ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

Fracture เป็นศัพท์ทางการแพทย์ที่ใช้อธิบายอาการกระดูกหัก ซึ่งตามปกติจะหักอยู่ข้างใน ไม่ทะลุออกนอกผิวหนังให้เห็น แต่กระดูกหักแบบเปิด หรือ open fracture นั้นเกิดเมื่อขอบกระดูกที่หักคมจนแทงทะลุผิวหนัง โผล่ออกมานอกตัวคุณ หรืออีกกรณีคือมีวัตถุบางอย่างทิ่มแทงเข้าไปจนทะลุถึงกระดูก กระดูกหักแบบนี้ต้องได้รับการปฐมพยาบาลทันทีจากคนที่เห็นเหตุการณ์ จะได้ลดความเสี่ยงการติดเชื้อและแผลไม่ลุกลาม นอกจากนี้กระดูกหักแบบเปิดยังทำให้เกิดความเสียหายทั้งกับกล้ามเนื้อโดยรอบ เอ็น และโครงสร้างยึดระหว่างกระดูก การดูแลรักษาเลยทำได้ยาก

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

สิ่งแรกที่ต้องรีบทำเมื่อกระดูกหักแบบเปิด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. กระดูกหักแบบเปิดนั้นมีโอกาสติดเชื้อสูง และอาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บร้ายแรงอื่นๆ ตามมา ยิ่งรักษาเร็วเท่าไหร่โอกาสติดเชื้อก็ยิ่งน้อยลง [1] รีบโทรแจ้งตำรวจหรือเรียกรถพยาบาล หรือให้ใครช่วยโทรแจ้งตอนคุณลงมือปฐมพยาบาล
  2. ถ้าคุณไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ ต้องรีบสอบถามเรื่องราวจากคนที่บาดเจ็บให้เร็วที่สุด ถามไปพลางเตรียมตัวเตรียมของสำหรับปฐมพยาบาลไปพลาง ที่สำคัญคืออย่าลืมโทรเรียกรถพยาบาล แต่ถ้าคนเจ็บเสียเลือดมากหรือหมดสติ ก็คงเป็นหน้าที่คุณที่ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ว่ามันเกิดอะไรขึ้นกันแน่ สิ่งที่ต้องรู้ก็คือ
    • กระดูกหักได้ยังไง เขาตกลงมา รถชน ถูกแรงระเบิด หรือบาดเจ็บตอนเล่นกีฬา?
    • พอเกิดเหตุการณ์ปุ๊บแผลหน้าตาเป็นยังไง พอเวลาผ่านไปแผลขยายใหญ่ขึ้นหรือเปล่า?
    • คนเจ็บเสียเลือดเยอะไหม?
    • คนเจ็บเกิดอาการช็อคต้องรีบรักษาโดยด่วนไหม?
  3. หาแผลเปิดให้เจอ และดูว่ามีกระดูกแทงทะลุออกมาไหม. แต่ ห้าม แตะต้องแผลเด็ดขาด ให้สังเกตอาการอย่างเดียวก่อน ถ้าแผลเปิดเกิดจากวัตถุแปลกปลอมแทงทะลุเข้าไป หรือเพราะกระดูกคมๆ แทงทะลุเนื้อออกมา วิธีการรักษาก็จะแตกต่างกันออกไป ระดับความร้ายแรงของแผลของต่างกันด้วย บางทีอาจมีแค่แผลเปิดเล็กๆ โดยไม่มีกระดูกทิ่มออกมาให้เห็น หรืออาจเป็นแผลเปิดที่เห็นกระดูกขนาดใหญ่
    • กระดูกจริงๆ ของคนเราจะเป็นสี off-white หรือขาวออกนวลๆ ไม่ขาวจัดเหมือนหุ่นโครงกระดูกเสมอไป จะออกเหลืองนวลเหมือนงาช้าง
  4. เอาวัตถุแปลกปลอมที่แทงตัวคนเจ็บอยู่ออกเด็ดขาด. เพราะอาจบาดลึกถึงเส้นเลือดใหญ่ได้ ถ้าอยู่ๆ ไปเอาออกละก็ เลือดจะไหลไม่หยุดจนคนเจ็บเสียเลือดถึงตายได้ ให้ปฐมพยาบาลโดยทิ้งวัตถุแปลกปลอมที่แทงทะลุแบบนั้น อย่าไปแตะต้องหรือขยับเขยื้อนมัน [2]
  5. สังเกตว่าคนเจ็บอาการบาดเจ็บร้ายแรงอาจถึงแก่ชีวิตไหม. เวลาเกิดกระดูกหักแบบเปิด แปลว่าคนเจ็บต้องถูกกระแทกอย่างแรง มีโอกาส 40 - 70% เลยทีเดียวว่าร่างกายอาจถูกกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้ [3] อาการอื่นๆ ที่อันตรายก็คือเลือดไหลไม่หยุดนั่นเอง
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ลงมือปฐมพยาบาล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สมมุติว่าคนไปปีนเขาแล้วเกิดอุบัติเหตุ ความช่วยเหลือก็อาจมาถึงช้าหน่อย ถ้าเป็นในที่ชุมชน หน่วยฉุกเฉินก็คงมาถึงอย่างรวดเร็ว แต่ไม่ว่ากรณีไหน การปฐมพยาบาลก็สำคัญทั้งนั้น
    • ถ้าคุณมีอุปกรณ์ปฐมพยาบาลหรือถุงมือ ต้องใส่ไว้เพื่อป้องกันตัวเองจากโรคที่ติดต่อทางเลือดได้
  2. ใช้มือถือหรือกล้องดิจิตอลถ่ายรูปแผลไว้ก่อนเริ่มปฐมพยาบาล พอเจ้าหน้าที่มาก็ให้ดูรูปแผลแทน จะได้ไม่ต้องเปิดแผลจริงให้ดูจนโดนอากาศ
  3. ทำแผลด้วยอุปกรณ์ที่ฆ่าเชื้อแล้วเพื่อห้ามเลือด. ถ้ามีผ้าก๊อซที่ฆ่าเชื้อแล้ว ก็เอาไปปิดแผลกดห้ามเลือดไว้รอบๆ กระดูก แต่ถ้าไม่มีให้ใช้ผ้าอนามัยหรือแพมเพิร์สแก้ขัดไปก่อน ยังไงก็สะอาดกว่าหยิบฉวยอะไรแถวๆ นั้นมาใช้ แถมลดความเสี่ยงในการติดเชื้อด้วย แต่ถ้าไม่มีจริงๆ ให้เอาอะไรขาวๆ สะอาดๆ มาใช้แทนก่อน เช่น เสื้อหรือผ้าปูเตียง แต่ถ้ายังไม่มีอีก ก็ใช้อะไรที่สะอาดที่สุดเท่าที่จะหาได้แล้วกัน
  4. แล้วรองบริเวณนั้นให้มั่นคงไว้จะได้ลดอาการเจ็บปวดไม่สบายตัว ด้วยผ้าเช็ดตัวนิ่มๆ หมอน เสื้อผ้า หรือผ้าห่ม [4] วิธีนี้ช่วยป้องกันการช็อคได้ แต่ถ้าหาอะไรมาดามมารองไม่ได้จริงๆ ก็อย่าเพิ่งเคลื่อนย้ายคนเจ็บหรือขยับเขยื้อนส่วนที่บาดเจ็บ แล้วรอจนกว่าเจ้าหน้าที่จะมาเข้าเฝือกให้
  5. แรงกระแทกหรือความเจ็บปวดรุนแรงอาจทำให้คนเจ็บช็อคได้ ซึ่งอาจอันตรายถึงชีวิต สัญญาณบอกว่าคนเจ็บกำลังช็อคก็คือ คล้ายจะเป็นลม หายใจหอบถี่ เหงื่อออกตัวเย็น ปากม่วง ชีพจรเต้นถี่แต่อ่อน และเกิดอาการวิตกจริต [5]
    • พยายามให้คนเจ็บนอนหัวต่ำกว่าตัว ยกขาให้สูงเข้าไว้ เฉพาะ ในกรณีที่ขาหรือเท้าไม่ได้บาดเจ็บนะ [6]
    • ทำให้คนเจ็บสบายตัวที่สุดเท่าที่จะทำได้ ห่อตัวเขาไว้ด้วยผ้าห่มหรืออะไรก็ได้ที่หาได้จะได้ตัวอุ่น
    • จับชีพจรคนเจ็บ ให้แน่ใจว่าชีพจรกับการหายใจเข้าออกกลับมาเป็นปกติแล้ว
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

รู้จักการดูแลรักษาที่ถูกต้อง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เจ้าหน้าที่หรือคุณหมอแผนกฉุกเฉินจะสอบถามรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ประวัติการรักษา และยาที่คนเจ็บใช้อยู่ กระดูกหักแบบเปิดปกติจะเห็นได้ชัดอยู่แล้ว แต่ถึงไม่มีกระดูกทิ่มออกมา ถ้าคนเจ็บกระดูกหักแล้วมีแผลเปิดรอบๆ ด้วย คุณหมอก็จะสันนิษฐานไว้ก่อนว่าคนไข้กระดูกหักแบบเปิด [7]
  2. ส่วนใหญ่หมอจะรักษาแบบ prophylactic คือหมอจะพยายามป้องกันการติดเชื้อ. ก่อนที่คุณหมอจะจัดกระดูกให้เข้าที่หรือปิดแผล จะให้ยาปฏิชีวนะก่อนแล้วประเมินว่าคนเจ็บต้องฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักหรือเปล่า ถ้าภายใน 5 ปีที่ผ่านมาคนเจ็บยังไม่เคยฉีด ก็อาจต้องมีการฉีดกันไว้ก่อน [8] เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการติดเชื้อ คนเจ็บจะได้หายเร็วๆ
    • คุณหมอจะฉีดยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันแบคทีเรียแบบครอบคลุม เพราะปกติแบคทีเรียแต่ละตัวก็จะมียาปฏิชีวนะเฉพาะ การฉีดจะทำให้ยาไม่ต้องผ่านระบบทางเดินอาหาร ตัวยาจึงซึมเข้าเซลล์ได้เร็วกว่า
    • ถ้าคนเจ็บจำไม่ได้ว่าฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักครั้งล่าสุดเมื่อไหร่ คุณหมอก็จะเลือกฉีดกันไว้ก่อนเพื่อความปลอดภัย ถึงตอนฉีดจะไม่เจ็บ แต่วัคซีนป้องกันบาดทะยักอาจทำให้ปวดๆ เมื่อยๆ ได้ประมาณ 3 วัน
  3. วิธีรักษากระดูกหักแบบเปิด แน่นอนว่าต้องมีการผ่าตัด เริ่มตั้งแต่ทำความสะอาดแผลในห้องผ่าตัด ไปจนถึงดามกระดูกแล้วเย็บปิด สรุปก็คือต้องป้องกันการติดเชื้อ เพิ่มการฟื้นตัว และทำให้กระดูกกับข้อโดยรอบกลับมาใช้งานได้ดังเดิมโดยเร็ว [9]
    • ตอนผ่าตัด คุณหมอจะใช้ยาปฏิชีวนะกับน้ำเกลือล้างสิ่งสกปรกที่ตกค้างในแผล ตัดเนื้อเยื่อที่ฉีกขาดเสียหาย แล้วเตรียมดามกระดูกและปิดแผล
    • กระดูกที่หักจะถูกดามให้ตรงด้วยแผ่นโลหะกับสกรูยึด กระดูกจะได้ไม่ขยับเขยื้อนระหว่างฟื้นตัว
    • คุณหมอจะปิดแผลโดยเย็บด้วยไหมหรือลวดเย็บในกรณีที่เกิดตรงกล้ามเนื้อกลุ่มใหญ่ พอแผลหายแล้วก็ต้องมาตัดไหมต่อไป
    • อาจต้องเข้าเฝือกหรือใส่ที่ดามด้วย เฝือกอาจเป็นแบบเอาออกได้ จะได้ดูแลแผลง่าย แต่บางทีก็ปล่อยให้ถูกอากาศได้ โดยใช้การดามด้านนอกแทน เป็นโครงเหล็กกับตัวยึดยาวไปตามส่วนที่ต้องดามไม่ให้ขยับเขยื้อน คนเจ็บจะถูกห้ามไม่ให้ขยับข้อด้านบนหรือด้านล่างส่วนที่หักตอนใส่เหล็กดามแบบนี้
  4. [10] คนที่กระดูกหักแบบเปิดเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนอย่างแผลติดเชื้อ โรคบาดทะยัก การบาดเจ็บต่อหลอดเลือดและเส้นประสาท และภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง การติดเชื้อจะทำให้กระดูกที่หักไม่เชื่อมกัน หรือที่เรียกว่า non-union นั่นเอง สุดท้ายอาจติดเชื้อลึกถึงกระดูกจนต้องตัดส่วนนั้นทิ้งได้
    • ความเสี่ยงในการติดเชื้อจะแตกต่างกันไป ถ้าเป็นกระดูกหักแบบเปิดตรงหน้าแข้ง หรือ tibial fracture ก็จะติดเชื้อได้ง่ายที่สุด บางทีเสี่ยงสูงถึง 25 - 50% เลยทีเดียว จนส่งผลต่อการฟื้นตัวและการกลับมาใช้งานอวัยวะส่วนนั้น [11] ส่วนคนที่บาดเจ็บหนักๆ ก็อาจเสี่ยงติดเชื้อสูงถึง 20% เหมือนกัน แต่ยิ่งคนเจ็บถึงมือหมอเร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งเสี่ยงติดเชื้อน้อยลง [12]
    โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าพยายามดันกระดูกกลับเข้าที่หรือจัดกระดูกด้วยตัวเองเด็ดขาด
  • ห้ามเลือดด้วยการกดที่แผล แต่แค่รอบๆ อย่าไปโดนส่วนที่กระดูกทิ่มออกมา
  • กระดูกหักแบบเปิดเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง พยายามอย่าไปแตะต้องแผลเปิด และถ้าเป็นไปได้ให้รีบปิดแผลด้วยผ้าก๊อซฆ่าเชื้อ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 9,421 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา