ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ผิวหนังเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย และเมื่อเกิดบาดแผลขึ้น ผิวหนังจะมีปฏิกิริยาทางชีวเคมีที่ซับซ้อนเกิดขึ้นเพื่อสมานแผล การรักษาบาดแผลด้วยผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ เช่น ยาฆ่าเชื้อหรือยาทาแผลที่ทำมาจากสมุนไพร จะช่วยสนับสนุนกระบวนการรักษาแผลของร่างกายตามธรรมชาติ ทำให้แผลหายเร็วขึ้นและเหลือรอยแผลเป็นเพียงเล็กน้อย ลองเรียนรู้วิธีการล้างแผล ทำแผล และรักษาแผลด้วยวิธีธรรมชาติได้จากบทความนี้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

การล้างแผล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ควรล้างมือด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้งก่อนเริ่มทำแผลเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ [1]
  2. ดูให้แน่ใจว่าเลือดหยุดไหลแล้ว ให้เปิดน้ำเย็นไหลผ่านบริเวณบาดแผลไปเรื่อยๆ ประมาณ 2-3 นาที [3] การล้างแผลด้วยน้ำจะช่วยล้างสิ่งสกปรกที่อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้
    • การล้างแผลด้วยวิธีนี้เพียงพอสำหรับแผลที่ไม่ลึกที่สามารถรักษาได้ด้วยตนเอง
    • สำหรับแผลที่รุนแรงนั้น ควรได้รับการแนะนำวิธีการที่เหมาะสมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์
  3. ห้ามถูแผล เนื่องจากอาจทำให้ปากแผลเปิดกว้างมากขึ้น ระหว่างล้างแผลให้ดูว่ามีก้อนกรวดหรือเศษอื่นๆ ติดอยู่บริเวณแผลหรือไม่ หากมีอยู่ให้นำออกให้หมดโดยใช้แหนบที่ฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอล์แล้ว [4]
    • อุปกรณ์ที่ใช้ เช่น สำลี ควรสะอาดและปราศจากเชื้อ ค่อยๆ แตะลงไปตรงกลางบาดแผลแล้วไล่มายังขอบแผลเพื่อกำจัดเศษต่างๆ ออกไป
  4. ใช้น้ำเกลือบริสุทธิ์ที่มีความเข้มข้น 0.9% (หรือที่เรียกว่า น้ำยาไอโซโทนิค เนื่องจากมีความเข้มข้นเท่ากับเซลล์เม็ดเลือดแดง) เช็ดทำความสะอาดบริเวณบาดแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ให้ทำขั้นตอนนี้ทุกครั้งเมื่อคุณต้องการล้างแผล [5]
    • ละลายเกลือ ½ ช้อนชาในน้ำเดือดปริมาณ 240 มิลลิลิตร ทิ้งไว้ให้เย็น จากนั้นให้เทลงไปบริเวณบาดแผลแล้วค่อยๆ เช็ดให้แห้งด้วยสำลี [6]
    • ให้ใช้น้ำเกลือที่ใหม่ในการล้างแผล ส่วนน้ำเกลือที่เก่าแล้วให้ทิ้งไป [7] เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียสามารถเจริญเติบโตในน้ำเกลือได้ในเวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมง [8]
    • รักษาความสะอาดของบาดแผลและระวังไม่ให้ติดเชื้อ หากบาดแผลเป็นรอยแดงหรือมีอาการอักเสบขึ้นมา ให้รีบไปพบแพทย์
  5. หลีกเลี่ยงการใช้ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์และไอโอดีน. แม้ว่าไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์มักจะถูกนำมาใช้ในการล้างแผล แต่ที่จริงแล้วไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ไม่สามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรียได้ [9] ทั้งยังทำให้แผลหายช้าลงและเกิดการระคายเคืองด้วย [10] การใช้ไอโอดีนล้างแผลก็ทำให้เกิดการระคายเคืองได้เช่นกัน [11]
    • วิธีล้างแผลที่ดีที่สุดคือการล้างด้วยน้ำเปล่าหรือน้ำเกลือ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

การทำแผล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้ยาที่มีส่วนผสมของซิลเวอร์คอลลอยด์ทาบริเวณแผล. ซิลเวอร์คอลลอยด์เป็นยาต้านจุลชีพจากธรรมชาติ สามารถหาซื้อได้ที่ร้านขายยา [12]
    • ทายาที่มีสารต้านเชื้อแบคทีเรียบางๆ บริเวณบาดแผล แล้วติดพลาสเตอร์ลงไป
    • ยาทาที่มีสารต้านเชื้อแบคทีเรียไม่ได้ทำให้บาดแผลหายเร็วขึ้น แต่ช่วยป้องกันไม่ให้แผลติดเชื้อเพื่อสนับสนุนกระบวนการสมานแผลตามธรรมชาติ [13]
  2. สมุนไพรหลายชนิดมีฤทธิ์เป็นยาต้านจุลชีพที่ช่วยลดอาการติดเชื้อได้ แต่การใช้สมุนไพรบางชนิดในการรักษาอาจมีปฏิกิริยากับอาการเจ็บป่วยอื่นๆ หรือยาแผนปัจจุบันที่ใช้อยู่ ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้
    • ดาวเรือง มีสรรพคุณเป็นยาต้านจุลชีพ ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น [14] ให้ใช้ยาที่มีส่วนประกอบของดาวเรือง 2.5% ทาลงไปบริเวณบาดแผล หรือจะทำเป็นทิงเจอร์โดยละลายกับแอลกอฮอล์ 90% ในอัตราส่วน 1:5 [15]
    • น้ำมันทีทรี มีสรรพคุณเป็นสารต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ให้นำน้ำมันทีทรีบริสุทธิ์ 100% หยดลงไปบนสำลีก้อนแล้วแตะลงไปบริเวณแผล [16]
    • อิชินาเชีย มีสรรพคุณช่วยในการรักษาบาดแผล [17] ครีมหรือยาทาที่มีส่วนประกอบของอิชินาเชียสามารถช่วยสมานแผลเล็กๆ ได้เป็นอย่างดี [18]
    • ลาเวนเดอร์ มีสรรพคุณเป็นยาต้านเชื้อแบคทีเรีย [19] แต่ห้ามทาลงบนบาดแผลเปิดหรือลึกโดยเด็ดขาด ให้ผสมน้ำมันลาเวนเดอร์ 1-2 หยดกับน้ำมันอัลมอนด์ 1 ช้อนโต๊ะแล้วจึงทาบริเวณแผลเล็กๆ หรือรอยถลอก [20]
  3. ว่านหางจระเข้เหมาะสำหรับแผลตื้น ให้ทาเจลว่านหางจระเข้บริสุทธิ์วันละ 2-3 ครั้ง ห้ามใช้ว่านหางจระเข้กับแผลลึกหรือแผลผ่าตัด เนื่องจากอาจทำให้บาดแผลหายช้าลง [21]
    • ว่านหางจระเข้สามารถช่วยลดการอักเสบและเพิ่มความชุ่มชื้นให้บริเวณที่อักเสบ
    • ในบางกรณี บางคนอาจมีอาการแพ้ว่านหางจระเข้ หากผิวหนังของคุณมีอาการแดงหรือระคายเคือง ให้หยุดใช้ทันทีและไปพบแพทย์
  4. น้ำผึ้งหลายชนิดจะมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย แล้วยังช่วยให้บาดแผลคงความชุ่มชื้นและป้องกันเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่บาดแผล [22] ลองใช้น้ำผึ้งมานูก้าซึ่งเป็นน้ำผึ้งที่ได้ผลดีที่สุดชนิดหนึ่งดู [23]
  5. ปิดแผลด้วยผ้าพันแผลและติดทับด้วยเทปกาวปิดแผล [26] ควรปิดแผลจนกระทั่งผิวหนังซ่อมแซมตัวเองจนแผลหายดี
    • เมื่อต้องการเปลี่ยนผ้าพันแผล ให้ใช้น้ำเกลือล้างแผล ตบเบาๆ ให้แห้ง จากนั้นทายาลงไปแล้วจึงปิดทับด้วยผ้าพันแผล [27]
    • ควรปิดแผลทุกครั้งหลังทำความสะอาดและทายาต้านเชื้อแบคทีเรีย และเปลี่ยนผ้าพันแผลบ่อยๆ
    • ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนเปลี่ยนผ้าพันแผลหรือสัมผัสบาดแผล
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

การดูแลตัวเองเพื่อให้บาดแผลหายเร็วขึ้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทำให้บาดแผลสมานเร็วขึ้นโดยเพิ่มปริมาณการทานโปรตีนและวิตามินที่มีประโยชน์ต่อผิว โดยเฉพาะวิตามินเอและซี [28] การรับประทานสังกะสีก็สามารถช่วยให้บาดแผลหายเร็วขึ้นได้เช่นเดียวกัน [29] หากร่างกายขาดสารอาหาร จะทำให้กระบวนการซ่อมแซมบาดแผลของผิวช้าลง ควรรับประทานอาหารดังต่อไปนี้เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหาร วิตามิน และเกลือแร่ที่เพียงพอ [30]
    • ลีนโปรตีน พบมากในเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เช่น ไก่และไก่งวง เนื้อปลา ไข่ กรีกโยเกิร์ต เมล็ดถั่ว
    • วิตามินซี พบมากในผลไม้รสเปรี้ยว แคนตาลูป กีวี มะม่วง สับปะรด ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ บรอคโคลี พริกหยวก กะหล่ำดาว กะหล่ำดอก [31]
    • วิตามินเอ พบมากในนมเสริมวิตามินและแร่ธาตุ เนื้อสัตว์ ชีส เครื่องในสัตว์ เนื้อปลาค็อด เนื้อปลาแฮลิบัต [32]
    • วิตามินดี พบมากในนมหรือน้ำผลไม้เสริมวิตามินและแร่ธาตุ ปลาที่มีกรดไขมันจำเป็นสูง ไข่ ชีส ตับวัว [33] [34]
    • วิตามินอี พบมากในถั่วเปลือกแข็ง เมล็ดพืช เนยถั่ว ผักโขม บรอคโคลี กีวี [35] [36]
    • สังกะสี พบมากในเนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อแกะ เนื้อไก่ดำ ถั่วเปลือกแข็ง ธัญพืชเต็มเมล็ด เมล็ดถั่ว [37] [38]
  2. การศึกษาพบว่า สารสกัดจากชาเขียวสามารถช่วยให้บาดแผลหายเร็วขึ้น [39] [40] [41] มองหายาขี้ผึ้งที่มีส่วนประกอบของสารสกัดชาเขียวเข้มข้น 0.6% มาลองใช้ดู
  3. วิชฮาเซลเป็นส่วนประกอบจากธรรมชาติที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ช่วยให้อาการอักเสบลดลงและลดรอยแดงหลังจากที่แผลหายดี [43]
    • วิชฮาเซลสามารถหาซื้อได้ที่ร้านขายยาทั่วไป
    • หยดวิชฮาเซลลงบนสำลีก้อนแล้วนำไปป้ายลงบนแผล
  4. ดื่มเครื่องดื่มที่ไม่มีคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์อย่างน้อย 240 มิลลิลิตรในทุก 2 ชั่วโมง จะช่วยทดแทนน้ำที่เสียไปจากเหงื่อเนื่องจากการเป็นไข้หรือการบาดเจ็บ เมื่อร่างกายเสียน้ำอาจทำให้เกิดอาการต่อไปนี้ [44]
    • ผิวแห้ง
    • ปวดหัว
    • กล้ามเนื้อเป็นตะคริว
    • ความดันเลือดต่ำ
  5. การออกกำลังกายในระดับปานกลางจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงมากขึ้น สามารถต่อต้านการติดเชื้อ บรรเทาอาการอักเสบ และเพิ่มความเร็วในการฟื้นฟูของร่างกาย [45] แต่ไม่ควรออกแรงอวัยวะส่วนที่เป็นแผลมากเกินไป ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ครั้งละ 30-45 นาที และควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับออกกำลังกายที่เหมาะสมกับคุณ การออกกำลังกายในความเข้มข้นต่ำอย่างง่ายๆ มีดังนี้
    • การเดินเร็ว
    • โยคะและการยืดกล้ามเนื้อ
    • เวทเทรนนิ่งแบบเบา
    • การปั่นจักรยาน 8-14 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
    • การว่ายน้ำ
  6. นำถุงน้ำแข็งมาประคบที่แผลเมื่อมีอาการบวม อักเสบ หรือรู้สึกปวดแผลขึ้นมา อุณหภูมิที่เย็นจะช่วยให้ผิวหนังบริเวณที่ประคบรู้สึกชา ทำให้อาการเจ็บลดลงและเลือดออกน้อยลง [46]
    • คุณสามารถทำถุงน้ำแข็งประคบเองได้ วิธีการคือให้ทำผ้าขนหนูให้เปียก จากนั้นใส่ลงไปในถุงซิปล็อกแล้วแช่ในช่องฟรีซประมาณ 15 นาที
    • นำผ้าขนหนูที่เปียกห่อรอบๆ ถุง และนำไปประคบในบริเวณที่ต้องการ
    • ห้ามประคบบนบาดแผลเปิดหรือติดเชื้อ
    • ห้ามนำน้ำแข็งประคบกับผิวโดยตรงเพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้
  7. การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความชุ่มชื้นจะช่วยให้แผลหายได้เร็วขึ้น ให้ใช้เครื่องทำความชื้นเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นในบรรยากาศและปกป้องผิวไม่ให้แห้งหรือแตก ควรมั่นใจว่าเครื่องทำความชื้นที่ใช้มีความสะอาดพอ เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรียที่อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ [47] [48]
    • หากความชื้นสูงเกินไป อาจทำให้เชื้อราหรือไรฝุ่นเจริญเติบโตได้ดี
    • หากความชื้นต่ำเกินไป อาจทำให้คนในบ้านมีอาการผิวแห้งและระคายเคืองในลำคอหรือโพรงจมูกได้
    • สามารถวัดความชื้นของห้องได้โดยใช้ตัวควบคุมความชื้น โดยสามารถหาซื้อได้ตามร้านอุปกรณ์ทั่วไป
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

การรับมือกับอาการรุนแรง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตรวจดูลักษณะของบาดแผลเพื่อจะได้รู้ว่าควรเข้ารับการรักษากับแพทย์หรือสามารถรักษาได้ด้วยตนเอง ควรไปโรงพยาบาลหากบาดแผลลึกมากหรือมีอาการรุนแรง เนื่องจากอาจจำเป็นต้องเย็บแผล [49] ให้ไปพบแพทย์เมื่อบาดแผลมีลักษณะต่อไปนี้
    • บาดแผลลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อสีแดงหรือชั้นเนื้อเยื้อไขมันสีเหลือง
    • บาดแผลยังคงเปิดกว้างแม้ว่าจะติดผ้าพันแผลแล้ว
    • บาดแผลอยู่ในบริเวณข้อต่อหรือบริเวณที่มีการเคลื่อนไหวบ่อยจนทำให้แผลไม่สามารถสมานเองได้
    • มีเลือดออกมากและไม่สามารถหยุดเลือดได้หลังกดห้ามเลือดแล้วประมาณ 10 นาที [50]
    • บาดแผลถูกเส้นเลือดแดงจนทำให้เลือดสีแดงสดทะลักออกมาจากแผลมากมายและมีแรงดันเลือดสูง [51]
  2. แม้ว่าบาดแผลจะมีความรุนแรงมากหรือน้อยก็ตาม สิ่งแรกที่ควรทำคือการป้องกันไม่ให้ร่างกายเสียเลือดมากเกินไป ให้ห้ามเลือดโดยใช้สำลีที่สะอาดกดลงไปบนบาดแผลด้วยแรงสม่ำเสมอ จากนั้นให้กดทิ้งไว้อย่างน้อย 10 นาทีโดยไม่เปิดสำลีออก [52] เมื่อเลือดหยุดไหลแล้ว บาดแผลก็จะเริ่มสมานกัน [53]
    • อย่ากดแรงเกินไป เพราะจะทำให้การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ และขัดขวางการแข็งตัวของเลือด ส่งผลให้เลือดไหลนานมากขึ้น
    • หากเลือดซึมออกมาบนสำลี ให้นำสำลีอีกชิ้นหนึ่งวางซ้อนทับด้านบนเพื่อซึมซับเลือดที่ทะลักออกมาโดยไม่ต้องนำสำลีชิ้นแรกออก กดด้วยแรงที่คงที่
    • ไปพบแพทย์หากมีเลือดซึมออกมาบนสำลีอย่างรวดเร็วและไม่มีทีท่าว่าจะหยุดไหล
  3. 3
    ควรขันชะเนาะในกรณีที่อาการมีความรุนแรงมากเท่านั้น. การขันชะเนาะด้วยตนเองควรทำเฉพาะตอนที่ร่างกายเสียเลือดมากเท่านั้น หากขันชะเนาะในกรณีที่ไม่เหมาะสมจะทำให้แขนขาและการไหลเวียนของเลือดได้รับอันตราย และอาจรุนแรงถึงขั้นต้องตัดอวัยวะออก
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ห้ามใช้ครีมที่มีส่วนผสมของน้ำหอมหรือสารเคมีทาที่บริเวณบาดแผล เช่น ครีมบำรุงผิวกายหรือผิวหน้า
  • อย่าแกะสะเก็ดแผลออก ปล่อยให้หลุดออกมาเองตามธรรมชาติ
  • รักษาความชุ่มชื้นของบาดแผลและผิวหนังโดยรอบ เพราะผิวหนังที่แห้งจะทำให้สะเก็ดแผลเป็นรอยแตก ทำให้ผิวหนังซ่อมแซมบาดแผลได้ช้าลงและทิ้งรอยแผลเป็นไว้
  • ควรรักษาความสะอาดและปิดแผลอยู่เสมอ
  • หากมีรอยแผลเป็นเล็กๆ ให้ทาครีมที่มีส่วนประกอบของวิตามินอีหรือน้ำมันบำรุงผิวอย่างไบโอออยล์เพื่อลดขนาดของรอยแผลเป็น แต่ควรทาลงบนบริเวณที่เป็นรอยแผลเป็นเท่านั้น
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสบาดแผลบ่อยๆ เพื่อให้แผลหายเร็วขึ้น
  • หากอาการของบาดแผลไม่ดีขึ้นภายใน 3-4 สัปดาห์ ให้รีบไปพบแพทย์โดยทันที
โฆษณา

คำเตือน

  • หากแผลไหม้หรือบาดแผลมีอาการค่อนข้างรุนแรงหรือติดเชื้อ ไม่ควรทำตามวิธีการเหล่านี้และให้รีบไปพบแพทย์
  • หลีกเลี่ยงไม่ให้บาดแผลโดนแสงแดด เพราะอาจทำให้เกิดสะเก็ดแผลมากขึ้นหรือเหลือรอยแผลเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อแสงแดดถูกบาดแผลนานกว่า 10 นาที
โฆษณา
  1. https://www.amherst.edu/alumni/learn/bookclub/pastfeatures/dontcrossyoureyes/excerpt
  2. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-cuts/basics/art-20056711
  3. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2935806/
  4. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-cuts/basics/art-20056711
  5. Efstratiou E, Hussain AI, Nigam PS, Moore JE, Ayub MA, Rao JR.Antimicrobial activity of Calendula officinalis petal extracts against fungi, as well as Gram-negative and Gram-positive clinical pathogens.Complement Ther Clin Pract. 2012 Aug;18(3):173-6
  6. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/calendula
  7. http://www.medicinenet.com/tea_tree_oil-topical/article.htm
  8. http://web.campbell.edu/faculty/nemecz/George_home/references/Echinacea.html
  9. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/echinacea
  10. Sienkiewicz M, Głowacka A, Kowalczyk E, Wiktorowska-Owczarek A, Jóźwiak-Bębenista M, Łysakowska M.The biological activities of cinnamon, geranium and lavender essential oils. Molecules. 2014 Dec 12;19(12):20929-40.
  11. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/lavender
  12. http://umm.edu/health/medical-reference-guide/complementary-and-alternative-medicine-guide/herb/aloe
  13. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3609166/
  14. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16099322/
  15. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/19134433
  16. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/24328700
  17. http://www.sja.org.uk/sja/first-aid-advice/first-aid-techniques/how-to-put-on-a-dressing.aspx
  18. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000315.htm
  19. http://my.clevelandclinic.org/health/healthy_living/hic_What_We_Eat_Affects_How_We_Feel/hic_Keeping_Your_Digestive_Tract_Healthy/hic_Nutrition_Guidelines_to_Improve_Wound_Healing
  20. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/002416.htm
  21. http://my.clevelandclinic.org/health/healthy_living/hic_What_We_Eat_Affects_How_We_Feel/hic_Keeping_Your_Digestive_Tract_Healthy/hic_Nutrition_Guidelines_to_Improve_Wound_Healing
  22. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/002404.htm
  23. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/002400.htm
  24. https://patienteducation.osumc.edu/documents/vita-d.pdf
  25. https://ods.od.nih.gov/factsheets/VitaminD-HealthProfessional/
  26. http://umm.edu/health/medical/altmed/supplement/vitamin-e
  27. https://ods.od.nih.gov/factsheets/VitaminE-HealthProfessional/
  28. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/002416.htm
  29. http://umm.edu/health/medical/altmed/supplement/zinc
  30. http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1743919113000538
  31. http://www.hindawi.com/journals/ecam/2013/386734/
  32. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/natural/960.html
  33. http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1743919113000538
  34. http://www.uofmhealth.org/health-library/hn-2186007
  35. http://umm.edu/health/medical/ency/articles/dehydration
  36. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3900100/
  37. http://www.healthline.com/health/chronic-pain/treating-pain-with-heat-and-cold#Heatvs.Cold1
  38. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/?term=Field%20FK [Author]&cauthor=true&cauthor_uid=8109679
  39. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=1&ContentID=498
  40. http://familydoctor.org/familydoctor/en/prevention-wellness/staying-healthy/first-aid/first-aid-cuts-scrapes-and-stitches.printerview.all.html
  41. http://www.webmd.com/first-aid/bleeding-cuts-wounds
  42. http://www.ic.sunysb.edu/Stu/wilee/e-zine-controlbleeding.html
  43. http://www.ic.sunysb.edu/Stu/wilee/e-zine-controlbleeding.html/
  44. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000045.htm

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 282,998 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา