ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เด็กดูเหมือนจะสนุกไปกับชีวิตได้มากกว่าผู้ใหญ่ แต่นั่นไม่ได้หมายถึงว่าทุกอย่างมีแต่ความสนุกกับการละเล่น บางครั้งเด็กก็รู้สึกเศร้าได้เหมือนกัน และในฐานะพ่อแม่หรือผู้ปกครอง มันย่อมเป็นหน้าที่ของคุณที่จะค้นหาว่ามีปัญหาอะไรและช่วยลูกคุณให้รู้สึกดีขึ้น เริ่มโดยการพูดถึงปัญหา แล้วหาทางทำให้เขาร่าเริงขึ้นทั้งทางแก้ในระยะสั้นและระยะยาว

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

เริ่มสนทนากับลูก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าลูกคุณซึมเศร้า คุณน่าจะรู้สึกเป็นกังวล เด็กที่เศร้าอาจร้องไห้ ทำหน้ามุ่ย ทำตัวไม่เชื่อฟัง หรือโดยทั่วไปแล้วจะทำตัวผิดปกติ ซึ่งทำให้พ่อแม่ตกอกตกใจได้ มีหลายเหตุผลที่ลูกคุณจะรู้สึกเศร้า ดังนั้นให้เริ่มด้วยการสอบถามว่ามีอะไรรบกวนจิตใจเขาอยู่หรือเปล่า
    • อย่ามัวอายไม่ยอมพูดถึงสถานการณ์ที่เป็นปัญหา ถ้าเกิดมันมีเรื่องที่ใครในครอบครัวเพิ่งเสีย หย่าร้าง หรือแยกกันอยู่ ต้องรับทราบและตอบคำถามที่ลูกอาจจะมีให้ได้ [1]
    • เด็กบางคนอาจรู้สึกลำบากในการถ่ายทอดความรู้สึกออกมาเป็นคำพูด จงอดทน และถามซักไซ้จนกระทั่งคุณเริ่มรู้สึกได้ว่าปัญหาคืออะไร
    • ถ้าลูกคุณไม่รู้ว่าจะพูดถึงปัญหายังไง ลองใช้เกม 20 คำถาม (กับการตอบสนองแบบ "ดีขึ้น" หรือ "ห่างเหินขึ้น") เพื่อตีวงปัญหารบกวนใจเขาให้แคบลงกว่าเดิม [2]
    • หากคุณสันนิษฐานว่าน่าจะทราบปัญหาที่ทำให้เขาเศร้าอยู่แล้ว ถามคำถามตรงๆ เพื่อให้เขาเปิดอกพูดถึงมัน เช่น คุณอาจบอกว่า "ดูเหมือนลูกจะดูเศร้าๆ นะตั้งแต่หนูเล็กย้ายออกไป" หรือ "แม่ท้าไว้เลยว่าลูกต้องรู้สึกแย่แน่ที่ไม่ได้นั่งเรียนติดกับวิน" [3]
  2. หากลูกพบปัญหาที่รบกวนจิตใจ มันจำเป็นที่จะต้องทำให้เขารู้สึกว่าอารมณ์ความรู้สึกที่เขาแสดงนั้นมีความสมเหตุสมผล มันจะเริ่มจากการที่คุณเปิดอกสนทนากับลูกอย่างไรเรื่อยไปจนถึงท่าทีตอบสนองของคุณเมื่อเขาบอกปัญหาออกมา
    • ปล่อยให้ลูกได้พูดออกมาไม่ว่าอะไรที่กวนใจเขา ถึงแม้มันจะเป็นสิ่งที่คุณยากจะบอกกับเขาก็ตาม เป็นเรื่องสำคัญที่คุณต้องรับฟังและแสดงท่าทีตอบรับอย่างจริงใจและด้วยความห่วงใย [4]
    • ห้ามบอกลูก (หรือใครก็ตามสำหรับเรื่องแบบนี้) ให้ "ลืมๆ มันไปเถอะ" "ทำตัวร่าเริงดีกว่า" หรือ "ตั้งสติหน่อยสิ" การพูดเช่นนี้เหมือนการส่งข้อความให้ลูกว่าความรู้สึกของเขาไม่ใช่เรื่องสำคัญ [5]
    • เช่นเดียวกัน ห้ามบอกลูกว่าสถานการณ์ของเขานั้น "ไม่ได้ดูแย่สักเท่าไหร่" – มันอาจจะเป็นเช่นนั้นจริงเมื่อมองจากมุมมองของผู้ใหญ่ แต่สำหรับลูกแล้ว การโดนเพื่อนเมินไม่ทานข้าวเที่ยงด้วยถือเป็นเรื่องใหญ่เรื่องโตนะ
    • จำไว้ว่าเด็กที่เศร้าหลายคนมีอารมณ์หลายอย่างประกอบร่วมกัน อย่างอารมณ์โกรธหรือหวาดหวั่น จงอดทนและพยายามกล่อมให้เขาสงบใจขึ้นถ้าเขารู้สึกกลัวหรือโกรธใครสักคน
  3. เด็กบางคนอาจไม่ได้รับรู้ว่าพ่อแม่ของเขาก็ยังรู้สึกเศร้าในบางเวลาเหมือนกัน พ่อแม่หลายคนพยายามซ่อนอารมณ์ด้านลบของตนเองเพื่อปกป้องลูก ซึ่งบางทีก็เป็นเรื่องที่ดี แต่ไม่ใช่ว่าจะทำจนถึงจุดที่ลูกคิดว่าคุณไม่เคยโศกเคยเศร้าเลย
    • การแสดงหรือพูดถึงความโศกเศร้าของคุณเองสามารถช่วยให้ลูกคิดได้ว่าเขาไม่ได้โดดเดี่ยว และการรู้สึกเศร้าบ้างในบางเวลาก็ไม่เห็นจะเป็นไร [6]
    • บอกลูกว่าร้องไห้บ้างก็ได้ และอย่ากลัวที่จะร้องไห้ต่อหน้าเขาบ้าง ปกป้องเขาหรือให้เขาเลี่ยงจากเด็กคนอื่นเพื่อที่จะไม่มีใครมาล้อว่าเขาเป็น "ไอ้ขี้แย"
    • พูดถึงช่วงเวลาที่คุณเคยเศร้า ให้ลูกได้รับรู้ว่าบางทีคุณก็ร้องไห้เหมือนกัน
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ทำให้ลูกร่าเริงขึ้นในระยะสั้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าลูกคุณรู้สึกเศร้า ลองเล่นกับเขา มันจะเตือนให้เขารู้ว่าคุณรักและห่วงใยเขา แถมยังช่วยให้เขาเลิกหมกมุ่นอยู่กับปัญหา [7]
    • ถ้าลูกยังชอบเล่นของเล่นอยู่ งั้นก็เข้าไปร่วมเล่นกับของที่เขาชอบเลย ถ้าเขาเปลี่ยนไปเล่นวิดีโอเกมแล้ว ลองเล่นกับเขาสักหลายเลเวลเกม
    • ให้แน่ใจว่าลูกได้เล่นของเล่น/กิจกรรมที่ได้ใช้ผัสสะต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญบางคนพบว่าการได้เล่นกับวัสดุที่สัมผัสได้ อย่าง ก้อนดินเหนียว ดินน้ำมัน ทราย ข้าว หรือกระทั่งน้ำ ช่วยให้เด็กที่กำลังเศร้าได้ผ่อนคลายอารมณ์ [8]
  2. ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุ เพศและบุคลิกของลูกคุณ เขาอาจมีความสนใจในสิ่งต่างๆ ไม่ว่ามันจะเป็นสิ่งไหน ลองเข้าไปร่วมกับเขาในความสนใจนั้น ไม่แน่ว่ามันอาจช่วยเขาเชื่อมความรู้สึกกับคุณ และอาจเปิดประตูเข้าสู่การพูดคุยที่ลึกซึ้งขึ้น หรือมีความหมายมากขึ้นในแง่มุมต่างๆ ของชีวิตเขา [9]
    • ถ้าลูกชอบหนังสือการ์ตูน ถามเขาว่าชอบเรื่องไหนมากที่สุด หรือถามว่าคุณจะขอยืมอ่านหน่อยได้ไหม
    • ถ้าลูกสนใจในการ์ตูนหรือรายการทางโทรทัศน์ ถามดูว่าคุณจะนั่งดูด้วยได้ไหม มันจะช่วยให้คุณเข้าใจอารมณ์ขันในช่วงอายุขณะนั้นของเขาได้ดีขึ้น ซึ่งจะทำให้กระตุ้นเขาตอนเศร้าให้ร่าเริงขึ้นได้ง่ายขึ้น
    • ถ้าลูกชอบกีฬา ดูถ่ายทอดกีฬาด้วยกัน หรือซื้อบัตรไปดูการแข่งขันด้วยกัน
    • ไม่ว่าลูกจะสนใจเรื่องอะไร คุณควรหาโอกาสให้ความสนใจในเรื่องเหล่านั้นระดับหนึ่ง มันจะช่วยผูกสัมพันธ์ และทำให้คุณรู้ว่าจะเข้าไปสอบถามเขาอย่างไรในครั้งหน้าที่เขารู้สึกเศร้า
  3. อาจไม่ใช่ความสนใจสำหรับเด็กทุกคน แต่เด็กหลายคนต้องการจะแสดงออกมาหรือแสร้งทำเรื่องที่มีประเด็นปัญหาที่เขากำลังเผชิญอยู่ มันอาจจะเป็นประเด็นครอบครัวที่เพิ่งเกิด เช่น เพิ่งมีใครเสียชีวิต หรือมันอาจเป็นเรื่องที่เขาได้ไปประสบมาแต่ยังไม่เข้าใจมันอย่างถี่ถ้วน เช่น การเข้าโบสถ์หรือความรับผิดชอบในการงาน [10]
    • การเล่นแสร้งทำเป็นวิธีที่เด็กจะได้เรียนรู้แนวคิดในสภาพแวดล้อมที่อยากรู้อยากเห็นและปลอดภัย
    • ให้แน่ใจว่าคุณได้ช่วยให้การสนับสนุนในสิ่งที่เขาเลือกจะแสดงออกมา คุณอาจรู้สึกเสียใจบ้างละถ้าเกิดลูกเล่นจัดงานศพในเวลาหลังมีคนในครอบครัวเพิ่งจากไปไม่นาน แต่นั่นอาจเป็นวิธีที่เขาพยายามทำความเข้าใจการสูญเสีย ความตาย และความเสียใจคร่ำครวญก็ได้
    • เข้าร่วมถ้าลูกเอ่ยชวน แต่ให้เขามีพื้นที่ถ้าเขาอยากเล่นแสร้งทำเพียงลำพังหรือกับเด็กคนอื่นๆ
  4. การออกกำลังกายจะหลั่งสารเอ็นโดรฟินส์ที่ทำให้คุณรู้สึกมีความสุข มันเป็นเรื่องจริงไม่ว่าจะมีอายุช่วงไหน ถ้าลูกรู้สึกเศร้าหรือเสียใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ลองชวนมาออกกำลังกายเบาๆ ด้วยกันเพื่อคลายเครียดและให้รู้สึกดีขึ้น [11]
  5. บางครั้งเด็กก็อาจรู้สึกอึดอัดเมื่อมีคนอยู่ล้อมรอบตลอดเวลา มันยังอาจเกิดความรู้สึกนี้ได้ถ้าขลุกอยู่กับอุปกรณ์ไฟฟ้าตลอดทั้งวัน ถ้าลูกอยากมานั่งกับคุณ คุณควรให้เขาทำอย่างนั้น แต่ให้แน่ใจว่าเขามีทางเลือกที่จะอยู่ตามลำพังโดยไม่มีเครื่องใช้ไฟฟ้ามาเบี่ยงความสนใจ [12]
    • อย่าปล่อยให้ลูกคุณใช้เวลาเกินกว่าสองชั่วโมงต่อวันกับการดูโทรทัศน์ เล่นคอมพิวเตอร์ หรือเล่นวิดีโอเกม นั่นคือรวมกิจกรรมทั้งหมดที่ว่าเป็นสองชั่วโมง ไม่ใช่แต่ละกิจกรรมได้สองชั่วโมง
    • ใช้เวลาช่วงที่อยู่ตามลำพังสองคนสอนลูกเรื่องการไว้วางใจตัวเอง ลูกจะเรียนรู้วิธีจัดการอารมณ์และผ่อนคลาย หรือรู้สึกดีขึ้นโดยไม่ต้องพึ่งพาวิดีโอเกมหรือสิ่งเบี่ยงเบนความสนใจเมื่อผ่านไปนานๆ
  6. มันอาจฟังดูชัดเจนเกินไป แต่การกอดเป็นวิธีปลอบเด็กที่จำเป็นเวลาที่เขารู้สึกเศร้า เครียด หรือเสียใจ กอดลูกเวลาเขารู้สึกแย่ และอย่าเลิกกอดจนกระทั่งเขาจะผละออกมาเอง [13]
  7. ความสนุกแบบคาดไม่ถึงเป็นวิธีอันดีในการช่วยเด็กลืมปัญหาของตนเองชั่วคราว อย่างไรก็ตาม คุณจำต้องระมัดระวังหน่อยเพื่อให้ลูกไม่ได้คาดหวังว่าตนเองจะได้ของขวัญหรือพบความประหลาดใจทุกครั้งที่เขารู้สึกแย่ คุณยังควรระวังว่าจะใช้ไม้นี้ในบริบทไหนบ้างและใช้บ่อยเพียงใด แทนที่จะจัดการกับประเด็นปัญหาที่ซ่อนอยู่ เพราะมันอาจทำลายพัฒนาการของเด็กได้ [14]
    • เลือกเรื่องประหลาดใจที่สนุกและง่ายๆ โดยไม่ต้องใช้เงินมาก อย่าทุ่มทุนระดับสร้างงานวันเกิดหรืองานเลี้ยงปีใหม่ขึ้นมาอีกครั้ง แค่ของขวัญชิ้นเล็กๆ หรือกิจกรรมสนุกๆ ก็ช่วยให้วันนั้นของเขาดีขึ้นแล้ว
    • พยายามเก็บความประหลาดใจนี้ไว้ใช้ในวันที่เขารู้สึกแย่ที่สุด อย่าใช้มันซะทุกครั้งที่เขารู้สึกแย่ ไม่งั้นเขาอาจหลีกเลี่ยงการรับมือกับปัญหาของตนเองในอนาคต
  8. การมีกิจวัตรเข้านอนที่สงบนั้นจำเป็นต่อเด็ก โดยเฉพาะหากลูกคุณต้องเจอช่วงเวลาที่เศร้าหรือยากลำบากในชีวิต ให้แน่ใจว่าลูกได้นอนหลับเพียงพอ และมีเวลาได้ผ่อนคลายก่อนเข้านอนมากพอ เพื่อที่เขาจะได้ตื่นขึ้นมาอย่างสดชื่นมีความสุข [15]
    • ช่วยให้ลูกได้ผ่อนคลายและสลายความเครียดก่อนเข้านอน อ่านหนังสือด้วยกัน พูดคุยเรื่องที่ผ่านมาในวันนั้น หรือให้เขาได้อาบน้ำอุ่น
    • ทำให้ห้องนอนเขามีอุณหภูมิเหมาะกับการหลับอย่างสบาย ตั้งอุณหภูมิห้องไว้ที่ 18 ถึง 25 องศาเซลเซียส (64.4 ถึง 77 องศาฟาเรนไฮต์) แต่เอาตามที่เขารู้สึกสบายที่สุด [16]
    • จำไว้ว่าเด็กต้องการเวลานอนมากกว่าผู้ใหญ่ เด็กที่อายุระหว่าง 5 ถึง 12 ปีต้องการนอน 10 ถึง 11 ชั่วโมงในแต่ละคืน
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

เลี้ยงลูกให้มีความสุขขึ้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เพื่อที่เด็กจะมีความสุขได้ในภายหลัง (และเพื่อคุณจะได้ตรวจวัดความสุขของลูก) จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องสอนให้เขาแสดงอารมณ์ความรู้สึกออกมา เด็กบางคนอาจมีปัญหาที่จะทำเช่นนี้ด้วยตัวเอง แต่คุณสามารถหาทางช่วยให้เขาได้เข้าใจในอารมณ์ความรู้สึกและแสดงมันออกมาได้
    • ลองให้ลูกเขียนลิสต์อารมณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงนั้น แล้วคุยกับเขาว่าเหตุใดเขาถึงรู้สึกเช่นนั้น ใช้เวลาเน้นไปที่แต่ละอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้น
    • ให้ลูกวาดความรู้สึกของตน การวาดเป็นวิธีแสดงสิ่งที่อยู่ภายในออกมาได้อย่างดีเยี่ยม โดยเฉพาะถ้าลูกขัดขืนที่จะพูดถึงความรู้สึกหรือถ่ายทอดความรู้สึกออกมาเป็นคำพูดได้ลำบาก
    • ก็ไม่ต่างจากผู้ใหญ่ เด็กบางคนมีโลกส่วนตัวและรักสันโดษกว่าเด็กคนอื่น นั่นไม่จำเป็นต้องหมายความว่าเขาทำอะไรผิดหรือซ่อนความลับอะไรกับคุณ แต่ควรให้เขารู้ว่าคุณจะอยู่ที่นั่นเสมอถ้าเขาอยากเปิดอกพูด [17]
  2. วิธีหนึ่งที่ช่วยให้ลูกรู้สึกมั่นคงมากขึ้นเมื่ออยู่ที่บ้านคือการยึดอยู่กับกิจวัตรที่ทำอย่างต่อเนื่องกับลูกของคุณ ทำตัวพร้อมที่จะให้เขาเข้ามาขอคำปรึกษาได้เสมอ และให้แน่ใจว่าคุณจะคอยเป็นแรงสนับสนุนให้เขา มันอาจใช้เวลากว่าจะพัฒนาจนกลายเป็นกิจวัตรได้ แต่มันจำเป็นต่อความสุขและความรู้สึกอุ่นใจของลูก
  3. ถ้าลูกไม่เคยจดบันทึกอะไรมาก่อนเลย ช่วยให้เขาเริ่มทำ ถ้าเขาเขียนสมุดบันทึกทุกวันอยู่แล้ว ให้เขาเขียนบันทึกแรงบันดาลใจเพิ่มเข้าไปเป็นกิจวัตรด้วย
    • การมีบันทึกแรงบันดาลใจจะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ว่าประสบการณ์ของเขามีความหมายและมีความสำคัญ มันยังช่วยให้เขากลับมามีสติเวลาที่ต้องพบเรื่องแย่ๆ ในอนาคต [18]
    • บันทึกแรงบันดาลใจสามารถเป็นเรื่องทั่วไปหรือระบุเจาะจงก็ได้ตามที่เขาชอบ เริ่มต้นด้วยการให้เขาบันทึกการค้นพบ ประสบการณ์ คำถาม และแน่นอน แรงบันดาลใจ ที่รู้สึกหรือพบในวันนั้น
  4. การสำรวจสถานที่หรือสิ่งใหม่ๆ ด้วยกันอาจเป็นประสบการณ์สร้างความผูกพันที่ดีได้ มันจะสอนเด็กให้รู้จักอยากรู้อยากเห็นขึ้นมาอีกระดับ และให้มุมมองใหม่ของการมองโลก [19]
    • ไปพิพิธภัณฑ์ด้วยกัน ไปเรียนเต้นรำ หรือหางานอดิเรกใหม่ๆ ทำร่วมกัน
    • ออกไปสำรวจสวนสาธารณะ หรือหาทริปสั้นๆ ไปดูสิ่งที่น่าตื่นเต้นหรือน่าสนใจด้วยกัน
    • ให้แน่ใจว่าลูกก็สนใจในการผจญภัยที่ว่านี้ด้วย ลองถามคำแนะนำหรือเล่าไอเดียของคุณก่อนจะออกไปตะลุยกันจริงๆ
  5. การศึกษาพบว่า "ความเป็นเลิศ" หรือการมีพร้อมทั้งทักษะและความสำเร็จนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อเด็กที่อยู่ในขั้นตอนการพัฒนาตนเอง มันจะช่วยให้เขารู้สึกถึงการมีความหมายของตน พัฒนาเป้าหมาย และรู้สึกถึงความภาคภูมิใจเมื่อได้ทำสำเร็จ [20]
    • ถ้าลูกคุณชอบกิจกรรมอย่างหนึ่งเป็นพิเศษ เช่น ชอบดูฟุตบอลหรือการประกวดเต้นรำ ถามดูว่าเขาสนใจจะสมัครเรียนหรือเข้าร่วมการแข่งขันหรือเปล่า
    • อย่าผลักดันให้ลูกไปเล่นกีฬาหรือเข้าร่วมทำกิจกรรมที่เขาไม่ชอบ ปล่อยให้เขาตัดสินใจเองเมื่อพร้อมจะอยากทำอะไรตามความต้องการที่แท้จริง
    • ให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้สร้างทัศนคติการชิงดีชิงเด่นลงไปในกิจกรรมของลูก จำไว้ว่าลูกไม่จำเป็นต้องชนะทุกเกมการแข่งขัน ให้เน้นที่การเอ่ยชมความมุมานะกับชมว่าเขาทำดีแล้วยังไง
  6. การสำนึกขอบคุณมีมากกว่าแค่การขอบคุณในสิ่งของที่เป็นรูปธรรม เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องสอนลูกให้รู้จักสำนึกรู้คุณประสบการณ์ดีๆ ในชีวิต ครอบครัวน่ารักที่อยู่เคียงเขา และทักษะกับงานอดิเรกที่เขาชื่นชอบ [21]
    • กระตุ้นลูกให้พอใจในสิ่ง "เล็กๆ" อย่างเช่นการได้เดินในสวนสาธารณะในวันที่อากาศดี หรือการได้ดื่มน้ำผลไม้ที่ชอบสักแก้ว
    • ลองติดแผ่นชาร์ทของจริงไว้ที่ผนังหรือบนตู้เย็น ให้ลูกเติมลงไปในชาร์ทถึงสิ่งที่เขารักในครอบครัว ในตัวเอง และโลกรอบกาย
  7. เด็กส่วนใหญ่จะเจอเรื่องดีร้ายสลับกันไปอยู่แล้ว แต่เด็กบางคนต้องพบกับอาการซึมเศร้าอย่างหนัก มีปัญหาเชิงพฤติกรรม และบาดแผลในใจ ถ้าลูกต้องพบอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้อยู่เป็นประจำ ให้ลองพาไปพบนักบำบัดเด็ก [22] :
    • มีพัฒนาการที่ล่าช้า (การพูด ภาษา หรือการฝึกดูแลอนามัยตัวเอง)
    • มีความลำบากในการเรียนรู้หรือควบคุมความสนใจ
    • มีปัญหาทางพฤติกรรม เช่น โกรธหรือก้าวร้าวจนเกินไป มีอาการ "เขื่อนแตก" ปัสสาวะรดที่นอน หรือพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติ
    • ผลการเรียนลดต่ำลงอย่างเห็นได้ชัด
    • มีช่วงที่โศกเศร้า ร้องไห้ หรือซึมเศร้า เกิดขึ้นบ่อยหรือซ้ำแล้วซ้ำเล่า
    • เก็บตัว ไม่สุงสิงกับใคร และ/หรือลดความสนใจในกิจกรรมที่เคยชอบ
    • เป็นเหยื่อของการถูกรังแกหรือเป็นคนไปรังแกเด็กคนอื่น
    • นอนไม่หลับ
    • เอาแต่จะหลับ
    • ทำตัวเฉื่อยในโรงเรียนหรือโดดเรียนบ่อยเกินไป
    • อารมณ์แปรปรวนจนคาดเดาไม่ถูก
    • มีสัญญาณของการใช้สารเสพติด (ทั้งแอลกอฮอล์ ยา ยารักษาที่นำมาใช้ผิดประเภท หรือกาว)
    • ปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงในชีวิตได้ลำบาก
  8. ถ้าคุณเชื่อมั่นว่าลูกจะดีขึ้นถ้าได้รับการบำบัด ก็จำเป็นต้องมองหานักบำบัด คุณอาจคิดพึ่งจิตแพทย์ (แพทย์ที่ฝึกในด้านจิตบำบัดกับเภสัชศาสตร์), นักจิตวิทยาคลินิก (นักบำบัดที่มีปริญญาและผ่านการอบรมขั้นสูงในด้านจิตวิทยา), หรือนักสังคมสงเคราะห์ (มักจะผ่านการฝึกด้านจิตบำบัด แต่ไม่เสมอไป)
    • เริ่มโดยการสอบถามกุมารแพทย์ประจำตัวลูกเพื่อแนะนำคน ถ้าไม่มีโชคที่นั่น อาจสอบถามเพื่อนสนิท ญาติหรือเพื่อนร่วมงานที่ไว้ใจได้แทน
    • คุณสามารถค้นหาในอินเทอร์เน็ตสำหรับนักบำบัดเด็กเล็ก
    • พอคุณพบนักบำบัดที่ถูกใจแล้ว สอบถามว่าจะเข้าพบเพื่อขอคำปรึกษาหรือคุยทางโทรศัพท์ คุณจะได้พอรับรู้บุคลิกลักษณะของนักบำบัดคนนั้นก่อนตกลงนัดพบเป็นประจำกัน
    • นักบำบัดบางคนอาจคิดเงินสำหรับการให้คำปรึกษา แต่บางคนก็ไม่ทำเช่นนั้น สอบถามล่วงหน้าเพื่อจะได้ไม่แปลกใจเวลาเห็นใบคิดเงิน
    • ให้แน่ใจว่านักบำบัดคนที่เลือกมีใบอนุญาตให้ประกอบกิจการทางแพทย์ คุณควรพิจารณาผลงานกับประสบการณ์ที่ผ่านมาของเขาด้วย
    • สอบถามดูว่าเขาเคยทำงานกับเด็กและวัยรุ่นมานานแค่ไหน
    • ลองคิดดูว่าลูกจะชอบนักบำบัดคนนี้หรือไม่ และตัวเขาดูเป็นมิตรและเข้าถึงได้ง่ายไหม
    • ถามนักบำบัดดูว่าเขามีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไหน (ความคิดและพฤติกรรมบำบัด เป็นต้น)
    • ตรวจสอบดูว่าแผนประกันชีวิตของคุณครอบคลุมการนัดบำบัดสำหรับลูกด้วยหรือไม่ [23]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าลูกมีสัตว์เลี้ยง ให้เขาได้อุ้ม/เล่นกับสัตว์นั้น (ถ้าเป็นไปได้) เพราะมันจะทำให้สบายใจขึ้น
  • ใช้เวลาอยู่กับลูกเวลาที่เขาเศร้า มันสำคัญต่อเขาอย่างยิ่งที่จะรู้ว่าคุณอยู่ที่นั่นเพื่อเขา
  • พยายามเข้าใจว่าลูกกำลังประสบกับเรื่องอะไร และอย่าตัดสินหรือลงโทษเขาจากวิธีที่เขาแสดงความรู้สึกออกมา
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าตะโกนใส่ลูกเพราะเขาเศร้า เช่นเดียวกัน คุณไม่ควรจะบอกเขาให้ "ลืมๆ มันไปเหอะ" หรือไปมองข้ามความรู้สึกของเขา
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,010 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา