ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ชอบจิวเจาะจมูกที่เพิ่งไปเจาะมาใช่ไหม แต่ช้าก่อน...นี่มันตุ่มอะไรกัน? ตุ่มนูนรอบๆ รูเจาะจมูกใหม่ถือเป็นเรื่องปกติและเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การใช้มือสัมผัส การเผลอชนถูกเมื่อสวมใส่หรือถอดเสื้อ หรือการนอนทับ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วตุ่มนูนจะหายดีเองได้ภายในระยะเวลาไม่กี่วัน เพื่อเป็นการเร่งกระบวนการซ่อมแซมให้หายดีได้อย่างรวดเร็ว คุณสามารถรักษาตุ่มนูนรอบๆ รูเจาะจมูกได้ด้วยผลิตภัณฑ์ดูแลรูเจาะร่างกายที่ช่างเจาะจัดเตรียมให้กับคุณอย่างสครับเกลือทะเล

สิ่งที่คุณควรรู้

  • ทำความสะอาดรูที่เจาะเป็นประจำด้วยสารละลายน้ำเกลือ ก่อนแตะรูที่เจาะก็ต้องล้างมือก่อนทุกครั้ง
  • ใช้การประคบอุ่นหลายครั้งต่อวันเป็นเร่งการเยียวยา
  • ทายาพอกแอสไพรินหรือน้ำมันทีทรีเจือจางเพื่อช่วยจมูกรักษาตุ่มนูนจากการเจาะ
  • หลีกเลี่ยงการแตะรูเจาะเท่าที่จะทำได้เพื่อลดการระคายเคือง
วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

รักษาตุ่มนูนด้วยผลิตภัณฑ์ที่หาซื้อได้ทั่วไป

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ยาต้านการอักเสบที่หาซื้อได้ทั่วไปโดยไม่ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์มีคุณสมบัติในการรักษาอาการบวมรอบๆ รูเจาะจมูกซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดตุ่มนูน ลองทานยาต้านการอักเสบอย่างไอบูโพรเฟนหากอาการของคุณยังคงไม่หายดี [1]
    • หากคุณกำลังรับประทานยาตัวอื่นๆ ที่สั่งจ่ายโดยแพทย์หรือเภสัชกร อย่าลืมตรวจสอบกับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเริ่มต้นใช้ยาเพื่อให้แน่ใจว่ายาทั้งสองชนิดสามารถทานคู่กันได้โดยไม่เกิดปฏิกิริยาใดๆ ระหว่างกัน
  2. ใช้น้ำเกลือสำหรับทำความสะอาดรูเจาะจมูกที่ช่างเจาะให้คุณนำกลับบ้าน หรือคุณสามารถทำน้ำเกลือใช้เองได้โดยการผสมเกลือ 8 ช้อนชาเข้ากับน้ำอุ่น 1 ถ้วย เริ่มจากรินน้ำเกลือใส่แก้วที่เตรียมไว้ จากนั้นเอียงหัวไปทางด้านข้างและจุ่มครึ่งหนึ่งของจมูกในด้านที่มีรูเจาะลงไปในน้ำเกลือทิ้งไว้ประมาณ 15-20 นาที นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้วิธีที่สะดวกสบายกว่าอย่างการจุ่มสำลีก้อนลงไปในน้ำเกลือและนำไปประคบตรงบริเวณรูเจาะจมูกนาน 15-20 นาที หมั่นแช่รูเจาะจมูกในน้ำเกลืออยู่เป็นประจำเพื่อลดอาการบวมและกำจัดตุ่มนูนรอบๆ รูเจาะจมูกให้หายไป [2]
    • ช่างเจาะอาจให้น้ำเกลือสำหรับทำความสะอาดแก่คุณหลังเจาะเสร็จ
    • ล้างมือก่อนสัมผัสรูที่เจาะเพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อใหม่
  3. ยาทาคอร์ติโซนที่วางขายตามร้านขายยาทั่วไปมีคุณสมบัติในการลดอาการบวมที่ส่งผลทำให้เกิดตุ่มนูนรอบๆ รูเจาะจมูก โดยทายาที่บริเวณรอบๆ รูเจาะจมูกของคุณเพื่อบรรเทาอาการบวมที่เกิดขึ้น [3]
    • อ่านฉลากยาอย่างละเอียดเพื่อให้แน่ใจว่าคุณใช้ยาทาคอร์ติโซนในปริมาณที่เหมาะสม
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

รักษาตุ่มนูนด้วยผลิตภัณฑ์ที่หาได้ในบ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เติมน้ำเปล่าลงไปในขวดยาแอสไพรินจนกระทั่งแอสไพรินละลายในน้ำและมีเนื้อที่ข้น จากนั้นพอกทิ้งไว้บนตุ่มนูนรอบๆ รูเจาะจมูกทิ้งไว้ข้ามคืนก่อนล้างออกให้สะอาดในตอนเช้า ทำเช่นนี้เป็นประจำทุกคืน
    • ทำความสะอาดรูเจาะจมูกตามปกติทั้งก่อนและหลังการพอกแอสไพรินผสมน้ำ
    • ระดับความแรงของแอสไพรินที่เลือกใช้ไม่ใช่เรื่องสำคัญเท่าไรนัก อย่างไรก็ตาม แอสไพรินที่ออกฤทธิ์แรงกว่าอาจมีประสิทธิภาพในการรักษาที่มากขึ้น
    • ยาพอกแอสไพรินอาจเป็นสูตรที่ได้ผล แต่ช่างเจาะส่วนใหญ่ไม่แนะนำ [4] ถ้าคุณได้ใช้ไปแล้ว ให้ใช้แค่กับรูที่เจาะเพื่อเลี่ยงการชะลอเวลาฟื้นตัว
  2. แช่ถุงชาคาร์โมมายล์ในน้ำอุ่นสักพักเพื่อให้ใบชาชุ่มน้ำเล็กน้อย จากนั้นประคบลงไปบนตุ่มนูนรอบๆ รูเจาะจมูกทิ้งไว้ 10 นาที หากถุงชาเริ่มเย็นลงในระหว่างการประคบ ให้คุณจุ่มถุงชากลับลงไปในน้ำอุ่นอย่างรวดเร็วก่อนนำมาประคบซ้ำอีกครั้ง
  3. น้ำมันทีทรีเป็นสารฆ่าเชื้อโดยธรรมชาติที่อาจลดอาการอักเสบบวมลงได้ [5] ห้ามให้น้ำมันทีทรีสัมผัสกับผิวโดยตรงโดยเด็ดขาดเพราะอาจส่งผลให้เกิดผื่นคันและการระคายเคืองขึ้นมาได้ คุณจะต้องเจือจางให้เรียบร้อยก่อนโดยหยดน้ำมันทีทรี 2-3 หยดลงไปผสมกับน้ำมันตัวพา เช่น น้ำมันมะกอก ในปริมาณเล็กน้อย จากนั้นจุ่มสำลีก้อนลงไปและนำไปแตะที่บริเวณรอบๆ ตุ่มนูนเพื่อลดอาการบวม
    • หลายคนอาจมีอาการตอบสนองที่แย่ลงเมื่อรักษาด้วยน้ำมันทีทรี ดังนั้นให้คุณหยุดใช้วิธีนี้ทันทีเมื่อสังเกตเห็นผื่นคันหรืออาการข้างเคียงอื่นๆ ที่รุนแรง
  4. หาผ้าขนหนูแช่น้ำอุ่น มาประคบรูที่เจาะ ประคบไว้จนผ้าหายร้อน หรือราว 5 นาที ทำสัก 2-3 ครั้งต่อวันจนกว่าจะยุบบวม [6]
    • การประคบอุ่นกระตุ้นโลหิตไหลเวียน ซึ่งช่วยเร่งการรักษา
  5. ที่สุดแล้ว วิธีที่ดีที่สุดคือการรอ อย่าสัมผัสรูเจาะเว้นแต่เมื่อจำเป็น และล้สางมือก่อนทุกครั้ง ยิ่งไปทำให้มันระคายเคืองน้อยแค่ไหน ก็ยิ่งหายไวขึ้นเท่านั้น [7]
    • ตุ่มนูนส่วนใหญ่เกิดชั่วคราว แต่อาจต้องใช้เวลาสองสามสัปดาห์กว่าจะหายสนิท
    • อย่าเปลี่ยนจิวจนกว่าแผลจะหายสนิท การเปลี่ยนใหม่มีแต่จะทำให้ระคายเคือง
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

รับมือกับภาวะการติดเชื้อ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากรูเจาะจมูกของคุณเกิดการติดเชื้อขึ้นมา คุณควรไปพบแพทย์หรือปรึกษาช่างเจาะของคุณทันที รูเจาะจมูกของคุณอาจกำลังติดเชื้อหากคุณสังเกตเห็นอาการดังต่อไปนี้: [8]
    • ตุ่มนูนคล้ายสิวที่มีหัวหนองใกล้กับรูเจาะจมูก
    • ตุ่มนูนสีชมพูที่อ่อนนุ่ม
    • ตุ่มนูนที่แข็งเป็นพิเศษ
  2. หลายคนพยายามรักษาโดยการใช้เข็มหรืออุปกรณ์ปลายแหลมอื่นๆ ในการเจาะและระบายของเหลวในตุ่มนูนออกมา ซึ่งการเจาะตุ่มนูนออกด้วยตัวเองที่บ้านอาจส่งผลให้ภาวะการติดเชื้อมีอาการแย่ลงได้ ดังนั้นหากตุ่มนูนรอบๆ รูเจาะจมูกของคุณจำเป็นต้องเจาะเพื่อระบายของเหลวออก ให้คุณเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น [9]
    • แพทย์จะบอกวิธีการรักษาที่บ้านให้คุณได้
  3. เมื่อรูเจาะจมูกเกิดการติดเชื้อ สิ่งแรกที่หลายคนมักทำคือการถอดจิวจมูกออก อย่างไรก็ตาม ภาวะการติดเชื้อโดยส่วนใหญ่สามารถรักษาให้หายดีได้โดยที่คุณยังสวมจิวจมูกไว้ดังเดิม นอกจากนี้การถอดจิวจมูกออกยังสามารถก่อให้เกิดแผลเป็นหรือส่งผลให้ภาวะการติดเชื้อมีอาการแย่ลงได้อีกด้วย [10]
    • แพทย์อาจแนะนำให้ถอดจิวหากคุณแพ้โลหะที่เป็นสัตถุดิบของมัน อย่างไรก็ตาม อย่าถอดจิวเองจนกว่าจะได้รับคำแนะนำจากแพทย์
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 44,890 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา