารถ ให้นำถุงพลาสติกติดตัวไปด้วยเช่น ถุงซิปล็อค
  • ถ้าเส้นทางที่คุณเดินทางนั้นมีทางที่เป็นช่วงลงเนินหรือเป็นทางลาดลง ให้วางแผนเพื่อหาเวลาพักไว้ด้วย
  • บางคนพบว่าการกุมข้อมือเอาไว้บางครั้งก็ช่วยได้ สายรัดข้อมือที่มีลูกบอลอยู่ตรงกลางเพื่อกดจุดนั้นจะช่วยควบคุมอาการเมารถได้
  • พยายามหลีกเลี่ยงรถติดถ้าเป็นไปได้ การเร่งเครื่องและหยุดรถทันทีนั้นไม่ได้ช่วยให้ดีขึ้น
โฆษณา

คำเตือน

  • โดยทั่วไปนั้น ผู้หญิงจะไวต่ออาการเมารถมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ เด็กอายุ 2 ถึง 12 ขวบ และคนที่มีปัญหากับระบบการทรงตัวหรือปวดหัวไมเกรนจะมีความไวต่อการเกิดอาการเมารถได้มากกว่าคนอื่น [11]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,487 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา