ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เชื่อหรือไม่ว่าการที่ร่างกายขับเหงื่อออกมานั้นดีต่อสุขภาพ เพราะการขับเหงื่อเป็นวิธีระบายความร้อนของร่างกาย ทดแทนอิเล็กโทรไลต์ และทำให้ผิวสุขภาพดี คุณอาจจะคุ้นเคยกับการที่มีเหงื่อออกในช่วงที่อากาศร้อนหรือออกกำลังกายหนักๆ อยู่แล้ว แต่ก็มีวิธีอื่นที่ช่วยให้ร่างกายของคุณฉ่ำวาวไปด้วยเหงื่อได้เช่นเดียวกัน ถ้าเป้าหมายของคุณคือการทำให้ตัวเองเหงื่อออกมากขึ้น ลองบริโภคคาเฟอีนและรับประทานอาหารรสเผ็ด ให้มากขึ้น ไปอบซาวน่าบ้าง หรือใส่เสื้อผ้าหนาๆ ที่ดูดซับความร้อนไว้หลายๆ ชั้นก็ได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ออกกำลังกาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ก่อนที่คุณจะไปฟิตเนสหรือออกไปวิ่ง ให้ดื่มน้ำแก้วใหญ่ๆ สักแก้ว (หรือสองแก้ว) พูดง่ายๆ ก็คือยิ่งคุณมีของเหลวในร่างกายมากเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งมีน้ำไว้สำหรับขับเหงื่อมากขึ้นเท่านั้น [1]
    • ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพส่วนใหญ่แนะนำให้ดื่มน้ำประมาณครึ่งลิตรก่อนออกกำลังกาย [2]
    • อย่าลืมดื่มน้ำระหว่างออกกำลังกายด้วยเช่นเดียวกัน การดื่มน้ำไม่เกิน 250 มิลลิลิตร ทุกๆ 15-20 นาทีนั้นช่วยทำให้คุณรู้สึกดีและออกกำลังกายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด
  2. การออกกำลังกายในรูปแบบอื่น เช่น ยกน้ำหนัก มักเป็นการออกกำลังกายระยะสั้นที่ต้องออกแรงมาก ซึ่งไม่เหมือนกับการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอที่บังคับให้คุณต้องออกแรงในระยะเวลาที่นานกว่า การออกแรงในลักษณะนี้จะเพิ่มอุณหภูมิในร่างกาย ทำให้คุณต้องขับเหงื่อออกมาเพื่อระบายความร้อน [3]
    • ถ้าปกติแล้วคุณออกกำลังกายที่ฟิตเนส ให้วิ่งบนสายพาน เดินบนเครื่องอิลิปติคัล หรือปั่นจักรยานอยู่กับที่ด้วยแรงกระแทกปานกลางอย่างน้อย 20-30 นาทีเพื่อให้หัวใจเต้นเร็วและอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น
    • งานวิจัยพบว่า ขณะที่ร่างกายของคุณแข็งแรงขึ้น ร่างกายของคุณอาจจะเริ่มขับเหงื่อมากขึ้น (และเร็วขึ้นด้วย) [4]
  3. ถ้าอากาศเป็นใจ ให้หลีกหนีจากความสบายในห้องฟิตเนสที่มีการควบคุมอุณหภูมิบ้าง แล้วออกมาเรียกเหงื่อท่ามกลางแสงแดด คุณสามารถวิ่งไปมาได้อย่างอิสระและปล่อยให้เหงื่อไหลไคลย้อยได้ตามสบาย เล่นกีฬา วิ่งเร็วสลับช้าสัก 2-3 รอบ หรือทำกิจกรรมที่คุณสามารถทำได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม เช่น โยคะและกายกรรมเพื่อสุขภาพ [5]
    • กำหนดตารางการออกกำลังกายช่วงบ่ายแก่ๆ ตอนที่อุณหภูมิสูงที่สุด
    • อย่าลืมดื่มน้ำในปริมาณที่พอเหมาะก่อนออกกำลังกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่อากาศร้อนระอุ [6]
  4. ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นชุดที่ใส่แล้วรู้สึก “วอร์ม” หรือร้อนจนเหงื่อออกนั่นเอง เก็บเสื้อผ้าที่โชว์เนื้อหนังและระบายอากาศได้ดีอย่างนีโอพรีนไว้ออกกำลังกายวันหลัง แต่ตอนนี้ให้ใส่ชุดผ้าฝ้ายธรรมดารัดรูปแทน เสื้อผ้าที่มีฉนวนจะเก็บความร้อนที่ร่างกายระบายออกมาขณะออกกำลังกายไว้ที่ผิวหนัง ซึ่งจะทำให้เหงื่อออกอย่างรวดเร็ว [7]
    • มองหา “สูทซาวน่า” ที่ทำจาก PVC และวัสดุกันน้ำอื่นๆ ซึ่งออกแบบมาเพื่อป้องกันไม่ให้ความร้อนลดลงและทำให้เหงื่อโชกไปทั้งตัว
    • พักระหว่างออกกำลังกายบ่อยๆ และถอดเสื้อผ้าที่เกินมาออกบ้างเพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายร้อนจนเกินไป [8]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การรับประทานวัตถุดิบที่มีรสเผ็ดทำให้ต่อมเหงื่อทำงานมากขึ้น และยังช่วยเพิ่มการเผาผลาญและทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงด้วย เรียกได้ว่ายิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัวเลย อาหารไทย เม็กซิกัน อินเดีย และเวียดนามนั้นได้ชื่อว่าเป็นอาหารที่มีรสชาติร้อนแรงมาก [9]
    • เพิ่มพริกขี้หนูซอย ซอสพริก และพริกป่นเล็กน้อยในมื้ออาหารเพื่อเพิ่มความเผ็ด
    • เตรียมนมหนึ่งแก้วเผื่อไว้เพื่อลดความเผ็ดหากคุณเริ่มทนไม่ไหว [10]
  2. ชงกาแฟ ชา หรือช็อกโกแลตร้อนให้ตัวเองหนึ่งแก้วแล้วดื่มตอนที่เพิ่งชงเสร็จใหม่ๆ วิธีนี้จะเพิ่มอุณหภูมิแกนจากข้างใน ยิ่งประเทศไทยอากาศร้อนอยู่แล้ว รูขุมขนก็จะยิ่งเปิดเร็วขึ้น
    • เครื่องดื่มร้อนช่วยทำให้ร่างกายอุ่นขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ ได้เป็นอย่างดี ส่วนหนึ่งจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมนักเล่นสกี นักปีนเขา และนักกีฬาฤดูหนาวอื่นๆ จึงนิยมดื่มกัน
  3. รับประทานอาหารที่เพิ่มความกระปรี้กระเปร่าอย่างกาแฟ น้ำอัดลม และช็อกโกแลตเหมือนเป็นอาหารหลัก คาเฟอีนจะไปกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางโดยตรง และการขับเหงื่อก็เป็นการตอบสนองต่อระบบประสาท แค่ระวังอย่ารับประทานมากเกินไป ไม่อย่างนั้นคุณอาจจะกระสับกระส่ายได้ [11]
    • ถ้าคุณดื่มกาแฟได้ไม่มาก ให้เปลี่ยนไปดื่มอย่างอื่นที่มีปริมาณคาเฟอีนน้อยกว่าแทน เช่น ชาเขียว
    • ถ้าลองทุกอย่างแล้วไม่ได้ผล ให้ดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง ผลิตภัณฑ์พวกนี้มักมีคาเฟอีนสูงถึง 200 มก. ต่อหน่วย [12]
  4. ผ่อนคลายหลังจากผ่านวันอันแสนยาวนานด้วยการดื่มเบียร์สัก 2-3 กระป๋องหรือไวน์แดงสักหน่อย แอลกอฮอล์แม้เพียงเล็กน้อยก็ทำให้เลือดสูบฉีดได้อย่างรวดเร็ว ผ่านไปสักพักหน้าคุณก็จะเริ่มแดง รู้สึกร้อนวูบวาบ และ (อย่างที่คุณคิดนั่นแหละ) เหงื่อออก [13]
    • ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าทางเลือกนี้ใช้ได้กับคนที่อายุถึงเกณฑ์ดื่มแอลกอฮอล์แล้วเท่านั้น
    • อย่าดื่มมากเกินไป เพราะนอกจากจะไม่ช่วยให้เหงื่อออกเพิ่มแล้ว ยังบดบังความสามารถในการตัดสินใจและอาจทำให้ตัวเองอับอายขายหน้าด้วย
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ปรับเปลี่ยนนิสัย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ชื่อผลิตภัณฑ์ก็บอกอยู่แล้วว่า ผลิตภัณฑ์ระงับเหงื่อนั้นออกแบบมาเพื่อไม่ให้เหงื่อออก เพราะฉะนั้นถ้าเป้าหมายของคุณก็คือการทำให้เหงื่อออกมากยิ่งขึ้น สิ่งแรกที่คุณควรทำก็คือ เลิกใช้ผลิตภัณฑ์ระงับเหงื่อในการรักษาความสะอาดประจำวัน ครู่เดียวรักแร้และส่วนอื่นๆ ในร่างกายที่ทำหน้าที่ระบายความร้อนก็จะชุ่มไปด้วยเหงื่อ [14]
    • เปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายที่ป้องกันไม่ให้เกิดกลิ่นเหม็นโดยไม่ไปแทรกแซงความสามารถในการขับเหงื่อของร่างกาย
    • คุณอาจจะแตะน้ำหอมที่มีกลิ่นหอมเข้มข้นจากธรรมชาติ เช่น น้ำมันเปปเปอร์มินต์หรือน้ำมันพิมเสนสัก 2-3 หยดลงบนบริเวณที่มักมีกลิ่น หากคุณกังวลว่าจะมีกลิ่นตัวหลังจากที่ไม่ได้ทาผลิตภัณฑ์ระงับเหงื่อมา 2-3 วัน
  2. ลดอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศจากปกติสัก 2-3 องศาเซลเซียส วิธีนี้จะทำให้คุณไม่ชินกับอุณหภูมิสูงๆ เร็วเกินไป พอคุณเข้าไปอยู่ในที่ที่อากาศร้อน แค่ทำอะไรนิดๆ หน่อยๆ ก็เหงื่อโซมกายแล้ว [15]
    • ที่อยู่อาศัยที่อากาศหนาวก็อาจทำให้รู้สึกไม่ค่อยสบายตัว เพราะฉะนั้นค่อยๆ เพิ่มระดับความเย็น สัปดาห์แรกอาจจะลดอุณหภูมิลงสัก 2-3 องศาเซลเซียสก่อน แล้วก็ค่อยๆ ปรับลดไปเรื่อยๆ [16]
    • ถ้าคุณอยู่ในประเทศที่อากาศหนาวเล็กน้อย คุณก็แค่ปิดฮีตเตอร์ในช่วงฤดูหนาว เพราะนอกจากคุณจะเหงื่อโชกเวลาออกกำลังกายหรืออบซาวน่าแล้ว ยังประหยัดค่าไฟฟ้าได้ด้วย!
  3. เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ให้คุณใส่เสื้อผ้าหนาๆ แขนยาว เช่น เสื้อกั๊กและสเวตเตอร์ วัสดุสังเคราะห์อย่างไนลอน เรยอน และโพลีเอสเตอร์จะระบายอากาศได้ไม่ดีเท่าใยผ้าธรรมชาติ ซึ่งจะช่วยกักเก็บความร้อนไว้ที่ผิวหนังได้ดีกว่า [17]
    • เพื่อให้เทคนิคนี้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ลองใส่เสื้อผ้าหลายๆ ชั้น
    • อย่าใส่เสื้อผ้าหนาๆ ครั้งละนานกว่า 2-3 ชั่วโมง เพราะถ้าความชื้นที่เกินมาไม่มีที่ให้ระบายออกไป มันก็จะสะสมอยู่บนผิวหนัง ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาตามมา เช่น การติดเชื้อที่ผิวหนัง [18]
  4. ถ้าทำทุกวิธีแล้วเหงื่อก็ยังไม่ออก ซาวน่าช่วยได้ อากาศร้อนชื้นในห้องรอบตัวคุณจะไปเกาะอยู่ที่ผิวหนังและทำให้เหงื่อออก จากนั้นเหงื่อที่ออกมาก็จะระเหยและกลับเข้าไปในบรรยากาศของห้องอีกที [19]
    • การอบซาวน่านานเกินไปอาจเป็นอันตรายได้ จำกัดเวลาอบซาวน่าไม่เกินครั้งละ 20-30 นาที และดื่มน้ำมากๆ ก่อนเข้าไป
    • ถ้าคุณกะจะอบซาวน่านานกว่านั้น ให้พักอาบน้ำเย็นๆ เป็นช่วงๆ บ้างเพื่อลดอุณหภูมิในร่างกาย [20]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • การที่เหงื่อออกนั้นดีต่อตัวคุณ เพราะจริงๆ แล้วคนที่สุขภาพดีกว่าจะมีเหงื่อออกมากกว่า และมักจะเหงื่อออกเร็วกว่าคนอื่นด้วย
  • ใส่เสื้อผ้าหนาๆ ควบคู่ไปกับการทำวิธีอื่นที่กล่าวไว้ในข้างต้น เพื่อให้ตัวเองรู้สึกร้อนขึ้นและเหงื่อออกมากขึ้น
  • การขับเหงื่อเป็นการขับเกลือ โลหะ แบคทีเรีย และสิ่งอื่นๆ ออกจากร่างกาย เพราะฉะนั้นคุณต้องอาบน้ำบ่อยๆ เพื่อชำระล้างกลิ่นเหม็นต่างๆ ที่หมักหมมอยู่ที่ผิวของคุณ
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าบริโภคคาเฟอีนเพื่อให้เหงื่อออกถ้าคุณไวต่อคาเฟอีน เพราะการบริโภคคาเฟอีนมากเกินไปอาจทำให้หัวใจเต้นเร็ว หายใจเหนื่อยหอบ รู้สึกกระสับกระส่าย และวิตกกังวลได้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,215 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา