ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณอาจมีความจำเป็นบางอย่าง (หรือหลายอย่าง) ที่ต้องทำให้ผิวชาชั่วคราว เช่น ลดปวดบวมเมื่อเกิดอาการบาดเจ็บ หรือเตรียมตัวขึ้นเขียงให้คุณหมอผ่าตัด โชคดีที่สมัยนี้มีให้เลือกหลายวิธีด้วยกัน เพราะงั้นคุณก็เลือกได้ตามความสะดวกและเหมาะสมเลย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

ชาเพื่อลดปวด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เวลาคุณประคบเย็นที่ผิวหนัง หลอดเลือดจะหดตัว ทำให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณดังกล่าวน้อยลง ช่วยบรรเทาอาการปวดบวม ระคายเคือง และกล้ามเนื้อกระตุกเกร็งได้ เหมาะมากสำหรับรักษาอาการฟกช้ำดำเขียวและอาการบาดเจ็บเล็กๆ น้อยๆ ทั่วไป [1]
    • ถ้าในช่องฟรีซไม่มีเจลแพ็ค ให้ใช้ถุงใส่น้ำแข็งหรือถุงผักแช่แข็งแทน
    • ให้เอาผ้าห่อก่อน อย่าใช้ประคบที่ผิวโดยตรง น้ำแข็งจะได้ไม่กัด
    • ประคบประมาณ 20 นาทีแล้วเอาออกให้ผิวอุ่นขึ้นหน่อย รอ 10 นาทีแล้วค่อยประคบใหม่ถ้าจำเป็น
  2. แบบครีมมีขายตามร้านขายยาทั่วไป ช่วยบรรเทาอาการแดดเผา แสบร้อน แมลงสัตว์กัดต่อย และแผลถลอกอื่นๆ แต่ถ้าเป็นคนท้อง ให้นมลูก เป็นเด็ก หรือคนชรา ต้องปรึกษาคุณหมอก่อน รวมถึงกรณีที่คุณกินยา (ทั้งแผนปัจจุบันและสมุนไพร) หรืออาหารเสริมตัวอื่นอยู่ด้วย ที่สำคัญต้องศึกษาวิธิใช้บนฉลากอย่างเคร่งครัด [2]
    • ตามร้านขายยาทั่วไปมีทั้งแบบสเปรย์ ขึ้ผึ้งยา ครีม แผ่นแปะ แล้วก็แบบพลาสเตอร์สำเร็จรูป
    • ตัวยาที่ใช้ก็เช่น benzocaine, benzocaine กับ methol, butamben, dibucaine, lidocaine, pramoxine, pramoxine กับ methol, tetracaine หรือ tetracaine กับ methol เป็นต้น ถ้าไม่แน่ใจเรื่องปริมาณหรือวิธีการใช้ ให้ปรึกษาคุณหมอจะดีที่สุด คุณหมอจะได้แนะนำให้ตามเคสของคุณรวมถึงประวัติการรักษา
    • ดูให้ดีว่าหมดอายุวันไหน ห้ามใช้ยาที่หมดอายุแล้วเด็ดขาด
    • ถ้าใช้เป็นอาทิตย์แล้วไม่ดีขึ้น ให้หยุดยาแล้วปรึกษาคุณหมอด่วน รวมถึงกรณีที่บริเวณนั้นติดเชื้อ มีผื่นคัน แสบร้อน หรือปวดแปลบขึ้นมา ถ้าใช้ยาเกินขนาดอาจมีอาการสายตาพร่าเลือน มึนงง ชักเกร็ง วิงเวียน ครั่นเนื้อครั่นตัว ร้อน/หนาวไป ชา ปวดหัว เหงื่อแตก หูลั่น หัวใจเต้นชาหรือผิดปกติ หายใจลำบาก หรือง่วงนอนเป็นต้น ถ้าคุณมีอาการที่ว่าให้รีบไปโรงพยาบาลด่วนหรือโทรเรียกรถพยาบาลทันที [3]
  3. ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือ NSAID (Non-steroidal anti-inflammatory drugs) ช่วยบรรเทาอาการปวดของโรคข้ออักเสบ (arthritis) ปวดกล้ามเนื้อ ปวดฟัน ไข้ โรคเกาต์ ปวดหลัง ปวดหัว และปวดท้องเมนส์ได้ และหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยาทั่วไป บางตัวแค่ 2 - 3 ชั่วโมงก็เห็นผลแล้ว แต่ห้ามใช้ติดต่อกันเกิน 2 - 3 วันโดยไม่ปรึกษาแพทย์ซะก่อน โดยเฉพาะถ้าคุณท้อง ให้นมลูก ใช้ยานี้รักษาเด็ก หรือกินยา สมุนไพร หรืออาหารเสริมตัวอื่นร่วมด้วย [4]
    • ตัวยาที่นิยมก็เช่น แอสไพริน (Anacin, Bayer, Excedrin), ketoprofen (Orudis KT), ibuprofen (Motrin, Advil, Nuprin) และ naproxen sodium (Aleve) เป็นต้น ไม่ควรให้เด็กหรือวัยรุ่นกินยาแอสไพริน เพราะมีความเสี่ยงเรื่องโรค Reye’s syndrome
    • ห้ามกินยาพวกนี้โดยไม่ปรึกษาแพทย์ ในกรณีที่คุณความดันสูง เป็นเบาหวาน โรคไต โรคตับ แพ้ยา มีแผลในกระเพาะอาหาร เลือดหยุดไหลยาก แอลกอฮอล์ในเลือดสูง มีโรคหัวใจ หอบหืด หรือกินยาตัวอื่นอยู่ที่อาจไปหักล้างกัน อย่างพวก warfarin, lithium, ยาโรคหัวใจ, ยาโรคข้ออักเสบ, วิตามิน และอื่นๆ
    • ผลข้างเคียงที่พบบ่อยคือปวดท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ มีแก๊สในกระเพาะ กรดไหลย้อน อาเจียน ท้องเสีย หรือท้องผูก ถ้ามีอาการที่ว่ามาให้รีบไปหาหมอ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ชาไว้ก่อนปวด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Ethyl chloride (Cryogesic) ใช้ฉีดพ่นลงบนผิวหนังก่อนขั้นตอนใดที่อาจทำคุณเจ็บตัว พอสเปรย์ลงบนผิวหนังแล้วจะรู้สึกเย็นเพราะน้ำยาระเหยไป แต่ก็จะอุ่นขึ้นใน 2 - 3 นาทีต่อมา แต่สเปรย์จะช่วยให้ชาเฉพาะตอนผิวหนังยังเย็นอยู่เท่านั้น [5]
    • เช่นอาจใช้พ่นทันทีก่อนคุณหมอฉีดยาเด็กเป็นต้น ถือว่าใช้แทนยาชาเฉพาะที่ได้ดี ในกรณีที่เด็กแพ้ยาชา
    • ห้ามฉีดพ่นบ่อยหรือในปริมาณที่มากเกินกว่าคุณหมอแนะนำ เพราะอาจเย็นจนกัดผิวได้
    • ศึกษาและปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้งานอย่างเคร่งครัดเสมอ ถ้าจะใช้กับเด็กหรือคนท้อง/ให้นม ต้องปรึกษาคุณหมอก่อนเสมอ
    • ระวังอย่าให้เข้าตา จมูก ปาก หรือแผลเปิด
  2. ถ้าคุณหมอคิดว่าขั้นตอนการรักษาต้องใช้ยาชา ก็อาจมีการทายาชาก่อนลงมือ แต่คุณจะลองปรึกษาขอเปลี่ยนเป็นพลาสเตอร์หรือแผ่นแปะแทนแบบครีมก็ได้ ระวังอย่าให้เข้าตา จมูก ปาก อวัยวะเพศ หรือแผลเปิด ตัวยาที่นิยมใช้มี 2 ตัว คือ [6]
    • Tetracaine (Ametop Gel) เป็นเจลใช้ทาทิ้งไว้ที่ผิวหนัง 30 - 45 นาที แล้วเช็ดออกก่อนขั้นตอนการรักษาที่อาจทำคุณเจ็บตัว ผิวบริเวณนั้นจะชาอยู่นานถึง 6 ชั่วโมง ผิวอาจแดงเป็นปื้นบ้างถือว่าปกติ
    • Lidocaine กับ prilocaine (EMLA cream) เป็นเนื้อครีมใช้ทาทิ้งไว้ที่ผิวหนัง 1 ชั่วโมงแล้วเช็ดออกก่อนขั้นตอนการรักษาที่อาจทำคุณเจ็บตัว ผิวบริเวณนั้นจะชาอยู่ประมาณ 2 ชั่วโมง ผลข้างเคียงคือผิวดูซีดขาวขึ้น
  3. ถ้าคุณหมอคิดว่าการฉีดหรือพ่นยาชาภายนอกไม่เพียงพอ ก็อาจแนะนำให้ฉีดยาชาที่ออกฤทธิ์บริเวณกว้างกว่าแทน นิยมใช้ในการผ่าตัดที่ลงลึกกว่าผิวหนัง อย่างการศัลยกรรม หรือการคลอดลูก ตัวยาที่นิยมใช้ก็เช่น [7]
    • การให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน (regional anaesthetic) แบบนี้ไม่ทำให้คุณสลบ แต่ตัวจะชา ไม่ใช่แค่ชาบางจุด ส่วนใหญ่ใช้วิธีฉีดเข้าไปในตัว อย่างตอนจะคลอดลูกก็ต้องมีการบล็อคหลัง (epidural anesthesia) ซึ่งก็ถือเป็นการให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน เพราะทำให้ครึ่งตัวล่างหมดความรู้สึก
    • การให้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่าง (General anesthesia) นิยมใช้ในการผ่าตัดหรือศัลยกรรม โดยใช้วิธีฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำ หรือหายใจเอาแก๊สเข้าไปให้สลบ ผลข้างเคียงก็เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บคอ คอแห้ง หนาวสั่น และอ่อนเพลีย [8]
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 11,919 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา