ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ทุกวันนี้ ภัยจากอินเทอร์เน็ตไม่ได้จำกัดอยู่แค่พวกชอบอนาจารเด็ก ผู้ก่อการร้าย กับแฮกเกอร์ แต่การเปิดเผยตัวตนของคุณในอินเทอร์เน็ตทั้งแบบจงใจและรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก็ทำให้คุณเสี่ยงต่อการตกเป็นเป้าของพวกโจรขโมยตัวตนและอาชญากรรมในรูปแบบอื่นๆ บางคนก็ไม่มั่นใจในรัฐบาลของตัวเอง (ว่าไปนั่น!) แต่ถ้าอยากรู้รอดปลอดภัยไว้ก่อนในยุคดิจิตอลแบบนี้ เราก็มีวิธีป้องกันเบื้องต้นสำหรับซ่อนหรือปิดบังตัวตนของคุณมาแนะนำ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

รู้ไว้ใช่ว่า เรื่องร่องรอยการท่องเว็บ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แต่ละเว็บไซต์จะติดตามผู้เยี่ยมชมเพื่อผลทางโฆษณาและลิงค์ใน social media. ทุกครั้งที่คุณเข้าดูเว็บ เว็บนั้นก็จะบันทึก IP address ของคุณไว้ (หรือก็คือ "ที่อยู่" ของคอมคุณที่ไปปรากฏในอินเทอร์เน็ต) รวมถึงข้อมูลว่าคุณเพิ่งมาจากเว็บไหน ใช้เบราว์เซอร์อะไร ระบบปฏิบัติการอะไร ใช้เวลาท่องเว็บนั้นนานแค่ไหน คลิกลิงค์อะไรบ้าง
  2. พวก search engine น่ะเก็บประวัติการค้นหาของคุณไว้ทั้งนั้นแหละ. อะไรก็ตามที่คุณหาใน search engine จะพ่วงกับ IP address ของคุณ (บวก account เข้าไปด้วย ถ้าล็อกอินอยู่) ข้อมูลเหล่านี้จะถูกรวบรวมมาวิเคราะห์เจาะลึกเพื่อแสดงโฆษณาที่ตรงกับความสนใจของคุณ และนำเสนอผลการค้นหาที่เกี่ยวข้องมากยิ่งขึ้น
  3. ถ้าคุณล็อกอินใช้ social network ไหนอยู่ (Facebook, Twitter และอื่น) เว็บพวกนี้สามารถติดตามประวัติการท่องเว็บของคุณได้ ถ้าเว็บที่คุณเข้ามี social network plugin (พวกปุ่ม "Like", Retweet หรืออะไรแบบนั้น)
  4. ส่วนผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตของคุณ หรือ ISP (internet service provider) ก็สามารถเอา network traffic มาวิเคราะห์หาพฤติกรรมออนไลน์ของคุณ. ทั้งหมดทั้งมวลก็ให้ได้รู้ว่าลูกค้านั้นใช้เน็ตไปโหลดบิทหาหนังหาเกมเถื่อนมาดูมาเล่นหรือเปล่า
  5. ไอ้การปกปิดตัวตนอย่างสมบูรณ์นั้นเป็นไปไม่ได้เลย. ไม่ว่าคุณจะเก็บกวาดร่องรอยของคุณแค่ไหน ก็จะมี บาง ข้อมูลที่เล็ดลอดมาระบุตัวตนของคุณจนได้ จุดประสงค์ที่เราสรรหาวิธีมาปกปิดตัวตนก็เพื่อลดข้อมูลพวกนั้นให้หลุดออกไปน้อยที่สุด แต่ในอินเทอร์เน็ตก็รู้ๆ กันอยู่ ว่าเราปกปิดตัวตนไม่ได้ตลอดรอดฝั่งหรอก
