ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณกำลังมองหากีฬาที่อาศัยความสัมพันธ์เชิงบวกในทีม เสริมสร้างทักษะการสื่อสารที่ดี เพิ่มความแข็งแกร่งของร่างกายส่วนบน และให้ความสนุกสนานอย่างไร้จำกัดอยู่หรือไม่? บทความนี้จะมาสอนคุณเกี่ยวกับทักษะพื้นฐานของการเล่นวอลเลย์บอล เมื่ออ่านจบแล้ว คุณก็จะพร้อมรับ เสิร์ฟ และตบลูกวอลเลย์บอล!

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

การเล่นในเกม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โดยหลักการแล้ว คุณต้องการผู้เล่นอย่างน้อยทีมละ 6 คนสำหรับการแข่งขัน [1] อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณแค่เล่นสนุกๆ กับเพื่อนๆ ก็แบ่งจำนวนผู้เล่นออกให้เท่าๆ กันทั้งสองฝ่าย
    • คุณควรมีผู้เล่นอยู่ 2 แถว โดยให้แถวหน้าอยู่ใกล้กับตาข่ายที่สุด และแถวหลังอยู่ใกล้เส้นหลังของสนามที่สุด
    • ผู้เล่นที่อยู่มุมขวามือด้านหลังจะเป็นผู้เสิร์ฟลูก คุณสามารถหมุนตำแหน่งผู้เล่นไปรอบๆ สนามได้ เพื่อเปลี่ยนคนเสิร์ฟลูกในแต่ละเกมเสิร์ฟ
      • ถ้ามีการสับเปลี่ยนผู้เล่น “ออก” ให้หมุนตำแหน่งผู้เล่นตามเข็มนาฬิกา – ถ้าหันหน้าเข้าหาตาข่าย ผู้เล่นที่อยู่ใกล้ตาข่ายที่สุดทางด้านขวาจะถูกเปลี่ยนออก เพื่อให้ผู้เล่นหลายคนได้มีโอกาสลงเล่น
  2. โยนเหรียญ หรือตั้งข้อตกลงเพื่อตัดสินว่าทีมไหนจะได้เป็นฝ่ายเริ่มเกมก่อน [2]
  3. ถ้าคุณเสิร์ฟลูกโดยล้ำเส้นขอบสนามด้านหลังเข้ามา ฝ่ายตรงข้ามจะได้ไปหนึ่งคะแนน เรียกว่าการทำผิดกติกาจากการเหยียบพื้นเขตสนาม ลูกบอลต้องลอยข้ามตาข่ายไป (แต่สัมผัสตาข่ายได้) และต้องหล่นลงในเขตสนาม จึงจะถือว่าเป็นลูกเสิร์ฟที่ดี [3]
    • ผู้เล่นที่อยู่ตำแหน่งขวามือด้านหลังของสนามเป็นผู้เสิร์ฟลูก ผู้เล่นแต่ละคนมีสิทธิ์เสิร์ฟลูกได้เพียงหนึ่งครั้งเมื่อหมุนมาอยู่ในตำแหน่งเสิร์ฟ และคุณสามารถเสิร์ฟต่ออีกกี่ครั้งก็ได้ตราบใดที่คุณสามารถทำให้ลูกบอลข้ามไปยังเขตสนามของฝั่งตรงข้าม
    • ลูกเสิร์ฟที่ตกลงบนเส้นขอบสนามก็ยังถือว่าเป็นลูกดี
  4. นั่นคือการแข่งขันได้เริ่มขึ้นแล้ว! การเล่นปกติจะประกอบไปด้วยการรับ การเซต และการตบ -- แต่ตราบใดที่ส่งลูกไปฝั่งตรงข้ามโดยถูกลูกบอลไม่เกิน 3 ครั้ง ก็ถือว่าดี
    • ในทางเทคนิคแล้ว คุณสามารถถูกลูกบอลด้วยส่วนใดของร่างกายก็ได้ ตราบใดที่ไม่มีการพักลูกบอล
    • ผู้เล่นสามารถออกนอกเส้นเขตสนามได้ แต่ลูกบอลไม่สามารถออกได้ ถ้าผู้เล่นในทีมของคุณตีลูกออกนอกเขตสนาม คุณสามารถวิ่งออกไปเล่นลูกบอลกลับมาได้ ถ้าลูกบอลไม่ได้สัมผัสพื้นสนาม
  5. ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้: [4]
    • ลูกบอลหล่นลงบนพื้นสนาม ทีมที่เสิร์ฟสามารถได้ไป 1 คะแนน
      • ถ้าลูกบอลหล่นลงบนพื้นสนามของทีมที่เสิร์ฟ ทีมตรงข้ามก็จะได้เสิร์ฟลูก
      • ถ้าลูกบอลหล่นลงบนพื้นสนามของทีมที่รับลูก ฝ่ายที่เสิร์ฟก็จะได้เสิร์ฟลูกต่อ
      • ทีมที่ไม่ปล่อยให้ลูกหล่นลงบนพื้นสนามของฝ่ายตนเองจะได้รับคะแนนไป
    • ลูกบอลออกนอกสนาม ทีมที่ทำให้ลูกบอลออกนอกสนามจะเป็นฝ่ายเสียคะแนน
    • มีผู้เล่นสัมผัสโดนตาข่าย ถ้าผู้เล่นทีมใดสัมผัสโดนตาข่าย ทีมตรงข้ามก็จะได้คะแนน
    • เท้าของผู้เล่นล้ำเข้าไปใต้ตาข่าย ในกรณีนี้ ทีมตรงข้ามจะได้คะแนน
    • มีผู้เล่นสัมผัสลูกบอล 2 ครั้งติดต่อกัน ผู้เล่นไม่สามารถสัมผัสลูกบอล 2 ครั้งติดต่อกันได้ ยกเว้นตอนสกัดกั้น การสกัดกั้นจะ “ไม่” นับรวมเป็นการสัมผัสลูกบอล
    • ทีมหนึ่งถูกลูกบอล 4 ครั้ง หรือมากกว่า โดยไม่ส่งลูกบอลไปยังทีมตรงข้าม แต่ละทีมสามารถถูกลูกได้มากที่สุด 3 ครั้ง
    • จับลูกบอลเอาไว้ โดยไม่ทำให้ลูกบอลกระดอนออกจากจุดสัมผัส
    • ถ้าทีมที่เป็นฝ่ายรับลูกสัมผัสลูกบอลด้วยส่วนใดของร่างกายที่ไม่ใช่แขนและมือ ทีมที่เสิร์ฟลูกจะได้คะแนน
    • การส่งลูกบอลกลับไป โดยที่ลูกบอลไม่ข้ามเหนือตาข่าย จะทำให้ทีมที่เสิร์ฟได้คะแนน
  6. ทีมที่ได้คะแนนล่าสุดจะได้เสิร์ฟลูกบอล ถ้าคุณเล่นแบบหมุนตําแหน่งผู้เล่น ก็ให้หมุนในตอนนี้
    • ถ้าทีมคุณเป็นฝ่ายได้ลูกบอล ก็ให้ผู้เล่นในทีมเคลื่อนที่ถอยลงมาสักหน่อย เพื่อเตรียมพร้อมรับการรุกจากทีมตรงข้าม ถ้าคุณไม่ได้กำลังมีลูกบอลอยู่ ก็ให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้าเพื่อ “ทำการ” โจมตี
    • ทีมที่ทำผิดกติกา หรือตีลูกบอลออกนอกเขตสนาม ต้องมอบลูกบอลให้ทีมตรงข้ามเป็นฝ่ายเสิร์ฟแทน โดยไม่มีการให้คะแนนแก่ทีมที่ได้รับสิทธิ์การเสิร์ฟใหม่
    • ถ้าลูกบอลสัมผัสตาข่ายแล้วข้ามไปยังเขตสนามของทีมตรงข้ามเพื่อให้เล่นต่อ ก็ไม่เป็นการผิดกติกาใดๆ ลูกนั้นจะยังเล่นต่อไปได้ (นอกเสียจากว่าลูกบอลจะถูกส่งกลับมายังทีมที่รับลูกก่อนที่มันจะสัมผัสกับพื้น)
  7. เล่นต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงจุดที่ต้องเริ่มเกมใหม่. คุณสามารถตกลงกันได้ว่าเกมหนึ่งๆ จะมีได้ถึงกี่คะแนน [5] ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะเริ่มเกมใหม่เมื่อทีมใดทีมหนึ่งทำคะแนนถึง 15 คะแนน
    • กติกาล่าสุดกำหนดให้แต่ละเซตมี 25 คะแนน โดยเซตที่ 3 จะแข่งขันกันถึง15 คะแนน (กรณีแข่งกัน 3 เซต) [6] บางครั้ง เกมอาจสิ้นสุดลงตามเวลาที่กำหนด ซึ่งต้องตกลงกันเอาไว้ล่วงหน้า - โดยปกติจะกำหนดไว้ที่ 8 นาที แต่อาจจะนาน หรือสั้นกว่านั้นก็ได้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์สำหรับเกมนั้นๆ
    • การแข่งขันแบบมาตรฐานจะแข่งกัน 3 เซต แต่ละทีมจะต้องเปลี่ยนแดนเมื่อเริ่มต้นเซตใหม่
      • ทีมที่แพ้ในเซตที่ผ่านมา จะได้รับสิทธิ์เสิร์ฟลูกบอลก่อนในเซตใหม่ของการแข่งขัน
    • การชนะในเซตหนึ่ง จะต้องมีการนำคะแนน 2 คะแนน คะแนน 25-26 จะยังไม่ถือว่าจบเซต ต้องให้เป็น 25-27 คะแนน ด้วยเหตุนี้ เกมที่แต่ละฝ่ายมีคะแนนสูสีกันมากจึงอาจเล่นกันต่อไปนานกว่าปกติ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

เรียนรู้พื้นฐานการเล่น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณไม่ใช่ผู้เสิร์ฟลูกบอล คุณควรอยู่ในท่าเตรียมพร้อมพื้นฐานของวอลเลย์บอล เท้าทั้งสองข้างของคุณควรยืนกว้างกว่าหัวไหล่เล็กน้อย ทิ้งน้ำหนักตัวไปทางนิ้วเท้า และงอเข่าทั้งสองข้าง หงายมือทั้งสองขึ้น และพักมืออย่างสบายๆ ไว้ที่หัวเข่าของคุณ [7]
    • หลายคนอาจคิดไม่ถึงว่า วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่หนัก ในการแข่งขันครั้งหนึ่งๆ ผู้เล่นอาจเคลื่อนที่รวมเป็นระยะทางถึงหลายกิโลเมตรทีเดียว [6]
  2. การเสิร์ฟแบบพื้นฐาน คือการส่งลูกบอลให้ข้ามตาข่ายไปยังเขตสนามของทีมตรงข้ามเพื่อเข้าสู่การเล่น ผู้เสิร์ฟจะเสิร์ฟบริเวณใดก็ได้หลังเส้นขอบสนาม การเสิร์ฟที่ได้คะแนนทันที (ลูกบอลสัมผัสมือผู้เสิร์ฟอย่างเดียว) เรียกว่า ลูก "เอซ” โดยปกติ การเสิร์ฟลูกบอลจะใช้มือ กำปั้น หรือท่อนแขน [8]
    • ผู้เล่นที่ชำนาญอาจลองเสิร์ฟแบบ มือบน : [9]
      • โยนลูกบอลขึ้นตรงด้านหน้าของคุณ
      • ยกมือข้างที่ถนัดขึ้น งอข้อศอกเพื่อให้มือมาอยู่ใกล้บริเวณหัวไหล่มากขึ้น
      • เหยียดข้อศอกแล้วตีลูกบอลด้วยฝ่ามือ
    • ผู้เล่นที่เริ่มหัดใหม่ๆ สามารถเสิร์ฟแบบมือล่างก็ได้ [10]
      • ถือลูกบอลบนมือและยื่นออกไปข้างหน้า
      • กำมือข้างที่ถนัดและดึงลงมาข้างลำตัว งอข้อศอกเล็กน้อย ให้นิ้วโป้งทาบไปบนนิ้วมืออื่นๆ
      • ตีลูกบอลที่บริเวณระดับเอวด้วยด้านหน้าของกำปั้น ลูกบอลควรปะทะเข้ากับกับกำปั้นของคุณตรงบริเวณนิ้วโป้งและนิ้วชี้ที่งออยู่
  3. เป็นวิธีที่มักใช้สำหรับรับลูกเสิร์ฟ จะเป็นการดีที่สุดถ้าคุณสามารถส่งลูกไปให้ผู้เล่นตัวเซตของทีม การอันเดอร์ลูกบอลเป็นการสัมผัสลูกบอลครั้งแรกของทั้งหมด 3 ครั้ง [11]
    • กำมือข้างซ้ายและใช้มือขวาโอบรอบมือซ้าย ให้นิ้วโป้งทั้งสองวางราบด้านบนของมือ โดยที่ให้เล็บของหัวนิ้วโป้งหงายขึ้น
    • บิดข้อศอกให้ด้านหน้าของแขนท่อนล่างหงายขึ้น แขนทั้งสองควรเหยียดตึงไปข้างหน้า และชี้ลงพื้นเล็กน้อย เกร็งข้อศอกทั้งสองข้างเอาไว้
    • เคลื่อนที่เพื่อให้ลูกบอลอยู่ตรงด้านหน้าของคุณ ยืนให้กว้างเท่าช่วงไหล่ และรอจนกระทั่งลูกบอลอยู่ที่ระดับเอวของคุณ
    • ให้ลูกบอลปะทะเข้ากับท่อนแขนของคุณบริเวณประมาณ 2 ถึง 6 นิ้ว (5 ถึง 15 ซม.) เหนือขึ้นไปจากข้อมือ เมื่อลูกบอลสัมผัสท่อนแขนของคุณ ให้ยืดขาดันลูกออก โดยใช้ท่อนแขนบังคับให้ลูกลอยไปยังเป้าหมายที่ต้องการ
  4. [12] โดยปกติคุณจะไม่รับลูกเสิร์ฟด้วยการเซต แต่คุณจะเซตเพื่อให้ลูกบอลลอยขึ้นไปในอากาศ เพื่อให้ผู้เล่นคนอื่นในทีมได้อันเดอร์ลูกบอล หรือกระโดดขึ้นตบ [13]
    • ยกมือทั้งสองขึ้นเหนือศีรษะ ตั้งให้เป็นรูปสามเหลี่ยมซึ่งคุณสามารถมองผ่านช่องว่างได้ ยืนให้เท้าห่างกันเท่าความกว้างของหัวไหล่ ย่อขาลงเล็กน้อย
    • ใช้ปลายนิ้วดีดลูกบอล เมื่อลูกบอลลงมาอยู่ที่ระดับแนวสายตา ดันขาทั้งสองข้างขึ้นในขณะที่ดีดลูกบอลออกไป
    • ในการแข่งขันอย่างเป็นทางการ ถ้าคุณตีลูกบอลด้วยฝ่ามือ จะถือว่าเป็นการ “ยกลูก” เหมือนกับคุณจับลูกบอลไว้แล้วแค่โยนกลับขึ้นไป
  5. หรือที่เรียกกันว่า “การโจมตี” [14]
    • เข้าหาลูกบอลแล้วยกแขนข้างที่ถนัดขึ้น ทำมือให้โค้งตามทรงของลูกบอล และงอข้อศอก
    • กระโดดลอยตัวขึ้นและใช้ฝ่ามือตบลูกบอล เอื้อมขึ้นไปให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อการตบที่มีพลังเต็มที่ ลูกบอลควรลอยข้ามตาข่ายไป แต่กดลงอย่างรวดเร็วเพื่อทำให้ทีมตรงข้ามรับได้ยาก
  6. สำหรับผู้เล่น (สามคน) ที่อยู่แถวหน้าตรงตาข่าย วิธีนี้ใช้เพื่อสกัดกั้นการโจมตี หรือการตบ [15] การสกัดกั้นมี 2 แบบ:
    • การสกัดกั้นเชิงรุกจะมุ่งให้ลูกบอลคงอยู่ที่เขตสนามของทีมตรงข้าม ต้องกะจังหวะการกระโดดขึ้นให้พอดี โดยคาดการณ์วิถีของลูกบอล และกดลูกบอลให้กลับไปยังแดนของทีมตรงข้าม ที่ดีที่สุดคือการสกัดกั้นให้ลูกบอลตกลงบนพื้นสนามของทีมตรงข้ามทันที
    • การสกัดกั้นเชิงรับ ใช้เพื่อลดความแรงของลูกบอลเพื่อช่วยให้โต้กลับไปได้ง่ายขึ้น ลูกบอลจะกระทบถูกฝ่ามือของผู้สกัดกั้น กลิ้งไปตามปลายนิ้วมือ (ความแรงจะลดลง) และผู้เล่นคนอื่นในทีมจะรับไปเล่นต่อ
    • การสกัดกั้นจะไม่นับรวมในจำนวนครั้ง 3 ครั้งที่ผู้เล่นของแต่ละทีมมีสิทธิ์เล่นเพื่อให้ลูกบอลข้ามตาข่ายไป
  7. [16] ส่วนใหญ่แล้วจะหมายถึงการพุ่ง – เป็นการเล่นอันสวยงามน่าประทับใจเมื่อผู้เล่นพุ่งตัวไปรับลูกบอลที่กำลังจะสัมผัสพื้น เป็นทักษะที่อาศัยความยืดหยุ่นและความว่องไวอย่างมาก [17]
    • ในการพุ่ง ผู้เล่นจะใช้บริเวณหน้าอกสัมผัสลงไปที่พื้นสนามโดยเหยียดแขนออกไป เป็นสิ่งสำคัญมากที่ผู้เล่นจะต้องทำอย่างปลอดภัย เพราะอาจเกิดการบาดเจ็บได้ถ้าทำผิดวิธี ผู้เล่นที่มีประสบการณ์มามากแล้วจะใช้เทคนิคการกลิ้งตัวเพื่อลดโอกาสเสี่ยงบาดเจ็บให้น้อยที่สุด
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

นำกลยุทธ์การเล่นมาใช้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การเซตเป็นทักษะที่ต้องมีความแน่นอนแม่นยำ และเป็นการรักษาเกมเชิงรุกของทีม ผู้เล่นมือเซตต้องเล่นได้เข้าขากับผู้เล่นตัวรุก และต้องสามารถส่งลูกบอลไปในจุดที่ผู้เล่นตัวรุกสามารถขึ้นตบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    • นอกเหนือจากความแม่นยำในการส่งลูกบอลออกไปแล้ว พวกเขายังต้องมีความคล่องแคล่วว่องไว ถ้าเซตไม่ดี ลูกบอลก็จะไม่ไปไหนเลย
    • ขอเตือนว่า: ผู้เล่นตัวเซตมีข้อจำกัดในการเล่นหลายข้อ เมื่ออยู่ในตำแหน่งผู้เล่นแถวหน้า พวกเขาก็สามารถโจมตีหรือเล่นลูกบอลได้ตามต้องการ แต่เมื่อเป็นผู้เล่นในตำแหน่งแถวหลัง พวกเขาจะไม่สามารถกระโดดตบลูกบอลใดที่อยู่ “เหนือ” ตาข่ายได้
  2. ถ้าคุณมีทักษะการเล่นที่ดีพอ การใช้ผู้เล่นตัวรับอิสระอาจเป็นกลยุทธ์ที่ทีมของคุณควรนำมาใช้ นี่ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนตัวผู้เล่น – ผู้เล่นนี้จะสวมชุดสีที่ต่างจากเพื่อนร่วมทีม
    • ผู้เล่นตำแหน่งนี้จะเป็นผู้รับลูกตบหรือลูกเสิร์ฟ และต้องมีปฏิกิริยาตอบสนองที่ไวเหมือนแมว พวกเขาเป็น “ผู้เชี่ยวชาญการตั้งรับ” [18] ปกติแล้วพวกเขาจะเข้าแทนที่ผู้เล่นตำแหน่งกลางเมื่อพวกเขาต้องสับเปลี่ยนไปอยู่ตำแหน่งแถวหลัง ถ้าคุณมีผู้เล่นในทีมที่เก่งในการตั้งรับ ก็จัดให้เขาเล่นเป็นตัวรับอิสระ
    • ที่เรียกว่า “อิสระ” ก็เพราะว่าตัวรับอิสระสามารถเปลี่ยนเข้าแทนผู้เล่นด้านหลังได้บ่อยเท่าที่ต้องการ อย่างไรก็ตาม พวกเขาจะไม่สามารถขึ้นมาเล่นในแถวหน้าได้
  3. ผู้เล่นตัวตบแต่ละตำแหน่งจะมีจุดแข็งของตัวเอง พิจารณาผู้เล่นในทีมของคุณเพื่อดูว่าใครเหมาะกับตำแหน่งไหน:
    • ตัวตบบอลกลางต้องเข้าตบลูกอย่างรวดเร็ว และสามารถสกัดกั้นได้ดี พวกเขาต้องเล่นทั้งรุกและสกัดกั้นอยู่ตลอดเวลา [19]
    • ตัวตบด้านขวา จะเป็นตัวเซตบอลแทนมือเซตในบางจังหวะ และทำหน้าที่ตั้งรับเป็นหลัก พวกเขาต้องสกัดกั้นลูกตบได้ดีตลอดเวลา เพราะต้องสกัดกั้นลูกตบบอลหัวเสาที่แรงของฝั่งตรงข้าม [20]
    • ตัวตบหัวเสา ควรเป็นผู้เล่นที่มีความสามารถในการตบบอลที่ดี เพราะเป็นตำแหน่งที่ฝ่ายตรงข้ามมักเสิร์ฟลูกบอลมาหา และต้องพร้อมตีบอลแก้ไข เวลาที่เพื่อนร่วมทีมส่งมาให้ไม่ดีอีกด้วย [21]
  4. แม้การแข่งขันบางรายการจะอนุญาตให้มีการเปลี่ยนตัวผู้เล่นไม่จำกัด แต่สำหรับกติกานานาชาติ ทีมหนึ่งจะเปลี่ยนตัวได้มากที่สุด 6 ครั้งต่อเซต (ไม่รวมผู้เล่นตัวรับอิสระ) [6]
    • คุณอาจเลือกส่งผู้เล่นตัวเสิร์ฟ หรือผู้เล่นตัวรับลงสนามแทนได้ (ไม่ใช่ตัวรับอิสระ) ถ้าทีมของคุณกำลังขาดตัวเสิร์ฟ หรือตัวรับที่ดี
  5. [22] เราจะอธิบายบนสมมติฐานที่ว่าคุณมีผู้เล่นลงสนามครบ 6 คน ถ้าไมใช่ ก็ให้ปรับแผนการเล่นตามจำนวนและความสามารถของผู้เล่นซึ่งทำได้หลายแบบมาก อย่างไรก็ดี ด้วยผู้เล่น 6 คน จะมีรูปแบบการเล่นให้เลือกโดยทั่วไป 3 แบบด้วยกัน (ตัวเลขหมายถึงตำแหน่ง ไม่ใช่จำนวนผู้เล่น):
    • รูปแบบ 4-2 จะประกอบด้วยผู้เล่นตัวตบ 4 คน และตัวเซต 2 คน โดยทั่วไป ผู้เล่นตัวเซตจะยืนตรงตำแหน่งด้านขวา พวกเขาจะเป็นตัวรุกทั้งสองที่อยู่ด้านหน้า การเล่นรูปแบบนี้มักใช้สำหรับผู้ที่เริ่มหัดเล่นใหม่ๆ
    • รูปแบบ 6-2 เป็นการเล่นที่ให้ผู้เล่นแถวหลังขึ้นมาเป็นตัวเซต ผู้เล่นแถวหน้าทุกคนจะพร้อมตบ ผู้เล่นในทีมจะได้มีโอกาสหมุนขึ้นมาเล่นเป็นตัวตบครบทุกคน
    • รูปแบบ 5-1 เป็นรูปแบบการเล่นที่มีตัวเซตเพียงคนเดียว ไม่ว่าตัวเซตจะหมุนไปอยู่ที่ตำแหน่งใดก็ตาม ดังนั้น แถวหน้าจะมีผู้เล่นตัวตบ 2 คนบ้าง 3 คนบ้าง ผู้เล่นตัวเซตสามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การเล่นในขณะที่หมุนไปตำแหน่งต่างๆ ได้ และบางครั้งอาจตีลูกบอลข้ามตาข่ายเอง เป็นรูปแบบการเล่นที่มีผู้เล่นตัวเซตเป็นศูนย์กลางจริงๆ!
  6. ลูกบอลอาจมาที่คุณได้ตลอดเวลา!
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

สร้างเกมขึ้นมาด้วยตัวคุณเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ลูกวอลเลย์บอลที่ดีที่สุดจะทำมาจากหนัง หรือหนังสังเคราะห์ และควรมียางในที่ทำด้วยยางพารา
    • สำหรับการเล่นในโรงยิม ให้เลือกลูกวอลเลย์บอลที่มีแรงอัดดี และควรเลือกลูกที่มีสีอ่อน
    • สำหรับการเล่นกลางแจ้ง หรือวอลเลย์บอลชายหาด ควรเลือกลูกที่มีสีสดใสซึ่งจะสามารถมองเห็นได้ง่ายกลางแสงแดด
  2. ต้องใช้เสาขึงตาข่ายที่ทำด้วยเหล็กชุบ หรือไม้เคลือบ และควรหุ้มเสาด้วยนวมเพื่อป้องกันผู้เล่นจากอันตราย
    • ตาข่ายแบบมาตรฐานมีความยาว 32 ฟุต (9.75 เมตร) และมีขนาดกว้าง 39 นิ้ว (1 เมตร) สำหรับผู้ชาย ตาข่ายจะสูง 7 ฟุต (2.1 เมตร) 11 5/8 นิ้ว (2.43 เมตร) และสำหรับผู้หญิง ตาข่ายจะสูง 7 ฟุต (2.1 เมตร) 4 1/8 นิ้ว (2.24 เมตร)
    • ถ้าคุณเล่นกลางแจ้ง ควรขุดหลุมปักเสาให้ลึกลงไปอย่างน้อย 3 ฟุต (ประมาณ 1 เมตร) และถ้าคุณต้องการทำสนามถาวร ให้เทคอนกรีตลงไปในหลุมก่อน แล้วจึงปักเสาลงไป
  3. สนามแข่งขันวอลเลย์บอลแบบทางการมีความกว้าง 29 ฟุต (8.8 เมตร) 6 นิ้ว (9 เมตร) และยาว 59 ฟุต (18 เมตร) [23]
    • ตีเส้นขอบสนามด้วยการพ่นสีสเปรย์ หรือใช้เทปไนล่อนสีสว่างๆ เส้นขอบสนามควรกว้างประมาณ 2 นิ้ว (5 ซม.) หรือคุณอาจเลือกใช้ปากกาทำเครื่องหมายที่มาพร้อมกับตาข่ายที่ซื้อมาก็ได้
    • สนามควรหันไปทางทิศเหนือ และทิศใต้ แทนที่จะเป็นทิศตะวันออกและทิศตะวันตก การวางสนามแนวนี้ จะช่วยให้ผู้เล่นไม่ต้องหันหน้าเข้าหาพระอาทิตย์แบบตรงๆ
    • ถ้าคุณไม่ได้แข่งขันอย่างเป็นทางการ คุณก็สามารถกำหนดเส้นขอบสนามด้วยรองเท้า หรือสิ่งของอื่นๆ ที่อยู่แถวๆ นั้น ไม่ต้องวัดขนาดให้พอดีก็ได้ เป้าหมายคือการเล่นให้สนุก
  4. เมื่อคุณมีอุปกรณ์ที่จำเป็นครบทุกอย่างแล้ว ก็ชวนเพื่อนๆ มาเล่นด้วยกัน! วอลเลย์บอลสามารถเล่นกัน 2 คนก็ได้ แต่มันจะสนุกกว่ามากถ้ามีผู้เล่นประมาณ 12 คน เล่นตามจำนวนผู้เล่นที่มี และคิดว่าจะใช้รูปแบบการเล่นแบบไหน -- จะหมุนตำแหน่งอย่างไร (ถ้ามีการหมุนตำแหน่ง) และดูว่าผู้เล่นมีทักษะอย่างไรบ้าง
    • ถ้าจำนวนของผู้เล่นทั้งหมดที่คุณมีเป็นเลขคี่ คุณอาจจะให้คนที่เกินมาสลับข้างไปมา ให้ไปอยู่กับทีมที่มีทักษะน้อยกว่า หรือให้คนหนึ่งผลัดกันทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสิน หรือบันทึกคะแนน หรือจะให้เป็นผู้เล่นตัวรับอิสระที่จะลงมาเล่นเมื่อไหร่ก็ได้ตามต้องการ ก็ยังได้เลย!
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ส่งเสียงเสมอเวลาที่จะเล่นลูกบอล แค่พูดออกมาว่า “ฉันเอง” หรือ “ได้แล้ว” วิธีนี้จะช่วยทำให้การสื่อสารในทีมดีขึ้น
  • ตื่นตัวตลอดเวลา! คุณไม่มีทางรู้ว่าลูกบอลจะลอยมาหาคุณเมื่อไหร่
  • คุณสามารถใส่สนับเข่าได้ เพื่อที่คุณจะกระทบกับพื้นสนามได้โดยไม่เจ็บหัวเข่า
  • ฝึกซ้อมถ้ามีการแข่งขัน
  • รวบผมไว้ด้านหลังหรือถักเปียให้แน่น ไม่เช่นนั้น มันอาจมาเกะกะบริเวณใบหน้าของคุณในขณะที่เล่นอยู่
  • ผู้เล่นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะมือตบ มักจะใส่สนับรัดข้อเท้าเพื่อป้องกันข้อเท้าพลิกตอนลงถึงพื้นหลังจากกระโดดขึ้นไปเล่นลูกบอล
  • ถ้าคุณไม่มีเหรียญสำหรับโยนเพื่อตัดสินว่าทีมไหนจะได้เสิร์ฟลูกก่อน คุณก็สามารถใช้วิธี “วอลเลย์เพื่อเสิร์ฟ” แทนได้ ให้ผู้เล่นแถวหน้าโยนลูกเบาๆ ข้ามตาข่ายไปให้ผู้เล่นคนหนึ่งของฝ่ายตรงข้าม (ที่อยู่แถวหน้า) จากนั้นให้โต้ลูกกลับไปกลับมา ทีมไหนชนะ ก็จะได้เริ่มเสิร์ฟลูกก่อน
  • อย่าลืมส่งเสียงเชียร์ไปกับเพื่อนร่วมทีมเพื่อรักษากำลังใจของพวกเขาไว้ ยิ่งคุณเสียงดังเท่าไหร่ ผู้เล่นของคุณก็จะมีความมั่นใจมากขึ้นเท่านั้น
  • อย่าให้ร่างกายขาดน้ำ เตรียมน้ำดื่มเอาไว้ใกล้ๆ
  • อย่าพูดโดยไม่จำเป็นในระหว่างการเล่น จดจ่อกับการเล่นของคุณและที่ลูกบอล
  • แต่งตัวสบายๆ ถ้าคุณมีเสื้อยืดของทีม ก็ให้ใส่มัน นอกจากนี้ยังมีกางเกงขาสั้น หรือกางเกงผ้ายืดขายาว คนส่วนใหญ่ชอบใส่กางเกงขาสั้นเพราะจะเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วได้ง่ายกว่า แต่ถ้าคุณชอบกางเกงโยคะ หรือกางเกงขายาวมากกว่า ก็ใส่มันไปเลย หาสนับเข่าที่คลุมหัวเข่าของคุณได้ทั่ว และหารองเท้าวิ่งที่สวมใส่สบาย
  • เวลาเสิร์ฟลูก ให้เปิดเพลงหรือร้องทำนองให้ตัวเองฟังสักหน่อย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณใช้วิธีเสิร์ฟแบบสี่ขั้นตอน คุณก็อาจจะร้องสักท่อนหนึ่งจากเพลง “ชูการ์” ของ มารูนไฟฟ์ เพื่อสร้างจังหวะไปด้วย
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าคุณแต่งหน้า ก็อย่าแต่งเข้มเกินไป เพราะเครื่องสำอางอาจละลายเลอะเต็มใบหน้าของคุณ
  • อย่ากังวลเรื่องแพ้ชนะ ให้คิดถึงแต่วิธีการเล่นของคุณ นึกถึงสิ่งที่คุณได้ฝึกซ้อมมา
  • ถ้าไม่วอร์มร่างกายให้ดีก่อนลงเล่น คุณก็อาจบาดเจ็บได้ ยืดกล้ามเนื้อขาและแขนให้ดีก่อนเริ่มเล่น [24]
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • ลูกวอลเลย์บอล
  • ตาข่าย
  • เทปกาว สีสเปรย์ หรือสิ่งของอื่นๆ เพื่อใช้ทำเส้นขอบสนาม

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 102,030 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา