ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

สถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา (The American Academy of Pediatrics) ระบุว่า ในแต่ละปี มีคนประมาณ 2.4 ล้านคนซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งมีวัยต่ำกว่าหกขวบ ได้กินหรือสัมผัสกับสสารที่มีพิษ ยาพิษสามารถถูกหายใจเข้าไป กลืนลงไป หรือดูดซึมผ่านผิวหนัง สาเหตุของปัญหาที่มีพิษอันตรายมากที่สุด รวมทั้ง ยา ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด นิโคตินเหลว สารป้องกันการแข็งตัวของน้ำ น้ำยาเช็ดกระจก ยาฆ่าแมลง น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด และน้ำมันตะเกียง [1] ผลกระทบจากยาพิษเหล่านี้ และยาพิษชนิดอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมากนั้นมีหลากหลาย จนบ่อยครั้งเป็นเรื่องท้าทายที่จะแยกแยะว่าได้เกิดอะไรขึ้น ซึ่งทำให้วินิจฉัยโรคได้ล่าช้าในหลายกรณี ทั้งนี้ คุณสมควรรับมือเป็นอย่างแรกและอย่างสำคัญที่สุด กับกรณีใดๆ ที่สงสัยว่าเป็นยาพิษ โดยแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือแจ้งศูนย์ควบคุมพิษในทันที

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

ขอความช่วยเหลือทางการแพทย์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สัญญาณต่างๆที่บ่งบอกว่ากินยาพิษเข้าไปจะขึ้นอยู่ชนิดของยาพิษที่กิน เช่น ยาฆ่าแมลง ยารักษาโรค หรือถ่านไฟฉายขนาดเล็ก ยิ่งกว่านั้น อาการโดยทั่วไปของการกินยาพิษมักจะคล้ายคลึงกับอาการทางการแพทย์อื่นๆ ซึ่งรวมทั้ง อาการชัก ปฏิกิริยาอินซูลิน (Insulin Reactions) โรคหลอดเลือดในสมอง และภาวะถูกพิษ หนึ่งในวิธีดีที่สุดเพื่อจะรู้ว่าได้กินยาพิษลงไปหรือไม่ คือมองหาเบาะแสต่างๆ เช่น กล่องหรือขวดเปล่า คราบหรือกลิ่นบนตัวบุคคล หรือในจุดใกล้เคียง วัตถุที่อยู่ผิดที่ผิดทาง หรือตู้ลิ้นชักที่เปิดอยู่ นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ยังมีอาการป่วยทางกายอื่นๆ ที่คุณสมควรจะมองหา รวมทั้ง: [2]
    • รอยไหม้ และ/หรือรอยแดงบริเวณรอบๆ ปาก
    • ลมหายใจที่มีกลิ่นสารเคมี (น้ำมันเบนซิน หรือทินเนอรฺ์สำหรับใช้ผสมสี)
    • อาเจียน หรือสำรอก
    • อาการหายใจขัด
    • อาการเซื่องซึม หรือนอนหลับ
    • อาการสับสนทางจิต หรืออาการอื่นๆ ของระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนไป(altered mental status)
  2. มองหา อาการขยับสูงขึ้นบริเวณทรวงอก ฟัง เสียงอากาศเข้าและออกจากปอด สัมผัส อากาศโดยส่ายใบหน้าด้านข้างของคุณไปมาเหนือริมฝีปากของผู้ป่วย [3] [4]
    • หากผู้ป่วยไม่หายใจ หรือไม่แสดงสัญญานชีพอื่นๆ เช่น เคลื่อนไหว หรือไอ จงทำ CPR และแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือขอให้คนที่อยู่ใกล้ๆ ช่วยแจ้งให้ [5]
    • หากผู้ป่วยกำลังอาเจียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากหมดสติ ให้ตะแคงศีรษะเพื่อป้องกันการสำลัก
  3. แจ้ง 911 (ในสหรัฐฯ) หรือหมายเลขเหตุฉุกเฉินในท้องถิ่นของคุณ (ในไทย แจ้ง 191) หากผู้ป่วยหมดสติและคุณสงสัยว่าผู้ป่วยได้รับสารพิษ หรือสงสัยว่ามีการใช้ยา ยาเสพติด หรือแอลกอฮอล์เกินขนาด (หรืออาจใช้สารเหล่านี้รวมๆ กัน) นอกจากนี้ จงแจ้ง 191 ในทันที หากสังเกตเห็นว่าผู้ป่วยแสดงอาการอย่างรุนแรงของการได้รับสารพิษดังต่อไปนี้ [6] [7]
    • เป็นลม
    • หายใจลำบาก หรือหยุดหายใจ
    • กระวนกระวาย หรืออยู่ไม่สุข
    • อาการชัก
  4. หากคุณวิตกว่าอาจมีกรณีผู้ได้รับสารพิษอยู่ในความดูแล โดยผู้ป่วยยังมีอาการทรงตัว และไม่ได้แสดงอาการของโรค หากเป็นในสหรัฐฯ ให้โทรศัพท์ขอความช่วยเหลือเรื่องสารพิษที่โทร.1-800-222-1222 และหากคุณรู้หมายเลขโทรศัพท์ของศูนย์พิษวิทยาในภูมิภาคของคุณ ให้แจ้งขอความช่วยเหลือ (ในไทยคือ ศูนย์พิษวิทยา รามาธิบดี สายด่วน 1367 ศูนย์พิษวิทยา รพ.ศิริราช โทร.02 - 4197007 ฯลฯ) ศูนย์พิษวิทยาเป็นแหล่งชั้นยอดสำหรับข้อมูลเกี่ยวกับยาพิษ และในหลายๆ สถานการณ์ อาจให้คำแนะนำกับคุณว่า การเฝ้าดูอาการและการรักษาตัวที่บ้าน (ดูส่วน 2) คือทั้งหมดที่จำเป็นต้องทำ [8] [9]
    • หมายเลขโทรศัพท์ของศูนย์พิษวิทยาในแต่จะพื้นที่อาจแตกต่างกัน แต่การเสิร์จหาอย่างง่ายดายในเว็บ น่าจะช่วยให้ได้หมายเลขที่เหมาะสมสำหรับที่อยู่ของคุณ เป็นบริการฟรีที่สามารถช่วยให้คุณไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมราคาแพง เป็นค่าห้องฉุกเฉินและค่าตรวจรักษาโดยแพทย์
    • ศูนย์พิษวิทยาเปิดให้บริการตลอดทั้งวัน ทุกวัน นักพิษวิทยาของศูนย์จะแนะนำทีละขั้นตอนของกระบวนการรักษาสำหรับผู้ที่กินยาพิษเข้าไป นักพิษวิทยาอาจจะให้คำแนะนำแก่คุณเรื่องการรักษาผู้ป่วยที่บ้าน แต่ก็อาจจะบอกให้คุณรีบนำผู้ป่วยส่งห้องฉุกเฉินด้วยเช่นกัน จงทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด และไม่ทำสิ่งใดเพิ่มอีก นักพิษวิทยามีทักษะสูงในการช่วยเหลือเรื่องยาพิษที่กินเข้าไป
    • คุณยังสามารถใช้ เว็บไซต์ของศูนย์พิษวิทยา เพื่อทราบแนวทางพิเศษที่สมควรทำ อย่างไรก็ตาม จงใช้เว็บไซต์นี้เฉพาะสำหรับผู้ป่วยวัย 6 เดือน ถึง 79 ปี และจะเป็นประโยชน์หากเป็นผู้ป่วยในระยะที่ยังไม่แสดงอาการ เป็นผู้ป่วยที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ เป็นยาพิษที่กลืนเข้าไป เป็นยาพิษที่สงสัยว่าเป็นยาเสพติด ยา ของใช้ในบ้าน หรือผลเบอร์รี่ต่างๆ เป็นการกลืนกินเป็นไปโดยไม่ได้ตั้งใจ และเป็นการกินเพียงครั้งเดียว
  5. เตรียมพร้อมเพื่อแจ้งต่อเจ้าหน้าที่การแพทย์ เรื่องอายุ น้ำหนัก อาการป่วย ยาอื่นๆ ที่ผู้ป่วยใช้อยู่ และข้อมูลใดๆ ที่หาได้เกี่ยวกับสิ่งที่ผู้ป่วยได้กินเข้าไป คุณยังจำเป็นต้องแจ้งบ้านเลขที่ของคุณให้ผู้ที่คุณพูดสายอยู่ทราบด้วย [10]
    • จงทำให้แน่ใจเช่นกันเรื่องเก็บรวบรวมฉลาก หรือบรรจุภัณฑ์ที่แท้จริง (ขวด กล่อง ฯลฯ ) ของสิ่งที่ได้กินเข้าไป พยายามประเมินอย่างดีที่สุดว่าผู้ป่วยกินในปริมาณมากเพียงใดด้วย
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ให้ความช่วยเหลือในทันที

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้ผู้ป่วยคายทุกสิ่งที่ยังค้างอยู่ในปากออกมา และทำให้แน่ใจว่า ยาพิษอยู่ห่างเกินเอื้อมถึงแล้วในตอนนี้ ห้ามทำให้ผู้ป่วยอาเจียน และห้ามใช้น้ำเชื่อมไอปิแคค (Ipecac) เพราะแม้จะเคยเป็นวิธีปฏิบัติมาตรฐาน แต่สมาคมกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา (the American Academy of Pediatrics) กับสมาคมศูนย์ควบคุมสิ่งเป็นพิษแห่งอเมริกา (American Association of Poison Control Centers) ได้เปลี่ยนข้อแนะนำเป็นเตือนไม่ให้ทำเช่นนั้น และแนะนำให้แจ้งเหตุฉุกเฉินหรือแจ้งศูนย์พิษวิทยา และให้ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างชัดเจนของหน่วยงานเหล่านั้น [11] [12]
    • หากผู้ป่วยกลืนถ่านกระดุม ให้แจ้งเหตุฉุกเฉินในทันที เพื่อเข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุดที่จะทำได้ กรดจากถ่านสามารถไหม้ท้องไส้ลูกของคุณได้ภายในสองชั่วโมง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องรักษาอย่างรวดเร็ว [13]
  2. ล้างตาข้างที่ได้รับผลกระทบอย่างอ่อนโยน โดยใช้น้ำเย็นหรือน้ำอุ่นจำนวนมากเป็นเวลานาน 15 นาที หรือจนกว่าความช่วยเหลือทางการแพทย์จะมาถึง พยายามเทน้ำให้ไหลอย่างต่อเนื่องเข้าไปในมุมด้านในของดวงตา การทำเช่นนี้จะช่วยทำให้พิษเจือจางลง [14] [15]
    • อนุญาตให้ผู้ป่วยกระพริบตา และอย่าบังคับให้เปิดตาอยู่ในตอนที่คุณเทน้ำใส่
  3. เวลารับมือกับควันพิษหรือไอพิษ เช่น คาร์บอน มอนอกไซด์ นั้น สิ่งที่ทำได้ดีที่สุดจนกว่าความช่วยเหลือจะมาถึงคือ พาออกไปรับอากาศบริสุทธิ์ที่ข้างนอก [16] [17]
    • พยายามตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ป่วยได้สูดสารเคมีชนิดใดเข้าไป จะได้สามารถบอกกับทางศูนย์พิษวิทยา หรือ หน่วยฉุกเฉินต่างๆ เพื่อตัดสินใจเรื่องการรักษาเพิ่มเติม หรือการดำเนินการในขั้นตอนต่อไป
  4. หากคุณสงสัยว่าผิวหนังของผู้ป่วยได้สัมผัสกับสารพิษ หรือสารอันตราย จงถอดเสื้อผ้าปนเปื้อนทุกชิ้นออกโดยใช้ถุงมือทางการแพทย์ เช่น ถุงมือไนไตร ซึ่งทนทานต่อสารเคมีทุกอย่างที่ใช้ในครัวเรือน หรือใช้สิ่งทอชนิดอื่นๆ เพื่อปกป้องมือของคุณไม่ให้ได้รับผลกระทบ ล้างผิวของผู้ป่วยนาน 15 - 20 นาทีด้วยน้ำเย็นหรือน้ำอุ่น ในที่อาบน้ำฝักบัว หรือโดยใช้สายยาง [18] [19]
    • มีความสำคัญเช่นเดียวกันที่คุณจะสังเกตหาแหล่งที่มาของยาพิษ เพื่อตัดสินใจเรื่องการรักษาขั้นต่อไป ตัวอย่างเช่น เจ้าหน้าที่การแพทย์จำเป็นต้องรู้ว่าเป็นยาพิษที่มีฤทธิ์เป็นด่าง หรือเป็นยาพิษที่มีฤทธิ์เป็นกรด หรือเป็นชนิดอื่นใด เพื่อประเมินว่าอาจสร้างความเสียหายต่อผิวหนังได้มากน้อยเพียงใด รวมทั้งวิธีหลีกเลี่ยงหรือบรรเทาอาการดังกล่าว
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ห้ามเรียกยาว่า "ลูกกวาด" ในความพยายามจะให้เด็กๆ ยอมกินยา เพราะเด็กๆ อาจจะอยากได้ “ลูกกวาด” ในตอนที่คุณไม่ได้อยู่ใกล้ๆ เพื่อช่วยเหลือ [20]
  • เก็บหมายเลขโทรศัพท์ของศูนย์พิษวิทยา (ศูนย์พิษวิทยา รามาธิบดี สายด่วน 1367ศูนย์พิษ วิทยา รพ.ศิริราช โทร.02 - 4197007 ฯลฯ ) ไว้บนตู้เย็น หรือข้างโทรศัพท์ของคุณเพื่อพร้อมโทรแจ้งเมื่อจำเป็นต้องใช้ [21]
โฆษณา

คำเตือน

  • แม้จะหาซื้อน้ำเชื่อมไอปิแคค (Ipecac) และถ่านกัมมันต์ (Activated Charcoal) ได้ตามร้านขายยาส่วนใหญ่ สมาคมกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา (the American Academy of Pediatrics) และสมาคมศูนย์ควบคุมสิ่งเป็นพิษแห่งอเมริกา (the American Association of Poison Control Centers) ไม่แนะนำอีกต่อไปให้ใช้ในการรักษาตัวที่บ้าน เพราะอาจเป็นอันตรายมากกว่าจะเป็นประโยชน์ [22] [23]
  • ป้องกันไม่ให้ใช้สารพิษด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง การป้องกันเป็นวิธีดีที่สุดที่จะป้องกันการถูกสารพิษ จงใส่กุญแจเก็บยาทั้งหมด ถ่านไฟฉาย น้ำมันชักเงา ผงซักฟอก และอุปกรณ์ทำความสะอาดในครัวเรือนไว้ในตู้เก็บของอย่างปลอดภัย จงเก็บสารพิษไว้ในภาชนะบรรจุดั้งเดิมเสมอ และจงอ่านฉลากอย่างรอบคอบเพื่อทำให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจวิธีใช้อย่างถูกต้อง [24] [25]
โฆษณา
  1. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-poisoning/basics/art-20056657
  2. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-poisoning/basics/art-20056657
  3. https://www.aap.org/en-us/about-the-aap/aap-press-room/news-features-and-safety-tips/pages/poison-prevention-and-treatment-tips-.aspx
  4. https://www.aap.org/en-us/about-the-aap/aap-press-room/news-features-and-safety-tips/pages/poison-prevention-and-treatment-tips-.aspx
  5. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-poisoning/basics/art-20056657
  6. https://www.aap.org/en-us/about-the-aap/aap-press-room/news-features-and-safety-tips/pages/poison-prevention-and-treatment-tips-.aspx
  7. http://www.poison.org/actfast/firstaid.asp
  8. https://www.aap.org/en-us/about-the-aap/aap-press-room/news-features-and-safety-tips/pages/poison-prevention-and-treatment-tips-.aspx
  9. http://www.poison.org/actfast/firstaid.asp
  10. https://www.aap.org/en-us/about-the-aap/aap-press-room/news-features-and-safety-tips/pages/poison-prevention-and-treatment-tips-.aspx
  11. https://www.aap.org/en-us/about-the-aap/aap-press-room/news-features-and-safety-tips/pages/poison-prevention-and-treatment-tips-.aspx
  12. http://www.redcross.org/prepare/disaster/poisoning
  13. American Academy of Pediatrics, Guidelines, 2015
  14. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-poisoning/basics/art-20056657
  15. https://www.aap.org/en-us/about-the-aap/aap-press-room/news-features-and-safety-tips/pages/poison-prevention-and-treatment-tips-.aspx
  16. http://www.redcross.org/prepare/disaster/poisoning

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,220 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา