ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

แม้จะเป็นหนึ่งในกฎที่สั้นที่สุดในบรรดากฎและกติกาฟุตบอลสากลทั้ง 17 ข้อ แต่กฎข้อที่ 11 ที่ว่าด้วยการล้ำหน้านี้น่าจะเป็นกฎที่คนเข้าใจผิดกันมากที่สุด ย้อนกลับไปในบรรดาโรงเรียนมัธยมฯ ในศตวรรษที่ 19 กฎนี้ถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้เล่น “ลักลอบ” เข้าไปยืนอยู่ใกล้กับประตูของทีมฝ่ายตรงข้ามเพื่อรอให้เพื่อนร่วมทีมจ่ายบอลมาให้ [1] และนับตั้งแต่นั้นมา กฎการล้ำหน้าก็ได้ถูกนำมาแก้ไขอยู่หลายต่อหลายครั้งเพื่อปรับจังหวะของเกม แต่จุดประสงค์หลักก็ยังคงเหมือนเดิม และในครั้งล่าสุด เมื่อปี 2005 ทางฟีฟ่าได้ปรับกฎนี้อีกครั้งเพื่อหลีกเลี่ยงการจับล้ำหน้าในผู้เล่นที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำเกมที่จะนำไปซึ่งประตู [2]

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

ทำความเข้าใจกับกฎการล้ำหน้า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เช็คการล้ำหน้าแค่เฉพาะในครึ่งสนามของฝั่งตรงข้ามเท่านั้น. ผู้เล่นจะถูกจับล้ำหน้าได้ก็ต่อเมื่อพวกเขาอยู่บนสนามฝั่งที่มีประตูของฝ่ายคู่แข่งอยู่ ซึ่งจุดประสงค์ที่อยู่เบื้องหลังของกฎการล้ำหน้านี้ก็เพื่อที่จะป้องกันผู้เล่นแนวรุกไม่ให้เข้าใกล้ประตูฝ่ายตรงข้ามมากจนเกินไป [3]
    • หากคุณอยู่ในครึ่งสนามของฝั่งตรงข้าม และถ้าหากศีรษะ ลำตัว หรือขาของคุณอยู่เหนือแนวเส้นวัด คุณจะถูกจับล้ำหน้า ส่วนแขนและมือนั้นไม่นับ [4]
  2. ผู้เล่นจะอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าได้ก็ต่อเมื่อพวกเขายืนอยู่ตรงระหว่างลูกฟุตบอล และประตูฝั่งคู่ต่อสู้
  3. ดูที่ผู้เล่นแนวรับสองคนที่อยู่ใกล้กับประตูมากที่สุด. ผู้เล่นในแนวรุกจะ “ไม่ล้ำหน้า” ตราบเท่าที่ยังมีแนวรับฝ่ายตรงข้ามอย่างน้อยสองคนอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน หรืออยู่ข้างหน้าตัวเอง หากมีแนวรับหนึ่งคนหรือไม่มีแนวรับคนไหนยืนอยู่ระหว่างผู้เล่นตัวรุกและประตูเลย และถ้าหากผู้เล่นตัวรุกคนนั้นอยู่ในตำแหน่งตามที่สองข้อข้างบนบอกเอาไว้ นั่นแสดงว่าผู้เล่นคนนั้นอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้า [5]
    • ปกติแล้วผู้รักษาประตูมักจะถูกนับรวมเป็นหนึ่งในสองผู้เล่นแนวรับที่อยู่ใกล้กับประตูที่สุด แต่ที่จริงแล้วเราจะนับผู้เล่นแนวรับสองคนไหนก็ได้
  4. เช็คล้ำหน้าแค่เฉพาะตอนที่เพื่อนร่วมทีมสัมผัสบอล. จะไม่มีการจับล้ำหน้าแค่เพียงเพราะผู้เล่นยืนอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าแน่นอน เพราะผู้ตัดสินจะเช็คตำแหน่งของผู้เล่นแนวรุกแค่ตอนที่เพื่อนร่วมทีมของเขาสัมผัสบอลเท่านั้น และทันทีที่ผู้เล่นแนวรุกจ่ายบอล สถานะการล้ำหน้าและไม่ล้ำหน้าของเพื่อนร่วมทีมคนอื่นๆ จะถูก “จับตามอง” ทันที และผู้เล่นทุกคนจะอยู่ในสถานะนั้นต่อไปไม่ว่าพวกเขาจะขยับไปทางไหน ซึ่งสถานะนี้จะเปลี่ยนไปก็ต่อเมื่อลูกบอลไปสัมผัสกับเพื่อนร่วมทีมคนอื่น (ส่งผลให้มีการ “ตรวจจับล้ำหน้า” อีกครั้ง) หรือเมื่อฝ่ายตรงข้ามได้กลับมาครองบอลอีก (ยกเลิกการตรวจจับล้ำหน้าทั้งหมด)
    • นั่นเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราถึงมักจะได้เห็นผู้เล่นแนวรุกรีบวิ่งผ่านผู้เล่นแนวรับของฝ่ายตรงข้ามในเกือบจะทันทีที่บอลถูกสัมผัส และถึงแม้ว่าผู้เล่นบางคนจะวิ่งผ่านผู้เล่นแนวรับเมื่อตัวเองได้บอลแล้ว แต่เขาก็ยังคงระวังตัวเองเวลาที่บอลถูกจ่ายออกมาว่าตัวเขาอยู่ข้างหลังแนวรับฝ่ายตรงข้ามอยู่หรือเปล่า
  5. คาดหวังให้ผู้ตัดสินตัดสินโทษล้ำหน้ากับฝ่ายตรงข้ามเฉพาะในกรณีที่ผู้เล่นในตำแหน่งล้ำหน้าเข้ามามีส่วนกับพื้นที่ทำเกม. ผู้ตัดสินจะสามารถลงโทษผู้เล่นเพราะล้ำหน้าได้ก็ต่อเมื่อผู้เล่นคนนั้นเข้ามามีส่วนในพื้นที่ทำเกม หรือพยายามที่จะใช้ข้อได้เปรียบจากการยืนในตำแหน่งล้ำหน้า โดยผู้เล่นสามารถถูกตัดสินโทษล้ำหน้าจากการกระทำแบบนี้ได้ทุกเมื่อ จนกว่าทีมคู่ต่อสู้จะกลับมาเป็นฝ่ายครองบอลได้อีกครั้ง และต่อไปนี้คือตัวอย่างบางส่วนของสถานการณ์ที่ผู้ตัดสินจะเป่าลงโทษล้ำหน้า [6]
    • ผู้เล่นจ่ายบอลให้เพื่อนร่วมทีมที่อยู่ในตำแหน่งล้ำหน้า
    • ผู้เล่นเตะบอลออกไป และลูกบอลไปโดนผู้เล่นแนวรับของอีกฝ่าย แล้วลูกเด้งเข้าไปหาเพื่อนร่วมทีมที่อยู่ในตำแหน่งล้ำหน้า
    • ผู้เล่นในตำแหน่งล้ำหน้าเข้ามาขวางผู้เล่นในแนวรับเพื่อหวังเข้าแย่งบอล
    • ผู้เล่นยิงไปทางประตู และเพื่อนร่วมทีมที่อยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าเข้าไปยืนอยู่ใกล้ๆ ประตูเพื่อหวังว่าจะได้ยิงซ้ำอีกรอบได้หากบอลเด้งกลับออกมา
  6. หากคุณเป็นผู้ชมการแข่งขัน และคิดว่าน่าจะมีการจับล้ำหน้าแน่ๆ ให้คุณคอยดูที่ผู้ช่วยผู้ตัดสิน (หรือที่เราเรียกกันว่า “ไลน์แมน”) เอาไว้ หากผู้ช่วยผู้ตัดสินเห็นว่ามีผู้เล่นในตำแหน่งล้ำหน้าเข้ามามีส่วนกับการทำเกม เขาจะยกธงขึ้นตั้งตรงให้เห็น และผู้ตัดสินกลางก็จะเป่านกหวีดเพื่อหยุดเกม และยกแขนขึ้นเพื่อบ่งบอกว่าให้ทีมฝ่ายรับได้ลูกตั้งเตะ 2 จังหวะ (indirect free kick) แต่ถ้าหากผู้ตัดสินไม่ทำแบบนั้น นั่นแสดงว่าเขาไม่เห็นด้วยกับผู้ช่วยผู้ตัดสิน และตัดสินใจที่จะไม่ทำตามคำแนะนำจากผู้ช่วยผู้ตัดสิน
    • หากผู้ตัดสินเป่านกหวีด ผู้ช่วยผู้ตัดสินจะลดธงลงประมาณหนึ่งเพื่อส่งสัญญาณว่าผู้เล่นคนไหนล้ำหน้า โดยจะลดธงลง 45º เพื่อบ่งบอกถึงผู้เล่นที่อยู่ในระยะไกลจากตัวผู้ช่วยผู้ตัดสิน และลดลง 90º เพื่อบ่งบอกถึงผู้เล่นที่อยู่ในระยะกลาง และ 135º เพื่อบ่งบอกถึงผู้เล่นที่อยู่ในระยะใกล้ [7]
  7. การตัดสินโทษล้ำหน้าคือการให้ทีมฝ่ายรับได้ลูกตั้งเตะ 2 จังหวะ และลูกตั้งเตะนี้จะถูกตั้งไว้ในบริเวณที่มีการถูกจับว่ามีการเล่นผิดกติกา และทีมที่ได้รับโทษจะต้องยืนห่างออกไปจากจุดนั้นอย่างน้อย 10 หลา (9.15 ม.) จนกว่าฝ่ายตรงข้ามจะเตะลูกตั้งเตะนั้น [8]
    • หากมีการลงโทษภายในกรอบเขตโทษ (penalty area) ผู้เล่นแนวรุกจะต้องอยู่นอกกรอบเขตโทษจนกว่าลูกบอลจะออกมาจากกรอบเขตโทษนั้น
    • หากมีการลงโทษภายในกรอบเขตประตู (goal area) ผู้เล่นในแนวรับอาจจะเตะลูกตั้งเตะจากพื้นที่ภายในกรอบเขตประตู
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ข้อยกเว้นและกรณีพิเศษ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. รู้ว่าสถานการณ์แบบไหนจะไม่มีทางเกิดการตัดสินล้ำหน้า. ผู้เล่นจะไม่มีทางถูกจับล้ำหน้าจากการรับลูกบอลที่ส่งมาจากลูกทุ่ม ลูกเตะมุม หรือลูกตั้งเตะจากกรอบเขตประตูแน่นอน [9] เพราะในสถานการณ์แบบนี้ถือว่าเป็นการเริ่มเกมใหม่อีกครั้ง และเป็นการรีเซตสถานะการล้ำหน้าทั้งหมดด้วย
  2. เมื่อทีมที่เป็นฝ่ายรับเข้าครองบอลได้ สถานะการล้ำหน้าของฝ่ายรุกจะถูกรีเซตตามไปด้วย และนั่นหมายถึงว่า ผู้เล่นฝ่ายรุกคนใดก็ตามที่เคยอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าสามารถที่จะเข้าทำเกมได้โดยที่ไม่ต้องรับโทษได้แล้ว อย่างไรก็ตาม ยังมีกรณีพิเศษบางกรณีที่อาจจะไม่บ่งบอกชัดเจนว่าสถานการณ์แบบนี้ได้เกิดขึ้นจริงๆ หรือเปล่า ซึ่งผู้ตัดสินมักจะเป็นผู้ตัดสินใจในกรณีนี้ แต่ว่าคุณก็สามารถดูตามข้อแนะนำทั่วไปที่ด้านล่างนี้ประกอบได้ด้วย [10]
    • หากผู้เล่นฝ่ายรับบังเอิญไปเปลี่ยนทิศทางลูกบอล หรือบอลเด้งมาโดนตัวเขาออกไปทางอื่น ก็จะไม่มีการรีเซตการล้ำหน้า สิ่งนี้รวมไปถึงปฏิกิริยาต่อลูกบอลที่เป็นไปตามสัญชาตญาณของผู้เล่นด้วย แม้ว่าผู้ตัดสินจะสามารถตัดสินลงโทษในกรณีนี้ได้ก็ตาม
    • หากผู้เล่นฝ่ายรับเข้าตัดบอลไม่ให้เข้าประตูได้ ก็จะไม่มีการยกเลิกการจับล้ำหน้า (เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้เล่นที่อยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าใช้ข้อได้เปรียบจากการยืนรออยู่ใกล้ๆ กับประตูฝ่ายตรงข้าม)
    • ผู้เล่นฝ่ายรับจะต้องเข้าครองบอลให้ได้ก่อนที่ผู้เล่นในตำแหน่งล้ำหน้าจะสามารถเข้ามาทำเกมได้ (วิธีนี้อาจจะขึ้นอยู่กับตัวผู้เล่นเอง แต่ว่าจริงๆ ผู้เล่นในตำแหน่งล้ำหน้าก็มักจะปลอดภัยจากการถูกจับล้ำหน้าอยู่แล้ว หากตัวเขามาจากระยะไกล)
  3. คำนึงถึงผู้เล่นฝ่ายรับที่วิ่งออกจากขอบสนามด้วย. หากผู้เล่นฝ่ายรับวิ่งออกเส้นขอบสนามเพื่อรักษาโมเมนตัมของตัวเอง จำไว้ว่า ผู้เล่นคนนั้นก็ยังคงนับเป็นผู้เล่นในแนวรับอยู่ ในกรณีคุณอยากจะเช็คตำแหน่งล้ำหน้าหรือไม่ล้ำหน้า [11]
  4. พิจารณาดูผู้เล่นในตำแหน่งล้ำหน้าที่เข้ามามีส่วนทำเกมจากระยะไกล. ผู้เล่นในตำแหน่งล้ำหน้าที่ไม่ได้วิ่งเข้าหาบอลจะยังคงสามารถรับโทษได้อยู่ดี หากเขาเข้าไปบดบังวิสัยทัศน์ของผู้เล่นในแนวรับจนทำให้เล่นต่อลำบาก ซึ่งตั้งแต่มีการปรับแก้ไขกฎในปี 2013 นี่คือวิธีเดียวที่จะทำให้ผู้เล่นที่อยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าสามารถรับโทษได้โดยที่ไม่ต้องเข้ามาสัมผัสกับผู้เล่นในแนวรับหรือเข้าแย่งลูกบอล นอกจากนี้ ท่าทางและการตะโกนจะไม่ถือว่าเป็นการละเมิดกฎล้ำหน้า แม้ว่าพวกเขาอาจจะได้รับโทษจากการแสดงพฤติกรรมที่ไม่เป็นมืออาชีพก็ตามที [12]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • กฎการล้ำหน้านั้นสามารถนำไปใช้กับผู้เล่นตำแหน่งไหนก็ได้ ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นผู้เล่นที่เป็นตัวรุกหรือกองหน้าเสมอไป
  • สิ่งที่มักจะเข้าใจกันแบบผิดๆ ในกฎการล้ำหน้ามักจะเกิดขึ้นเวลาที่ผู้รักษาประตูออกมานอกเส้นของตัวเองเวลามีลูกตั้งเตะ และเหลือแนวรับหรือกองหลังไว้แค่คนเดียว ซึ่งถ้าเกิดผู้เล่นฝ่ายรุกได้บอลในขณะที่ตัวเองอยู่ด้านหลังของผู้รักษาประตู ผู้เล่นคนนั้นก็จะถูกตัดสินล้ำหน้าอยู่ดี ตัวอย่างของกรณีนี้ก็อย่างเช่นประตูของ การ์โลส เบลา (Carlos Vela) ที่สุดท้ายถูกตัดสินว่าไม่ให้เป็นประตูในเกมที่เม็กซิโกเจอกับแอฟริกาใต้ในฟุตบอลโลก 2010
  • ในการแข่งกันระหว่างเด็กเล็กๆ ผู้ตัดสินอาจจะไม่จับล้ำหน้า หรือไม่ก็อาจจะไม่เข้มงวดกับกฎการล้ำหน้าเท่าไร
  • ในประวัติศาสตร์ฟุตบอลนั้น กฎการล้ำหน้าได้ถูกนำมาแก้ไขหลายครั้ง ซึ่งนี่ถือว่าเป็นกฎที่มีอิทธิพลต่อวิถีของเกมเป็นอย่างมาก [13] [14]
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าเถียงกับผู้ตัดสิน เพราะเขาจะไม่มีทางกลับคำตัดสินเพียงเพราะคุณไม่เห็นด้วยแน่ๆ นอกจากนี้ เขาอาจจะรู้สึกรำคาญคุณ และเข้มงวดกับคุณมากขึ้นก็ได้
  • หากคุณเล่นในตำแหน่งกองหน้า ให้ระวัง “กับดักล้ำหน้า” เอาไว้ด้วย เพราะทีมคู่ต่อสู้อาจจะวิ่งผ่านคุณในขณะที่เริ่มเล่นบอลก็ได้ [15] แต่ถ้าหากคุณคอยเคลื่อนที่และหันหน้าไปทางประตูตัวเองในขณะที่กำลังรอการจ่ายบอลอยู่ ผู้เล่นฝ่ายรับก็จะทำให้คุณติดกับดักของพวกเขาได้ยากขึ้น [16]


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 90,306 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา