ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คอมพิวเตอร์เป็นเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อน ประกอบด้วยชิ้นส่วนเล็กๆ เป็นจำนวนมากที่จำเป็นต้องทำงานอย่างราบรื่น พัดลมคอมพิวเตอร์เป็นชิ้นส่วนที่ขาดไม่ได้ในคอมพิวเตอร์ทุกชนิด เนื่องจากพัดลมมีหน้าที่ช่วยให้ชิ้นส่วนอื่นๆ มีลมเย็นไหลผ่านอยู่ตลอดเวลา หากคอมพิวเตอร์ของคุณมีอุณหภูมิร้อนเกินไป หรือหากคุณจำเป็นต้องเปลี่ยนพัดลมที่ใช้อยู่ การติดตั้งพัดลมตัวใหม่อาจช่วยลดอุณหภูมิลงและทำให้คอมพิวเตอร์ของคุณมีเสียงเบาลงอีกด้วย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

การซื้อพัดลม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พัดลมคอมพิวเตอร์มีขนาดหลักๆ อยู่สองชนิด คือ ขนาด 80 มม. และขนาด 120 มม. คอมพิวเตอร์ของคุณอาจรองรับขนาดอื่นๆ ด้วย เช่น 60 มม. หรือ 140 มม. ถ้าคุณไม่แน่ใจ ให้ถอดพัดลมที่ติดตั้งไว้ออกมาหนึ่งตัว แล้วนำไปที่ร้านขายคอมพิวเตอร์ใกล้บ้านคุณและถามถึงขนาดของพัดลม หรือวัดขนาดด้วยตนเอง
    • เคสใหม่ๆ ส่วนใหญ่จะใช้พัดลมขนาด 120 มม.
    • ถ้าคุณต้องการเพิ่มพัดลมตัวใหม่แทนการเปลี่ยนแทนที่ตัวเดิมที่มีอาการไหม้ คุณจะต้องดูว่าพัดลมแต่ละตัวทำงานร่วมกันอย่างไร และศึกษาว่าพัดลมจะหมุนเวียนอากาศผ่านชิ้นส่วนต่างๆ ตามหน้าที่ที่กำหนดได้หรือไม่ ซึ่งเกินกว่าขอบเขตของเนื้อหาในบทความนี้ อุปกรณ์อย่างเช่นการ์ดจอและหน่วยประมวลผลมักจะต้องใช้พัดลมระบายความร้อนแยกเป็นของตนเองที่ออกแบบมาให้ดึงอากาศเหนือแผงแลกเปลี่ยนความร้อนหรือฮีตซิงก์ที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์แต่ละตัว การ์ดจอรุ่นเก่าๆ บางรุ่นจะมีพัดลมติดตั้งมากับแผงวงจรของอุปกรณ์
  2. มองหาที่ว่างที่สามารถติดตั้งพัดลมได้ ตำแหน่งสำหรับติดตั้งพัดลมโดยทั่วไปแล้วจะอยู่บริเวณด้านหลัง ด้านข้าง ด้านบน และด้านหน้าของเคส โดยเคสแต่ละรุ่นจะมีการจัดวางพัดลมและจำนวนสูงสุดที่สามารถติดตั้งพัดลมได้แตกต่างกัน
  3. ถ้าเคสของคุณรองรับพัดลมได้หลายขนาด พัดลมที่มีขนาดใหญ่กว่ามักจะดีกว่าพัดลมที่มีขนาดเล็กเสมอ พัดลมขนาด 120 มม. จะมีเสียงเงียบกว่ามากจนสังเกตได้และยังเคลื่อนอากาศต่อรอบหมุนได้มากกว่าอีกด้วย จึงทำให้พัดลมชนิดนี้มีประสิทธิภาพมากกว่า
  4. อ่านเอกสารข้อมูลจำเพาะและความเห็นจากผู้ใช้เพื่อเปรียบเทียบพัดลมแต่ละรุ่น ให้มองหาพัดลมที่มีระดับเสียงต่ำและมีความเชื่อถือได้สูง ตามปกติแล้วพัดลมจะมีราคาค่อนข้างถูก และคุณอาจได้ราคาดีหากคุณซื้อพร้อมกันเป็นชุดละสี่ตัว ตัวอย่างผู้ผลิตที่เป็นที่นิยมมีดังนี้:
    • Cooler Master
    • Evercool
    • Deep Cool
    • Corsair
    • Thermaltake
  5. ถ้าคุณต้องการเพิ่มความเก๋ให้กับเคสของคุณ คุณสามารถใช้พัดลมแบบ LED พัดลมประเภทนี้จะส่องสว่างเคสของคุณด้วยสีสันต่างๆ แต่จะมีราคาแพงกว่าสักหน่อย
  6. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเลือกพัดลมที่มีขั้วต่อไฟถูกต้องสำหรับคอมพิวเตอร์ของคุณ. หากคุณวางแผนที่จะต่อพัดลมเข้ากับพาวเวอร์ซัพพลาย ให้เปิดฝาเคสคอมพิวเตอร์ของคุณออกและตรวจสอบสายไฟที่ออกมาจากพาวเวอร์ซัพพลายเพื่อพิจารณาว่าพัดลมของคุณควรมีขั้วต่อไฟแบบใด ขั้วต่อที่พบเห็นกันได้ทั่วไปจะเป็นขั้วต่อ Molex แบบ 3 ขา และ 4 ขา พาวเวอร์ซัพพลายบางรุ่นจะมีขั้วต่อหลายชนิด ซึ่งช่วยให้คุณสามารถซื้อพัดลมมาใช้ได้ทุกชนิด แต่คุณก็ควรทำขั้นตอนนี้เพื่อให้มั่นใจ หากต้องการควบคุมความเร็วของพัดลม คุณควรต่อพัดลมเข้ากับเมนบอร์ด (เว้นแต่ว่าคอมพิวเตอร์ของคุณจะมีคุณสมบัติพิเศษที่ช่วยให้คุณสามารถควบคุมความเร็วของพัดลมได้โดยไม่ต้องพึ่งเมนบอร์ด) เมนบอร์ดส่วนใหญ่จะมีขั้วต่อแบบ 3 และ/หรือ 4 ขา สำหรับใช้กับพัดลม
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

การเปิดเคส

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ขั้นตอนนี้ไม่ต้องอธิบายก็คงเข้าใจ
  2. คลายกำลังไฟฟ้าที่เหลืออยู่ในคอมพิวเตอร์ของคุณออก. กดปุ่มเปิด/ปิดค้างไว้อย่างน้อย 10 วินาที
  3. คุณจะต้องทำการถอดฝาด้านข้างของคอมพิวเตอร์ในตำแหน่งตรงข้ามกับเมนบอร์ดเพื่อให้สามารถเข้าถึงชิ้นส่วนภายในได้ ถอดสกรูทั้งหมดที่ยึดฝาด้านข้างเข้ากับเคสคอมพิวเตอร์ของคุณ และแงะฝาเคสออก เคสบางรุ่นจะมีฝาด้านข้างแบบบานพับ
    • ตามปกติแล้วฝาด้านข้างในตำแหน่งตรงข้ามกับเมนบอร์ดจะอยู่ทางด้านซ้ายมือ
    • การจัดวางฝาเคสนั้นมีอยู่หลายสิบชนิด เคสบางชนิดใช้สกรูแบบที่อธิบายไว้ บางชนิดใช้สลักแบบฝาพับ บางชนิดใช้สลักแบบที่ต้องกดเพื่อปลดล็อคฝาเคส
  4. ต่อกราวด์ให้กับตนเองทุกครั้งก่อนปฏิบัติงานกับชิ้นส่วนภายในคอมพิวเตอร์ ประจุไฟฟ้าสถิตย์อาจสร้างความเสียหายร้ายแรงให้กับชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ได้ คุณสามารถใช้สายรัดข้อมือป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ หรือจะต่อกราวด์ให้กับตนเองก็ได้โดยการสัมผัสกับวัตถุโลหะ
    • ต่อกราวด์ให้กับตนเองตลอดเวลาระหว่างปฏิบัติงานกับคอมพิวเตอร์เพื่อปล่อยประจุไฟฟ้าที่มีการสะสมไว้
  5. ในเคสจะมีช่องระบายอากาศจำนวนมากที่สามารถรองรับการติดตั้งพัดลม คุณสามารถมองหาช่องระบายอากาศได้จากทางด้านหลัง ด้านหน้า ด้านข้าง และด้านบนของคอมพิวเตอร์ตามลักษณะของเคสแต่ละรุ่น
  6. ขั้วต่อไฟอาจอยู่กระจัดกระจายบนเมนบอร์ด และบางรุ่นอาจมีแค่สองขั้วเท่านั้น โดยทั่วไปแล้วขั้วต่อสำหรับพัดลมจะมีป้ายชื่อเป็น CHA_FAN# หรือ SYS_FAN# ให้ศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่มากับเมนบอร์ดของคุณหากคุณพบอุปสรรคในการตามหาขั้วต่อนี้
    • ถ้าคุณมีพัดลมมากกว่าจำนวนขั้วต่อ คุณสามารถใช้ปลั๊กพ่วง Molex เพื่อจ่ายไฟให้กับพัดลมเสริมของคุณได้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

การกำหนดค่าพัดลม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทำความเข้าใจว่าระบบระบายความร้อนที่มีประสิทธิภาพทำงานอย่างไร. พัดลมบนคอมพิวเตอร์ไม่ได้มีหน้าที่แค่เป่าลมใส่ชิ้นส่วนอุปกรณ์ของคุณ การทำเช่นนี้ไม่ใช่วิธีการที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการระบายความร้อนให้กับคอมพิวเตอร์ ตรงกันข้าม พัดลมควรเคลื่อนอากาศผ่านคอมพิวเตอร์ ส่งอากาศที่บริสุทธิ์เหนือชิ้นส่วนอุปกรณ์ของคุณ [1]
  2. พัดลมจะเคลื่อนอากาศไปในทางทิศใดทิศทางหนึ่ง ซึ่งจะแสดงให้เห็นด้วยลูกศรที่พิมพ์ไว้ด้านบนของกรอบพัดลม ให้สังเกตพัดลมเคสตัวใหม่ของคุณ คุณจะเห็นลูกศรที่ด้านบนของกรอบ ลูกศรนี้จะแสดงทิศทางที่พัดลมจะปล่อยลมออกมา หากไม่เจอลูกศร คุณสามารถตรวจสอบฉลากบนกลไกของพัดลมได้เช่นกัน ปกติแล้วลมจะพัดออกมาจากด้านที่ติดสติ๊กเกอร์
  3. อุโมงค์ลมจะเกิดขึ้นเมื่อมีพัดลมดูดเข้า (Intake) และพัดลมดูดออก (Exhaust) โดยทั่วไปแล้วคุณควรจะมีพัดลมดูดออกมากกว่าพัดลมดูดเข้า เนื่องจากจะเป็นการช่วยให้เกิดสุญญากาศภายในเคส เมื่อเกิดภาวะสุญญากาศ ช่องและรูเล็กๆ ทั้งหมดในเคสของคุณจะดึงอากาศเย็นเข้ามาด้วย
    • ด้านหลัง - พาวเวอร์ซัพพลายที่ด้านหลังคอมพิวเตอร์จะมีพัดลมหนึ่งตัวที่ดันอากาศออกทางด้านหลัง (ดูดออก) ให้ติดตั้งพัดลมอีกหนึ่งหรือสองตัวที่ด้านหลังของเคสโดยกำหนดค่าให้ดูดอากาศออกเช่นกัน
    • ด้านหน้า - ติดตั้งพัดลมหนึ่งตัวที่ด้านหน้าของคอมพิวเตอร์ให้ทำหน้าที่ดูดอากาศเข้า (ดูดเข้า) คุณอาจลองติดตั้งพัดลมด้านหน้าตัวที่สองในช่องเสียบฮาร์ดไดรฟ์ (ถ้าเคสรองรับ)
    • ด้านข้าง - พัดลมด้านข้างควรติดตั้งให้ทำหน้าที่ดูดอากาศออกทางด้านข้างด้วยเช่นกัน เคสส่วนใหญ่จะรองรับพัดลมด้านข้างหนึ่งตัว
    • ด้านบน - พัดลมด้านบนควรกำหนดค่าให้เป็นตัวดูดอากาศเข้าอีกหนึ่งตัว การตั้งค่าให้เป็นพัดลมดูดอากาศออกอาจดูเป็นเรื่องปกติเนื่องจากความร้อนจะสะสมที่ด้านบนของเคส แต่การทำเช่นนี้มักจะทำให้มีการระบายอากาศออกมากเกินไปและดูดอากาศเย็นเข้าได้ไม่เพียงพอ
  4. ขันสกรูบนพัดลมให้แน่นด้วยสกรูที่มาพร้อมกันทั้งสี่ตัว ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพัดลมนั้นมั่นคงและจะไม่สั่น ใช้มือขันสกรูให้แน่น แต่อย่าทำให้แน่นเกินไปเผื่อในกรณีที่คุณต้องถอดหรือเปลี่ยนพัดลมในภายหลัง
    • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสายเคเบิลทั้งหมด รวมถึงสายไฟของพัดลม จะไม่พันกับใบพัด หากจำเป็น ให้ใช้เข็มขัดรัดสายเคเบิลรั้งไว้ให้สายไฟไม่ขวางทาง
    • ถ้าคุณมีปัญหาในการยึดพัดลมให้เข้าที่ในขณะที่คุณขันสกรู ให้ใช้เทปกาวแผ่นเล็กๆ สักสามสี่แผ่นในการยึดพัดลมให้มั่นคงจนกว่าจะสอดสกรูสำเร็จ อย่าปิดเทปกาวลงบนชิ้นส่วนอื่นๆ หรือวงจร
  5. เชื่อมต่อพัดลมเข้ากับขั้วต่อพัดลมบนเมนบอร์ด ถ้าคุณมีพัดลมมากเกินไป หรือสายเคเบิลพัดลมยาวไม่ถึงขั้วต่อ ให้ใช้ปลั๊กพ่วง Molex ในการต่อพัดลมเข้ากับพาวเวอร์ซัพพลายโดยตรง
    • หากเสียบพัดลมเข้ากับพาวเวอร์ซัพพลายโดยตรง คุณจะไม่สามารถเปลี่ยนความเร็วพัดลมใน BIOS ได้ พัดลมจะทำงานที่ความเร็วสูงสุดตลอดเวลา
  6. ควรปิดฝาเคสของคุณก่อนทำการทดสอบพัดลม เคสและพัดลมได้รับการออกแบบโดยคำนึงถึงการไหลเวียนของอากาศเป็นหลัก ดังนั้นเคสที่เปิดฝาไว้จะลบล้างประโยชน์ด้านการไหลเวียนของอากาศทั้งหมด เคสที่เปิดฝาไว้จะมีประสิทธิภาพในการระบายความร้อนน้อยกว่าเคสที่ปิดฝา
  7. ถ้าคุณต่อพัดลมเข้ากับเมนบอร์ด คุณจะสามารถตรวจสอบว่าพัดลมทำงานหรือไม่โดยการเปิด BIOS นอกจากนั้น คุณยังสามารถใช้ BIOS ในการเปลี่ยนความเร็วพัดลมได้อีกด้วย ให้ใช้โปรแกรมอย่าง SpeedFan เพื่อตรวจสอบความเร็วของพัดลมในระบบ Windows
    • พัดลมทุกชนิดที่เสียบเข้ากับพาวเวอร์ซัพพลายโดยตรงจะไม่ได้รับการตรวจสอบการทำงาน
  8. ถ้าพัดลมของคุณหมุนได้อย่างถูกต้อง แสดงว่าคอมพิวเตอร์ทำงานได้ตามปกติดี แต่เป้าหมายสูงสุดคือเพื่อระบายความร้อนให้กับชิ้นส่วนต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ ให้ดาวน์โหลดโปรแกรมตรวจสอบอุณหภูมิมาใช้งาน (SpeedFan ก็ดูแลเรื่องนี้เช่นกัน) ถ้าคอมพิวเตอร์ของคุณยังคงมีอุณหภูมิร้อนเกินไป คุณอาจจำเป็นต้องจัดวางตำแหน่งและทิศทางของพัดลมใหม่ หรือพิจารณาใช้ระบบระบายความร้อนที่ให้ประสิทธิภาพดีกว่าเดิม [2]
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 47,464 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา