ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

น้ำร้อนลวก เป็นหนึ่งในอุบัติเหตุในครัวเรือนที่พบบ่อยที่สุด จะเครื่องดื่มร้อน น้ำอาบ หรือน้ำเดือดตอนทำอาหาร ก็มีโอกาสกระเด็นมาลวกผิวคุณได้ทั้งนั้น เรียกได้ว่าเกิดขึ้นได้กับทุกคนและทุกเวลา แต่ถ้ารู้จักประเมินสถานการณ์ และรู้ว่าแผลน้ำร้อนลวกอยู่ระดับไหน ก็จะดูแลตัวเองได้ทันท่วงทีและถูกวิธี

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ประเมินสถานการณ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พอน้ำร้อนลวกผิวแล้ว ต้องรีบสำรวจว่าแผลเป็นแบบไหน ปกติแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกจะแบ่งออกเป็นระดับความเสียหายแตกต่างกัน ยิ่ง degree หรือระดับสูง ก็แปลว่าแผลรุนแรง first degree burn หรือแผลไหม้ระดับที่ 1 จะไม่รุนแรงมาก แค่บาดเจ็บที่หนังกำพร้า อาการไหม้ระดับที่ 1 ก็เช่น [1] [2]
    • หนังกำพร้าเสียหาย
    • ผิวแห้ง แดง แสบ
    • กดแล้วแผลเป็นสีขาว
    • แผลแบบนี้จะหายใน 3 - 6 วันโดยไม่ทิ้งแผลเป็นไว้
  2. ถ้าน้ำร้อนกว่าเดิมหรือโดนลวกเป็นเวลานานขึ้น ก็จะเข้าสู่ระดับที่ 2 คือเกิดบาดแผลระดับที่สองชนิดตื้น (superficial partial-thickness burn) อาการคือ [3] [4]
    • เกิดความเสียหายที่ชั้นหนังกำพร้าและหนังแท้ แต่ส่งผลต่อชั้นหนังแท้แค่ตื้นๆ
    • แผลแดง มีน้ำไหลออกมา
    • เกิดแผลพุพอง
    • กดแล้วแผลเป็นสีขาว
    • แตะเบาๆ ก็เจ็บ รวมถึงตอนที่อุณหภูมิเปลี่ยนแปลง
    • แผลแบบนี้จะหายใน 1 - 3 อาทิตย์ อาจถึงขั้นเกิดแผลเป็นหรือผิวด่าง คือสีเข้มหรือสีอ่อนกว่าผิวหนังรอบๆ
  3. แผลไหม้ระดับที่ 3 เกิดเมื่อน้ำร้อนสุดๆ หรือโดนลวกนานเข้าไปอีก จะเกิดบาดแผลชนิดลึก (deep partial-thickness burn) อาการที่พบก็คือ [5] [6]
    • เกิดความเสียหายที่ชั้นหนังกำพร้าและหนังแท้ โดยแผลจะลึกกว่าเดิม แต่ไม่ถึงกับทะลุผ่านชั้นหนังแท้ลงไป
    • เจ็บเวลากดแรงๆ (ตอนโดนลวกอาจจะยังไม่เจ็บ เพราะเส้นประสาทเสียหายหรือตาย)
    • ผิวหนังจะไม่กลายเป็นสีขาวตอนกดแผล
    • เกิดแผลพุพอง
    • แผลดำ หนา หรือลอก
    • ถ้าโดนลวกถึงขั้นนี้ต้องไปโรงพยาบาลด่วน ส่วนใหญ่คุณหมอจะรักษาด้วยการผ่าตัดและต้องแอดมิทจนฟื้นตัว ถ้าโดนลวกกว่า 5% ของร่างกาย
  4. แผลไหม้ระดับที่ 4 คือระดับที่รุนแรงที่สุด เป็นอาการบาดเจ็บร้ายแรง ต้องถึงมือหมอโดยเร็วที่สุด อาการที่พบคือ [7] [8]
    • ชั้นหนังกำพร้าและหนังแท้เสียหายทั้งหมด ส่วนใหญ่จะลามลึกไปถึงชั้นไขมันและกล้ามเนื้อด้วย ถ้าเป็นแผลระดับที่ 3 และ 4 บางทีอาจส่งผลถึงกระดูกเลย
    • แผลแบบนี้จะไม่เจ็บปวด
    • ผิวหนังที่แผลเปลี่ยนสี เช่น กลายเป็นขาว เทา หรือดำ
    • ผิวหนังที่แผลแห้ง
    • ต้องผ่าตัดรักษา รวมถึงรักษาตัวที่โรงพยาบาลจนฟื้นตัว
  5. ไม่ว่าจะเป็นระดับที่เท่าไหร่ ก็ถือเป็น major burn หรือแผลไหม้รุนแรง ถ้าแผลเกิดทั่วข้อหรือกินวงกว้างแทบทั้งตัว ถ้ามีอาการแทรกซ้อนส่งผลกับสัญญาณชีพ หรือทำให้ใช้ชีวิตตามปกติไม่ได้ ก็ถือว่าอาการรุนแรงเช่นกัน
    • แขนหรือขา 1 ข้าง นับเป็น 10% ของร่างกายผู้ใหญ่โตเต็มวัย ส่วนช่วงตัวนับเป็น 20% ของผู้ใหญ่ ถ้าเกิดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกกว่า 20% ของร่างกาย ก็ถือเป็นแผลไหม้รุนแรง
    • ถ้า 5% ของร่างกาย (แขนท่อนล่าง ขาครึ่งท่อน และอื่นๆ) เกิดแผลไหม้ลึกระดับที่ 3 หรือ 4 ก็ถือเป็นแผลไหม้รุนแรงเช่นกัน
    • ต้องดูแลแผลประเภทนี้เหมือนแผลระดับที่ 3 หรือ 4 คือไปโรงพยาบาลด่วน [9]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

รักษาแผลน้ำร้อนลวกเล็กน้อย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถึงจะเป็นแผลไหม้ไม่รุนแรง ระดับที่ 1 - 2 ก็ยังต้องไปหาหมอถ้าเข้าข่าย อย่างถ้าเป็นแผลไหม้รอบเนื้อเยื่อใกล้เคียงของนิ้วมือเดียวหรือหลายนิ้ว ก็ควรหาหมอโดยเร็ว เพราะอาจทำให้เลือดไม่ไปเลี้ยงบริเวณนิ้วมือ ถ้าปล่อยไว้แล้วร้ายแรงเข้าอาจถึงขั้นต้องตัดนิ้วเลย [10]
  2. ถ้าแผลไม่รุนแรง ก็ดูแลตัวเองได้ ไม่ต้องหาหมอ ขั้นแรกคือล้างแผลซะก่อน โดยเอาเสื้อผ้าที่ปิดบังแผลออก แล้วแช่แผลในน้ำเย็นจัด เพราะถ้าเปิดน้ำก๊อกราดแผล อาจทำให้ผิวหนังเสียหายกว่าเดิม จนกลายเป็นแผลเป็นหรือโรคแทรกซ้อน ที่สำคัญคือห้ามใช้น้ำอุ่นหรือน้ำร้อน เพราะแผลจะระคายเคืองได้
    • ฟอกแผลด้วยสบู่อ่อนๆ (สบู่เด็ก)
    • อย่าใช้ยาฆ่าเชื้อ เช่น ไฮโดรเจน เปอร์ออกไซด์ (hydrogen peroxide) เพราะจะทำให้แผลหายช้าลง
    • ถ้าเสื้อผ้าติดแน่นกับแผล อย่าดึงออกเอง เป็นไปได้ว่าแผลไหม้อาจรุนแรงกว่าที่คิด ให้ไปโรงพยาบาลเลยจะดีกว่า [12] [13] ให้ตัดเสื้อผ้าออก เหลือแต่บริเวณที่ติดอยู่กับแผล จากนั้นเอาเจลเย็น/น้ำแข็งห่อผ้าประคบแผลไว้ทั้งที่มีชิ้นส่วนเสื้อผ้าแปะอยู่ อย่าประคบนานเกิน 2 นาที
  3. พอล้างแผลแล้ว ให้แช่แผลในน้ำเย็น 15 - 20 นาที อย่าใช้น้ำแข็งหรือเปิดน้ำก๊อกราดแผล เพราะจะทำให้ผิวหนังเสียหายกว่าเดิม ต่อมาให้เอาผ้าชุบน้ำเย็น แล้วประคบที่แผล ห้ามถูไถ ให้โปะผ้าไว้เฉยๆ
    • ให้เอาผ้าชุบน้ำก๊อก บิดหมาด แล้วแช่ตู้เย็นไว้จนเย็น
    • ห้ามเอาเนยมาทาแผล นอกจากไม่ช่วยระบายความร้อนแล้วยังอาจทำให้ติดเชื้อได้ด้วย [14] [15] [16]
  4. วิธีป้องกันไม่ให้แผลน้ำร้อนลวกติดเชื้อ ก็คือต้องทำแผลทันทีหลังระบายความร้อนแล้ว ให้ทาขี้ผึ้งยาปฏิชีวนะ เช่น Neosporin หรือ bacitracin ใช้นิ้วที่สะอาดหรือสำลีก้อนก็ได้ ถ้าเป็นแผลเปิด ให้ใช้ผ้าก๊อซแบบไม่ติดแผลแทน เพราะใยของสำลีอาจติดแผลได้ ต่อมาใช้ผ้าพันแผล (แบบไม่ติดแผลเช่นกัน) เช่น Telfa แล้วเปลี่ยน 1 - 2 ครั้งต่อวัน ทายาใหม่ด้วย
    • ห้ามบีบตุ่มพองที่แผลให้แตก
    • ถ้าคันแผลตอนใกล้จะหาย ก็อดทนไว้ อย่าเกา เพราะเดี๋ยวจะติดเชื้อ บอกเลยว่าแผลไหม้ติดเชื้อง่ายมาก
    • หรือทาขี้ผึ้งสมุนไพรแก้คัน เช่น ว่านหางจระเข้, cocoa butter และ mineral oil
  5. ถ้าเป็นแผลไหม้แบบไม่รุนแรง มักจะปวดแผลเสมอ พอทำแผลแล้วให้ยกแผลสูงกว่าหัวใจ จะช่วยลดปวดบวมได้ แต่ถ้าปวดไม่หาย ให้ซื้อยาแก้ปวดกิน เช่น acetaminophen (Tylenol) หรือ ibuprofen (Advil และ Motrin) จะกินกี่ครั้งต่อวันก็ต้องตามฉลาก และกินจนหายปวด
    • ปริมาณที่แนะนำของ Acetaminophen คือ 650 มก. ทุก 4 - 6 ชั่วโมง ใน 1 วันห้ามกินเกิน 3,250 มก.
    • ปริมาณที่แนะนำของ Ibuprofen คือ 400 - 800 มก. ทุก 6 ชั่วโมง ใน 1 วันห้ามกินเกิน 3,200 มก.
    • ต้องอ่านคำแนะนำในการใช้ยาให้ละเอียดเสมอ เพราะปริมาณยาที่แนะนำจะต่างกันไปตามชนิดและยี่ห้อของยา
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

รักษาแผลน้ำร้อนลวกรุนแรง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าพิจารณาแล้วพบว่าเป็นแผลไหม้รุนแรง ระดับที่ 3 - 4 ต้องรีบขอความช่วยเหลือโดยด่วน เพราะร้ายแรงเกินกว่าจะดูแลตัวเอง ต้องถึงมือหมอให้เร็วที่สุด [17] เรียกรถพยาบาลทันทีถ้า [18]
    • แผลลึกและร้ายแรง
    • แผลไหม้รุนแรงกว่าระดับที่ 1 และคุณไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักมานานเกิน 5 ปี
    • แผลใหญ่กว่า 3 นิ้ว (เกือบๆ 8 ซม.) หรือล้อมรอบอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง
    • มีอาการติดเชื้อ เช่น แดงขึ้น เจ็บมากขึ้น มีหนอง หรือมีไข้
    • คนเจ็บอายุน้อยกว่า 5 ขวบหรือแก่กว่า 70 ปี
    • คนเจ็บเป็นคนที่ภูมิต้านทานต่ำ ร่างกายสู้อาการติดเชื้อไม่ค่อยได้ เช่น มีเชื้อ HIV, ใช้ยากดภูมิคุ้มกัน (immunosuppressive medications), เป็นเบาหวาน หรือเป็นโรคตับ
  2. ถ้าคนที่ถูกน้ำร้อนลวกไม่ใช่คุณ ให้รีบเช็คการตอบสนองหลังเรียกรถพยาบาล ถ้าคนเจ็บนิ่งเฉยหรือช็อค ให้แจ้งทางโรงพยาบาลไว้ จะได้ช่วยเหลือทันท่วงที
  3. ระหว่างรอความช่วยเหลือ ถ้ามีเสื้อผ้าหรือเครื่องประดับกีดขวางหรืออยู่ติดกับแผลให้ถอดออก แต่ถ้าเศษผ้าหรือเครื่องประดับติดแน่นกับแผลก็ต้องทิ้งไว้ เพราะถ้าไปฝืนดึงอาจทำให้แผลฉีก บาดเจ็บกว่าเดิม
    • ใช้เจลเย็นประคบเครื่องประดับโลหะ เช่น แหวน หรือสร้อยคอมือที่ถอดลำบาก เพราะเครื่องประดับโลหะจะนำความร้อนจากผิวรอบๆ แล้วถ่ายเทไปยังแผล
    • ถอดและตัดเสื้อผ้ารอบแผลเท่าที่จะทำได้ เว้นที่ติดแน่นกับแผลไว้
    • คนเจ็บ (คนอื่นหรือตัวคุณ) ต้องร่างกายอบอุ่น เพราะถ้าเกิดแผลไหม้รุนแรง อาจทำให้ช็อคได้ [20]
    • ถ้าเป็นแผลไหม้รุนแรง ห้ามเอาแผลไปแช่น้ำ เพราะน้ำเย็นจะทำให้คุณเกิดภาวะตัวเย็นเกิน (hypothermia) ถ้าเป็นแผลที่อวัยวะที่ขยับได้ ให้ยกสูงเหนือระดับหัวใจ จะป้องกันไม่ให้แผลบวม
    • อย่ากินยาแก้ปวด, บีบตุ่มพอง, แกะเกาหรือขูดเนื้อตาย หรือทาขี้ผึ้งยา เพราะอาจทำให้คุณหมอรักษายากกว่าเดิม [21]
  4. พอกำจัดเสื้อผ้าที่กีดขวางออกแล้ว ให้ปิดแผลด้วยผ้าพันแผลสะอาดแบบไม่ติดแผล จะได้ไม่ติดเชื้อ สำคัญมากว่าต้องไม่ใช้วัสดุที่ติดแผลได้ เช่น ผ้าก๊อซแบบไม่ติดแผล และผ้าพันแผลแบบเปียก
    โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าแผลดูรุนแรงแต่ไม่เจ็บ แสดงว่าอันตรายกว่าที่คิด ให้รีบระบายความร้อนแล้วหาหมอให้เร็วที่สุด หลายคนเห็นแผลไหม้ระดับที่ 3 ตอนแรกๆ แล้วคิดว่าไม่อันตราย แต่จริงๆ เป็นเพราะกลไกการป้องกันความเจ็บปวดของร่างกาย ถ้าไม่ระบายความร้อนที่แผลและหาหมอให้เร็วที่สุด อาจลุกลาม เกิดโรคแทรกซ้อน กว่าจะหายก็นานแถมจะกลายเป็นแผลเป็น
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 18,783 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา