ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เวลาประตูหนีบมือหรือนิ้วนี่มันเจ็บเกินบรรยาย ถ้าอาการหนักหน่อยก็อาจถึงขั้นต้องหาหมอ จะได้ไม่เจ็บปวดหรือบาดเจ็บในระยะยาว แต่ถ้าประตูหนีบเล็กๆ น้อยๆ เราก็มีเคล็ดลับเด็ดๆ ในการดูแลตัวเองให้หายเจ็บมาฝากกัน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

บรรเทาอาการเจ็บปวด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. [1] ด้วยเหตุผลทางการแพทย์ที่เราจะอธิบายต่อไป นี่คือสิ่งแรกที่คุณควรทำหลังถูกประตูหนีบมือ เหตุผลง่ายๆ ก็คือถ้าประคบนานพอ น้ำแข็งจะทำเอามือคุณเย็นจนชาหายเจ็บชั่วขณะ ตอนแรกอาจจะรู้สึกเย็นจัดจนทนไม่ค่อยไหวหรือถึงขั้นเจ็บ แต่ขอให้อดทนไว้แล้วประคบต่อไป เพราะสุดท้ายแล้วจะคลายความเจ็บปวดให้คุณได้อย่างดี
  2. แน่นอนว่าความรู้สึกแรกคงเป็น "ตายแน่" แต่พยายามข่มใจไว้ก่อน อย่าเพิ่งสติแตก เพราะยิ่งคุณตื่นตัวเลือดจะไหลแรงเร็วขึ้น ทีนี้แผลจะปวดบวมกว่าเดิม แถมเขาวิจัยกันมาแล้ว ว่ายิ่งเครียดหรือยิ่งตื่นก็ยิ่งเจ็บ แต่ส่วนใหญ่เขาหมายถึงอาการเจ็บปวดแบบเรื้อรัง (chronic pain) มากกว่าจะเป็นเจ็บปวดเฉียบพลัน (acute injury) แบบนี้ [2] แต่ไม่ว่ายังไง ก็ขอให้ใจเย็น สงบใจไว้ คุณจะได้มีสติรีบดูแลอาการของตัวเองเพื่อคลายความเจ็บปวดโดยเร็ว
  3. ถ้าอาการหนักคงต้องรีบไปหาหมอให้ตรวจรักษาและจ่ายยาแก้ปวดแรงๆ แต่ถ้าประตูหนีบพอสังเขป แค่ยาแก้ปวดตามร้านขายยาก็ช่วยได้แล้ว ยาแก้ปวดที่ว่าก็เช่น acetaminophen (Tylenol, Panadol และอื่นๆ) กับ ibuprofen (Advil, Motrin และอื่นๆ) เป็นต้น
    • กินยาให้ครบโดสตามที่คุณหมอสั่งหรือเภสัชกรแนะนำ อย่างยา Acetaminophen ต้องกินทุก 4 - 6 ชั่วโมง ส่วน ibuprofen ทุก 6 - 8 ชั่วโมง
    • ถ้าคุณมีปัญหาเรื่องกระเพาะ ไต หรือท้องอยู่ ห้ามอยู่ๆ กินยา ibuprofen โดยไม่ปรึกษาคุณหมอก่อนเด็ดขาด
    • คนที่เป็นโรคเกี่ยวกับตับ ห้ามกินยา acetaminophen [3]
  4. [4] การหายใจเข้าออกลึกๆ ช้าๆ ช่วยให้คุณสงบจิตใจได้ดี ที่สำคัญคือหัวใจคุณจะได้เต้นช้าลง ขอให้เพ่งสมาธิไปที่แต่ละลมหายใจเข้าออก ตั้งแต่ลมผ่านเข้าไปทางจมูก ไล่มาตามอก ปอด แล้วกลับออกมาทางจมูกหรือทางปาก จดจ่อกับทุกสัมผัส ลืมทุกอย่างรวมถึงความเจ็บปวดไปก่อน
    • หายใจเข้าช้าๆ ให้ลึกลงไปถึงท้อง ไม่ใช่หยุดอยู่แค่อก แต่ท้องต้องพองออกมา
    • พอหายใจสุดจนหายใจเพิ่มไม่ได้อีก ให้ค้างลมหายใจไว้แบบนั้นหลายๆ วินาที
    • หายใจออกช้าๆ อย่างมีสติ คอยควบคุมการผ่อนลมหายใจไม่ใช่อยู่ๆ ก็พ่นลมออกมารวดเดียว
    • พอหายใจออกแล้ว ให้หยุดรอ 2 - 3 วินาทีแล้วค่อยเริ่มหายใจเข้าใหม่อีกครั้ง
    • ทำซ้ำจนกว่าจะรู้สึกดีขึ้น ไม่กลัวจนลนลานหรือสติแตกแล้ว
  5. ถ้าอยากเบี่ยงเบนความสนใจตัวเองให้ลืมเจ็บ ลองใจลอยคิดเรื่องอื่นดู อะไรก็ได้ที่กระตุ้นประสาทสัมผัสส่วนอื่นของคุณ อาจจะฟังเพลงโปรด ดูซีรีส์หรือรายการทีวีสนุกๆ หาคนคุยด้วย ไม่ก็ทำกิจกรรมเบาๆ ที่ไม่ทำมือคุณบอบช้ำไปกว่าเดิมอย่างการเดินเล่น เขาวิจัยกันมาแล้วว่าเบี่ยงเบนความสนใจด้วยสัมผัสทั้ง 5 ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดได้เป็นอย่างดี [5] [6]
  6. มีงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่า guided imagery หรือการจินตนาการนึกภาพตามคำบอกเล่าของคนหรือจากเสียงที่อัดไว้ ช่วยให้คนที่กำลังเจ็บปวดจดจ่อมีสมาธิอยู่กับภาพในหัวของตัวเอง จนคลายความเจ็บปวดทั้งแบบเรื้อรังและเฉียบพลันได้ [7] แต่ก็มีงานวิจัยเร็วๆ นี้อีกนั่นแหละ ที่ชี้ว่าแค่คุณนึกถึงอาหารโปรดของคุณแบบรายละเอียดเน้นๆ ก็ช่วยคลายความเจ็บปวดอย่างเห็นผลเช่นกันโดยไม่ต้องให้ใครมาแนะแนวเลย [8] ลองจินตนาการว่าตัวเองกำลังเอร็ดอร่อยอยู่กับอาหารจานโปรดดูสิ จะช็อคโกแลตแท่งโตหรือชีสเบอร์เกอร์เป็นชั้นๆ ก็ได้ ขอแค่คุณลงรายละเอียดให้มากและสมจริงที่สุด ทั้งกลิ่น รส แล้วก็สัมผัส ปล่อยให้ตัวเองเพลิดเพลินไปกับรสชาติอาหาร (ปลอมๆ) ในปากจนลืมเจ็บไปเลย
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ประเมินความรุนแรง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. [9] สิ่งสำคัญที่คุณต้องทำทันทีหลังประตูหนีบ คือเอาน้ำแข็งมาประคบให้เร็วที่สุด อุณหภูมิเย็นจัดจะช่วยชะลอการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณนั้น ทำให้ลดบวมลดอักเสบ ไม่ลุกลามเจ็บปวดไปกว่าเดิม แถมน้ำแข็งจะเย็นจัดจนนิ้วหรือมือชา เลยบรรเทาอาการเจ็บปวดไปได้เยอะอย่างที่เราบอกไป
    • ถ้าไม่มีน้ำแข็งจริงๆ จะหาอะไรที่เย็นๆ มาประคบแทนก็ได้ อย่างถุงผักถุงอาหารแช่แข็งที่อยู่ในช่องฟรีซ บอกเลยว่าดีและสะดวกพอๆ กันกับถุงน้ำแข็งเลย
  2. [10] ให้คุณชี้นิ้วขึ้นฟ้า เพราะช่วยป้องกันไม่ให้เลือดไหลไปเลี้ยงจุดที่บาดเจ็บ ลดปวดบวมได้ดีพอๆ กับการประคบเย็น เพราะงั้นระหว่างที่คุณประคบเย็น ขอให้ชูมือสูงไว้เลย
  3. [11] ถ้าเจ็บมากที่สุดตรงฝ่ามือ หรือมีข้อไหนกระทบกระเทือน คุณควรรีบไปหาหมอเพื่อดูแลรักษาโดยด่วน แต่ถ้าประตูหนีบแค่ปลายนิ้ว และไม่ได้กระทบกระเทือนถึงข้อต่อแต่อย่างใดรวมถึง nail bed หรือเนื้อรองเล็บ คุณหมอคงแนะนำให้คุณแค่พักมือแล้วรอจนกว่าอาการจะดีขึ้นเอง
  4. [12] แค่ดูคุณก็รู้แล้วว่ามีเล็บไหนหลุดจากเนื้อรองเล็บหรือเปล่า โดยสังเกตจากสีเล็บที่เข้มดำขึ้น ซึ่งแปลว่ามีเลือดคั่งใต้เล็บ แบบนี้ต้องหาหมอเพื่อรักษาต่อไป แต่ถ้ามีเลือดออกหรือเลือดคั่งนิดหน่อย ไม่นานก็จะหายไปเอง ยกเว้นว่าเลือดไหลเยอะจนน่ากลัว อันนี้ก็ต้องไปหาหมอเหมือนกัน คุณหมออาจจะนัดมาเจาะระบายความดันใต้เล็บ ไม่ก็แนะนำวิธีการให้คุณไปทำต่อด้วยตัวเอง
    • ถ้าเลือดคั่งไม่เกิน 24 ชั่วโมง คุณหมออาจพิจารณาเจาะเลือดที่คั่งออก แต่ถ้าผ่านไปเป็น 48 ชั่วโมงแล้ว เลือดจะแข็งตัวทำให้เจาะระบายไม่ได้ คุณหมอมักทดสอบการทำงานของระบบประสาทที่มือ รวมถึงเช็คการเหยียดงอของทุกข้อนิ้วด้วย
  5. ถ้าคุณหมอสั่งให้เจาะระบายเลือดคั่งใต้เล็บ ต้องทำตามอย่างเคร่งครัด. [13] ห้ามสุ่มสี่สุ่มห้าเจาะเองโดยไม่ปรึกษาคุณหมอเด็ดขาด แต่ถ้าคุณหมออนุญาตก็ต้องทำตามคำแนะนำทุกขั้นตอนอย่างเคร่งครัด อย่าลืมล้างมือให้สะอาดทั้งก่อนและหลังขั้นตอน
    • เอาปลายคลิปหนีบกระดาษหรือหมุดติดกระดาน (thumbtack) ไปลนไฟให้ร้อนจนแดงเพื่อฆ่าเชื้อ จากนั้นใช้คีมหนีบหรือใส่ถุงมือกันความร้อนก่อนค่อยหยิบขึ้นมา
    • เอาปลายลวดหรือหมุดร้อนๆ นั้นไปแตะเล็บของนิ้วที่เลือดคั่ง ไม่ต้องออกแรงกดอะไรเลย เพราะความร้อนจะเจาะรูลึกลงไปในเล็บเองโดยอัตโนมัติ ขั้นตอนนี้ก็มีเจ็บบ้าง แต่ไม่ถึงขั้นร้องโอดโอย เพราะงั้นไม่ต้องกลัวไป
    • ปล่อยให้เลือดไหลออกมาทางรู แล้วอาการเจ็บปวดของคุณจะบรรเทาไปเอง
    • คุณหมออาจจ่ายยาปฏิชีวนะให้คุณด้วย
  6. อันนี้ก็ต้องประเมินอาการตัวเองก่อน ส่วนใหญ่ประตูหนีบแล้วมักเจ็บแต่ไม่รุนแรง แค่ประคบเย็นแล้วรอให้หายเอง แต่ถ้ามีอาการต่อไปนี้ ต้องรีบไปรักษาตัวกับคุณหมอด่วน [14]
    • งอนิ้วไม่ได้
    • ข้อหรือกระดูกที่ฝ่ามือบาดเจ็บ
    • เนื้อรองเล็บบาดเจ็บ
    • มีแผลบาดลึก
    • กระดูกหัก
    • มีสิ่งสกปรกติดค้างที่ต้องเอาออกไม่ให้ติดเชื้อ
    • มีแนวโน้มว่าจะติดเชื้อ (บวมแดง ร้อน มีหนอง มีไข้) [15]
    • ไม่หายสนิทหรืออาการไม่ดีขึ้น
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้ามีแผลเปิด ถูกบาด ฉีกขาด หรือกระดูกหัก ต้องรีบปฐมพยาบาลด่วน
  • ใช้ถุงถั่วหรืออาหารแช่แข็งประคบ *แต่ถ้าคิดว่ามีส่วนไหนกระดูกหัก ให้รีบไปหาหมอหรือขอความช่วยเหลือด่วน
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้านิ้วยังเจ็บไม่หายต้องบอกคุณหมอทันที เพราะอาจบาดเจ็บรุนแรงกว่าที่คิด
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. http://www.webmd.com/pain-management/try-heat-or-ice
  2. http://www.health.harvard.edu/newsletter_article/pain-anxiety-and-depression
  3. http://www.fda.gov/Drugs/DrugSafety/InformationbyDrugClass/ucm165107.htm
  4. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3000182/
  5. Hoffman, H.G., Richards, T.L., Bills, A.R., Van Oostrom, T., Magula, J., Seibel, E.J., and Sharar, S.R. (2006). “Using FMRI to study the neural correlates of VR analgesia”, CNS Spectr., Jan, 11(1), 45-51.
  6. Cepeda, M.S., Carr, D.B., Lau, J., and Alvarez, H. (2006). “Music for pain relief”, Cochrane Database Syst Rev., Apr 19, (2), CD004843
  7. http://prc.coh.org/GuidImg.pdf
  8. http://abcnews.go.com/Health/PainManagement/story?id=5475061&page=1&singlePage=true
  9. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=1&ContentID=4483

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 151,429 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา