ดาวน์โหลดบทความ
ดาวน์โหลดบทความ
ไม่ว่าใครก็คงเคยได้รับแผลบ้างในบางครั้ง ซึ่งบาดแผลโดยส่วนมากนั้นไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ แต่เพื่อให้บาดแผลหายดีและหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ คุณควรทำตามวิธีเหล่านี้เพื่อให้บาดแผลหายอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น [1] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Mayo Clinic ไปที่แหล่งข้อมูล มีหลายวิธีที่จะช่วยให้แผลของคุณหายอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ชีวิตประจำวันของคุณดำเนินไปอย่างราบรื่น
ขั้นตอน
-
ล้างมือ. ก่อนเริ่มทำแผล ควรมั่นใจว่ามือของคุณสะอาดเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้แบคทีเรียเข้าสู่แผล ล้างมืออย่างถูกวิธีเพื่อให้แน่ใจว่ามือสะอาดดีแล้ว [2] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Centers for Disease Control and Prevention ไปที่แหล่งข้อมูล
- ทำมือให้เปียกด้วยน้ำสะอาด
- ใช้มือถูสบู่ให้เกิดฟอง โดยถูให้ทั่วทุกส่วนของมือ ทั้งหลังมือ ซอกนิ้ว และเล็บมือ
- ถูมือนานอย่างน้อย 20 วินาที โดยส่วนใหญ่มักจับเวลาโดยฮัมเพลง Happy Birthday 2 รอบ หรือร้องเพลง ABC จนจบ
- ล้างฟองออกให้หมดด้วยน้ำสะอาด หากเป็นไปได้ ให้หลีกเลี่ยงการใช้มือปิดก๊อกน้ำ และใช้ปลายแขนหรือข้อศอกแทน
- เช็ดมือให้แห้งด้วยผ้าขนหนูสะอาด หรือผึ่งลมให้แห้ง
- หากไม่มีน้ำหรือสบู่ ให้ใช้เจลล้างมือที่ผสมแอลกอฮอล์อย่างน้อย 60% โดยใช้ในปริมาณตามคำแนะนำบนฉลาก และถูไปมาจนแห้ง
-
ห้ามเลือด. หากคุณได้รับบาดแผลหรือรอยถลอกเล็กๆ เลือดจะไหลเพียงเล็กน้อยและหยุดเอง แต่หากเลือดยังไม่หยุดไหล ให้คุณกดเบาๆ บนแผลด้วยผ้าพันแผลจนกระทั่งเลือดหยุดไหล [3] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Mayo Clinic ไปที่แหล่งข้อมูล
- หากเลือดยังไม่หยุดไหลหลังผ่านไปแล้ว 10 นาที ให้ไปพบแพทย์โดยทันที เนื่องจากบาดแผลของคุณอาจมีอาการรุนแรงมากกว่าที่คุณคิด
- หากมีเลือดออกมากหรือพุ่งกระฉูด อาจเกิดขึ้นเนื่องจากเส้นเลือดแดงขาด ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์อย่างฉุกเฉิน และคุณควรรีบไปโรงพยาบาลหรือเรียกรถพยาบาลโดยทันที เส้นเลือดแดงขาดมักเกิดขึ้นในบริเวณด้านในต้นขา ด้านในต้นแขน และคอ [4] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับแผลที่มีเลือดไหลไม่หยุด ให้ใช้ผ้าพันแผลกดลงไปเบาๆ จากนั้นจึงปิดแผลด้วยผ้าพันแผลหรือผ้าแล้วพันรอบๆ ให้แน่น ควรระวังอย่าพันจนแน่นเกินไปจนทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ และรีบไปพบแพทย์โดยทันที [5] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ทำความสะอาดแผล. เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ คุณจำเป็นต้องกำจัดสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อแบคทีเรียให้ได้มากที่สุด ล้างแผลให้สะอาดก่อนเริ่มปิดด้วยผ้าพันแผล เพื่อหลีกเลี่ยงการสะสมของเชื้อแบคทีเรียในบาดแผล [6] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Mayo Clinic ไปที่แหล่งข้อมูล
- เปิดน้ำสะอาดให้ไหลผ่านแผล โดยน้ำที่ไหลจะช่วยขจัดสิ่งแปลกปลอมที่อาจติดอยู่ในแผลได้
- ใช้สบู่ล้างบริเวณรอบๆ แผล หลีกเลี่ยงไม่ให้สบู่ถูกบาดแผลโดยตรง เพราะอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองและการอักเสบได้
- หากยังมีสิ่งแปลกปลอมหลงเหลืออยู่ในแผลหลังจากล้างเสร็จแล้ว ให้ใช้แหนบที่ทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์แล้วหนีบออกมา
- ไปพบแพทย์หากมีเศษฝุ่นหรือสิ่งแปลกปลอมที่ไม่สามารถนำออกได้
-
ใช้ครีมหรือยาทาปฏิชีวนะ. ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะช่วยป้องกันแผลจากการติดเชื้อและภาวะแทรกซ้อนที่จะไปขัดขวางกระบวนการฟื้นฟูของแผล โดยยาทาปฏิชีวนะสามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยาทั่วไป [7] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Mayo Clinic ไปที่แหล่งข้อมูล
- ควรอ่านฉลากก่อนใช้เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีส่วนผสมใดๆ ที่คุณแพ้
- หากมีผื่นคันหรือการระคายเคืองเกิดขึ้น ให้หยุดใช้และไปพบแพทย์
- หากไม่มียาทาต้านแบคทีเรียหรือยาทาปฏิชีวนะ ให้ทาปิโตรเลียมเจลลี่บางๆ แทน ซึ่งจะช่วยเป็นเกราะป้องกันระหว่างบาดแผลกับเชื้อแบคทีเรียได้
-
ปิดแผล. การปล่อยแผลไว้โดยไม่ปิดให้เรียบร้อยจะทำให้สิ่งสกปรกและแบคทีเรียเข้าสู่แผล และนำไปสู่การติดเชื้อได้ ปิดแผลด้วยผ้าพันแผลหรือพลาสเตอร์ยาที่ปราศจากเชื้อและไม่ติดแผล และควรแน่ใจว่าผ้าปิดแผลที่ใช้สามารถปิดแผลได้พอดี [8] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Mayo Clinic ไปที่แหล่งข้อมูล
- หากไม่มีผ้าพันแผล ให้ปิดแผลโดยใช้กระดาษทิชชูหรือกระดาษชำระอเนกประสงค์ที่สะอาดไปก่อนจนสามารถหาผ้าพันแผลได้
- หากบาดแผลไม่ลึกและมีเลือดออกเพียงเล็กน้อย คุณอาจใช้พลาสเตอร์ชนิดเหลวแทนได้ ผลิตภัณฑ์ชนิดนี้จะช่วยเคลือบแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อและสามารถกันน้ำได้เป็นเวลาหลายวัน เมื่อเกิดบาดแผล ให้ใช้พลาสเตอร์ชนิดเหลวทาเคลือบไว้หลังจากล้างแผลและทำให้แห้งแล้ว [9] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Seattle Children's Hospital ไปที่แหล่งข้อมูล
-
ตัดสินใจว่าเมื่อใดที่ควรไปพบแพทย์. บาดแผลที่ไม่ลึกมากนักอาจไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์หากไม่เกิดการติดเชื้อใดๆ อย่างไรก็ตาม มีหลายกรณีที่คุณจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์หลังจากที่ล้างและทำแผลเรียบร้อยแล้ว รีบไปพบแพทย์หรือไปโรงพยาบาลหากคุณมีอาการใดๆ ต่อไปนี้
- บาดแผลเกิดขึ้นกับเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ - หากมีบาดแผลใดๆ เกิดขึ้นกับเด็กทารกที่มีอายุน้อยกว่า 1 ขวบ ควรรีบเข้ารับการรักษาทางการแพทย์เพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อและแผลเป็น [10] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Seattle Children's Hospital ไปที่แหล่งข้อมูล
- บาดแผลลึก - แผลที่มีความลึกเกิน 0.25 นิ้วจัดว่าเป็นแผลลึก และหากแผลลึกมาก คุณอาจเห็นชั้นไขมัน กล้ามเนื้อ หรือกระดูกโผล่ออกมาได้ เพื่อให้บาดแผลสมานและป้องกันการติดเชื้อ คุณอาจจำเป็นต้องเย็บแผล [11] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- บาดแผลเป็นรอยยาว - บาดแผลที่ยาวเกิน 0.5 นิ้วอาจจำเป็นต้องเย็บแผล [12] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Seattle Children's Hospital ไปที่แหล่งข้อมูล
- บาดแผลสกปรกและมีสิ่งแปลกปลอมที่ไม่สามารถนำออกได้ - เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ควรไปพบแพทย์หากคุณไม่สามารถล้างแผลได้สะอาดหมดจด
- บาดแผลเกิดขึ้นบนข้อต่อและเปิดอ้าเมื่อข้อต่อขยับ - บาดแผลชนิดนี้จำเป็นต้องเย็บปิดเช่นเดียวกัน [13] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- บาดแผลยังคงมีเลือดออกหลังกดห้ามเลือดนานกว่า 10 นาที - เลือดไหลไม่หยุดอาจเกิดขึ้นเนื่องจากบาดแผลไปโดนเส้นเลือดดำหรือเส้นเลือดแดง ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ [14] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- บาดแผลเกิดจากสัตว์ - คุณอาจมีความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าหากคุณไม่รู้ประวัติการรับวัคซีนของสัตว์ตัวนั้น คุณจำเป็นต้องทำความสะอาดบาดแผลให้สะอาด และอาจต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเพื่อป้องกันการเกิดโรค [15] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Mayo Clinic ไปที่แหล่งข้อมูล
- เป็นโรคเบาหวาน - ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีแนวโน้มที่จะมีภาวะแทรกซ้อนจากบาดแผลเนื่องจากความสามารถของการไหลเวียนเลือดและเส้นประสาทที่แย่ลง ซึ่งทำให้แผลที่มีขนาดเล็กสามารถติดเชื้ออย่างรุนแรงและหายช้าลงได้ หากคุณป่วยเป็นโรคเบาหวาน ควรไปพบแพทย์ทุกครั้งไม่ว่าจะมีบาดแผลขนาดใด [16] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักนานเกิน 5 ปี - แม้ว่าแพทย์จะแนะนำให้รับวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักทุกๆ 10 ปี แต่แพทย์มักฉัดวัคซีนให้คุณหากมีบาดแผลลึก มีบาดแผลที่ถูกสัตว์กัด หรือมีบาดแผลใดๆ ที่เกิดขึ้นจากโลหะที่เป็นสนิม ไปพบแพทย์หากคุณไม่ได้ฉีดวัคซีนนานเกิน 5 ปี เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคบาดทะยัก [17] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- บาดแผลอยู่บนใบหน้า - การเย็บแผลหรือการรักษาแบบอื่นๆ อาจช่วยไม่ให้เกิดแผลเป็นบนใบหน้าได้ [18] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Seattle Children's Hospital ไปที่แหล่งข้อมูล
โฆษณา
-
เปลี่ยนผ้าพันแผลเป็นประจำ. เลือดและแบคทีเรียจากบาดแผลนั้นจะทำให้ผ้าพันแผลสกปรก ดังนั้นจึงควรเปลี่ยนผ้าพันแผลอย่างน้อยวันละครั้งเพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ หรือเปลี่ยนทุกครั้งที่ผ้าพันแผลเริ่มแฉะหรือสกปรก [19] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Mayo Clinic ไปที่แหล่งข้อมูล
-
สังเกตดูสัญญาณเตือนของการติดเชื้อ. แม้ว่าการทำความสะอาดและปิดแผลจะช่วยป้องกันการติดเชื้อ แต่การติดเชื้อก็อาจเกิดขึ้นได้ คอยสังเกตดูสัญญาณเตือนของการติดเชื้อ และไปพบแพทย์หากมีอาการดังต่อไปนี้ [20] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง [21] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- รู้สึกเจ็บบริเวณบาดแผลมากขึ้น
- มีรอยแดง บวม หรือความอุ่นรอบๆ บาดแผล
- มีน้ำหนองไหลจากบาดแผล
- มีกลิ่นเหม็น
- มีไข้สูงถึง 38 องศาหรือติดต่อกันนานกว่า 4 ชั่วโมง
-
ไปพบแพทย์หากบาดแผลไม่หายดี. บาดแผลโดยส่วนใหญ่มักใช้เวลา 3-7 วันในการฟื้นฟู หรือประมาณ 2 สัปดาห์หากบาดแผลค่อนข้างรุนแรง ซึ่งหากแผลของคุณใช้เวลาในการฟื้นฟูนานเกินไป อาจเป็นผลมาจากการติดเชื้อหรือปัญหาอื่นๆ ได้ ถ้าบาดแผลยังคงไม่หายดีหลังผ่านไปแล้ว 1 สัปดาห์ ให้รีบไปพบแพทย์โดยทันที [22] X แหล่งข้อมูลอ้างอิงโฆษณา
-
รักษาความชุ่มชื้น. ยาทาปฏิชีวนะไม่เพียงช่วยในการป้องกันการติดเชื้อเท่านั้น แต่ยังช่วยเก็บกักความชุ่มชื้นในบาดแผลได้ด้วย แผลที่แห้งจะใช้เวลาในการฟื้นฟูมากขึ้น และความชุ่มชื้นนี้สามารถช่วยเร่งกระบวนการรักษาให้เร็วขึ้นได้ ทายาทุกครั้งเมื่อคุณปิดแผล และถึงแม้จะไม่จำเป็นต้องปิดแผลแล้ว แต่ก็ควรทายาเพื่อรักษาความชุ่มชื้นและช่วยในกระบวนการฟื้นฟู [23] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
หลีกเลี่ยงการขูดหรือแกะสะเก็ดแผล. บางครั้งบาดแผลหรือรอยถลอกก็จะตกสะเก็ด ซึ่งสะเก็ดแผลนี้จะช่วยป้องกันบาดแผลในระหว่างฟื้นฟู ดังนั้น คุณจึงไม่ควรขูดหรือพยายามแกะสะเก็ดแผล เพราะการแกะสะเก็ดแผลจะทำให้ร่างกายต้องเริ่มทำการฟื้นฟูแผลใหม่อีกครั้ง และทำให้กระบวนการรักษาช้าลง [24] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ในบางครั้งสะเก็ดแผลอาจหลุดออกโดยไม่ได้ตั้งใจ และทำให้เลือดเริ่มไหลอีกครั้ง หากสะเก็ดแผลหลุดออก ให้ทำความสะอาดและทำแผลเหมือนกับบาดแผลชนิดอื่น
-
ลอกพลาสเตอร์ยาออกช้าๆ. แม้เรามักจะได้ยินว่าควรลอกพลาสเตอร์ยาออกอย่างรวดเร็ว แต่การทำเช่นนี้จะทำให้แผลหายช้าลงได้ เนื่องจากการดึงพลาสเตอร์ยาออกเร็วๆ จะลอกสะเก็ดแผลออกมาและทำให้แผลเปิดอีกครั้ง จึงทำให้กระบวนการรักษาถูกขัดขวาง ดังนั้น คุณจึงควรแกะพลาสเตอร์ยาออกอย่างช้าๆ และเพื่อให้ลอกพลาสเตอร์ยาออกมาได้ง่ายขึ้น ให้แช่บริเวณบาดแผลในน้ำอุ่น เพื่อลดความเหนียวของพลาสเตอร์ยาและทำให้ลอกออกมาได้โดยรู้สึกเจ็บน้อยลง [25] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
หลีกเลี่ยงการใช้ยาฆ่าเชื้อที่รุนแรงกับบาดแผลขนาดเล็ก. แอลกอฮอล์ เปอร์ออกไซด์ ไอโอดีน และสบู่ที่รุนแรงกับผิว สามารถก่อให้เกิดการระคายเคืองและอักเสบบริเวณบาดแผล ซึ่งจะส่งผลให้กระบวนการรักษาของแผลช้าลง และอาจทำให้เกิดแผลเป็นได้ สำหรับบาดแผลขนาดเล็กและรอยถลอก สิ่งที่คุณต้องใช้มีเพียงน้ำเปล่า สบู่สูตรอ่อนโยน และยาทาปฏิชีวนะเท่านั้น [26] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
นอนหลับอย่างเพียงพอ. ร่างกายจะทำการซ่อมแซมตัวเองในขณะที่คุณนอนหลับ ซึ่งหากคุณนอนหลับไม่เพียงพอ ก็จะทำให้บาดแผลใช้เวลาในการฟื้นฟูนานยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การนอนหลับยังเป็นสิ่งจำเป็นต่อระบบภูมิคุ้มกันโรค ที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อในระหว่างฟื้นฟูบาดแผล พยายามนอนหลับอย่างเต็มที่ เพื่อช่วยให้แผลของคุณฟื้นฟูได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ [27] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ PubMed Central ไปที่แหล่งข้อมูล [28] X แหล่งข้อมูลอ้างอิงโฆษณา
-
ทานโปรตีนวันละ 2-3 จาน. โปรตีนเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของผิวหนังและเนื้อเยื่อ ดังนั้น การทานโปรตีนวันละ 2-3 จานจะช่วยกระตุ้นการฟื้นฟูของบาดแผลได้ แหล่งโปรตีนที่ดี ได้แก่ [29] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง [30] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- เนื้อสัตว์และสัตว์ปีก
- ถั่ว
- ไข่
- ผลิตภัณฑ์นม เช่น นม ชีส และโยเกิร์ต โดยเฉพาะกรีกโยเกิร์ต
- ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง
-
ทานไขมันในปริมาณมากขึ้น. ไขมันเป็นสิ่งจำเป็นต่อการสร้างเซลล์ ดังนั้น คุณจึงจำเป็นต้องได้รับไขมันในปริมาณมาก เพื่อให้แผลของคุณฟื้นฟูได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ควรมั่นใจว่าไขมันที่รับประทานเข้าไปนั้นเป็นไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนและไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว หรือที่เรียกว่าไขมันดี ไขมันอิ่มตัวที่พบในอาหารขยะนั้นไม่มีประโยชน์ต่อการฟื้นฟูของแผล และยังทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมาได้ [31] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- แหล่งของไขมันดีที่จะช่วยในการฟื้นฟู ได้แก่ เนื้อไม่มีมัน น้ำมันพืช เช่น น้ำมันทานตะวันหรือน้ำมันมะกอก และผลิตภัณฑ์นม [32] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ทานคาร์โบไฮเดรตเป็นประจำ. คาร์โบไฮเดรตเป็นสิ่งสำคัญต่อร่างกาย เนื่องจากร่างกายจะใช้คาร์โบไฮเดรตในการสร้างพลังงาน หากไม่ได้รับคาร์โบไฮเดรต จะทำให้ร่างกายของคุณนำสารอาหารชนิดอื่นๆ เช่น โปรตีน ไปสร้างพลังงานแทน ซึ่งจะส่งผลให้กระบวนการฟื้นฟูช้าลง เนื่องจากบาดแผลได้สูญเสียโปรตีนและไขมันที่ช่วยในการฟื้นฟู หลีกเลี่ยงไม่ให้ร่างกายขาดคาร์โบไฮเดรตโดยการทานธัญพืช ขนมปัง ข้าว และพาสต้าเป็นประจำทุกวัน [33] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ควรรับประทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนมากกว่าคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว เนื่องจากคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนจะใช้เวลาในการย่อยช้ากว่า จึงไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น อาหารที่เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ได้แก่ ขนมปังโฮลเกรน ธัญพืช พาสต้า มันเทศ และข้าวโอ๊ตเต็มเมล็ด ซึ่งนอกจากจะอุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรตแล้ว ยังมีปริมาณไฟเบอร์และโปรตีนสูงอีกด้วย [34] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ทานวิตามินเอและซีอย่างเพียงพอ. ทั้งวิตามินเอและวิตามินซีมีส่วนช่วยในการฟื้นฟูบาดแผล โดยจะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์และป้องกันการอักเสบ ทั้งยังช่วยต่อต้านการติดเชื้อในระหว่างฟื้นฟูบาดแผล [35] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- แหล่งสำคัญของวิตามินเอ ได้แก่ มันเทศ ผักปวยเล้ง แครอท ปลาเฮอร์ริ่ง ปลาแซลมอน ไข่ และผลิตภัณฑ์นม
- แหล่งสำคัญของวิตามินซี ได้แก่ ส้ม พริกหวานสีเหลือง ผักสีเขียวเข้ม และผลไม้ตระกูลเบอร์รี่
-
เพิ่มธาตุเหล็กในอาหาร. ธาตุเหล็กจะช่วยสังเคราะห์โปรตีนและสร้างคอลลาเจน ซึ่งช่วยในการรักษาแผลให้หายดีขึ้น ควรรับประทานเนื้อแดง ธัญพืช และสัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็ง เพื่อให้ร่างกายได้รับธาตุเหล็กในปริมาณที่เพียงพอ [36] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Cleveland Clinic ไปที่แหล่งข้อมูล [37] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ดื่มน้ำมากๆ. การดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ซึ่งจะช่วยนำสารอาหารที่จำเป็นไปสู่บาดแผล นอกจากนี้ น้ำเปล่ายังทำให้ร่างกายได้ขับพิษ จึงช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ [38] X แหล่งข้อมูลอ้างอิงโฆษณา
คำเตือน
- ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหาร หากคุณมีอาการเจ็บป่วยที่มีอยู่ก่อนหรือที่เกิดขึ้นในช่วยการกำหนดอาหาร ให้ขอคำแนะนำจากแพทย์เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียใดๆ ต่อร่างกาย
- โทรเรียกรถพยาบาลหรือรีบไปโรงพยาบาลหากแผลของคุณมีเลือดออกไม่หยุดนานกว่า 10 นาที หากมีสิ่งแปลกปลอมที่ไม่สามารถเอาออกได้ หรือหากบาดแผลลึกหรือยาว [39] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
โฆษณา
ข้อมูลอ้างอิง
- ↑ http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-cuts/basics/art-20056711
- ↑ http://www.cdc.gov/handwashing/when-how-handwashing.html
- ↑ http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-cuts/basics/art-20056711
- ↑ http://www.ic.sunysb.edu/Stu/wilee/e-zine-controlbleeding.html
- ↑ https://sielearning.tafensw.edu.au/MCS/FirstAid_Ultimo/firstaid/lo/5262/5262_01.htm
- ↑ http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-cuts/basics/art-20056711
- ↑ http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-cuts/basics/art-20056711
- ↑ http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-cuts/basics/art-20056711
- ↑ http://www.seattlechildrens.org/medical-conditions/symptom-index/skin-injury/
- ↑ http://www.seattlechildrens.org/medical-conditions/symptom-index/skin-injury/
- ↑ http://www.webmd.com/first-aid/tc/cuts-when-stitches-are-needed-topic-overview
- ↑ http://www.seattlechildrens.org/medical-conditions/symptom-index/skin-injury/
- ↑ http://www.webmd.com/first-aid/tc/cuts-when-stitches-are-needed-topic-overview
- ↑ http://www.webmd.com/first-aid/tc/cuts-when-stitches-are-needed-topic-overview
- ↑ http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-animal-bites/basics/art-20056591
- ↑ http://www.webmd.com/a-to-z-guides/wound-care-10/diabetic-wounds
- ↑ http://www.medicinenet.com/script/main/art.asp?articlekey=47225&page=2
- ↑ http://www.seattlechildrens.org/medical-conditions/symptom-index/skin-injury/
- ↑ http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-cuts/basics/art-20056711
- ↑ http://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/symptoms-of-infection-after-a-skin-injury
- ↑ http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000741.htm
- ↑ http://www.webmd.com/first-aid/tc/how-a-scrape-heals-topic-overview
- ↑ http://www.webmd.com/a-to-z-guides/wound-care-10/slideshow-wound-care-dos-and-donts
- ↑ http://www.webmd.com/first-aid/tc/how-a-scrape-heals-topic-overview
- ↑ http://www.webmd.com/a-to-z-guides/wound-care-10/slideshow-wound-care-dos-and-donts
- ↑ http://www.webmd.com/a-to-z-guides/wound-care-10/reducing-scars?page=1
- ↑ http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3400176/
- ↑ http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000741.htm
- ↑ http://www.woundcarecenters.org/article/living-with-wounds/how-your-diet-can-aid-in-wound-healing
- ↑ http://www.woundcarecenters.org/article/living-with-wounds/how-your-diet-can-aid-in-wound-healing
- ↑ http://www.webmd.com/diet/obesity/skinny-fat-good-fats-bad-fats?page=3
- ↑ http://www.woundcarecenters.org/article/living-with-wounds/how-your-diet-can-aid-in-wound-healing
- ↑ http://www.woundcarecenters.org/article/living-with-wounds/how-your-diet-can-aid-in-wound-healing
- ↑ http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/imagepages/19529.htm
- ↑ http://www.woundcarecenters.org/article/living-with-wounds/how-your-diet-can-aid-in-wound-healing
- ↑ http://my.clevelandclinic.org/health/healthy_living/hic_What_We_Eat_Affects_How_We_Feel/hic_Keeping_Your_Digestive_Tract_Healthy/hic_Nutrition_Guidelines_to_Improve_Wound_Healing
- ↑ http://www.woundcarecenters.org/article/living-with-wounds/how-your-diet-can-aid-in-wound-healing
- ↑ http://www.woundcarecenters.org/article/living-with-wounds/how-your-diet-can-aid-in-wound-healing
- ↑ http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000593.htm
โฆษณา