  6. เวลาเราท่องเว็บ ก็ต้องเลือกเอา ว่าจะเอาสะดวกหรือปกปิดตัวตน. ไม่ง่ายเลยกับการปกปิดตัวตนออนไลน์ตลอดเวลา ต้องพยายามน่าดู นอกจากเน็ตจะช้าลงระหว่างท่องเว็บแล้ว ยังมีขั้นตอนให้ได้ทำสารพัดกว่าจะเข้าเว็บได้สักที แต่ถ้ายังยืนยันจะปกปิดตัวตนละก็ เตรียมตัวเตรียมใจไว้ก่อนเลย
    • เนื้อหาส่วนต่อไปจะบอกวิธีปกปิดข้อมูลส่วนตัวของคุณ ไม่ให้พ่วงกับ IP address แต่ไม่ได้การันตีว่าคุณจะล่องหนเสมอไป ถ้าอยากจะให้ตัวตนออนไลน์ของคุณเป็นความลับมากยิ่งขึ้น ให้ข้ามไปดู 2 ส่วนสุดท้ายของบทความนี้ได้เลย
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

ปกป้องข้อมูลส่วนตัวของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ลงทะเบียนตามเว็บไซต์ด้วยอีเมลแบบใช้แล้วทิ้ง. เอาให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้ใส่ข้อมูลส่วนตัวอะไรในอีเมลนั้น และไม่ได้พ่วงกับ account ไหนที่มีข้อมูลส่วนตัวของคุณอยู่
    • สำหรับวิธีสมัครอีเมลแบบใช้แล้วทิ้ง ให้ลอง google ว่า "creating a disposable email address" เพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติมดู
  2. เลือกใช้ search engine ที่ให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัว. พวก search engine ดังๆ อย่าง Google, Bing และ Yahoo! น่ะ เก็บข้อมูลการค้นหาของคุณพ่วงไว้กับ IP address ที่คุณใช้ทั้งนั้น ให้เลือก search engine อื่นที่ไม่ติดตามการค้นหาของคุณจะดีกว่า อย่างพวก DuckDuckGo หรือ StartPage
  3. ถ้าคุณใช้เน็ตมาเป็นอาทิตย์แล้ว คงสมัครอะไรเยอะแยะจนมีสารพัด password ให้ต้องจำ เรารู้ว่าคุณอยากใช้ password เดียวกันหมดทุกเว็บให้รู้แล้วรู้รอด ไม่ก็เปลี่ยนนิดๆ หน่อยๆ จะได้จำสะดวกๆ แต่นั่นมันเสี่ยงแบบสุดๆ ไปเลย เพราะถ้ามีคนแฮก password กับอีเมลที่คุณใช้ในเว็บนึงไปได้ ก็จะเจาะ account ในเว็บอื่นของคุณที่ใช้ password กับอีเมลเดียวกันได้ทั้งหมด password manager นี่แหละจะมาช่วยจำ password ของแต่ละเว็บแทนคุณ ให้คุณสร้างสรรค์ password ยากๆ หรือแบบสุ่ม แตกต่างกันออกไปจนคนเดาไม่ได้เลย
    • ให้ลองศึกษาขั้นตอนในการติดตั้งและใช้งาน password manager เพิ่มเติมในเน็ตดู
    • ถ้ามี password manager แล้ว ก็ไม่ต้องตั้งรหัสง่ายๆ ให้จำได้อีกแล้ว เพราะตอนนี้คุณสามารถตั้ง password ยากขั้นสุดแบบไม่มีใครเจาะได้ อย่าง "Kz2Jh@ds3a$gs*F%7" ก็เดายากกว่า "MyDogName1983" เห็นๆ ไหมล่ะ
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

ท่องเว็บแบบปกปิดตัวตนขั้นเบสิค

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าพูดถึงการปกปิดตัวตนออนไลน์ บอกเลยว่าศัพท์เทคนิคมาเต็ม ก่อนจะใช้งานจริง คงจะดีถ้าคุณรู้จักศัพท์ง่ายๆ ที่ใช้บ่อยไว้บ้าง
    • Traffic - ถ้าพูดถึงการเชื่อมต่อ traffic ก็คือการโอนถ่ายข้อมูลจากคอมเครื่องนึงไปยังอีกเครื่อง
    • Server - คือคอมพิวเตอร์ทางไกลไว้ใช้ host ไฟล์และจัดทำการเชื่อมต่อ ทุกเว็บจะอยู่ใน server ทั้งนั้น และคุณก็เข้าใช้ผ่านเบราว์เซอร์ไงล่ะ
    • Encryption - เป็นวิธีการปกป้องข้อมูลที่ส่งผ่านเครือข่ายโดยการสุ่มสร้างโค้ด พอข้อมูลถูก encrypted หรือเข้ารหัสแล้ว จะถูกสุ่มตามโค้ดเฉพาะที่มีแต่คุณกับ server เท่านั้นที่รู้ ดังนั้นถึงข้อมูลจะถูกดักจับ แต่ถ้าไม่มีรหัสก็เข้าใช้ไม่ได้
    • Proxy - proxy server เป็น server ที่ถูกปรับแต่งให้เก็บเข้าและส่งออก network traffic พูดง่ายๆ ก็คือ proxy server ให้คุณเชื่อมต่อแล้วส่งคำร้องของคุณไปยังเว็บต่างๆ จากนั้นรับข้อมูลจากเว็บดังกล่าวมา แล้วส่งกลับไปที่คุณ แบบนี้ IP address ของคุณก็จะถูกซ่อนจากเว็บที่คุณใช้
    • VPN - VPN หรือ Virtual Private Network คือการเชื่อมต่อระหว่างคุณกับ server แบบเข้ารหัส ปกตินิยมใช้ในทางธุรกิจ ให้พนักงานทางไกลได้เข้าใช้ข้อมูลของบริษัทอย่างปลอดภัย VPN นั้นจะมองว่าเป็น "อุโมง" ในอินเทอร์เน็ตก็ได้ เป็นเหมือนทางผ่านให้คุณใช้เชื่อมต่อโดยตรงกับ server
  2. proxy แบบ web-based นั้นมีให้คุณได้เลือกใช้มากมายหลายพัน แถมยังเปลี่ยนไปทุกวัน หรือก็คือเว็บสำหรับ route traffic ผ่าน proxy server โดยจะมีผลเฉพาะกับ traffic ที่ผ่านเว็บดังกล่าวเท่านั้น แค่เปิด tab ใหม่ในเบราว์เซอร์ แล้วทุกข้อมูลที่คุณส่งออกจะเป็นไปอย่างลับๆ [1]
    • เวลาใช้ web-based proxy ให้หลีกเลี่ยงเว็บที่ต้องล็อกอินเข้าใช้ (อย่าง Facebook เว็บธนาคาร หรืออะไรแบบนั้น) เพราะเว็บ proxy ก็เชื่อใจไม่ได้เหมือนกัน
    • proxy แบบ web-based ทั่วไปนั้นใช้ดูคลิปไม่ได้นะ
  3. proxy server คือ server ที่ใช้แปลง traffic ในเน็ตของคุณ โดยข้อดีคือช่วยปกปิด IP address ที่แท้จริงของคุณจากเว็บไซต์เวลาเชื่อมต่อผ่าน proxy แต่ข้อเสียคือคุณต้องยอมไว้ใจว่า proxy server จะไม่มายุ่มย่ามกับ traffic ของคุณซะเอง
    • มีบริการ proxy ในเน็ตให้คุณเลือกใช้ได้มากมาย ทั้งแบบฟรีและเสียเงิน แต่ server แบบฟรีนั้นก็ต้องยอมดูโฆษณาไปตามระเบียบ
    • พอหา proxy server ที่อยากใช้ได้แล้ว ก็ต้องมาปรับแต่งเบราว์เซอร์เพื่อเชื่อมต่อกับ server ซึ่งจะได้ผลเฉพาะกับ traffic ที่มาจากเบราว์เซอร์ของคุณเท่านั้น (เช่น โปรแกรมแชทจะไม่ถูกแปลงผ่าน proxy server เว้นแต่คุณจะตั้งค่าเสียก่อน)
    • ก็เหมือนกับเวลาใช้ web-based proxy คุณไม่ควรล็อกอินเข้าเว็บไหน เพราะเราวางใจผู้ให้บริการ proxy ได้ไม่ 100% หรอก ว่าจะไม่มาหาประโยชน์จากข้อมูลของเรา
    • ห้ามใช้ proxy "แบบเปิด" เด็ดขาด. พวกนี้คือ proxy server ที่ถูกใครเปิดทิ้งไว้ ส่วนใหญ่ก็อันตรายและอาจผิดกฎหมายทั้งนั้น
  4. virtual private network หรือ เครือข่ายส่วนตัวแบบเสมือน จะเข้ารหัส traffic ของคุณที่เข้าและออกผ่านเครือข่าย ช่วยเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้คุณ แถมยังทำให้ traffic ของคุณเหมือนออกมาจาก server ของ VPN เอง ก็แบบเดียวกันกับ proxy server โดย VPN ส่วนใหญ่นั้นเป็นแบบเสียเงิน และก็ยังเก็บข้อมูล traffic ของคุณอยู่ดี ก็รัฐบาลสั่งมานี่นา
    • อย่าเชื่อ ถ้าผู้ให้บริการ VPN อ้างว่าไม่ได้เก็บ log ข้อมูลของคุณไว้ ไม่มี VPN ไหนกล้าเสี่ยงถูกปิดแลกกับการปกป้องลูกค้าคนเดียวจากคำสั่งรัฐบาลหรอกนะ
  5. Tor เป็นเครือข่ายที่ทำหน้าที่เหมือน proxy หลายๆ ตัว โดยจะแปลง traffic ของคุณไปมาก่อนถึงเว็บปลายทางหรือกลับมาที่คุณ เฉพาะ traffic ที่ผ่านเบราว์เซอร์ Tor เท่านั้นถึงจะเป็นความลับ และการท่องเว็บผ่าน Tor จะอืดกว่าเวลาเข้าเว็บปกติอย่างเห็นได้ชัด
    • ลองศึกษาเพิ่มเติมดูในเน็ต เกี่ยวกับการใช้งานเบราว์เซอร์ Tor [2]
  6. ติดตั้งโปรแกรมเสริมของเบราเซอร์เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัว. ถ้าคุณมีเบราเซอร์ที่สนับสนุนโปรแกรมเสริมแบบแจกฟรี อย่างเช่น Google Chrome, Mozilla Firefox, Safari, Microsoft Edge และ Opera โปรแกรมเสริมบางตัวนั้นพร้อมสำหรับให้ติดตั้งได้เลย
    • HTTPS Everywhere - จะทำการใช้ประโยชน์ในการถอดข้อมูล HTTPS-protocol โดยปลอดภัยบนเว็บไซต์ที่รองรับมันโดยอัตโนมัติ (สำหรับ Chrome , Firefox , Opera )
    • Privacy Badger , Ghostery , Disconnect - จะบล็อกคุกกี้ที่ใช้ติดตามเรา โดย Privacy Badger จะตัดสินใจเองว่าคุกกี้ตัวไหนจ้องติดตามคุณ ไม่เหมือนอีกสองโปรแกรมที่เหลือที่จะยึดตามข้อมูลของคุกกี้ติดตามผู้ใช้ที่บางครั้งก็มีการอัพเดท
      • โปรแกรมเสริมทั้งสามตัวนี้มีให้ดาวน์โหลดสำหรับ : Google Chrome, Mozilla Firefox, Opera
        Privacy Badger : Google Chrome, Mozilla Firefox, Opera
      • Ghostery : Mozilla Firefox, Google Chrome, Internet Explorer, Microsoft Edge, Opera, Safari, Firefox for Android
      • Disconnect : Google Chrome, Mozilla Firefox, Opera, Safari
    • NoScript - โปรแกรมเสริมที่มีเฉพาะใน Firefox ที่จะบล็อก JavaScript บนเว็บไซต์ โดยเราสามารถจัดการเองที่จะเปิด JavaScript ให้ทำงานบนเว็บไซต์ที่คุณวางใจถ้ามันต้องการใช้เพื่อจะทำงานได้ถูกต้อง คุณยังสามารถยอมให้ JavaScript ทำงานบนเว็บไซต์หนึ่งได้ชั่วคราว มีข้อมูลวิธีใช้บนอินเทอร์เน็ตถ้าต้องการรู้ละเอียดกว่านี้
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

ท่องเว็บแบบปกปิดตัวตนขั้นสุดยอด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าอยากจะท่องเน็ตแบบลับสุดยอดจริงๆ ก็มีหลายสิ่งที่คุณต้องทำก่อนออนไลน์ เรารู้ว่าฟังดูยุ่งยากชะมัด แต่ขั้นตอนพวกนี้ก็เป็นวิธีเดียวที่คุณจะท่องเว็บได้ใกล้เคียงกับคำว่าล่องหนที่สุด
    • วิธีนี้ให้คุณปรับแต่ง VPN ส่วนตัว บน server ส่วนตัวนอกประเทศ ซึ่งปลอดภัยกว่าการสมัครใช้บริการ VPN ทั่วไปเป็นไหนๆ เพราะคุณแน่ใจไม่ได้หรอก ว่าพวกบริษัท VPN จะไม่แอบเอาข้อมูลคุณไปใช้
  2. ติดตั้ง Linux ในคอมเสมือนในคอมเครื่องจริงของคุณ. คอมของคุณต้องใช้งานอะไรมากมายผ่านอินเทอร์เน็ต พวกนี้แหละที่จะเปิดเผยตัวตนออนไลน์ของคุณโดยไม่รู้ตัว Windows นี่แหละตัวรั่วเลย แต่ Mac OS X ก็ตามมาติดๆ ขั้นแรกสู่การปกปิดตัวตนก็คือต้องติดตั้ง Linux ลงในคอมเสมือนของคุณซะก่อน หรือก็คือคอมที่อยู่ในคอมของคุณนั่นแหละ [3]
    • คอมเสมือนนั้นจะมี "กำแพง" ล้อมรอบไว้ไม่ให้ข้อมูลไหนรั่วไปที่คอมเครื่องจริง สำคัญมากเวลาป้องกันไม่ให้ตัวตนจากเครื่องจริงรั่วไหลไปแสดงเวลาท่องเว็บ
    • ศึกษาขั้นตอนการติดตั้ง Linux ในคอมเสมือนโดยละเอียดได้ในเน็ต คุณทำทั้งหมดนี้ได้ฟรี แต่ต้องใช้เวลาเป็นชั่วโมง
    • TailsOS นี่แหละหนึ่งใน Linux distribution แบบเน้นเรื่องความเป็นส่วนตัวที่คนนิยมใช้มากที่สุด เพราะไม่เปลืองพื้นที่ แถมยังเข้ารหัสทั้งหมด
  3. ก็ต้องมีเสียเงินบ้างไม่กี่บาทต่อเดือน แต่จะได้ท่องเน็ตแบบปกปิดตัวตนอย่างสบายใจ ย้ำว่าต้องสมัครใช้ VPS ของประเทศอื่นเท่านั้นนะ เพราะ traffic เข้าและออกจาก VPS จะได้ไม่พ่วงกับ IP address ของคุณ
    • คุณต้องใช้ VPS ติดตั้งโปรแกรม VPN (Virtual Private Network) จะได้เชื่อมต่อผ่าน VPN ไม่ให้ใครเห็น IP address ที่แท้จริงของคุณ
    • ให้เลือก VPS ที่คุณจ่ายค่าบริการได้โดยไม่ต้องเปิดเผยตัวตน อย่างการจ่ายด้วย DarkCoin เป็นต้น
    • พอสมัคร VPS แล้ว ต้องติดตั้งระบบปฏิบัติการของคุณลงไป ให้เลือกติดตั้งหนึ่งใน Linux distribution อย่าง Ubuntu, Fedora, CentOS หรือ Debian จะได้เริ่มใช้ VPN ได้ง่ายๆ
    • ต้องเข้าใจก่อนว่า ถ้าศาลสั่ง ผู้ให้บริการ VPS ของคุณก็ต้องเปิดเผยข้อมูล VPN ของคุณอยู่ดี นี่พูดถึงกรณีที่คุณตกเป็นผู้ต้องสงสัยของรัฐบาล ว่าทำอะไรผิดกฎหมายผ่าน VPN ถ้าเป็นแบบนั้นก็ทำใจซะเถอะ
  4. VPN นี่แหละที่คอมจะใช้ต่อเน็ต พูดง่ายๆ คือจะดูเหมือนคุณท่องเน็ตจากตำแหน่งของ VPS ไม่ได้มาจากบ้านของคุณ และข้อมูลทั้งเข้าและออกผ่าน VPS ก็จะถูกเข้ารหัสด้วย ขั้นตอนนี้อาจซับซ้อนกว่าตอนติดตั้งระบบปฏิบัติการเสมือนอยู่สักหน่อย แต่เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด เพราะงั้นถ้าไอ้เรื่องล่องหนนี่สำคัญกับคุณมากละก็ ต้องทำจนสำเร็จนะ ขั้นตอนต่อไปนี้สำหรับติดตั้ง OpenVPN ใน Ubuntu ซึ่งเป็นหนึ่งใน VPN ฟรีที่วางใจได้มากที่สุด [4]
    • ล็อกอินเข้าระบบปฏิบัติการ VPS ของคุณ วิธีจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ผู้ให้บริการ VPS ที่คุณเลือกใช้
    • ไปที่เว็บ OpenVPN แล้วดาวน์โหลด software package ที่ถูกต้องมา จะมีให้เลือกหลายตัวด้วยกัน เพราะงั้นดูให้ดีว่าใช้ได้กับระบบปฏิบัติการ VPS ของคุณ หาโหลดได้ทุกตัวที่ openvpn.net/index.php/access-server/download-openvpn-as-sw.html
    • เปิด terminal ขึ้นมาใน VPS แล้วพิมพ์ dpkg -i openvpnasdebpack.deb เพื่อติดตั้งโปรแกรม OpenVPN ที่ดาวน์โหลดมา คำสั่งที่ต้องใช้จะต่างออกไปถ้าคุณไม่ได้ใช้ Ubuntu หรือ Debian
    • พิมพ์ passwd openvpn แล้วตั้ง password ใหม่เข้าไป นี่คือ admin password สำหรับโปรแกรม OpenVPN
    • เปิดเบราว์เซอร์ขึ้นมาใน VPS แล้วพิมพ์ address ที่ขึ้นใน terminal จะเป็นการเปิด control panel ของ OpenVPN ขึ้นมา ให้ล็อกอินด้วย username openvpn กับ password ที่คุณเพิ่งตั้ง พอล็อกอินครั้งแรกแล้ว VPN ก็พร้อมใช้งาน
  5. ต้องไปที่ OpenVPN Connect Client เพื่อดาวน์โหลดไฟล์ configuration ที่จำเป็นสำหรับโปรแกรมเชื่อมต่อ
    • ให้ใส่ address เดียวกับที่ใช้เข้า admin panel ใน VPS แต่ตัด /admin ออกไป
    • ล็อกอินด้วย admin account ของ OpenVPN โดยใช้ "openvpn" เป็น username คู่กับ password ที่คุณตั้งไปเมื่อกี้
    • ดาวน์โหลดไฟล์ client.opvn หรือ client.conf ลงในคอมเสมือน
  6. พอปรับแต่ง VPN ของคุณใน VPS เรียบร้อยแล้ว ต้องมาตั้งค่าให้คอมเสมือนเชื่อมต่อกับมันโดยตรง ขั้นตอนข้างล่างนี้สำหรับ Ubuntu กับ Debian เท่านั้น ต้องปรับเปลี่ยนคำสั่งที่ใช้ตามแต่ระบบปฏิบัติการ
    • เปิด terminal ขึ้นมาแล้วพิมพ์ sudo apt-get install network-manager-openvpn-gnome
    • รอให้ package ดาวน์โหลดและติดตั้งจนเสร็จ
    • เปิด Network Manager ขึ้นมาแล้วคลิกแถบ "VPN"
    • คลิกปุ่ม "Import" แล้วเลือกไฟล์ configuration ที่โหลดมา
    • ตรวจสอบค่าต่างๆ ที่ตั้งไป ช่อง Certificate กับ Key ควรจะถูกกรอกเองอัตโนมัติ แล้ว VPN address ก็ควรจะไปโผล่ที่ช่อง Gateway
    • คลิกแถบ "IPV4 Settings" แล้วเลือก "Automatic (VPN) addresses only" จากเมนู Methods ที่ขยายลงมา traffic ในเน็ตทั้งหมดของคุณจะได้ route ผ่าน VPN
  7. ตอนนี้พอปรับแต่งและเริ่มใช้ VPS กับ VPN แล้ว คุณก็ท่องเน็ตได้อย่างปลอดภัยไร้ร่องรอยน่าดู VPN จะเข้ารหัสทุก traffic ที่เข้าและออกผ่านคอมเสมือนของคุณ แต่ถ้าอยากล่องหนกว่านั้นอีก เบราว์เซอร์ Tor ช่วยเพิ่มการป้องกันให้คุณอีกชั้นได้ แต่ก็ต้องยอมแลกความเร็วในการท่องเน็ตละนะ [5]
    • ดาวน์โหลดเบราว์เซอร์ Tor ได้ที่ torproject.org
    • ใช้ Tor ผ่าน VPN จะซ่อนกระทั่งผู้ให้บริการเน็ตไม่รู้ว่าคุณกำลังใช้ Tor (จะเห็นแค่ VPN traffic ที่เข้ารหัส)
    • พอเปิดโปรแกรมติดตั้ง Tor แค่ค่า default ที่มีมาแต่แรกก็พอสำหรับการท่องเน็ตอย่างปลอดภัยของผู้ใช้ทั่วไปแล้ว
    • สำหรับรายละเอียดการใช้งาน Tor เพิ่มเติม ให้ลองศึกษาจากในเน็ตดู
  8. ถ้าให้ความสำคัญกับการปกปิดตัวตนเป็นพิเศษ คุณต้องเปลี่ยนผู้ให้บริการ VPS อย่างน้อยเดือนละครั้ง แปลว่าต้องมานั่งปรับค่า OpenVPN กันทุกครั้งที่ใช้ แต่พอทำบ่อยๆ เดี๋ยวก็ชินไปเอง แค่ให้แน่ใจว่ารีเซ็ต VPS ทั้งหมดแล้วก่อนเปลี่ยนไปใช้ตัวใหม่ [6]
  9. พอทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ก็เหลือแต่พฤติกรรมการท่องเว็บของคุณ ว่าจะช่วยตัวเองได้มากแค่ไหน
    • บอกแล้วให้เปลี่ยนไปใช้ search engine ทางเลือก อย่าง DuckDuckGo หรือ StartPage
    • อย่าเข้าเว็บที่ใช้ Javascript เพราะโค้ดของ Javascript นั้นเปิดเผย IP address แถมขุดคุ้ย traffic ของคุณได้
    • ตัดการเชื่อมต่อจาก Tor ก่อนทุกครั้งเวลาจะเปิดไฟล์ที่ดาวน์โหลดผ่าน Tor
    • ห้ามโหลดบิทตอนเชื่อมต่อผ่าน Tor
    • อย่าเข้าเว็บที่ไม่ได้ใช้ HTTPS (สังเกตจาก address bar ว่าเว็บนั้นใช้ HTTP หรือ HTTPS)
    • อย่าติดตั้ง plugin อะไรในเบราว์เซอร์
    โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 23,942 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา