ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

หากมีลูกสุนัขกำลังรอวันคลอดในบ้านคุณ มันคงเป็นเรื่องน่าตื่นเต้น แต่การดูแลลูกสุนัขและแม่มันให้ดีนั้น ก็เป็นเรื่องสำคัญ ทั้งนี้ การดูแลอย่างมีคุณภาพนั้น จะทำให้มั่นใจได้ว่า ทั้งแม่สุนัขและลูกของมัน จะมีความปลอดภัยและสุขภาพแข็งแรง วิธีการในบทความนี้ จะช่วยให้คุณเตรียมตัวได้ทั้งสุนัขและบ้านของคุณ สำหรับการเกิดมาของบรรดาลูกสุนัขตัวใหม่ และยังบอกวิธีการดูแลพวกมันด้วย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 6:

การเตรียมกล่องทำคลอด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. กล่องทำคลอดของสุนัข คือ กล่องที่มันจะใช้ให้กำเนิดลูก ซึ่งควรจะช่วยให้ลูกสุนัขที่เกิดมารู้สึกอบอุ่น และปกป้องพวกมันจากการถูกทับด้วยแม่ของมันเอง [1]
    • ดังนั้น กล่องควรมีลักษณะเป็นขอบสี่ด้านและมีพื้นรอง เลือกขนาดความยาวและกว้างของกล่อง โดยการกะประมาณให้แม่มันเหยียดขานั่งหมอบได้พอดี ส่วนความกว้างของกล่อง ควรบวกจำนวนความสูงครึ่งหนึ่งของตัวแม่ เพื่อเผื่อขนาดไว้ใช้เป็นที่ว่างสำหรับลูกสุนัข
    • กะความสูงให้พอดี ขนาดที่จะกักลูกสุนัขให้อยู่ข้างในได้ และแม่ของมันก็สามารถกระโดดออกมาได้โดยไม่ลำบาก
    • คุณสามารถหาซื้อกล่องทำคลอดได้ที่ร้านเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงทั่วไป แต่คุณอาจจะใช้แผ่นกระดานหรือไม้เนื้อแข็งและไม้ไพล์วูด ทำกล่องขึ้นมาเองก็ได้ นอกจากนี้ คุณอาจจะหากล่องเครื่องใช้ในบ้านมา 2 กล่อง เช่น กล่องทีวี หรือกล่องเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำจากกระดาษแข็ง โดยตัดด้านหนึ่งของแต่ละกล่อง แล้วเอามันมาเชื่อมต่อกันเป็นกล่องยาวใบเดียว
  2. ลูกสุนัขจะต้องการพื้นที่ปลอดภัยในกล่อง เพื่อที่ว่าแม่มันจะได้ไม่นอนทับมัน ซึ่งอาจทำให้มันขาดอากาศหายใจได้ กำหนดระยะความกว้างส่วนเกินในกล่องเอาไว้ และติดตั้งรางไม้เนื้อแข็งสูงจากก้นกล่องขึ้นมาประมาน 4-6 นิ้ว [2]
    • ทั้งนี้ ด้ามจับไม้กวาดสามารถนำมาทำเป็นรางในกล่องดังกล่าวได้ดี
    • มันสำคัญมากเวลาที่ลูกสุนัขอายุเกินสองสัปดาห์และเริ่มที่จะอยู่ไม่สุขแล้ว
  3. ปูพื้นกล่องด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์เยอะๆ หรือใช้ผ้าหนาๆ ก็ได้ คุณยังอาจใช้ผ้าของ vetbed ซึ่งทำจากใยโพลีเอสเตอร์ ซึ่งจะช่วยกำจัดความชื้นออกจากตัวแม่และลูกสุนัข
  4. หลังจากคุณกำหนดบริเวณสำหรับลูกสุนัขได้แล้ว เอาเสื่อไฟฟ้ามาวางไว้ไต้กระดาษบริเวณนี้ด้วย หลังจากลูกสุนัขคลอดออกมาแล้ว คุณต้องเปิดระดับไฟฟ้าของเสื่อนี้ไว้ที่อุณหภูมิต่ำสุด ซึ่งจะช่วยให้ลูกสุนัขอบอุ่นเสมอในขณะที่แม่ของมันไม่อยู่ [3]
    • นอกจากเสื่อไฟฟ้าแล้ว คุณอาจใช้โคมฟักไข่ ส่องหันไปทางมุมหนึ่งของกล่อง เพื่อใช้จุดนั้นเป็นจุดที่ให้ความอบอุ่นแทน อย่างไรก็ตาม โคมฟักไข่จะให้ความร้อนแบบแห้งๆ ซึ่งอาจทำให้ผิวของลูกสุนัขแห้งได้ หากคุณเลือกที่จะใช้โคมฟักไข่ พยายามเช็คลูกสุนัขเพื่อให้มั่นใจว่า มันไม่มีผื่นแดงหรือเป็นสะเก็ด หากมีให้เอาโคมออกทันที [4]
    • เอาน้ำร้อนใส่ในขวดและพันไว้ด้วยผ้า เพื่อใช้ให้ความอบอุ่นแก่มันชั่วคราว
  5. ระหว่างที่ทำคลอด แม่สุนัขย่อมอยากที่จะรู้สึกเหมือนกับว่ามันอยู่ในถ้ำ ซึ่งจะช่วยให้มันรู้สึกปลอดภัย ทำให้การทำคลอดเป็นไปด้วยความราบรื่น ดังนั้น คุณควรหาผ้าใหญ่ๆ หรือผ้าห่มมาคลุมกล่องเอาไว้ เพื่อให้ดูคล้ายกับเป็นถ้ำมืดๆ และให้มันรู้สึกปลอดภัย [5]
  6. แม่สุนัขไม่ควรถูกรบกวนขณะที่มันกำลังให้กำเนิดบุตร ดังนั้น หาห้องที่เงียบๆ เพื่อที่จะใช้วางกล่องทำคลอด
  7. วิธีนี้ทำให้ง่ายสำหรับสุนัขที่จะกินและดื่ม โดยควรหาอาหารและน้ำมาวางไว้ใกล้ๆกล่องเสมอ คุณจะน้ำอาหารและน้ำ ไปวางไว้ในจุดเดิมที่เคยให้มันก็ได้ แต่การที่ลูกสุนัขรู้ว่ามีอาหารและน้ำอยู่ใกล้ๆกล่องทำคลอด จะช่วยให้มันผ่อนคลายขึ้นในขั้นตอนดังกล่าว
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 6:

เตรียมตัวสำหรับการให้กำเนิด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปล่อยให้แม่สุนัขได้สำรวจพื้นที่กล่องทำคลอด. อย่างน้อยสองสัปดาห์ก่อนที่จะถึงกำหนดคลอด ปล่อยให้แม่มันได้สำรวจกล่องทำคลอดก่อน เพื่อทำให้แน่ใจว่า มันจะได้อยู่ในที่ๆ เงียบสงบ เพราะแม่มันต้องการที่จะฝังตัวอยู่ในที่เงียบสงบ จากนี้ไปจนถึงวันคลอด
  2. เอาของเล่นหรือขนมที่มันชอบ มาไว้ในกล่องด้วย. การที่จะให้มันคุ้นเคยกับกล่องทำคลอดนั้นพยามยามหาของเล่นหรือขนมที่มันชอบมาไว้อย่างสม่ำเสมอ แล้วมันจะเห็นว่า กล่องใบนี้เป็นสถานที่ๆ ปลอดภัยสำหรับมัน และเป็นสิ่งที่ดีสำหรับมัน [6]
  3. ปล่อยให้สุนัขตั้งครรภ์ของคุณเลือกสถานที่ๆ มันจะคลอดเอง. อย่ากังวลถ้าสุนัขของคุณ ไม่ยอมเลือกที่จะคลอดลูกในกล่องทำคลอด เพราะมันจะเลือกสถานที่ๆ มันรู้สึกปลอดภัยที่สุด ซึ่งอาจจะเป็นหลังโซฟาหรือใต้เตียงคุณก็ได้ ตราบใดที่มันไม่มีอันตรายหรือทำให้ตัวมันบาดเจ็บ ก็ปล่อยให้มันเลือกเอง [7]
    • หากคุณพยายามเคลื่อนย้ายมันมันอาจจะเกิดอาการเครียดซึ่งอาจจะทำให้ขั้นตอนการคลอดหยุดชะงักหรือช้าลง
  4. หากสุนัขเลือกที่จะไปคลอดลูกใต้เตียง หรือหลังโซฟา การมีไฟฉายจะช่วยได้มาก ด้วยวิธีนี้ คุณจะสามารถมองหาและเห็นมันได้ชัดเจน
  5. เตรียมเบอร์ของสัตว์แพทย์เอาไว้ในกรณีฉุกเฉิน. พยายามบันทึกเบอร์เอาไว้ หรือว่าจะแปะติดไว้ในบนตู้เย็นหรือบริเวณที่เห็นง่ายๆ ก็ได้ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น คุณควรจะสามารถติดต่อสัตวแพทย์ได้ทันที
    • พยายามปรึกษาสัตวแพทย์ไว้ล่วงหน้าว่า จะต้องทำอย่างไร ในกรณีที่สุนัขของคุณเกิดคลอดขึ้นมากลางดึก
  6. คนที่ไว้ใจได้ในการนี้ ควรที่จะอยู่กับสุนัขเพื่อทำให้มั่นใจได้ว่าทุกอย่างเป็นไปด้วยความเรียบร้อยระหว่างคลอด และควรเป็นคนที่มีความคุ้นเคยกับสุนัขตัวนี้ดี จำกัดคนที่สามารถเข้าและออกพื้นที่ๆ บริเวณที่สุนัขจะคลอดลูกเอาไว้ เพราะไม่งั้นสุนัขมันอาจจะเกิดอาการเครียดและสับสน ทำให้การคลอดบุตรเชื่องช้าออกไปอีก [8]
  7. สุนัขของคุณจำเป็นต้องจดจ่อและมีสมาธิอยู่กับการคลอด อย่าเชิญเพื่อนบ้านหรือเด็กๆ หรือเพื่อนใครก็ตาม มาดูในขั้นตอนนี้ เพราะจะทำให้มันเครียดและก็รบกวนสมาธิมันซึ่งจะทำให้การคลอดเชื่องช้าออกไป [9]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 6:

การดูแลในช่วงสองสามวันแรกหลังคลอด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การตัดสายรกก่อนที่หลอดเลือดจะสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาห่อหุ้มได้อย่างแน่นหนา อาจทำให้ลูกสุนัขเลือดไหลไม่หยุดได้ จงปล่อยให้สายรกทิ้งไว้อย่างนั้น เดี๋ยวมันก็แห้งเองในไม่ช้า แล้วก็หลุดออกไปเอง [10]
  2. คุณไม่จำเป็นที่จะต้องทายาฆ่าเชื้อกันเชื้อที่สะดือลูกสุนัขหรือที่โคนรกของมัน หากกล่องทำคลอดมีความสะอาดเพียงพอ สะดือของมันก็จะไม่เป็นอันตรายใดๆ [11]
  3. นำกระดาษหนังสือพิมพ์หรือผ้าใหม่ มาวางแทนไว้ในกล่องทำคลอด. มันเป็นเรื่องสำคัญที่จะดูแลความสะอาดของกล่องทำคลอด หลังจากที่ลูกสุนัขคลอดออกมาแล้ว แต่คุณจำเป็นต้องระวัง ไม่ให้แม่ที่กำลังพักฟื้นของมันถูกรบกวนมากไปด้วย หากแม่ของมันขับถ่าย ก็เอาผ้าที่เปื้อนสกปรกออกไป แล้วเปลี่ยนเป็นผ้าผืนใหม่แทน ทิ้งผ้าที่สกปรกไปเลย เอาผืนใหม่มาแทนให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ [12]
  4. ปล่อยให้แม่และลูกสุนัขได้สร้างความผูกพันกันในช่วง 4-5 วันแรก. ช่วงวันแรกๆ ของชีวิตลูกสุนัขมีส่วนสำคัญต่อพัฒนาการด้านความผูกพันกับแม่ของมัน พยายามปล่อยพวกมันไว้ตามลำพังให้มากที่สุด ในช่วงวันแรกๆ หลังการคลอด
    • จำกัดการอุ้มสุนัขในช่วงดังกล่าวให้น้อยที่สุด พยายามถูกตัวมันหรืออุ้มมัน ในเฉพาะเวลาที่ต้องการทำความสะอาดกล่องเท่านั้น ซึ่งควรจะเป็นตั้งแต่วันที่สามเป็นต้นไป
  5. หลังคลอด ตรวจสอบว่าลูกสุนัขได้รับความอบอุ่นเพียงพอ. ใช้มือของคุณสัมผัสร่างกายของพวกมัน ลูกสุนัขที่กำลังมีอุณหภูมิต่ำ จะทำให้คุณรู้สึกได้ว่า ตัวมันเย็น หรือทำให้มือคุณรู้สึกเย็น และตัวมันเองก็มักจะไม่ตอบสนองและเงียบมากส่วนลูกสุนัขที่อุณหภูมิร่างกายร้อนเกินไป จะมีหูแดงและลิ้นแดง และมันยังอาจจะบิดตัวดิ้นงอไปมา ซึ่งเป็นการพยายามของมันที่จะหนีห่างจากบริเวณที่ร้อนๆ นั้น
    • อุณหภูมิที่เหมาะสมของลูกสุนัขเกิดใหม่ ควรจะอยู่ระหว่าง 34-37 องศาเซลเซียส ซึ่งมักจะเพิ่มขึ้นเป็น 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป เมื่อครบสองสัปดาห์ แต่คุณไม่จำเป็นต้องวัดอุณหภูมิลูกสุนัขด้วยเทอร์โมมิเตอร์ก็ได้ หากมีอะไรสงสัย คุณควรปรึกษาสัตวแพทย์
    • หากคุณเลือกใช้โคมฟักไข่ ในการทำคลอด ต้องพยายามเช็คอยู่เสมอว่า ลูกสุนัขไม่มีสะเก็ดหรือผื่นแดง ถ้ามีให้เอาโคมออกทันที [13]
  6. ลูกสุนัขเกิดใหม่ ไม่สามารถที่จะปรับสมดุลอุณหภูมิในร่างกายเองได้ พวกมันมักจะหนาวสั่นหากแม่ของมันไม่อยู่ คุณจำเป็นที่จะต้องดูแลเรื่องความอบอุ่นของมันด้วย [14]
    • ปรับอุณหภูมิของห้องให้เหมาะสม ระดับที่ทำให้คุณรู้สึกสบายในเวลาสวมเสื้อยืดและกางเกงขาสั้น
    • หาตัวช่วยทำความอุ่นมาให้มันเพิ่มเติม โดยคุณอาจจะใช้แผ่นทำความร้อนวางเอาไว้ใต้ที่นอนมัน ปรับอุณหภูมิไปที่ความร้อนต่ำ (Low) เพื่อหลีกเลี่ยงการทำให้มันร้อนเกินไป เพราะลูกสุนัขจะไม่สามารถหนีจากบริเวณดังกล่าวได้เองหากมันร้อนเกินไป [15]
  7. ใช้เครื่องชั่งแบบไปรษณีย์เพื่อชั่งน้ำหนักลูกสุนัขทุกวัน ในช่วงสามสัปดาห์แรก จดบันทึกน้ำหนักลูกสุนัขแต่ละตัวไว้ เพื่อทำให้มั่นใจว่า พวกมันมีสุขภาพดี และได้รับสารอาหารเพียงพอ พยายามใช้พวกยาฆ่าเชื้อบนแผ่นชั่งน้ำหนักก่อนที่จะเอามันวางลงไป ใช้ยาค่าเชื้อตามบ้านนี่แหละในการทำความสะอาด และเช็ดมันให้แห้งอีกทีหนึ่ง
    • คอยดูว่าน้ำหนักมันเพิ่มอย่างสม่ำเสมอทุกวันหรือเปล่า อย่างไรก็ตาม อย่าตกใจว่าลูกสุนัขบางตัวน้ำหนักไม่ขึ้น หรือน้ำหนักอาจจะลดลงไป 30-55 กรัม ในบางวัน ตราบใดที่ลูกสุนัขมันยังมีชีวิตชีวาและกินอาหารตามปกติ คุณก็ควรรอคอยและชั่งน้ำหนักมันในวันถัดไป หากน้ำหนักยังไม่เพิ่มอีก ให้ลองโทรปรึกษาสัตวแพทย์ดู [16]
  8. ตรวจสอบแขกที่มาเยี่ยม อย่าให้มีเชื้อโรคปะปนมา. เพราะแขกส่วนใหญ่ที่มาเยี่ยมอาจจะนำเชื้อโรคที่ไม่ได้รับเชิญมาติดสุนัขได้ ทั้งรองเท้าและมือของพวกเขามักจะมีแบคทีเรียและไวรัสแฝงอยู่
    • คุณควรจะให้แขกที่มาเยี่ยมบ้าน ถอดรองเท้าไว้ก่อนที่จะเข้ามาในห้องที่ทำคลอด
    • ขอให้พวกเขาล้างมือด้วยสบู่หรือน้ำสะอาด ก่อนที่จะถูกเนื้อต้องตัวหรืออุ้มลูกสุนัข แต่ยังไงก็ควรจำกัดการถูกเนื้อต้องตัวลูกสุนัขไว้ด้วย [17]
  9. พยายามกันสัตว์เลี้ยงที่ไม่ใช่ของบ้านคุณ ออกไปห่างๆ. สัตว์อื่นๆ อาจจะมีอาการป่วย หรือแบคทีเรียที่เป็นภัยต่อลูกสุนัขเกิดใหม่ แม้แต่แม่มันเองก็เถอะ ก็ยังอ่อนไหวต่อการเจ็บป่วยได้ ซึ่งก็อาจจะส่งผลต่อไปยังลูกๆ มันด้วย พยายามกันสัตว์เลี้ยงที่ไม่ใช่สัตว์เลี้ยงของคุณไปให้ห่างๆ ช่วงตั้งแต่หลังการคลอดไปประมาณ 2 สัปดาห์ [18]
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 6:

ช่วยลูกสุนัขดูแลตัวมันเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ช่วยจับหัวลูกสุนัขไปหนุนบริเวณหน้าอกแม่มัน. ลูกสุนัขที่เกิดใหม่จะมองไม่เห็นและไม่ได้ยินอะไร และมันก็ไม่สามารถเดินได้จนกว่าจะอายุประมาน 10 วัน มันจะพยายามตะเกียกตะกายไปตรงหัวนมแม่มันและดูดนม คุณควรช่วยสอนมันในช่วงเริ่มแรกนี้ [19]
    • ก่อนช่วยลูกสุนัขดูแลตัวเอง คุณควรจะล้างมือและเช็ดให้แห้งก่อน จากนั้น อุ้มมันขึ้นมาแล้วซุกมันลงไปบริเวณหัวนมแม่ ซึ่งลูกสุนัขอาจจะมีท่าทีอยากรู้อยากเห็นและสำรวจด้วยปากก่อน หากมันไม่สามารถหาหัวนมพบ คุณก็ประคองหัวมันเบาๆ เพื่อเอาปากมันไปไว้บริเวณดังกล่าว
    • คุณอาจจำเป็นต้องคั้นนมแม่มันออกมาเล็กน้อย เพื่อให้ลูกสุนัขได้กลิ่น และก็ซุกหัวนมด้วยตัวมันเอง
    • หากลูกสุนัขยังไม่งับหัวนม ก็พยายามสอดนิ้วของคุณเข้าไปในมุมปากของมันเพื่อช่วยมันอ้าปากขึ้น และไปงับไว้บนหัวนมแม่มันก่อนที่จะค่อยๆ คายนิ้วคุณออกมา ลูกสุนัขก็น่าจะเริ่มดูดได้เองแล้ว [20]
  2. จำให้ได้ขึ้นใจว่า ลูกสุนัขตัวไหนมักจะดูดนมเต้าไหนของแม่มัน หัวนมที่อยู่ช่วงหลังจะผลิตน้ำนมได้มากกว่านมที่อยู่ข้างหน้า ดังนั้น ลูกสุนัขที่ดูดนมจากหัวนมหัวนมข้างหน้า ก็อาจจะได้น้ำนมน้อยกว่าลูกสุนัขตัวที่ดูดนมเต้าหลัง
    • หากลูกสุนัขตัวไหนน้ำหนักไม่เพิ่มด้วยอัตราเดียวกับตัวอื่นๆ พยายามจับมันมาดูดนมที่เต้าหลังแทน [21]
  3. เวลาที่แม่มันให้นมแก่ลูกมัน ร่างกายของแม่มันจะยิ่งผลิตน้ำนมมากขึ้น หากขาดช่วงไปเมื่อไรการผลิตน้ำนมก็จะลดลงด้วย ซึ่งเมื่อเกิดกรณีดังกล่าวก็มีความเสี่ยงมากที่ร่างกายตัวแม่มันจะหยุดผลิตน้ำนมไปโดยปริยาย ทำให้ลูกมันขาดสารอาหารที่เพียงพอ [22]
    • คุณควรให้นมจากขวดในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น เช่น ในกรณีที่ลูกสุนัขไม่แข็งแรงพอที่จะแย่งตัวอื่นดูดนมได้ อีกสาเหตุหนึ่งก็คือ กรณีที่แม่มันให้กำเนิดบุตรจำนวนมากเกินไป แล้วมีจำนวนลูกสุนัขจำนวนมากกว่าเต้านมที่มันมีอยู่
  4. พยายามวางอาหารและน้ำดื่มไว้ให้แม่มันเข้าถึงได้ง่ายๆ. เพราะแม่มันมักจะลังเลที่จะทิ้งลูกมันไปไกลๆ ดังนั้น จงทำให้มั่นใจว่า แม่มันจะเข้าถึงน้ำดื่มและอาหารได้ง่าย ตัวแม่บางตัวอาจจะไม่ยอมออกห่างจากกล่องเลยด้วยซ้ำในช่วง 2-3 วันแรก ในกรณีนี้ คุณอาจจะนำอาหารและน้ำมาวางไว้ในกล่องเลยก็ได้ [23]
    • ระหว่างนี้ ลูกสุนัขจะสามารถสังเกต เวลาที่แม่มันกำลังกินอาหาร
  5. ปกติแล้วลูกสุนัขจะดูดนมแม่อย่างเดียว ก็เพียงพอต่อสารอาหารที่ต้องการในช่วง 3-4 สัปดาห์แรกแล้ว ช่วงปลายๆ ระยะเวลาดังกล่าว มันก็จะเริ่มสำรวจอาหารของแม่มันบ้าง ซึ่งเป็นพัฒนาการตามปกติในช่วงอายุนี้ มันไม่ถือว่าเป็นทารกอีกต่อไปแล้ว [24]
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 6:

การดูแลลูกสุนัขกำพร้า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากคุณต้องทำคลอดลูกสุนัข พยายามเตรียมตัวไว้ว่า คุณต้องเจองานหนักและการจดจ่ออย่างละสายตาไม่ได้ โดยเฉพาะในช่วง 2 สัปดาห์แรกของมัน มันจำเป็นต้องได้รับการดูแล 24 ชั่วโมง [25]
    • คุณอาจจะต้องขาดจากงานของตัวเองมา เพื่อการนี้โดยเฉพาะด้วย เพราะว่ามันต้องการการดูแลแบบเฉพาะหน้าในตลอด 2 สัปดาห์แรก
    • คุณควรคำนึงถึงเรื่องนี้ไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะผสมพันธุ์แม่มันด้วย หากคุณไม่สามารถให้การดูแลได้อย่างใกล้ชิดแบบดังกล่าว ก็อย่าเพิ่งผสมพันธุ์แม่มัน
  2. หากลูกสุนัขของคุณเป็นลุกสุนัขกำพร้า คุณอาจต้องหาอาหารที่มาชดเชยน้ำนมแม่ ที่ดีที่สุดก็คือ ผลิตภัณฑ์ทดแทนนมแม่สุนัข ซึ่งมักจะมาในรูปของนมผง นำมาชงกับน้ำต้ม คล้ายๆ นมของเด็กทารกนั่นเอง [26]
    • ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวนี้มักจะมีขายตามคลินิกสัตวแพทย์ หรือไม่ก็ร้านสัตว์เลี้ยงใหญ่ๆ
    • อย่าใช้นมวัว นมแพะ หรือนมเด็กทารก เพราะมันไม่เหมาะสมกับลูกสุนัข
    • คุณอาจลองชงนมผงแบบหลากหลาย ผสมกับน้ำอุ่นไปชั่วคราวก่อน ในช่วงที่กำลังเลือกหานมทดแทนนมแม่ที่เหมาะสมที่สุดก็ได้ โดยใช้อัตราส่วนนมดังกล่าว 4 ส่วนต่อน้ำอุ่น 1 ส่วน ในการให้อาหารมัน
  3. ลูกสุนัขต้องการดูดทุกๆ 2 ชั่วโมง ซึ่งหมายความว่า คุณจะต้องให้นม 12 ครั้งในรอบ 24 ชั่วโมง
    • ทำตามคำแนะนำบนฉลากข้างผลิตภัณฑ์ เพื่อชงนมทดแทน ปกติแล้วนมผง 30 กรัม จะผสมน้ำอุ่น 105 มิลลิลิตร
  4. ลูกสุนัขที่หิวมักส่งเสียงดังหนวกหู มันจะครางและร้องโหยหา ซึ่งเป็นการเรียกแม่มันให้มาให้อาหาร ตามปกติ หากลูกสุนัขวิ่งไปวิ่งมาและส่งเสียงคราง หลังจากที่ไม่ได้กินภายใน 2-3 ชั่วโมงแล้ว แสดงว่ามันหิวและควรได้รับการให้นมแล้ว
    • ลักษณะสะดือของมันอาจจะบอกเงื่อนงำบางอย่างได้ เพราะปกติลูกสุนัขจะมีไขมันในร่างกายน้อยอยู่แล้ว ดังนั้น เมื่อท้องมันว่าง สะดือของมันจะหดและโบ๋ลงไปเล็กน้อย หากมันยังอิ่มอยู่ ท้องของมันก็จะพองหนา [27]
  5. ใช้ขวดและจุกนมที่ออกแบบมาสำหรับลูกสุนัขโดยเฉพาะ. จุกนมที่ออกแบบสำหรับลุกสุนัข จะมีความนุ่มกว่าจุกนมของทารก คุณสามารถหาซื้อได้ตามร้านคลินิกสัตวแพทย์ และร้านสัตว์เลี้ยงใหญ่ๆ
    • ในกรณีฉุกเฉิน คุณอาจใช้ขวดยาหยอดตาในการให้นมลูกสุนัขแทนได้ อย่างไรก็ตาม วิธีการแบบนี้ควรหลีกเลี่ยง เพราะอาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงในการทำให้ท้องมันอืด เพราะดูดอากาศเข้าไปมากเกินไป จะทำให้ท้องมันบวมและเจ็บปวด [28]
  6. ปล่อยให้ลูกสุนัขกินไปจนกว่ามันจะหยุดกินเอง. อ่านคำแนะนำบนกล่องผลิตภัณฑ์นม เพื่อกำหนดว่าควรให้นมลุกสุนัขในปริมาณเท่าไร โดยทั่วไปแล้ว หลักการที่ดีก็คือว่า ควรปล่อยให้ลูกสุนัขกินไปจนกว่ามันจะอิ่มนั่นเอง เมื่อมันไม่หิวแล้ว มันจะหยุดกินเอง [29]
    • เมื่อลูกสุนัขกินเสร็จ มันมักจะนอนหลับ และตื่นมาขอมื้อต่อไปเมื่อมันเริ่มรู้สึกหิวอีกครั้ง ซึ่งปกติแล้ว จะประมาณ 2-3 ชั่วโมงหลังจากนั้น
  7. ควรเช็ดหน้าลูกสุนัขทุกครั้งหลังจากที่มันกินอิ่ม. เมื่อมันกินเสร็จแล้ว พยายามเอาผ้าฝ้ายชุบน้ำอุ่นมาเช็ดหน้ามัน ซึ่งเป็นคล้ายการเลียนแบบวิธีที่แม่สุนัขเลียเพื่อทำความสะอาดหน้าพวกมัน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อทางผิวหนัง [30]
  8. กำจัดเชื้อให้อุปกรณ์ให้นม.ล้างอุปกรณ์ทุกอย่างที่คุณใช้ในการให้นมลูกสุนัข และฆ่าเชื้ออีกครั้งด้วย ใช้ยาฆ่าเชื้อแบบเหลวที่ออกแบบมาสำหรับผลิตภัณฑ์เด็ก หรือเครื่องอบไอน้ำฆ่าเชื้อ [31]
    • นอกจากนี้คุณยังอาจจะต้มอุปกรณ์เหล่านั้นในน้ำเดือดด้วย
  9. เช็ดบริเวณก้นลูกสุนัขก่อนและหลังการให้อาหาร. ลูกสุนัขเกิดใหม่จะไม่ฉี่หรืออึตามธรรมชาติของมันเอง แต่จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้น ปกติแล้วแม่ของมันจะทำหน้าที่นี้ ด้วยการเลียบริเวณจุดพีเรียนัลของลูกสุนัข ซึ่งอยู่บริเวณใต้หาง แถวๆ บริเวณรูก้นของมันนั่นเอง ซึ่งแม่มันมักเลียทั้งก่อนและหลังให้อาหารลูก
    • เช็ดบริเวณดังกล่าวด้วยผ้าฝ้ายบิดในน้ำอุ่นหมาด ทั้งก่อนและหลังการให้อาหาร ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้มันฉี่และอึ คุณควร รอเช็ดหากมันเกิดขับถ่ายออกมาด้วย [32]
  10. เริ่มให้อาหารห่างเวลาขึ้นเมื่อครบอายุ 3 สัปดาห์. ในขณะที่ลูกสุนัขเติบโตขึ้น ท้องมันจะใหญ่ขึ้นด้วย และสามารถจุอาหารได้มากกว่าเดิม ดังนั้น ในช่วงสัปดาห์ที่ 3 เป็นต้นไป คุณควรเริ่มให้อาหารทุกๆ 4 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น
  11. คอยสำรวจให้อุณหภูมิร่างกายของมันอุ่นเพียงพอ. พยายามหมั่นใช้มือสัมผัสร่างกายของลูกสุนัข ลูกสุนัขที่เยือกเย็น แช่แข็ง จะตัวเย็นๆ หรือทำให้มือคุณรู้สึกเย็น มันอาจจะไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองและนิ่งเฉยด้วย ส่วนลูกสุนัขที่อุณหภูมิร้อนเกินไปก็จะมี หูและลิ้นแดง และมันยังอาจจะบิดตัวดิ้นงอไปมา ซึ่งเป็นการพยายามของมันที่จะหนีห่างจากบริเวณที่ร้อนๆ นั้น
    • อุณหภูมิที่เหมาะสมของลูกสุนัขเกิดใหม่ ควรจะอยู่ระหว่าง 34-37 องศาเซลเซียส ซึ่งมักจะเพิ่มขึ้นเป็น 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป เมื่อครบสองสัปดาห์ แต่คุณไม่จำเป็นต้องวัดอุณหภูมิลูกสุนัขด้วยเทอร์โมมิเตอร์ก็ได้ หากมีอะไรสงสัย คุณควรปรึกษาสัตวแพทย์
    • หากคุณเลือกใช้โคมฟักไข่ ในการทำคลอด ต้องพยายามเช็คอยู่เสมอว่า ลูกสุนัขไม่มีสะเก็ดหรือผื่นแดง ถ้ามีให้เอาโคมออกทันที [33]
  12. ลูกสุนัขเกิดใหม่ ไม่สามารถที่จะปรับสมดุลอุณหภูมิในร่างกายเองได้ พวกมันมักจะหนาวสั่น หากแม่ของมันไม่อยู่ คุณจำเป็นที่จะต้องดูแลเรื่องความอบอุ่นของมันด้วย [34]
    • ปรับอุณหภูมิของห้องให้เหมาะสม ระดับที่ทำให้คุณรู้สึกสบายในเวลาสวมเสื้อยืดและกางเกงขาสั้น
    • หาตัวช่วยทำความอุ่นมาให้มันเพิ่มเติม โดยคุณอาจจะใช้แผ่นทำความร้อนวางเอาไว้ใต้ที่นอนมัน ปรับอุณหภูมิไปที่ความร้อนต่ำ (Low) เพื่อหลีกเลี่ยงการทำให้มันร้อนเกินไป เพราะลูกสุนัขจะไม่สามารถหนีจากบริเวณดังกล่าวได้เองหากมันร้อนเกินไป [35]
    โฆษณา
วิธีการ 6
วิธีการ 6 ของ 6:

การดูแลสุขภาพลูกสุนัขวัยหนุ่ม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้ยากำจัดพยาธิหลังจากลูกสุนัขอายุ 2 สัปดาห์. สุนัขมักมีพยาธิหรือเชื้อปรสิตอื่นๆ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ ดังนั้น เราขอแนะนำให้คุณให้ยาฆ่าพยาธิทันที ที่ลูกสุนัขอายุมากพอ ในเรื่องของผลิตภัณฑ์หรือยี่ห้อของยานั้น ก็จะไม่มีคำแนะนำใดๆ อย่างไรก็ตาม ยายี่ห้อ Panacur ซึ่งมีตัวยาเฟนเบนดาโซล ก็เหมาะสมสำหรับลูกสุนัขตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไป
    • Panacur เป็นยากำจัดพยาธิในรูปแบบยาน้ำ ซึ่งสามารถฉีดทางหลอดเข้าปากของลูกสุนัขได้ หลังจากมันดูดนมเสร็จแล้ว โดยดูจากปริมาณน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อการให้ยา 2 มิลลิลิตรต่อวัน ซึ่งคุณควรให้วันละครั้ง เป็นเวลา 3 วันติดกัน
  2. รอให้ลุกสุนัขมีอายุ 6 สัปดาห์ขึ้นไป ก่อนให้ยาป้องกันเห็บหมัด. เพราะไม่มียากำจัดเห็บ หมัด ชนิดใดที่เหมาะสมสำหรับลูกสุนัขเกิดใหม่ ส่วนใหญ่แล้ว ยาประเภทนี้จะมีการกำหนดน้ำหนักและอายุขั้นต่ำเอาไว้เสมอ
    • ลูกสุนัขควรจะมีอายุอย่างน้อย 6 สัปดาห์ก่อนที่คุณจะให้ตัวยาเซลาเมกติน (หากมาจากอังกฤษ จะชื่อยี่ห้อ Stronghold แต่หากนำเข้ามาจากอเมริกา ใช้ชื่อว่า Revolution) [36]
    • ลูกสุนัขควรจะมีอายุ 8 เดือนหรือน้ำหนักมากกว่า 2 กิโลกรัมเป็นอย่างน้อย ก่อนที่คุณจะให้ตัวยาพรีโพนิว (Frontline) [37]
  3. เริ่มให้วัคซีนแก่ลูกสุนัขได้ตั้งแต่อายุ 6 สัปดาห์ขึ้นไป. ปกติแล้วลุกสุนัขจะได้ภูมิต้านทานจากแม่มันมาในระดับหนึ่งอยู่แล้ว แต่มันต้องการภูมิคุ้มกันเพิ่มอีก เพื่อจะทำให้สุขภาพแข็งแรงอยู่เสมอ ลองปรึกษาสัตวแพทย์สำหรับตารางการให้วัคซีนหรือยาเพิ่มภูมิต้านทานแก่มัน
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อย่าอุ้มลูกสุนัขเกิดใหม่ จนกว่าตาของมันจะเปิดและมันเริ่มเดินได้บ้างแล้ว เพราะไม่งั้นแม่มันอาจเล่นงานคุณได้
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. The Book of the Bitch. Evans & Kay. Publisher: Henston
  2. The Book of the Bitch. Evans & Kay. Publisher: Henston
  3. The Book of the Bitch. Evans & Kay. Publisher: Henston
  4. The Book of the Bitch. Evans & Kay. Publisher: Henston
  5. The Book of the dog. Evans & Kay. Publisher: Henston
  6. The Book of the Bitch. Evans & Kay. Publisher: Henston
  7. The Book of the dog. Evans & Kay. Publisher: Henston
  8. Reproduction in the Dog and Cat. Christiansen. Publisher Bailliere Tindall
  9. Reproduction in the Dog and Cat. Christiansen. Publisher Bailliere Tindall
  1. The Book of the Bitch. Evans & Kay. Publisher: Henston
  2. The Book of the Bitch. Evans & Kay. Publisher: Henston
  3. Reproduction in the Dog and Cat. Christiansen. Publisher Bailliere Tindall
  4. The Book of the Bitch. Evans & Kay. Publisher: Henston
  5. The Book of the Bitch. Evans & Kay. Publisher: Henston
  6. The Book of the Bitch. Evans & Kay. Publisher: Henston
  7. The Book of the Bitch. Evans & Kay. Publisher: Henston
  8. Reproduction in the Dog and Cat. Christiansen. Publisher Bailliere Tindall
  9. Reproduction in the Dog and Cat. Christiansen. Publisher Bailliere Tindall
  10. The Book of the Bitch. Evans & Kay. Publisher: Henston
  11. The Book of the Bitch. Evans & Kay. Publisher: Henston
  12. The Book of the Bitch. Evans & Kay. Publisher: Henston
  13. The Book of the Bitch. Evans & Kay. Publisher: Henston
  14. The Book of the Bitch. Evans & Kay. Publisher: Henston
  15. The Book of the Bitch. Evans & Kay. Publisher: Henston
  16. Reproduction in the Dog and Cat. Christiansen. Publisher Bailliere Tindall
  17. The Book of the Bitch. Evans & Kay. Publisher: Henston
  18. The Book of the Bitch. Evans & Kay. Publisher: Henston
  19. The Book of the Bitch. Evans & Kay. Publisher: Henston
  20. The Book of the Bitch. Evans & Kay. Publisher: Henston
  21. The Book of the Bitch. Evans & Kay. Publisher: Henston
  22. The Book of the Bitch. Evans & Kay. Publisher: Henston
  23. Reproduction in the Dog and Cat. Christiansen. Publisher Bailliere Tindall
  24. The Book of the Bitch. Evans & Kay. Publisher: Henston
  25. The Book of the Bitch. Evans & Kay. Publisher: Henston
  26. The Book of the Bitch. Evans & Kay. Publisher: Henston
  27. http://www.noahcompendium.co.uk/Pfizer_Limited/Stronghold_Spot-On_Solution_for_Cats_ACY-amp_ADs-_Dogs/-31090.html
  28. http://www.noahcompendium.co.uk/Chanelle_Animal_Health_Limited/Fipnil_Spot-on_Solution_for_Dogs/-60579.html

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 27,203 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา