ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การเจาะร่างกายเป็นเรื่องที่ดูน่าตื่นเต้นสำหรับใครหลายคนอยู่เสมอ อย่างไรก็ตาม การเจาะร่างกายอาจกลับกลายเป็นฝันร้ายได้เมื่อบริเวณรูเจาะเริ่มเกิดการติดเชื้อหลังเพิ่งเจาะมาเพียงไม่นาน รูเจาะจมูกของหลายคนอาจมีแนวโน้มในการเกิดการติดเชื้อมากกว่าคนอื่นๆ แต่ด้วยวิธีการง่ายๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน ไม่ว่าใครก็สามารถป้องกันรูเจาะจมูกในช่วงฟื้นฟูให้ห่างไกลจากการติดเชื้อได้อย่างง่ายดาย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

สมานแผลให้หายดี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เป็นที่ทราบกันดีในหมู่ผู้ที่นิยมการดัดแปลงส่วนต่างๆ ในร่างกายหรือ Body modification ว่าการเจาะร่างกายสามารถทำได้ทั้งแบบถูกวิธีและผิดวิธี ดังนั้นคุณจึงควรใช้เวลาและความพยายามสักนิดเพื่อค้นหาร้านเจาะร่างกายที่มีชื่อเสียงในทางที่ดีพร้อมช่างเจาะร่างกายมากประสบการณ์เพื่อให้รูเจาะจมูกของคุณมีโอกาสที่จะหายดีได้อย่างรวดเร็วและไม่มีอาการผิดปกติใดๆ นอกจากนี้ ช่างเจาะที่มีความเชี่ยวชาญยังสามารถให้คำแนะนำกับคุณได้อย่างเป็นมืออาชีพเพื่อให้คุณสามารถดูแลรักษารูเจาะจมูกของคุณได้ด้วยตัวเองที่บ้าน สิ่งสำคัญที่คุณไม่ควรมองข้ามเพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้รับการเจาะจมูกด้วยวิธีที่เหมาะสมมีดังต่อไปนี้:
    • เจาะจมูกด้วยเข็มกลวง ช่างเจาะร่างกายมืออาชีพจะเลือกใช้เข็มกลวงในการเจาะจมูกเพื่อให้ถูกสุขอนามัยและสามารถควบคุมการเจาะได้ง่ายกว่า จึงทำให้รูเจาะจมูกของคุณมีความตรงและอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมทั้งยังหายดีได้อย่างรวดเร็ว [1]
    • หลีกเลี่ยงการใช้ปืนในการเจาะจมูก การใช้ปืนเจาะร่างกายมักก่อให้เกิดอาการเจ็บได้มากกว่าและไม่นิยมใช้ในการเจาะจมูกเท่าไรนักเนื่องจากความแม่นยำที่น้อยกว่า นอกจากนี้ เนื่องจากปืนเจาะร่างกายสามารถทำความสะอาดได้ค่อนข้างยาก จึงอาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อผ่านทางเลือดได้ง่ายขึ้น [2]
  2. ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ต้านเชื้อแบคทีเรียทุกครั้งก่อนสัมผัสรูเจาะจมูกของคุณ จำไว้ว่าผิวหน้าของคุณมีการผลิตน้ำมันออกมาอยู่ตลอดเวลา และน้ำมันเหล่านี้รวมถึงสารคัดหลังจากรูเจาะจมูกใหม่ (ของเหลวใสๆ หรืออาจเป็นเลือดในบางครั้ง) และสิ่งสกปรกบนมือของคุณล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุในการเกิดการติดเชื้อ
  3. หลังจากที่เจาะจมูกมาแล้ว คุณควรสวมจิวจมูกไว้อย่างน้อย 6-8 สัปดาห์ซึ่งเป็นระยะเวลาฟื้นฟูของแผลเจาะจมูกโดยทั่วไป โดยคุณจะสามารถถอดจิวจมูกออกได้เฉพาะเมื่อขนาดหรือวัสดุของจิวจมูกมีความไม่เหมาะสมเพื่อเปลี่ยนไปใส่อันใหม่แทน [3]
    • หากคุณต้องการเปลี่ยนจิวจมูกในระหว่างที่แผลอยู่ในช่วงฟื้นฟู (6-8 สัปดาห์หลังการเจาะ) ให้คุณขอความช่วยเหลือจากช่างเจาะร่างกายในการเปลี่ยนจิวจมูกให้กับคุณ
  4. พยายามทำความสะอาดรูเจาะจมูกใหม่ด้วยวิธีที่อ่อนโยนมากที่สุด เริ่มจากใช้สำลีก้อนหรือก้านสำลีชุบน้ำให้ชุ่มและเช็ดคราบต่างๆ ที่ก่อตัวขึ้นรอบรูเจาะจมูก หลายคนอาจเข้าใจว่าการทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์หรือเปอร์ออกไซด์สามารถช่วยในการฆ่าเซลล์เชื้อโรคได้อย่างหมดจด แต่เซลล์ที่ถูกฆ่าเหล่านี้ยังอาจรวมถึงเซลล์ที่ช่วยในการฟื้นฟูของแผลที่อยู่ตามด้านในหรือบนผิวของจมูก ดังนั้นคุณจึงต้อง งดการใช้สารเคมีที่รุนแรง โดยเด็ดขาด วิธีหนึ่งที่ง่ายดายและปลอดภัยที่สุดการใช้น้ำเกลือจากเกลือทะเลละลายในน้ำเปล่าซึ่งช่วยในการทำความสะอาดรูเจาะจมูกได้อย่างอ่อนโยนและมีประสิทธิภาพ เพียงจุ่มสำลีก้อนหรือก้านสำลีลงไปในน้ำเกลือแล้วเช็ดที่บริเวณรูเจาะจมูก หรือจะเติมน้ำเกลือลงไปชามใบใหญ่ขึ้นเพื่อแช่บริเวณรูเจาะจมูกลงไปในน้ำเกลือโดยตรงก็ได้เช่นกันโดยแช่ไว้ประมาณ 5-10 นาทีอย่างน้อยวันละครั้ง [4] จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาดเพื่อชะล้างน้ำเกลือที่เหลือตกค้างออกให้หมดจด คุณสามารถทำน้ำเกลือใช้เองได้ด้วยส่วนผสมเหล่านี้:
    • เกลือบริสุทธิ์ (ไม่มีไอโอดีน) ¼ ช้อนชา
    • น้ำกลั่นหรือน้ำบรรจุขวดที่อุ่น 1 ถ้วย (8 ออนซ์)
    เคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญ

    Jef Saunders

    ผู้เชี่ยวชาญด้านการเจาะร่างกาย
    เจฟ ซอนเดอร์สเป็นช่างเจาะมานานกว่า 20 ปี เขาเป็นผู้ประสานงานด้านการประชาสัมพันธ์ให้กับสมาคมช่างเจาะ (APP) องค์การระหว่างประเทศแบบไม่แสวงผลกำไรที่เน้นการให้ความรู้ในเรื่องความปลอดภัยของร่างกายและสุขภาพจากการเจาะแก่สาธารณชน เขายังสอนการเจาะให้กับ Fakir Intensives ในปี 2014 เจฟได้รับเลือกให้เป็นคณะกรรมการบริหารของช่างเจาะอาชีพ ส่วนปี 2015 เจฟได้รับรางวัลของประธาน APP จากไบรอัน สเกลลี่
    Jef Saunders
    ผู้เชี่ยวชาญด้านการเจาะร่างกาย

    ผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วยว่า: โดยส่วนใหญ่แล้วมักมีการแนะนำให้หมั่นล้างหรือเช็ดรูเจาะจมูกด้วยน้ำเกลือเป็นประจำ ซึ่งความถี่ในการทำความสะอาดรูเจาะหูสามารถขึ้นอยู่สภาพอากาศในพื้นที่ที่คุณอาศัยอยู่ กล่าวคือ สภาพอากาศที่ชื้นอาจส่งผลให้เกิดอาการบวมมากขึ้นและจำเป็นต้องทำความสะอาดบ่อยครั้งกว่า ในขณะที่สภาพอากาศที่แห้งอาจจำเป็นต้องจำกัดการทำความสะอาดลงเนื่องจากอาการบวมที่น้อยกว่า

  5. ในบางครั้งคุณอาจมองเห็นได้อย่างชัดเจนว่ารูเจาะจมูกเกิดการติดเชื้อ ในขณะที่บางทีการติดเชื้ออาจไม่สามารถสังเกตเห็นได้อย่างง่ายดายเท่าไรนัก ในช่วงแรกหลังจากที่คุณเพิ่งเจาะจมูกมาใหม่ๆ รูเจาะจมูกของคุณอาจมีเลือดออกเล็กน้อย มีอาการบวมรอบๆ บริเวณรูเจาะ ไวต่อสัมผัสเป็นพิเศษ มีรอยฟกช้ำ เกิดการระคายเคืองและคัน หรือมีของเหลวสีเหลืองออกขาว (ซึ่งไม่ใช่หนอง) ไหลออกมาจากรูเจาะ โดยของเหลวดังกล่าวจะก่อให้เกิดคราบที่รอบๆ จิวเจาะหูได้ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ตามปกติและไม่เป็นอันตรายใดๆ การทราบความแตกต่างระหว่างผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นตามปกติหลังการเจาะจมูกและผลข้างเคียงจากการติดเชื้อจะช่วยให้คุณสามารถรักษาการติดเชื้อได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น โดยสัญญาณทั่วไปที่บ่งบอกว่ารูเจาะจมูกของคุณกำลังเกิดการติดเชื้อได้แก่:
    • มีอาการคันและ/หรือรอยแดงเรื้อรังที่ยังคงไม่หายดีหลังผ่านช่วงฟื้นฟูของแผลเจาะจมูกตามปกติ
    • มีอาการปวดและกดเจ็บเรื้อรังที่ยังคงไม่หายดีหลังผ่านช่วงฟื้นฟูของแผลเจาะจมูกตามปกติ
    • มีอาการแสบร้อน
    • มีของเหลวสีเหลืองอมเขียว เช่น หนองหรือเลือด ไหลซึมออกมาจากรูเจาะจมูก
    • มีกลิ่นเหม็นที่บริเวณรูเจาะจมูก [5]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

รักษาการติดเชื้อ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เนื่องจากการติดเชื้อและปฏิกิริยาการแพ้มีอาการต่างๆ ที่ดูคล้ายคลึงกัน ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดที่คุณจะสามารถบอกสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้นได้คือการทราบลักษณะความแตกต่างระหว่างการติดเชื้อและปฏิกิริยาการแพ้ โดยปฏิกิริยาการแพ้จะมีความแตกต่างจากการติดเชื้อตรงที่ปฏิกิริยาการแพ้จะแสดงสัญญาณต่างๆ อย่างเช่น มีอาการแสบร้อนอย่างรุนแรง รูเจาะจมูกขยายใหญ่ขึ้นจากเดิม (ราวกับว่าผิวหนังพยายามเคลื่อนตัวออกจากก้านโลหะของจิวจมูก) และมีของเหลวสีเหลืองใสๆ ไหลออกมาแทนที่จะเป็นของเหลวสีเหลืองอมเขียว หากคุณสงสัยว่ารูเจาะจมูกของคุณกำลังเกิดปฏิกิริยาการแพ้ คุณควรปรึกษาช่างเจาะของคุณเพื่อทำการเปลี่ยนจิวจมูกโดยทันทีก่อนไปพบแพทย์เพื่อรักษาอาการที่เกิดขึ้น
    • จำไว้ว่าโลหะบางชนิดมักก่อให้เกิดปฏิกิริยาการแพ้ ดังนั้นคุณจึงควรเลือกจิวจมูกคุณภาพสูงที่ทำจากสแตนเลสเกรดเครื่องมือแพทย์ ไทเทเนียม ทองคำขาว ไนโอเบียม และทองตั้งแต่ 14K ขึ้นไป [6]
  2. การทำความสะอาดรูเจาะจมูกด้วยสบู่และน้ำเปล่าหรือน้ำเกลือสามารถช่วยชำละล้างแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อให้หมดไป การติดเชื้อที่รูเจาะจมูกสามารถเกิดขึ้นได้จากสาเหตุหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการรับเชื้อโรคจากภายนอก (แบคทีเรียหรือเชื้อรา) เข้าสู่แผล การสวมจิวจมูกที่คับแน่นจนเกินไป หรือการใช้ชีวิตประจำวันแบบไม่ถูกสุขลักษณะ ด้วยเหตุนี้คุณจึงควรหมั่นทำความสะอาดรูเจาะจมูกของคุณเป็นประจำจนกระทั่งแผลหายสนิท (โดยทั่วไปมักใช้เวลา 6-8 สัปดาห์หลังการเจาะ)
  3. หากการติดเชื้อของคุณไม่ได้ดูมีอาการรุนแรงมากนัก คุณสามารถลองรักษาด้วยตัวเองที่บ้านดูสักพักก่อนตัดสินใจไปพบแพทย์ด้วยวิธีการต่างๆ อย่างเช่น:
    • ประคบอุ่นด้วยน้ำเกลือ เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดตรงบริเวณที่เกิดการติดเชื้อ (เนื่องจากปริมาณเลือดที่มากขึ้นส่งผลต่อการเพิ่มจำนวนเซลล์ที่ช่วยต่อต้านการอักเสบ) ซึ่งจะช่วยให้การติดเชื้อหายดีได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น [7]
    • ประคบเย็น เพื่อลดอาการบวม ปวด หรือเจ็บที่บริเวณใกล้กับรูเจาะจมูกที่เกิดการติดเชื้อ รวมถึงช่วยลดการฟกช้ำเช่นเดียวกับเมื่อคุณประคบเย็นเมื่อเข่าของคุณเกิดไปกระแทกที่มุมโต๊ะ อย่างไรก็ตาม ห้ามนำน้ำแข็งประคบลงไปบนผิวตรงบริเวณรูเจาะจมูกโดยตรงโดยเด็ดขาด เนื่องจากการสัมผัสน้ำแข็งโดยตรงอาจทำให้ผิวหนังถูกทำลายได้ โดยคุณควรใช้กระดาษอเนกประสงค์หรือผ้าประเภทใดก็ได้พันรอบน้ำแข็งให้เรียบร้อยทุกครั้งก่อนนำไปประคบบนผิวตรงบริเวณรูเจาะจมูก [8]
    • ประคบด้วยถุงชาคาร์โมมายล์ แช่ถุงชาคาร์โมมายล์ในน้ำอุ่นและรอประมาณ 20 นาที จากนั้นประคบตรงบริเวณรูเจาะจมูกของคุณและทิ้งไว้นาน 10 นาทีหรือจนกระทั่งถุงชาเย็นลง เมื่อถุงชาเริ่มเย็นลง ให้คุณจุ่มถุงชากลับลงไปในน้ำอุ่นอีกครั้งก่อนนำมาประคบไว้ดังเดิม [9]
    • พอกด้วยแอสไพรินผสมน้ำเปล่า ใส่ยาแอสไพริน (ประมาณ 4-6 เม็ด) ลงไปในแก้วที่บรรจุน้ำเปล่าเพียงเล็กน้อยและทิ้งไว้สักพักเพื่อให้ยาละลายในน้ำจนมีเนื้อสัมผัสที่ข้น จากนั้นพอกลงไปตรงบริเวณที่เกิดการติดเชื้อก่อนเข้านอนเป็นประจำทุกคืนและหมั่นสังเกตดูอย่างต่อเนื่องว่าอาการดีขึ้นแล้วหรือไม่ เนื่องจากยาแอสไอรินมีคุณสมบัติในการต้านการอักเสบ จึงสามารถช่วยลดอาการบวมและบรรเทาการอักเสบโดยแทบไม่เสี่ยงต่อการเกิดการระคายเคือง และในขณะเดียวกันยังไม่ส่งผลให้เกิดการขัดขวางการระบายของของเหลวจากรูเจาะจมูกอีกด้วย [10]
  4. นอกเหนือจากการหลีกเลี่ยงการใช้สารทำความสะอาดที่รุนแรงในการทำความสะอาดรูเจาะจมูกตามปกติแล้ว คุณยังควรระมัดระวังมากเป็นพิเศษเมื่อเลือกใช้สารฆ่าเชื้อในการรักษารูเจาะจมูกที่เกิดการติดเชื้อ โดยพยายามหลีกเลี่ยงการใช้แอลกอฮอล์ น้ำมันทีทรี เบตาดีน ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และเมธิลแอลกอฮอล์ ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดรอยแผลเป็นหรือตุ่มนูนรอบๆ รูเจาะจมูกที่เกิดการติดเชื้อ [11]
    • ความรุนแรงของสารเคมีที่ประกอบในสารฆ่าเชื้อเหล่านี้ยังส่งผลให้เกิดอาการแสบร้อนจนทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัว ทั้งยังฆ่าเซลล์ดีต่างๆ ที่มีส่วนช่วยในการต่อต้านการติดเชื้ออีกด้วย
    • นอกจากนี้ ยาทาฆ่าเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ ยังอาจขัดขวางการระบายอากาศไม่ให้สัมผัสถูกบริเวณที่เกิดการติดเชื้อจนส่งผลให้การติดเชื้อหายดีได้ช้าลง ดังนั้นหากจำเป็นต้องใช้ยาทาดังกล่าว ให้คุณใช้ในปริมาณที่จำกัด [12]
  5. หากการติดเชื้อของคุณยังคงไม่หายดีหรือทุเลาลงหลังเวลาผ่านไปแล้วสักพัก (ไม่ควรเกิน 1 สัปดาห์) คุณอาจจำเป็นต้องให้แพทย์เป็นผู้ทำหน้าที่รักษาในลำดับต่อไป การปรึกษาแพทย์ผิวหนังหรือแพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะทางถือเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดเมื่อการติดเชื้อของคุณไม่สามารถรักษาให้หายดีเองได้ อย่างไรก็ตาม หากค่าใช้จ่ายในการเข้ารับการรักษาพยาบาลค่อนข้างสูงเกินไปสำหรับคุณ คุณอาจเลือกปรึกษาช่างเจาะที่ทำการเจาะจมูกให้กับคุณแทนได้เช่นกัน [13]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ดูแลอย่างถูกวิธี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สวมใส่และถอดเสื้อผ้าด้วยความระมัดระวังอยู่เสมอเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เสื้อผ้าเกิดไปเกี่ยวถูกจิวเจาะจมูกจนก่อให้เกิดความเจ็บปวดอย่างรุนแรงขึ้นมา โดยให้เวลาตัวเองในการแต่งตัวเพิ่มขึ้นสักเล็กน้อยเพื่อให้คุณสามารถเปลี่ยนเสื้อผ้าได้อย่างไม่รีบร้อนและสามารถขยับตัวได้อย่างระมัดระวังเพื่อป้องกันไม่ให้เสื้อผ้าเกี่ยวถูกจิวเจาะจมูก
    • หลายคนใช้วิธีนอนตะแคงในด้านตรงข้ามกับด้านที่มีรูเจาะจมูกหรือหนุนด้วยหมอนรองคอเพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสที่รูเจาะจมูกในขณะหลับ
  2. ในช่วงการสมานตัวของแผล คุณควรงดการใช้โลชั่น เครื่องสำอาง หรือผลิตภัณฑ์ล้างหน้าซึ่งอาจเข้าไปสะสมและอุดตันในรูเจาะจมูกได้ หรือหากคุณไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้จนเกิดการตกค้างที่บริเวณรูเจาะจมูกของคุณ ให้คุณล้างออกให้สะอาดหมดจดด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ
  3. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับน้ำที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ. แหล่งน้ำบางประเภท เช่น ทะเลสาบ สระว่ายน้ำทั้งแบบสาธารณะและแบบส่วนตัว และอ่างน้ำร้อน ล้วนเป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยสารปนเปื้อนที่อาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อที่รูเจาะจมูกใหม่ของคุณได้ หากคุณจำเป็นต้องลงไปในแหล่งน้ำที่ไม่สะอาดเหล่านี้ ให้คุณเตรียมพลาสเตอร์ยาแบบกันน้ำที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปและปิดทับตรงบริเวณรูเจาะจมูกให้แนบสนิท [14]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ในขณะอาบน้ำจากฝักบัว พยายามให้น้ำอุ่นไหลผ่านจมูกเพื่อช่วยในการ "ชะล้าง" แบคทีเรียตามบริเวณรูเจาะจมูกให้หมดไป
  • นอนให้ศีรษะยกสูงเพื่อลดอาการบวม
  • จำไว้ว่าส่วนผสมที่มีความเข้มข้นสูงไม่จำเป็นต้องดีกว่าเสมอไป ยกตัวอย่างเช่น การเลือกใช้น้ำเกลือสูตรเข้มข้นอาจส่งผลเกิดการระคายเคืองที่บริเวณรูเจาะจมูกได้
  • ห้ามใช้ครีมที่มีเนื้อสัมผัสที่เหนียวข้นโดยเด็ดขาดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการอุดตันในรูเจาะจมูก
  • น้ำมันวิตามินอีมีส่วนช่วยในการลดเลือนรอยแผลเป็นและตุ่มนูนและสามารถซึมเข้าสู่ผิวได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
  • ใช้เสื้อยืดที่สะอาดและมีขนาดใหญ่สวมคลุมหมอนไว้และกลับด้านใหม่ทุกๆ คืน โดยเสื้อยืดตัวหนึ่งจะสามารถกลับด้านที่สะอาดได้ทั้งหมด 4 ด้าน
โฆษณา

คำเตือน

  • หากคุณมีผิวที่บอบบางและแพ้ง่าย คุณอาจจำเป็นต้องทำความสะอาดรูเจาะจมูกไม่เกินวันละ 2-3 ครั้งเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการระคายเคืองได้
  • ห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีปิโตรเลียมเป็นส่วนประกอบหลัก เช่น ยา Neosporin โดยเด็ดขาด รวมถึงหลีกเลี่ยงการใช้แอลกอฮอล์ เปอร์ออกไซด์ หรือไอโอดีนกับรูเจาะจมูกของคุณด้วยเช่นกัน
  • การติดเชื้อที่บริเวณรูเจาะจมูกอาจมีความรุนแรงมากพอจนสามารถนำไปสู่โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือการเกิดฝีในสมองได้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,316 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา