ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ในช่วงที่คุณและลูกกำลังปรับตัวในการใช้ชีวิตหลังการหย่าร้าง อีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่คุณอาจต้องเผชิญเข้าสักวันหนึ่งคือการเริ่มต้นความสัมพันธ์ครั้งใหม่ เมื่อได้รู้ว่าพ่อหรือแม่กำลังเริ่มต้นคบหาดูใจกับใครสักคนอีกครั้ง เด็กๆ อาจรู้สึกกลัวและกังวลกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ในบทความนี้เราจะมาแนะนำวิธีที่เหมาะสมในการพูดคุยกับลูกน้อยของคุณเกี่ยวกับความรักครั้งใหม่พร้อมทำให้เขามั่นใจได้ว่าคุณพร้อมที่จะอยู่เคียงข้างเขาเสมอ

1

ปรับเปลี่ยนวิธีการพูดคุยตามอายุของเด็ก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. วิธีการพูดคุยที่เหมาะสมกับเด็กที่อายุน้อยกว่าอาจแตกต่างจากเด็กที่อายุมากกว่า. หากลูกของคุณยังอายุน้อยและยังขาดความเข้าใจในเรื่องการคบหาดูใจกับคนรัก คุณอาจพูดคุยกับเขาโดยใช้คำว่า “เพื่อนสนิท” คนใหม่ของคุณ (โดยส่วนใหญ่แล้ววิธีนี้จะเหมาะกับเด็กที่อายุต่ำกว่า 10 ขวบ) ส่วนเด็กที่โตกว่านั้นอาจเริ่มเข้าใจในเรื่องความรักและความสัมพันธ์ คุณอาจเลือกใช้คำที่เจาะจงมากขึ้น เช่น คนรักหรือแฟน [1]
    • ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจพูดกับลูกอายุ 8 ขวบทำนองว่า “คืนนี้เพื่อนใหม่ของหม่าม้าจะมาที่บ้านเรานะ”
    • สำหรับเด็กอายุ 15 ปี คุณอาจพูดทำนองว่า “พ่อแค่อยากจะบอกว่าตอนนี้พ่อกำลังกลับมามีความรักอีกครั้งแล้วนะ”
    • แม้ว่าลูกของคุณจะโตมากพอที่จะเริ่มเข้าใจในเรื่องของความรัก แต่การเรียกคนรักใหม่ของคุณว่าเพื่อนอาจช่วยให้เรื่องที่เขาได้ยินจากคุณฟังดูเบาบางลงได้บ้าง คุณเป็นคนที่รู้จักลูกของคุณดีที่สุด ดังนั้นลองเลือกใช้คำที่คุณคิดว่าเหมาะสมที่สุดดู
    โฆษณา
2

เริ่มต้นบทสนทนาด้วยการถามคำถาม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ลองเปิดประเด็นว่า “ลูกคิดอย่างไรหากพ่อ/แม่จะกลับมามีความรักอีกครั้ง”. นี่เป็นการเปิดโอกาสให้ลูกของคุณได้พูดสิ่งที่คิดออกมา เตรียมรับมือกับอารมณ์โกรธ ความเสียใจ ความสับสน หรือความหึงหวงที่เขาอาจแสดงออกมา การเปิดประเด็นเช่นนี้จะทำให้คุณได้รับรู้ได้ในทันทีว่าลูกของคุณคิดหรือรู้สึกอย่างไรกับเรื่องนี้ [2]
3

ทำให้ชัดเจนว่าคนรักใหม่ของคุณไม่ได้มาแทนที่พ่อ/แม่ของเขา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แม้จะเลิกรากันแล้ว แต่อดีตคนรักของคุณจะยังเป็นพ่อ/แม่ของเขาตลอดไป. สำหรับเด็กบางคน ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะมองว่าคนที่พ่อหรือแม่กำลังคบหาดูใจอยู่คือพ่อ/แม่ “คนใหม่” ของเขา ดังนั้นบอกให้เขารู้ว่าคุณและอดีตคนรักของคุณยังคงจับมือทำหน้าที่พ่อแม่ของลูกเสมอ และคนรักใหม่ของคุณจะไม่มีวันแทนที่พ่อ/แม่ของเขาได้ [3]
    • สำหรับเด็กที่ยังอายุน้อย คุณอาจพูดทำนองว่า “หม่าม้าเข้าใจว่ามันอาจจะฟังดูแปลกๆ แต่จำไว้นะว่าป่าป๊าจะยังเป็นป่าป๊าของลูกเสมอ เข้าใจมั้ย น้าริชาร์ดเพื่อนของหม่าม้าอาจเป็นเพื่อนใหม่ของลูกได้ แต่ไม่จำเป็นที่คุณน้าจะต้องมาเป็นพ่อคนใหม่ของลูกนะ”
    • หรือคุณอาจพูดกับลูกที่เริ่มโตว่า “ลูกอาจเห็นพ่อกับอาเจสสิก้าอยู่ด้วยกันบ่อยๆ แต่ลูกไม่จำเป็นต้องเรียกคุณอาว่า ‘แม่’ นะ แม่จะยังเป็นแม่ของลูกเสมอ และอาเจสสิก้าก็ไม่สามารถมาแทนที่แม่ของลูกได้”
    โฆษณา
4

ถามถึงความรู้สึกของลูก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การพูดคุยอย่างเปิดอกกับลูกของคุณเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้. เมื่อได้พูดคุยกับลูกแล้ว อย่าลืมเปิดโอกาสให้เขาได้พูดระบายสิ่งที่อัดอั้นในใจออกมา คุณอาจถามเขาว่ารู้สึกอย่างไร พร้อมเตรียมรับมือกับ ความเสียใจ ความโกรธ หรือแม้กระทั่งความหึงหวงที่เขาอาจแสดงออกมา [4]
    • ลองพูดทำนองว่า “ลูกรู้สึกอย่างไรบ้าง” หรือ “บอกได้มั้ยว่าลูกกำลังคิดอะไรอยู่”
5

คลายทุกความกังวลใจที่ลูกมี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พยายามคลายความไม่สบายที่เกิดขึ้นหลังจากคุณทั้งสองคนพูดคุยกัน. เด็กๆ มีอารมณ์ที่หลายหลาย และหากลูกของคุณโตมากพอที่จะแสดงความรู้สึกเหล่านั้นออกมา คุณอาจต้องปลอบโยนให้เขาคลายอารมณ์ขุ่นหมองลงได้ บอกให้เขารู้ว่าเขายังคงเป็นคนสำคัญในชีวิตของคุณเสมอและจะเป็นคนแรกที่คุณคิดถึงก่อนใครก็ตามที่คุณคบหาดูใจด้วย [5]
    • ยกตัวอย่างเช่น เด็กที่ยังอายุน้อยอาจถามทำนองว่า “เพื่อนใหม่ของหม่าม้าจะย้ายมาอยู่กับเราเหรอ” คุณอาจตอบว่า “ไม่จ๊ะลูก ไม่ใช่เร็วๆ นี้แน่นอน และมันอาจจะไม่เกิดขึ้นด้วย แต่แม้ว่าคุณน้าจะมาอยู่ร่วมกันกับเรา จำไว้ว่าลูกกับหม่าม้าจะมีกันและกันตลอดไป”
    • แม้จะเป็นเรื่องดีที่คุณเปิดใจพูดคุยกับลูกของคุณและทำความเข้าใจในสิ่งที่เขาคิด แต่คุณไม่จำเป็นต้องให้ลูกมาบงการชีวิตรักของคุณ สิ่งที่คุณควรทำคือรับฟังความกังวลใจของเขา ไม่ใช่การยุติความสัมพันธ์ครั้งใหม่เพียงเพราะเขาไม่ชอบใจกับการที่คุณมีคนรักใหม่
    โฆษณา
6

ให้เวลาลูกในการปรับตัวสักระยะหนึ่ง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เด็กส่วนใหญ่อาจไม่รู้สึกตื่นเต้นทันทีเมื่อรู้ว่าพ่อ/แม่กลับมามีความรักอีกครั้ง. สิ่งสำคัญคือการให้เวลาลูกของคุณในการปรับตัวและอย่าเร่งเร้าให้เขาเปิดใจยอมรับคนรักใหม่ของคุณได้โดยเร็ว พยายามพูดคุยและถามถึงความรู้สึกของเขาอยู่เรื่อยๆ แต่อย่าบังคับให้เขาเปลี่ยนความคิดในแบบที่เขาไม่ต้องการ [6]
7

หมั่นพูดคุยสื่อสารกับลูกอยู่เรื่อยๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พูดคุยและรับฟังลูกของคุณอย่างสม่ำเสมอเผื่อว่าเขาจะมีความกังวลใจเพิ่มเติม. หากลูกของคุณยังอายุน้อย ลองมานั่งพูดคุยกับเขาสัปดาห์ละครั้งหรือตามที่คุณเห็นสมควรเพื่อดูว่าเขารู้สึกอย่างไรบ้างในตอนนี้ การพูดคุยสื่อสารกับลูกเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้หลังจากที่คุณแนะนำให้คนรักใหม่ของคุณรู้จักกับเขาแล้ว หากเขามีข้อสงสัยหรือความกังวลใจเพิ่มเติม คอยรับฟังและพยายามทำให้เขารู้สึกดีขึ้น [7]
    • คุณอาจลองถามเขาว่า “ลูกรู้สึกอย่างไรหลังจากได้เจอน้าแนนซี่” หรือ “มีความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องที่เราคุยกันเมื่อวันก่อนมั้ย”
    โฆษณา
8

พิจารณาคนรักใหม่อย่างรอบคอบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ควรแน่ใจว่าคุณไว้วางใจในคนรักใหม่ของคุณให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตคุณทั้งสองคน. การมีความรักครั้งใหม่เมื่อมีลูกติดค่อนข้างแตกต่างจากการคบหาดูใจกับใครสักคนตอนที่มีแค่คุณเพียงคงเดียว เพราะคุณจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของลูกของคุณด้วย เมื่อคุณได้พบใครสักคนที่คุณพร้อมเปิดใจด้วย อย่าลืมนึกถึงลูกของคุณก่อนเป็นอันดับแรก หากคุณไม่พร้อมที่จะให้คนรักใหม่กับลูกของคุณได้พบหน้ากัน อาจถึงเวลาที่คุณจะต้องยุติความสัมพันธ์ครั้งนี้และเดินหน้าต่อไป [8]
9

แนะนำให้คนรักใหม่รู้จักกับลูกเมื่อคุณมั่นใจ 100% เท่านั้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เด็กอาจปรับตัวได้ยากกับการพบปะคนรักใหม่ของพ่อ/แม่หลายคนในช่วงเวลาสั้นๆ. หากคุณคบหาดูใจกับคนรักใหม่มาสักระยะหนึ่งและค่อนข้างจริงจังกับความสัมพันธ์ในครั้งนี้ ถึงเวลาที่คุณควรเริ่มคิดที่จะแนะนำให้คนรักใหม่รู้จักกับลูกของคุณ หากทั้งสองคนเริ่มสนิทสนมและเข้ากันได้ดี ก็มีโอกาสสูงขึ้นที่ความรักครั้งนี้จะพัฒนาไปสู่ความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนได้ [9]
    • นอกจากนี้ หากลูกของคุณยังอายุน้อย การเห็นพ่อ/แม่คบหาดูใจกับคนใหม่คนแล้วคนเล่าในช่วงเวลาสั้นๆ อาจทำให้เด็กเกิดความสับสนได้
    โฆษณา
10

ลิสต์รายการจุดแข็งของคนรักใหม่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. วิธีนี้จะช่วยให้คนรักใหม่และลูกของคุณเริ่มต้นสานสัมพันธ์กันได้ดี. หากความสัมพันธ์ของคุณกับคนรักใหม่เริ่มจริงจังมากขึ้นจนถึงขั้นคิดที่จะแนะนำคนรักใหม่ให้รู้จักกับลูกของคุณ ลองลิสต์รายการสิ่งที่คุณชอบในตัวคนรักใหม่ หากลูกของคุณเห็นว่าคุณมีความสุขมากแค่ไหนและได้ฟังว่าคุณชอบคนๆ นี้มากเพียงใด เขาอาจยอมเปิดใจที่จะทำความรู้จักกับคนรักใหม่ของคุณ [10]
    • สำหรับเด็กที่ยังอายุน้อย คุณอาจพูดทำนองว่า “น้าเฟรดเป็นคนที่เจ๋งมาก แถมยังรู้ทริคมายากลตั้งเยอะ! แล้วเขาก็เป็นคนรักสัตว์เหมือนกับลูกเลย”
    • หรือคุณอาจพูดกับลูกที่เริ่มโตว่า “อาเฮเธอร์เป็นคนที่น่ารักมากคนหนึ่งเท่าที่พ่อเคยเจอ เธอเป็นคนตลก และพ่อคิดว่าลูกกับเธอน่าจะเข้ากันได้ดี”
11

ค่อยๆ ให้คนรักใหม่ทำความรู้จักกับลูกไปทีละน้อย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ออกไปทานอาหารด้วยกันหรือหากิจกรรมนอกบ้านสนุกๆ ทำร่วมกัน. ให้เวลาทั้งสองคนค่อยๆ ทำความรู้จักกันไปเรื่อยๆ โดยไม่ต้องรีบร้อน เริ่มจากการพบปะกันสั้นๆ เช่น ทานอาหารเย็นร่วมกันที่ร้านอาหาร และเพิ่มเวลาที่ทำกิจกรรมร่วมกันให้มากขึ้น เช่น ออกไปเที่ยวด้วยกันในวันหยุดสุดสัปดาห์ [11]
    • การให้เวลาลูกได้สร้างความคุ้นเคยกับคนรักใหม่ของคุณที่มากพอเป็นสิ่งสำคัญ หากคุณรีบร้อนมากเกินไปหรือคอยกดดันให้เขาเข้ากันกับคนรักใหม่ของคุณได้โดยเร็ว อาจกลายเป็นว่าคุณกำลังทำให้เขารู้สึกขุ่นเคืองใจไปแทน
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 441 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา